สรุปความสำคัญ
“แบงค์” ณัฐพล (สงวนนามสกุล) และ “ต๊ะ” คทาธร (สงวนนามสกุล) 2 นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุแก๊ซ ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ภายหลัง แกนนำ ศปปส. เข้าแจ้งความที่ สน.สำราญราษฎร์ กล่าวหาว่า ถือกระดาษเขียนข้อความไม่เหมาะสม บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี ที่หน้าวัดสุทัศน์ กลางดึกคืนวันที่ 15 ม.ค. 2567 และนำรูปไปโพสต์พร้อมเขียนข้อความประกอบ จากนั้นตำรวจได้สืบสวนและขอศาลออกหมายจับหลังเกิดเหตุเพียง 2 วัน โดยไม่ได้ออกหมายเรียกก่อน
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 18-01-2024
-
ผู้ถูกละเมิด
- ณัฐพล เหล็กแย้ม
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
- บุกค้น / ยึดทรัพย์สิน
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 19-01-2024
-
ผู้ถูกละเมิด
- คทาธร (สงวนนามสกุล)
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
18 ม.ค. 2567 เวลาประมาณ 18.00 น. “แบงค์” ณัฐพล (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุแก๊สวัย 21 ปี ถูกตำรวจเข้าจับกุมตามหมายจับในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นำตัวไปที่ สน.ทุ่งสองห้อง
เวลาประมาณ 21.30 น. หลังทนายความเดินทางติดตามไปถึง สน.ทุ่งสองห้อง ตำรวจกลับไม่อนุญาตให้พบแบงค์ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องควบคุมตัวผู้ต้องหา อ้างว่าผู้กำกับกำชับมา ทั้งยังนำแผงเหล็กมากั้นหน้าห้องไว้ด้วย ส่วนที่ประตูด้านหน้าสถานีตำรวจ ก็มีการปิดประตูและติดป้าย “พื้นที่ควบคุม” โดยมีเพื่อนนักกิจกรรมและผู้สื่อข่าวติดตามมาอยู่ด้านหน้าจำนวนหนึ่ง
จนเวลาประมาณ 22.06 น. ตำรวจจึงได้อนุญาตให้ทนายพบกับแบงค์ หลังใช้เวลารอกว่าครึ่งชั่วโมง
แบงค์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ระหว่างที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าบ้านพักย่านซอยเทพลีลา ได้มีชายนอกเครื่องแบบขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้า และนำรถยนต์มาจอดปิดด้านข้าง ก่อนมีชายประมาณ 8-9 คน ไม่มีใครใส่เครื่องแบบ มารุมล้อมเขา บางส่วนยังน่าจะปลอมตัวเป็นคนจรจัดอยู่บริเวณดังกล่าวด้วย
เจ้าหน้าที่บางนายได้แสดงบัตรตำรวจ ก่อนจะอ่านหมายจับในข้อหาตามมาตรา 112 โดยไม่ได้ให้เขาดูหมายจับ แต่ใช้วิธีอ่านให้ฟังอย่างรวบรัด แบงค์จำได้ว่าตำรวจไม่ได้ระบุถึงข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วย
หลังอ่านหมายจับ ตำรวจจะใส่กุญแจมือ แต่เขายืนยันว่าไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี และจะเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ใส่ แต่ได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของเขาไว้ และไม่ยอมให้เขาติดต่อญาติ หรือทนายความระหว่างจับกุม โดยอ้างว่า “นาย” สั่งไม่ให้ติดต่อ
แบงค์ถูกพาตัวไปทำบันทึกจับกุมที่ สน.สำราญราษฎร์ โดยเขาไม่สามารถติดต่อใครได้ จนหลังทำบันทึกแล้ว ประมาณ 20.00 น. เขาจึงได้ติดต่อกับเพื่อนว่าตนถูกจับกุม และตำรวจกำลังจะพาไปยัง สน.ทุ่งสองห้อง ข่าวเรื่องการจับกุมเขาจึงมีเพื่อนนักกิจกรรมได้รับทราบ
การจับกุมอ้างหมายจับของศาลอาญาที่ 233/2567 ลงวันที่ 17 ม.ค. 2567 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยบันทึกจับกุมยังอ้างว่าตำรวจชุดจับกุมสืบทราบว่าเขาหลบหนีมาอยู่ในบ้านบริเวณดังกล่าว จึงเดินทางมาตรวจสอบ ทั้งที่ข้อเท็จจริงณัฐพลไม่ได้หลบหนีแต่อย่างใด และบ้านดังกล่าวก็เป็นที่พักของเขาอยู่แล้ว ทั้งเขาไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน ทำให้เขาปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุมที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
ต่อมาทราบว่าคดีนี้มี อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำของกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งเป็นผู้แจ้งความคดีมาตรา 112 ไว้หลายสิบคดี เป็นผู้กล่าวหาไว้ที่ สน.สำราญราษฎร์ กรณีเจ้าหน้าที่นำตัวมาสอบสวนที่ สน.ทุ่งสองห้อง จึงไม่ใช่ท้องที่ของสถานีตำรวจเจ้าของคดีแต่อย่างใด
ร.ต.ท.สุฤเศฬษฐ์ บัวผัน รองสารวัตรสอบสวน สน.สำราญราษฏร์ ที่เดินทางมาที่ สน.ทุ่งสองห้อง ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนณัฐพล โดยระบุพฤติการณ์คดีว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 เวลา 15.00 น. ผู้กล่าวหาได้มาพบ พ.ต.ท.ภาณุพงศ์ จินดาหลวง รองผู้กำกับการสืบสวน สน.สำราญราษฎร์ แจ้งว่าเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. ได้พบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์รูปภาพชายใส่เสื้อและกางเกงสีดำ สวมหมวกกันน็อค พร้อมถือกระดาษ 2 แผ่น เขียนข้อความไม่เหมาะสม บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี หน้าวัดสุทัศน์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สน.สำราญราษฏร์ และได้เขียนข้อความประกอบภาพ ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่าเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
พนักงานสอบสวนระบุว่า จากการพิสูจน์ทราบบุคคล ตรวจสอบเฟซบุ๊กและภาพจากกล้องวงจรปิดในจุดที่เกิดเหตุ เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุซึ่งมี 2 คน คือ ณัฐพล และ “ต๊ะ” คทาธร (สงวนนามสกุล) จึงยื่นคำร้องขอออกหมายจับทั้งสองคน
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาณัฐพลรวม 2 ข้อหา ตามหมายจับ ณัฐพลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทั้งยังปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากเห็นว่าเคยพิมพ์ไว้ในคดีก่อนหน้านี้ และมีประวัติอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่แล้ว ทำให้พนักงานสอบสวนมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 “ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” เพิ่มเติมอีก 1 ข้อหา
จากนั้นตำรวจได้ควบคุมตัวณัฐพลไว้ใน 1 คืน เพื่อรอนำตัวไปขอฝากขังที่ศาลอาญาในสายวันรุ่งขึ้น
19 ม.ค. 2567 ช่วงสาย พนักงานสอบสวนนำตัวณัฐพลไปขออำนาจฝากขังที่ศาลอาญา ซึ่งศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยมีนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันโดยให้วางหลักประกัน 180,000 บาท กำหนดเงื่อนไขประกัน ห้ามผู้ต้องหากระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับข้อกล่าวหาในคดีนี้อีก
ต่อมา เวลาประมาณ 21.15 น. “ต๊ะ” คทาธร นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุแก๊ซ วัย 28 ปี ได้เดินทางเข้ามอบตัวหลังทราบว่ามีหมายจับในคดีนี้อีกราย
หลังจากที่ต๊ะเดินทางไปถึงหน้า สน.สำราญราษฎร์ และกำลังรับประทานอาหารอยู่บริเวณหน้า สน. เวลา 21.43 น. ตำรวจนอกเครื่องแบบได้แสดงตัวและอ่านหมายจับต่อหน้าต๊ะ และนำตัวเข้าไปใน สน. เพื่อทำบันทึกจับกุม โดยมีทนายความติดตามเข้าไปด้วย ขณะเพื่อนนักกิจกรรม ประชาชน และสื่ออิสระที่มาให้ติดตามกรณีของคทาธรรออยู่ด้านนอก
บันทึกการจับกุมระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ทราบจากสื่อสังคมออนไลน์ว่า คทาธรจะเข้ามามอบตัวที่ สน.สำราญราษฎร์ หลังจากคทาธรมาปรากฏตัวจึงได้แสดงหมายจับและนำส่งพนักงานสอบสวนต่อไป
ร.ต.ท.สุฤเศฬษฐ์ บัวผัน แจ้งพฤติการณ์คดีกับคทาธรเช่นเดียวกันกับที่แจ้งณัฐพลไปก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า คทาธรขี่มอเตอร์ไซค์ไปกับณัฐพลและเข้าไปยังบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์หน้าวัดสุทัศน์ ที่เกิดเหตุ
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาคทาธร 2 ข้อหา เช่นเดียวกับณัฐพล คทาธรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เขาลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม แต่ได้ปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 “ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” เพิ่มอีก 1 ข้อหา
นอกจากนี้ ในระหว่างการสอบสวน ได้มีตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานมาขอเก็บ DNA ของคทาธรเพื่อนำไปตรวจสอบ แต่คทาธรและทนายความได้ปฏิเสธกระบวนการดังกล่าว
หลังแจ้งข้อกล่าวหาเสร็จสิ้น คทาธรถูกนำตัวขึ้นรถควบคุมตัวของ สน.สำราญราษฎร์ ไปคุมขังที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยพนักงานสอบสวนอ้างหนังสือกองบัญชาการตำรวจนครบาล เรื่องให้ใช้สถานที่ควบคุมของ สน.ทุ่งสองห้อง, สน.ฉลองกรุง, สน.จรเข้น้อย เป็นสถานที่ควบคุมพิเศษเฉพาะคราว
จนเมื่อเวลาประมาณ 00.05 น. คทาธรได้เดินทางถึง สน.ทุ่งสองห้อง แต่เขาปฏิเสธที่จะลงจากรถควบคุมตัว
ต่อมาเวลา 01.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กติดป้าย “พื้นที่ควบคุม” มาตั้งบริเวณทางเข้า สน. อีกทั้งนำแผงเหล็กมากั้นรอบรถ ทำให้ในคืนนี้เขาจึงนอนในรถควบคุมตัว โดยที่มีเพื่อนนักกิจกรรมและมวลชนนอนเฝ้าบริเวณรถคันดังกล่าว
20 ม.ค. 2567 ช่วงเช้า พนักงานสอบสวนนำตัวคทาธรไปขออำนาจฝากขังที่ศาลอาญา ซึ่งศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยมีนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณา เว้นแต่โจทก์ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาที่หนักกว่า โดยมีประกันในวงเงิน 180,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขประกันเช่นเดียวกับณัฐพล
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุมและบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 18 ม.ค. 2567, https://tlhr2014.com/archives/63341 และ https://tlhr2014.com/archives/63371)
เวลาประมาณ 21.30 น. หลังทนายความเดินทางติดตามไปถึง สน.ทุ่งสองห้อง ตำรวจกลับไม่อนุญาตให้พบแบงค์ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องควบคุมตัวผู้ต้องหา อ้างว่าผู้กำกับกำชับมา ทั้งยังนำแผงเหล็กมากั้นหน้าห้องไว้ด้วย ส่วนที่ประตูด้านหน้าสถานีตำรวจ ก็มีการปิดประตูและติดป้าย “พื้นที่ควบคุม” โดยมีเพื่อนนักกิจกรรมและผู้สื่อข่าวติดตามมาอยู่ด้านหน้าจำนวนหนึ่ง
จนเวลาประมาณ 22.06 น. ตำรวจจึงได้อนุญาตให้ทนายพบกับแบงค์ หลังใช้เวลารอกว่าครึ่งชั่วโมง
แบงค์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ระหว่างที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าบ้านพักย่านซอยเทพลีลา ได้มีชายนอกเครื่องแบบขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้า และนำรถยนต์มาจอดปิดด้านข้าง ก่อนมีชายประมาณ 8-9 คน ไม่มีใครใส่เครื่องแบบ มารุมล้อมเขา บางส่วนยังน่าจะปลอมตัวเป็นคนจรจัดอยู่บริเวณดังกล่าวด้วย
เจ้าหน้าที่บางนายได้แสดงบัตรตำรวจ ก่อนจะอ่านหมายจับในข้อหาตามมาตรา 112 โดยไม่ได้ให้เขาดูหมายจับ แต่ใช้วิธีอ่านให้ฟังอย่างรวบรัด แบงค์จำได้ว่าตำรวจไม่ได้ระบุถึงข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วย
หลังอ่านหมายจับ ตำรวจจะใส่กุญแจมือ แต่เขายืนยันว่าไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี และจะเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ใส่ แต่ได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของเขาไว้ และไม่ยอมให้เขาติดต่อญาติ หรือทนายความระหว่างจับกุม โดยอ้างว่า “นาย” สั่งไม่ให้ติดต่อ
แบงค์ถูกพาตัวไปทำบันทึกจับกุมที่ สน.สำราญราษฎร์ โดยเขาไม่สามารถติดต่อใครได้ จนหลังทำบันทึกแล้ว ประมาณ 20.00 น. เขาจึงได้ติดต่อกับเพื่อนว่าตนถูกจับกุม และตำรวจกำลังจะพาไปยัง สน.ทุ่งสองห้อง ข่าวเรื่องการจับกุมเขาจึงมีเพื่อนนักกิจกรรมได้รับทราบ
การจับกุมอ้างหมายจับของศาลอาญาที่ 233/2567 ลงวันที่ 17 ม.ค. 2567 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยบันทึกจับกุมยังอ้างว่าตำรวจชุดจับกุมสืบทราบว่าเขาหลบหนีมาอยู่ในบ้านบริเวณดังกล่าว จึงเดินทางมาตรวจสอบ ทั้งที่ข้อเท็จจริงณัฐพลไม่ได้หลบหนีแต่อย่างใด และบ้านดังกล่าวก็เป็นที่พักของเขาอยู่แล้ว ทั้งเขาไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน ทำให้เขาปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุมที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
ต่อมาทราบว่าคดีนี้มี อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำของกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งเป็นผู้แจ้งความคดีมาตรา 112 ไว้หลายสิบคดี เป็นผู้กล่าวหาไว้ที่ สน.สำราญราษฎร์ กรณีเจ้าหน้าที่นำตัวมาสอบสวนที่ สน.ทุ่งสองห้อง จึงไม่ใช่ท้องที่ของสถานีตำรวจเจ้าของคดีแต่อย่างใด
ร.ต.ท.สุฤเศฬษฐ์ บัวผัน รองสารวัตรสอบสวน สน.สำราญราษฏร์ ที่เดินทางมาที่ สน.ทุ่งสองห้อง ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนณัฐพล โดยระบุพฤติการณ์คดีว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 เวลา 15.00 น. ผู้กล่าวหาได้มาพบ พ.ต.ท.ภาณุพงศ์ จินดาหลวง รองผู้กำกับการสืบสวน สน.สำราญราษฎร์ แจ้งว่าเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. ได้พบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์รูปภาพชายใส่เสื้อและกางเกงสีดำ สวมหมวกกันน็อค พร้อมถือกระดาษ 2 แผ่น เขียนข้อความไม่เหมาะสม บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี หน้าวัดสุทัศน์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สน.สำราญราษฏร์ และได้เขียนข้อความประกอบภาพ ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่าเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
พนักงานสอบสวนระบุว่า จากการพิสูจน์ทราบบุคคล ตรวจสอบเฟซบุ๊กและภาพจากกล้องวงจรปิดในจุดที่เกิดเหตุ เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุซึ่งมี 2 คน คือ ณัฐพล และ “ต๊ะ” คทาธร (สงวนนามสกุล) จึงยื่นคำร้องขอออกหมายจับทั้งสองคน
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาณัฐพลรวม 2 ข้อหา ตามหมายจับ ณัฐพลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทั้งยังปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากเห็นว่าเคยพิมพ์ไว้ในคดีก่อนหน้านี้ และมีประวัติอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่แล้ว ทำให้พนักงานสอบสวนมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 “ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” เพิ่มเติมอีก 1 ข้อหา
จากนั้นตำรวจได้ควบคุมตัวณัฐพลไว้ใน 1 คืน เพื่อรอนำตัวไปขอฝากขังที่ศาลอาญาในสายวันรุ่งขึ้น
19 ม.ค. 2567 ช่วงสาย พนักงานสอบสวนนำตัวณัฐพลไปขออำนาจฝากขังที่ศาลอาญา ซึ่งศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยมีนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันโดยให้วางหลักประกัน 180,000 บาท กำหนดเงื่อนไขประกัน ห้ามผู้ต้องหากระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับข้อกล่าวหาในคดีนี้อีก
ต่อมา เวลาประมาณ 21.15 น. “ต๊ะ” คทาธร นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุแก๊ซ วัย 28 ปี ได้เดินทางเข้ามอบตัวหลังทราบว่ามีหมายจับในคดีนี้อีกราย
หลังจากที่ต๊ะเดินทางไปถึงหน้า สน.สำราญราษฎร์ และกำลังรับประทานอาหารอยู่บริเวณหน้า สน. เวลา 21.43 น. ตำรวจนอกเครื่องแบบได้แสดงตัวและอ่านหมายจับต่อหน้าต๊ะ และนำตัวเข้าไปใน สน. เพื่อทำบันทึกจับกุม โดยมีทนายความติดตามเข้าไปด้วย ขณะเพื่อนนักกิจกรรม ประชาชน และสื่ออิสระที่มาให้ติดตามกรณีของคทาธรรออยู่ด้านนอก
บันทึกการจับกุมระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ทราบจากสื่อสังคมออนไลน์ว่า คทาธรจะเข้ามามอบตัวที่ สน.สำราญราษฎร์ หลังจากคทาธรมาปรากฏตัวจึงได้แสดงหมายจับและนำส่งพนักงานสอบสวนต่อไป
ร.ต.ท.สุฤเศฬษฐ์ บัวผัน แจ้งพฤติการณ์คดีกับคทาธรเช่นเดียวกันกับที่แจ้งณัฐพลไปก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า คทาธรขี่มอเตอร์ไซค์ไปกับณัฐพลและเข้าไปยังบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์หน้าวัดสุทัศน์ ที่เกิดเหตุ
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาคทาธร 2 ข้อหา เช่นเดียวกับณัฐพล คทาธรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เขาลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม แต่ได้ปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 “ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” เพิ่มอีก 1 ข้อหา
นอกจากนี้ ในระหว่างการสอบสวน ได้มีตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานมาขอเก็บ DNA ของคทาธรเพื่อนำไปตรวจสอบ แต่คทาธรและทนายความได้ปฏิเสธกระบวนการดังกล่าว
หลังแจ้งข้อกล่าวหาเสร็จสิ้น คทาธรถูกนำตัวขึ้นรถควบคุมตัวของ สน.สำราญราษฎร์ ไปคุมขังที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยพนักงานสอบสวนอ้างหนังสือกองบัญชาการตำรวจนครบาล เรื่องให้ใช้สถานที่ควบคุมของ สน.ทุ่งสองห้อง, สน.ฉลองกรุง, สน.จรเข้น้อย เป็นสถานที่ควบคุมพิเศษเฉพาะคราว
จนเมื่อเวลาประมาณ 00.05 น. คทาธรได้เดินทางถึง สน.ทุ่งสองห้อง แต่เขาปฏิเสธที่จะลงจากรถควบคุมตัว
ต่อมาเวลา 01.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กติดป้าย “พื้นที่ควบคุม” มาตั้งบริเวณทางเข้า สน. อีกทั้งนำแผงเหล็กมากั้นรอบรถ ทำให้ในคืนนี้เขาจึงนอนในรถควบคุมตัว โดยที่มีเพื่อนนักกิจกรรมและมวลชนนอนเฝ้าบริเวณรถคันดังกล่าว
20 ม.ค. 2567 ช่วงเช้า พนักงานสอบสวนนำตัวคทาธรไปขออำนาจฝากขังที่ศาลอาญา ซึ่งศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยมีนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณา เว้นแต่โจทก์ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาที่หนักกว่า โดยมีประกันในวงเงิน 180,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขประกันเช่นเดียวกับณัฐพล
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุมและบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 18 ม.ค. 2567, https://tlhr2014.com/archives/63341 และ https://tlhr2014.com/archives/63371)
List คดี
ภูมิหลัง
-
คทาธร (สงวนนามสกุล)เริ่มเข้าร่วมชุมนุมและกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2563
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์