ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- อื่นๆ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.648/2565
แดง อ.176/2567
ผู้กล่าวหา
- อภิวัฒน์ ขันทอง ประธาน คตส. (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- อื่นๆ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.648/2565
แดง อ.176/2567
ผู้กล่าวหา
- อภิวัฒน์ ขันทอง ประธาน คตส.
ความสำคัญของคดี
ลลิตา มีสุข ประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ถูกอภิวัฒน์ ขันทอง ในฐานะประธาน คตส.ตามคำสั่งนายกฯ เข้าแจ้งความที่ สน.นางเลิ้ง ให้ดำเนินคดีในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์คลิปวิดีโอสั้นใน TikTok วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชน เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 ซึ่งเธอยืนยันว่า มีเจตนาเพียงวิจารณ์รัฐบาลเท่านั้น
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นได้โดยง่าย นอกจากคดีนี้ อภิวัฒน์ซึ่งถือเป็นตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังเป็นมีบทบาทในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.ประยุทธ์ อีกมากกว่า 20 คดีด้วย
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นได้โดยง่าย นอกจากคดีนี้ อภิวัฒน์ซึ่งถือเป็นตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังเป็นมีบทบาทในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.ประยุทธ์ อีกมากกว่า 20 คดีด้วย
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ณัฐพล กิตติตระกูล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 บรรยายพฤติการณ์คดี ระบุว่า
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุข และรัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน โดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 ระบุไว้ว่า กษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ด้วยการโพสต์คลิปสั้นในแอปพลิเคชัน TikTok เป็นภาพเคลื่อนไหวของจำเลยกล่าวข้อความพูดถึงงบประมาณที่นำมาแจกประชาชนและงบประชาสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์นั้นมาจากภาษีประชาชน ไม่ได้เป็นบุญคุณของรัฐบาลหรือสถาบันกษัตริย์ การกดขี่ประชาชนให้จนแล้วนำเงินมาแจก ให้ประชาชนรู้สึกเป็นบุญคุณ จะได้ง่ายต่อการปกครอง ทั้ง ๆ ที่ประชาชนควรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากเงินภาษีของตนเอง ตอนท้ายจำเลยได้ทำปากพูดคำว่า “พระมหา” โดยไม่ออกเสียง ก่อนตามด้วยด้วยการกล่าวคำว่า “กรุณาธิคุณ”
เมื่อบุคคลที่สามได้เห็นคลิปดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า กษัตริย์รัชกาลที่ 10 นำเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินภาษีซึ่งเป็นของประชาชนไปแจกประชาชน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับพระองค์เอง เป็นเงินจำนวนปีละหมื่น ๆ ล้านบาท รวมทั้งกดขี่ให้ประชาชนยากจน แล้วนำเงินไปแจก เพื่อให้ประชาชนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้ปกครองได้โดยง่าย อันเป็นการใส่ความรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อความเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังอย่างร้ายแรง และเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.648/2565 ลงวันที่ 10 พ.ค. 2565)
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุข และรัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน โดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 ระบุไว้ว่า กษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ด้วยการโพสต์คลิปสั้นในแอปพลิเคชัน TikTok เป็นภาพเคลื่อนไหวของจำเลยกล่าวข้อความพูดถึงงบประมาณที่นำมาแจกประชาชนและงบประชาสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์นั้นมาจากภาษีประชาชน ไม่ได้เป็นบุญคุณของรัฐบาลหรือสถาบันกษัตริย์ การกดขี่ประชาชนให้จนแล้วนำเงินมาแจก ให้ประชาชนรู้สึกเป็นบุญคุณ จะได้ง่ายต่อการปกครอง ทั้ง ๆ ที่ประชาชนควรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากเงินภาษีของตนเอง ตอนท้ายจำเลยได้ทำปากพูดคำว่า “พระมหา” โดยไม่ออกเสียง ก่อนตามด้วยด้วยการกล่าวคำว่า “กรุณาธิคุณ”
เมื่อบุคคลที่สามได้เห็นคลิปดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า กษัตริย์รัชกาลที่ 10 นำเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินภาษีซึ่งเป็นของประชาชนไปแจกประชาชน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับพระองค์เอง เป็นเงินจำนวนปีละหมื่น ๆ ล้านบาท รวมทั้งกดขี่ให้ประชาชนยากจน แล้วนำเงินไปแจก เพื่อให้ประชาชนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้ปกครองได้โดยง่าย อันเป็นการใส่ความรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อความเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังอย่างร้ายแรง และเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.648/2565 ลงวันที่ 10 พ.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 20-05-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเวลาประมาณ 11.00 น. ลลิตา มีสุข พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกของ สน.นางเลิ้ง ในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
คณะพนักงานสอบสวนตามคําสั่งของกองบังคับการตํารวจนครบาล 1 ได้แก่ พ.ต.อ.ภูมิยศ เหล็กกล้า ผู้กำกับกลุ่มงานสอบสวนฯ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1, พ.ต.ท.อธิชย์ คอนนันชัย รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง, ร.ต.ท.ปฏิภาน อินเอี่ยม รองสารวัตร (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาในคดีให้ลลิตาทราบว่า อภิวัฒน์ ขันทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและดําเนินคดีแก่ผู้เผยแพร่ ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (คตส.) ตามคําสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 32/2563 ลง 21 ก.ย. 2563 ได้แจ้งความให้สืบสวนสอบสวนดําเนินคดีกับลลิตา
เนื่องจากอภิวัฒน์ได้ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 มีผู้ใช้บัญชีแอปพลิเคชั่น TikTok ชื่อ “ลลิตา มีสุข” โพสต์วีดิโอเป็นสาธารณะ บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ปรากฏถ้อยคำพูดว่า “ไม่มีบุญคุณเท่ากับคนที่เอาเงินประชาชนไปแจกประชาชนด้วยกันเองหรอกค่ะ เอาเงินประชาชนไป พีอาร์(PR)ตัวเองค่ะ งบพีอาร์(PR) ปีละหมื่นๆ ล้านค่ะ ไม่มีบุญคุณขนาดนั้นหรอกค่ะ นะคะ บีบให้จนแล้วแจก กดให้โง่แล้วปกครอง เกิดขึ้นในกะลาแลนด์เท่านั้นนะคะ แล้วก็ไปซาบซึ้งบุญคุณซึ่งความเป็นจริงเราควรจะได้คุณภาพชีวิตที่ดี เราควรที่จะมีอยู่ดีมีสุข ไม่ใช่กดให้จนข้นแค้นในชีวิตเสร็จแล้ว เขาก็โปรยเศษเงินแจก ท้ายที่สุดมานั่งก้มกราบ สํานึกใน “พระมหา(พูดไม่ออกเสียง) กรุณาธิคุณ คนแบบนั้นเหรอคะ คือมีบุญคุณของพวกคุณ เงินพวกคุณทั้งนั้นคะ ง่ายๆ ค่ะ ง่ายๆ มาก ไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้า ไอคิว(IQ) รู้เรื่อง”
บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุว่า ถ้อยคําพูดในวีดิโอดังกล่าว เป็นการกล่าวหา หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เป็นการเสียดสี ใส่ร้ายพระมหากษัตริย์ ทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ และอาจทําให้ประชาชนที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเช่นนั้น อาจก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนได้ อันมิใช่เป็นการกระทำความความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 6 และเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย
การที่ลลิตานำคลิปวิดีโอไปเผยแพร่ใน TikTok ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ จึงถือเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
พนักงานสอบสวนจึงแจ้ง 2 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ลลิตาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ ประชาไทรายงานว่า คลิปที่ลลิตาถูกกล่าวหานั้น เป็นคลิปที่โพสต์ตอบคอมเมนต์ในคลิป TikTok ของเธอคลิปอีกหนึ่ง ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล
หลังรับทราบข้อกล่าวหา ทนายความของผู้ต้องหาได้เปิดเผยว่า ตอนแรกคาดว่าจะมีการนำตัวไปฝากขังที่ศาลในวันนี้ แต่ทางผู้กำกับพิจารณาให้ปล่อยตัวไปก่อน พร้อมกำหนดนัดส่งตัวอัยการในวันที่ 13 ก.ค. 2564
ลลิตาเปิดเผยกับประชาไทว่า เธอปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เพราะว่าสิ่งที่พูดนั้นไม่มีอะไรที่ผิดเลย เธอมีเจตนาเพียงวิจารณ์รัฐบาลเท่านั้น
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.นางเลิ้ง ลงวันที่ 20 พ.ค. 2564, https://tlhr2014.com/archives/29954 และ https://prachatai.com/journal/2021/05/93109) -
วันที่: 27-08-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดลลิตามารายงานตัว และนำตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 โดยเลื่อนนัดมาจากวันที่ 13 ก.ค. 2564 ที่นัดไว้เดิม
-
วันที่: 18-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง นัดฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 22 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 22-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง นัดฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 19 ม.ค. 2565
-
วันที่: 19-01-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง นัดฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 2 มี.ค. 2565
-
วันที่: 02-03-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง
-
วันที่: 10-05-2022นัด: ยื่นฟ้องลลิตาเดินทางไปศาลอาญากรุงเทพใต้ในนัดฟังคำสั่งอัยการ หลังอัยการนัดหมายทุกเดือน ก่อนแจ้งล่วงหน้าว่า อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีแล้วและจะยื่นฟ้องในวันนี้
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ลลิตา มีสุข ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดฐาน “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยกล่าวหาว่า ลลิตาโพสต์คลิปวิดีโอสั้นในแอปพลิเคชัน TikTok วิจารณ์การใช้ภาษีประชาชนพาดพิงกษัตริย์
พนักงานอัยการบรรยายพฤติการณ์คดีไว้ในคำฟ้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 จำเลยได้โพสต์คลิปสั้นใน TikTok เป็นภาพเคลื่อนไหวของจำเลยพูดถึง งบประมาณที่นำมาแจกประชาชนและงบประชาสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์นั้นมาจากภาษีประชาชน ไม่ได้เป็นบุญคุณของรัฐบาลหรือสถาบันกษัตริย์ การกดขี่ประชาชนให้จนแล้วนำเงินมาแจก ให้ประชาชนรู้สึกเป็นบุญคุณ จะได้ง่ายต่อการปกครอง ทั้ง ๆ ที่ประชาชนควรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากเงินภาษีของตนเอง โดยอัยการระบุว่า ช่วงหนึ่งของคลิป จำเลยได้ทำปากพูดคำว่า “พระมหา” โดยไม่ออกเสียง ก่อนตามด้วยด้วยการกล่าวคำว่า “กรุณาธิคุณ”
อัยการระบุว่า เมื่อบุคคลที่สามได้เห็นคลิปของลลิตา ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่ากษัตริย์รัชกาลที่ 10 นำเงินภาษีของประชาชนไปแจกประชาชนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับตัวพระองค์เอง เป็นเงินจำนวนปีละหมื่น ๆ ล้านบาท รวมทั้งกดขี่ให้ประชาชนยากจน แล้วนำเงินไปแจก เพื่อให้ประชาชนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้ปกครองได้โดยง่าย อันเป็นการใส่ความรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อความเท็จ ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง
หลังจากอัยการยื่นฟ้อง โดยไม่คัดค้านการปล่อยชั่วคราว ศาลได้รับฟ้องและอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นพิจารณา โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันเป็นเงิน 200,000 บาท เป็นเงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังได้กำหนดเงื่อนไข “ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเดียวกันกับที่ถูกฟ้อง ห้ามโพสต์ข้อความหรือกระทำการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเสื่อมเสีย ด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล” นัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 25 ก.ค. 2565
ทั้งนี้ คลิปที่เป็นต้นเหตุให้ลลิตาถูกฟ้องคดีนั้น มีรายงานข่าวจากประชาไทว่า เป็นคลิปที่โพสต์ตอบคอมเมนต์ในคลิป TikTok ของเธอคลิปอีกหนึ่ง ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล ลลิตาเปิดเผยเมื่อครั้งที่ได้รับหมายเรียกในคดีนี้ว่า “เนื้อหาในคลิปนั้นทั้งหมดแทบจะไม่ได้พูดถึงสถาบันฯ เพราะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสถาบันฯ เป็นการพูดถึงรัฐบาลล้วน ๆ จึงมองว่าผู้แจ้งความอาจตีความผิดไปว่าเราอาจกล่าวถึงสถาบันฯ”
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.648/2565 ลงวันที่ 10 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43753) -
วันที่: 11-07-2023นัด: สืบพยานโจทก์ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนพิจารณาคดี เนื่องจากทนายจำเลยติดโควิด โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ไปเป็นวันที่ 28-30 พ.ย. 2566 และสืบพยานจำเลยวันที่ 12 ธ.ค. 2566
-
วันที่: 25-07-2023นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 11-13 ก.ค. 2566 และนัดสืบพยานจำเลย วันที่ 14 ก.ค. 2566
-
วันที่: 28-11-2023นัด: สืบพยานโจทก์ก่อนเริ่มสืบพยาน ลลิตาแถลงขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และขอให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง พร้อมทั้งขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพภายใน 30 วัน ศาลอนุญาตและมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจความประพฤติจำเลยรายงานต่อศาลภายใน 30 วัน นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 29 ม.ค. 2567 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.648/2565 ลงวันที่ 28 พ.ย. 2566) -
วันที่: 29-01-2024นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณา 601 ลลิตาและทนายความมานั่งรอในห้องพิจารณา มีญาติและนักกิจกรรมเดินทางมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีสื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนมาร่วมฟังคำพิพากษาด้วย
เวลา 10.14 น. ศาลออกนั่งและอ่านคำพิพากษา สรุปใจความได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน
พิเคราะห์รายงานสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า จำเลยได้สำนึกในการกระทำ โดยได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษ รวมถึงได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม และได้ลบแอปพลิเคชั่น TikTok ที่ใช้โพสต์คลิปวิดีโอตามฟ้องแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีสักครั้ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
หลังอ่านคำพิพากษา เพื่อน ๆ ได้เข้ามาแสดงความยินดีกับลลิตา ก่อนออกมาถ่ายรูปร่วมกันภายนอกศาลและแยกย้ายกันกลับ
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.648/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.176/2567 ลงวันที่ 29 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/64175) -
วันที่: 02-09-2024นัด: คดีถึงที่สุดพนักงานอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์ คดีถึงที่สุด
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ลลิตา มีสุข
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ลลิตา มีสุข
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ณัฐณิช สันติเมธวิรุฬ
- บุญชัย ภูรีเสถียร
- สุภชัย สุจริตวณิชพงศ์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
29-01-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์