ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.547/2564
แดง อ.348/2566
ผู้กล่าวหา
- เจษฎา ทันแก้ว อดีตการ์ดกลุ่ม กปปส. (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
หมายเลขคดี
ดำ อ.547/2564
แดง อ.348/2566
ผู้กล่าวหา
- เจษฎา ทันแก้ว อดีตการ์ดกลุ่ม กปปส.
ความสำคัญของคดี
พรชัย วิมลศุภวงศ์ หนุ่มปกาเกอะญอชาวแม่ฮ่องสอน วัย 37 ปี ถูกจับกุมจากที่พักใน จ.นนทบุรี ตามหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) หลังถูกเจษฎา ทันแก้ว อดีตการ์ดกลุ่ม กปปส.เข้าแจ้งความ กล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความและรูปภาพพาดพิงกษัตริย์ลงในเฟซบุ๊กรวม 4 โพสต์ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2563
หลังจับกุมเจ้าหน้าที่ยังค้นห้องพักและยึดโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายค้น ทำให้พรชัยไม่สามารถติดต่อทนายความหรือผู้ไว้วางใจได้ พรชัยยังถูกนำตัวไปยัง สภ.รัตนาธิเบศร์ และ บก.ตชด.ภาค 1 ก่อนจะนำตัวกลับมาที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ ทำให้ทนายความซึ่งติดตามไปไม่พบตัวพรชัยและเสี่ยงต่อการถูกอุ้มหาย ทั้งยังไม่มีทนายความเข้าร่วมในชั้นสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ เจ้าของคดีดำเนินการที่ สภ.รัตนาธิเบศร์
ในชั้นฝากขัง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่อนุญาตให้ประกัน ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้ประกัน ทำให้พรชัยได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังในเรือนจำ 44 วัน และพบว่าเขาติดเชื้อโควิด-19 จากเรือนจำกลางเชียงใหม่
หลังจับกุมเจ้าหน้าที่ยังค้นห้องพักและยึดโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายค้น ทำให้พรชัยไม่สามารถติดต่อทนายความหรือผู้ไว้วางใจได้ พรชัยยังถูกนำตัวไปยัง สภ.รัตนาธิเบศร์ และ บก.ตชด.ภาค 1 ก่อนจะนำตัวกลับมาที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ ทำให้ทนายความซึ่งติดตามไปไม่พบตัวพรชัยและเสี่ยงต่อการถูกอุ้มหาย ทั้งยังไม่มีทนายความเข้าร่วมในชั้นสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ เจ้าของคดีดำเนินการที่ สภ.รัตนาธิเบศร์
ในชั้นฝากขัง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่อนุญาตให้ประกัน ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้ประกัน ทำให้พรชัยได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังในเรือนจำ 44 วัน และพบว่าเขาติดเชื้อโควิด-19 จากเรือนจำกลางเชียงใหม่
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
เลิศศักดิ์ เลิศสิทธิ์สมบูรณ์ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ บรรยายคำฟ้องโดยสรุปว่า จำเลยได้กระทำผิดรวม 4 กรรม กล่าวคือ
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 3 บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
เมื่อวันที่ 18 ต.ค., 2 พ.ย., 18 พ.ย. 2563 ถึงวันที่ 19 พ.ย. 2563 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการใช้อุปกรณ์ใดไม่ปรากฏชัด พิมพ์ข้อความและลงรูปภาพในเฟซบุ๊กที่ปรากฏเป็นรูปภาพจำเลย พาดพิงกษัตริย์และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวม 4 ครั้ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายตรงตัวอักษร เป็นคำด่าและเปรียบเทียบ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจทันทีว่าสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันที่ไม่วางพระองค์เป็นกลาง และไม่ได้ใช้พระราชอำนาจผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ การเมือง และการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนเกิดความแตกแยก เคลือบแคลงสงสัยในพระมหากษัตริย์ และระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และออกมาร่วมชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อประท้วงก่อความไม่สงบในบ้านเมือง อันเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และเป็นการกระทำอันมิใช่ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และทำให้ประชาชาติไม่เป็นปึกแผ่น อันกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2564)
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 3 บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
เมื่อวันที่ 18 ต.ค., 2 พ.ย., 18 พ.ย. 2563 ถึงวันที่ 19 พ.ย. 2563 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการใช้อุปกรณ์ใดไม่ปรากฏชัด พิมพ์ข้อความและลงรูปภาพในเฟซบุ๊กที่ปรากฏเป็นรูปภาพจำเลย พาดพิงกษัตริย์และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวม 4 ครั้ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายตรงตัวอักษร เป็นคำด่าและเปรียบเทียบ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจทันทีว่าสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันที่ไม่วางพระองค์เป็นกลาง และไม่ได้ใช้พระราชอำนาจผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ การเมือง และการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนเกิดความแตกแยก เคลือบแคลงสงสัยในพระมหากษัตริย์ และระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และออกมาร่วมชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อประท้วงก่อความไม่สงบในบ้านเมือง อันเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และเป็นการกระทำอันมิใช่ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และทำให้ประชาชาติไม่เป็นปึกแผ่น อันกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 10-03-2021นัด: จับกุมตามหมายจับประมาณ 07.00 น. พรชัย วิมลศุภวงศ์ ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบกว่า 10 นาย เข้าจับกุมบริเวณหอพักย่านรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี โดยเจ้าหน้าที่นายหนึ่งแสดงบัตรประจำตัวพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่แสดงหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 8 มี.ค. 2564 ซึ่งผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ร้องขอออกหมายจับ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) และศักดิ์ฤทธิ์ งามมิตรสมบูรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้อนุมัติหมายจับ
หลังจับกุมเจ้าหน้าที่ได้ยึดโทรศัพท์มือถือของพรชัยไป ทำให้เขาไม่สามารถติดต่อทนายความและผู้ไว้วางใจได้ ก่อนนำตัวไปตรวจค้นห้องพัก ยึดเสื้อผ้าและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กเพิ่มเติม โดยถ่ายภาพการค้นห้องพักและสิ่งของที่ถูกยึดไว้ด้วย พรชัยระบุว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้แสดงหมายค้น และไม่ได้มีหมายสำหรับการตรวจยึดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ
จากนั้นพรชัยถูกนำตัวไปทำบันทึกการจับกุมที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ ก่อนถูกนำตัวไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) จังหวัดปทุมธานี ซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจท้องที่ที่จับกุม หรือสถานีตำรวจเจ้าของคดี แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการใดๆ กับพรชัยขณะอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1
จนในช่วงเวลาประมาณ 16.10 น. พรชัยจึงถูกนำตัวกลับมาที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ พรชัยให้ข้อมูลว่าเขาถูกสอบสวนโดยตำรวจจากหลายสถานี อาทิ สน.ปทุมวัน, สน.พหลโยธิน และ สภ.บันนังสตา โดยไม่มีทนายความเข้าร่วมด้วย
ต่อมามีการประสานงานให้ตำรวจ สภ.แม่โจ้ ซึ่งเป็นเจ้าของคดี เดินทางมารับตัวพรชัย โดยตำรวจระบุว่าจะนำตัวเดินทางโดยรถ
ทั้งนี้ บันทึกการจับกุม ระบุว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับกุมพรชัย เป็นตำรวจจาก กก.3 บก.ส.1 บช.ส. นำโดย พ.ต.อ.ศราวุธ วินัยประเสริฐ และตำรวจจาก กก.1 บก.ส.1 บช.ส. นำโดย พ.ต.ต.ระบิล สังคหะ และยังมีเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของทหาร 1 นาย ชื่อ พ.ต.ปรเมษฐ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา จาก ผบ.ขกท.ศปภ.ทภ 1 โดยชั้นจับกุมพรชัยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมลงชื่อในท้ายบันทึกการจับกุม
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สภ.รัตนาธิเบศร์ ลงวันที่ 10 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26855) -
วันที่: 11-03-2021นัด: พนักงานสอบสวนฝากขังและขอประกันตัวครั้งที่ 1ช่วงเช้า ทนายเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เดินทางติดตามไปที่ สภ.แม่โจ้ ก่อนพบว่าพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ ได้ไปแจ้งข้อกล่าวหา และสอบปากคำพรชัยที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ ตั้งแต่ราว 02.00 น. แล้ว โดยไม่มีการประสานให้ทนายความเข้าร่วม เบื้องต้นทราบว่าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา
ต่อมา ทนายยืนยันขอรอพบผู้ต้องหาที่ สภ.แม่โจ้ เพื่อเซ็นเอกสารแต่งตั้งทนายความ รอจนถึงเวลาประมาณ 11.00 น. ตำรวจจึงได้นำตัวพรชัยมาถึงสถานีตำรวจ ก่อนจะได้พบทนายความชั่วครู่หนึ่ง
จากนั้นได้มีการนำบันทึกการจับกุม บันทึกสอบปากคำ และบันทึกการตรวจยึดทรัพย์สิน มาสอบถามพรชัยและทนายความอีกครั้งว่า พรชัยจะลงชื่อในเอกสารดังกล่าวหรือไม่ พรชัยยืนยันว่าไม่ขอลงชื่อ เนื่องจากระบุข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริงหลายส่วน อีกทั้งไม่มีทนายความร่วมอยู่ระหว่างการสอบปากคำและการตรวจยึดทรัพย์สินเหล่านั้น ก่อนที่พรชัยจะถูกนำตัวเข้าห้องคุมขัง
ต่อมาเวลา 11.25 น. พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการขอฝากขังผู้ต้องหา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จาก สภ.แม่โจ้ ไปที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยอ้างเรื่องการต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก และรอผลตรวจสอบประวัติอาชญากร
คำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ ระบุพฤติการณ์ในคดีนี้ไว้ว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2563 ผู้กล่าวหาคดีนี้ ได้พบการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในวันที่ 18 พ.ย. 2563 โดยมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 รัฐบาลประยุทธ์ และรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ
ผู้กล่าวหาอ้างว่าเมื่อพิจารณาเนื้อหาข้อความแล้ว ถือเป็นการด่า ดูถูกเหยียดหยาม และสบประมาท พระมหากษัตริย์และเป็นการใส่ความหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ ซึ่งเมื่อบุคคลทั่วไปได้ทราบหรือได้อ่านแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนไม่ดี อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนดูหมิ่นหรือเกลียดชังพระมหากษัตริย์ อันถือเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงประชาชนคนไทย
ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาผัดแรก ระยะเวลา 12 วัน จากนั้นตำรวจ สภ.แม่โจ้ ได้นำตัวพรชัยไปที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ ที่อำเภอแม่แตงทันที โดยนำตัวออกจากประตูหลังสถานีตำรวจ และนำตัวขึ้นรถตู้ตำรวจไป
เวลา 13.30 น. นายประกันได้ยื่นหลักทรัพย์จากกองทุนดาตอร์ปิโด ในวงเงิน 150,000 บาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา จนเวลา 14.50 น. ภิญโญ โมกขมรรคกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งยกคำร้องขอประกันตัว โดยระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา ข้อความที่ผู้ต้องหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และพฤติการณ์แห่งคดี ถือเป็นเรื่องร้ายแรง พนักงานสอบสวนได้คัดค้าน หากปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาอาจไปกระทำในลักษณะเดียวกันนี้อีก เกรงว่าจะหลบหนียากแก่การติดตามตัวมาศาล
ทำให้พรชัยถูกคุมขังที่เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 2564
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 11 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26855) -
วันที่: 12-03-2021นัด: เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เดินทางเข้าไปพบพรชัยที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ โดยได้แสดงคำสั่งศาลเพื่อขอเข้าถึงอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือจำนวน 2 เครื่องของพรชัย ที่ตรวจยึดจากที่พักในวันเข้าจับกุม พรชัยให้ความยินยอมเข้าถึงข้อมูลภายในเครื่องตามคำสั่งของศาล
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/26968) -
วันที่: 02-04-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 3พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังพรชัยครั้งที่ 3 อีก 12 วัน ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 3 โดยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวน และเบิกตัวพรชัยไปศาล โดยศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในช่วงบ่าย ระบุว่าเป็นมาตรการในภาวะโควิด-19
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่พรชัยถูกจับเป็นต้นมา ทีมทนายยังไม่เคยได้ให้คำปรึกษาเขาแบบ “ตัวต่อตัว” ตามสิทธิของผู้ต้องหาเลยแม้แต่ครั้งเดียว ในแต่ละครั้งที่ให้คำปรึกษาจะใช้วิธีวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือใช้วิธีคุยผ่านเครื่องโทรศัพท์ในเรือนจำเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากในการพูดคุยและสื่อสารให้เข้าใจได้ทั้งหมดในกระบวนการทางกฎหมาย รวมทั้งการพิจารณาเอกสารในคดีต่างๆ
ในครั้งนี้ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องต่อทางผู้บัญชาการเรือนจำ ขอเข้าให้คำปรึกษาลูกความขณะที่ศาลไต่สวนการคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 3 นี้ด้วย แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำแจ้งเพียงว่า “เดี๋ยวรับเอกสารไว้ให้” แต่รอคำสั่งถึงเวลา 14.20 น. สุดท้ายก็ไม่สามารถเข้าให้คำปรึกษาลูกความตามกระบวนการได้
ในการไต่สวนของศาล พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุว่า “การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นและยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ” และทีมทนายได้คัดค้าน โดยยืนยันว่า “ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ต่อสู้ขัดขวางหรือกระทำการอื่นที่เป็นการยุ่งเหยิงเกี่ยวกับพยานหลักฐาน” แต่ศาลเห็นว่า ข้อคัดค้านนี้ และข้อคัดค้านอื่นๆ ของผู้ต้องหาล้วนเป็นข้อต่อสู้ในคดีของผู้ต้องหา ข้อคัดค้านจึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะคัดค้านการฝากขังของพนักงานสอบสวนได้ ในช่วงเย็น ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตฝากขังพรชัยอีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-15 เม.ย. 2564 ตามคำขอของพนักงานสอบสวน
หลังจากฟังคำสั่งของศาลแล้ว ทีมทนายความได้เตรียมการสำหรับการยื่นขอประกันตัวพรชัยอีกครั้ง โดยได้ติดต่อประสานงานกับนายประกันที่เป็นชาติพันธุ์เช่นเดียวกับพรชัย เพื่อใช้ตำแหน่งทางการเมืองในการขอประกันอีกครั้ง
“ผมยังยึดมั่นในอุดมการณ์นะ คุกขังอุดมการณ์ของผมไม่ได้” พรชัยกล่าวกับทนายความ ในวันที่ 23 ของการถูกจองจำที่เรือนจำกลางเชียงใหม่
(อ้างอิง: คำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 2 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27938) -
วันที่: 05-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรชัยเป็นครั้งที่ 2 โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของมานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล โดยในช่วงเช้าทนายความและมานพเข้าเยี่ยมพรชัยที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ และนำเอกสารการยื่นประกันตัวให้พรชัยเซ็น กระบวนการดังกล่าวเป็นไปอย่างทุลักทุเล เนื่องจากทนายความและผู้ต้องหาถูกคั่นด้วยห้องกระจกและสื่อสารกันได้ผ่านทางโทรศัพท์เสียงอู้อี้ของเรือนจำเท่านั้น
จากนั้น มานพจึงมีโอกาสสนทนากับพรชัย ทั้งสองต่างเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ จึงสื่อสารกันด้วยภาษาถิ่นของตน พรชัยกล่าวว่าเขาดีใจมากที่ได้ยินภาษาถิ่นที่ไม่ได้ยินมากว่า 20 ปี เนื่องจากเขาออกจากบ้านเกิดที่แม่ฮ่องสอนมาเผชิญชีวิตในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 16 ปี ก่อนจากกัน พรชัยยังฝากข้อความว่า “ฝากถึงราษฎรทุกท่าน ขอให้ผลักดัน 3 ข้อเรียกร้องกันต่อ ช่วยกันกระจายความจริง อย่าให้ความกลัวจำกัดเรา ให้คำนึงถึงสิทธิของตัวเอง ยืนยันในสิทธิเสรีภาพ ร่วมกันสร้างสังคมให้มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด ช่วยกันแก้รัฐธรรมนูญครั้งใหม่”
ด้านมานพให้ความเห็นต่อกรณีของพรชัยว่า “ต้องยืนยันสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว (ระหว่างต่อสู้คดี)” เขาย้ำว่าผู้ต้องหาต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิด จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
จากนั้นในช่วงบ่าย ทนายความได้เดินไปยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรชัยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และขอให้ศาลมีคําสั่งไต่สวนประกอบคําร้อง โดยเรียกพนักงานสอบสวนและเบิกตัวผู้ต้องหามาไต่สวนที่ศาล
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุว่า เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 ทนายความผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขอฝากขังครั้งที่ 3 ปรากฏข้อเท็จจริงว่าพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว และการสอบสวนพยานเพิ่มเติมก็เป็นขั้นตอนการดำเนินการของพนักงานสอบสวนทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ด้วยแต่อย่างใด
อีกทั้งผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี เมื่อถูกจับกุมก็ให้ความร่วมมือในการตรวจยึดพยานหลักฐานต่างๆ โดยดี ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งชัดเจน และเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ หากยังคงควบคุมตัวไว้ย่อมสร้างภาระเกินจำเป็นและเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาเกินไปกว่าพฤติการณ์อันสมควร ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้นผู้ต้องหายังคงเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ไม่ว่าความผิดนั้นจะมีอัตราโทษเพียงใดก็สมควรได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อยังมิได้ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นความผิดหรือไม่ การถูกฟ้องคดีในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูง ไม่อาจเป็นเหตุผลเบ็ดเสร็จเพียงพอในการตัดสินว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิดในทันที โดยที่ศาลยังมิทันได้พิจารณาพยานหลักฐาน ย่อมมิอาจจะสันนิษฐานไปก่อนว่าผู้ต้องหาจะมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี หรือเป็นอุปสรรค หรือก่อให้เกิดให้ความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
กระทั่งเวลา 17.00 น. รัตน์ จ๋วงพานิช ผู้พิพากษา มีสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุว่า “พิเคราะห์ตามคำร้อง ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่มีเหตุเรียกพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหามาไต่สวน ยกคำร้อง”
พรชัยซึ่งถูกควบคุมตัวมาแล้ว 27 วัน จึงยังถูกคุมขังต่อไป
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/27998) -
วันที่: 21-04-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวพรชัยเมื่อวันที่ 11 มี.ค. และ 5 เม.ย. 2564 ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีเนื้อหาโดยสรุปคือ
1.ผู้ต้องหาประกอบอาชีพค้าขายโทรศัพท์มือถือ ต้องให้บริการลูกค้าจำนวนมาก หากไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ เนื่องจากต้องสูญเสียลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิในการประกอบอาชีพของผู้ต้องหาอย่างร้ายแรง
2. ในคดีอาญานั้นตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ ต่างรับรองว่าบุคคลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในคดีนี้ ผู้ต้องหาเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด สมควรมีโอกาสได้พิสูจน์ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การที่ผู้ต้องหาถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เสมือนว่าผู้ต้องหาต้องได้รับโทษทางอาญาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าหากปล่อยชั่วคราวอาจไปกระทำในลักษณะเดียวกันนี้อีก เกรงว่าจะหลบหนียากแก่การติดตามตัวมาศาล ทั้งที่ยังมิได้พิสูจน์ว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองจริงหรือไม่ ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยทำนองว่า ผู้ต้องหาได้เป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 29
3. การไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวทำให้ผู้ต้องหาต้องเสียโอกาสที่จะแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากคดีนี้มีพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ต้องหาจะต้องร่วมมือกับทนายความ เพื่อตระเตรียมข้อเท็จจริงในการนำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณา แต่จากสถานที่คุมขังขาดความสะดวกอย่างยิ่งในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเรือนจำฯ มีข้อห้ามมิให้ผู้ใดนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในพื้นที่เยี่ยม และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของเรือนจำในปัจจุบัน ทำให้ผู้ต้องหาปรึกษาคดีกับทนายความได้อย่างยากลำบาก
4. การถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 2564 ทำให้โรคประจำตัวของผู้ต้องหามีอาการแย่ลงเนื่องจากสถานที่คุมขัง มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อีกทั้งโรคประจำตัวของผู้ต้องหานั้นต้องได้รับการดูแลรักษาต่ออย่างเนื่อง
5. คำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา ข้อความที่ผู้ต้องหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และพฤติการณ์แห่งคดีถือเป็นเรื่องร้ายแรง..” นั้น คลาดเคลื่อนต่อหลักการวินิจฉัยสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 และคลาดเคลื่อนต่อหลักการควบคุมตัวตามจำเป็นแห่งพฤติการณ์คดี และหลักการสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 และ 108/1
การอ้างความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งคดีมาเป็นเหตุเพื่อไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวจึงเป็นเสมือนการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนไปเสียแล้ว โดยที่ยังมิได้มีการสืบพยานหรือรับฟังข้อต่อสู้ของผู้ต้องหาอย่างเต็มที่
6. ในการฝากขังครั้งที่ 3 พนักงานสอบสวนมิได้มีการคัดค้านการประกันตัว ทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงจากการที่ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาชี้แจงเพิ่มเติมถึงเหตุจำเป็นในการฝากขังว่ามีเพียงกระบวนการรอผลตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ รอผลการตรวจพิสูจน์โทรศัพท์ของผู้ต้องหาซึ่งทำการตรวจเสร็จแล้ว และสอบปากคำพยานบุคคลเพิ่มเติมอีกเพียง 2 ปาก ก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน ไม่จำเป็นต้องมีผู้ต้องหาอยู่ด้วย
นอกจากนั้นการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า “พิเคราะห์ตามคำร้อง ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่มีเหตุเรียกพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหามาไต่สวน ยกคำร้อง” ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในสำนวนคดีที่ต่างไปจากการขอฝากขังครั้งที่ 1 ซึ่งผู้ต้องหาได้อ้างเหตุจำเป็นเพิ่มเติมไว้ในคำร้องประกอบคำร้องไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นกลับไม่ได้พิจารณาเหตุจำเป็นเพิ่มเติมของผู้ต้องหานั้นไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหาอย่างยิ่ง
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 21 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28655) -
วันที่: 22-04-2021นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5เวลาประมาณ 15.10 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ประกันตัวพรชัย ระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า แม้คดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาจะมีอัตราโทษสูง แต่ปรากฏจากบันทึกการจับกุมว่า ผู้ต้องหาถูกจับที่หน้าคอนโดมิเนียมที่พักอาศัย มิได้มีพฤติการณ์หลบหนี จากเหตุผลในการขอฝากขังครั้งที่ 4 เนื่องจากรอผลตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา และรอสอบผู้ใหญ่บ้านถึงความรู้สึกต่อข้อความตามที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น การปล่อยตัวชั่วคราวจึงไม่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน ผู้ต้องหาถูกขังมาตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 2564 พิจารณาแล้วคดีนี้ไม่มีเหตุอันสมควรเชื่อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน ตีวงเงินประกัน 150,000 บาท ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป”
ทั้งนี้ เนื่องจากศาลมีคำสั่งในช่วงเย็นแล้ว ทำให้อยู่ระหว่างการประสานงานนายประกัน และจัดเตรียมหลักทรัพย์ประกันตัว รวมทั้งให้ผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังอยู่เซ็นเอกสารประกอบคำร้องขอประกันตัว ทำให้ทนายความจะเข้ายื่นหลักประกันใหม่ในวันที่ 23 เม.ย. 2564
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ลงวันที่ 22 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28655) -
วันที่: 23-04-2021นัด: ยื่นประกันทนายความพร้อมนายประกัน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก “กองทุนดา ตอร์ปิโด” ได้นำหลักทรัพย์จากกองทุน เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรชัยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่
ต่อมาในช่วงบ่าย ศาลได้อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 150,000 บาท พร้อมนัดให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 25 พ.ค. 2564
จนเวลาประมาณ 20.20 น. พรชัยได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำกลางเชียงใหม่ โดยไม่ได้มีเจ้าหน้าที่เข้าอายัดตัวไปดำเนินคดีอื่นต่อ หลังจากก่อนหน้านี้มีความกังวลว่าอาจมีการอายัดตัวเขาหลังได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากมีคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา เคยเข้ามาแจ้งข้อกล่าวหาเขาไว้ในช่วงที่ถูกคุมขังอยู่
รวมระยะเวลาที่พรชัยถูกคุมขังในเรือนจำมาทั้งหมด 44 วัน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/28655) -
วันที่: 25-05-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลทนายความยื่นคำร้องขอให้นายประกันและทนายความรายงานตัวแทนผู้ต้องหาเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รายงานตัวและทราบนัดทางโทรศัพท์ โดยให้นายประกันและทนายความไปทราบนัด ศาลนัดรายงานตัวอีกครั้งวันที่ 4 มิ.ย. 2564
-
วันที่: 02-06-2021นัด: ยื่นฟ้องเลิศศักดิ์ เลิศสิทธิ์สมบูรณ์ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ยื่นฟ้องพรชัยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
อัยการบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 ต.ค - 19 พ.ย. 2563 จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยได้พิมพ์ข้อความและลงรูปภาพในเฟซบุ๊กที่ปรากฏเป็นรูปภาพจำเลย รวม 4 ข้อความ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจทันทีว่า สื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันที่ไม่วางพระองค์เป็นกลาง และไม่ได้ใช้พระราชอำนาจผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองในการสั่งการให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย
อัยการยังระบุว่า ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ พระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนเกิดความแตกแยก และเคลือบแคลงสงสัยในพระมหากษัตริย์ และระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ทำใหเกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
อัยการยังระบุในตอนท้ายคำฟ้องว่า หากจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้าน เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูงและเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เกรงว่าจำเลยจะหลบหนีและไปก่อคดีเช่นเดียวกับคดีนี้ซ้ำอีก
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/39747) -
วันที่: 04-06-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลทนายความยื่นคำร้องขอให้นายประกันและทนายความรายงานตัวแทนผู้ต้องหาเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผู้ต้องหาเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเนื่องจากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รายงานตัวและทราบนัดทางโทรศัพท์ โดยให้นายประกันและทนายความไปทราบนัด
นายประกันและทนายความไปทราบนัดจึงทราบว่า พนักงานอัยการยื่นฟ้องพรชัยเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา โดยศาลนัดพร้อมถามคำให้การผู้ต้องหาวันที่ 12 ก.ค. 2564 -
วันที่: 12-07-2021นัด: ถามคำให้การทนายความยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม หากเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่จะต้องกักตัว 14 วันตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่
ศาลมีคำสั่งอนุญาตเลื่อนนัดพร้อมถามคำให้การเป็นวันที่ 23 ส.ค. 2564 -
วันที่: 23-08-2021นัด: ถามคำให้การทนายความยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม หากเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่จะต้องกักตัว 14 วันตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่
ศาลมีคำสั่งอนุญาตเลื่อนนัดพร้อมถามคำให้การเป็นวันที่ 28 ต.ค. 2564 -
วันที่: 28-10-2021นัด: ถามคำให้การทนายความยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม หากเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่จะต้องกักตัว 14 วันตามประกาศจังหวัดเชียงใหม่
ศาลมีคำสั่งอนุญาตเลื่อนนัดพร้อมถามคำให้การเป็นวันที่ 8 ธ.ค. 2564 -
วันที่: 08-12-2021นัด: ถามคำให้การพรชัยได้เข้ารายงานตัวต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรับทราบฟ้อง เจ้าหน้าที่ศาลได้เรียกให้พรชัยเข้าไปอยู่รอในห้องขังใต้ศาล เพื่อสอบคำให้การและรอการปล่อยตัวชั่วคราว ผู้พิพากษาได้สอบถามพรชัยผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์จอภาพว่าจะให้การรับสารภาพหรือต่อสู้คดี ซึ่งพรชัยให้การปฏิเสธ
ในขณะเดียวกัน ทนายความและนายประกันได้ยื่นขอปล่อยชั่วคราว โดยใช้วงเงินประกัน 150,000 บาท ซึ่งเป็นหลักประกันเดิมจากชั้นฝากขัง จากกองทุนดา ตอร์ปิโด และศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว นัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 18 ม.ค. 2565
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39747) -
วันที่: 18-01-2022นัด: คุ้มครองสิทธิพรชัยเดินทางมาศาลพร้อมทนายความ หลังศาลอ่านและอธิบายฟ้อง รวมถึงอธิบายสิทธิของจำเลย พรชัยยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และประสงค์จะต่อสู้คดี โดยได้มีทนายความที่แต่งตั้งในคดีแล้ว ศาลกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 เม.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39747) -
วันที่: 11-04-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานปรากฎต่อศาลว่ามีการฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดยะลา ด้วยข้อความโพสต์ในลักษณะเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีนี้ แต่จำเลยไม่มีสำเนาคำฟ้อง ศาลเกรงว่าอาจเป็นการฟ้องซ้ำฟ้องซ้อนต่อจำเลย จึงให้อัยการติดต่อประสานงานกับอัยการจังหวัดยะลา เพื่อดูคำฟ้องที่ศาลจังหวัดยะลา
วันนี้ศาลจึงสอบถามคำให้การอย่างเดียว พรชัยยืนยันให้การปฎิเสธ ศาลให้เลื่อนนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานออกไปอีกครั้งเป็นวันที่ 2 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น. -
วันที่: 02-05-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานโจทก์แถลงสืบพยานบุคคล 10 ปาก ใช้เวลา 2 นัด ด้านทนายจำเลยแถลงประสงค์สืบพยานบุคคล 5 ปาก ใช้เวลา 1 นัด นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6-7 ธ.ค. 2565 และสืบพยานจำเลยวันที่ 9 ธ.ค. 2565
-
วันที่: 06-12-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ผู้กล่าวหา – พบเห็นโพสต์ข้อความหมิ่นกษัตริย์ในเฟซบุ๊ค จึงได้แคปภาพจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือนำมาพิมพ์ให้พนักงานสอบสวน
เจษฎา ทันแก้ว สมาชิกกลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์ และอดีตการ์ด กปปส. ผู้กล่าวหาในคดีนี้ เบิกความโดยสรุปต่อศาลว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2563 ช่วงที่พยานขับรถไรเดอร์ส่งอาหารและกำลังรอรับออเดอร์ ได้เปิดดูโทรศัพท์ก็ได้พบเห็นโพสต์ในเฟซบุ๊กของกลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนๆ ของพยาน ที่มีการแชร์ข้อมูลการชุมนุมที่กรุงเทพฯ โดยพยานเห็นว่ามีโพสต์ข้อความที่หมิ่นกษัตริย์ ซึ่งพบว่าเป็นโพสต์สาธารณะที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าดูได้
พยานจึงได้ทำการค้นหาข้อมูลของจำเลยซึ่งตรงกับผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว เมื่อกดเข้าไปดูในบัญชีก็พบว่ามีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการชุมนุม และปลุกเร้าให้มีผู้คนเข้ามาชมโพสต์ของตนเอง อีกทั้งมีข้อความที่เป็นการหมิ่นกษัตริย์ จึงเชื่อว่าเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กนี้มีเจตนาดูหมิ่น-ใส่ร้ายพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านเข้าใจผิดต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ในโพสต์เฟซบุ๊กที่ 1 และโพสต์ที่ 3 มีการโพสต์ภาพบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กประกอบข้อความ ทำให้ผู้ที่เข้ามาดูเชื่อว่าผู้โพสต์เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง ซึ่งตรงกับภาพถ่ายที่พนักงานสอบสวน สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นผู้พิมพ์มาจากเฟซบุ๊ก
หลังจากนั้น พยานจึงได้บันทึกข้อความดังกล่าวไว้ในโทรศัพท์มือถือ และได้นำไปตรวจสอบภาพถ่ายและข้อความที่บ้านอีกครั้ง ก่อนจะเลือกภาพถ่ายเพื่อไปจ้างร้านถ่ายเอกสารในการพิมพ์ข้อความดังกล่าวออกจากโทรศัพท์ ต่อมาจึงได้นำภาพและข้อความมอบให้กับพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ เพื่อดำเนินการกับผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กนั้น
แม้พยานจะไม่รู้จักหรือเห็นหน้าจำเลยมาก่อน แต่บุคคลในภาพถ่ายในเฟซบุ๊กดังกล่าว ปรากฏภาพเป็นคนเดียวกันกับจำเลยในคดีนี้
พยานตอบทนายความถามค้าน รับว่า ได้นำภาพถ่ายและข้อความไปมอบให้พนักงานสอบสวน สภ. แม่โจ้ ในวันที่ 19 พ.ย. 2563 ทั้งหมด 20 แผ่น โดยพนักงานสอบสวนไม่ได้นำออกจากโทรศัพท์มือถือของพยานโดยตรง แต่ใช้เอกสารที่พยานพิมพ์มาแล้ว และนำมาดำเนินการเพียง 7 แผ่น ส่วนอีก 13 แผ่น พยานไม่ทราบว่าพนักงานสอบสวนได้นำเข้าสู่สำนวนหรือไม่
ในการบันทึกภาพหน้าจอโทรศัพท์นั้น พยานไม่ได้ทำการบันทึกทันทีที่พบเห็น แต่ตรวจสอบเฟซบุ๊กไปเรื่อยๆ ก่อนจะกลับมาบันทึกหน้าจอในภายหลัง โดยใช้เวลาบันทึกไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยหลังจากวันที่ 19 พ.ย. 2563 พยานได้เข้าไปติดตามเรื่องกับพนักงานสอบสวนทุกวัน ซึ่งพยานเป็นนักเคลื่อนไหวปกป้องสถาบันฯ ที่เคยไปกล่าวโทษให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 หลายคดี แต่ไม่เกิน 10 คดี โดยเป็นผู้กล่าวหาต่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วย
พยานทราบชื่อเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กในคดีนี้จากกลุ่มปิดในเฟซบุ๊ก “ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” ที่พยานทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มด้วย โดยพยานมักจะเข้าไปดูอยู่บ่อยครั้งจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเชียงใหม่ปกป้องสถาบัน, ไทยภักดี เชียงใหม่ ซึ่ง 2 กลุ่มดังกล่าวจะมีกลุ่มไลน์ด้วย และกลุ่มพิทักษ์ราชบัลลังก์ ซึ่งกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวมักจะมีการเผยแพร่และสืบค้นหาตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยจะมีผู้โพสต์หาตัวผู้ต้องสงสัยและจะมีสมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบหา
สำหรับจำเลยในคดีนี้มีสมาชิกในกลุ่มหลายคนช่วยกันค้นหาข้อมูล และนอกจากคดีนี้จำเลยยังถูกดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดยะลาในข้อหาเดียวกันด้วย แต่เป็นการกระทำคนละครั้งกัน อย่างไรก็ตาม พยานไม่รู้จักกับผู้กล่าวหาคดีที่จังหวัดยะลา
พยานเคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. โดยเคยเป็นการ์ดรักษาความปลอดภัยในที่ชุมนุม โดยจากการที่พยานเคยร่วมชุมนุมและทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่นั้นได้ถูกดำเนินคดีข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น พกพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต และพยายามฆ่า พ.อ.วิทวัส วัฒนกุล ซึ่งปัจจุบันคดีถึงที่สุดและพ้นโทษแล้ว
ตั้งแต่ พ.ศ.2563 จนกระทั่งปัจจุบัน ที่มีการชุมนุมคณะราษฎรหรือเยาวชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐบาล พยานก็เคยเข้าร่วมกลุ่มต่อต้านผู้ร่วมชุมนุมด้วย ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และยังเคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนแสดงความอึดอัดใจที่ผู้ชุมนุมได้กล่าวถ้อยคำหรือเขียนข้อความหมิ่นกษัตริย์
อย่างไรก็ตาม พยานทราบอยู่แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระเมตตารับสั่งไม่ให้ใช้มาตรา 112 กับประชาชน
++พยานนักวิชาการด้านภาษาไทย ชี้ข้อความในโพสต์เป็นคำบริภาษหรือคำด่า เมื่อดูแล้วเข้าใจว่าผู้โพสต์มีเจตนาหมิ่นกษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน
ผศ.ดร.สุนทร คำยอด อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เบิกความต่อศาลว่า เมื่อประมาณปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 ได้มีพนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ นำข้อความหมิ่นกษัตริย์ในเฟซบุ๊กให้พยานช่วยตรวจดู เพื่อให้พิเคราะห์ว่า เมื่อมีผู้พบเห็นข้อความแล้วจะรู้สึกอย่างไร
เมื่อเห็นโพสต์เฟซบุ๊กทั้ง 4 โพสต์ในคดีนี้ พยานเข้าใจได้ว่า ผู้โพสต์รูปภาพและข้อความต้องการลดทอน ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยใช้คำบริภาษหรือคำด่า คำไม่สุภาพ ทำให้เข้าใจได้ว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยมีการสนับสนุนบุคคลต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้สถาบันต่างๆ ตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม พยานได้ตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า เหตุที่พยานได้เข้ามาเกี่ยวข้องคดีนี้ เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้ส่งข้อความโพสต์เฟซบุ๊กไปยังอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้นำผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยมาให้ความเห็น จากนั้นอธิการบดีจึงได้ส่งหนังสือมาตามลำดับจนมาถึงพยาน ในฐานะเป็นประธานหลักสูตรภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์
.
++สองตำรวจตรวจสอบเฟซบุ๊ก-ข้อมูลของจำเลย ตรวจข้อมูลโดยเทียบใบหน้าและข้อมูลในเฟซบุ๊กจึงเชื่อว่าเป็นจำเลย แม้พบเฟซบุ๊กคล้ายกันหลายบัญชี
ส.ต.ท.เมธาสิทธิ ยะผูก ผู้บังคับหมู่งานป้องกันและปราบปราม สภ.แม่โจ้ ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ตรวจสอบข้อมูลในบัญชีเฟซบุ๊กว่าเป็นใคร เมื่อดูรูปจากโปรไฟล์ในบัญชีเฟซบุ๊กพบว่าเป็นภาพของจำเลย
เมื่อเข้าไปดูโพสต์ในเฟซบุ๊กดังกล่าวแล้วพบว่า มีการโพสต์ข้อความในคดีนี้บางข้อความ ส่วนข้อความอื่นๆ ไม่พบ พยานเข้าใจว่าอาจมีการลบข้อความออกไปแล้ว จากนั้นพยานได้ติดตามเฟซบุ๊กดังกล่าวและได้พบคลิปวิดีโอที่เจ้าของบัญชีโพสต์คลิปวิดีโอแนะนำตนเอง โดยอ้างว่าตนเองชื่อ มาริโอ ชินเร่อ เป็นชนเผ่าปกาเกาะญอ และได้พูดถึงเรื่องการเมือง
ต่อมา พนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ ได้รับหนังสือจากกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ว่า เจ้าของเฟซบุ๊กดังกล่าวคือจำเลยในคดีนี้ พยานจึงได้นำภาพจำเลยในข้อมูลทะเบียนราษฎร์กับภาพโปรไฟล์ และคลิปวิดีโอแนะนำตนเองในเฟซบุ๊กดังกล่าวมาเปรียบเทียบกัน พบว่ามีลักษณะตรงกัน จากนั้นพยานจึงได้กล่าวหาจำเลยต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีตามมาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
อย่างไรก็ตาม พยานได้ตอบทนายความถามค้านรับว่า พยานทราบว่าเจ้าของเฟซบุ๊กคือจำเลยในคดีนี้จากเอกสารของตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่ โดยพยานไม่ได้สืบทราบด้วยตนเอง และภาพโปรไฟล์ในเฟซบุ๊กและตามโพสต์ต่างๆ แสดงว่าเป็นภาพของจำเลยเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กดังกล่าว ส่วนในการค้นหาข้อมูลทางคอมพิวเตอร์นั้น พยานก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ปรากฏตามรายงานสืบสวน เอกสารพยานของโจทก์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามใช้เทคนิคการสืบสวนที่เรียกว่า “Phishing” ซึ่งเป็นการสืบสวนโดยการพิมพ์ข้อความหลอกเข้าไปในแชทเฟซบุ๊กว่ามีเรื่องอะไรน่าสนใจ เมื่อเจ้าของบัญชีตอบกลับข้อความที่พิมพ์ไว้ ก็จะสามารถตรวจสอบ IP Address ของเจ้าของบัญชีดังกล่าวได้ แต่เจ้าของบัญชีนี้ไม่ได้อ่านข้อความที่ส่งไป
พ.ต.ท.ฤทธิชัย บรรเลงสุวรรณ สารวัตรสืบสวน กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เบิกความต่อศาลว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 มีหนังสือจากกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ให้ตรวจสอบผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว จากนั้นผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้พยานเป็นผู้ตรวจสอบ
ต่อมา พยานได้เข้าตรวจสอบเฟซบุ๊กดังกล่าว เนื่องจากเปิดเป็นสาธารณะ พบข้อความโพสต์เกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2563 จากนั้นพยานจึงลองค้นหาบัญชีที่ใกล้เคียงกันโดยเปลี่ยนชื่อบัญชีตอนท้ายจาก “xe” เป็น “ex” พบว่ายังมีอีก 1 บัญชี และเมื่อเข้าไปดูพบว่ามีการโพสต์ภาพของบุคคลที่มีหน้าตาเหมือนกับบุคคลในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีชื่อบัญชีที่คล้ายกัน และเมื่อนำบัญชีทั้งสองบัญชีมาเปรียบเทียบแล้ว เชื่อว่าเจ้าของบัญชีดังกล่าวเป็นบุคคลเดียวกัน
เมื่อพยานนำภาพบุคคลดังกล่าวไปเปรียบเทียบใบหน้าที่กรมการปกครอง พบว่ามีบุคคลที่มีใบหน้าคล้ายกับบุคคลในเฟซบุ๊กดังกล่าวหลายคน แต่เมื่อนำมาตรวจสอบกับข้อมูลในบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวแล้วพบมีชื่อสถานที่อยู่และสถานศึกษาของเจ้าของบัญชี เมื่อนำไปประกอบกับคลิปวิดีโอแนะนำตัวของจำเลยพบว่าตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวจริง โดยใช้เวลาตรวจสอบเป็นเวลา 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม พยานตอบทนายความถามค้านรับว่า พยานตรวจสอบข้อมูลเฟซบุ๊ก เมื่อค้นหาบัญชีที่ชื่อเหมือนกันกับบัญชีเฟซบุ๊กในคดีนี้ พบชื่อบัญชีเหมือนกัน 2-3 บัญชี รวมทั้งบัญชีที่โจทก์นำมากล่าวหาในการฟ้องคดีนี้ และพบชื่อคล้ายกันอีก 1 บัญชี นอกจากนั้น พยานจำไม่ได้ว่ามีอีกหรือไม่ และจากการตรวจสอบเฟซบุ๊กดังกล่าว พบเพียงภาพที่โจทก์ฟ้องเพียง 1 โพสต์ ส่วนภาพอื่นนั้นพยานไม่พบ
ในการตรวจเฟซบุ๊กที่มีชื่อใกล้เคียงกัน ได้ตรวจเพียงใบหน้าที่มีลักษณะคล้ายกันกับจำเลยคดีนี้ โดยมีการโพสต์คล้ายกัน แต่ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเชื่อมโยงของผู้ใช้บัญชีทั้งสองบัญชี ซึ่งความจริงแล้วพยานไม่ทราบว่าใครจะนำข้อมูลมาโพสต์ลงในบัญชีเฟซบุ๊กทั้ง 2 บัญชี
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54293)
-
วันที่: 07-12-2022นัด: สืบพยานโจทก์++สองพนักงานสอบสวน ผู้รวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำ – ได้รับเอกสารหลักฐานจากผู้กล่าวหา แต่เมื่อเปิดเข้าไปในเฟซบุ๊ก กลับไม่พบข้อความทั้งหมด
ร.ต.อ.สาริน อินต้อ พนักงานสอบสวน สภ.แม่โจ้ เบิกความต่อศาลว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2563 เจษฎา ทันแก้ว นำเอกสารของผู้ใช้เฟซบุ๊ก พร้อมกับเอกสารที่ผู้ใช้บัญชีดังกล่าวโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก และนำโทรศัพท์มาเปิดข้อมูลที่บันทึกมาให้ดู จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและให้เจษฎากล่าวโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าว
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2563 พยานได้ใช้โทรศัพท์ของตนเข้าเฟซบุ๊กเพื่อค้นหาข้อมูลดังกล่าว พบภาพของบุคคล ทราบภายหลังคือจำเลยคดีนี้ ซึ่งมีคลิปวิดีโอที่จำเลยพูดถึงเรื่องการเมือง และแนะนำตนเอง โดยในวิดีโอดังกล่าวยาวถึง 27 นาที แต่พยานทำการบันทึกมาเพียง 1 นาที จากนั้นพยานจึงได้ค้นหาข้อมูลในบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวพบข้อความหมิ่นกษัตริย์รัชกาลปัจจุบันตามเอกสารของผู้กล่าวหาเพียง 1 โพสต์เท่านั้น ส่วนภาพอื่นๆ พยานไม่เห็น จึงได้บันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือของพยานด้วย
ต่อมา ผู้กำกับการ สภ.แม่โจ้ ได้ทำหนังสือไปยังกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับเอกสารและคลิปวิดีโอ เพื่อตรวจหาเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว หลังจากนั้นกองกำกับการฯ ได้ส่งชื่อเจ้าของบัญชีและทะเบียนราษฎร์กลับมาว่าเป็นจำเลยในคดีนี้ เมื่อพยานนำข้อมูลในทะเบียนราษฎร์มาตรวจสอบดูจึงเชื่อว่าเป็นจำเลย จึงได้แจ้งให้ ส.ต.ท.เมธาสิทธิ ยะผูก มาร้องทุกข์กล่าวโทษ
หลังจากนั้นพยานได้ย้ายไปรับราชการที่ สภ.แม่ริม โดยได้ส่งมอบสำนวนการสอบสวนให้แก่ พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ เรือนแก้ว รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สภ.แม่โจ้ และได้ส่งประเด็นไปสอบปากคำผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยมีภูมิลำเนา
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564 พยานได้รับแจ้งว่าสามารถจับกุมจำเลยได้ที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งพยานได้ติดตามไปด้วย หลังจากรับมอบตัวจำเลยแล้ว จึงได้นำตัวมาที่ สภ.แม่โจ้ โดยรถตู้ ช่วงการเดินทางพยานได้พูดคุยกับจำเลยเป็นการทั่วไป โดยจำเลยรับว่าเป็นเฟซบุ๊กของจำเลย แต่ถูกบล็อกการเข้าถึงไป เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถใช้เฟซบุ๊กของตนเองได้อีก
อย่างไรก็ตาม พยานตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า พยานไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี โดยเจษฎาเป็นผู้นำเอกสารหลักฐานมามอบให้จำนวน 20 แผ่น แต่พยานนำมาใช้ในคดีนี้ 7 แผ่น ส่วนอีก 13 แผ่นนั้น พยานเห็นว่าเป็นเอกสารซ้ำจึงไม่ได้นำเข้าในสำนวนด้วย ซึ่งเมื่อตรวจสอบดูในเฟซบุ๊กบัญชีดังกล่าว เห็นเฉพาะบางโพสต์ตามเอกสารเท่านั้น ส่วนภาพอื่นๆ ไม่พบ โดยหลังจากเจษฎานำเอกสารมากล่าวโทษแล้ว ได้เข้ามาติดตามเรื่องอีกหลายครั้ง
พยานไม่ทราบว่า บัญชีในเฟซบุ๊กสามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้หรือไม่ แต่ทราบว่าบุคคลหนึ่งสามารถตั้งชื่อบัญชีได้หลายบัญชี และเมื่อเปิดเข้าไปในเฟซบุ๊กของผู้อื่น ก็สามารถทำการบันทึกรูปภาพในบัญชีดังกล่าวได้และนำภาพที่บันทึกไว้ไปตั้งเป็นภาพโปรไฟล์ของตนเองในเฟซบุ๊กได้
นอกจากนี้พยานทราบเพียงแต่ชื่อบัญชีเฟซบุ๊กเท่านั้น โดยไม่ได้ทำการตรวจสอบ IP Address หรือที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ตของเจ้าของบัญชี ทั้งรับว่าพยานได้ค้นหาชื่อเฟซบุ๊กดังกล่าว ปรากฏว่ามีชื่อบัญชีคล้ายกันอยู่อีก แต่พยานทำการตรวจสอบบัญชีในคดีนี้เพียงบัญชีเดียว และไม่เคยเข้าไปตรวจสอบเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า “พรชัย วิมลศุภวงศ์” ที่เป็นเฟซบุ๊กของจำเลยแต่อย่างใด
พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ เรือนแก้ว รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สภ.แม่โจ้ ได้รับผิดชอบสำนวนคดีนี้ต่อจาก ร.ต.อ.สาริน อินต้อ เบิกความลำดับเหตุการณ์คล้ายกับ ร.ต.อ.สาริน และพยานยังทราบอีกว่า มีผู้กล่าวโทษจำเลยในข้อหามาตรา 112 ที่ สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา ด้วย โดย ร.ต.อ.ซุลกิฟลี ระเซาะ พนักงานสอบสวน สภ.บันนังสตา ได้มีหนังสือมาสอบถามพยานถึงผู้ใช้เฟซบุ๊กในคดีนี้ว่า ได้กระทำความผิดที่ สภ.แม่โจ้ ด้วยหรือไม่ และได้ส่งเอกสารหลักฐานเข้ามาในสำนวนคดีนี้ด้วย
วันที่ 10 มี.ค. 2564 หลังจากทราบว่าจำเลยถูกจับกุมที่ สภ.รัตนาธิเบศร์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลเป็นผู้จับกุมก่อน ในวันเดียวกัน ผู้กำกับการ สภ.รัตนาธิเบตร์ กับพวก จึงเข้าไปค้นห้องพักจำเลยพบโทรศัพท์และซิมการ์ดหลายเครื่อง โดยได้ยึดโทรศัพท์ของกลางจำนวน 4 เครื่อง พยานจึงนำไปตรวจสอบที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) จากการตรวจสอบไม่พบการเข้าถึงผู้ใช้เฟซบุ๊ก จากนั้นพยานจึงรับตัวจำเลยมาสอบปากคำ จำเลยให้การปฏิเสธ โดยรับว่าเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กจริง แต่ไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว
เหตุที่พยานแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ด้วย เนื่องจากมีโพสต์ข้อความนัดหมายและชักชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 18 พ.ย. 2563 ที่แยกราชประสงค์ และวันดังกล่าว ก็มีการชุมนุมเกิดขึ้นจริงๆ
อย่างไรก็ตาม พยานตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ผู้กำกับการ สภ.รัตนาธิเบศร์ ตรวจยึดโทรศัพท์ 4 เครื่อง และซิมการ์ด 6 อันจากจำเลย ซึ่งได้ส่งตรวจที่ บก.ปอท. แล้ว ส่วนซิมการ์ดไม่ได้ส่งไปตรวจด้วย ซึ่งก็พบว่าไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงกับเฟซบุ๊กดังกล่าว
เมื่อเจษฎาเปิดโทรศัพท์ของตนเองที่บันทึกภาพถ่ายตามเอกสารพยานโจทก์ให้ ร.ต.อ.สาริน ดู แต่ไม่ได้เปิดเฟซบุ๊กชื่อบัญชีดังกล่าวให้ดูด้วย โดยเจษฎาแจ้งว่าได้ตรวจพบข้อความในบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว จึงทำการบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ จากนั้นจึงสั่งพิมพ์ภาพของตนเองที่บันทึกไว้แล้วนำมามอบให้พนักงานสอบสวน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54293) -
วันที่: 09-12-2022นัด: สืบพยานจำเลย++จำเลยรับว่าเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กจริง แต่ถูกแฮ็ก ไม่ใช่ผู้โพสต์ข้อความ
พรชัย วิมลศุภวงศ์ จำเลย เบิกความต่อศาลว่า ในช่วงเวลาเกิดเหตุปี 2563 ตนใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว แต่ไม่ใช่ผู้โพสต์ข้อความตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้และไม่เคยเห็นภาพดังกล่าวมาก่อน ต่อมาชื่อบัญชีดังกล่าวของพยานถูกผู้อื่นแฮ็กไปเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2563 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ
ตามเอกสารของโจทก์รายงานการสืบสวนที่แสดงหน้าเฟซบุ๊ก พยานเห็นว่ามีชื่อบัญชีเหมือนกับของตน แต่ไม่ได้เป็นผู้จัดทำ นอกจากนี้เอกสารแผ่นอื่นๆ เป็นรูปของพยาน แต่พยานไม่ใช่ผู้โพสต์ข้อความและรูปภาพดังกล่าว
ในการสอบปากคำ พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ เรือนแก้ว รองผู้กำกับการ สภ.แม่โจ้ เป็นผู้ถาม ส่วน ร.ต.อ.สาริน อินต้อ เป็นผู้บันทึกคำให้การ หลังจากพิมพ์บันทึกคำให้การแล้ว พยานเห็นว่าบางข้อความไม่ตรงกับที่ให้การไว้ จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อ โดยในการสอบปากคำไม่มีทนายความเข้าร่วมด้วย เนื่องจากพนักงานสอบสวนไม่ยอมให้พยานใช้โทรศัพท์มือถือ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตนาธิเบศร์ พูดว่าให้รีบๆ สอบปากคำให้เสร็จ เพราะเกรงว่าจะมีผู้ชุมนุมคนอื่นมาก่อความวุ่นวาย แม้พยานขอให้รอทนายความร่วมฟังการสอบสวนแล้ว
อย่างไรก็ดี พยานตอบอัยการโจทก์ถามค้าน รับว่า ตนเป็นชนเผ่าปกาเกาะญอ ซึ่งคนไทยเรียกว่า “กะเหรี่ยง” โดยพยานได้ออกจากหมู่บ้านมาอยู่อาศัยที่กรุงเทพมหานคร พยานเคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มคณะราษฎร 63 โดยพยานเข้าร่วมการชุมนุมในฐานะผู้ร่วมชุมนุมเท่านั้น ไม่ใช่แกนนำแต่อย่างใด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการชุมนุมคือ ให้นายกฯ ลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
.
++พยานผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ – การตรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจด้วยเอกสาร ซึ่งแก้ไขได้หลายวิธี แต่จะต้องตรวจจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
พยานผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำงานในฐานะโปรแกรมเมอร์โครงการติดตามสปายแวร์ที่ชื่อ “เพกาซัส” ของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาชน (iLaw) เบิกความต่อศาลว่า เคยเข้าเบิกความในคดีทำนองเดียวกันของจำเลยที่ศาลจังหวัดยะลามาก่อนแล้ว
พยานทราบขั้นตอนในการเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากติดตามคดีที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ โดยพยานเห็นว่า ในการตรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ไม่สามารถตรวจได้ด้วยเอกสาร แต่จะต้องตรวจด้วยอุปกรณ์ที่มีข้อมูลนั้น โดยพยานเอกสารต่างๆ ไม่ใช่ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
การเก็บพยานทางอิเล็กทรอนิกส์มีวิธีปฏิบัติอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. เมื่อเจอหน้าโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ที่คาดว่าเป็นการกระทำความผิด ต้องสั่งพิมพ์โพสต์นั้นจากหน้า Web Browser เช่น Google Chrome, Internet explorer หรือ firefox ซึ่งจะปรากฏวันที่และเวลาพิมพ์ด้วย ด้านขวาบนจะเป็นหัวข้อของเว็บไซต์นั้น ด้านซ้ายล่างจะเป็น URL ที่อยู่ของหน้าเว็บไซต์ เพื่อบ่งบอกว่าเว็บไซต์อยู่ตำแหน่งไหนในอินเตอร์เน็ต ด้านขวาล่างจะมีเลขแผ่นและจำนวนแผ่นที่สั่งพิมพ์
2. เมื่อสั่งพิมพ์แล้วจะต้องตรวจหา IP Address โดยการขอไปยังผู้ให้บริการเว็บไซต์นั้น หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
3. เมื่อได้ IP Address แล้ว จะทราบตำแหน่งและที่อยู่ของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจะไปยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นผู้ขอใช้บริการอินเตอร์เน็ต เพื่อนำคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่สงสัยมาตรวจสอบข้อมูล หรือร่องรอยการกระทำ เช่น รูปภาพหรือข้อความที่โพสต์ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. เมื่อได้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแล้ว จะต้องจัดทำไฟล์สำเนาไว้ เพื่อไม่ให้หลักฐานต้นฉบับได้รับความเสียหาย ในการตรวจสอบหาร่องรอยการกระทำจะต้องมีการสำเนาไฟล์ เมื่อพบข้อมูลหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
5. เมื่อพบข้อความหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ จะต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปตรวจหา DNA เพื่อยืนยันว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้กระทำ
เมื่อทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารซึ่งมีโพสต์ข้อความที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ พยานดูแล้วตอบว่า เอกสารดังกล่าวเป็นการบันทึกมาจากหน้าจอโทรศัพท์ เนื่องจากหน้าจอโทรศัพท์กับหน้าจอคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแตกต่างกัน หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์จะแสดงข้อมูลได้มากกว่า ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องสั่งพิมพ์มาจากหน้าเว็บบราวเซอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เอกสาร ดังกล่าวน่าจะเป็นการบันทึกจากโทรศัพท์แล้วนำมาวางในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์
การทำเช่นนี้สามารถแก้ไขภาพจากต้นฉบับได้ โดยการตัดต่อภาพนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งตามภาพในเอกสารไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นภาพที่ตัดต่อมาหรือไม่ ดังนั้นการบันทึกจากหน้าจอโทรศัพท์แล้วสั่งพิมพ์จากภาพที่บันทึกไว้ จึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการสั่งพิมพ์จากเว็บบราวเซอร์มาก
ตามเอกสารพยานโจทก์ ยังมีข้อสังเกตว่า มีบางภาพมีขนาดตัวอักษรและสัดส่วนของภาพผิดปกติจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากน่าจะนำภาพดังกล่าวมาวางในโปรแกรม Microsoft Word แล้วย่อ หรือขยาย หรือตัดต่อเพิ่มเติม ทางด้านล่างภาพถ่ายยังมีข้อความซึ่งน่าจะเป็นการพิมพ์เข้ามาภายหลัง
สำหรับชื่อบัญชีในเฟซบุ๊กตามเอกสารโจทก์ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ใครเป็นเจ้าของบัญชีนั้น เพราะอาจมีการตั้งชื่อบัญชีที่เหมือนกัน หรือการนำภาพของบุคคลอื่นมาลงเป็นภาพโปรไฟล์ของตนเองก็ได้ ซึ่งตามปกติแล้ว บุคคลอาจเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กได้หลายบัญชี และอาจนำชื่อของบุคคลอื่นมาตั้งเป็นชื่อของตนเองก็ได้ ซึ่งในการตั้งชื่อเฟซบุ๊กซ้ำกันนั้นจะพบได้เป็นปกติ
นอกจากนั้นเฟซบุ๊กที่เจ้าของบัญชีตั้งขึ้นอาจถูกผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบัญชี เช่น การใช้รหัสผ่านที่สามารถคาดเดาได้ง่าย หรือหลังจากที่เจ้าของใช้เสร็จแล้วไม่ได้ออกจากโปรแกรมดังกล่าว ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้สามารถเข้าใช้บัญชีได้ โดยการบันทึกรหัสผ่านไว้ หากมีผู้ใดเข้าไปในบัญชีก็สามารถเข้าไปใช้ได้ทันที
นอกจากนั้น ยังอาจเข้าถึงข้อมูลในระดับที่ยากขึ้น หรือเรียกว่า Phishing โดยการหลอกเอาชื่ออีเมลและรหัสผ่านจากเจ้าของบัญชี เมื่อได้มาแล้วก็สามารถเข้าไปใช้เฟซบุ๊กของเจ้าของบัญชีนั้นได้เช่นกัน
++การบังคับใช้ ม.112 เปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางการเมือง ในปี 2563-64 มีผู้ถูกดำเนินคดีจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อประชาชน ซึ่งติดตามคดีที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีโครงการตั้งแต่ปี 2554 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์และบันทึกข้อมูล โดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางการเงินแก่บุคคลใด
จากการติดตามและบันทึกข้อมูล ทราบว่ามีการบังคับใช้มาตรา 112 เปลี่ยนแปลงไปตามบรรยากาศทางการเมือง เช่น ช่วงการรัฐประหาร 2557 มีการนำมาตรานี้มาใช้จำนวนมาก และเมื่อปี 2561 และ 2562 ไม่พบการนำมาตรานี้มาบังคับใช้ จนกระทั่งการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะนำกฎหมายมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุมทุกมาตรา หลังจากนั้นก็ได้นำมาตรา 112 มาบังคับใช้เป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 มากกว่า 200 คน
เหตุที่ช่วงปี 2561 ถึง 2562 ไม่พบการบังคับใช้มาตรา 112 เนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระเมตตารับสั่งไม่ให้ใช้มาตรา 112 กับประชาชน
ในความคิดของพยานเอง หากมีการบังคับใช้มาตรา 112 มากเกินไป อาจทำให้เกิดช่องว่างในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ และทำให้ประชาชนอยู่ในภาวะหวาดกลัว เนื่องจากความผิดมาตรานี้เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
ปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลตั้งขึ้นเป็นองค์กรเพื่อดำเนินคดีมาตรา 112 โดยไปกล่าวโทษต่อผู้กระทำความผิดให้ได้มากที่สุด เพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองลงในเว็บไซต์ โดยเปิดเผยข้อมูลว่าได้กล่าวโทษผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนเท่าใด
ในหลายคดีกลุ่มคนเหล่านั้นก็จะกล่าวโทษผู้กระทำความผิดที่อยู่อาศัยห่างไกล เพื่อให้ผู้ต้องหาต้องเดินทางไปต่อสู้คดี ทำให้เกิดความลำบาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อาทิเช่น คดีที่ไปกล่าวโทษที่ สภ.สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
จากข้อมูลบุคคลซึ่งเคยถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐจะมีการเก็บข้อมูลและประวัติของบุคคลที่ร่วมการชุมนุม ซึ่งจำเลยที่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐติดตามในฐานข้อมูล อาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐคอยติดตามตัวเป็นกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม พยานตอบอัยการโจทก์ถามค้านว่า พยานได้ติดตามความเคลื่อนไหวของประชาชนผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากทางโทรทัศน์และโทรศัพท์บ่อยครั้ง ส่วนในการติดตามผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นั้นพบว่าในช่วงปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในการติดตามพยานยังเคยทำหนังสือขอข้อมูลจากหน่วยงานรัฐด้วย
.
หลังเสร็จการสืบพยาน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 13 มี.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54293) -
วันที่: 13-03-2023นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.00 น. พรชัยเดินทางมาจากนนทบุรีอีกครั้ง เพื่อฟังคำพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ หลังเขาต้องเดินทางมาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้คดีตั้งแต่ปี 2564
เวลา 09.33 น. สาธิต วคินเดชา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนได้อ่านคำพิพากษา โดยสรุประบุว่า จำเลยต่อสู้คดีรับว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กตามฟ้อง แต่ไม่ใช่ผู้เผยแพร่ข้อความดังกล่าว เนื่องจากถูกโจรกรรมบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวไป
ศาลได้พิเคราะห์แต่ละข้อความตามฟ้อง เห็นว่ามีเจตนากล่าวถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน มีการใช้สรรพนามไม่เหมาะสมและนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทั้งยังชักชวนผู้อ่านข้อความให้เข้าร่วมการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลเห็นว่า จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอยๆ ว่าเฟซบุ๊กดังกล่าวถูกโจรกรรม โดยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ามีบุคคลได้นำภาพของจำเลยไปตัดต่อหรือใช้แทน หากมีผู้โจรกรรมเฟซบุ๊กจริง จำเลยน่าจะต้องแจ้งความหรือดำเนินการอย่างไรเพื่อหาตัวผู้กระทำ แต่จำเลยไม่ได้กระทำการดังกล่าว ทั้งเชื่อว่าโจทก์ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว และมีคลิปวิดีโอที่จำเลยไลฟ์แนะนำตนเองเผยแพร่ในเฟซบุ๊กดังกล่าวมาก่อน จึงเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้เผยแพร่ข้อความตามฟ้อง เห็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)
การกระทำของจำเลยเป็นคนละวันและเวลา ต่างกรรมต่างวาระกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเรียงกระทงความผิดไป โดยให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักสุด ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี จำนวน 4 กระทง รวมจำคุก 12 ปี
หลังอ่านคำพิพากษา ศาลแจ้งให้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาได้ต่อไป และตำรวจศาลได้ควบคุมตัวพรชัยไปยังห้องขังใต้ถุนศาล ส่วนทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์คดี
จนเวลา 15.10 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณา โดยเจ้าหน้าที่ศาลระบุให้นายประกันมาฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้น ทำให้พรชัยต้องถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ เพื่อรอฟังคำสั่งประกัน
ก่อนหน้านี้ หลังถูกจับกุมในคดีนี้ พรชัยเคยถูกคุมขังที่เรือนจำกลางเชียงใหม่โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างสอบสวนมาแล้ว ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะอนุญาตให้ประกันตัวหลังถูกขังไป 44 วัน
ทั้งนี้ น่าสังเกตว่าในคดีของพรชัยที่จังหวัดยะลา ศาลพิพากษาลงโทษเฉพาะกระทงที่เป็นการเผยแพร่คลิปวิดีโอภาพตนเองกล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งจำเลยรับว่าเป็นผู้ไลฟ์สดจริง แต่ข้อความที่ถูกโพสต์หลังจากนั้นอีก 2 ข้อความ (เป็นคนละโพสต์กับคดีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่) เกิดขึ้นหลังได้ถูกแฮ็กเฟซบุ๊กไป ศาลพิเคราะห์แล้วได้ยกฟ้อง 2 กระทงดังกล่าวนี้ โดยเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏ URL ที่มาของข้อความในเอกสารที่นำมาแจ้งความ และพนักงานสอบสวนเบิกความว่า ไม่แน่ใจว่าภาพถูกต้องตามต้นโพสต์หรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.348/2566 ลงวันที่ 13 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54329) -
วันที่: 14-03-2023นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เดิมเจ้าหน้าที่ศาลนัดหมายนายประกันมาฟังคำสั่งในเวลา 13.30 น. แต่ในเวลาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ยังไม่ได้มีคำสั่งกลับมา
จนถึงเวลาประมาณ 17.11 น. ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาอ่านคำสั่งให้นายประกันฟัง โดยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ระบุว่า เห็นว่าพฤติการณ์ในคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 12 ปี หากปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี ให้ยกคำร้อง
ทั้งนี้ ในคดีนี้หลังพรชัยถูกจับกุม และถูกคุมขังระหว่างสอบสวนเป็นเวลา 44 วัน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้มีคำสั่งให้ประกันตัว หลังจากนั้น เขาก็เดินทางจากที่พักที่จังหวัดนนทบุรีมารายงานตัวและต่อสู้คดีโดยตลอด
ขณะเดียวกัน ในคดีตามมาตรา 112 ก่อนหน้านี้ ศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำพิพากษาในคดีของ “บัสบาส” มงคล ถิระโคตร นักกิจกรรมในจังหวัดเชียงราย โดยลงโทษจำคุก 28 ปี จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 14 ข้อความ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้อนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวมาแล้ว
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54329) -
วันที่: 17-03-2023นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2นายประกันจากกองทุนดา ตอร์ปิโด เข้ายื่นคำร้องขอประกันพรชัยครั้งที่ 2 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ คำร้องขอประกันโดยสรุปยืนยันว่า
1. การกระทำตามฟ้องในคดีนี้ไม่ได้มีพฤติการณ์ร้ายแรง และไม่มีลักษณะสร้างภยันอันตรายต่อร่างกาย ทรัพย์สิน หรือชีวิตของผู้หนึ่งผู้ใด พฤติการณ์ที่จำเลยถูกฟ้องเกี่ยวข้องกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งจำเลยได้ต่อสู้คดีว่าจำเลยรับว่าเป็นผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องจริง แต่ไม่ได้เป็นผู้โพสต์เผยแพร่ข้อความดังกล่าว และไม่เคยเห็นข้อความตามฟ้อง เนื่องจากเฟซบุ๊กดังกล่าวถูกแฮคบัญชีผู้ใช้ไป จำเลยไม่สามารถเข้าใช้งานได้ โดยจำเลยได้ต่อสู้คดีเรื่อยมา
ในคดีลักษณะเดียวกันและข้อกล่าวหาเดียวกันนี้ ที่มีผู้ไปกล่าวหาจำเลยจากการเผยแพร่ข้อความบนบัญชีเฟซบุ๊กเดียวกันนี้ที่สถานีตำรวจภูธรบันนังสตา ศาลจังหวัดยะลาได้มีคำพิพากษายกฟ้องกรณีการโพสต์ข้อความ 2 ข้อความในคดีดังกล่าว โดยเห็นว่ากรณียังไม่อาจเชื่อได้ว่าข้อความและภาพตามที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย จะถูกต้องแท้จริงหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งภาพและข้อความดังกล่าวจริงหรือไม่ เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย จึงเห็นได้ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีของศาลจังหวัดเชียงใหม่นี้ ยังมีประเด็นในคดีที่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้อีก และจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีต่อไป
2. คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษในคดีนี้ มิได้เป็นเหตุผลเบ็ดเสร็จเพียงพอว่า จำเลยจะมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี โดยในกระบวนการพิจารณาคดีที่ผ่านมา จำเลยก็ได้ให้ความร่วมมือเข้าร่วมทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ จนถึงชั้นศาลมาโดยตลอด เดินทางมาตามนัดหมายในชั้นต่างๆ ทุกครั้ง ไม่เคยมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี
ในคดีนี้ จำเลยเคยถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนเป็นระยะเวลา 44 วัน ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้เคยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564 อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยเห็นว่าแม้คดีที่ถูกกล่าวหาจะมีอัตราโทษสูง แต่ปรากฏจากบันทึกการจับกุมว่า ผู้ต้องหาถูกจับที่หน้าคอนโดมิเนียมที่พักอาศัย มิได้มีพฤติการณ์หลบหนี การปล่อยตัวชั่วคราวจึงไม่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน พิจารณาแล้วไม่มีเหตุอันสมควรเชื่อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 ศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำพิพากษาในคดีของมงคล ถิระโคตร โดยพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี
อัตราโทษจำคุกที่ศาลลงโทษจำเลยในคดีดังกล่าวสูงกว่าในคดีนี้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีดังกล่าวในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา เนื่องจากไม่ปรากฏเหตุที่จะไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 แต่อย่างใด
.
ต่อมา ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย และนัดให้มาฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้น
วันต่อมา (18 มี.ค. 2566) ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจำเลย ระบุว่า ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาประกัน หรือมีพฤติการณ์หลบหนี ให้วางหลักประกันระหว่างอุทธรณ์จำนวน 300,000 บาท กำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำการใดๆ ที่เป็นการเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต
หลังจากทราบคำสั่งศาล นายประกันจึงได้วางหลักประกันเพิ่มเติมจากที่เคยวางไว้หลังพรชัยถูกฟ้องคดี เป็นจำนวน 150,000 บาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนดา ตอร์ปิโด
จากนั้นในช่วงค่ำพรชัยจึงได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ รวมระยะเวลาถูกคุมขัง 6 วัน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54504) -
วันที่: 03-08-2023นัด: จำเลยยื่นอุทธรณ์พรชัยได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมีประเด็นสำคัญเรื่องความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน เนื่องจากคำเบิกความของพยานโจทก์มีข้อพิรุธหลายประการที่ไม่อาจรับฟังได้ ทั้งข้อพิรุธสงสัยว่าผู้กล่าวหาไม่ได้เป็นผู้เข้าไปดูเฟซบุ๊กตามฟ้องแล้วบันทึกภาพมาโดยตรงด้วยตนเอง, ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าเอกสารรูปภาพและข้อความที่ผู้กล่าวหานำมามอบให้พนักงานสอบสวน จะเป็นรูปภาพและข้อความที่โพสต์ในบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องจริงหรือไม่
อุทธรณ์ของจำเลยยืนยันว่า การรับฟังพยานหลักฐานเพื่อนำสู่การลงโทษจำเลยทางอาญา จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจนสิ้นสงสัย แต่เอกสารของฝ่ายโจทก์ที่ผู้กล่าวหานำมา เป็นเอกสารที่ไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นภาพและข้อความที่มาจากการโพสต์ในเฟซบุ๊กตามฟ้องจริงหรือไม่ ไม่ใช่ภาพต้นฉบับและไม่อาจตรวจสอบซ้ำได้ว่าโพสต์ข้อความต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารจะมีอยู่จริงหรือไม่อย่างไร
ทั้งการพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าผู้กล่าวหาไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย ยังขัดแย้งคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาคดี ซึ่งปรากฏชัดว่าผู้กล่าวหามีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง มุ่งจะให้จำเลยต้องได้รับโทษอาญาร้ายแรงแม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
(อ้างอิง: อุทธรณ์ของจำเลย ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.348/2566 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/66154) -
วันที่: 04-04-2024นัด: ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5เวลา 09.30 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่นัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 พรชัยพร้อมทนายความและนายประกัน เดินทางมาฟังคำพิพากษา
ศาลจังหวัดเชียงใหม่อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยมีเนื้อหาโดยสรุประบุว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า มีบัญชีเฟซบุ๊กโพสต์ข้อความจำนวน 4 ข้อความ โจทก์มีผู้กล่าวหา เจษฎา ทันแก้ว เบิกความว่า เปิดดูเฟซบุ๊กและเห็นข้อความดังกล่าว จึงนำไปพิมพ์ที่ร้านและนำไปมอบให้แก่พนักงานสอบสวน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาที่เห็นข้อความตรงกันและเห็นจำเลยพูดในคลิปวิดีโอแนะนำตัวในเฟซบุ๊กดังกล่าว จำเลยให้การปฏิเสธ โดยรับว่าเป็นเฟซบุ๊กตัวเอง แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้โพสต์ข้อความดังกล่าว
เห็นว่า พยานโจทก์ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย เบิกความสอดคล้องตรงกัน ไม่มีข้อพิรุธ อีกทั้งไม่มีสาเหตุที่พยานโจทก์จะเบิกความเพื่อกลั่นแกล้งจำเลย และมีหนังสือขอตรวจสอบคลิปวิดีโอแนะนำตัวของจำเลยว่าผ่านการตัดต่อมาหรือไม่ ซึ่งคลิปวิดีโอไม่ผ่านการตัดต่อมา ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้เป็นผู้เผยแพร่ข้อความดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ
การพิจารณาว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่า ข้อความเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายฯ หรือไม่ เมื่อข้อความที่จำเลยโพสต์ตามดังที่ปรากฏเป็นรูปภาพจำเลยชูสามนิ้ว และรูปภาพรัชกาลที่ 10 เนื้อหาข้อความทำให้เข้าใจได้ว่ารัชกาลที่ 10 อยู่เบื้องหลังการเมือง และชักชวนบุคคลมาร่วมการชุมนุม เป็นการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ไม่วางตนเป็นกลางทางการเมือง และการชักชวนให้บุคคลทั่วไปออกมาชุมนุม เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ตามมาตรา 116 เพื่อให้ประชาชนเกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อพระมหากษัตริย์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยคิดเป็น 4 กรรม ไม่ใช่กรรมเดียว อีกทั้งแม้ผู้กล่าวหาเบิกความคลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีข้อพิรุธ อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
หลังฟังคำพิพากษา พรชัยได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปยังห้องขังใต้ถุนศาล ทนายความและนายประกันได้ยื่นขอประกันตัวระหว่างฎีกา
ต่อมาเวลา 14.25 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลฎีกาพิจารณา ทำให้ในวันนี้พรชัยต้องถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางเชียงใหม่
นับเป็นการถูกคุมขังระหว่างพิจารณาของพรชัยเป็นรอบที่ 3 แล้ว หลังถูกคุมขัง 44 วัน ในช่วงที่ถูกจับกุมและฝากขังชั้นสอบสวน และมาถูกคุมขัง 6 วัน หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
.
++ข้อสังเกตคดีที่ยะลา ศาลยกฟ้องกรณีโพสต์ในช่วงเดียวกับคดีเชียงใหม่ เหตุพยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธสงสัย
สำหรับพรชัยถูกอดีตกลุ่ม กปปส. ไปกล่าวหาคดีมาตรา 112 ไว้ถึง 2 คดี ที่จังหวัดยะลา และจังหวัดเชียงใหม่ สร้างความลำบากในการเดินทางและค่าใช้จ่ายของเขาเป็นอย่างยิ่ง
น่าสังเกตว่าในคดีที่ศาลจังหวัดยะลานั้น มี วัชรินทร์ นิวัฒน์สวัสดิ์ สมาชิกกลุ่มพิทักษ์สถาบันฯ เป็นผู้กล่าวหาไว้ที่ สภ.บันนังสตา เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2566 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่ามีความผิดใน 1 กระทง ที่เป็นการไลฟ์สดคลิปวิดีโอ แต่ยกฟ้องในอีก 2 กระทง ที่เป็นการโพสต์ภาพและข้อความในช่วงเดียวกับคดีที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธสงสัยว่ามีโพสต์ดังกล่าวอยู่ในเฟซบุ๊กจริงหรือไม่ ทั้งพยานโจทก์ยังไม่อาจนำสืบได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความ แตกต่างจากการวินิจฉัยในคดีที่จังหวัดเชียงใหม่
คดีนั้น พรชัยถูกพิพากษาจำคุก 3 ปี แต่เห็นว่าจำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่ศาลจังหวัดยะลา อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างฎีกา โดยไม่ได้ส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้สั่ง และจำเลยได้ยื่นฎีกาคำพิพากษาต่อมา
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 คดีหมายเลขดำที่ อ.547/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.348/2566 และ https://tlhr2014.com/archives/66154)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรชัย วิมลศุภวงศ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรชัย วิมลศุภวงศ์
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สาธิต วคินเดชา
- วรพล จรัสกิตติกร
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
13-03-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรชัย วิมลศุภวงศ์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
04-04-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์