ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1214/2565
แดง อ.300/2566

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.ศรีพิงค์ ไหวยะ สว.สส.สภ.เมืองเชียงใหม่ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1214/2565
แดง อ.300/2566

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.ศรีพิงค์ ไหวยะ สว.สส.สภ.เมืองเชียงใหม่ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1214/2565
แดง อ.300/2566
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.ศรีพิงค์ ไหวยะ สว.สส.สภ.เมืองเชียงใหม่

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1214/2565
แดง อ.300/2566
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.ศรีพิงค์ ไหวยะ สว.สส.สภ.เมืองเชียงใหม่

ความสำคัญของคดี

“เกด” (นามสมมติ) และ "ยุ้ย" (นามสมมติ) 2 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเหตุชูป้ายข้อความระหว่างร่วมการชุมนุมคาร์ม็อบ “ด่วนนครพิงค์เจียงใหม่ ไล่ขึดประยุทธ์” เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 โดยถูกกล่าวหาว่า ข้อความในป้ายมีลักษณะดูหมิ่น หมิ่นประมาท รัชกาลที่ 10

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ชินวัตร เนือยทอง พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 จำเลยทั้งสองร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการนำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด สีขาว จำนวน 1 แผ่น มีข้อความเขียนสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน มาชูในขณะมีชุมนุมทางการเมือง

การกระทำแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยทั้งสองในการดูหมิ่น ให้ร้าย ลดทอนคุณค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาทและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทั้งนี้โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศรัทธาและเคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และเป็นการกระทำด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.1214/2565 ลงวันที่ 15 ก.ย. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่ “เกด” (นามสมมติ) อายุ 20 ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เหตุจากถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชูป้ายที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ในงานชุมนุมคาร์ม็อบ “ด่วนนครพิงค์เจียงใหม่ ไล่ขึดประยุทธ์” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564

    เนื่องด้วย “เกด” ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหา ลงวันที่ 4 ส.ค. 2564 มี พ.ต.ท.ศรีพิงค์ ไหวยะ เป็นผู้กล่าวหา โดยให้ “เกด” ไปที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อพบ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ จันทร์เจือแก้ว พนักงานสอบสวน

    ในขณะเดียวกัน “ยุ้ย” (นามสมมติ) อายุ 21 ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนของเกดที่เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบด้วยกัน ได้ถูกพนักงานสอบสวนโทรแจ้งให้เข้าพบเพื่อสอบปากคำเป็นพยานในคดี จึงขอนัดเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันเวลาเดียวกัน

    เวลา 10.00 น. พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ จันทร์เจือแก้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี ได้เชิญให้ยุ้ยเข้าสอบปากคำในฐานะพยานก่อน

    เวลา 11.30 น. “เกด” พร้อมด้วยทนายความได้เข้าพบ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่ถูกกล่าวหา โดยสรุปดังต่อไปนี้

    เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 เวลาประมาณ 18.26 น. ขณะผู้กล่าวหากับพวกแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมที่มาประท้วงแสดงออกทางการเมือง บริเวณหน้าลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์และบริเวณแยกหน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พบ “เกด” ยืนชูป้ายที่ถูกกล่าวหาว่ามีข้อความหมิ่นพระมหากษัตริย์

    ผู้กล่าวหากับพวกจึงได้ทำการสืบสวนและพบว่าก่อนที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะมายืนชูป้าย ได้มีการชูออกนอกรถ ขณะที่นั่งรถยนต์ขับขี่มาทางถนนพระปกเกล้า ก่อนที่จะมาจอดที่บริเวณแยกถนนหน้าโรงเรียนยุพราช ผู้ต้องหาได้ลงมาจากรถยนต์และยืนชูป้ายที่มีข้อความดังกล่าวบริเวณที่เกิดเหตุ ส่วน “ยุ้ย” ยืนชูสามนิ้วอยู่ด้านข้าง ผู้กล่าวหากับพวกได้ถ่ายภาพและจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา และร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” โดย “เกด” ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน ภายในวันที่ 2 ต.ค. 2564 ผู้ต้องหาได้ลงลายมือชื่อในบันทึกรับทราบข้อกล่าวหาและบันทึกประจำวัน พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม

    หลังการสอบปากคำ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้กับ “เกด” และ “ยุ้ย” เพื่อให้เข้ามาพบพนักงานสอบสวนอีกครั้ง เนื่องจากหลังจากสอบปากคำพยานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า “ยุ้ย” มีส่วนเกี่ยวข้องกับป้ายดังกล่าว ทางตำรวจจึงจะแจ้งข้อกล่าวหาต่อ “ยุ้ย” ในคดีนี้ด้วยในภายหลัง

    ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะปล่อยตัว “เกด” ไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองเชียงใหม่ ลงวันที่ 2 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34440)
  • “ยุ้ย” เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำให้คดีนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 2 คน

    หลังรับทราบข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนปล่อยตัว “ยุ้ย” ไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าว สภ.เมืองเชียงใหม่ ลงวันที่ 17 ก.ย. 2564)
  • พนักงานสอบสวนนัดหมายเกดและยุ้ยส่งตัวและสำนวนคดีให้กับพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่
  • พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่นัดหมายเกดและยุ้ยฟังคำสั่งในคดี เกดและยุ้ยเข้ารายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ตามนัด เจ้าหน้าที่แจ้งว่า อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีทั้งสองคน ก่อนนำตัวไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่

    คำฟ้องของ ชินวัตร เนือยทอง พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 จำเลยทั้งสองร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการนำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด สีขาว จำนวน 1 แผ่น มีข้อความเขียนสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน มาชูในขณะมีชุมนุมทางการเมือง

    การกระทำแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยทั้งสองในการดูหมิ่น ให้ร้าย ลดทอนคุณค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาทและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทั้งนี้โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศรัทธาและเคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และเป็นการกระทำด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

    เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดป้ายฟิวเจอร์บอร์ดสีขาวจำนวน 1 แผ่นจากจำเลยทั้งสองเป็นของกลาง

    ทั้งนี้ท้ายฟ้องระบุว่า หากจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    หลังศาลจังหวัดเชียงใหม่รับฟ้อง ขณะทนายความได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งสองคนได้ถูกควบคุมตัวที่ห้องขังใต้ถุนศาลตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. จนถึงเวลา 18.00 น. เศษ

    ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินจำนวนคนละ 150,000 บาท รวมจำเลยทั้งสองเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งสองกระทำการในลักษณะเช่นเดียวกันกับความผิดในคดีนี้อีก ขณะที่กำหนดวันนัดพร้อมคดีต่อไปวันที่ 31 ต.ค. 2565

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.1214/2565 ลงวันที่ 15 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/48487)
  • ศาลสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งสอง ทั้ง “เกด” และ “ยุ้ย” ขอเวลาในการปรึกษากับครอบครัวในการตัดสินใจทางคดี ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนวันนัดพร้อมไปเป็นวันที่ 28 พ.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
  • ศาลถามคำให้การของจำเลยทั้งสองอีกครั้ง ทั้งเกดและยุ้ยตัดสินใจให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทนายจำเลยขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพภายใน 30 วัน ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาก่อนนัดฟังคำพิพากษา และกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ม.ค. 2566 เวลา 10.00 น.
  • ศาลอ่านรายงานการสืบเสาะโดยสรุปให้เกดและยุ้ยฟัง และสอบถามว่า จะคัดค้านรายงานดังกล่าวหรือไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน ศาลแจ้งว่า เนื่องจากเพิ่งได้รับรายการการสืบเสาะ ประกอบกับต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ตรวจก่อนอ่าน จึงให้เลื่อนฟังคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 2 มี.ค. 2566 เวลา 10.00 น.
  • เวลา 09.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 10 ศาลได้อ่านคำพิพากษาโดยสรุปเพียงสั้นๆ ว่า

    พิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน พิเคราะห์รายงานสืบเสาะของจำเลย ประกอบกับคำแถลงประกอบคำรับสารภาพ จำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และยังเป็นนักศึกษาอยู่ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี

    หลังจากอ่านคำพิพากษาแล้วศาลได้อธิบายให้เกดและยุ้ยฟังว่า การรอการลงโทษนี้ หมายถึง การพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่ศาลจะไม่นำไปติดคุก เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับคืนสู่สังคม และตักเตือนว่าอย่าไปกระทำความผิดอาญาอื่นในช่วงเวลา 2 ปีนี้ มิฉะนั้นโทษ 1 ปี 6 เดือน อาจนำมาลงโทษได้

    (อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.1214/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.300/2566 ลงวันที่ 2 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54025)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
"เกด" (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
“ยุ้ย” (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
"เกด" (นามสมมติ)

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. ธงชัย สีหาเวช
  2. พรหทัย จันทร์แสงสี

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 02-03-2023
ผู้ถูกดำเนินคดี :
“ยุ้ย” (นามสมมติ)

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. ธงชัย สีหาเวช
  2. พรหทัย จันทร์แสงสี

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 02-03-2023

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์