ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1625/2564
ผู้กล่าวหา
- อานนท์ กลิ่นแก้ว (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1625/2564
ผู้กล่าวหา
- อานนท์ กลิ่นแก้ว
ความสำคัญของคดี
"จัสติน" ชูเกียรติ แสงวงค์ นักกิจกรรมกลุ่ม "ราษฎร" อีกรายจากจังหวัดสมุทรปราการ ผู้แต่งกายคอสเพลย์เป็น “จัสติน” ถูกอานนท์ กลิ่นแก้ว อดีตหัวหน้าการ์ด กปปส. แจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการปราศรัยเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในการชุมนุมของกลุ่มราษฎร บริเวณสถานีรถไฟฟ้า MRT ท่าพระ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ดุสิต เพิ่มเจริญ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน 2 บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยต่อประชาชนผู้ร่วมชุมนุมของ “กลุ่มคณะราษฎรฝั่งธน” ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มชุมนุมกันประมาณ 700 คน และประชาชนโดยทั่วไป ที่บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า MRT บริเวณสี่แยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และประชาชนโดยทั่วไปที่มีการรับรู้จากการเผยแพร่ออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต อาทิเช่น ช่องทาง YouTube และแอปพลิเคชั่น Facebook เพจ “ไดร์โว่เพชร” ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ในการปราศรัยมีถ้อยความตอนหนึ่งว่า
“...เราไม่ได้ต้องการอยากจะยึดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดสมบัติในท้องพระคลังของท่านมาแจกจ่ายราษฎร ให้ราษฎรได้ลืมตาอ้าปากครับ ไม่ใช่ท่านจะรับสามสี่ทาง…, ท่านพูดมาเลยเสนอมาเลยท่านต้องการเงินเดือนเท่าไร, ประชาชนพร้อมจะจ่ายภาษีให้ท่านแน่นอน แต่อย่ามาเอา เปรียบประชาชนแบบนี้นะครับ…, ท่านมาเบียดเบียนราษฎรไม่ได้ มันไม่ถูกต้อง..., ที่นาที่ทํากินของราษฎรบางที่เป็นขุมทรัพย์สมบัติของพวกเขา ท่านยังตีตกไปเป็นของหลวงของราษฎร จริงๆ มันเป็นของราษฎร ไม่ใช่ของท่านคนเดียว ฯลฯ...”
คำปราศรัยดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และ ถูกเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญาตลิ่งชัน คดีหมายเลขดำที่ อ.1625/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564)
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยต่อประชาชนผู้ร่วมชุมนุมของ “กลุ่มคณะราษฎรฝั่งธน” ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มชุมนุมกันประมาณ 700 คน และประชาชนโดยทั่วไป ที่บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า MRT บริเวณสี่แยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และประชาชนโดยทั่วไปที่มีการรับรู้จากการเผยแพร่ออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต อาทิเช่น ช่องทาง YouTube และแอปพลิเคชั่น Facebook เพจ “ไดร์โว่เพชร” ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ในการปราศรัยมีถ้อยความตอนหนึ่งว่า
“...เราไม่ได้ต้องการอยากจะยึดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดสมบัติในท้องพระคลังของท่านมาแจกจ่ายราษฎร ให้ราษฎรได้ลืมตาอ้าปากครับ ไม่ใช่ท่านจะรับสามสี่ทาง…, ท่านพูดมาเลยเสนอมาเลยท่านต้องการเงินเดือนเท่าไร, ประชาชนพร้อมจะจ่ายภาษีให้ท่านแน่นอน แต่อย่ามาเอา เปรียบประชาชนแบบนี้นะครับ…, ท่านมาเบียดเบียนราษฎรไม่ได้ มันไม่ถูกต้อง..., ที่นาที่ทํากินของราษฎรบางที่เป็นขุมทรัพย์สมบัติของพวกเขา ท่านยังตีตกไปเป็นของหลวงของราษฎร จริงๆ มันเป็นของราษฎร ไม่ใช่ของท่านคนเดียว ฯลฯ...”
คำปราศรัยดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และ ถูกเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญาตลิ่งชัน คดีหมายเลขดำที่ อ.1625/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 23-12-2020นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 11.00 น. ที่ สน.ท่าพระ ชูเกียรติ แสงวงค์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ซึ่งมีอานนท์ กลิ่นแก้ว อดีตหัวหน้าการ์ด กปปส. เป็นผู้กล่าวหา
พ.ต.ท.กิติ กิจประชุม รองผู้กำกับ (สอบสวน) และ พ.ต.ท.ธรรมกฤต ศรีประเทือง สารวัตร (สอบสวน) สน.ท่าพระ ได้แจ้งข้อกล่าวหาโดยบรรยายพฤติการณ์การกระทำความผิดของชูเกียรติโดยสรุปว่า
ในการชุมนุมที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า MRT ท่าพระ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 ชูเกียรติได้ขึ้นพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีข้อความคําพูดบางช่วงมีใจความว่า
“เราไม่ได้ต้องการจะยึดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดอํานาจของท่าน เพียงแค่ลดสมบัติของท่านในท้องพระคลังของท่านมาแจกจ่ายราษฎร ให้ราษฎรได้ลืมตาอ้าปากครับ ไม่ใช่ท่านจะรับสามสี่ทาง,
ท่านพูดมาเลยเสนอมาเลย ท่านต้องการเงินเดือนเท่าไร ประชาชนพร้อมจะจ่ายภาษีให้ท่านแน่นอน แต่อย่ามาเอาเปรียบประชาชนแบบนี้นะครับ ท่านมาเบียดเบียนราษฎรไม่ได้มันไม่ถูกต้อง,
ที่นาที่ทํากินของราษฎรบางที่เป็นขุมทรัพย์สมบัติของพวกเขา ท่านยังตีตกไปเป็นของหลวง ที่จริงๆ มันเป็นของราษฎร ไม่ใช่ของท่านคนเดียว ฯลฯ”
บันทึกข้อกล่าวหาระบุว่าคำพูดดังกล่าว “ฟังได้ว่าเป็นการดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท ทําให้เสื่อมพระเกียรติ ทําให้ถูกเกลียดชังต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” จึงแจ้งข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ชูเกียรติได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน เขายังปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา แต่เขียนข้อความประกอบว่า “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ เอวลอย คอยรัก” โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้ปล่อยตัวชูเกียรติไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
ทั้งนี้ ‘จัสติน’ หรือชูเกียรติ ถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 ครั้งนี้ถือเป็นคดีที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้ถูกกล่าวหาจากเหตุจากปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ18พฤศจิกา หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
วันเดียวกัน ลำไย จันทร์งาม ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกพยานในคดีการชุมนุมบริเวณรถไฟฟ้า MRT ท่าพระ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 เช่นเดียวกัน โดยลำไยได้รับหมายเรียกพยาน หลังจากเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ไปรับทราบข้อกล่าวหาและเสียค่าปรับฐานใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต จากเหตุชุมนุมครั้งดังกล่าว
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ท่าพระ ลงวันที่ 23 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24392) -
วันที่: 15-01-2021นัด: สอบพยานเด็กและเยาวชนรวม 4 ราย เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกพยาน โดยมีผู้ปกครอง และที่ปรึกษากฎหมายเป็นบุคคลผู้ไว้วางใจ และมีนักจิตวิทยาและอัยการที่เด็กและเยาวชนร้องขอให้เข้าร่วมการสอบปากคำพยาน ซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ชุมนุมในคดีนี้
พนักงานสอบสวนได้สอบถามทั้ง 4 ว่ามาในวันที่เกิดเหตุหรือไม่ และมีความเข้าใจข้อความที่พนักงานสอบสวนระบุว่า ชูเกียรติกล่าวปราศรัยหรือไม่ และเข้าใจว่าอย่างไร -
วันที่: 23-02-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดส่งตัวชูเกียรติพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน 2
-
วันที่: 23-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการเลื่อนฟังคำสั่งไปวันที่ 28 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 28-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)ดุสิต เพิ่มเจริญ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชัน 2 มีคำสั่งฟ้องคดี และยื่นฟ้องต่อศาลอาญาตลิ่งชัน ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ท้ายฟ้อง อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว โดยขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล แต่ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่นของศาลอาญา, ศาลอาญาพระโขนง, ศาลอาญาธนบุรี และศาลอาญากรุงเทพใต้ อีก 6 คดี ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาในชั้นศาลเช่นกัน
ภายหลังศาลรับฟ้อง ได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวชูเกียรติระหว่างพิจารณาคดี ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 250,000 บาท ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ นัดสอบคำให้การในวันที่ 24 ม.ค. 2565
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญาตลิ่งชัน คดีหมายเลขดำที่ อ.1625/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/39897) -
วันที่: 24-01-2022นัด: สอบคำให้การชูเกียรติเดินทางไปศาลในนัดสอบคำให้การ แต่เนื่องจากทนายความที่ชูเกียรติแต่งตั้งแล้วต้องกักตัว หลังจากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ศาลจึงให้เลื่อนไปนัดพร้อม พร้อมกับตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 28 ก.พ. 2565 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญาตลิ่งชัน คดีหมายเลขดำที่ อ.1625/2564 ลงวันที่ 24 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39897) -
วันที่: 28-02-2022นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานเนื่องจากชูเกียรติต้องกักตัว ศาลจึงให้เลื่อนไปนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานออกไปเป็นวันที่ 29 มี.ค. 2565 เวลา 13.30 น.
-
วันที่: 29-03-2022นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง ชูเกียรติยืนยันให้การปฏิเสธ อัยการแถลงประสงค์จะนำพยานบุคคลเข้าสืบ 9 ปาก ได้แก่ ผู้กล่าวหา, ผู้อยู่ในเหตุการณ์และรับฟังการปราศรัย, นักวิชาการผู้ให้ความเห็น, ตำรวจผู้สืบสวนและถอดเทปถ้อยคําปราศรัย, ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในที่ชุมนุมและเห็นการปราศรัย และพนักงานสอบสวน ใช้เวลาสืบ 3 นัด ทนายจําเลยแถลงประสงค์จะสืบพยานบุคคลรวม 3 ปาก ได้แก่ จำเลย, นักสิทธิมนุษยชน และผู้ให้ความเห็น ใช้เวลาสืบพยาน 1 นัด
นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 22-24 มี.ค. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 28 มี.ค. 2566
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญาตลิ่งชัน คดีหมายเลขดำที่ อ.1625/2564 ลงวันที่ 29 มี.ค. 2565) -
วันที่: 22-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์เวลา 10.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดีในนัดสืบพยานโจทก์วันแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากชูเกียรติมีอาการป่วย และปวดหัวรุนแรง จากการประสบอุบัติเหตุทางจราจร ศีรษะกระแทกพื้น โดยแพทย์ลงความเห็นว่าจำเลยจะต้องพักรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 21 – 25 มี.ค. 2566 ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีได้
อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ให้สืบพยานลับหลังจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ (4) แต่ทนายจำเลยแถลงคัดค้าน เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษสูง ในการต่อสู้คดีต้องปรึกษากับจำเลย จึงต้องการให้สืบพยานต่อหน้าจำเลย อีกทั้งมีเอกสารจำนวนมากที่เตรียมใช้ถามค้านพยานโจทก์
ศาลได้ขอไปปรึกษากับอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาตลิ่งชัน ก่อนจะกลับเข้ามาที่ห้องพิจารณา อ่านคำสั่งต่อคำร้องขอเลื่อนคดีมีใจความสำคัญระบุว่า
“พิเคราะห์แล้ว คำร้องขอเลื่อนคดีและสำเนาใบรับรองแพทย์ จำเลยประสบอุบัติเหตุ ในวันที่ 13 มี.ค. 2566 โดยแพทย์ได้ลงความเห็นว่าควรพักฟื้นตั้งแต่วันที่ 13 – 21 มี.ค. 2566 และต่อมาจำเลยได้เข้าพบแพทย์อีกในวันที่ 21 มี.ค. 2566 โดยระบุว่าอาการปวดศีรษะยังไม่ทุเลาลง ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นว่าควรพักรักษาตั้งแต่วันที่ 21 – 25 มี.ค. 2566
“ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าอาการบาดเจ็บรุนแรง มีเพียงอาการปวดศีรษะ จำเลยได้พักรักษามาเป็นเวลานาน น่าเชื่อว่ารักษาอาการบาดเจ็บแล้ว และการที่แพทย์ระบุว่าอาการป่วยเพียงเวียนศีรษะ จำเลยไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรงถึงขนาดมาศาลไม่ได้ จึงถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี หลีกเลี่ยงไม่มาศาล ให้ออกหมายจับจำเลย และปรับผู้ประกันเต็มสัญญาประกัน”
สำหรับนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 มี.ค. 2566 ศาลให้จำเลยเดินทางมาศาลตามนัดเดิม เนื่องจากเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยของจำเลยไม่ได้มีความรุนแรงถึงขนาดมาเข้าร่วมพิจารณาคดีไม่ได้
ในคดีนี้ ชูเกียรติเคยได้รับการประกันตัว ภายหลังจากที่อัยการฟ้อง ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 250,000 บาท ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54626)
-
วันที่: 23-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกครั้ง ระบุว่า ชูเกียรติยังไม่สามารถเดินทางมาศาลในวันนี้ได้ มีอาการป่วย หน้ามืด และมีอาการบ้านหมุน โดยแพทย์ได้ฉีดยาให้ 1 เข็ม ในเช้าวันนี้ก็ยังมีอาการมึนและปวดหัว ตลอดจนอาการง่วงนอนจากฤทธิ์ยา พร้อมกับแนบใบรับรองแพทย์
แต่ศาลยังคงคำสั่งเช่นเดิม โดยระบุว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ได้ออกหมายจับจำเลยไปแล้ว และระบุว่าไม่แน่ใจว่าจะสามารถจับกุมจำเลยได้เมื่อใด จึงเห็นสมควรให้จำหน่ายคดีออกชั่วคราว จนกว่าจะนำตัวจำเลยมาศาลได้ และให้ยกเลิกนัดสืบพยานเดิม และหากจำเลยไม่ปรากฏตัวภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหมายจับ จะมีการพิจารณาคดีตามที่เห็นสมควรต่อไป
ต่อมาเวลา 13.30 น. ชูเกียรติซึ่งยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า “สุดท้ายศาลก็ยังออกหมายจับผม ผมขอประกาศตรงนี้เลยว่า ผมไม่มีพฤติกรรมหลบหนีแน่นอนและผมยังนอนรักษาตัวเองอยู่ เมื่อผมหายดีผมจะเดินทางไปมอบตัวพร้อมกับทนายของผมเอง ไม่ต้องมาตามจับผมให้เสียเวลา
“เมื่อผมอาการดีขึ้นผมไหวผมจะเดินทางไปศาลด้วยตัวเองกับทนายและนายประกันของผม ประกาศตรงนี้และย้ำตรงนี้เลยนะครับ ถึงตำรวจทุกคนที่จะมาจับผม ตอนนี้ผมขอพักฟื้นร่างกายตัวเองก่อน เพราะผมมีนัดสืบอีกหลายคดีที่ใกล้สืบพยานจบแล้ว ผมไม่หนีไปไหนแน่นอนผมหายดีผมจะติดต่อขอมอบตัวด้วยตัวเอง”
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54626) -
วันที่: 30-03-2023นัด: มอบตัวตามหมายจับชูเกียรติเดินทางเข้ามอบตัวต่อศาลอาญาตลิ่งชันพร้อมกับนายประกัน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้มีพฤติการณ์ประวิงคดี หลังถูกออกหมายจับ กรณีที่ชูเกียรติมีอาการป่วยและบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุทางจราจร จึงไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ในนัดสืบพยาน
นอกจากนี้นายประกันได้ยื่นคำร้องของดค่าปรับนายประกัน พร้อมทั้งขอปล่อยชั่วคราวจำเลยโดยใช้หลักประกันและสัญญาประกันเดิม และเพิกถอนหมายจับ
ศาลได้รับตัวจำเลยไว้ ซึ่งนายประกันเปิดเผยว่า ศาลได้มีการปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาคำร้องของดค่าปรับนายประกัน ก่อนที่จะมีคำสั่งงดไม่ปรับนายประกันในสัญญาเดิมที่เป็นจำนวน 250,000 บาท แต่ให้ปรับนายประกันเพียง 50,000 บาท และให้รอฟังผลประกันตัวจำเลย
ต่อมาในเวลา 16.12 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันชูเกียรติ ระบุคำสั่งว่า “เมื่อจำเลยชำระค่าปรับแล้ว จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ให้ใช้สัญญาและหลักประกัน เงื่อนไขประกันเดิม กำชับให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด”
เมื่อชูเกียรติเข้ามอบตัวแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ โดยนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานอีกครั้ง ในวันที่ 29 พ.ค. 2566 เวลา 13.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54994) -
วันที่: 29-05-2023นัด: พร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่ โดยนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 18, 19 ต.ค., 2 พ.ย. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 3 พ.ย. 2566
-
วันที่: 18-10-2023นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าสืบ 2 ปาก ได้แก่ อานนท์ กลิ่นแก้ว ศปปส. ผู้แจ้งความ และประมวล พรมโสดา พยานที่อยู่ในเหตุการณ์
-
วันที่: 19-10-2023นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าสืบอีก 2 ปาก ได้แก่ กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ และสุชาติ เอกจีน วินมอเตอร์ไซค์ที่เห็นเหตุการณ์
-
วันที่: 02-11-2023นัด: สืบพยานโจทก์
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์