ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • นพดล พรหมภาสิต เลขา ศชอ. (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป

ผู้กล่าวหา
  • นพดล พรหมภาสิต เลขา ศชอ. (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • นพดล พรหมภาสิต เลขา ศชอ.

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • นพดล พรหมภาสิต เลขา ศชอ.

ความสำคัญของคดี

"บี๋" นิราภร อ่อนขาว และ "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักศึกษา และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) หลังเลขา ศชอ. กลุ่มที่มีแนวคิดปกป้องสถาบันกษัตริย์ เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีแอดมินเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ซึ่งโพสต์ข้อความจำนวน 3 โพสต์ ในเดือน ส.ค. 63, ม.ค. และ ต.ค. 64 เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น นอกจากนั้นจากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า นพดล พรหมภาสิต ได้เข้าดำเนินคดีประชาชนในข้อหามาตรา 112 อย่างน้อย 6 คดี

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหามีใจความโดยสรุปว่า

นพดล พรหมภาสิต ได้มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดําเนินคดีกับ ผู้ใช้บัญชีเพจเฟซบุ๊กชื่อ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” โดยผู้กล่าวหาได้กล่าวหาว่า บัญชีดังกล่าวมีการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทกษัตริย์ จำนวน 3 โพสต์ ดังนี้

1. เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 เวลา 22.12 น. เพจดังกล่าวโพสต์ประกาศกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1 โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้อง เพื่อให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้

2. เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2564 เวลา 10.34 น. เพจดังกล่าวได้โพสต์ข้อความว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) #ภาษีกู #ยกเลิก112” พร้อมกับรูปภาพกษัตริย์รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ถูกพ่นสีสเปรย์ข้อความว่า “ยกเลิก 112” และ “ภาษีกู” จํานวน 9 ภาพ

3. เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 เวลา 13.32 น. เพจดังกล่าวได้โพสต์ภาพกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ที่มีการตัดต่อล้อเลียนให้เสื่อมเสีย จํานวน 1 ภาพ พร้อมกับเนื้อหาที่ระบุถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

ต่อมา จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า นิราภรและปนัสยาเป็นแอดมินและเป็นผู้ใช้งานบัญชีเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว จึงเชื่อว่าได้ร่วมกันโพสต์ข้อความและรูปภาพทั้ง 3 โพสต์ดังกล่าวข้างต้น

(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา บก.ปอท. ลงวันที่ 17 พ.ย. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นิราภร อ่อนขาว หรือ “บี๋” นักศึกษาปี 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียกในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และได้โพสต์ข้อความจำนวน 3 โพสต์

    ก่อนหน้านี้นิราภร และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้รับหมายเรียกลงวันที่ 20 ต.ค. 2564 โดยคดีมี นพดล พรหมภาสิต เลขาศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เป็นผู้กล่าวหา เดิมรุ้งนัดหมายเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในวันเดียวกันนี้ แต่ไม่ได้รับการประกันตัวในคดีแต่งครอปท็อปเดินสยามพารากอนเสียก่อน

    พ.ต.ท.วิพัฒน์ รัชอินทร์ และ ร.ต.อ.ปิยวัฒน์ ปรัญญา แจ้งข้อกล่าวหานิราภร พฤติการณ์โดยสรุประบุว่า นพดล พรหมภาสิต ได้มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดําเนินคดีกับ ผู้ใช้บัญชีเพจเฟซบุ๊กชื่อ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” โดยกล่าวหาว่า บัญชีดังกล่าวมีการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทกษัตริย์ จำนวน 3 โพสต์ ดังนี้

    1. เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 เวลา 22.12 น. เพจดังกล่าวโพสต์ประกาศกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1 โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้อง เพื่อให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้

    2. เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2564 เวลา 10.34 น. เพจดังกล่าวได้โพสต์ข้อความว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) #ภาษีกู #ยกเลิก112” พร้อมกับรูปภาพกษัตริย์รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ถูกพ่นสีสเปรย์ข้อความว่า “ยกเลิก 112” และ “ภาษีกู” จํานวน 9 ภาพ

    3. เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 เวลา 13.32 น. เพจดังกล่าวได้โพสต์ภาพกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ที่มีการตัดต่อล้อเลียนให้เสื่อมเสีย จํานวน 1 ภาพ พร้อมกับเนื้อหาที่ระบุถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

    ต่อมา จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า นิราภรและปนัสยาเป็นแอดมินและเป็นผู้ใช้งานบัญชีเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว จึงเชื่อว่าได้ร่วมกันโพสต์ข้อความและรูปภาพทั้ง 3 โพสต์ดังกล่าวข้างต้น

    พนักงานสอบสวนจึงแจ้ง 2 ข้อกล่าวหาต่อนิราภร ได้แก่ ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้มูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    นิราภรให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 ส่วน ปนัสยา ผู้ถูกกล่าวหาอีกรายในคดีนี้ พนักงานสอบสวนจะเข้าทำการแจ้งข้อกล่าวหาในภายหลังหากยังถูกคุมขังในเรือนจำ

    หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ นิราภรได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ถูกควบคุมตัวไว้ เนื่องจากมาตามหมายเรียกและไม่มีพฤติการณ์หลบหนี

    จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า นพดล พรหมภาสิต ได้เข้าดำเนินคดีประชาชนในข้อหามาตรา 112 อย่างน้อย 6 คดี

    ทั้งนี้ นิราภรและปนัสยาเคยถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจาก บก.ปอท. เข้าแสดงหมายจับ ในข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กล่าวหาว่าทั้งสองเป็นแอดมินเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่โพสต์ให้ประชาชนออกไปชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก่อนนิราภรถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีแรกในครั้งนี้อีก จากการถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมิจเพจดังกล่าวเช่นกัน

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 17 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37940)
  • “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียกในคดีนี้ หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

    หลังพนักงานสอบสวน บก.ปอท.แจ้งพฤติการณ์คดีและข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับที่แจ้งนิราภรแล้ว ปนัสยาได้ให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และให้การเพิ่มเติมใน 5 ประเด็น ดังนี้

    1. ตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของนพดล พรหมภาษิต ผู้กล่าวโทษนั้น เธอยังไม่เข้าใจข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาที่มีข้อกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย และมีที่สงสัยอยู่หลายประการ อีกทั้งข้อกล่าวหาก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อความที่อ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้น เป็นข้อความใดและมีความหมายอย่างไร
    2. ขอให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกนพดล พรหมภาษิต ผู้กล่าวโทษ มาให้การเพิ่มเติมและอธิบายให้แจ้งชัดในคำกล่าวโทษว่า ข้อความส่วนไหน หรือประโยคใดเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ เพื่อให้เธอได้เข้าใจข้อหาได้ดี
    3. ที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินเลยไปกว่าข้อความอันปรากฏอยู่ในข้อเท็จจริงในคดีนี้ อย่างปราศจากความเป็นจริง อีกทั้งพนักงานสอบสวนไม่ได้ใช้ดุลยวินิจฉัยโดยชอบด้วยเหตุผลและด้วยความชอบธรรม
    4. คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ในการรับแจ้งความนั้น ขอให้พนักงานสอบสวนได้พิจารณาและตระหนักถึงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายต้องการให้พนักงานสอบสวนเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้แสดงความบริสุทธิ์ด้วย ไม่ควรเชื่อแต่คำกล่าวโทษแต่เพียงประการเดียว เพราะการเป็นคดีความย่อมสร้างภาระให้กับผู้ต้องหา มีผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการศึกษาของผู้ต้องหา ทั้งนี้ การกล่าวหาในคดีนี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจะปิดกั้นกลั่นแกล้งไม่ให้ผู้ต้องหาทำกิจกรรม หรือให้หยุดการเคลื่อนไหวทางการเมือง
    รวมไปถึงผู้กล่าวหาก็เป็นประชาชนธรรมดา หาได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงไม่ ข้อกล่าวหาดังกล่าวย่อมมีข้อสงสัย และข้อพิรุธหลายประการ ซึ่งอาจจะมาจากอคติความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองอยู่ในข้อกล่าวหานั้น ขอให้พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลยวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงก่อนตัดสินใจรับไว้เป็นคดี ซึ่งจะสร้างภาระและผลกระทบต่อผู้ต้องหาเป็นอย่างยิ่ง
    5. ผู้ต้องหามีความประสงค์จะดำเนินคดีกับนายนพดล พรหมภาษิต ในข้อหาแจ้งความเท็จกับพนักงานสอบสวน

    ด้านพนักงานสอบสวนได้ให้ปนัสยาทำคำให้การดังกล่าวเป็นหนังสือมาอีกครั้ง โดยกำหนดยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 15 ม.ค. 2565

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37940)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นิราภร อ่อนขาว

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์