logo
ค้นหาแบบละเอียด

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ข้อมูลที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนบันทึกได้ระหว่างวันที่ 20 พ.ค. 2557 ถึง 16 ก.ค. 2562

Timeline สถิติผู้ถูกละเมิด สถิติคดีเสรีภาพ ค้นหาแบบละเอียด

ค้นหาแบบละเอียด



รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

เพศผู้ถูกละเมิด

รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ
เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย

ประเด็นการละเมิดสิทธิ

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

รูปแบบการละเมิดสิทธิ

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

ผู้ละเมิด

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

อำนาจในการเรียกหรือควบคุมตัว

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

เป็นกรณีที่มีลูกความของศูนย์ทนายความฯ

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

แหล่งที่มาของข้อมูล

เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ
เลือกทั้งหมด | ไม่เลือกเลย
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ
รูปแบบ:
  • และ
  • หรือ

ผลการค้นหา

ผลลัพธ์

ทั้งหมด 176 กรณี

คดี 112, 116 เพนกวิน-รุ้ง-ไมค์-ธนกร (เยาวชน) ปราศรัยม็อบ10กันยา #คนนนท์ท้าชนเผด็จการ

"เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, "ไมค์" ภาณุพงศ์ จาดนอก, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง รวมทั้ง ธนกร (สงวนนามสกุล) หรือ “เพชร” เยาวชน LGBTQ อายุ 17 ปี นักกิจกรรมกลุ่ม "ราษฎร" ถูกดำเนินคดีในข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการปราศรัยในการชุมนุม #คนนนท์ท้าชนเผด็จการ บริเวณท่าน้ำนนท์ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 กล่าวถึงสถานะกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 รวมทั้งย้ำข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต่อมา ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับทุกมาตราต่อผู้ชุมนุม เพนกวิน, รุ้ง, ไมค์ และเพชร ยังถูกแจ้งข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" เพิ่มเติมจากการปราศรัยครั้งดังกล่าวอีกด้วย โดยกรณีของเพชรแยกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ และคดีนี้ทำให้เพชรเป็นเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มากที่สุดถึง 3 คดี

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 "บี๋-รุ้ง" ถูกกล่าวหาเป็นแอดมินเพจแนวร่วม มธ.ฯ โพสต์หมิ่นกษัตริย์

"บี๋" นิราภร อ่อนขาว และ "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักศึกษา และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) หลังเลขา ศชอ. กลุ่มที่มีแนวคิดปกป้องสถาบันกษัตริย์ เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีแอดมินเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ซึ่งโพสต์ข้อความจำนวน 3 โพสต์ ในเดือน ส.ค. 63, ม.ค. และ ต.ค. 64 เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น นอกจากนั้นจากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า นพดล พรหมภาสิต ได้เข้าดำเนินคดีประชาชนในข้อหามาตรา 112 อย่างน้อย 6 คดี

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 "บี๋-รุ้ง-เบนจา" ถูกกล่าวหาเป็นแอดมินเพจแนวร่วม มธ.ฯ โพสต์วิจารณ์การถอนประกันแกนนำราษฎร

"บี๋" นิราภร อ่อนขาว, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ เบนจา อะปัญ 3 นักศึกษา และนักกิจกรรมกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) หลังกัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล ประชาชนทั่วไป เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีจากกรณีเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 “เบนจา” ปราศรัยหน้าตึกซิโนไทย #คาร์ม็อบ10สิงหาไล่ทรราช

เบนจา อะปัญ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ออกหมายจับในข้อหา “หมิ่นประมาทมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีปราศรัยและอ่านแถลงการณ์ที่หน้าบริษัทซิโน-ไทย ในระหว่าง #ม็อบ10สิงหา ‘คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช’ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 โดยเบนจาไม่เคยได้รับหมายเรียกในคดีนี้มาก่อน ภายหลังถูกจับกุม ศาลยังไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างสอบสวน แม้เบนจาจะยกเหตุผลความจำเป็นในการไปเรียนและสอบ ทำให้เบนจาตัดสินใจดรอปเรียนในภาคการศึกษานั้น และแม้จะมีการยื่นประกันอีกหลายครั้งก็เบนจาก็ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว กระทั่งการยื่นประกันในครั้งที่ 7 ศาลจึงให้ประกันโดยจำกัดระยะเวลาถึงเพียงสิ้นสุดการสอบภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 22 พ.ค. 2565 พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขหลายประการ อาทิ ห้ามร่วมกิจกรรมที่กระทบต่อสถาบันกษัตริย์และก่อความวุ่นวาย ห้ามออกจากบ้านตั้งแต่ 18.00-06.00 น. รวมทั้งให้ติด EM ด้วย โดยเบนจาได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังถึง 99 วัน

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

กิจกรรม "พลเมืองรุกเดิน" พันธ์ศักดิ์ถูกดำเนินคดี ม.116

พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ออกเดินเท้าจากบ้านย่านบางบัวทองในวันที่ 14 มี.ค. 2558 เพื่อไปพบพนักงานสอบสวนที่ สน.ปทุมวัน ตามที่มีนัดรายงานตัวในคดี "เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก" ในวันที่ 16 มี.ค. 2558 การเดินเท้าดังกล่าวเป็นการทำกิจกรรม “พลเมืองรุกเดิน” ในนามกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และให้ยุติการนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร พันธ์ศักดิ์ถูกตำรวจควบคุมตัวตั้งแต่ออกเดินได้ไม่นาน แม้จะได้รับการปล่อยตัวในช่วงเย็นวันที่ 14 มี.ค. และสามารถออกเดินต่อในวันที่ 15-16 มี.ค. จนถึงจุดหมาย แต่ก็ถูกทหารและตำรวจร่วมกันแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา ฝ่าฝืนประกาศ คสช.ฉบับที่ 7/2557 ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 นอกจากนี้ ยังมีประชาชนที่มามอบดอกไม้ให้นายพันธ์ศักดิ์ระหว่างทางอีก 6 ราย ถูกออกหมายจับด้วย โดยเจ้าหน้าที่ติดตามจับกุมมาดำเนินคดีได้เพียงคนเดียวคือ นายปรีชา แก้วบ้านแพ้ว อายุ 77 ปี กิจกรรมดังกล่าวเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบและสันติตามที่รัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศให้การรับรอง แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายพยายามปิดกั้น รวมถึงดำเนินคดี เพื่อหวังควบคุมการแสดงออกของประชาชน และให้จำเลยยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

ชุมนุม #เยาวชนปลดแอก

18 ก.ค. 2563 #เยาวชนปลดแอก จัดชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก ถือเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ครั้งแรกหลังการรัฐประหาร ปี 2557 ท่ามกลางความพยายามปิดกั้นของเจ้าหน้าที่ด้วยมาตรการต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเริ่มชุมนุม โดยผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ หยุดคุกคามประชาชน, ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ได้รับการขานรับจากประชาชนจนกระทั่งเกิดการชุมนุมขนานใหญ่ในแทบทุกจังหวัดตามมา เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าว หลังการชุมนุมผู้ปราศรัย ผู้เข้าร่วมชุมนุม ตลอดจนนักดนตรีมีร่วมแสดงบนเวทีปราศรัย ถูกตำรวจออกหมายจับข้อหา ยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และจับกุมรวม 14 ราย รวมทั้งออกหมายเรียกในข้อหา มั่วสุมก่อความวุ่นวาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีก 15 ราย แต่ไม่พบว่า รัฐบาลจะตอบสนองข้อเรียกร้องเหล่านี้ของประชาชน

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 “ทานตะวัน” ไลฟ์สดหน้า UN ก่อนขบวนเสด็จผ่าน ถูกกล่าวหา “ด้อยค่า” กษัตริย์

“ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักศึกษาและนักกิจกรรมวัย 20 ปี จากกลุ่มมังกรปฏิวัติ ถูกจับกุมขณะไปยืนไลฟ์สดหน้า UN ก่อนเวลาที่ขบวนเสด็จจะผ่านถนนราชดำเนินนอก ควบคุมตัวไป สน.พญาไท และ บช.ปส. โดยไม่ให้ทนายความเข้าพบเกือบ 2 ชั่วโมง ก่อนแจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112, ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย อ้างว่าตำรวจให้หยุดไลฟ์สด แต่ทานตะวันไม่หยุด ทั้งยังกล่าวบรรยายในไลฟ์สดมีเนื้อหา “ด้อยค่า” กษัตริย์ แม้ศาลจะให้ประกันในชั้นฝากขัง แต่กำหนดให้ติด EM พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอีก กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112-116 นักกิจกรรม-เยาวชน 9 ราย หลังทำโพลล์สำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ

นักกิจกรรมรุ่นใหม่ 6 ราย พร้อมสื่ออิสระอีก 2 ราย ถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ", "ยุยงปลุกปั่น" และ "ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน" จากการทำกิจกรรมทำโพลล์สำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 โดยสื่ออิสระทำการถ่ายทอดสดกิจกรรมเท่านั้น บางรายยังถูกดำเนินคดีข้อหา "ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ" และ "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ" ด้วย ทั้งหมดถูกฝากขังในชั้นสอบสวนแม้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ทำให้ต้องประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท ทั้งยังต้องติด EM และถูกกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ และห้ามโพสต์เชิญชวนหรือเข้าร่วมการชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวาย กิจกรรมครั้งนี้ยังมีเยาวชนอายุไม่ถึง 15 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันนี้อีกรายหนึ่งด้วย กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 “เมนู-ใบปอ-พลอย” แชร์โพสต์ “งบสถาบันกษัตริย์” จากเพจ “ทะลุวัง”

"ใบปอ" และ "เมนู" สุพิชฌาย์ ชัยลอม สมาชิกกลุ่ม “ทะลุวัง” รวมทั้ง "พลอย" เบญจมาภรณ์ เยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปี ถูกตำรวจทางหลวงสกัดบริเวณเขาย้อย จ.เพชรบุรี และจับกุมตามหมายจับ ขณะกำลังเดินทางพร้อมกลุ่มเพื่อนเพื่อไปพักผ่อน หลังปิยกุล วงษ์สิงห์ ประชาชนทั่วไป เข้าแจ้งความที่กองกำกับการ 2 บก.ปอท.ให้ดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(5) กล่าวหาว่า แชร์โพสต์ “งบสถาบันกษัตริย์” จากเพจ “ทะลุวัง” เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2565 โดยมีเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาสถาบันกษัตริย์ กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ขยายครอบคลุมไปถึง "สถาบันกษัตริย์์" ทั้งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปิดปากฝ่ายเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์

คดี 112 เยาวชน “สายน้ำ” ถูกออกหมายจับ ม.112 เหตุแปะกระดาษ-พ่นสีสเปรย์บนรูป ร.10 ในม็อบ #18กรกฎา64

“สายน้ำ” นักกิจกรรมเยาวชน ถูกศาลเยาวชนออกหมายจับข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, วางเพลิงเผาทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยสายน้ำถูกกล่าวหาว่าแปะกระดาษข้อความ “CANCLE LAW 112” และพ่นสีสเปรย์บนรูปรัชกาลที่ 10 รวมทั้งจุดไฟเผาผ้าประดับรูป ระหว่างการชุมนุม #ทวงคืนประเทศไทยขับไล่ปรสิต ที่เคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังทําเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2564 ต่อมา อัยการคดีเยาวชนมีคำสั่งฟ้องคดี ในวัยเพียง 17 ปี สายน้ำถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่ 2 แล้ว ก่อนหน้านี้เขาถูกกล่าวหาในข้อหานี้ จากการเข้าร่วมการชุมนุม “ศิลปะราษฎร” ที่หน้าวัดแขก ถนนสีลม เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 โดยแต่งกายด้วยเสื้อเสื้อครอปท็อป และเขียนข้อความบนตัว กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความเอาผิดประชาชนอย่างกว้าง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัดเนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการออกหมายจับเยาวชนโดยไม่เคยมีการออกมหมายเรียกมาก่อนเป็นการปฏิบัติต่อเยาวชนเยี่ยงอาชญากร ละเมิดสิทธิเด็กและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการสั่งฟ้องคดีซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะยังสะท้อนให้เห็นว่าอัยการไม่มีบทบาทในการกลั่นกรองคดีอาญาขึ้นสู่ศาล

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์
  • 1
  • 2
  • 3
  • ถัดไป
ผลงานนี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ต้นฉบับ.
CC-BY-NC

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

66/4 ซ.ลาดพร้าว 16 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร.: 092-271-3172, 096-789-3173
Contact us: [email protected]