ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.420/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.420/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.420/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.420/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.420/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.420/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น

ข้อหา

  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.420/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น

ข้อหา

  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.420/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น

ข้อหา

  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.420/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น

ข้อหา

  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
  • ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนี (มาตรา 191)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ชุมนุม
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.420/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม สว.สส.สน.ประชาชื่น

ความสำคัญของคดี

ประชาชน 5 ราย ถูกดำเนินคดีในข้อหามั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน, ชิงตัวผู้ต้องหา, ทำให้เสียทรัพย์ และข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ โดยถูกกล่าวหาว่า ขัดขวางรถควบคุมตัว "ไมค์-เพนกวิน" ในคืนวันที่ 30 ต.ค. 2563 หลังทั้งสองถูกตำรวจเข้าอายัดตัวขณะได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ โดยอ้างหมายจับในคดีที่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาไปแล้ว

1 ในผู้ถูกดำเนินคดียืนยันว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และไม่เคยร่วมชุมนุม หลังอัยการยื่นฟ้องคดี ศาลไม่ให้ประกันตัวระหว่างพิจารณา แม้จะมีการยื่นประกันอีกหลายครั้ง กระบวนการพิจารณาคดียังล่าช้า มีการเลื่อนนัดจากเหตุโควิด ทั้งที่จำเลยไม่ได้รับการประกันตัว จนกระทั่ง 4 ใน 5 คน ติดโควิดในเรือนจำ ศาลจึงทยอยให้ประกันโดยมีเงื่อนไข ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการสูงสุด บรรยายฟ้องว่า จําเลยทั้งห้ากับพวกที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาดําเนินคดีได้ร่วมกระทําความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรมต่างกันดังต่อไปนี้

1. เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 จําเลยทั้งห้ากับพวกที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาดําเนินคดี ซึ่งมีจํานวนรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันมั่วสุมโดยชุมนุมสาธารณะบริเวณด้านหน้าเรือนจําพิเศษกรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวพริษฐ์ ชิวารักษ์ และภาณุพงศ์ จาดนอก ผู้ต้องหาในคดีอื่น ซึ่งศาลอาญามีคําสั่งปล่อยตัวชั่วคราวออกจากเรือนจําพิเศษกรุงเทพ แต่ถูกอายัดตัวเพื่อดําเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี, สภ.เมืองพระนครศรีอยุธยา และ สภ.เมืองอุบลราชธานี โดยจําเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันนําไม้มากั้นปิดขวางทางเข้าออกไว้บริเวณหน้าเรือนจําพิเศษกรุงเทพ ซึ่งมิใช่การชุมนุมโดยสงบและรบกวนการครอบครองการใช้ทางผ่านเข้าออกเรือนจําพิเศษกรุงเทพของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และประชาชนทั่วไป และทําให้ พ.ต.ต.ทําเนียบ ขลังธรรมเนียม ผู้เสียหายที่ 1, ด.ต.ประสิทธิ์ ดวงสุพรรณ์ ผู้เสียหายที่ 2, ส.ต.อ.อรรถพงษ์ คําแปงคํา ผู้เสียหายที่ 3 และ ส.ต.อ.วีระชาติ สาริภา ผู้เสียหายที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตํารวจประจํา สน.ประชาชื่น มีหน้าที่ควบคุมตัวนายพริษฐ์ และนายภาณุพงศ์ ขึ้นรถยนต์ควบคุมผู้ต้องขังอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท วี.อาร์.พี แอดวานซ์ จํากัด นิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 5 โดยสํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นผู้เช่ารถยนต์คันดังกล่าวแล้ว ต้องหลบหลีกกลุ่มจําเลยทั้งห้ากับพวกเพื่อนําตัวนายพริษฐ์ และนายภาณุพงศ์ ออกจากเรือนจําพิเศษกรุงเทพ

2. เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 ภายหลังเกิดเหตุตามฟ้องข้อ 1 ผู้เสียหายทั้งสี่ได้นํารถควบคุมผู้ต้องขังขับบนถนนงามวงศ์วานมาถึงบริเวณด้านหน้าตลาดพงษ์เพชรและได้จอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงอยู่ จําเลยทั้งห้ากับพวกที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาดําเนินคดีได้ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย กระทําการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยร่วมกันนํารถจักรยานยนต์จํานวนหลายคันไปขวางล้อมการเดินทางของรถควบคุมผู้ต้องขังไว้ และได้ใช้หมวกนิรภัยและวัสดุแข็งเป็นอาวุธ ทุบรถควบคุมผู้ต้องขังบริเวณกระจกข้างรถ และได้กระชากและดึงประตูรถควบคุมผู้ต้องขัง, ทุบรถควบคุมผู้ต้องขัง, ใช้เท้าเตะรถควบคุมผู้ต้องขัง และได้ใช้ของแข็งตีที่กระจกหน้าต่างห้องควบคุมผู้ต้องหาด้านซ้ายและด้านหลังจนแตก พร้อมกับตะโกนว่า “ปล่อยเพื่อนกู” ทั้งเป็นการกระทําโดยเจตนาด้วยประการใดให้พริษฐ์ และภาณุพงศ์ ผู้ที่ถูกคุมขังตามอํานาจของพนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญาหลุดพ้นจากการคุมขังไป โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย ทั้งนี้ โดยจําเลยทั้งห้ากับพวกได้ลงมือกระทําความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล

ต่อมา เมื่อรถควบคุมผู้ต้องขังแล่นมาบนถนนเทศบาลนิมิตรเหนือถึงบริเวณปากซอยเทศบาลนิมิตเหนือ ซอย 40 จําเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันขัดขวางผู้เสียหายทั้งสี่ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตํารวจ สน.ประชาชื่น โดยมีเจตนาทําร้ายผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนั่งอยู่ตอนหน้าของรถควบคุมตัวผู้ต้องขัง โดยได้ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เป็นอาวุธทุ่มใส่รถควบคุมตัวผู้ต้องขังจํานวนหลายครั้ง จนกระจกด้านหน้าซ้ายแตก อันเป็นการทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งรถยนต์ควบคุมผู้ต้องขังอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 5 คิดเป็นเงินค่าเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 70,000 บาท และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บถูกกระจกที่แตกบาดที่บริเวณหลังมือด้านขวา มีบาดแผลฉีกขาด ขนาด 0.3 x 0.1 เซนติเมตร และขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธ โดยร่วมกันกระทําความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการทําร้ายเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ รายละเอียดปรากฏตามรายงานการชันสูตรผู้ป่วยคดี โรงพยาบาลตํารวจ ทั้งนี้เพื่อขัดขวางเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงผู้เสียหายที่ 4 พาพริษฐ์และภาณุพงศ์ ไป สน.ประชาชื่น ได้สําเร็จ

3. เมื่อระหว่าง วันที่ 30-31 ต.ค. 2563 จําเลยทั้งห้ากับพวกที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาดําเนินคดีซึ่งมีจํานวนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันมั่วสุมโดยชุมนุมสาธารณะบริเวณ สน.ประชาชื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวพริษฐ์และภานุพงศ์ โดยในการชุมนุมดังกล่าวจําเลยทั้งห้ากับพวกมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะจัดการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง อีกทั้งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุมที่ต้องไม่ใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายผู้อื่น โดยจําเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันใช้กําลังประทุษร้าย ชกต่อยร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 – ที่ 4 จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลังฟกช้ำ ผู้เสียหายที่ 3 ใบหูฟกช้ำ ถลอกนิ้วก้อย จุดกดเจ็บบ่าซ้าย ผู้เสียหายที่ 4 ฟกช้ำเอว กดเจ็บไหล่ขวา ปรากฏตามรายงานการชันสูตรผู้ป่วยคดี และเป็นการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายและทําให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

การกระทําของจําเลยตามคําฟ้อง อัยการถือว่า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140, 191, 215, 295, 296, 358 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 6, 10, 14, 16

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ณัฐนนท์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ประชาชื่น ตามหมายเรียกผู้ต้องหา หลังจากก่อนหน้านี้ คือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกให้เขาไปให้ปากคำในฐานะพยาน

    ร.ต.อ.นพดล หอมสมบัติ รอง สว. (สอบสวน) สน.ประชาชื่น ได้แจ้งพฤติการณ์ในคดีให้ณัฐนนท์ทราบว่า เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 มีกลุ่มผู้ชุมนุมไปรวมตัวกันให้กำลังใจแกนนำ 4 คน ที่จะได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ พ.ต.ต.ทำเนียบ ขลังธรรมเนียม พร้อมพวก ได้รับคำสั่งให้มาดูแลความสงบที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทั้งต่อมาได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าไปภายในจุดที่จะปล่อยตัวผู้ต้องขังภายในห้องโถงด้านในเรือนจำ เพื่อสมทบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะรออายัดตัวผู้ต้องขัง ได้พบนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และนายภาณุพงศ์ จาดนอก นั่งอยู่ในบริเวณห้องด้านข้างของรถควบคุมผู้ต้องหา

    พ.ต.ต.ทำเนียบกับพวก จึงได้แจ้งให้ทราบว่ามีหมายจับและถูกอายัดตัวไว้ ขอเชิญไปขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหาไปยัง สน.ประชาชื่น แต่ผู้ต้องขังทั้งสองปฏิเสธ พ.ต.ต.ทำเนียบกับพวก จึงได้ควบคุมตัวผู้ต้องขังทั้งสองขึ้นรถ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายเข้าไปอยู่ในรถควบคุมตัวผู้ต้องหาด้วย ส่วน พ.ต.ต.ทำเนียบนั่งอยู่ด้านหน้า ข้างพลขับ

    จากนั้น รถได้วิ่งออกไปทางที่อยู่ด้านหลังเรือนจำ และวิ่งย้อนกลับมาที่ด้านหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ไปออกทางประตูที่ 1 ที่อยู่บริเวณทัณฑสถานหญิงกลาง แล้วออกไปบนถนนงามวงศ์วาน โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมได้ขับรถจักรยานยนต์ติดตามมาจำนวนหลายคัน ล้อมรถควบคุมทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง พร้อมตะโกน “ปล่อยเพื่อนกู”

    เมื่อขับมาถึงบริเวณด้านหน้าตลาดพงษ์เพชร มีรถติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงอยู่บริเวณสี่แยก จึงทำให้รถควบคุมเคลื่อนต่อไปไม่ได้ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมตามมาประกบรถควบคุมได้ทัน เมื่อสัญญาณไฟเขียว กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำรถจักรยานยนต์ไปจอดขวางรถแท็กซี่ที่อยู่ด้านหน้ารถควบคุมไว้ ทำให้รถควบคุมเคลื่อนที่ไปไม่ได้ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ ได้นำรถจักรยานยนต์มาจอดขวางรถควบคุม และมีณัฐนนท์นํารถจักรยานยนต์มาจอดขวางที่บริเวณด้านหน้ามุมขวาของรถควบคุม ก่อนใช้หมวกนิรภัยทุบรถควบคุมบริเวณกระจกประตูซ้าย

    พ.ต.ต.ทำเนียบจึงได้สั่งให้พลขับขับรถออกไปช้าๆ เพื่อที่จะดันรถจักรยานยนต์ที่จอดขวางให้เลื่อนออกไป แต่ณัฐนนท์ได้ทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ขวางรถควบคุม ขณะกลุ่มผู้ชุมนุมใช้กำลังมากขึ้น พยายามจะเปิดประตูด้านท้ายรถเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขัง หากว่ายังให้รถหยุดบริเวณดังกล่าวอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขังทั้งสองอาจถูกช่วยเหลือนำตัวออกไป แต่ปรากฏว่ามีรถจักรยานยนต์ติดอยู่ด้านหน้ารถยนต์ จึงได้ลากไปเป็นระยะ 150 เมตร จนถึงแยกพงษ์เพชร จึงได้หยุดรถ และถอยหลังให้รถจักรยานยนต์ที่ติดอยู่หลุดออกไป รถควบคุมจึงได้วิ่งต่อมา

    จนถึงปากซอยเทศบาลนิมิตเหนือซอย 40 มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาปิดถนนรออยู่แล้ว และผู้ต้องหาได้ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่ทุ่มใส่กระจกด้านหน้าข้างซ้ายจำนวน 2-3 ครั้ง จนกระจกแตก ผู้ชุมนุมยังมีการยั่วยุให้ปล่อยลมยาง รถควบคุมจึงพยายามหลีกหนีและขับเข้ามาบริเวณสน.ประชาชื่น

    เมื่อดับเครื่องรถแล้ว พ.ต.ต.ทำเนียบได้ลงไปเพื่อจะทำการเปิดประตูด้านหลัง นำผู้ต้องขังออกจากรถ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ติดตามมากระชั้นชิดและมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีบางส่วนใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่นั่งควบคุมผู้ต้องหาด้านใน โดยดึงเสื้อและชกต่อย พ.ต.ต.ทำเนียบจึงไม่สามารถเปิดประตูรถด้านหลังได้ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และต่อมาได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาณัฐนนท์รวม 6 ข้อหา ได้แก่

    1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
    2. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย
    3. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 191 ร่วมกันพยายามทำให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานหลุดพ้นจากการคุมขังไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย
    4. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
    5. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
    6. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันชุมนุมสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    ณัฐนนท์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป พร้อมทั้งปฏิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่ามีการบรรยายพฤติการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ประชาชื่น ลงวันที่ 1 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24136)
  • ธวัช สุขประเสริฐ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ประชาชื่น ตามหมายเรียกผู้ต้องหา ร.ต.อ.นพดล หอมสมบัติ ได้แจ้งพฤติการณ์ในคดีให้ธวัชทราบ มีข้อความเช่นเดียวกับพฤติการณ์ที่ได้แจ้งณัฐนนท์ และระบุพฤติการณ์เฉพาะของธวัชว่า

    "กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำรถจักรยานยนต์ไปจอดขวางรถแท็กซี่ที่อยู่ด้านหน้ารถควบคุมไว้ ทำให้รถควบคุมเคลื่อนที่ไปไม่ได้ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ ได้นำรถจักรยานยนต์มาจอดขวางรถควบคุม และมีณัฐนนท์นํารถจักรยานยนต์มาจอดขวางที่บริเวณด้านหน้ามุมขวาของรถควบคุม ก่อนใช้หมวกนิรภัยทุบรถควบคุมบริเวณกระจกประตูซ้าย ธวัชได้กระชากประตูรถควบคุม ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นๆ ได้ใช้ของแข็งตีที่กระจกหน้าต่างห้องควบคุมค้านซ้ายแตกและใช้ของแข็งทุบไปรอบตัวรถ"

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาธวัชรวม 6 ข้อหา เช่นเดียวกับณัฐนนท์ ธวัชให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป พร้อมทั้งไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เขียนข้อความว่า "ไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ เนื่องจากมีข้อเท็จจริงบางประการไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง" ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ประชาชื่น ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24136)
  • ศักดิ์ชัย ตั้งจิตสดุดี เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกผู้ต้องหา ร.ต.อ.นพดล หอมสมบัติ ได้แจ้งพฤติการณ์ในคดีให้ทราบ มีข้อความเช่นเดียวกับคนอื่นก่อนหน้านี้ โดยระบุพฤติการณ์เฉพาะของศักดิ์ชัยว่า

    "กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำรถจักรยานยนต์ไปจอดขวางรถแท็กซี่ที่อยู่ด้านหน้ารถควบคุมไว้ ทำให้รถควบคุมเคลื่อนที่ไปไม่ได้ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ ได้นำรถจักรยานยนต์มาจอดขวางรถควบคุม และมีณัฐนนท์นํารถจักรยานยนต์มาจอดขวางที่บริเวณด้านหน้ามุมขวาของรถควบคุม ก่อนใช้หมวกนิรภัยทุบรถควบคุมบริเวณกระจกประตูซ้าย ธวัชได้กระชากประตูรถควบคุม และศักดิ์ชัยได้พยายามดึงประตูรถควบคุมและทุบรถควบคุม ขับขี่รถจักรยายนต์ชนรถตํารวจ จอดรถไม่ให้รถผ่านไปได้ ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นๆ ได้ใช้ของแข็งตีที่กระจกหน้าต่างห้องควบคุมด้านซ้ายแตกและใช้ของแข็งทุบไปรอบตัวรถ"

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาศักดิ์ชัยรวม 6 ข้อหา เช่นเดียวกัน ศักดิ์ชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ประชาชื่น ลงวันที่ 16 ธ.ค. 2563)
  • สมคิด โตสอย และฉลวย เอกศักดิ์ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกผู้ต้องหา ร.ต.อ.นพดล หอมสมบัติ ได้แจ้งพฤติการณ์ในคดีให้ทราบ มีข้อความเช่นเดียวกับคนอื่นก่อนหน้านี้ โดยระบุพฤติการณ์เฉพาะของสมคิดและฉลวยว่า

    "กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำรถจักรยานยนต์ไปจอดขวางรถแท็กซี่ที่อยู่ด้านหน้ารถควบคุมไว้ ทำให้รถควบคุมเคลื่อนที่ไปไม่ได้ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ ได้นำรถจักรยานยนต์มาจอดขวางรถควบคุม และมีณัฐนนท์นํารถจักรยานยนต์มาจอดขวางที่บริเวณด้านหน้ามุมขวาของรถควบคุม ก่อนใช้หมวกนิรภัยทุบรถควบคุมบริเวณกระจกประตูซ้าย ธวัชได้กระชากประตูรถควบคุม ศักดิ์ชัยได้พยายามดึงประตูรถควบคุมและทุบรถควบคุม ขับขี่รถจักรยายนต์ชนรถตํารวจ จอดรถไม่ให้รถผ่านไปได้ สมคิดขยับรถจักรยานยนต์จอดขวางไม่ให้รถควบคุมผ่านไปได้ และฉลวยได้ใช้เท้าเตะรถควบคุม ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นๆ ได้ใช้ของแข็งตีที่กระจกหน้าต่างห้องควบคุมด้านซ้ายแตกและใช้ของแข็งทุบไปรอบตัวรถ"

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาสมคิดและฉลวยรวม 6 ข้อหา เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป พร้อมทั้งไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เขียนข้อความว่า "ไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ เนื่องจากมีข้อเท็จจริงบางประการไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง" ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ประชาชื่น ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24136)
  • ผู้ต้องหาทั้งห้าเดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ตามที่พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการ พนักงานอัยการนัดฟังคำสั่ง ในวันที่ 9 ก.พ. 2564 เวลา 10.00 น.
  • ผู้ต้องหาทั้งห้าเดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เพื่อฟังคำสั่งอัยการตามนัด พนักงานอัยการเลื่อนฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 24 ก.พ. 2564 เวลา 10.00 น.
  • ช่วงเช้า ณัฐนนท์, ธวัช, ศักดิ์ชัย, สมคิด และฉลวย เข้ารายงานตัวกับอัยการเพื่อฟังคำสั่ง อัยการมีคำสั่งฟ้องและนำตัวไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา รัชดาฯ

    พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการสูงสุด (สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร กับพวกรวม 5 คน เป็นคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.420/2564 ในฐานความผิด “มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายฯ, ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย, ร่วมกันพยายามกระทําด้วยประการใดให้ผู้ถูกคุมขังตามอํานาจของเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญา หลุดพ้นจากการคุมขังไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย, ร่วมกันทําร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่, ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์ และร่วมกันชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140, 191, 215, 295, 296, 358 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 6, 10, 14, 16

    หลังศาลรับฟ้อง ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้าในระหว่างพิจารณาคดี โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 100,000 บาท พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า คดีนี้จําเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยข้อหากล่าวหาทั้งหมดนั้นมีอัตราโทษไม่เกิน 7 ปี จําเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีและไม่เคยถูกควบคุมตัวมาก่อน โดยมารายงานตัวตามนัดของพนักงานสอบสวนและอัยการทุกนัด หากจําเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว จะทําให้จําเลยได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากณัฐนนท์กําลังศึกษา จำเลยคนอื่นมีภาระต้องประกอบอาชีพ และต้องเลี้ยงดูครอบครัว ศักดิ์ชัยมีอายุมากแล้ว (62 ปี) และฉลวยมีโรคประจําตัวเรื้อรังที่จําเป็นจะต้องพบแพทย์เป็นประจํา อีกทั้งตามหลักการสากล บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด

    ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่า อัยการได้คัดค้านการให้ประกันตัวจำเลยทั้งห้ามาในท้ายคำฟ้อง

    ต่อมา เวลาประมาณ 16.20 น. สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งไม่ให้ประกันจำเลยทั้งห้า ระบุในคำสั่งว่า “พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งห้าเกิดจากการไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย สร้างความวุ่นวายให้เกิดในบ้านเมือง หากได้รับการปล่อยตัวเห็นว่า จำเลยทั้งห้าจะไปกระทำอันตรายประการอื่นอีก ให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งห้า”

    ทำให้ณัฐนนท์, ธวัช, ศักดิ์ชัย, สมคิด และฉลวย ถูกควบคุมตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงเย็น โดยเป็นการขังในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งหากมียื่นประกันอีก แต่ศาลยังคงไม่ให้ประกัน ทั้งห้าจะถูกขังไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

    หากไล่เรียงข้อกล่าวหาที่จำเลยถูกฟ้อง จะพบว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวมีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน มีรายละเอียดดังนี้

    1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 ต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 กระทำด้วยประการใดให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหลุดพ้นจากการคุมขังไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 ทําร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    5. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    6. พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10 ไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    7. พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 16 (6) ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุมซึ่งมีหน้าที่ไม่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือผู้อื่น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ในท้ายคำฟ้องของอัยการระบุว่า ศักดิ์ชัยเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญา หมายเลขดําที่ อ.3089/2562 ของศาลอาญา (คดีคนอยากเลือกตั้งหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหน้าองค์การสหประชาชาติ) และขอให้ศาลนับโทษคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าวด้วย

    ทั้งนี้ ฉลวยให้ข้อมูลว่า เขาไม่ได้ไปชุมนุมในวันเกิดเหตุ มีเพียงลูกสาวกับแฟนใช้รถมอเตอร์ไซค์ของเขาขี่ไปเจอเหตุการณ์แล้วเข้าไปถ่ายคลิปเหตุการณ์เท่านั้น

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2564, https://tlhr2014.com/archives/26303 และ https://tlhr2014.com/archives/26327)
  • ทนายความเข้ายื่นประกันตัวเป็นครั้งที่ 2 แบบติดกำไลข้อเท้าหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) และวางเงินสดเป็นหลักประกันคนละ 20,000 บาท ระบุเหตุผลในการยื่นประกันว่า จำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน เนื่องจากไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด จำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีมาตั้งแต่ต้น ไม่มีอิทธิพลในการไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ และไม่มีพฤติการณ์การกระทำความผิดที่เป็นอาชญากร ก่อให้เกิดภยันตรายต่อผู้อื่นและสังคม อีกทั้งคดีนี้โจทก์ก็ไม่คัดค้านการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาด้วย

    นอกจากนี้ คดีนี้ยังไม่ได้มีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ การขังจำเลยทั้งห้าไว้ระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะพิพากษาว่ามีความผิด จะกระทบกับเสรีภาพของจำเลยทั้งห้าและทำให้จำเลยทั้งห้าได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ซึ่งหลักการตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด คำร้องขอประกันตัวยังชี้แจงเงื่อนไขของจำเลยแต่ละคนที่จะได้รับความเดือดร้อนหากไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี รวมทั้งยืนยันความบริสุทธิ์ของจำเลยทั้งห้า ดังนี้

    จำเลยที่ 1 ณัฐนนท์ อายุ 20 ปี กำลังศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนและประกอบอาชีพขับรถรับจ้างเป็นพนักงานบรรจุสินค้า ครอบครัวมีฐานะยากจน ต้องออกจากการศึกษาเพื่อทำงานเลี้ยงดูตนเองและยาย วันเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์ผ่านเส้นทางหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และล้มลงขณะขับไปบริเวณด้านหน้าขวาของรถตำรวจที่จอดอยู่ก่อนถึงแยกพงษ์เพชร จากนั้นรถตำรวจได้ขับลากรถจักรยานยนต์ของจำเลยไปตามพื้นถนนจนถึงแยกพงษ์เพชร โดยจำเลยได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่ สน.ประชาชื่น

    จำเลยที่ 2 ธวัช อายุ 38 ปี ประกอบอาชีพลูกจ้าง ตำแหน่งช่างไฟฟ้า มีภาระต้องเลี้ยงดูลูก 2 คน ซึ่งกำลังศึกษาชั้น ป.4 และอนุบาล 2 วันเกิดเหตุจำเลยเลิกงานกำลังเดินทางกลับบ้านพักใน จังหวัดนนทบุรี ขณะผ่านหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เห็นประชาชนล้อมรถรถยนต์กระบะของตำรวจและเห็นรถของตำรวจกำลังจะชนประชาชน จึงได้ลงไปดูและห้ามปราม โดยไม่ได้ทุบกระจกรถหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจตามฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด

    จำเลยที่ 3 ศักดิ์ชัย ปัจจุบันอายุ 62 ปี มีอายุมากแล้ว ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อาศัยอยู่กับลูก 2 คน จำเลยไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3089/2562 ของศาลอาญา ตามฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด และไม่เคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดมาก่อน

    จำเลยที่ 4 สมคิด อายุ 41 ปี ประกอบอาชีพขับรถรับจ้าง และเป็นอาสาสมัครกู้ภัย มีรายได้เพียงหาเช้ากินค่ำและมีภาระต้องเลี้ยงดูลูก 2 คน ซึ่งกำลังศึกษาชั้น ม.3 และ ป.6 รวมทั้งต้องเลี้ยงดูมารดาซึ่งชราภาพด้วย วันเกิดเหตุจำเลยเห็นรถยนต์กระบะของตำรวจขับลากรถจักรยานยนต์ไปบนพื้นถนน และเห็นชายซึ่งเข้าใจว่าเป็นเจ้าของจักรยานยนต์คันดังกล่าวกำลังไปดึงรถออก จึงได้เข้าไปช่วยชายคนดังกล่าว เนื่องจากอาจถูกรถตำรวจชนและได้รับบาดเจ็บ นอกเหนือจากนี้จำเลยไม่ได้กระทำสิ่งใดอีกเลย

    และจำเลยที่ 5 ฉลวย อายุ 52 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างรายวัน มีรายได้เพียงหาเช้ากินค่ำ และมีภาระต้องดูแลหลานสาวอายุ 12 ปี โดยต้องไปรับไปส่งที่โรงเรียนทุกวัน วันเกิดเหตุจำเลยเลี้ยงดูหลานสาวไม่ได้ไปร่วมชุมนุมหรือกระทำการใดๆ ตามที่โจทก์ฟ้อง มีเพียงบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยเดินทางผ่านไปบริเวณที่เกิดเหตุ เห็นเหตุการณ์ที่รถยนต์ของตำรวจลากรถจักรยานยนต์ไปตามพื้นถนนโดยไม่ทราบว่าเหตุใดจึงขับตามดูเหตุการณ์

    อย่างไรก็ดี พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลนี้เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง”

    ทำให้จำเลยทั้งห้าถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างการพิจารณาคดีต่อไป โดยนับถึงวันที่ยื่นประกันครั้งที่ 2 ทั้งห้าถูกขังมา 6 วันแล้ว ทั้งนี้ แม้อัยการจะสั่งฟ้องและศาลรับฟ้องคดีแล้วแต่จำเลยทั้ง 5 รายยังถือเป็นผู้ถูกกล่าวหา และสมควรมีสิทธิประกันตัวเพื่อให้สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ต่อไป

    โดยก่อนหน้านี้ ศาลอาญาเองก็เคยมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาในคดีทางการเมืองหลายๆ คดี แม้แต่คดีที่ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เช่นในคดีของแกนนำ กปปส. กรณีชุมนุมล้มการเลือกตั้ง ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ยึดสถานที่ราชการ เพื่อขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 จำคุก 4 ปี 8 เดือน – 9 ปี 24 เดือน โดยศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลว่า “…แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย แต่โทษจำคุกสำหรับความผิดในแต่ละกระทงก็ไม่สูงนัก อีกทั้งจำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์” ซึ่งถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 1 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26423)
  • ที่ศาลอาญา รัชดา ทนายจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ให้ประกัน ใจความโดยสรุประบุว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีเหตุผลดังต่อไปนี้

    1. โจทก์บรรยายฟ้องเกินกว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 5

    2. คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 วรรคท้าย และเจ้าหน้าที่ศาลได้ระบุมาตรฐานกลางหลักประกันจำนวน 50,000 บาท จึงไม่ใช่คดีร้ายแรงและไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษสูง

    จำเลยทั้ง 5 ยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) และเงินสดจํานวน 20,000 บาท จึงน่าเชื่อถือว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และไปก่ออันตรายประการอื่น

    ถ้าหากศาลอุทธรณ์เห็นว่าหลักประกันยังไม่เพียงพอ ขอให้ศาลกำหนดวงเงินที่เพียงพอ แล้วจำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทุกประการ

    3. จำเลยทั้งหมดไปรับทราบข้อหาตามหมายเรียก และไปตามนัดของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกนัด และไม่มีพฤติการณ์หลบหนี จำเลยทั้ง 5 ได้ให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ในชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล โดยจะนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสืบพยาน

    การถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี แม้จำเลยทั้งหมดยังเป็นผู้บริสุทธิ์ และยังไม่ได้มีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิด ทำให้จำเลยได้รับความเดือดร้อนต่อการประกอบอาชีพ เสียโอกาสในการแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และเสียโอกาสที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่

    ทั้งนี้ ในคดีอื่นซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาลักษณะเดียวกันหรือข้อหาร้ายแรงอื่นๆ หรือแม้แต่คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก ศาลก็ใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีได้

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 3 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26594)
  • ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ลงวันที่ 4 มี.ค. 2564 ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจำเลยว่าร่วมกันกระทำความผิดซึ่งมีคำขอให้ลงโทษในความผิดหลายฐาน แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งว่าให้การปฏิเสธและไม่เคยต้องโทษก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลย กับพวกในลักษณะที่อุกอาจ ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาแล้วจำเลยอาจหลบหนีในชั้นนี้ สมควรรอฟังพยานโจทก์ก่อน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวชอบแล้ว ให้ยกคำร้องจำเลย

    ทั้งหมดถูกควบคุมตัวเข้าสู่วันที่ 11 แล้ว

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 4 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26634)
  • ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งที่ 3 โดยวางหลักทรัพย์คนละ 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ หลังทั้ง 5 คน ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลาถึง 34 วันแล้ว

    คำร้องระบุเหตุผลในการขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยสรุปว่า พฤติการณ์ตามฟ้องของโจทก์เกินกว่าการกระทำของจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหามาตั้งแต่ในชั้นสอบสวน และขอยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง

    คดีนี้มีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เจ้าหน้าที่ศาลได้ระบุมาตรฐานกลางหลักประกันจำเลยที่ 1 – 4 คนละ 25,000 บาท และ 50,000 บาท สำหรับจำเลยที่ 5 การยื่นหลักประกันในวันนี้จึงน่าเชื่อถือว่าจำเลยจะไม่หลบหนี หากศาลเห็นว่าต้องวางหลักประกันเพิ่ม ขอให้ศาลกำหนดหลักประกันให้จำเลยด้วย หรือหากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม จำเลยรับว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัดทุกประการ

    อย่างไรก็ตาม ต่อมาในช่วงราว 14.30 น. พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่ให้ประกันเช่นเดิม ระบุว่า ศาลนี้และศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยแสดงเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 29 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27672)
  • ศาลมีคำสั่งก่อนวันนัดให้เลื่อนตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 7 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00 น. เนื่องจากศาลอาญามีประกาศให้เลื่อนนัดพิจารณาคดีตามความเหมาะสม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด

    ทั้งนี้ ก่อนหน้าศาลมีคำสั่งให้เลื่อน เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 อัยการได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนตรวจพยานหลักฐาน ศาลให้สอบถามฝ่ายจำเลย โดยทนายจำเลยทั้งห้า ได้แจ้งคัดค้านการเลื่อนนัด เนื่องจากจำเลยไม่ได้รับการประกันตัว แต่ในที่สุดศาลมีคำสั่งให้เลื่อนด้วยเหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดดังกล่าว
  • ทนายจำเลยยื่นประกันสมคิด จำเลยที่ 4 และฉลวย จำเลยที่ 5 โดยขอติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) และเงินสดจํานวน 20,000 บาท
    ระบุเหตุผลว่า จำเลยทั้งสองถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม โดยปราศจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างความเดือดร้อนทุกข์ทรมานแสนสาหัสให้กับจำเลยทั้งสองและครอบครัวเป็นอย่างมาก จำเลยที่ 4 มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ จำเลยที่ 5 ไม่ได้ไปยังที่เกิดเหตุ ตลอดทั้งชีวิตไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่เคยรู้จักจําเลยที่ 1-4 มาก่อน

    คำร้องขอประกันยังระบุความกังวลของจำเลยทั้งสองว่า กลัวว่าจะต้องเสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโควิด เพราะในเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ มีผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ติดเชื้อแล้วไม่น้อยกว่า 60 คน

    คำร้องยังกล่าวถึงคำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 4 มี.ค. 2564 ระบุตอนหนึ่งว่า "สมควรรอฟังพยานโจทก์ก่อน" โดยแย้งว่า ศาลอาญาหรือศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องรอฟังพยานโจทก์ก่อน สามารถไต่สวนจําเลย และเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาไต่สวนถึงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดของจําเลยทั้งสองเป็นการเร่งด่วน เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยทั้งสองได้ เพื่อคํานึงถึงอิสรภาพของจําเลยซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ควรถูกคุมขัง และถูกปฏิบัติราวกับว่าเป็นผู้กระทําความผิดไปแล้ว

    อย่างไรก็ตาม สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุเช่นเดิมว่า ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยแสดงเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 4 พ.ค. 2564)
  • ที่ศาลอาญา ทนายจำเลยที่ 4 และ 5 เข้ายื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อโต้แย้งคำสั่งศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันจำเลยทั้งสอง นับเป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้นเป็นครั้งที่ 2 เนื้อหาคำร้องอุทธรณ์กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

    1. จำเลยที่ 4 และ 5 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขณะนี้ สภาพจิตใจของจำเลยอยู่ในสภาพย่ำแย่อย่างมาก เนื่องจากเมื่อจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ต้องถูกฟ้องคดีและต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ จึงไม่อาจทำใจยอมรับได้ และเกรงว่าตนเองจะต้องเสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโควิดในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    2. เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2564 จำเลยที่ 4 และ 5 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาลอาญา ศาลอาญาใช้เวลาพิจารณาคำร้องละประมาณ 10 นาที ก่อนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยประทับตรายางเป็นคำสั่งสำเร็จรูปว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” และคดีนี้จำเลยทั้งสองขอให้ศาลนัดไต่สวนคำร้องเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลมาโดยตลอด แต่ศาลไม่เคยมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องเลยแม้แต่ครั้งเดียว การที่ศาลอาญาสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่นำข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน มาพิจารณา ตลอดจนไม่ได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังนี้

    2.1) คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 4 และ 5 ฉบับลงวันที่ 4 พ.ค. 2564 ได้ระบุเหตุและพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่จะยืนยันความบริสุทธิ์ของจำเลยทั้งสองไว้โดยละเอียดแล้ว ซึ่งหากศาลชั้นต้นพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมมีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้

    2.2) คำสั่งของศาลอาญาที่อ้างว่า ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว “โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว” นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 และขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง ทั้งสิ้น

    เมื่อพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 และ 5 ตามที่ศาลอาญามีคำสั่ง คือ พฤติการณ์ร้ายแรง ไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย หากได้รับการปล่อยชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี หรือเกรงว่าจะไปก่ออันตรายประการอื่นอีกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง โดยไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งได้นำเสนอต่อศาลในคำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราวทุกฉบับตลอดมาว่า จำเลยที่ 4 และ 5 มีฐานะยากจน ไม่ใช่ผู้มีอิทธิพล ไม่ใช่อันธพาล ทำงานรับจ้างหาเลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด เพียงแค่การใช้ชีวิตและดูแลครอบครัวให้รอดอยู่ก็เป็นเรื่องยากลำบากแล้ว จำเลยทั้งสองจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีกได้อย่างไร

    อีกทั้งจำเลยทั้งสองให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรมโดยเข้าพบพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกครั้ง ไม่เคยผิดนัดแม้แต่ครั้งเดียว และยินดีจะใช้ EM และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งทุกประการอย่างเคร่งครัด

    ขอกจากนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ทำนองว่า ในชั้นนี้สมควรรอฟังพยานโจทก์ก่อน ก็เป็นคำสั่งที่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 โดยชัดแจ้ง และไม่เป็นธรรมกับจำเลยอย่างยิ่ง เนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด ไม่สมควรจะต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแม้แต่วินาทีเดียว และไม่มีความจำเป็นต้องรอฟังพยานโจทก์ก่อนแต่อย่างใด เพราะศาลสามารถไต่สวนจำเลยเป็นการเร่งด่วนเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ แต่ศาลกลับไม่ไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริง และมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยปราศจากเหตุผลและข้อเท็จจริง และยืดระยะเวลาที่จำเลยต้องสูญเสียอิสรภาพออกไป โดยไม่คำนึงถึงอิสรภาพของจำเลยเลยแม้แต่น้อย

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 5 พ.ค. 2564)
  • ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 6 พ.ค. 2564 ไม่อนุญาตให้ประกันสมคิดและฉลวย จำเลยที่ 4 และ 5 โดยยืนยันว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเช่นเดิม มีใจความว่า

    "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีตามฟ้องแล้ว เห็นว่า จําเลยที่ 4 และ 5 ร่วมกับพวกกระทําการในลักษณะอุกอาจไม่ยําเกรงต่อกฎหมาย จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหาย พฤติการณ์ถือเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยทั้งสองในระหว่างพิจารณามาแล้ว เหตุตามคําร้องยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยที่ 4 และ 5 ในระหว่างพิจารณา คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว"

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 6 พ.ค. 2564)
  • ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวสมคิดและฉลวยอีกครั้งเป็นครั้งที่ 5 ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอประกันตัวในวันที่ 13 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น.

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 8 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29437)
  • ลูกชายของศักดิ์ชัย จำเลยที่ 3 ได้ยื่นขอประกันตัวศักดิ์ชัยครั้งที่ 4 หลังเมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา ทนายความเข้าเยี่ยมจำเลยทั้งห้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และได้รับแจ้งว่า จำเลยที่ 2-5 ติดเชื้อโควิดแล้ว โดยก่อนหน้านี้ พวกเขาถูกปฏิเสธการให้ประกันตัวหลายครั้ง และนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีถูกเลื่อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด

    ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอประกันตัวในวันที่ 13 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. เช่นเดียวกับกรณีของสมคิดและฉลวย

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2564)
  • บรรยากาศการไต่สวนที่ห้องพิจารณา 912 มีญาติของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มารอเบิกความเป็นพยานเต็มห้อง มีเด็กใส่ชุดนักเรียน 2 คน โดยการไต่สวนในวันนี้เป็นการไต่สวนผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากแดนพยาบาลราชทัณฑ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลเชื่อมต่อสัญญาณได้แล้ว ปรากฏภาพจำเลยทั้งสามถูกเบิกตัวมายืนเรียงกันที่หน้ากล้อง ญาติๆ ต่างรีบกรูกันมามองที่ภาพบนจอทีวี ขณะที่ด้านหลังของทั้งสาม มองเห็นผู้ต้องขังนอนเรียงติดๆ กันบนผ้าขนหนู มีผู้ต้องขังกว่า 30 คนอยู่ในห้องเดียวกัน

    ทั้งสามคนนั่งเรียงแถวกันผ่านจอทีวีในห้องพิจารณาคดี ด้านศักดิ์ชัยดูซูบผอม และอิดโรยกว่าปกติ เมื่อทนายความถามถึงอาการป่วย ศักดิ์ชัยไม่มีแรงแม้แต่จะตอบรับ สมคิดจึงตอบแทนศักดิ์ชัยว่า ศักดิ์ชัยไม่มีแรงกินอะไรไม่ได้ เป็นไข้ตัวร้อน กินไปก็อาเจียนออกมา ส่วนตัวสมคิดมีอาการไอ ตัวร้อน ปวดเมื่อย ด้านฉลวยซึ่งตาเป็นต้อกระจกเล่าว่า มีหมอมาตรวจอาการทุกวัน ตอนนี้มีเสมหะ

    ลูกชายของศักดิ์ชัยค่อนข้างเครียดหลังรับทราบอาการป่วยของพ่อ เดินไปบอกพ่อว่า “ขอให้เข้มแข็งนะตอนนี้หาโรงพยาบาลไว้ให้แล้ว ถ้าวันนี้ได้ออกมา” จากนั้นกลับมานั่งก้มหน้าเอามือกุมศีรษะ

    ขณะที่แม่ของสมคิดพูดใส่ไมค์พร้อมน้ำตาว่าเข้มแข็งนะลูก เดี๋ยวก็ได้กลับบ้านแล้ว เช่นเดียวกับภรรยาของสมคิดที่กล่าวว่าขอให้เข้มแข็ง ตลอดเวลานั้นสมคิดขมวดคิ้วทำหน้าเหมือนจะร้องไห้ ลูกสาวฉลวยพูดทั้งน้ำตาว่า “หนูคิดถึงพ่อ” แล้วเดินกลับมาสะอื้นอยู่ที่ม้านั่งกับลูกสาวของเธอ

    ระหว่างที่รอศาลเข้ามาในห้องพิจารณาคดี ศักดิ์ชัยก็นอนลงบนตักของสมคิด โดยที่สมคิดเอามือโอบที่ไหล่ของศักดิ์ชัยไว้ ลูกชายของศักดิ์ชัยจ้องมองที่พ่อไม่วางตา ส่วนธวัชเดินเข้ามานั่งด้านหน้ากล้องด้วยแม้วันนี้ยังไม่มีการไต่สวนเขา

    เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ คาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาล เข้ามาวัดความดันของศักดิ์ชัยได้ 101/64 ค่าออกซิเจน 94 เปอร์เซ็นต์ ไม่นานมีหมอใส่ชุด PPE เข้าไปดู ทนายขอผ่านคอนเฟอเรนซ์ให้หมอให้น้ำเกลือศักดิ์ชัย จากนั้นหมอได้นำตัวศักดิ์ชัยออกไป โดยบอกว่าจะนำไปให้ออกซิเจนที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์

    เวลา 11.30 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ ออกพิจารณาคดี โดยเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันศักดิ์ชัยก่อน เนื่องจากลูกชายต้องรีบประสานโรงพยาบาลในช่วงบ่าย ส่วนศักดิ์ชัยนั้นอาการทรุดลง จนไม่สามารถขึ้นเบิกความได้ จากนั้นศาลจึงไต่สวนคำร้องขอประกันของฉลวยและสมคิดต่อในช่วงบ่ายตามลำดับ

    เนื้อหาการไต่สวน นอกจากจำเลยแต่ละคนเบิกความเป็นพยานให้ตนเอง ยกเว้นศักดิ์ชัยที่ไม่สามารถเบิกความได้ โดยยืนยันว่า ไม่ได้มีพฤติการณ์ตามที่ถูกฟ้อง โดยเฉพาะฉลวย เบิกความว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ยังมีคนในครอบครัว รวมถึงบุคคลสำคัญในชุมชนหรือเขตที่อยู่มาเบิกความรับรองว่า จะกำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันตัวของศาล

    หลังเสร็จการไต่สวนในเวลาประมาณ 16.00 น. ศาลแจ้งว่า มีการประชุมของศาลเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่ประชุมกำหนดให้การออกหมายปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด จะต้องได้รับใบรับรองจากสถานพยาบาลที่จะรับตัวผู้ต้องขังดังกล่าวไปรักษาก่อน

    เวลา 17.56 น. ศาลอนุญาตให้ประกันตัว จำเลยที่ 3-5 โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 25,000 บาท และมีเงี่อนไข ห้ามชุมนุมก่อความวุ่นวาย ห้ามออกนอกประเทศ และมาศาลตามนัด

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันศักดิ์ชัย++

    ลูกชายของศักดิ์ชัย อายุ 26 ปี อาชีพวิศวกร เข้าเบิกความเป็นพยาน ระบุว่า จำเลยที่ 3 มีอายุ 63 ปี ปัจจุบันติดเชื้อโควิดอยู่ในเรือนจำ มีอาการรุนแรง อ่อนเพลียมาก ทานอาหารแล้วอาเจียน ทานน้ำก็ถ่ายเป็นของเหลว พยานได้ประสานไปที่เรือนจำให้หมอเข้าไปดู และแนะนำตัวพ่อเข้าห้อง ICU

    เกี่ยวกับคดีนี้พยานเบิกความว่า พ่อไปหาพบตำรวจเองโดยตลอด ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี พยานรับรองว่า พ่อจะไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานแน่นอนเพราะไม่มีอำนาจ และเมื่อส่งฟ้องต่อศาลแล้ว พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จแล้วก็ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้อีก

    ลูกชายของศักดิ์ชัยยังเบิกความอีกว่า หากศาลให้ประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไข พ่อบอกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดทุกอย่าง รวมทั้งยอมติด EM และจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรม เช่น การชุมนุม โดยพยานจะเป็นผู้ดูแลพ่อเนื่องจากปัจจุบันพ่ออาศัยอยู่กับพยานเพียง 2 คน พยานรับรองว่าจะดูแลไม่ให้พ่อไปเข้าร่วมการชุมนุม

    พยานทราบว่าพ่อถูกดำเนินคดีอีกคดีหนึ่งซึ่งยังอยู่ในระหว่างการสืบพยานของศาลแขวงดุสิต โดยเพียงแต่ว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้ง

    เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของพ่อจากการติดโควิด พยานต้องการให้พ่อออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และได้ประสานกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ไว้แล้ว แต่ทางโรงพยาบาลมีเงื่อนไขให้ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นคนส่งตัวไป

    พยานของศักดิ์ชัยอีกปาก เป็นประธานชุมชนบ้านสามต้น เขตวัฒนา เข้าเบิกความในช่วงบ่าย ระบุว่า เป็นประธานชุมชนมาตั้งแต่ปี 2557 รู้จักกับศักดิ์ชัยมาประมาณ 20 ปี บ้านอยู่ห่างกันประมาณ 20 เมตร หากศาลให้ประกันศักดิ์ชัย ตนรับรองว่าจะช่วยกำกับดูแลศักดิ์ชัยไม่ให้มีพฤติการณ์ตามที่ถูกฟ้องอีก

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันฉลวย++

    ฉลวย เอกศักดิ์ จำเลยที่ 5 เข้าเบิกความเป็นพยานให้ตัวเองเป็นปากแรกระบุว่า ปัจจุบันอายุ 52 ปีอาชีพรับจ้าง

    เกี่ยวกับคดีนี้ ฉลวยยืนยันว่า รถมอเตอร์ไซค์สีเทาคันที่ทนายความเอาสำเนาคู่มือการจดทะเบียนให้ดูนั้นเป็นรถของตนเองซึ่งยกให้ลูกสาวไปใช้งานแล้ว ก่อนวันเกิดเหตุ พยานไม่เคยใช้รถมอเตอร์ไซค์คันดังกล่าว แต่ใช้อีกคันยี่ห้อฮอนด้า สีชมพู ซึ่งในวันเกิดเหตุก็ใช้รถคันนั้น

    เหตุที่พนักงานสอบสวนเรียกพยานไปให้การเนื่องจากรถคันที่อยู่ในที่เกิดเหตุเป็นชื่อของของพยาน แต่ตัวพยานไม่เคยไปในที่เกิดเหตุในวันที่เกิดเหตุตามที่ถูกกล่าวหา โดยมีพยานที่ยืนยันได้คือลูกสาวของตนเองและประธานพร ประธานชุมชนตลาดบางเขน ซึ่งพยานจำชื่อจริงไม่ได้ ทั้งสองคนจะยืนยันได้ว่าตนใช้รถฮอนด้าขี่ไปทำงาน งานที่ทำคือสร้างบ้านให้ประธานพร ย่านบางเขน ฉลวยยืนยันอีกว่าไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุม ไม่เคยทราบและไม่รู้ว่ามีเหตุการณ์ล้อมรถผู้ต้องขังเกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละวันตนจะไปทำงานและไปรับหลานเท่านั้น

    ฉลวยยังเบิกความอีกว่า ที่ผ่านมาเมื่อได้รับหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ตนเองได้ไปพบพนักงานสอบสวน รวมทั้งไปตามนัดของอัยการทุกครั้ง หากได้รับการประกันตัว ตนยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดทุกอย่าง รวมทั้งไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุม เนื่องจากตนเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมอยู่แล้ว

    พยานที่เข้าเบิกความเป็นพยานให้ฉลวยปากที่ 2 คือ จารุกิตติ์ มัชฌิมาดิลก หรือ “ประธานพร” อายุ 42 ปี อาชีพนักการเมืองท้องถิ่นเบิกความว่า พยานเป็นประธานชุมชนตลาดบางเขนตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้ช่วย ส.ส.ภาดาห์ วรกานนท์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ พยานไม่ได้เป็นญาติกับฉลวย แต่รู้จักกันตั้งแต่เด็ก เป็นคนพื้นที่เดียวกัน

    พยานทราบว่า ฉลวยมีอาชีพรับซ่อมแซมบ้าน จึงให้มาทำงานที่บ้านพยานตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 จนถึงประมาณเดือนมกราคม 2564 ระหว่างที่ฉลวยทำงานกับพยานได้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ขี่มาทำงาน เป็นรถสีชมพู จำเลขทะเบียนไม่ได้ แต่ยืนยันว่าเป็นคันที่ทนายจำเลยให้ดูภาพ โดยกล่าวว่าปัจจุบันรถคันดังกล่าวก็จอดอยู่หน้าบ้านของตน

    จารุกิตติ์เบิกความอีกว่า ทราบว่าก่อนที่ฉลวยจะไปทำงานกับพยานจะต้องนำหลานสาวไปส่งที่โรงเรียนก่อน และมาทำงานอยู่จนถึง 17.00 น. จึงกลับบ้านที่ปทุมธานี พยานยืนยันได้ว่าฉลวยไม่เคยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง มีแต่มาทำงานที่บ้านของพยานเท่านั้น

    หากฉลวยได้รับการประกันตัว จารุกิตติ์รับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดได้

    พยานปากสุดท้าย คือ ลูกสาวของฉลวยอายุ 30 ปี อาชีพแม่บ้าน เบิกความว่า ตนเองมีลูก 2 คน โดยคนที่พ่อต้องรับส่งไปโรงเรียนเป็นประจำคือลูกสาวคนโต

    พ่อมีชื่อครอบครองรถมอเตอร์ไซค์ 2 คัน ซึ่งพยานจำเลขทะเบียนไม่ได้ รถคันสีเทาเป็นรถคันที่พยานใช้ส่วนคันสีชมพูเป็นคันที่พ่อใช้ ในวันเกิดเหตุพยาน สามี ขี่รถคันสีเทาไปในที่เกิดเหตุพร้อมกับลูกเลี้ยง

    ลูกสาวของฉลวยเล่ารายละเอียดในวันเกิดเหตุว่า ตอนเช้าพ่อไปส่งหลาน และในตอนสายได้โทรบอกให้พยานเอาลูกไปเลี้ยงในช่วงเสาร์อาทิตย์ พยานจึงบอกพ่อว่าจะไปรับลูก ในตอนค่ำพยานและสามีจึงได้ขี่รถไปที่บ้านที่ปทุมธานีเพื่อไปรับลูกสาว โดยเข้าใจว่าพ่อพาลูกไปบ้านที่ปทุมธานีแล้ว แต่ไปถึงบ้านแล้วไม่พบจึงล็อคบ้านแล้วโทรหาลูกสาว 1 ครั้ง แต่โทรไม่ติด ระหว่างทางจึงโทรอีกครั้ง ทราบภายหลังว่าที่โทรไม่ติดเพราะแบตหมด

    จากนั้นพยานกับสามีได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเรื่อยๆ ตามทางเส้นคลองประปาเพื่อมารับลูกที่บางเขน มาถึงแยกพงษ์เพชรเห็นเหตุการณ์ รถตำรวจ ซึ่งตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นรถอะไร ลากมอเตอร์ไซค์ออกไป จึงตามไปดู โดยสามีได้ถ่ายคลิปไว้ และเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก ปัจจุบันคลิปดังกล่าวก็ยังอยู่และสามารถเข้าถึงได้ ยืนยันว่าเป็นคลิปตามที่ทนายความเปิดให้ดู ลูกสาวของฉลวยเบิกความอีกว่า ปกติถ้าพยานกับแฟนเจอเหตุการณ์อะไรก็มักจะถ่ายคลิปไปโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก

    ช่วงแรกพยานนึกว่ารถตำรวจในที่เกิดเหตุเป็นรถส่งของ เนื่องจากพยานอยู่ฝั่งตรงข้ามของที่เกิดเหตุ ลูกสาวของฉลวยยืนยันว่า ตนและสามีไม่เคยไปชุมนุมทางการเมือง รวมทั้งยืนยันว่าเป็นคนนำรถคันสีเทาดังกล่าวไปในที่เกิดเหตุ โดยผู้หญิงในภาพเหตุการณ์วันเกิดเหตุที่ใส่เสื้อสีดำก็คือตัวพยานเอง

    หลังสามีถ่ายคลิป พยานและสามีก็ออกจากที่เกิดเหตุไปรับลูกที่ตลาดบางเขน ไม่ได้อยู่ดูเหตุการณ์จนจบ โดยเมื่อไปถึงตลาดบางเขนพยานก็ได้พบกับลูก พ่อ และผู้ชายอีก 2 คนที่ไม่ทราบชื่อขณะนั้นพ่อนั่งอยู่ในวงเหล้าบริเวณศาลาริมคลองตลาดบางเขนโดยไม่ได้เดินทางไปที่เกิดเหตุ

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันสมคิด++

    สมคิด โตสอย เบิกความเป็นพยานให้ตัวเอง ระบุว่า มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีลูก 2 คน กำลังเรียนชั้น ป. 6 และ ม. 3 ตนและภรรยาซึ่งรับจ้างและขายของ นอกจากต้องดูแลรับผิดชอบลูกทั้งสองคนแล้ว ยังต้องดูแลแม่ซึ่งอายุ 70 ปี และจ่ายค่าเช่าบ้าน หากตนเองไม่ได้ประกัน ครอบครัวก็เดือดร้อน

    สมคิดเบิกความถึงเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุว่า ตนใส่เสื้อสีแดง ทับเสื้อกั๊กสีส้มเบอร์ 14 ใส่หมวกกันน็อคสีขาวเขียวสะท้อนแสง ขับรถผ่านตรงที่เกิดเหตุ บริเวณแยกพงศ์เพชร เห็นคนยืนดูกันเยอะจึงจอดรถเข้าไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเห็นเหตุการณ์ก็เลยตกใจ จึงกลับออกมาขับรถกลับบ้าน โดยไม่ได้เข้าไปทำอะไรกับรถควบคุมผู้ต้องขัง และไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย พอดีมีลูกค้าเรียกให้ไปส่งที่ สน.ประชาชื่น ตนจึงไปส่งลูกค้า จากนั้นก็ยืนอยู่ใกล้รถเพื่อดูเหตุการณ์ที่ สน.ประชาชื่น

    นอกจากขับวินมอเตอร์ไซค์ สมคิดยังเบิกความว่า ทำงานอาสาสมัครกับมูลนิธิร่วมกตัญญู ช่วยคนเจ็บเวลามีอุบัติเหตุด้วย ทำมาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว

    สมคิดยืนยันว่า หากศาลให้ประกัน จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุม และยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลทุกอย่าง

    ที่ผ่านมา ตนไปรายงานตัวตามหมายเรียกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในวันที่อัยการส่งฟ้อง ก็เดินทางมาตามกำหนดนัด ไม่ได้หลบหนี

    ศาลได้ถามสมคิดถึงอาการในปัจจุบัน สมคิดตอบว่า หายใจไม่ออก ไม่ค่อยมีแรง แต่ไม่ทราบระดับความรุนแรง หมอในเรือนจำบอกแค่ว่าติดโควิด โดยไม่ได้บอกรายละเอียด

    ต่อมา ภรรยาสมคิดเข้าเบิกความว่า ก่อนเข้าเรือนจำสมคิดเป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว โดยเป็นพนักงานขับรถส่วนตัวให้นาย และขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างหลังเลิกงานเป็นรายได้เสริม

    ที่ผ่านมาสมคิดไม่เคยถูกดำเนินคดี ทั้งยังชอบทำจิตอาสาและประสานงานให้หน่วยงานมาช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนแถวบ้าน รวมทั้งในเขตบางซื่อ จตุจักร และปอเต็กตึ๊ง จะมีเบอร์โทรของสมคิด และมักจะโทรตามให้สมคิดไปช่วย

    หลังจากไม่ได้ประกัน พยานได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากทนายคริส พรรคก้าวไกลและนักการเมืองท้องถิ่น และได้ติดต่อให้มาเป็นผู้กำกับดูแลสมคิด หากศาลให้ประกันตัว รวมทั้งเมื่อทราบว่าสมคิดติดโควิดก็ได้ติดต่อให้ทนายคริสช่วยประสานงานให้โรงพยาบาลปิยะเวชรับตัวไปรักษาต่อจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ต้องรอใบรับรองจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน

    คริส โปตระนันทน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล เข้าเบิกความเป็นพยานปากสุดท้ายให้สมคิด โดยเบิกความว่า พยานเป็นกรรมาธิการยุทธศาสตร์ของพรรคก้าวไกล และอนุกรรมการปราบปรามความประพฤติผิดไม่ชอบ สภาผู้แทนราษฎร พยานมีสำนักงานอยู่ใกล้บ้านของสมคิด ก่อนหน้านี้พยานรู้จักแต่เพื่อนของเขา ไม่เคยรู้จักครอบครัวสมคิด เพิ่งมารู้จักผ่านคดีของสมคิดได้ประมาณ 4 เดือน

    คริสรับรองว่า หากศาลให้ประกันสมคิด ตนจะกำกับดูแลให้สมคิดปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลอย่างเต็มที่

    ปัจจุบัน พยานจัดตั้งกลุ่มเส้นด้าย อาสารับส่งตัวผู้ป่วยโควิดทั่วกรุงเทพฯ โดยประสานกับ รพ. ปิยะเวช ในกรณีที่อาการรุนแรง และมี hospitel ที่ดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงได้

    หากว่าจำเลยทั้งสามได้ประกันตัว พยานสามารถประสานรถพยาบาลส่งตัวไปรักษาได้ รวมทั้งสามารถหาโรงพยาบาลให้สมคิดและฉลวยเข้ารับการรักษาด้วย

    ++ศาลให้ประกัน พิเคราะห์ตาม ป.วิอาญา ไม่มีเหตุหลบหนี มีผู้กำกับดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาล++

    เวลา 17.45 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ได้อ่านคำสั่งให้ประกันตัวทั้ง 3 โดยท้าวความถึงคำเบิกความของพยานทั้งหมด รวมไปถึงคำเบิกความของพยานผู้รับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล ทั้งระบุว่า เหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจะต้องเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1

    ศาลพิเคราะห์ เห็นว่า จำเลยที่ 3-5 ไปพบพนักงานสอบสวนตามนัด น่าเชื่อว่าจะไม่หลบหนี คดีนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่อยู่ในฐานะที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ จำเลยที่ 3-5 ได้แถลงต่อศาลโดยสมัครใจว่าจะไม่ไปเข้าร่วมการชุมนุมก่อความวุ่นวาย พร้อมกับมี ประธานชุมชนบ้านสามต้น เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 3 คริส โปตระนันทน์ เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 4 และ จารุกิตติ์ มัชฌิมาดิลก เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 5 ส่วนผู้ยื่นประกันเป็นญาติและบุคคลใกล้ชิด ถือว่าหลักประกันมีความน่าเชื่อถือ

    กรณีนี้ พฤติการณ์คดีเปลี่ยนแปลงไป มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 3-5 ในวงเงินประกัน 25,000 บาท พร้อมเงื่อนไข ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามออกนอกราชอาณาจักร และให้มาศาลตามนัด

    ศักดิ์ชัย สมคิด และฉลวย ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ หลังถูกขังระหว่างพิจารณาคดีรวม 79 วัน ขณะยังมีจำเลยในคดีนี้อีก 2 คน คือ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร และธวัช สุขประเสริฐ ยังไม่ได้รับการประกันตัว โดยทนายจะยื่นประกันในวันพรุ่งนี้ (14 พ.ค. 2564) นอกจากนี้ ยังมีผู้ต้องขังคดีทางการเมืองยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอีกรวม 11 คน ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในเรือนจำเป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/29652)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร (จำเลยที่ 1) และ ธวัช สุขประเสริฐ (จำเลยที่ 2) เป็นครั้งที่ 4 หลังทั้งสองถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. 2564 รวมเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว ด้านธวัชยังติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำ และถูกแยกตัวมาควบคุมในแดนพยาบาลของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่วนณัฐนนท์นั้นถูกแยกขังเดี่ยว หรือ “ขังซอย” จากมาตรการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และอดอาหารเรียกร้องสิทธิประกันตัวเป็นเวลา 21 วันแล้ว

    คำร้องขอปล่อยชั่วคราวครั้งนี้มีเนื้อหาโดยสรุป ขอให้ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนจำเลยที่ 1-2 เพื่อเป็นไปตามแนวทางนโยบายของศาลอาญาเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2564 ที่มีวัตถุประสงค์ลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ ลดภาระของเรือนจำและทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ที่ขณะนี้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างกว้างขวาง

    1. กรณีเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขอให้ศาลยุติธรรมงดการไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จนถึงสิ้นเดือน พ.ค. 64 ถือว่ากระทบสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 1-2 โดยจำเลยขอให้ศาลไต่สวนเฉพาะจำเลยที่ 1-2 และอ่านคำเบิกความเพียงจำเลยทั้งสองก่อน โดยไม่ต้องให้จำเลยรอฟังคำสั่ง และให้ทนายความรอฟังคำสั่งแทน เพื่อลดระยะเวลาการไต่สวนให้สั้นลง และลดความเสี่ยงให้กับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
    2. กรณีเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีความจำเป็นอย่างยิ่งไม่สามารถจัดให้มีการไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้ จำเลยขอให้ไต่สวนพยานที่เกี่ยวข้องและสามารถรับรองความประพฤติ กำกับดูแลจำเลยทั้งสอง อันได้แก่ ประธานหมู่บ้านของจำเลยที่ 1 และ/หรือ ครูที่จำเลยที่ 1 นับถือ และหัวหน้างานของจำเลยที่ 2

    ด้านจำเลยที่ 2 ได้ติดเชื้อโควิด-19 และถูกควบคุมไว้ในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขณะนี้ภายในเรือนจำยังมีผู้ต้องขังติดเชื้อจำนวนมาก และมีบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ต้องขังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพของจำเลยที่ 2 และผู้ต้องขังอื่นเป็นอย่างมาก ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคสาม ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยเจ็บป่วยซึ่งถ้าต้องขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิต ศาลจะไม่ออกหมายปล่อยก็ได้ แต่ก็ไม่ห้ามศาลให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน หรือกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันการหลบหนีได้

    นอกจากนี้ คำร้องยังระบุอีกว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง ทั้งจำเลยทั้งสองยังคงเป็นผู้ถูกกล่าวหา และยังไม่ถูกพิพากษาว่ามีความผิด

    ทั้งนี้ จำเลยที่ 1-2 ได้แนบหนังสือบันทึกถ้อยคำแถลงต่อท้ายคำร้อง โดยมีเนื้อหาว่า ถ้าหากได้รับการปล่อยชั่วคราว จำเลยจะไม่หลบหนี ก่อนหน้านี้ จำเลยทั้งสองมาตามนัดของพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการเสมอ ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี พร้อมกับแถลงว่า จะไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และยินดีปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือคำสั่งศาลโดยเคร่งครัดทุกประการ

    ต่อมา เวลา 16.30 น. ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันในวันอังคารที่ 18 พ.ค. 64 เวลา 10.00 น. คาดว่าศาลอาจไม่เบิกตัวจำเลยทั้งสองผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพียงแต่เบิกความผู้ที่จะมาเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 1 และ 2 เท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในเรือนจำยังอยู่ในภาวะที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ล่าสุด กรมราชทัณฑ์เผย เรือนจำกลางคลองเปรมพบผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 508 ราย แบ่งเป็นผู้ต้องขังถึง 506 รายและเจ้าหน้าที่อีก 2 ราย และคาดว่ายังคงมีผู้ติดเชื้อภายในเรือนจำที่ยังตรวจไม่พบ หรือข้อมูลผู้ติดเชื้อที่กรมราชทัณฑ์ยังไม่เผยแพร่สู่สาธารณะ

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 14 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29692)
  • ที่ห้องพิจารณา 912 เวลา 09.45 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษา ออกพิจารณาคดี ก่อนเริ่มการไต่สวน ศาลได้สอบถามว่า หลังปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 3-5 เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้มีการส่งตัวจำเลยทั้งสามไปรักษาพยาบาลโดยทันทีหรือไม่ ทนายความจำเลยแถลงว่า จำเลยทั้งสามได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที หลังได้รับการปล่อยตัว โดยศักดิ์ชัยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาจักรีนฤบดินทร์ ส่วนสมคิดและฉลวยได้เข้ารับการรักษาใน Hospitel ที่ทางกลุ่มเส้นด้ายช่วยประสานงาน

    ทนายยังแถลงอีกว่า ถ้าหากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ จำเลยที่ 1 จะเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยทันที ด้านจำเลยที่ 2 ซึ่งติดเชื้อโควิด-19 และถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทนายความและนายประกันได้ประสานงานกับกลุ่มเส้นด้าย เพื่อนำรถพยาบาลไปรับตัวจำเลยที่ 2 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที เมื่อได้รับการปล่อยตัว

    ในการไต่สวนคำร้องขอประกันครั้งนี้ประกอบไปด้วยพยานทั้งหมด 6 ปาก ได้แก่ มารดาของณัฐนนท์เบิกความในฐานะนายประกัน, ประธานหมู่บ้านของณัฐนนท์เบิกความในฐานะผู้กำกับดูแล, ทนายความจำลยที่ 1 ในฐานะผู้รับรองบันทึกถ้อยคำแถลงของจำเลยที่ 1, เพื่อนร่วมงานของธวัช, หัวหน้างานของธวัชเบิกความในฐานะผู้กำกับดูแล และทนายความจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับรองบันทึกถ้อยคำแถลงของจำเลยที่ 2

    ในวันนี้ไม่มีการเบิกตัวจำเลยทั้งสองเพื่อให้เบิกความผ่านวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ หลังศาลมีคำสั่งงดไต่สวนจำเลย โดยทนายจำเลยได้ยื่นบันทึกถ้อยคำแถลงของจำเลยทั้งสอง คู่กับคำร้องขอปล่อยชั่วคราวแล้วเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 บันทึกดังกล่าวระบุว่า จำเลยรับเงื่อนไขที่ศาลกำหนด และตั้งผู้กำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว โดยมีลายมือชื่อของจำเลยท้ายเอกสาร



    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันณัฐนนท์++

    มารดาของณัฐนนท์เข้าเบิกความเป็นพยานปากแรก ระบุ ก่อนณัฐนนท์ถูกคุมขังในเรือนจำ ทำงานที่คลังสินค้าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน โดยก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่บริษัทรักษาความปลอดภัยที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง นอกจากนี้ณัฐนนท์มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อยู่อาศัยกับมารดาและยาย ปรากฎหลักฐานตามทะเบียนบ้าน พยานยังระบุอีกว่า พยานและประธานหมู่บ้านจะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล

    ต่อมา ประธานหมู่บ้านของณัฐนนท์เข้าเบิกความว่า รู้จักณัฐนนท์มานานหลายปี เนื่องจากครอบครัวของณัฐนนท์เป็นลูกบ้านตั้งแต่เริ่มโครงการ ส่วนพยานได้รับเลือกให้เป็นประธานหมู่บ้านมาตั้งแต่ปี 2563 ประธานหมู่บ้านยังชี้ว่า ภายในหมู่บ้านมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด และถ้าหากได้ณัฐนนท์ได้รับการปล่อยชั่วคราว จะให้มารายงานต่อประธานหมู่บ้าน เมื่อเดินทางออกนอกพื้นที่

    จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความพยานปากสุดท้ายว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 64 ได้เข้าเยี่ยมณัฐนนท์ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ได้ผู้คุยเกี่ยวกับเงื่อนไขและข้อปฎิบัติตามข้อกำหนดของศาลผ่านโทรศัพท์ เนื่องจากณัฐนนท์ยังไม่ติดเชื้อโควิด-19 ในวันดังกล่าว ทนายจำเลยได้นำเอกสารบันทึกถ้อยคำแถลงของณัฐนนท์ไปอธิบายและทำความเข้าใจกับณัฐนนท์ ด้านณัฐนนท์ยืนยันจะปฎิบัติตามคำสั่งศาล และไม่หลบหนี และจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานหมู่บ้าน จึงลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำแถลง พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ลงลายมือชื่อรับรอง

    นอกจากนี้ จันทร์จิรายังเบิกความอีกว่า ส่วนกรณีศาลมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทนายความได้ประสานงานกับคลินิกเทคนิคการแพทย์ ให้ณัฐนนท์ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ทันที หากได้รับการปล่อยตัวภายในเวลาทำการของคลินิกในวันนี้



    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันธวัช++

    เพื่อนร่วมงานของธวัชเข้าเบิกความเข้าเป็นพยานว่า รู้จักธวัชมาเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ก่อนทำงานที่บริษัทนี้ ขณะนั้น ธวัชทำงานเป็นช่างเทคนิค และเป็นผู้ชักชวนให้พยานเข้าทำงานที่นี่ เท่าที่พยานรู้จัก ธวัชเป็นคนอัธยาศัยดี เป็นเสาหลักของครอบครัว และมีบุตร 2 คน อายุ 5 ปี และ 11 ปี

    ในส่วนของความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน พยานยืนยันว่า ธวัชเป็นคนทำงานดี ไปทำงานแต่เช้า หนึ่งปีลางานไม่ถึง 5 วัน

    ต่อคำถามทนายจำเลยว่า ทราบหรือไม่ว่าธวัชถูกดำเนินคดีอย่างไรบ้าง พยานตอบว่า ธวัชไม่เคยถูกเจ้าหน้าที่จับกุม แต่ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองทุกครั้ง สำหรับเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ ธวัชเคยเล่าให้พยานฟังว่า ตนเพียงแค่ขี่รถจักรยานยนต์ไปดูเหตุการณ์ ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ

    พยานทราบว่า ปัจจุบันธวัชติดเชื้อโควิด-19ในเรือนจำ พยานได้ประสานกับทนายความไว้แล้วว่า หากธวัชได้ประกันจะมีรถมารับไปตรวจอาการและนำส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยพยานได้ขอเอกสาร ความเห็นของแพทย์ และแบบบันทึกการส่งตัวของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไว้แล้ว

    พยานเบิกความอีกว่า เนื่องจากธวัชถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ทำให้ต้องคืนบ้านเช่าที่เคยอยู่อาศัย ทางบริษัทจึงตกลงให้นำของใช้ส่วนตัวมาไว้ที่บริษัท และถ้าหากธวัชได้รับการประกันตัว บริษัทจะรับเข้าทำงานต่อและให้พักอาศัยที่บริษัท

    ต่อมา ผู้จัดการฝ่ายช่างเทคนิค หัวหน้างานของธวัช ได้ขึ้นเบิกความว่า รู้จักกับธวัชตั้งแต่เป็นพนักงานของบริษัทนี้เป็นเวลาประมาณ 13 ปี ทำงานร่วมกันมาในตำแหน่งช่างเทคนิค ไม่เคยมีเรื่องทะเลาะวิวาท ธวัชไม่เคยทำให้บริษัทเสียหาย และมาทำงานแต่เช้า จนได้รางวัลพนักงานที่มาเช้าเกือบทุกปี

    หัวหน้างานยังเบิกความอีกว่า ปกติธวัชเป็นคนเงียบๆ ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งหากได้รับการประกันตัว บริษัทก็ให้โอกาสในการเข้าทำงานต่อ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวอีกทั้งรับรองจะกำกับดูแลธวัชเป็นพิเศษ ไม่ให้มีความประพฤติแบบที่ถูกกล่าวหา

    สุดท้าย ภาวิณี ชุมศรี ทนายจำเลยที่ 4 (สมคิด โตสอย) เข้าเบิกความว่า คดีนี้ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 64 พยานไต่สวนคำร้องขอประกันจำเลยที่ 3-5 ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากห้องควบคุมตัว โดยขณะนั้น มีจำเลยที่ 2 ร่วมอยู่ด้วย พยานได้พูดคุยกับธวัชโดยถามว่า หากศาลให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไข ธวัชจะยอมรับเงื่อนไขหรือไม่ ธวัชแจ้งว่ายินดีรับเงื่อนไขโดยสมัครใจ และจะปฏิบัติตามคำสั่งศาลทุกประการ โดยพยานยังได้แจ้งธวัชว่า ได้ติดต่อหัวหน้างานให้เป็นผู้กำกับดูแล หากได้รับการประกันตัว ซึ่งธวัชก็ยินยอม

    ต่อมาวันที่ 14 พ.ค. 64 พยานได้จัดทำบันทึกถ้อยคำตามที่พูดคุยกับธวัช และได้นำไปให้ธวัชลงลายมือชื่อที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากธวัชติดโควิด เจ้าหน้าที่ไม่ให้เยี่ยม พยานจึงฝากให้เจ้าหน้าที่นำไปให้ธวัชเป็นคนลงลายมือชื่อ โดยมีนายสยมภู ประภานนท์ หัวหน้างานโรงพยาบาลสนาม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รับรองว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จริง

    นอกจากนี้พยานยังแนะนำให้ผู้ยื่นคำร้องขอประกันของธวัชประสานกับกลุ่มเส้นด้ายให้ช่วยรับธวัชไปดูแลรักษาต่อหากได้รับการประกันตัว ทั้งนี้ กลุ่มเส้นด้ายเป็นกลุ่มที่นำตัวจำเลยที่ 4 ไปรักษาพยาบาล



    ++ศาลให้ประกัน พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง++

    เวลา 14.10 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ได้อ่านคำสั่งให้ประกันตัวทั้งสอง โดยท้าวความถึงคำเบิกความของพยานทั้งหมด รวมไปถึงคำเบิกความของพยานผู้รับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล ทั้งระบุว่า เหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจะต้องเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1

    พิเคราะห์เห็นว่า จำเลยที่ 1-2 ไปพบพนักงานสอบสวนตามนัด น่าเชื่อว่าจะไม่หลบหนี คดีนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่อยู่ในฐานะที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ จำเลยที่ 1-2 ได้แถลงต่อศาลโดยสมัครใจว่าจะไม่ไปเข้าร่วมการชุมนุมก่อความวุ่นวาย พร้อมกับมีประธานชุมชนของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 1 และ หัวหน้างานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยที่ 2 ส่วนผู้ยื่นประกันเป็นญาติและบุคคลใกล้ชิด ถือว่าหลักประกันมีความน่าเชื่อถือ

    กรณีนี้ พฤติการณ์คดีเปลี่ยนแปลงไป มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1-2 ในวงเงินประกัน 25,000 บาท พร้อมเงื่อนไข ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามออกนอกราชอาณาจักร และให้มาศาลตามนัด

    หลังศาลอ่านคำสั่งให้ประกันตัว ได้อ่านกระบวนพิจารณาคดี ซึ่งระบุให้ จำเลยที่ 1 นำผลการตรวจโควิด-19 มายืนยันต่อศาลภายใน 3 วันว่าได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อจริง และให้ส่งจำเลยที่ 2 เข้ารับรักษาในโรงพยาบาล

    คำสั่งดังกล่าวทำให้ณัฐนนท์และธวัช ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในเวลาประมาณ 21.30 น. หลังถูกขังระหว่างพิจารณาคดีรวม 84 วัน หรือนับเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน ด้านณัฐนนท์ได้อดอาหารเรียกร้องสิทธิการประกันตัวรวม 25 วัน ส่วนธวัชนั้นติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำ พร้อมกับผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อย่างน้อยถึง 1,851 รายจากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 3,023 ราย หรือคิดเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ของผู้ต้องขังทั้งหมด (อ้างอิง: รายงานสถานการณ์โควิด-19 วันที่ 18 พ.ค. 64 จากงานประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์)

    อย่างไรก็ตาม ยังคงเหลือผู้ต้องขังคดีทางการเมืองยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอย่างน้อย 6 คน ในเรือนจำพิเศษธนบุรี และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำยังคงเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดมีรายงานจากกรมราชทัณฑ์ว่า มีผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศอย่างน้อย 11,670 ราย และวันนี้ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 1,408 ราย (อ้างอิง: รายงานสถานการณ์โควิด-19 วันที่ 18 พ.ค. 64 จากงานประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์ และ ผู้ต้องขังป่วยโควิดเพิ่ม 1,408 ราย จาก 7 เรือนจำ เผยสาเหตุการติดเชื้อ ตามลำดับ)

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 18 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29810)
  • ศาลมีคำสั่งก่อนวันนัดให้เลื่อนตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 12 ก.ค. 2564 เวลา 13.00 น.
  • นัดพร้อมเพื่อประชุมคดี สอบคําให้การจําเลย ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยาน ณัฐนนท์ จําเลยที่ 1, ธวัช จําเลยที่ 2, สมคิด จําเลยที่ 4 และฉลวย จําเลยที่ 5 เดินทางมาศาลตามนัด ส่วนศักดิ์ชัย จําเลยที่ 3 เดินทางมาไม่ได้ เนื่องจากยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

    ทนายจําเลยได้ยื่นคําร้องขออนุญาตเลื่อนคดีในส่วนของศักดิ์ชัย โดยแจ้งว่า ศักดิ์ชัยติดเชื้อโควิด-19 ในระหว่างต้องขังอยู่ในเรือนจํา ขณะนี้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ มีอาการหนัก ทําให้ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ โดยได้แนบสําเนาใบรับรองแพทย์ ลงวันที่ 9 ก.ค. 2564 มาท้ายคําร้องด้วย

    ทนายจําเลยแถลงเพิ่มเติมว่า ได้รับแจ้งจากบุตรชายของศักดิ์ชัยว่า ขณะนี้ศักดิ์ชัยได้ย้ายออกจากห้องไอซียูไปอยู่ในห้องพักคนไข้ปกติได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดได้ เนื่องจากถูกเจาะคอเพื่อสอดท่อช่วยหายใจ ซึ่งปัจจุบันแพทย์ยังต้องใช้ท่อดังกล่าวในการให้ออกซิเจน หากศักดิ์ชัยมีอาการเหนื่อยและไม่สามารถหายใจเองได้ ปัจจุบันศักดิ์ชัยยังไม่สามารถลุกจากเตียงได้ จึงขอเลื่อนคดีออกไปเป็นเวลานานกว่าปกติ เนื่องจากหากเลื่อนในระยะสั้นมีแนวโน้มว่าจําเลยที่ 3 ก็ยังคงไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์แถลงไม่คัดค้าน และแถลงเพิ่มเติมว่าโจทก์ก็ยื่นคําร้องขอเลื่อนคดีเช่นกัน

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร โดยให้เลื่อนไปนัดพร้อมเพื่อประชุมคดี สอบคําให้การจําเลย ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยานโจทก์จําเลยในวันที่ 18 ต.ค. 2564 เวลา 9.00 น. กรณีที่โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 รวมทั้งคําให้การของจําเลยทั้งห้าที่ยื่นเข้ามา ให้รอไว้สอบจําเลยและพิจารณาสั่งในนัดหน้า

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.420/2564 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2564)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธวัช สุขประเสริฐ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมคิด โตสอย

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฉลวย เอกศักดิ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ศักดิ์ชัย ตั้งจิตสดุดี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธวัช สุขประเสริฐ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมคิด โตสอย

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฉลวย เอกศักดิ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ศักดิ์ชัย ตั้งจิตสดุดี

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์