สรุปความสำคัญ

พิศาล บุพศิริ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ จ.นครพนม ซึ่งเป็นผู้โพสต์เชิญชวนคนเข้าร่วมกิจกรรม "วิ่งไล่ลุง" ใน จ.นครพนม ถูกตำรวจเรียกไปพบ ระบุว่า ไม่สบายใจที่จะมีการจัดวิ่งไล่ลุงที่นครพนม อีกทั้งในวันที่มีการวิ่ง (12 ม.ค. 63) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 10 คน ตำรวจพยายามปิดกั้นโดยออกคำสั่งให้เลิกการชุมนุม ภายหลังกิจกรรม พิศาลถูกดำเนินคดีในข้อหา จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10, 14 พิศาลให้การปฏิเสธ โดยยืนยันว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงการออกกำลังกาย ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ในระหว่างการสืบพยานในชั้นศาลพิศาลยังได้ยื่นคำร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรามาตรา 10, 14 และ 28 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

หลังการต่อสู้คดีเกือบ 2 ปี แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10, 14 และ 28 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลจังหวัดนครพนมพิพากษายกฟ้องคดีนี้ ระบุว่าพิศาลเพียงแต่โพสต์เชิญชวน ไม่มีพฤติการณ์ใดๆ ที่ทำให้เห็นว่าเป็นผู้จัดการชุมนุมครั้งดังกล่าว

ข้อมูลการละเมิด

  • ผู้ถูกละเมิด
    • นายพิศาล บุพศิริ
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • สิทธิในความมั่นคงปลอดภัย
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • ข่มขู่ / คุกคาม / ติดตาม
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • นายพิศาล บุพศิริ
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในความมั่นคงปลอดภัย
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
    • จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก/เคลื่อนไหว/รวมกลุ่ม
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • นายพิศาล บุพศิริ
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
    • จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก/เคลื่อนไหว/รวมกลุ่ม
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • นายพิศาล บุพศิริ
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • นายพิศาล บุพศิริ
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ

พฤติการณ์การละเมิด

8 ม.ค. 63 ตำรวจนอกเครื่องแบบในพื้นที่ไปพบพิศาล บุพศิริ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ จ.นครพนม ที่บ้าน หลังพิศาลโพสต์ภาพโปสเตอร์งานวิ่งไล่ลุงของจังหวัดนครพนม แต่ไม่พบ

9 ม.ค. 63 ตำรวจโทรศัพท์เรียกให้พิศาลเข้าไปพบผู้กำกับการ สภ.บ้านแพง โดยผู้กำกับระบุว่า ไม่สบายใจที่จะมีการจัดวิ่งไล่ลุง และสอบถามว่า กิจกรรมที่จังหวัดนครพนมจะระดมคนกี่คน มีการปราศรัยและทำเสื้อขายหรือไม่ ขณะที่คุยกับผู้กำกับอยู่ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนมก็ได้โทรศัพท์มาหาพิศาลอีก และถามด้วยคำถามเดียวกัน พิศาลจึงยืนยันกับตำรวจว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เป็นคนจัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุง และไม่มีการทำเสื้อแจก เราแค่จะไปวิ่งออกกำลังกาย ไม่ได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์

พิศาลยังเปิดเผยกับศูนย์ทนายความฯ อีกว่า แกนนำชาวบ้านที่อำเภอนาแกก็ถูกตำรวจโทรศัพท์ไปสอบถามว่า จะระดมคนเข้าไปร่วมวิ่งไล่ลุงที่กรุงเทพฯ หรือไม่

12 ม.ค. 63 เวลา 6.00 น. มีผู้เข้าร่วมประมาณ 10 คน ออกวิ่งจากบริเวณลานพญาศรีสัตตนาคราชไปตามทางสำหรับเดิน-วิ่งออกกำลังกายเลียบริมแม่น้ำโขง โดยก่อนวิ่งมีการอ่านแถลงการณ์ถึงรัฐบาล แต่ขณะจะเริ่มวิ่ง ตำรวจ สภ.เมืองนครพนม ได้นำประกาศให้เลิกการชุมนุมภายใน 8.00 น. มาให้ ระบุว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่แจ้งชุมนุม อย่างไรก็ตาม ผู้จัดยังคงดำเนินกิจกรรมต่อไป และยุติกิจกรรมก่อน 8.00 น. หลังจากนั้น ตำรวจได้ติดตามไปพบพิศาล ที่บ้านและเชิญไปที่ สภ.เมืองนครพนม โดยระบุว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาเขาว่า ไม่แจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มชุมนุม และเจรจาให้เขาจ่ายค่าปรับ 1,000 บาท เพื่อให้คดียุติ แต่พิศาลยืนยันปฏิเสธข้อกล่าวหา ตำรวจจึงนัดหมายให้เขามาพบในวันที่ 14 ม.ค. โดยก่อนหน้านั้นจะรวบรวมหลักฐานและจะออกหมายเรียกให้เข้ามารับทราบข้อกล่าวหา

14 ม.ค. 63 เมื่อพิศาลไปพบตำรวจตามที่นัด ไม่ปรากฏว่า ตำรวจได้ออกหมายเรียก อีกทั้งตำรวจยังได้จัดทำบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาไว้ก่อนแล้ว ที่ระบุว่า เขารับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และพยายามเจรจาให้เขารับสารภาพ พร้อมทั้งจ่ายค่าปรับ 1,000 บาท เขาจึงไม่ลงชื่อในบันทึกข้อกล่าวหาดังกล่าว และยืนยันให้ตำรวจออกหมายเรียกมาให้ถูกต้อง โดยเขาพร้อมที่จะสู้คดี

21 ม.ค. 2563 พิศาลเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครพนม หลังพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ต้องหา ลงวันที่ 16 ม.ค. 2563 รอง ผกก.(สอบสวน) ได้แจ้งข้อกล่าวหาพิศาลว่า จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ โดยพิศาลให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

พิศาลกล่าวในภายหลังว่า การที่เขายืนยันปฏิเสธ เท่ากับเป็นการต่อสู้ในหลักการ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวไม่ใช่การชุมนุมเป็นเพียงการออกกำลังกาย แม้ในวันดังกล่าวมีการอ่านแถลงการณ์แต่ก็เป็นไปโดยสงบ ถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ ซึ่งเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองนครพนม ลงวันที่ 21 ม.ค. 63, https://www.tlhr2014.com/?p=15469 และ https://www.tlhr2014.com/?p=15603)

สถานะของเรื่อง

วันที่ : 20-02-2020
พนักงานอัยการจังหวัดนครพนมยื่นฟ้องพิศาล บุพศิริ ต่อศาลจังหวัดนครพนม ในความผิดฐาน จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุม ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวพิศาลโดยไม่มีหลักประกันตามที่ทนายจำเลยยื่นคำร้อง เนื่องจากข้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว พิศาลได้รับการปล่อยตัวในเวลา 14.30 น. รวมถูกขังที่ใต้ถุนศาลเป็นเวลา 4 ชม.

ภูมิหลัง

  • นายพิศาล บุพศิริ
    เริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษารามคำแหง โดยเข้าร่วมชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน นอกจากนั้น ยังรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ตระเวนเล่นดนตรี ตามงานกิจกรรมนักศึกษา หรือวงเสวนาเล็กๆ จนกระทั่งกลายเป็นแนวรบด้านวัฒนธรรมของงานเคลื่อนไหวภาคประชาชนเรื่อยมา ก่อนที่จะผันตัวเองมาเริ่มงานด้านการเมืองร่วมกับพรรคอนาคตใหม่ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ จ.นครพนม ก่อนกลายเป็นจำเลยในคดี "ไม่แจ้งการชุมนุม" ในที่สุด

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์