ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.1145/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์ (ตำรวจ)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.1145/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์ (ตำรวจ)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.1145/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์ (ตำรวจ)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.1145/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1145/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1145/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1145/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1145/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.อดิศักดิ์ ไชยสัตย์

ความสำคัญของคดี

ฉัตรชัย แก้วคำปอด ผู้แจ้งการชุมนุม, วิศรุต สวัสดิ์วร พิธีกร, "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ "โตโต้" ปิยรัฐ จงเทพ ผู้ปราศรัย ในการชุมนุม #เด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง วันที่ 22 ส.ค. 2563 ถูกดำเนินคดี ในข้อหา ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 และเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศดำเนินการบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ชุมนุม พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามมาตรา 112 เพิ่มเติมกับพริษฐ์ ซึ่งปราศรัยเรื่อง “กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ในการชุมนุมดังกล่าว รวมทั้งเมื่อสำนวนคดีส่งถึงอัยการ อัยการก็มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติมกับปิยรัฐซึ่งปราศรัยประเด็น "พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กับบทบาทของกองทัพไทย" ด้วย

คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 116 คดีแรกที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาลในบรรดาคดีที่นักศึกษา-นักกิจกรรม ถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหานี้จากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยนับตั้งแต่การชุมนุม #เยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 โดยมีการเร่งรัดยื่นฟ้องคดีอย่างผิดสังเกต หลังวิศรุตถูกแจ้งข้อกล่าวหาเพียง 6 วัน ขณะที่คดีอื่นๆ ที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาไปก่อนหน้านี้ก็ยังไม่มีการยื่นฟ้อง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ บรรยายคำฟ้องโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 ฉัจรชัย แก้วคำปอด, วิศรุต สวัสดิ์วร กับพวก คือพริษฐ์หรือเพนกวิน ชิวารักษ์ และปิยรัฐหรือโตโต้ จงเทพ ได้ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เพื่อการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต และจำเลยทั้งสองกับพวกดังกล่าวยังได้ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา ด้วยการร่วมกันประกาศแก่ประชาชนทั่วไป โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์โพสต์ส่งข้อมูลในเฟซบุ๊กเพจ คณะอุบลปลดแอก สื่อความหมายว่า จะมีการชุมนุมสาธารณะขึ้นที่บริเวณลานศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการชุมนุมดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที พร้อมกับแจ้งว่ามีการเชิญให้นายพริษฐ์และนายปิยรัฐมาปราศรัยในวันดังกล่าว

หลังจากที่จำเลยทั้งสองกับพวกประกาศแจ้งข่าวดังกล่าวได้มีประชาชนประมาณ 200 คน ร่วมกันไปชุมนุมฟังปราศรัย จำเลยทั้งสองกับพวกยังได้ถ่ายทอดการปราศรัยทางเฟซบุ๊กเพจคณะอุบลปลดแอก เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ซึ่งเป็นคำพูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการชุมนุมและคำปราศรัยที่ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนที่ได้ทราบคำปราศรัยดังกล่าว ถึงขนาดที่ประชาชนฝ่ายที่เห็นด้วยกับจำเลยทั้งสองกับพวก และประชาชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับจำเลยทั้งสองกับพวกจะก่อความไม่สงบและก่อความวุ่นวายขึ้นในราชอาณาจักร

วันดังกล่าว ปิยรัฐกับพริษฐ์ ชิวารักษ์ ยังได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการพูดใส่ความและถ่ายทอดภาพและเสียงคําปราศรัยทางเพจ คณะอุบลปลดแอก ให้คนจํานวนมากที่ชุมนุมอยู่และประชาชนจํานวนมากซึ่งเป็นบุคคลที่สามได้รับฟัง โดยคําพูดปราศรัยใส่ความของปิยรัฐกับพริษฐ์ดังกล่าว น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และเป็นคําพูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันกษัตริย์ ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมาย เกิดความกระด้างกระเดื่องถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบ

คำปราศรัยบางตอนของพริษฐ์ กล่าวถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพและสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ ทำให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ และกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ทำผิดได้โดยไม่ถูกฟ้องร้อง รวมทั้งกล่าวถึงข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ

และคำปราศรัยบางตอนของปิยรัฐ กล่าวถึงพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์กับบทบาทของกองทัพไทย โดยระบุว่า เป็นหัวใจสําคัญของปัญหาโครงสร้างการเมืองของไทย เนื่องจากมีบทบาทในการเซ็นรับรองรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีต อีกทั้งมีการโอนย้ายกำลังพลและงบประมาณของกรมทหารราบที่ 11 และกรมทหารราบที่ 1 ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งที่ผ่านมามีบทบาทเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร พร้อมทั้งเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยให้แยกพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ออกจากกองทัพอย่างเด็ดขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

ซึ่งคําปราศรัยดังกล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม เสียดสีประชด ประชัน สบประมาท ก้าวร้าว จาบจ้วงรัชกาลที่ 10 ทําให้ประชาชนที่ได้ยินได้ฟังหลงชื่อว่าเป็นความจริงตามที่จําเลยกับพวกกล่าวอ้าง อันความเป็นเท็จ และเป็นการแสดงถึงความอาฆาตมาดร้ายด้วยการข่มขู่รัชกาลที่ 10

ท้ายคำฟ้อง อัยการได้แนบเอกสารการถอดคําปราศรัยพริษฐ์และปิยรัฐ ซึ่งถอดโดย จ.ส.อ.อภิชาติ ผิวผ่อง เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานการข่าว กอ.รมน.จ.อุบลฯ

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 11 พ.ย. 2563 และคดีหมายเลขดำที่ อ.685/2564 ลงวันที่ 2 ก.ย. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ประมาณ 09.00น. “ทนายแชมป์” ฉัตรชัย แก้วคำปอด ทนายความและนักกิจกรรม #คณะอุบลปลดแอก ถูกควบคุมตัวถึง สภ.เมืองอุบลฯ หลังถูกจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดอุบลฯ ในช่วงค่ำที่วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ พนักงานสอบสวนเริ่มกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาในช่วงเที่ยง โดยกล่าวหาว่าฉัตรชัยกระทำความผิดในข้อหา ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการปราศรัยในการชุมนุม #เด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง ที่ศาลหลักเมืองอุบลฯ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 63 และมีการนำคลิปการปราศรัยเผยแพร่ในโซเชียล โดยฉัตรชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ต่อมา 17.00 น. หลังเสร็จการสอบปากคำ ฉัตรชัยถูกนำตัวไปขังในห้องขังของสถานีตำรวจ ส.ส.จ.อุบลฯ พรรคเพื่อไทย ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส. ขอประกันตัวฉัตรชัยในชั้นพนักงานสอบสวน แต่หลังจากรอฟังคำสั่งประมาณ 2 ชม. ผกก.สภ.เมืองอุบลฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งมาให้กำลังใจและรอรับฉัตรชัยท่ามกลางฝนที่ตกเกือบทั้งวัน แม้ด้านหน้า สภ.จะมีการปิดประตูทางเข้า และมีตำรวจชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังอยู่

    ทนายความจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันต่อ ผบก.ภ.จว.อุบลฯ ในทันที แต่หลังจากรออยู่จนดึกยังไม่มีคำสั่งแต่อย่างใด คาดว่าพนักงานสอบสวนจะนำตัวฉัตรชัยไปขออำนาจศาลจังหวัดอุบลฯ ฝากขังในเช้าวันนี้

    (อ้างอิง: https://web.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3348553845194446)
  • ช่วงเช้า พนักงานสอบสวนได้นำตัวฉัตรชัยไปยื่นคำร้องขออำนาจศาลจังหวัดอุบลฯ ฝากขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-30 ต.ค. 63 ขณะที่ทนายผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านฝากขัง และขอให้ไต่สวนพนักงานสอบสวนถึงเหตุผลในการขอฝากขัง

    วัฒนา จันทศิลป์ ทนายความผู้ต้องหาให้ข้อมูลว่า ศาลได้เรียกพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหาไต่สวน โดยพนักงานสอบสวนแถลงเหตุผลในการขอฝากขังว่า เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เป็นอันตรายต่อความมั่นคง โดยโยงเหตุการณ์ว่า วันเกิดเหตุพริษฐ์ ชิวารักษ์ และปิยรัฐ จงเทพ ปราศรัยจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ หากปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเกรงว่าจะหลบหนี หรือชุมนุมกดดันพนักงานสอบสวน ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือข่มขู่พยาน แต่ตนได้ถามค้านว่า หลังจากชาวบ้านฟังที่ร่วมชุมนุมได้ฟังการปราศรัยแล้วมีใครกระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือไม่ รวมทั้งศาลได้พิพากษาหรือยังว่า ถ้อยคำที่ทั้งสองปราศรัยเป็นความผิด พนักงานสอบสวนตอบไม่ได้

    ต่อมา ฉัตรชัยได้เบิกความต่อศาลว่า เขาเป็นทนาย ทราบดีว่าอะไรไม่ควรทำ ในการจัดการชุมนุมก็แจ้งการชุมนุมทุกครั้ง ไม่เคยมีปัญหาเกิดขึ้น การชุมนุมที่เป็นเหตุในคดีนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทุกอย่างเรียบร้อย พริษฐ์พูดในหัวข้อ “กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ซึ่งไม่ได้ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการปราศรัยของปิยรัฐเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ แต่รายละเอียดเขาไม่ได้ฟัง เนื่องจากต้องดูแลการชุมนุม นอกจากนี้ ตนยังเป็นทนายความ มีครอบครัว ภรรยาท้อง 8 เดือน ไม่มีใครอยู่เป็นเพื่อน และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ส่วนพยานหลักฐานพนักงานสอบสวนก็ได้รวบรวมไปหมดแล้ว ตนไม่สามารถไปยุ่งเหยิงได้

    อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง แต่ให้ทนายความยื่นประกัน และอนุญาตให้ประกัน โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันในวงเงิน 2 แสนบาท ซึ่งนายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ ส.ส.จ.อุบลฯ พรรคเพื่อไทย ใช้ตำแหน่ง ส.ส. ยื่นเป็นหลักประกัน ศาลยังกำหนดเงื่อนไขในการให้ประกันว่า ห้ามเข้าร่วมการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย หรือกระทำในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอีก

    (อ้างอิง: https://web.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3350060091710488)
  • พนักงานสอบสวนจาก สภ.เมืองอุบลฯ เข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อพริษฐ์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ขณะพริษฐ์ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 หลังจากพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เข้าอายัดตัวจากเรือนจำอำเภอธัญบุรี แม้จะได้รับการประกันตัวในคดีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563

    พริษฐ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม จะควบคุมตัวพร้อมปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ออกจาก บก.ตชด.ภาค 1 เพื่อไปขอศาลอาญาฝากขัง ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร

    (อ้างอิง: https://web.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3354599241256573)
  • วันนี้เป็นวันที่รัชกาลที่ 10 จะเสด็จมายังวัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ พนักงานสอบสวนได้เข้ายื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวฉัตรชัย เนื้อหาของคำร้องและคำเบิกความของพนักงานสอบสวน มีดังนี้

    "ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวในระหว่างการสอบสวน ผู้ต้องหานี้มีพฤติกรรมเป็นแกนนำจัดกิจกรรมในการชุมนุมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี คู่ขนานไปกับกลุ่มราษฎร 63 ที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 19 ถึง 22 ตุลาคม 2563 ในพื้นที่ต่างกัน ปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารแนบท้ายคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวลงวันที่วันนี้
    เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากแนวทางการสืบสวนได้ความว่าผู้ต้องหาในคดีนี้จะนำมวลชนบางส่วนแฝงตัวเข้าไปแสดงสัญลักษณ์หรือกระทำมิบังควร อันมีผลกระทบต่อการเสด็จพระราชดำเนิน และนอกจากนี้ยังได้ความตามแนวทางสอบสวนว่าผู้ต้องหาจะเข้าพบเพื่อสอบถามพระองค์ท่านว่า "มีความเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมที่ไปเรียกร้องยื่นคำร้องที่สถานทูตเยอรมันอย่างไร?" ซึ่งคำพูดนี้ข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้บังคับการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน ซึ่งหากเป็นความจริงเกรงว่าจะเป็นการก่อการร้ายประการอื่น ซึ่งจะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหานี้

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า "พิเคราะห์คำร้องประกอบเอกสารและภาพถ่ายของผู้ร้องในชั้นไต่สวนแล้วเห็นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนเป็นการด่วนโดยผู้ร้องอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานเพียงฝ่ายเดียว โดยผู้ต้องหายังไม่มีโอกาสคัดค้านและถามค้านพยานในชั้นไต่สวนนี้ ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนจึงยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าผู้ต้องหากระทำพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่"

    ฉัตรชัยกล่าวเมื่อทราบภายหลังว่าพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอถอนประกันว่า “ผมไปรับเสด็จจริงแต่ไปคนเดียวในฐานะประชาชนคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาไปก่อความวุ่นวายใดๆ แต่ถูกควบคุมตัวตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น. คือตลอดระยะเวลาที่ในหลวงเสด็จมาและเสด็จกลับไป”

    (อ้างอิง: คำร้องขอถอนประกันผู้ต้องหา และคำสั่งศาลจังหวัดอุบลฯ ลงวันที่ 27 ต.ค. 2563)

  • พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลราชธานี เดินทางมาขอควบคุมตัวพริษฐ์ที่โรงพยาบาลพระรามเก้าขณะพักรักษาตัว เพื่อไปดำเนินคดีตามหมายจับศาลจังหวัดอุบลฯ ในคดีนี้ หลังศาลอาญายกคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 2 ของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และพริษฐ์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    อย่างไรก็ตาม พริษฐ์และทนายความได้โต้แย้งกระบวนการดังกล่าว เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 ขณะอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 แล้ว และพนักงานสอบสวนได้เขียนระบุลงในหมายจับว่าได้จัดการตามหมายเรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ตำรวจต้องควบคุมตัวไปดำเนินคดีอีก พนักงานสอบสวนจึงเดินทางกลับโดยไม่ได้ให้พริษฐ์ลงชื่อในเอกสารใดๆ

    (อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3384508471598983)
  • วิศรุต สวัสดิ์วร นักกิจกรรม #คณะอุบลปลดแอก พร้อมทนายความเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนหลังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 5 พ.ย. 2563 โดยก่อนหน้านั้น ผกก.สภ.เมืองอุบลฯ ได้โทรศัพท์แจ้งให้วิศรุตเข้าไปให้ปากคำโดยไม่มีหมายเรียก แต่ทนายความขอให้ออกเป็นหมายเรียกผู้ต้องหาตามกระบวนการของกฎหมาย หมายเรียกผู้ต้องหาที่ส่งถึงวิศรุตระบุข้อกล่าวหา ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

    พ.ต.ท.สมอาจ แคนเภาว์ สว.(สอบสวน) สภ.เมืองอุบลฯ แจ้งพฤติการณ์ที่วิศรุตถูกกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลาประมาณ 16.00-21.00 น. ฉัตรชัย แก้วคำปอด ได้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะขึ้นที่บริเวณศาลหลักเมือง (ทุ่งศรีเมือง) จ.อุบลฯ โดยมีวิศรุตเป็นแกนนำผู้ดำเนินรายการเชิญชวนประชาชนร่วมฟังการปราศรัย มีการเชิญพริษฐ์หรือเพนกวิน ชิวารักษ์ และปิยรัฐหรือโตโต้ จงเทพ ขึ้นกล่าวปราศรัยให้ผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คนฟัง มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำปราศรัยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางเฟซบุ๊ก เพจคณะอุบลปลดแอก - Ubon New Generation Democracy เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง

    โดยพริษฐ์ได้ปราศรัยถึงข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ และปิยรัฐปราศรัยเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กับบทบาทของกองทัพไทย อันเป็นการร่วมกันกล่าวคำพูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันกษัตริย์ ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร โดยมีเจตนาที่ใส่ความเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังถูกเหยียดหยามหรือเกิดความอับอาย อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา

    ซึ่งในการกระทำความผิดครั้งนี้มีฉัตรชัยเป็นผู้ยื่นเรื่องขอทำการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้ดูแลจัดสถานที่ชุมนุม เชิญชวนให้ประชาชนร่วมชุมนุม และอยู่ร่วมในการชุมนุมโดยตลอด ซึ่งรวมถึงช่วงระยะเวลาที่พริษฐ์และปิยรัฐขึ้นพูดปราศรัยบนเวที โดยมีวิศรุตเป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการบนเวที เป็นแกนนำและพูดเชิญชวนประชาชนร่วมฟังคำปราศรัยในการชุมนุม อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ และร่วมกันกระทำความผิด อัยการจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือที่ อส 0059(อบ)/376 ลงวันที่ 4 พ.ย. 2563 เรื่องให้สอบสวนเพิ่มเติมโดย เห็นว่าวิศรุตมีส่วนร่วมด้วยในการกระทำความผิดของกลุ่มผู้ต้องหา จึงให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาให้วิศรุต ผู้ต้องหาที่ 4 ทราบ

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา ระบุว่า การกระทำของวิศรุตกับพวกเป็นความผิดฐาน “ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรืออื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต ให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

    วิศรุตให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และได้ให้ปากคำเบื้องต้นกับพนักงานสอบสวน จากนั้น พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัว โดยนัดให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 11 พ.ย. 2563 เวลา 9.00 น. เพื่อส่งผู้ต้องหาไปพบพนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ

    กรณีการออกหมายเรียกวิศรุตมาดำเนินคดีเพิ่มอีกคนนั้นคาดว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนในส่วนของของฉัตรชัยส่งให้พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ แล้ว แต่อัยการจังหวัดส่งสำนวนกลับโดยให้ดำเนินคดีกับวิศรุต ผู้ดำเนินรายการในการชุมนุมดังกล่าวเพิ่มอีกราย

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองอุบลฯ ลงวันที่ 6 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=22963)
  • เวลา 09.00 น. วิศรุตมีนัดหมายเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเพื่อส่งตัวให้อัยการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเช้าพนักงานสอบสวนได้โทรศัพท์นัดหมายให้วิศรุตไปพบที่ศาลจังหวัดอุบลฯ แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดชัดเจน เมื่อวิศรุตเดินทางถึงศาล เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวไปควบคุมที่ห้องขังใต้ถุนศาล ต่อมาพนักงานอัยการมาแจ้งวิศรุตว่า วันนี้จะต้องยื่นประกันตัว วิศรุตจึงได้ติดต่อทนายความ ซึ่งเดินทางไปศาลในคดีอื่นอยู่ที่ต่างจังหวัด ให้ช่วยดำเนินการเรื่องการประกันตัว ก่อนที่จะถูกตำรวจที่เฝ้าห้องขังเก็บโทรศัพท์ไป

    ช่วงบ่าย อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้เดินทางไปยื่นคำร้องขอประกันตัววิศรุต โดยใช้เงินสดจากกองทุนช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมืองยื่นเป็นหลักประกันจำนวน 120,000 บาท ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว โดยนัดสอบคำให้การในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ย. 2563) ก่อนวิศรุตได้รับการปล่อยตัวในเวลาประมาณ 14.30 น.

    วิศรุตเปิดเผยหลังจากได้รับการปล่อยตัวว่า “ผมได้มารายงานตัวตามหมายนัดวันที่ 6 พ.ย. ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหา เข้าใจว่าเป็นการรายงานตัวธรรมดาเพราะได้สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วว่าจะต้องมีทนายไปด้วยหรือไม่ จะต้องเตรียมหลักทรัพย์ในกรณีต้องยื่นขอประกันตัวหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็แจ้งว่าไม่มีอะไร แต่ปรากฏว่าเมื่อมาถึงศาลจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาตัวไปลงบันทึกขอฝากขัง บอกว่าเพื่อรอฟังคำฟ้องของอัยการซึ่งเป็นการดำเนินคดีเพิ่มเติมหลังจากที่อัยการได้สรุปสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว”

    กระบวนการที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็คือ พนักงานสอบสวนส่งตัววิศรุตให้อัยการ และอัยการส่งฟ้องต่อศาลในทันที หลังการแจ้งข้อกล่าวหาเพียง 6 วัน โดยปกติเมื่ออัยการรับตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวน จะต้องนัดหมายให้ผู้ต้องหามาฟังผลการพิจารณาสำนวนคดีอีกครั้งว่า จะสั่งฟ้องหรือไม่ หากยังพิจารณาสำนวนการสอบสวนไม่เสร็จก็จะเลื่อนไป หรือหากพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้อง อัยการหรือเจ้าหน้าที่ในสำนักงานอัยการจะแจ้งให้ผู้ต้องหาหรือทนายความเตรียมหลักทรัพย์มาประกันตัว เพราะเมื่ออัยการส่งฟ้อง ศาลจะออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งจำเลยจะต้องยื่นประกันตัว แต่กรณีนี้อัยการเร่งรัดขั้นตอน โดยไม่มีการแจ้งก่อนล่วงหน้า ทำให้วิศรุตและทนายความไม่ได้เตรียมหลักทรัพย์สำหรับประกันตัวในชั้นศาล

    วิศรุตกล่าวว่า “รู้สึกเสียใจและผิดหวังที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความจริงใจ เพราะไม่ได้แจ้งรายละเอียดให้ผมทราบอย่างชัดเจน เมื่อมาถึงศาลก็ถูกนำตัวไปขัง โดยไม่มีโอกาสได้พบทนายความ ไม่รู้ว่าคดีจะดำเนินไปยังไงต่อ หากต้องประกันตัวจะทำอย่างไรก็ไม่ทราบ เพราะไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า”

    เป็นที่น่าสังเกตถึงกระบวนการยื่นฟ้องคดีโดยเร่งรัดที่เกิดขึ้นในวันนี้ นอกจากยื่นฟ้องในทันทีที่ได้รับตัวผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวนแล้ว อัยการยังยื่นฟ้องฉัตรชัยและวิศรุต ซึ่งมีพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้จัดการชุมนุมและพิธีกร เป็นจำเลย ในข้อหายุยงปลุกปั่น และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพียง 2 คน ทั้งที่บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของวิศรุตระบุว่า คดีนี้มีผู้ต้องหา 4 คน ซึ่งตำรวจและอัยการไม่รอติดตามตัวอีก 2 คน คือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปิยรัฐ จงเทพ ซึ่งมีพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปราศรัย มาฟ้องพร้อมกัน

    ทั้งนี้ ฉัตรชัย แก้วคำปอด ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกจับกุมตามหมายจับเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา และศาลจังหวัดอุบลฯ ให้ประกันตัวในชั้นฝากขัง จะครบกำหนดฝากขังผัดที่ 2 และต้องเข้ารายงานตัวต่อศาลในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ย. 2563) คาดว่า ฉัตรชัยจะถูกขังและต้องยื่นประกันตัวในชั้นพิจารณาของศาลอีกครั้งเช่นเดียวกับวิศรุตในวันนี้ เนื่องจากอัยการได้ยื่นฟ้องแล้ว โดยที่ฉัตรชัยไม่ได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวนหรืออัยการให้ทราบเพื่อเตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวเช่นกัน

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลฯ หมายเลขคดีดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 11 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=23072)
  • 09.00 น. ฉัตรชัยและวิศรุตเดินทางมาถึงศาลตามที่ศาลนัด ในส่วนของฉัตรชัยนั้นเดิมวันนี้เป็นนัดรายงานตัวต่อศาลหลังได้รับการประกันตัวในชั้นฝากขัง โดยเป็นวันที่ครบกำหนดฝากขังผัดที่ 2 แต่เมื่ออัยการยื่นฟ้องแล้ว วันนี้จึงเป็นการมาศาลในชั้นพิจารณา

    วัฒนา จันทศิลป์ ทนายเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำให้การเป็นเอกสารต่อศาลว่า จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ และจะให้การเพิ่มเติมในชั้นพิจารณาคดี “หลังจากยื่นคำให้การจำเลยที่ 1 คือ ฉัตรชัย แก้วคำปอด คงต้องยื่นประกันตัวในชั้นศาลอีกครั้ง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 คือ วิศรุต สวัสดิ์วร ที่ได้ประกันตัวไปเมื่อวาน”

    จากนั้นทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวฉัตรชัยในชั้นศาล โดยเปลี่ยนหลักประกันจากเดิมซึ่งใช้ตำแหน่ง ส.ส.ของนายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ ส.ส.จ.อุบลฯ พรรคเพื่อไทย ในวงเงิน 2 แสนบาท แต่นายเอกชัยติดภารกิจประชุมสภาในวันนี้ เป็นการวางเงินสด 120,000 บาท โดยมีนายศราวุธ ฟุ้งสุข ทนายความ เป็นนายประกัน

    เวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจมาพบเพื่อจะควบคุมตัวทั้งสองไปขังที่ห้องขังใต้ถุนศาล แต่ฉัตรชัยและวิศรุตแจ้งว่า ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว จากนั้นทั้งหมดได้ไปที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิ โดยเจ้าหน้าที่ศาลได้อ่านคำฟ้องให้ฉัตรชัยและวิศรุตฟัง เบื้องต้นทั้งสองยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาตามที่ได้ยื่นคำให้การเป็นเอกสารไปแล้ว

    11.45 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวฉัตรชัย โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามเข้าร่วมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอีก มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน

    ศาลกำหนดนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 26 พ.ย. 2563 และนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานในวันที่ 21 ธ.ค. 2563

    คดีนี้นับเป็นคดี ม.116 คดีแรกที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาลในบรรดาคดีที่นักศึกษา-นักกิจกรรม ถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหานี้จากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่ชุมนุม #เยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 โดยมีการเร่งรัดยื่นฟ้องคดีอย่างผิดสังเกต หลังวิศรุต จำเลยที่ 2 ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเพียง 6 วัน ขณะที่บางคดีมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วกว่า 3 เดือน ก็ยังไม่มีการยื่นฟ้อง อีกทั้งอัยการคดีนี้ยังเลือกที่จะยื่นฟ้องเฉพาะนักกิจกรรมในท้องถิ่นที่สาธารณะไม่ค่อยรู้จัก อย่างไรก็ตาม ทนายวัฒนากล่าวในตอนท้ายว่า “ทั้งสองคนพร้อมต่อสู้คดี เพราะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร และอยู่ในความสนใจของสาธารณะ”

    ด้านวิศรุตกล่าวถึงคดีนี้ว่า “เป็นเพียงเครื่องมือของเจ้าหน้ารัฐในการชะลอความเคลื่อนไหวของประชาชน ทำให้เกิดความยุ่งยากกับการต่อสู้เท่านั้น แต่ผมยืนยันว่ายังคงยืนหยัดสู้ต่อไปไม่ว่าในทางคดีความหรือในเชิงการเคลื่อนไหว”

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ หมายเลขคดีดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 11 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=23110)
  • ตัวแทนพริษฐ์เข้ายื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลฯ มีเนื้อหาดังนี้

    1. พฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกิจกรรมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตําแหน่ง เป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตที่พึงกระทําได้ตามระบอบประชาธิปไตย และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ กรณีจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด กล่าวคือ

    สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนเสรีภาพในการชุมนุมเป็นเครื่องแสดงออกซึ่งเจตจํานงอย่างเสรีของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย เพื่อเป็นเครื่องสะท้อนและกระตุ้นเตือนผู้มีอํานาจที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสําคัญของการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนให้มากที่สุด การชุมนุมสาธารณะเช่นว่านี้ ยอมเป็นเป็นกลไกสําคัญอย่างยิ่งที่มีส่วนในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินได้ในระดับหนึ่ง

    ดังนั้น สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม จึงเป็นสิทธิมนุษยชนที่สําคัญซึ่งในทางสากลให้การยอมรับดังถูกบัญญัติไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) และรัฐธรรมนูญ

    สําหรับการกล่าวหาว่า ผู้ต้องหากระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 คณะพนักงานสอบสวนย่อมทราบดีอยู่ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ไม่อาจถูกตีความอย่างกว้างเพื่อนํามาใช้ดําเนินคดีหรือกลั่นแกล้งบุคคลที่ใช้เสรีภาพอย่างสุจริตในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่ดํารงตําแหน่งในองค์กรของรัฐตามปกติในระบอบประชาธิปไตยได้ แต่ต้องตีความข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีเข้ากับข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดก่อน

    ประกอบกับศาลยุติธรรมได้วางแนวคําพิพากษาไว้ว่า การที่บุคคลใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แม้จะปรากฏถ้อยคําที่ไม่เหมาะสมบ้าง หรือแม้จะมีการเรียกร้องหรือชักชวนให้บุคคลอื่นมาร่วมการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธในครั้งต่อไปให้มากขึ้น และการเรียกร้องให้รัฐบาลดําเนินการจัดการเลือกตั้งก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) และ (3) เพราะเสรีภาพชุมนุมเป็นเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญได้คุ้มครองไว้ และการเลือกตั้งเป็นวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ทําให้การเรียกร้องให้บุคคลอื่นใช้เสรีภาพตามกฎหมายหรือให้รัฐบาลดําเนินการตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ จึงมิได้เป็นการทําให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างเดื่องในหมู่ประชาชนหรือให้ประชาชนทําผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ การกระทําของบุคคลที่มีความรุนแรงจนถึงขนาดที่จะเข้าองค์ประกอบเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ตามแนวคําพิพากษาของศาลยุติธรรมที่วาง แนวไว้ได้แก่ การที่จําเลยปราศรัยเรียกร้องให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทําความผิดตามกฎหมายที่รุนแรงอย่างทําลายทรัพย์สินของทางราชการอันได้แก่ การวางเพลิงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ปรากฏในคําพิพากษาศาล ฎีกาที่ 2038-2041/2527

    ข้อเท็จจริงในคดีนี้ การจัดกิจกรรมชุมนุมตามวันและเวลาที่กล่าวหานั้น ผู้ต้องหาเข้าร่วมมีลักษณะเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ข้อเรียกร้องของผู้จัดกิจกรรมชุมนุมในวันดังกล่าวก็ปรากฏว่าเป็นข้อเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญทั้งหมด

    ประการแรก การที่บุคคลใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเรียกร้องต่อองค์กรของรัฐให้มีการปฏิรูป กฎหมายและรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับพระราชอํานาจต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงการเรียกร้องมิให้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายและรัฐธรรมนูญใดให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอํานาจทรงทําสิ่งใดได้ด้วยพระองค์เองเพียงลําพัง แต่จะต้องกระทําตามคําแนะนําขององค์กรของรัฐอย่างรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในระบอบประชาธิปไตยที่ว่า “พระมหากษัตริย์ไม่อาจกระทําผิด” (The King can do no wrong) ซึ่งมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ไม่ทรงทําสิ่งใด แต่ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐมนตรี ผู้รับสนองบรมราชโองการเท่านั้น เพื่อให้พระมหากษัตริย์พ้นจากการเมืองและการติเตียนวิพากษ์วิจารณ์ หลักการดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการเทิดพระเกียรติกษัตริย์ให้สูงเด่นยิ่งขึ้นมิใช่การล่วงละเมิดแต่อย่างใด ดังนั้น การใช้เสรีภาพดังกล่าวของผู้ต้องหาจึงเป็นเรียกร้องที่อยู่ภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญทุกประการ

    ประการที่สอง การเรียกร้องให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีดําเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น ก็เป็นวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าอํานาจสูงสุดภายในรัฐเป็นของประชาชน ประกอบกับตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ได้มอบอํานาจให้คณะรัฐมนตรียื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา การที่ประชาชนจะเรียกร้องให้รัฐบาลดําเนินการในวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย และใช้อํานาจตามรัฐธรรมนูญเพื่อดําเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่อยู่ภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และ

    ประการที่สาม การเรียกร้องให้รัฐบาลดําเนินการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดของประเทศได้แสดงเจตจํานงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะทําหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่จะดํารง ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เป็นการเรียกร้องตามปกติในวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย ประกอบกับตาม มาตรา 103 ประกอบด้วยมาตรา 182 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มอบอํานาจให้คณะรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา และยินยอมให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอํานาจตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้

    ดังนั้น การเรียกร้องในข้อเรียกร้องดังกล่าวทั้งสามประการจึงเป็นการกระทําที่อยู่ภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ตามแนวคําพิพากษาของศาลยุติธรรม ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นแสดงออกด้วยวาจาที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 116 ได้ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของผู้ต้องหาผ่านการปราศรัยหรือการร้องเพลงหรือการชูแผ่นป้ายก็เป็นสิทธิของประชาชน ในการตรวจสอบหรือติชมรัฐบาลตามหลักประชาธิปไตย

    เมื่อปรากฎในทางข้อเท็จจริงแห่งคดีว่าการชุมนุมของผู้ต้องหาเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ต้องหาไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 แล้ว การที่พนักงานสอบสวนกล่าวหาผู้ต้องหาในคดีนี้จึงเป็นไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งมีโทษอาญาทั้งโทษจําคุกและโทษปรับที่รุนแรง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการจํากัดเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของผู้ต้องหา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลใช้อํานาจให้สอดคล้องกับวิถีทางระบอบประชาธิปไตย

    2. ผู้ต้องหามีความประสงค์จะขออ้างพยานบุคคลเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ที่กําหนดให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน ทุกชนิด เพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ดังต่อไปนี้
    (1) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมหาชน ในประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุม
    (2) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ ในประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์กร หรือสถาบันทางการเมือง
    (3) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ ในประเด็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางด้านประวัติศาสตร์

    โดยพยานบุคคลทั้งสามดังกล่าวข้างต้น เป็นพยานบุคคลสําคัญซึ่งจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาในประเด็นว่า การชุมนุมและคําปราศรัยของผู้ต้องหาได้กระทําไปโดยสุจริตและ/หรือตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ บนกรอบพื้นฐานข้อเท็จจริงหรือหลักการทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐศาสตร์ และ ประวัติศาสตร์

    เพื่อให้ผู้ต้องหามีโอกาสได้ต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์อย่างเต็มที่และเป็นธรรมตามสิทธิของผู้ต้องหาที่ได้รับการรับรองไว้ จึงขอให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนพยานเพิ่มเติมตามที่ผู้ต้องหาได้ร้องขอซึ่งจะได้ยื่นรายชื่อต่อท่านต่อไป และพิจารณามีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเสนอไปยังพนักงานอัยการด้วย

    (อ้างอิง: คำให้การเพิ่มเติมของพริษฐ์ ชิวารักษ์ ลงวันที่ 18 พ.ย. 2563)
  • หลังปิยรัฐ จงเทพ หรือ “โตโต้” แกนนำการ์ดอาสาคณะราษฎร ถูกชุดเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจับกุมย่านทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ตามหมายจับของศาลจังหวัดอุบลฯ ในวันที่ 24 พ.ย. 2563 และถูกควบคุมตัวเดินทางถึง สภ.เมืองอุบลฯ กลางดึก เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้จัดทำบันทึกการจับกุม ก่อนนำตัวปิยรัฐเข้าห้องขัง และปฏิเสธให้ประกันตัว อ้างว่ายังไม่ได้สอบปากคำ

    เวลา 10.40 น. ปิยรัฐถูกนำตัวไปสอบสวน โดยมีทนายความและบุคคลที่ไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหา พร้อมรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดี ซึ่งเป็นเนื้อหาการถอดคำปราศรัยของปิยรัฐ ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 โดยให้ปิยรัฐอ่านเอง พนักงานสอบสวนแจ้งว่าเหตุที่ไม่ได้อ่านให้ฟังเพราะ “เป็นถ้อยคำที่ล่อแหลม ละเอียดอ่อน อาจมีผลต่อคดีเพิ่มเติม” จากนั้นปิยรัฐได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และขอให้การในรายละเอียดเมื่อชั้นพิจารณาของศาลต่อไป

    เมื่อสอบสวนแล้วเสร็จ เสนาะ เจริญพร นักวิชาการจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ ได้เตรียมเอกสารและหลักทรัพย์มายื่นขอประกันตัวปิยรัฐในชั้นสอบสวน แต่ พ.ต.ท.สมอาจ แคนเภาว์ หัวหน้าพนักงานสอบสวน มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน โดยอ้างเหตุว่าเกรงผู้ต้องหาจะหลบหนีและไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งคดียังมีอัตราโทษสูงและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง รวมถึงเกรงว่าผู้ต้องจะไปชักชวนโน้มน้าวให้ประชาชนก่อความรุนแรงในการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งอาจก่อความไม่สงบในบ้านเมืองอีก และผู้ต้องหาอาจก่ออุปสรรคต่อการสอบสวนโดยการนำมวลชนหรือประชาชนมากดดันการสอบสวน

    หลังจากมีคำสั่ง พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวปิยรัฐไปขออำนาจศาลในการฝากขัง โดยยืนยันจะควบคุมตัวไว้ที่ สภ.เมืองอุบลฯ ต่อ ตามอำนาจการควบคุมของพนักงานสอบสวน คือสามารถควบคุมตัวได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง และจะนำส่งศาลในเช้าวันที่ 26 พ.ย. 63
    หลังจากนั้น นายปิยรัฐยังได้ขอลงบันทึกประจำวันกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาไว้ เนื่องจากทราบจากรายงานข่าวว่าตนมีชื่อเป็นผู้ถูกออกหมายเรียกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เลขที่คดี 3805/2563 ในพื้นที่ สภ.เมืองอุบลราชธานี จึงต้องการลงบันทึกและสอบถามข้อเท็จจริงว่าหมายคดีดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่

    ทางพนักงานสอบสวนชี้แจงว่ายังไม่ปรากฏเรื่องดังกล่าวตามที่ปิยรัฐทราบข่าวมา ปิยรัฐจึงแจ้งว่าหากมีการแจ้งความในข้อหามาตรา 112 ขอให้พนักงานสอบสวนมีหมายเรียก จะได้มาพบตามวันเวลาที่นัดหมาย เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ

    ปิยรัฐตั้งข้อสังเกตว่าการจับกุมครั้งนี้เป็นเพียงเกมการเมือง ไม่ใช่เรื่องการก่ออาชญากรรมหรือการจับตัวอาชญากร เพราะเจ้าหน้าที่รัฐต้องการสกัดกั้นการชุมนุม ทำให้เกิดความยุ่งยาก และทำให้ตนไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมในวันนี้ได้ ทั้งการชุมนุมที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมได้ยึดหลักการชุมนุมอย่างสงบสันติมาโดยตลอด กลุ่มการ์ดได้ทำหน้าที่คอยห้ามปรามอารมณ์ของผู้ชุมนุม ไม่ให้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคอยอธิบายชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการชุมนุมของประชาชนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าใจอยู่เสมอ

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สภ.เมืองอุบลฯ ลงวันที่ 25 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23510 )
  • เวลาประมาณ 08.30 น. พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลฯ ควบคุมตัวปิยรัฐไปยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ต่อศาลจังหวัดอุบลฯ หลังควบคุมตัวอยู่ที่ สภ.เมืองอุบลฯ ราว 32 ชม. ด้านทนายความของปิยรัฐได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง และขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวนถึงเหตุจำเป็นในการขอฝากขังด้วย

    ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. ศาลออกพิจารณาคำร้องขอฝากขังปิยรัฐ โดยได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่ามีเหตุจำเป็นอย่างไร พนักงานสอบสวนเบิกความว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากยังไม่ได้สอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม และยังต้องรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของปิยรัฐ

    นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังได้เบิกความว่า หากปล่อยตัวผู้ต้องหาไป เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีและไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อีกทั้งคดีมีอัตราโทษสูงและเป็นภัยต่อความมั่นคง ผู้ต้องหาอาจก่อความไม่สงบในบ้านเมืองอีก และอาจก่ออุปสรรคต่อการสอบสวนโดยการนำมวลชนมากดดัน รวมทั้งผู้ต้องหาไม่มีความเคารพยำเกรงกฎหมายของบ้านเมือง เห็นได้จากเคยฉีกบัตรการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2559

    ฉัตรชัย แก้วคำปอด ในฐานะทนายความของปิยรัฐได้ถามค้านพนักงานสอบสวนมีเนื้อหาโดยสรุปว่า การสอบสวนชุดจับกุมยังไม่แล้วเสร็จนั้น เป็นขั้นตอนการดำเนินงานของพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาซึ่งเป็นเพียงประชาชนไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ ส่วนการสอบสวนผู้ต้องหานั้นได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวาน และการตรวจสอบประวัติอาชญากรสามารถทำได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้อีก นอกจากนี้ คดีนี้ได้มีการฟ้องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไปแล้ว 2 คน คือ ทนาย (ฉัตรชัย) และวิศรุต สวัสดิวร แสดงว่ามีการรวบรวมพยานหลักฐานครบถ้วนแล้ว

    จากนั้น เวลาประมาณ 11.40 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังปิยรัฐของพนักงานสอบสวน ทำให้ปิยรัฐได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ต้องยื่นประกันตัว ท่ามกลางความดีใจของเพื่อนและประชาชนที่มารอให้กำลังใจ

    วันเดียวกันนี้ “ทนายแชมป์” ฉัตรชัย แก้วคำปอด และวิศรุต สวัสดิ์วร ซึ่งถูกฟ้องคดีไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ได้เดินทางมาศาลตามที่ศาลนัดคุ้มครองสิทธิ โดยศาลได้อธิบายฟ้องและถามคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งสองยืนยันคำให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา นัดต่อไปคือ สอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน ในวันที่ 21 ธ.ค. 2563

    (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดอุบลฯ ลงวันที่ 26 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23578)
  • พ.ต.ท.ปราโมทย์ ชื่นตา รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองอุบลฯ และ พ.ต.ท.เฉลิมยศ พรหมสุวรรณ สว.(สอบสวน) สภ.เมืองอุบลฯ ได้แจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์เพิ่มเติม ที่ สน.ชนะสงคราม ขณะพริษฐ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563

    พนักงานสอบสวน บรรยายพฤติการณ์ในคดีและแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่า มีการถอดเป็นเอกสารคําพูดของผู้ต้องหาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาได้กล่าวคําพูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร โดยมีเจตนาที่จะใส่ความ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือและเทิดทูนของประชาชนเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม หรือเกิดความอับอาย พฤติการณ์และการกระทําของผู้ต้องหากับพวกเป็นความผิดฐาน “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์”

    พริษฐ์ให้การปฏิเสธ โดยไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ทนายความผู้ต้องหาเขียนหมายเหตุไว้ว่า “ผู้ต้องหาไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ เนื่องจากไม่ยอมรับอำนาจศักดินา ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ และไม่ยอมรับมาตรา 112 เป็นกฎหมาย”

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองอุบลฯ ลงวันที่ 30 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23649)
  • เวลา 09.00 น. จำเลยทั้งสองพร้อมทีมทนายความเดินทางมาถึงศาล เมื่อเข้าไปที่ห้องพิจารณาคดี ทราบจากอัยการว่า ทางอัยการได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานออกไป

    คำร้องของอัยการระบุเหตุผลว่า เนื่องจากคดีนี้จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดกับปิยรัฐ จงเทพ และพริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพนักงานสอบสวนนัดหมายบุคคลทั้งสองมาพบพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสั่งคดี โดยคาดว่าจะมาพบพนักงานอัยการได้ภายในเดือนมกราคม 2564 และเนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นคดีสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มบุคคลอันกระทบถึงผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และเป็นคดีที่อ่อนไหวกระทบต่อแนวคิดของบุคคลหลายฝ่าย และบุคคลทั้งสองได้ถูกกล่าวหาในข้อหาทำนองเดียวกันกับคดีนี้ในท้องที่ของสถานีตำรวจหลายท้องที่ ดังนั้น พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ จะต้องส่งสำนวนของบุคคลทั้งสองเสนออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาตามแนวทางการสั่งคดี ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 1- 2 เดือน

    อีกทั้งคดีของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ กับคดีของปิยรัฐและพริษฐ์ เป็นสำนวนการสอบสวนเดียวกัน มีพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ซึ่งอัยการประสงค์จะขอรวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันกับคดีนี้เพื่อให้ศาลพิจารณาไปในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วเป็นธรรม และไม่เป็นภาระของจำเลยในการเดินทางมาศาลหลายครั้ง จึงขอให้ศาลเลื่อนการตรวจพยานออกไปสักระยะหนึ่ง

    ต่อมาเวลา 10.30 น. หลังศาลพิจารณาคำร้องของอัยการแล้วได้มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานไปในวันที่ 22 ก.พ. 2564 มีรายละเอียดว่า “เมื่อมูลความแห่งคดีนี้ กับสำนวนคดีปิยรัฐและพริษฐ์ที่อัยการโจทก์ประสงค์ขอรวมการพิจารณามีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ถูกฟ้องว่าร่วมกันกระทำความผิดในข้อหาเดียวกัน และพยานหลักฐานชุดเดียวกัน แต่คดีของปิยรัฐและพริษฐ์อยู่ระหว่างพนักงานสอบสวนนัดหมายบุคคลทั้งมาพบพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสั่งคดี ประกอบกับจำเลยทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาและไม่ค้านการขอเลื่อนคดี จึงมีเหตุสมควรที่จะเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานวันนี้เพื่อรอคดีของปิยรัฐและพริษฐ์มารวมการพิจารณาเพื่อจะได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาคดีทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน”

    ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตต่อกระบวนการในวันนี้ว่า “เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่อ่อนไหว และเพนกวินกับโตโต้ถูกกล่าวหาในข้อหาทำนองเดียวกันในหลายท้องที่ ถ้าอัยการแต่ละท้องที่พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องไปคนละทิศทาง อาจทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ได้ พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ จึงต้องรอส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาด้วย”

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24291)
  • พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องปิยรัฐในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และสั่งฟ้องพริษฐ์ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112, มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และได้ส่งตัวพริษฐ์ และปิยรัฐ พร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ โดยอัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 24 ก.พ. 2564

  • เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งทนายความเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 ว่า ให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีของฉัตรชัยและวิศรุตไปเป็นวันที่ 17 พ.ค. 2564 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
  • อัยการยังพิจารณาสำนวนการสอบสวนของปิยรัฐและพริษฐ์ไม่เสร็จ จึงให้เลื่อนฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 24 มี.ค. 2564
  • เจ้าหน้าที่แจ้งทนายความว่า อัยการสูงสุดยังไม่มีคำสั่งในคดีของปิยรัฐและพริษฐ์ อัยการจึงให้เลื่อนฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 27 เม.ย. 2564
  • อัยการสูงสุดยังพิจารณาสำนวนการสอบสวนของปิยรัฐและพริษฐ์ไม่เสร็จ จึงให้เลื่อนฟังคำสั่งออกไปยังไม่กำหนดวันนัดใหม่
  • เจ้าหน้าที่แจ้งก่อนวันนัดให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีของฉัตรชัยและวิศรุตออกไป ยังไม่กำหนดวันนัดใหม่
  • ปิยรัฐเดินทางจากจังหวัดกาฬสินธุ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติม ตามหมายเรียกผู้ต้องหาของ สภ.เมืองอุบลราชธานี หลังจากได้ขอเลื่อนจากวันที่ 14 มิ.ย. 2563 เนื่องจากติดนัดศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ในคดีอื่น โดยมีวัฒนา จันทศิลป์ ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมรับฟัง

    ก่อนหน้านี้ พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณา โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่งสำนวนกลับมายังพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน เพื่อให้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ปิยรัฐ ตามมาตรา 112

    พ.ต.อ.อุทัย ปุชิน ผกก.สภ.นาโพธิ์ (บุณฑริก) คณะพนักงานสอบสวน ตามคําสั่ง ภ.จว.อุบลราชธานี ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2563 ได้นำบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมซึ่งได้พิมพ์พฤติการณ์ในคดีไว้แล้วให้ปิยรัฐอ่าน โดยมีเนื้อความเช่นเดียวกับที่เคยได้แจ้งไปแล้ว ระบุว่า เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 ฉัตรชัย แก้วคําปอด ได้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะขึ้นที่บริเวณลานศาลหลักเมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีวิศรุต สวัสดิ์วร เป็นแกนนําผู้ดําเนินรายการบนเวที เชิญให้พริษฐ์และปิยรัฐขึ้นกล่าวปราศรัยให้ผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คน ฟัง มีการถ่ายทอดภาพและเสียงทางเฟซบุ๊กเพจ คณะอุบลปลดแอก เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง โดยพริษฐ์และปิยรัฐได้พูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันกษัตริย์ ยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน

    บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาได้ยกบางตอนในคำปราศรัยของพริษฐ์ ซึ่งปราศรัยเรื่อง “กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” อธิบายถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ทั้ง 10 ข้อ และคําปราศรัยบางตอนของปิยรัฐ ซึ่งปราศรัยในประเด็น “พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์กับบทบาทของกองทัพไทย” ระบุว่า เป็นหัวใจสําคัญของปัญหาโครงสร้างการเมืองของไทย เนื่องจากมีบทบาทในการเซ็นรับรองรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีต อีกทั้ง สภาผู้แทนฯ ได้ผ่าน พ.ร.ก.โอนย้ายดำลังพลและงบประมาณของกรมทหารราบที่ 11 และกรมทหารราบที่ 1 ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งที่ผ่านมามีบทบาทเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร จึงมีข้อเสนอให้แยกพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ออกจากกองทัพอย่างเด็ดขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

    บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมระบุในตอนท้ายว่า พนักงานสอบสวนได้รับหนังสือจากอัยการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ อส 0059(อบ)/1784 ลงวันที่ 31 พ.ค. 2564 เรื่อง สอบสวนเพิ่มเติม คดีตามนัยความเห็นของสํานักงานอัยการสูงสุด ให้พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี แจ้งพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติม โดยให้พนักงานสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาว่า “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์”

    พ.ต.อ.อุทัย จึงได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ปิยรัฐว่า “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิน หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ปิยรัฐได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    หลังเสร็จการสอบปากคำเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวปิยรัฐไว้ เนื่องจากเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม และปิยรัฐมาพบตามหมายเรียก โดยพนักงานสอบสวนจะได้ส่งสำนวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำเพิ่มเติมให้พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ ดำเนินการต่อไป

    ทั้งนี้ โตโต้ได้โพสต์เฟซบุ๊กภายหลังเสร็จกระบวนการที่สถานีตำรวจว่า “ผมได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมาย ณ สภ.เมืองอุบลราชธานี กรณีการปราศรัยของผมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 63 ที่ศาลหลักเมืองอุบลฯ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์การรัฐประหาร และเนื้อหาเกี่ยว พรก.โอนย้ายกำลังพลฯ ร่วมถึง การแต่งตั้ง และปลดทหารหญิง ซึ่งมีความไม่ปกติเกิดขึ้น ผมขอยืนยันว่าเนื้อหาในวันนั้นโดยรวมไม่มีคำใดเลยเป็นคำหยาบคายหรือดูหมิ่น ทุกคำพูด และทุกกิริยาเป็นไปเพื่อความถูกต้อง และความสง่างามของทุกสถาบันการเมืองไทย ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย”

    คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 3 ของปิยรัฐ หลังถูกกล่าวหาเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 ว่าจัดทำป้ายไวนิลวิพากษ์วิจารณ์การจัดหาวัคซีนโควิดเป็นคดีแรก และถูกขังระหว่างสอบสวนรวม 33 วัน ก่อนได้ประกันตัว โดยต้องติด EM และมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ต่อมา วันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเป็นคดีที่ 2 จากเหตุโพสต์เฟซบุ๊กพาดพิงการใช้ภาษีของกษัตริย์

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองอุบลฯ ลงวันที่ 15 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30838)
  • เวลา 9.30 น. ปิยรัฐเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปพบพนักงานสอบสวนตามที่พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวผู้ต้องหาทั้งสอง คือ ปิยรัฐและพริษฐ์พร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้ขอเลื่อนมาจากเมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่พริษฐ์ถูกขังในคดีชุมนุมหน้า บก.ตชด.ภาค 1 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 และคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลังติดโควิดระหว่างการถูกขังอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวรังสิต

    อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนได้นัดหมายให้ปิยรัฐไปที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ระบุว่า อัยการจะยื่นฟ้องเลยในวันนี้

    ประมาณ 10.00 น. อัยการเดินทางมายื่นฟ้องปิยรัฐต่อศาลจังหวัดอุบลฯ ในฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์, ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบ หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116(2)(3) และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) คำฟ้องของอัยการไม่คัดค้านการประกันตัว ระบุว่าให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    หลังศาลรับฟ้อง ปิยรัฐถูกนำตัวไปที่ห้องควบคุมตัวเพื่อรอยื่นประกันซึ่งอยู่ใต้ถุนศาล โดยทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดี เสนอหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท ระบุเหตุผลโดยสรุปว่า พฤติการณ์ในคดีนี้เป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็น จำเลยมีเจตนาเพียงแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสถาบันหลักของชาติให้ดำรงอยู่ในสังคมไทยสืบเนื่องต่อไป ไม่ได้มีพฤติการณ์ร้ายแรง โดยจำเลยขอปฏิเสธข้อกล่าวหาที่โจทก์ฟ้องทุกประการ และประสงค์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ อีกทั้งจำเลยไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี ก่อนหน้านี้จำเลยก็ถูกฟ้องในฐานความผิดเดียวกันนี้ที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และศาลได้อนุญาตให้ประกันมาแล้ว

    ต่อมา ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องโดยสรุปให้ปิยรัฐฟังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากห้องเวรชี้ พร้อมทั้งถามคำให้การเบื้องต้น ปิยรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 14 ธ.ค. 2564 และตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 25 ม.ค. 2565

    เวลา 11.10 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันโดยให้วางหลักประกันเป็นเงิน 100,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขอื่นใด หลังนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลฯ เป็นนายประกันวางเงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ปิยรัฐก็ได้รับการปล่อยตัวในเวลาประมาณ 11.30 น.

    ทั้งนี้ ในวันนี้อัยการไม่ได้ยื่นฟ้องพริษฐ์มาพร้อมกัน แม้ว่าจะสามารถทำได้ เนื่องจากพริษฐ์ถูกคุมขังอยู่ในอำนาจของศาลอาญาและศาลจังหวัดธัญบุรีอยู่แล้ว

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.685/2564 ลงวันที่ 2 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34459)
  • ปิยรัฐเดินทางไปศาลพร้อมทนายความ ตามที่ศาลนัดคุ้มครองสิทธิ โดยศาลได้อธิบายฟ้องและถามคำให้การ ปิยรัฐยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานใหม่ตามที่มีวันว่าง ศาลนัดสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานอีกครั้งในวันที่ 31 ม.ค. 2565
  • นัดตรวจพยานหลักฐานคดีมาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของฉัตรชัยและวิศรุต จำเลยทั้งสองพร้อมทนายจำเลยมาศาล ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอรวมพิจารณาคดีกับคดีมาตรา 112 ของปิยรัฐ เนื่องจากมีประเด็นพิจารณาคดีเดียวกัน และพยานหลักฐานชุดเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดี โจทก์ไม่ค้าน ศาลเลื่อนไปสั่งรวมการพิจารณาคดีในวันนัดตรวจพยานหลักฐานของปิยรัฐในวันที่ 31 ม.ค. 2565

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 20 ธ.ค. 2564)
  • ฉัตรชัย, วิศรุต และปิยรัฐ พร้อมทนายความมาศาล โจทก์และจำเลยแถลงความประสงค์ขอรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ โจทก์ยังแถลงว่า คดีทั้งสองยังมีความเกี่ยวพันกับคดีของพริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนําตัวมาฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลฯ โดยหากโจทก์ฟ้องพริษฐ์เป็นจําเลยต่อศาลนี้แล้ว ก็มีความประสงค์ที่จะให้นําคดีของพริษฐ์พิจารณารวมไปกับทั้งสองคดีนี้ด้วย

    ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยคดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 เป็นคดีหลัก ให้เรียกจําเลยที่ 1 (ฉัตรชัย) และที่ 2 (วิศรุต) ในคดีนี้ ว่า จําเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เรียกจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.685/2564 (ปิยรัฐ) ว่าจําเลยที่ 3 ในส่วนของการสอบคําให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื่องนั้น เห็นว่าให้รอโจทก์ดําเนินการในส่วนของคดีที่เกี่ยวกับพริษฐ์ เพื่อกําหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื่องไปทีเดียว โดยให้นัดพร้อมเพื่อฟังผลคดีอีกครั้งในวันที่ 8 เม.ย. 2565

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 และคดีหมายเลขดำที่ อ.685/2564 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2565)
  • ศาลจังหวัดอุบลราชธานีนัดพิจารณาคดีจากกรณีชุมนุม “เด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง” ที่ศาลหลักเมืองอุบลฯ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 ซึ่ง 2 นักกิจกรรม ฉัตรชัย แก้วคำปอด และวิศรุต สวัสดิ์วร ถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ‘116’ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอีก 1 นักกิจกรรม “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา ‘112’ ด้วย โดยศาลนัดมาเพื่อสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน นอกจากนี้ อัยการยังนัด “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ มาส่งฟ้องต่อศาลใน 3 ข้อหา เหมือนปิยรัฐ

    นักกิจกรรมทั้ง 4 รายเดินทางมาถึงศาลตั้งแต่ 10.00 น. โดยพริษฐ์ต้องรออัยการมายื่นฟ้องก่อน ส่วนอีก 3 ราย ขึ้นไปห้องพิจารณาคดีที่ 3 ทั้งอัยการและทนายจำเลยต่างแถลงว่าวันนี้มีการสั่งฟ้องพริษฐ์ด้วย หากศาลรับฟ้อง เห็นว่าคดีนี้กับของพริษฐ์เกิดขึ้นในวันและเวลาเดียวกัน หากรวมการพิจาณาคดีน่าจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีมากกว่า จึงขอเลื่อนการพิจารณาคดีออกไปก่อน จนกว่ากระบวนการฟ้องคดีในส่วนของพริษฐ์จะเสร็จสิ้น จากนั้นปวีณา วิโรจน์ธนะชัย ผู้พิพากษา กล่าวว่า เมื่อคู่ความมีความประสงค์ให้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน จึงให้รอฟังผลการยื่นฟ่องคดีของพริษฐ์และให้คู่ความเข้าห้องพิจารณาคดีอีกครั้งในช่วงบ่าย

    ระหว่างที่พริษฐ์รออัยการมายื่นฟ้องจนถึงราว 11.45 น. พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลฯ โทรศัพท์มาแจ้งทนายความว่า ให้พริษฐ์เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ‘ดูหมิ่นศาล’ ที่มีเหตุจากการชุมนุม 22 ส.ค. 2563 เช่นเดียวกัน แต่ผ่านไปราว 5 นาที เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ กลับนำคำฟ้องมาถึงศาล วัฒนา จันทศิลป์ ทนายความกล่าวว่า กระบวนการของทั้งอัยการและตำรวจค่อนข้างทำให้เพนกวินสับสนว่าจะทำอะไรก่อน และรู้สึกค่อนข้างเสียเวลาในการรอคำฟ้อง ทั้งๆ ที่สำนักงานอัยการและศาลจังหวัดอยู่ห่างกันไม่ถึง 1 กิโลเมตร

    หลังศาลรับฟ้องแล้ว พริษฐ์ต้องไปอยู่ในห้องควบคุมตัวของศาล ทนายความจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสด 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เท่ากับเงินที่ใช้ประกันปิยรัฐในคดีนี้ พร้อมทั้งระบุเหตุผลโดยสรุปว่า ปัจจุบันจำเลยเป็นนักศึกษา อยู่ระหว่างการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยกำหนด หากไม่ได้เข้าเรียนหรือเข้าสอบ ย่อมส่งผลกระทบถึงสิทธิการศึกษาของจำเลยในการที่จะจบการศึกษาอย่างแน่นอน อีกทั้งจำเลยเคยถูกคุมขังในคดีของศาลอาญามาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 100 วัน รับรู้ถึงความยากลำบากของการใช้ชีวิตในเรือนจำ และความยากลำบากในการแสวงหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดี ทำให้จำเลยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นไม่กระทำการใดอันเป็นการผิดเงื่อนไขของศาล

    ในช่วงบ่ายระหว่างรอฟังคำสั่งประกันตัวของพริษฐ์ ศาลได้ออกพิจารณาคดีอีกครั้ง อัยการแถลงว่า ศาลรับฟ้องคดีของพริษฐ์แล้ว มีวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื่องในวันที่ 15 ส.ค. 2565 โจทก์จึงขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีของพริษฐ์เข้ากับคดีของฉัตรชัย, วิศรุต และปิยรัฐ จึงขอเลื่อนการสอบคำให้การในนัดนี้ออกไป ส่วนจำเลยทั้งสามก็แถลงว่าต้องการให้รวมการพิจารณาคดีเช่นกัน ศาลจึงเห็นควรรวมการพิจารณาคดีและให้เลื่อนนัดออกไปเป็นวันที่ 15 ส.ค. 2565 ตามที่คู่ความต้องการ ก่อนมีคำสั่งให้ประกันตัวพริษฐ์ในเวลา 15.45 น. โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ

    สำหรับคำฟ้องที่วรสิทธิ์ วงค์บุญ พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี ยื่นฟ้องพริษฐ์ บรรยายเช่นเดียวกับคำฟ้องของปิยรัฐ ระบุว่า คำปราศรัยของพริษฐ์ในการชุมนุม เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2563 ซึ่งพริษฐ์กล่าวถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพและสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ ทำให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ และกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ทำผิดได้โดยไม่ถูกฟ้องร้อง รวมทั้งกล่าวถึงข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ มีลักษณะยุยงปลุกปั่นเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่ประชาชนฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจะก่อความไม่สงบและก่อความวุ่นวาย ทั้งยังน่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง และเป็นคําพูดปราศรัยในลักษณะที่ไม่บังควรต่อสถาบันกษัตริย์

    โดยโจทก์ถือว่าการกระทำของพริษฐ์เป็นความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบ หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116(2)(3) และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)

    ท้ายคำฟ้องระบุขอให้ศาลนับโทษจำคุกของจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.283/2564 ของศาลอาญา (คดีชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) อีกด้วย

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563, คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.245/2565 ลงวันที่ 8 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42445)
  • ฉัตรชัย วิศรุต และปิยรัฐ พร้อมทนายจำเลยมาศาล ส่วนพริษฐ์ติดพิจารณาคดีอื่นที่ศาลแขวงดุสิต และติดสอบ จึงไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ อัยการแถลงขอรวมพิจารณาคดีของพริษฐ์ที่ฟ้องแยกมาทีหลังเข้ากับคดีของจำเลยทั้งสามนี้ ศาลอนุญาตให้รวมการพิจารณาคดี และอนุญาตให้เลื่อนสอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ พร้อมทั้งตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานไปเป็นวันที่ 10 ต.ค. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 15 ส.ค. 2565)
  • ทั้งปิยรัฐและพริษฐ์เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานี การจราจรเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะพริษฐ์ที่ยังต้องติด EM ตามเงื่อนไขศาล ไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ ต้องนั่งรถไฟมาที่อุบลฯ โดยตัวสถานีรถไฟอุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ อ.วารินชำราบ ปกติจะใช้เวลาเดินทางไปศาลจังหวัดอุบลฯ ไม่ถึง 10 นาที แต่ด้วยน้ำท่วมทางสัญจรระหว่าง อ.เมือง กับ อ.วารินฯ ทำให้ไม่สามารถข้ามไปมาได้ รถจะต้องขับอ้อมและเผชิญการจราจรที่ติดขัด และใช้เวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง จนถึงศาลในช่วงเวลา 10.15 น.

    ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 3 ปวีณา วิโรจน์ธนะชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดอุบลฯ อ่านคำฟ้องให้ทั้งนักกิจกรรมทั้งสี่ฟังอีกครั้ง ก่อนทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธ และขอต่อสู้คดีเช่นเดิม

    ++วิพากษ์วิจารณ์ตรงไปตรงมา ด้วยเจตนาดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

    นอกจากนี้ ปิยรัฐและพริษฐ์ จำเลยที่ 3 และ 4 ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ลงวันที่ 10 ต.ค. 2565 ระบุว่า ขอยืนยันว่า ข้อความตามที่ถูกกล่าวหา เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตบนพื้นฐานข้อเท็จจริง วิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยเจตนาที่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จำเลยไม่ได้ทำผิดต่อกฎหมายตามที่โจทก์กล่าวหาแต่อย่างใด จึงมีความจำเป็นจะต้องอ้างพยานบุคคลและพยานเอกสารต่างๆ ประกอบการสืบพยานเพื่อต่อสู้คดี พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย

    คำให้การของทั้งสองยังระบุอีกว่า แม้พระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 6 รับรองไว้ ก็เป็นแต่เพียงการรับรองว่าผู้ใดจะใช้สิทธิตามกฎหมาย กล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางแพ่ง อาญา ต่อศาลในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองไว้เพียงเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึง ห้ามมิให้วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นติชมพระองค์โดยสุจริต ซึ่งการแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 34 โดยรัฐธรรมนูญอันถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด

    นอกจากนี้คำว่าละเมิด (Violation) หมายถึง การกระทำโดยผิดกฎหมาย กล่าวคือ ไม่มีอำนาจจะกระทำเช่นนั้น การกระทำที่เป็นการกระทบสิทธิแต่ทำโดยมีอำนาจ ย่อมไม่เป็นการละเมิด จึงไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และมาตรา 34 ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอ้างพยานหลักฐานต่าง ๆ เข้ามาต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ว่าการกระทำของจำเลยได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ อย่างไร

    ++เตรียมสืบ คำปราศรัย กษัตริย์ใช้อำนาจขณะอยู่ต่างประเทศ-มีการโอนย้ายกำลังพล-เปลี่ยนชื่อทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นเท็จตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่

    ในการตรวจพยานหลักฐาน นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ยื่นบัญชีพยานระบุพยานบุคคลรวม 21 ปาก พร้อมทั้งยื่นคำแถลงความเกี่ยวข้องของพยาน ระบุว่า นอกจากปิยรัฐและพริษฐ์ที่อ้างตนเองเป็นพยานแล้ว พยานลำดับที่ 3 – 12 เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ เช่น ปิยบุตร แสงกนกกุล, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ณัฐพล ใจจริง ซึ่งจะนำสืบเกี่ยวกับข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 6, การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ขณะประทับอยู่ในราชอาณาจักร และขณะไม่ได้ประทับอยู่ในราชอาณาจักร, การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตรากำลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม รวมถึงการโอนเปลี่ยนแปลงรายการทรัพย์สินจากชื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปเป็นชื่อของในหลวง ร.10

    ส่วนพยานลำดับที่ 13 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำสืบในประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่ได้มีการออกเสียงลงประชามติแล้ว, พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์, การเปลี่ยนแปลงไปของลานพระบรมรูปทรงม้า รัฐสภาเดิม สวนสัตว์เขาดิน สนามม้านางเลิ้ง และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    พยานลำดับที่ 14 – 19 ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, กงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, เลขาธิการพระราชวัง, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น จะนำสืบในประเด็นว่า ในหลวง ร.10 ได้มีการไปพำนักต่างประเทศหรือไม่อย่างไร และได้มีการใช้พระราชอำนาจขณะที่พระองค์พำนักอยู่ที่ต่างประเทศหรือไม่อย่างไร และประเด็นอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นในคำฟ้อง

    พยานลำดับที่ 20 คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะนำสืบว่า มีการจัดสรรงบประมาณของกระทรวงพาณิชย์ให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์จริงหรือไม่

    พยานลำดับที่ 21 คือ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะนำสืบในประเด็นเกี่ยวกับว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงรายการทรัพย์สินชื่อผู้ถือหุ้นจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นชื่อของในหลวง ร.10 หรือไม่ อย่างไร และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    บัญชีพยานจำเลยยังระบุพยานเอกสารอีก 77 ฉบับ ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของปิยรัฐและพริษฐ์

    หลังจากพิจารณาบัญชีพยานที่ทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นต่อศาลแล้ว ศาลกล่าวขึ้นว่า ข้อความตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ หากศาลพิจารณาว่า เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ก็น่าจะครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จำเลยไม่จำเป็นต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อยืนยันข้อเท็จจริง แล้วสิ่งที่จำเลยต้องการจะพิสูจน์มีจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่

    พริษฐ์ลุกขึ้นแถลงต่อศาลว่า การเอาความจริงมาเปิดเผยต่อศาล ซึ่งเป็นพื้นที่กลาง น่าจะให้คำตอบกับประชาชนได้ว่า สิ่งที่ตนกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เป็นความเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่

    ศาลกล่าวเชิงหารือกับทนายจำเลยว่า พยานที่จำเลยอ้างมาจะมาได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือพยานลำดับที่ 15 และ 19 ที่อยู่ต่างประเทศ ก่อนถามอีกว่า จำเป็นแค่ไหนกับการสืบพยานบุคคลหลายปากที่อ้างมา ทนายนรเศรษฐ์ยืนยันว่า ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเหล่านั้นก่อน ส่วนพยานจะมาเบิกความหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    เมื่อได้ข้อยุติในส่วนของพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยศาลบันทึกว่า ตรวจบัญชีพยานของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แล้ว เห็นว่าพยานเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือข้าราชการระดับสูง และชี้แจงให้จำเลยทั้งสองและทนายจำเลยฟังแล้ว จำเลยทั้งสองยืนยันว่า พยานบุคคลตามบัญชีระบุพยานมีความสำคัญในการมาเบิกความเพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลและสาธารณชน ทั้งมิใช่บุคคลที่กฎหมายห้ามไม่ให้มาเบิกความต่อศาล โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่า การเบิกความของพยานบุคคลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนโดยรวม จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำพยานเข้าสืบได้ตามขอ ใช้เวลาสืบรวม 5 นัดครึ่ง

    ต่อมา โจทก์ได้แถลงนำพยานบุคคลเข้าสืบทั้งหมด 18 ปาก ขอใช้เวลาสืบพยาน 5 นัด พร้อมทั้งอ้างส่งพยานเอกสารจำนวน 31 ฉบับ และคลิปวีดีโอในวันเกิดเหตุจำนวน 4 คลิป อย่างไรก็ตาม หากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 รับว่า พ.ต.ท.สถาพร สีนุ่น เป็นตำรวจที่จับกุมจำเลยที่ 1 และ พ.ต.ท.ศักยชัย เพชรรัตน์ เป็นตำรวจที่เข้าจับกุมจำเลยที่ 3 ตามหมายจับของศาลนี้ โจทก์ก็ไม่ติดใจจะนำพยานทั้ง 2 ปากเข้าเบิกความอีก

    แต่ฉัตรชัย จำเลยที่ 1 และปิยรัฐ จำเลยที่ 3 แถลงว่า ต้องการให้โจทก์นำพยานทั้งสองปากมาเบิกความ เนื่องจากในขณะทั้งสองถูกจับกุม เจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมไม่ได้แสดงตัว

    ++2 นักกิจกรรมอุบลฯ ยืนยันชุมนุมทุกครั้งไม่มีเหตุวุ่นวาย-กระด้างกระเดื่อง

    ด้านฉัตรชัย จำเลยที่ 1 และวิศรุต จำเลยที่ 2 แถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า จำเลยทั้งสองเคยร่วมจัดการชุมนุมที่มีการปราศรัยเกี่ยวกับการเมืองที่ จ.อุบลราชธานี มาหลายครั้งแล้ว ทุกครั้งจำเลยทั้งสองก็ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทราบก่อนการชุมนุม และไม่เคยปรากฏเหตุการณ์วุ่นวายจากการชุมนุมที่ทั้งสองจัดมาก่อน เช่นเดียวกับการชุมนุมในคดีนี้ ซึ่งได้แจ้งให้พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลราชธานี ทราบก่อนการชุมนุมแล้ว และในการชุมนุมไม่มีการยุยงปลุกปั่นผู้เข้าร่วมชุมนุมแต่อย่างใด ภายหลังฟังการปราศรัยแล้ว ผู้ร่วมชุมนุมก็แยกย้ายออกจากที่ชุมนุมโดยไม่เกิดเหตุการณ์วุ่นวาย และไม่ได้เกิดอาการกระด้างกระเดื่องตามที่โจทก์ฟ้อง

    วัฒนา จันทศิลป์ ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงจะนำพยานบุคคลเข้าสืบ 8 ปาก ใช้เวลา 2 นัด

    ทนายจำเลยทั้งสี่ยังได้แถลงร่วมว่า ในการจัดลำดับการสืบพยานของจำเลยที่ 1-4 นั้น หลังจากจำเลยทั้งสี่เข้าเบิกความแล้ว ให้นำพยานตามบัญชีพยานของจำเลยที่ 3-4 เข้าเบิกความก่อน โดยพยานบางปาก จำเลยที่ 1-2 จะอ้างร่วมกับจำเลยที่ 3-4 และจะขอถามพยานไปในคราวเดียวกัน

    ++รอสืบพยานปี 66-67 ทั้งทนายและจำเลยติดภาระคดีเสรีภาพหลายคดี

    จากนั้นทั้งอัยการโจทก์ ทนายจำเลย และจำเลย ได้ไปที่ศูนย์นัดความเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยาน โดยก่อนหน้านั้น ทนายนรเศรษฐ์ได้ยื่นคำแถลงข้อเท็จจริงกรณีไม่สามารถนัดสืบพยานต่อเนื่องได้ตามเกณฑ์ที่ศาลกำหนด โดยระบุว่า เนื่องจากตนเป็นทนายความรับผิดชอบทำคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายคดีได้กำหนดวันนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ทั้งจำเลยในคดีนี้ก็ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในหลายคดี ซึ่งคดีอื่นศาลก็ได้กำหนดนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ทำให้ตารางนัดสืบพยานของจำเลยและทนายจำเลยไม่มีวันว่างเพียงพอสำหรับนัดสืบพยานต่อเนื่องในปี 2565 จึงขอให้ศาลอนุญาตให้นัดสืบพยานเกินเกณฑ์กลางที่ศาลได้กำหนดเอาไว้ด้วย

    ก่อนทั้งหมดตกลงได้วันสืบพยานในวันที่ 2 ส.ค., 5, 10 ต.ค. 2566, 30 ม.ค., 23 ก.พ., 15,19 มี.ค., 21 มิ.ย., 4-5,10-12 ก.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/49713)
  • ศาลนัดพร้อม โดยก่อนหน้านี้ 1 วัน เจ้าหน้าที่นัดทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 และโทรนัดจำเลยทั้งสี่ โดยให้จำเลยและทนายรอนเข้าทางอิเลคทรอนิค อ้างว่าหัวหน้ามีนโยบายให้สอบถาม แต่จำเลยติดนัดอื่นและติดหาเสียง ทำให้มีเพียงทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปศาล

    ศาลแจ้งว่า คดีครบ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมฯ แล้ว จึงอยากให้กำหนดนัดสืบพยานต่อเนื่องให้เสร็จภายใน ต.ค. 2566 แต่เนื่องจากต้องสอบถามจำเลยและทนายจำเลยทุกคน ศาลจึงเลื่อนไปนัดพร้อมประชุมคดีอีกครั้งในวันที่ 26 มิ.ย. 2566 เวลา 13.30 น. หากคู่ความไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านกูเกิลมีท

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ลงวันที่ 9 พ.ค. 2566)
  • นัดพร้อมประชุมคดี ศาลแจ้งว่า ตามที่กำหนัดนัดสืบพยานไว้ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2566 - ก.ค. 2567 นั้น ปรากฏว่าคดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 ซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 2563 จะพ้นระยะเวลาตาม พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ.2565 ศาลจึงอยากให้กำหนดวันนัดสืบพยานใหม่ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ต่อเนื่องไปจนเสร็จ แต่หากคู่ความไม่สามารถนำพยานเข้าสืบในช่วงเวลาดังกล่าวได้ ศาลอาจจะแยกพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563 เพื่อให้คดีเสร็จในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

    อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสี่และทนายแถลงคัดค้านการแยกการพิจารณาคดี อีกทั้ง ตาม พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานฯ ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่คู่ความไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามระยะเวลา

    ศาลจึงเห็นให้คงวันนัดสืบพยานตามที่นัดไว้เดิมต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งในการละเมิดสิทธิของคู่ความ

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563, อ.685/2564 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2566)
  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีนัดนี้และ 10 ต.ค. 2566 เนื่องจากปิยรัฐติดสมัยประชุม และพริษฐ์แอดมิทอยู่ในโรงพยาบาลฝางยังไม่มีกำหนดออก ศาลอนุญาตให้ยกเลิกนัดสืบพยาน 2 นัดนี้ เลื่อนไปสืบพยานในวันที่ 30 ม.ค. 2567 ตามที่นัดไว้เดิม

    ศาลแจ้งคู่ความว่า ตามที่ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้บันทึกการสืบพยานคดีนี้เป็นวีดิโอ แต่ห้องพิจารณาคดีห้องนี้ไม่สามารถบันทึกการสืบพยานเป็นวีดิโอได้ ขณะเดียวกันอัยการได้แถลงคัดค้าน ระบุว่าไม่จำเป็นที่จะบันทึกเป็นวีดิโอ อย่างไรก็ตาม ทนายจำเลยแถลงยืนยันให้บันทึกเป็นวีดิโอ เพื่อเป็นหลักประกันความเที่ยงธรรมและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ศาลยังไม่มีคำสั่งในเรื่องนี้ รอสั่งในวันหลัง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.1145/2563, อ.685/2564 ลงวันที่ 5 ต.ค. 2566)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฉัตรชัย แก้วคำปอด

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วิศรุต สวัสดิ์วร

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฉัตรชัย แก้วคำปอด

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วิศรุต สวัสดิ์วร

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์