ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.559/2565
แดง อ.758/2566
ผู้กล่าวหา
- สุริยัน ประสาร รับมอบอำนาจนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลตระการพืชผล (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.559/2565
แดง อ.758/2566
ผู้กล่าวหา
- สุริยัน ประสาร รับมอบอำนาจนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลตระการพืชผล
ความสำคัญของคดี
แต้ม (นามสมมติ) ผู้ป่วยจิตเวชวัย 31 ปี ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหา "ทำให้เสียทรัพย์" หลังทุบทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี รวม 3 แห่ง เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 ซึ่งแต้มให้การรับสารภาพ ระบุว่ามีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งการจากเบื้องบน โดยในช่วงแรกตำรวจยืนยันไม่แจ้งข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" เนื่องจากไม่เห็นว่าแต้มมีเจตนา แต่เมื่อสำนวนคดีไปถึงตำรวจภูธรภาค 3 กลับมีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวเพิ่มเติม แม้ว่าหากตีความและบังคับใช้มาตรา 112 โดยเคร่งครัด การทุบทำลายรูปก็ไม่น่าจะเข้าข่ายความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พ.ต.ท.ชยพัทธ์ ประสพดี พนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ บรรยายถึงพฤติการณ์คดีมาในคำฟ้องว่า
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 จําเลยได้ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ โดยใช้ท่อนไม้ไผ่ ท่อนเหล็ก ทุบทําลาย และใช้มือฉีก พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ซึ่งได้ประดิษฐานติดตั้งไว้ที่บริเวณหน้าโรงเรียนตระการพืชผล, ด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ และหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารตระการพืชผล อันเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตําบลตระการพืชผล ผู้เสียหาย จนพระบรมฉายาลักษณ์ได้รับความเสียหาย 3 รายการ รวมค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท
ทั้งนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว เทศบาลตําบลตระการพืชผล อันเป็นหน่วยงานราชการ ได้จัดทําขึ้นไว้เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี เป็นการเฉลิมพระเกียรติ เชิดชูเกียรติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และทรงเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย
ซึ่งขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และมีรัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
ดังนั้น การกระทําของจําเลยข้างต้น จึงเป็นการกระทําอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงออกมาด้วยประการใดว่าจะทําให้เสียหายในทางใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแก่ร่างกาย ทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณ อันมิใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยม นับเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทําให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทย ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2565)
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 จําเลยได้ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ โดยใช้ท่อนไม้ไผ่ ท่อนเหล็ก ทุบทําลาย และใช้มือฉีก พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ซึ่งได้ประดิษฐานติดตั้งไว้ที่บริเวณหน้าโรงเรียนตระการพืชผล, ด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ และหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารตระการพืชผล อันเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตําบลตระการพืชผล ผู้เสียหาย จนพระบรมฉายาลักษณ์ได้รับความเสียหาย 3 รายการ รวมค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท
ทั้งนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว เทศบาลตําบลตระการพืชผล อันเป็นหน่วยงานราชการ ได้จัดทําขึ้นไว้เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี เป็นการเฉลิมพระเกียรติ เชิดชูเกียรติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และทรงเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย
ซึ่งขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และมีรัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
ดังนั้น การกระทําของจําเลยข้างต้น จึงเป็นการกระทําอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงออกมาด้วยประการใดว่าจะทําให้เสียหายในทางใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภยันตรายแก่ร่างกาย ทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณ อันมิใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยม นับเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทําให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทย ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 06-11-2021นัด: จับกุมและแจ้งข้อกล่าวหาหลังมีผู้โพสต์รูปพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ของเทศบาลตำบลตระการพืชผล อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ถูกฉีกทำลาย ในช่วงเวลาประมาณ 11.05 น. ต่อมาในช่วงเย็นมีข่าวว่าตำรวจจับผู้ก่อเหตุได้แล้ว
เวลา 18.30 น. “ออฟ” นักกิจกรรมคณะอุบลปลดแอกซึ่งเดินทางไปที่ สภ.ตระการพืชผล เพื่อติดตามสถานการณ์ ได้พบว่า แต้ม (นามสมมติ) ชายวัย 31 ปี ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องสอบสวน ขณะที่แม่ของแต้ม เดินทางมาจาก ต.สะพือ พร้อมเสื้อผ้า อาหาร และยา ซึ่งเตรียมมาให้แต้ม ถึง สภ.ตระการฯ เช่นกัน ด้วยอาการที่ค่อนข้างหวาดกลัว
ตำรวจอนุญาตให้แม่และออฟได้เข้าเยี่ยมแต้มในห้องสอบสวน ระหว่างการพูดคุยโต้ตอบกับแม่ซึ่งร้องไห้และตำรวจ ออฟสังเกตว่า แต้มมีลักษณะคิดว่าตนเองเป็นคนอื่น
ทั้งนี้ ตำรวจได้ทำบันทึกการจับกุมเสร็จและให้แต้มเซ็นก่อนหน้าแล้ว โดยไม่มีทนายความและผู้ไว้วางใจของแต้มเข้าร่วม เนื้อหาในบันทึกจับกุมระบุว่า ชุดจับกุมประกอบด้วย ตำรวจสืบสวนจากตำรวจภูธรจังหวัดอุบลฯ, สภ.ตระการพืชผลและสันติบาลจังหวัดอุบลฯ
โดยเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ สภ.ตระการพืชผล เวลาประมาณ 12.00 น. พบว่ามีชายอายุประมาณ 30 ปี สวมกางเกงขาสั้นสีดํา เสื้อวอร์มแขนยาวสีน้ำเงิน ด้านหลังมีตัวอักษรปักคําว่า ราชนาวี ขับขี่รถจักรยานยนต์สีเทา-ดํา ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มาจอดที่บริเวณป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตำบลตระการพืชผล ที่บริเวณเกาะกลางถนนหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล และทุบทําลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์
เมื่อชุดจับกุมติดตามไปตามถนนที่มุ่งหน้าไปอําเภอเขมราฐ ถึงบริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารอําเภอตระการพืชผล พบชายแต่งกายตรงตามที่ได้รับแจ้ง ยืนอยู่ที่ป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ และพบรถจักรยานยนต์สีเทา-ดํา ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน จอดอยู่ที่บริเวณดังกล่าว จึงเข้าจับกุมนําตัวไปยัง สภ.ตระการพืชผล พร้อมยึดรถจักรยานยนต์เป็นของกลาง
บันทึกจับกุมยังระบุว่า จากการสอบถามของตำรวจ แต้มรับว่า ตนได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของตนเอง ออกจากบ้านพักเข้ามาที่อําเภอตระการพืชผล และก่อเหตุทําลายรูปรัชกาลที่ 10 รวม 3 จุด ได้แก่ บริเวณเกาะกลางถนนด้านหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล, บริเวณเกาะกลางถนนหน้าปั้มน้ำมันคาลเท็กซ์ และหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารอําเภอตระการพืชผล เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา “ทําให้เสียทรัพย์” โดยแต้มให้การรับสารภาพ
กระทั่งเวลาประมาณ 19.30 น. แต้มถูกนำตัวไปขังในห้องขัง พนักงานสอบสวนร้อยเวรแจ้งว่า จะสอบปากคำในเช้าวันรุ่งขึ้น แม่จึงเดินทางกลับ โดย วัฒนา จันทศิลป์ ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้โทรศัพท์แจ้งพนักงานสอบสวนว่า จะเข้าร่วมการสอบปากคำด้วย
จากการพูดคุยสอบถามเบื้องต้น แม่ให้ข้อมูลว่า แต้มมีอาการทางจิตหลังปลดประจำการทหารเกณฑ์จากกองทัพเรือ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งให้การรักษาผู้ป่วยจิตเวช โดยหมอให้ทานยาตลอด และมีบัตรผู้พิการ (ทางจิต) ก่อนเกิดเหตุ แต้มได้บอกกับพ่อแม่ว่าจะไปสมัครงาน จนเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ตำรวจได้ให้คนในหมู่บ้านมาบอกว่าลูกชายถูกจับ ด้านแม่เองก็ป่วย มีโรคประจำตัวหลายโรค
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สภ.ตระการพืชผล ลงวันที่ 6 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37526)
-
วันที่: 07-11-2021นัด: สอบปากคำกระบวนการในชั้นสอบสวนเริ่มในเวลาประมาณ 10.00 น. โดยมีทนายความเข้าร่วม พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา ทำให้เสียทรัพย์ แต้มให้การรับสารภาพและให้การเพิ่มเติมด้วย กล่าวโดยสรุปว่า ขณะก่อเหตุเขามีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งการมาจากเบื้องบนให้เขาทำลายป้ายที่เห็น เขาจึงทำไปโดยไม่รู้สึกตัวว่าเป็นป้ายอะไร แต่เมื่อขี่รถกลับบ้านได้ไตร่ตรองทบทวนจึงรู้ตัว และเข้าไปเล่าให้แม่ฟังด้วยความเสียใจ ก่อนออกจากบ้านมาอีกครั้งเพื่อไปเอาบัตรประชาชนที่หาย กระทั่งถูกตำรวจจับ
แต้มยังให้การเรื่องอาการป่วยของเขาด้วยว่า เป็นหลังจากที่เขาไปเป็นทหารเกณฑ์ เมื่อปลดประจำการแล้ว เขาต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ ปัจจุบันยังต้องไปพบหมอและกินยาตลอด โดยมีบัตรผู้พิการประเภท 4 เขารู้ตัวเองว่า ถ้าไม่กินยาจะมีอาการก้าวร้าว บางครั้งเข้าใจว่าตนเองเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 16 แต่เนื่องจากกินยาแล้วง่วง ทำให้เขาพยายามไม่กินยา ทั้งนี้ ทนายความได้นำส่งบัตรผู้พิการ และยาที่เขาทานเป็นประจำเป็นหลักฐานเข้าไปในสำนวนการสอบสวนด้วย
จากนั้น พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำแม่และผู้ใหญ่บ้านในฐานะพยาน แม่กับผู้ใหญ่บ้านก็ให้ปากคำเรื่องอาการป่วยและการรักษาของแต้ม โดยถ้าทานยาจะเป็นคนสุภาพ พูดจาโต้ตอบดี ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ทำงานในไร่ได้ ถ้าไม่ได้ทานยา จะมีอาการหงุดหงิด ใครพูดอะไรก็ไม่ฟัง
เมื่อแล้วเสร็จพนักงานสอบสวนได้แจ้งว่า จะส่งตัวแต้มไปขอศาลแขวงอุบลฯ ฝากขังในวันจันทร์ (8 พ.ย. 2564) เวลาประมาณ 09.00 น.
ทนายความเปิดเผยว่า ทราบว่า เมื่อคืน พล.ต.ต.สถาพร เอมโอษฐ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลฯ เดินทางมาสอบปากคำแต้มด้วยตัวเอง ก็คงเห็นแล้วว่า คดีไม่ได้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไร พรุ่งนี้ ทนายก็เตรียมยื่นประกันตัวในชั้นฝากขังที่ศาลแขวงอุบลฯ เนื่องจากข้อหา ทำให้เสียทรัพย์ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลแขวง คาดว่า ศาลก็คงเมตตาให้ประกันตัว ในส่วนของเงินประกันได้ขอความช่วยเหลือไปที่กองทุนราษฎรประสงค์ เนื่องจากครอบครัวไม่มีหลักทรัพย์ในการยื่นประกันตัว
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/37526) -
วันที่: 08-11-2021นัด: ฝากขังหลังถูกควบคุมตัวตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 6 พ.ย. จนช่วงเช้าวันที่ 8 พ.ย. 2564 ตำรวจ สภ.ตระการพืชผล จึงคุมตัว “แต้ม” ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ต้องหาคดีทำลายรูป ร.10 ไปที่ศาลแขวงอุบลราชธานี เพื่อยื่นคำร้องขอฝากขัง แต่ระยะทางราว 50 กิโลเมตร จาก สภ.ตระการพืชผล มาที่ศาลกลับล่าช้า แต้มพร้อมกับแม่ที่เป็นผู้ดูแลมาถึงศาลราวๆ 11.30 น. และเมื่อเดินทางมาถึงแต้มก็ถูกพาตัวไปห้องคุมขังในศาล ระหว่างนั้นทนายความจึงทำเรื่องขอประกันตัว
แต่แล้วในช่วง 13.40 น. ปรากฏรถควบคุมตัวผู้ต้องหาจาก สภ.ตระการพืชผล ขับวนมารับแต้มกลับไปที่ สภ.ตระการพืชผล อีกครั้ง ตำรวจคนที่ขับรถอ้างว่า อัยการสั่งให้แจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติม และแจ้งกับทนายความและนายประกันที่รออยู่ตั้งแต่ช่วงเช้าว่า ให้ไปประกันตัวแต้มที่ สภ.ตระการพืชผล และต้องเพิ่มวงเงินประกันเป็น 100,000 บาท
อย่างไรก็ตามราว 14.30 น. เมื่อทนายความและนายประกันเดินทางไปถึง สภ.ตระการพืชผล พ.ต.อ.บุญเลิศ เลิศวัฒนกิตติ ผกก. และ พ.ต.ท.สมชัย ผาสุขนิตย์ รอง ผกก.(สอบสวน) กลับแจ้งว่าพนักงานสอบสวนจะไม่แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 เพราะหากจะแจ้งข้อหาดังกล่าว ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียก่อน จึงจะให้ทำเรื่องประกันตัวแต้มในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
แต่แล้วเมื่อผ่านไปอีกราว 5 นาที ตำรวจกลับมาแจ้งว่า ทางศาลแขวงอุบลฯ เมื่อได้อ่านคำร้องขอฝากขังแล้ว โทรมายืนยันให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ต้องเพิ่มวงเงินประกันเป็น 100,000 บาท นายประกันจึงเบิกเงินจากกองทุนราษฎรประสงค์จำนวน 100,000 บาท วางเป็นหลักทรัพย์ประกัน และพนักงานสอบสวนเร่งทำบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ท่ามกลางความงุนงงของทั้งทนายความ นายประกัน หรือแม้แต่ตำรวจเอง เนื่องจากปกติศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ส่วนการพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ และหากมีการแจ้งข้อหา 112 คดีของแต้มต้องพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากมีอัตราโทษสูงเกินกว่าอำนาจพิจารณาของศาลแขวงแล้ว
ระหว่างนั้นเมื่อสอบถามตำรวจว่าแต้มถูกควบคุมตัวเกินกว่า 48 ชั่วโมงแล้วหรือไม่ เนื่องจากในบันทึกการจับกุมไม่ได้ระบุเวลาจับกุมที่แน่ชัด ซึ่งหากเกิน 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวแต้มทันที โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน พ.ต.ท.สมชัย แจ้งว่าการควบคุมตัวแต้มจะครบ 48 ชั่วโมงในเวลา 17.00 น. และทางตำรวจจะเร่งแจ้งข้อหามาตรา 112 โดยเร็ว
แต่สุดท้ายราว 15.30 น. ผู้กำกับ สภ.ตระการพืชผล กลับมาแจ้งแก่ทั้งทนายความและนายประกันว่า ตำรวจยืนยันแจ้งข้อหาเพียง “ทำให้เสียทรัพย์” ไม่แจ้งข้อหามาตรา 112 และให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่ต้องวางประกัน เนื่องจากถือว่าไม่ได้ทำเรื่องขอฝากขัง พนักงานสอบสวนจึงโอนเงิน 100,000 บาท คืนให้นายประกัน พ.ต.อ.บุญเลิศ กล่าวอีกว่าถึงที่สุดหากไปยื่นฝากขังแล้ว ทางศาลแขวงอุบลฯ ไม่รับฝากขัง และให้แจ้งมาตรา 112 เพิ่ม ตำรวจก็จะไม่ฝากขังแต้ม
จนสุดท้ายรถคุมตัวผู้ต้องหาของตำรวจก็พาแต้มและแม่มาถึง สภ.ตระการพืชผล ในเวลาประมาณ 16.15 น. ตำรวจพาแต้มไปลงบันทึกประจำวันก่อนปล่อยตัว โดยพนักงานสอบสวนนัดให้มารายงานตัวในวันที่ 22 พ.ย. 2564
พ.ต.อ.บุญเลิศ ยังกล่าวด้วยว่า เป็นที่รับรู้กันในพื้นที่ตำบลสะพือและอำเภอตระการพืชผลว่า เขาเป็นผู้ป่วยมีอาการทางจิต ในระหว่างสอบปากคำ ยังมีผู้ใหญ่บ้านมาเป็นพยานและมีหลักฐานบัตรประจำตัวผู้ป่วยมายืนยัน ตำรวจจึงเข้าใจว่าแต้มไม่มีเจตนาที่จะทำผิดมาตรา 112
สุ่น แม่วัย 59 ปี ของแต้มบอกเล่าถึงอาการป่วยของลูกชายวัย 31 ปีของเธอว่า แต้มมีอาการทางจิตหลังจากที่เขาไปเป็นทหารเกณฑ์ โดยสมัครเป็นทหารเรือไปอยู่ที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี แต้มเคยเล่าให้แม่ฟังว่าขณะเป็นทหารเกณฑ์เขาถูกตี เคยถูกจับกดน้ำด้วย ที่หัวมีร่องรอยบาดแผลปรากฏถึงปัจจุบัน เมื่อปลดประจำการแล้ว แต้มเดินเท้าเปล่ากลับบ้านและเดินไปเข้าบ้านหลังหนึ่ง จนถูกแจ้งความจับ และเขาโทรมาบอกแม่ แม่จึงให้พี่ชายไปประกันตัวและรับแต้มกลับ ก่อนพาไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์
สำหรับแต้มปัจจุบันอาศัยอยู่กับพ่ออายุ 62 ปี และแม่อายุ 59 ปี โดยทำอาชีพเป็นชาวนา ทุกปีแต้มจะช่วยพ่อและแม่ปลูกข้าวบนที่ดิน 2 ไร่ หากเว้นว่างจากนั้นก็จะไปรับจ้างก่อสร้างหรือตัดต้นไม้บ้างตามแต่จะมีผู้ว่าจ้าง โดยวันเกิดเหตุวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา แต้มบอกแม่ว่าจะไปพบนักการเมืองคนหนึ่งในอำเภอเพื่อขอสมัครงานก่อสร้าง แต่สุดท้ายเขาบอกแม่ว่ามีเสียงจากสวรรค์บอกให้เขาทำสิ่งที่เป็นต้นเหตุของคดีความนี้
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/37650)
-
วันที่: 22-11-2021นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเวลา 08.30 น. แต้มและแม่เดินทางไปยัง สภ.ตระการฯ ด้วยรถประจำทางของหมู่บ้าน เพื่อรายงานตัวตามนัด หลังจากพนักงานสอบสวนลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า ประดิษฐ์ได้มารายงานตัว และพนักงานสอบสวนนัดหมายให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 7 ธ.ค. 2564 เวลา 08.30 น. ได้แจ้งกับทั้งสองและทนายความว่า จะต้องนำตัวแต้มไปตรวจอาการทางจิตเวชที่โรงพยาบาลตระการพืชผล และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและลงความเห็น ซึ่งพนักงานสอบสวนจะใช้ประกอบการพิจารณาสั่งคดี
จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาแต้มไปที่โรงพยาบาลตระการพืชผล แพทย์ได้สั่งให้ตรวจเลือด, คลื่นสมอง รวมทั้งตรวจโควิดด้วย เพื่อส่งผลการตรวจไปให้แพทย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ประกอบการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม แต้มและแม่รออยู่จนกระทั่งเย็น เวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจึงแจ้งว่ายังไม่ได้ผลการตรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจให้แต้มกลับบ้านก่อน
วันเดียวกันนี้ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันรถมอเตอร์ไซค์ที่แต้มขี่ไปก่อเหตุและถูกตำรวจยึดไว้ในวันเกิดเหตุ โดยใช้ตำแหน่งทนายเป็นหลักประกัน เนื่องจากที่บ้านแต้มมีรถคันเดียว เมื่อถูกยึดไปทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน พ่อต้องเดินไปนาที่อยู่ห่างออกไป 3 กม.ทุกวัน หลังรับคำร้อง พนักงานสอบสวนได้เรียกช่างให้มาตีราคารถ เพื่อใช้ตีราคาประกัน โดยช่างตีราคาเป็นมูลค่า 5,000 บาท แม่แต้มต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าตีราคาให้ช่างเองเป็นเงิน 200 บาท จากที่ช่างเรียกมา 300 บาท เนื่องจากมีเงินเพียงเท่านั้น จากนั้นพนักงานสอบสวนได้ส่งคำร้องขอประกันรถให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุญาต
ก่อนกลับแต้มบอกแม่ว่า อยากดื่มน้ำอัดลมเย็นๆ แต่แม่ไม่ตอบรีบเปลี่ยนเรื่อง เนื่องจากควักจ่ายค่าช่างตีราคารถไปหมดแล้ว
-
วันที่: 23-11-2021นัด: ตรวจอาการทางจิตเวชเวลา 11.00 น. โรงพยาบาลตระการพืชผลส่งผลการตรวจของแต้มให้ทาง สภ.ตระการฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไปรับแต้มมาตรวจที่ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ โดยมีแม่เดินทางมาด้วย แต้มถูกตรวจร่างกายอีกครั้ง พร้อมทั้งตรวจทางจิตโดยการพูดคุยกับจิตแพทย์เป็นเวลานาน กระบวนการตรวจเสร็จลงในวันนี้ หลังจากนี้แพทย์จะวินิจฉัยผลการตรวจทางกายภาพและทางจิต ก่อนมีความเห็น
พนักงานสอบสวนชี้แจงกระบวนการต่อไปว่า เมื่อได้ผลการวินิจฉัยของแพทย์แล้วจะนำเข้าที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนเพื่อสรุปสำนวนการสอบสวน และมีความเห็น จากนั้นจะส่งสำนวนไปที่ตำรวจภูธรจังหวัด และตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งว่า เห็นควรสั่งฟ้องมาตรา 112 ด้วยหรือไม่
พนักงานสอบสวนเปิดเผยอีกว่า คดีนี้มี รปภ.หน้า ร.ร.มัธยมตระการฯ เป็นพยาน ส่วนผู้เสียหาย คือตัวแทนของเทศบาลตำบลตระการฯ
-
วันที่: 07-12-2021นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเเต้มเดินทางไปรายงานตัวที่ สภ.ตระการฯ พนักงานสอบสวนให้เซ็นทราบคำสั่งให้มารายงานตัวอีกครั้งวันที่ 20 ธ.ค. 2564 แล้วปล่อยตัวกลับ
-
วันที่: 20-12-2021นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนตามนัด เมื่อถึง สภ.ตระการฯ ในเวลาราว 08.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวแต้มไปตรวจอาการทางจิตที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์อีกเป็นครั้งที่ 2 กระทั่งเกือบบ่ายโมงจึงแล้วเสร็จ นัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 4 ม.ค. 2565
-
วันที่: 04-01-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มและแม่เดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนที่ สภ.ตระการพืชผล ตามนัด พนักงานสอบสวนนัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 19 ม.ค. 2565
-
วันที่: 12-01-2022นัด: สอบปากคำเพิ่มเติม (แจ้งข้อกล่าวหา 112)แต้มพร้อมกับสุ่น มารดาที่เป็นผู้ดูแล และวัฒนา จันทศิลป์ ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ตระการพืชผล ตามหมายเรียกผู้ต้องหา ที่ระบุว่าเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ พนักงานสอบสวนได้แจ้งเบื้องต้นว่า ตำรวจภูธรภาค 3 ได้ส่งสำนวนการสอบสวนกลับและมีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม
ทนายวัฒนาได้อ่านทวนข้อกล่าวหาในครั้งก่อนให้แต้มฟังอีกครั้ง พร้อมทั้งคำให้การที่แต้มให้การรับสารภาพว่า มีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งการจากเบื้องบน จึงลงมือทุบทำลายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ดังกล่าว โดยไม่รู้สึกตัวว่าเป็นป้ายอะไร
จากนั้น พ.ต.ท.สมชัย ผาสุขนิตย์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ตระการพืชผล ในฐานะพนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาซึ่งมีเนื้อหาเช่นเดียวกับครั้งก่อน ก่อนระบุเพิ่มเติมว่า เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง เป็นการละเมิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ และแจ้งข้อกล่าวหาว่า พฤติการณ์ของแต้มเป็นความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
แต้มให้การรับสารภาพข้อหาทำให้เสียทรัพย์ และปฏิเสธข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเพิ่มเติม ความว่า
- รู้ได้อย่างไรว่ามีพระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งอยู่ ณ 3 จุดเกิดเหตุ? แต้มบอกว่า ไม่รู้ ตอนนั้นอารมณ์อยากจะมาดูถนนที่ตนเคยสร้าง และตอนลงมือก่อเหตุก็ไม่รู้ว่าเป็นป้ายอะไร มีเสียงสั่งในหู รู้สึกคล้ายหูแว่วว่ามีคนสั่งให้ทำลายป้ายนั้น ขณะเดียวกันป้ายที่เห็นนั้นก็เป็นสีดำ ไม่มีรูปใด ๆ เลย ภายในใจแล้วหากรู้ว่าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จะไม่ลงมือเลย เพราะตอนอยู่ที่บ้าน ตนก็กราบไหว้ทั้งเช้า-เย็น และปัจจุบันก็จุดธูปขอขมาด้วยความสำนึกผิดทุกวัน
- จากบ้านมาที่เกิดเหตุ ห่างกันกี่กิโลเมตร? แต้มตอบไปว่า ประมาณ 15-16 กิโลเมตร
- มีอะไรจะให้การเพิ่มเติมหรือไม่? แต้มย้ำว่า ตนไม่รู้ว่าป้ายที่มีเสียงสั่งจากเบื้องบนให้ทำลายนั้นเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มันเห็นเป็นสีดำ ๆ หากรู้จะไม่ทำเด็ดขาด
ระหว่างบันทึกคำให้การ พนักงานสอบสวนได้กล่าวเชิงปลอบและให้กำลังใจแต้มว่า ไม่ต้องคิดมาก พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนทางกฎหมายด้วยรอยยิ้ม ก่อนปิดท้ายด้วยคำถามว่า
- ขณะก่อเหตุมีสาเหตุโกรธเคืองใครมาหรือไม่? ไม่ครับ แต้มตอบ
หลังเสร็จสิ้นการสอบปากคำ พ.ต.ท.สมชัย นัดหมายแต้มให้เข้ามารายงานตัวอีกครั้งวันที่ 24 ม.ค. 2565 และยืนยันว่าจะไม่มีการจับกุมหรือฝากขัง
สำหรับแต้มเองคิดว่าเขาก็ไม่ได้มีท่าทีจะหลบหนีแต่อย่างใด และยืนยันว่าจะมาตามกำหนดนัดของพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้ ระหว่างเซ็นรับทราบข้อกล่าวหา แต้มบ่นง่วงตลอดเวลา อาจเพราะฤทธิ์ยาระงับประสาท และยังบอกอีกว่าหากได้ทานจะง่วง แต่จิตใจจะนิ่งปกติ
ระหว่างรอตำรวจลงบันทึกประจำวัน แม่สุ่น แม่ของแต้ม เล่าว่าตนมีลูกชาย 3 คน แต้มเป็นลูกคนเล็ก ตั้งแต่กลับมาจากการรับราชการทหาร ก็มีอาการทางจิต เพราะได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะด้านซ้าย แต้มเป็นคนที่ใสซื่อ หากอยู่กับแม่จะเป็นคนช่างพูดช่างเจรจา ก่อนหน้านั้นทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร กับพี่ชาย และเพื่อน
แม่เล่าอีกว่า วันหนึ่งเพื่อนมีอาการเหนื่อยล้า แต้มได้แนะนำให้ทานยาจิตเวชที่เขาทานอยู่เป็นประจำ แต่เหตุไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อพี่ชายและเพื่อนของเขาติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เพื่อนต้องกลับบ้านและบังเอิญนำยาที่เขาทานเป็นประจำนั้นกลับไปด้วย แต้มจึงไม่ได้ทานยาตามกำหนดในช่วงนั้น และได้กลับมาที่บ้านก่อนจะเกิดเหตุในคดีนี้ แม่บอกว่า ถ้าแต้มทานยาเป็นประจำ เขาจะเป็นคนสุภาพ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ทำงานในไร่ได้ แต่ถ้าไม่ได้ทานยา แต้มจะมีอาการหงุดหงิด ใครพูดอะไรก็ไม่ฟังเท่าไหร่นัก
แต้มและแม่กลับบ้านโดยเดินเท้าตามกันออกจาก สภ.ตระการพืชผล ซึ่งไม่รู้ว่าทั้งสองจะเดินต่อไปไกลแค่ไหน กว่าที่จะมีรถประจำทางผ่านมาและรับพวกเขาไปส่งถึงบ้าน
ทั้งนี้ หลังพนักงานสอบสวนปล่อยตัวแต้มโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ประกันเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากได้ควบคุมตัวครบ 48 ชั่วโมง ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ พนักงานสอบสวนได้นัดหมายแต้มมารายงานตัวที่ สภ.ตระการพืชผล รวม 4 ครั้งแล้ว แต่ละครั้งพนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวัน ระบุข้อความตอนหนึ่งว่า ได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีหลักประกัน“โดยให้สาบานตนว่าจะมาพบพนักงานสอบสวนตามนัดหมาย” ซึ่งมีข้อสังเกตว่า การสาบานตนใช้เครื่องมือควบคุมผู้ต้องหาได้ดีกว่ากฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ในการรายงานตัว 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนได้นำตัวแต้มไปตรวจอาการทางจิตเวชที่โรงพยาบาลตระการพืชผล และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและลงความเห็น ประกอบการพิจารณาสั่งคดี อย่างไรตาม ตำรวจยังมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติมอีก โดยทนายความและแต้มยังไม่ทราบว่า แพทย์ลงความเห็นต่ออาการป่วยของแต้มอย่างไร อีกทั้งหากตีความและบังคับใช้มาตรา 112 โดยเคร่งครัด การทุบทำลายรูปก็ไม่น่าจะเข้าข่ายความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.ตระการพืชผล ลงวันที่ 12 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39533) -
วันที่: 24-01-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนตามนัด พนักงานสอบสวนยังสรุปสำนวนไม่เสร็จ นัดครั้งต่อไปวันที่ 7 ก.พ. 2565
-
วันที่: 04-02-2022นัด: แม่ไปพบแพทย์ที่ รพ.จิตเวชแม่แต้มเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ หลังพนักงานสอบสวนโทรศัพท์นัดหมาย โดยระบุว่า แพทย์เป็นผู้นัดหมายมา และให้แม่แต้มไปเพียงคนเดียว อีกทั้งให้ไปอีกครั้งในวันที่ 14 ก.พ. 2565 โดยในครั้งที่ 2 ให้พาแต้มไปด้วย ทางโรงพยาบาลจะมีการประชุมใหญ่ของทีมแพทย์เพื่อลงความเห็นต่ออาการป่วยของแต้ม
-
วันที่: 07-02-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนตามนัด พนักงานสอบสวนยังสรุปสำนวนไม่เสร็จ นัดครั้งต่อไปวันที่ 21 ก.พ. 2565
-
วันที่: 10-02-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนหลังเพิ่งเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา ผ่านไป 3 วัน พนักงานสอบสวนโทรศัพท์เรียกเข้ารายงานตัวอีกครั้ง ก่อนให้กลับโดยนัดให้ไปอีกครั้งวันที่ 21 ก.พ. 2565 ตามที่นัดไว้เดิม ส่วนที่แพทย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์นัดให้แต้มและแม่ไปพบในวันที่ 14 ก.พ. 2565 นั้น พนักงานสอบสวนแจ้งแต้มว่าให้เลื่อนไปในวันที่ 2 มี.ค. 2565
-
วันที่: 21-02-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนตามนัด พนักงานสอบสวนนัดให้ไปอีกครั้งวันที่ 7 มี.ค. 2565 ส่วนที่แพทย์นัดไปโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ในวันที่ 2 มี.ค. 2565 นั้น พนักงานสอบสวนแจ้งเลื่อนให้ไปในวันที่ 2 ส.ค. 2565
-
วันที่: 07-03-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเป็นครั้งที่ 10 ตามนัด พนักงานสอบสวนนัดให้ไปอีกครั้งวันที่ 22 มี.ค. 2565
-
วันที่: 22-03-2022นัด: รายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแต้มมีนัดรายงานตัวกับพนักงานสอบสวนครั้งที่ 11 แต่ก่อนถึงวันนัด 1 วัน แต้มมีผลตรวจ ATK เป็นบวก ทนายโทรแจ้งพนักงานสอบสวนว่า แต้มไม่สามารถไปตามนัดได้ พนักงานสอบสวนจะนัดหมายอีกครั้งหลังแต้มหายดีแล้ว
-
วันที่: 22-04-2022นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดแต้มส่งตัวให้อัยการ วันเดียวกับที่แต้มมีนัดพบหมอจิตเวชที่ รพ.ตระการพืชผล แต้มจึงไปพบหมอก่อน แต่ขณะที่แต้มยังไม่เสร็จธุระที่โรงพยาบาล พนักงานสอบสวนได้เร่งให้ไปพบอัยการก่อน เมื่อไปถึงสำนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ อัยการตรวจสำนวนแล้วไม่รับสำนวน เนื่องจากยังไม่เรียบร้อย คืนให้พนักงานสอบสวนกลับไปทำมาใหม่ ขณะที่แต้มต้องกลับไปพบหมอและรับยาที่ รพ.อีกรอบ
-
วันที่: 11-05-2022นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวน สภ.ตระการพืชผล นัดแต้มส่งตัวให้อัยการเป็นครั้งที่ 2 อัยการรับตัวแล้วนัดฟังคำสั่งวันที่ 28 มิ.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 28-06-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการแต้มและแม่เดินทางไปรายงานตัวและฟังคำสั่งอัยการตามนัด พร้อมทั้งได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการ ขอให้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีในข้อหาตามมาตรา 112 เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีเจตนาตามข้อกล่าวหาดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งยังอธิบายเหตุผลประกอบดังนี้
1. พฤติการณ์ในคดีนี้ ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากการกระทำที่ถูกกล่าวหาของผู้ต้องหาคือ "ทุบทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตำบลตระการพืชผล ได้รับความเสียหายจำนวน 3 ป้าย" เป็นแต่เพียงการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อทรัพย์สินเท่านั้น มิใช่การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย แต่อย่างใด
หนังสือขอความเป็นธรรมได้อ้างถึงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในคดีของศาลจังหวัดพล คดีหมายเลขดำที่ อ.1267/2560 และ อ.1268/2560 ซึ่งจำเลยถูกฟ้องในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ อั้งยี่ ซ่องโจร และข้อหาตามมาตรา 112 ด้วย แม้จำเลยทั้งหมดให้การรับสารภาพในทุกข้อกล่าวหา แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้พิพากษาแก้ในทำนองเดียวกันทั้ง 2 คดีว่า
"...หากพิจารณาตามฟ้องโจทก์ เห็นได้ชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกมุ่งประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอันได้แก่ ซุ้มประตูซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหกมีความมุ่งหมายที่จะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งหกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดเพียงฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217...”
2. พฤติการณ์ที่พนักงานสอบสวนแจ้งต่อผู้ต้องหานั้น ใช้ถ้อยคำว่า “เป็นการกระทำอันไม่บังควรอย่างยิ่ง” และ “ซึ่งเป็นการละเมิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ซึ่งไม่ใช่ถ้อยคำตามบทบัญญัติของกฎหมาย และกินความหมายกว้างกว่าการ “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” อันเป็นการตีความกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหา และเกินกว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย อันจะก่อให้เกิดผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างมาก
เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการได้รับหนังสือไว้ ก่อนนัดแต้มรายงานตัวและฟังคำสั่งทางโทรศัพท์ในวันที่ 27 ก.ค. 2565
(อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรมถึงพนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ ลงวันที่ 28 มิ.ย. 2565)
-
วันที่: 27-07-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการแต้มโทรรายงานตัวตามที่เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการนัดหมาย แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีคำสั่งฟ้องคดีแล้ว ให้แต้มเดินทางมาเพื่อส่งฟ้องต่อศาล ทนายจึงต้องติดต่ออัยการเพื่อขอเลื่อนส่งฟ้องไปก่อน เนื่องจากไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าจึงยังไม่ได้เตรียมหลักประกันเพื่อขอประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี ก่อนที่แต้มและแม่ต้องเดินทางมายื่นหนังสือขอเลื่อนด้วยตัวเอง อัยการเลื่อนไปส่งฟ้องในวันที่ 3 ส.ค. 2565
-
วันที่: 03-08-2022นัด: ยื่นฟ้องแต้มพร้อมแม่และทนายความ เดินทางไปที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี หลังเข้ารายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดอุบลฯ ในนัดส่งฟ้องคดี
แต้มในชุดเสื้อโปโลยืดสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ยกมือไหว้ผู้ที่พบพร้อมค้อมตัวด้วยอาการนอบน้อม เมื่อทนายถามว่า กินข้าวเช้ารึยัง แต้มกล่าวว่า “ปั้นกินแล้วครับ กินได้ 2-3 คำ บ่แซ่บเลยครับ”
ทีมทนายความยังได้เล่าถึงกระบวนการในนัดส่งฟ้องศาลนี้ให้แต้มทราบ พร้อมความเป็นไปได้ในการประกันตัว ซึ่งทนายจะยื่นประกันโดยใช้เงินที่กองทุนราษฎรประสงค์ให้ยืม และในคดีอื่นก่อนหน้านี้ศาลก็ให้ประกัน แต่ก็อาจจะเกิดกรณีที่ศาลไม่ให้ประกันก็ได้ หากเป็นเช่นนั้นแต้มจะถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำ แต้มก็มีสีหน้ากังวลยิ่งขึ้น เอ่ยเบาๆ กับแม่ว่า “ไผจะนึ่งข้าวให้เจ้ากิน”
ประมาณ 09.30 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการนำคำฟ้องมายื่นต่อศาล และนำตัวแต้มส่งให้ตำรวจศาลควบคุมตัวไว้ที่ห้องขังใต้ศาล เพื่อรอศาลสอบคำให้การเบื้องต้น และมีคำสั่งต่อคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแต้มระหว่างพิจารณาคดี
คำฟ้องระบุว่า อัยการยื่นฟ้องแต้มรวม 2 ข้อหา คือ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์" และ "ทําให้เสียทรัพย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 358 โดยไม่ได้คัดค้านหากจําเลยขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา
ระหว่างรอกระบวนการของศาลอยู่ที่ห้องขัง แต้มบอกว่าเขาง่วงนอน เพราะฤทธิ์ยาตัวใหม่ที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จัดให้ หลังเขาไปพบหมอตามนัดเมื่อวันก่อน ก่อนงีบหลับไป แต่ซักพักเจ้าหน้าที่ศาลได้เข้าไปสอบถามคำให้การ แต้มตอบตามคำให้การชั้นสอบสวนว่า รับสารภาพข้อหาทำให้เสียทรัพย์ แต่ปฏิเสธข้อหา 112
แต่เจ้าหน้าที่บอกแต้มว่า ถ้าจะรับสารภาพก็รับไปเลย หรือไม่ก็ปฏิเสธไปเลย ตอบแบบที่แต้มตอบไม่ได้ ทนายจึงเข้าไปชี้แจงแทนแต้มว่า ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่จึงกลับออกไป ก่อนเข้ามาอีกครั้งเพื่อแจ้งวันนัดของศาลว่า นัดคุ้มครองสิทธิวันที่ 30 ส.ค. 2565 และนัดพร้อมวันที่ 19 ก.ย. 2565
ในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวแต้มระหว่างพิจารณาคดี มีอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลฯ เป็นนายประกัน โดยเสนอหลักประกันเป็นเงินสด 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ทนายความได้อ้างเหตุผลประกอบการขอประกันว่า แต้ม จำเลยในคดีเป็นผู้ป่วยจิตเวช โดยรักษาตัวในลักษณะเป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ต้องกินยารักษาอาการอย่างต่อเนื่อง บางเวลามีอาการกำเริบ ขณะเกิดเหตุจำเลยก็ไม่รู้ตัวว่ากระทำอะไร จำเลยประสงค์จะต่อสู้คดี โดยขอความเป็นธรรมปล่อยชั่วคราว ทั้งนี้ จำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีมารดาดูแล และไม่เคยไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน
กระทั่ง 12.10 น. ศาลมีคำสั่งให้ประกันแต้ม ตีราคาประกันเป็นเงินสด 90,000 บาท โดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ
หลังแต้มได้รับการปล่อยตัว เขาเดินจูงมือแม่ตลอดเวลาไปที่ร้านค้า และบีบนวดแขนให้แม่ขณะนั่งรออาหารที่สั่งมากิน ก่อนเตรียมตัวเดินทางกลับบ้านที่อยู่ไกลออกไปเกือบ 60 กม. ซึ่งหลังจากวันนี้แต้มและแม่ยังต้องเดินทางไปและกลับอีกหลายครั้งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แม้จะไม่รู้ว่าปลายทางจะเป็นเช่นไร แต่ทุกคนตั้งความหวังว่า ศาลจะมองเห็นถึงความเจ็บป่วย และมอบความยุติธรรมตามสมควรแก่เขาเหมือนเช่นที่ให้ประกันเขาในวันนี้
ทั้งนี้ จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หลังการชุมนุมเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 จนถึงวันที่ 31 ส.ค. 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 208 คน ใน 224 คดี ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 3 ราย ซึ่งมีอาการทางจิตเวช
ก่อนหน้านั้นในหลังการรัฐประหารของ คสช. ศูนย์ทนายฯ ก็พบผู้ป่วยทางจิตถูกดำเนินคดีด้วยข้อหานี้อย่างน้อย 10 ราย และศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกถึง 7 ราย แม้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ได้เปิดช่องให้ศาลไม่ลงโทษหรือลงโทษให้น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ เนื่องจากผู้ป่วยทางจิตไม่มีความรู้สึกผิดชอบอย่างคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป
(อ้างอิง: คำฟ้องและคำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46876)
-
วันที่: 30-08-2022นัด: คุ้มครองสิทธิทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 29 ส.ค. 2565 ของดนัดคุ้มครองสิทธิ เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และประสงค์ต่อสู้คดี ศาลมีคำสั่งอนุญาต นัดครั้งต่อไปเป็นนัดพร้อม วันที่ 19 ก.ย. 2565 ตามที่ศาลนัดไว้
-
วันที่: 19-09-2022นัด: พร้อมนัดพร้อมสอบคำให้การ และตรวจพยานหลักฐาน ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้แต้มฟัง แต้มให้การปฏิเสธ และแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า ทำลายทรัพย์สินตามฟ้องจริง แต่ช่วงเวลาดังกล่าวไม่รู้สึกตัว และได้ยินเสียงสวรรค์สั่งให้ทำ
ศาลแจ้งคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายให้จำเลยทราบ จำเลยแถลงปฏิเสธว่า ไม่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีสติสัมปะชัญญะ ทั้งค่าเสียหายที่ผู้ร้องเรียกสูงเกินสมควร
โจทก์แถลงว่า ประสงค์สืบพยาน 5 ปาก ได้แก่ ตัวแทนผู้ร้องขอค่าสินไหมทดแทน, ผู้เห็นเหตุการณ์สองปาก, ผู้จับกุมจำเลย และพนักงานสอบสวน ใช้เวลา 1 นัด ทนายจำเลยแถลงว่า ขอสืบพยาน 4 ปาก ได้แก่ ตัวจำเลย, ช่างผู้ทำป้ายโฆษณา, เจ้าหน้าที่ รพ.ตระการพืชผล และเจ้าหน้าที่ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ใช้เวลา 1 นัด
ด้านทนายผู้ร้องขอค่าสินไหมทดแทนแถลงขอสืบพยาน 2 ปาก คือ ผู้รับมอบอำนาจและหัวหน้าสำนัดปลัดเทศบาลตระการพืชผล ใช้เวลาครึ่งนัด นัดสืบพยานวันที่ 2, 3 และ 11 พ.ค. 2566
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 19 ก.ย. 2565) -
วันที่: 02-05-2023นัด: สืบพยานโจทก์การสืบพยานในคดีนี้มีขึ้นในเดือน พ.ค. 2566 รวมทั้งหมด 4 นัด โดยมี ศิษฏากร สวัสดี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดอุบลฯ เป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน อัยการโจทก์นำพยานเข้าเบิกความรวม 5 ปาก เป็น รปภ. และอาสาสมัครกู้ภัยผู้เห็นเหตุการณ์ทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์, เลขานุการนายกเทศมนตรี ผู้กล่าวหา, ตำรวจสืบสวนผู้จับกุม และพนักงานสอบสวนในคดี อัยการซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายของผู้เสียหายนำพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เทศบาลเข้าเบิกความในส่วนความเสียหายทางแพ่งรวม 2 ปาก และฝ่ายจำเลยมีแม่และจิตแพทย์ผู้ตรวจรักษาแต้มเบิกความเป็นพยาน
โจทก์นำสืบว่า รปภ. และอาสาสมัครกู้ภัยเห็นแต้มขี่จักรยานยนต์มาทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งอยู่ตรงเกาะกลางถนนหน้า ร.ร.มัธยมตระการพืชผล และหน่วยกู้ภัยตระการร่วมใจคุณธรรม จากนั้นตำรวจสืบสวนติดตามจับกุมแต้มได้ในวันเกิดเหตุ โดยแต้มรับว่า เป็นผู้ทำลายป้ายจริง เนื่องจากสวรรค์สั่งให้ทํา พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหา ทําให้เสียทรัพย์ เพียงข้อหาเดียว ต่อมา ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มว่า การกระทำของจำเลยสื่อว่า จำเลยอาฆาตมาดร้าย หรือดูหมิ่นกษัตริย์หรือไม่ หลังสอบสวนเพิ่มเติม จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และสรุปความเห็นควรสั่งฟ้องแต้มในทั้งสองข้อหา
อย่างไรก็ตาม พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณ์ระบุสอดคล้องกันว่า ขณะก่อเหตุจำเลยมีลักษณะเหมือนคนสติไม่ดี ตะโกนเอะอะโวยวาย ไม่เป็นภาษา นอกจากนี้ ตำรวจสืบสวนซึ่งเข้าค้นบ้านแต้มด้วยตอบทนายจำเลยว่า ไม่พบพยานหลักฐานที่สื่อว่า แต้มมีการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง ทั้งมีข้อสังเกตว่า พยานโจทก์หลายปากเบิกความสอดคล้องกันว่า คำให้การชั้นสอบสวนของพยานส่วนที่ระบุว่า การกระทําของผู้ต้องหาเป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์นั้น พนักงานสอบสวนพิมพ์เอง ไม่ใช่ความเห็นของพยาน
ในส่วนพยานผู้เสียหายเบิกความถึงความเสียหายทางแพ่งว่า ค่าใช้จ่ายจริงในการซ่อมแซมป้ายที่ทั้ง 3 จุด นั้น เป็นเงินทั้งหมด 20,440 บาท เท่านั้น
ด้านแม่แต้มเบิกความเป็นพยานจำเลยว่า แต้มป่วยเป็นโรคจิตเภทเรื้อรังมาประมาณ 12 ปีแล้ว เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลตระการพืชผลและโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยแพทย์ให้กินยา หากแต้มลืมกินยาจะมีอาการหงุดหงิด ทำลายของในบ้าน วันเกิดเหตุแต้มไม่ได้กินยามา 5 วันแล้ว โดยมีจิตแพทย์อธิบายว่า ช่วงเกิดเหตุแต้มขาดการรักษา ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า แต้มอาจจะมีอาการของโรคกำเริบและก่อเหตุโดยไม่รู้ตัว
รายละเอียดในประเด็นสำคัญของการสืบพยานมีดังนี้
++ผู้เห็นเหตุการณ์ทำลายป้าย: ชายก่อเหตุลักษณะสติไม่ดี จึงไม่ได้เข้าห้าม – คำให้การว่า การกระทำจำเลยสื่อว่าดูหมิ่น อาฆาตกษัตริย์ พงส.พิมพ์เอง ไม่ใช่ความเห็นพยาน
ไพโรจน์ วรรณวัตร พนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล เบิกความในฐานะพยานโจทก์ผู้เห็นเหตุการณ์ว่า เมื่อปี 2564 จําวันและเดือนไม่ได้ พยานเข้าเวรตามปกติตั้งแต่เวลา 07.00 น. โดยประจำอยู่ที่ป้อมยามหน้าโรงเรียน ติดกับถนนใหญ่
เวลาประมาณ 09.00-10.00 น. พยานเห็นชายรูปร่างท้วม ลักษณะคล้ายคนเมา ขับรถจักรยานยนต์มาหยุดบริเวณเกาะกลางถนน ด้านหน้าป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ห่างจากป้อมยามประมาณ 100 เมตร จากนั้นได้ใช้มือเขย่าป้ายพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อให้ล้ม อยู่ประมาณ 4 – 5 นาที และใช้เท้าถีบที่บริเวณฐานด้วย 2 – 3 ครั้ง
ต่อมา จําเลยขับรถกลับไปในทิศทางเดิม หลังจากนั้นประมาณ 5 นาที จําเลยก็ขับรถกลับมา ถือไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร มาด้วย จําเลยเขย่าป้าย และใช้ไม้ไผ่ฟาดอีกหลายครั้ง จนพระบรมฉายาลักษณ์ฉีกขาด ก่อนขับรถกลับไปทางเดิม
ที่พยานเบิกความว่า จําเลยมีลักษณะคล้ายคนเมา เพราะระหว่างขับรถจําเลยส่งเสียงเอะอะโวยวายเสียงดัง แต่พยานฟังไม่ออกว่าพูดว่าอะไร ทั้งสองครั้ง
ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง มีตํารวจมาสอบถามพยานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นอีกหลายวัน ตํารวจก็เชิญพยานไปที่ สภ.ตระการพืชผล เพื่อดูภาพจากกล้องวงจรปิด พยานดูแล้วยืนยันว่าเป็นคนเดียวกับที่พยานเห็น
จากนั้นไพโรจน์ตอบทนายจําเลยถามค้านว่า ขณะเกิดเหตุพยานไม่ได้เข้าไปห้ามหรือพูดคุยกับจําเลย เพราะกลัวถูกทําร้าย และเห็นว่า จำเลยอาจจะสติไม่ดีด้วย (ศาลไม่บันทึก ระบุว่า เป็นความเห็นของพยาน) เนื่องจากจําเลยตะโกนเอะอะโวยวาย จับใจความไม่ได้ เพราะพูดไม่เป็นภาษา พยานพูดคุยกับเพื่อนที่อยู่ในป้อมยามด้วยกันว่า จําเลยน่าจะบ้า
ตามคําให้การของพยานในชั้นสอบสวนที่มีข้อความว่า พยานเห็นว่า การกระทําของผู้ต้องหาสื่อให้เห็นว่า ผู้ต้องหากระทําด้วยอาการอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ และสื่อให้เห็นถึงการดูหมิ่นเหยียดหยาม เกลียดชัง ซึ่งเป็นการกระทําที่ไม่บังควรนั้น พยานให้การต่อพนักงานสอบสวนเพียงว่า การกระทําของจำเลยเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นพนักงานสอบสวนพิมพ์ไปเอง ไม่ใช่ความเห็นของพยาน
ต่อมา ชินกาญ อินทรปัญญา อาสาสมัครหน่วยกู้ภัย ผู้เห็นเหตุการณ์อีกราย เข้าเบิกความว่า วันเกิดเหตุ ซึ่งพยานจำวัน เดือน ปีไม่ได้ เวลาประมาณ 10.00 น. ขณะพยานอยู่ที่หน่วยกู้ภัยตระการร่วมใจคุณธรรม (เยื้องปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์) และเดินออกมาที่หน้าหน่วย เห็นชายคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ มาหยุดบริเวณริมเกาะกลางถนนซึ่งมีป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐาน
ชายคนดังกล่าวใช้เหล็กเสียบเสาธงซึ่งปักอยู่บริเวณนั้น ขว้างไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ จากนั้นใช้มือดึงเหล็กเกี่ยวพระบรมฉายาลักษณ์ให้ฉีกขาดลงมา ใช้เวลาอยู่บริเวณนั้นประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงขับรถออกไป พยานอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 30 เมตร เห็นชายคนดังกล่าวเฉพาะด้านข้าง จําหน้าไม่ได้ ขณะเกิดเหตุชายคนดังกล่าวไม่ได้ส่งเสียงเอะอะโวยวาย
พยานไปให้การต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนให้ดูภาพจากกล้องวงจรปิดของหน่วยกู้ภัยที่พยานอยู่ พยานยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์ที่พยานเห็นจริง และได้ลงลายมือชื่อไว้
เมื่อทนายจําเลยถามค้าน ชินกาญเบิกความตอบว่า ขณะเกิดเหตุตนอยู่คนเดียว ที่ตนไม่ได้เข้าไปห้ามเพราะกลัวอันตราย เนื่องจากชายดังกล่าวมีลักษณะเหมือนคนติดยาเสพติด หรือคนบ้า
วันที่พยานไปให้การต่อพนักงานสอบสวน พยานไม่ได้อ่านบันทึกคําให้การก่อนลงลายมือชื่อ และพนักงานสอบสวนไม่ได้อ่านให้ฟังก่อน
++ผู้กล่าวหา: ค่าเสียหายจริงเพียง 20,000 – ตำรวจสั่งให้แจ้งความเพิ่มเติมข้อหา ม.112
สุริยัน ประสาร เลขานุการนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลตระการพืชผล ผู้กล่าวหา เบิกความว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 เวลาประมาณ 16.00 น. พยานได้รับแจ้งจากพนักงานเทศบาลว่า มีคนทําลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 จํานวน 3 จุด รวม 5 ป้าย คือบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล 2 ป้าย (หน้า-หลัง) หน้าโรงสีเลี่ยงฮง 2 ป้าย (หน้า-หลัง) และที่หน้าสถานีขนส่งตระการพืชผล 1 ป้าย จึงเดินทางไปตรวจสอบความเสียหาย ประเมินความเสียหายเบื้องต้นคือ 200,000 บาท
พยานได้รับมอบอํานาจจากนายกเทศมนตรีให้แจ้งความดําเนินคดีผู้ก่อเหตุ เฉพาะข้อหาทําให้เสียทรัพย์ ต่อมา พนักงานสอบสวนมีคําสั่งให้พยานไปแจ้งความเพิ่มเติมในข้อหา ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พยานจึงได้ไปแจ้งความเพิ่มเติมในวันที่ 9 ม.ค. 2565
พยานทราบภายหลังว่าผู้ก่อเหตุคือจำเลย แต่พยานไม่เคยพบจําเลยมาก่อน เพิ่งมาพบที่ศาลนี้
อย่างไรก็ตาม สุริยันตอบทนายจําเลยถามค้านว่า หลังคํานวณค่าเสียหายใหม่ คงเหลือค่าเสียหายประมาณ 20,000 บาท
นอกจากนี้สุริยันยังระบุเช่นเดียวกับไพโรจน์ว่า ในคําให้การชั้นสอบสวนของพยานส่วนที่ระบุว่า การกระทําของผู้ต้องหาเป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์นั้น พนักงานสอบสวนจัดพิมพ์ไว้อยู่แล้ว พยานไม่ได้ให้การส่วนนี้
++ผู้จับกุม: คนปกติคงไม่ตอบ “สวรรค์สั่งให้ทํา” หลังถูกจับกุม ค้นบ้านไม่พบหลักฐานเชื่อมโยง 112 ทั้ง ผบก.ภ.จว.อุบลฯ ไม่มีความเห็นให้แจ้งข้อหา 112
พ.ต.ท.พีรพล บุญศรัทธา สารวัตรสืบสวน สภ.ตระการพืชผล ผู้จับกุม เบิกความว่า วันเกิดเหตุ เวลา 12.30 น. พยานได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุว่า มีชายอายุประมาณ 30 ปี สวมกางเกงขาสั้นสีดํา เสื้อวอร์มแขนยาวสีน้ำเงิน ทําลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 บริเวณเกาะกลางถนนหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล พยานและชุดสืบสวนจึงไปตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว และขับรถตามผู้ก่อเหตุไปจนถึงปั๊มคาลเท็กซ์ พบป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ถูกทําลายอีก 1 ป้าย
พยานติดตามต่อไปจนถึง บขส.ตระการพืชผล พบชายลักษณะตรงตามที่ได้รับแจ้งยืนอยู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ขณะนั้นยังไม่ถูกทําลาย จึงเข้าไปสอบถามชื่อ จำเลยตอบชื่อตนเอง พยานถามอีกว่า ได้ทําลายป้ายจริงหรือไม่ จําเลยรับว่า เป็นผู้ทําลายจริง พยานจึงได้เชิญตัวมาที่ สภ.ตระการพืชผล เพื่อสอบถามอีกครั้ง จําเลยยังคงให้การว่าเป็นผู้ทําลายจริง โดยบอกว่าสวรรค์เป็นคนสั่งให้ทํา
พยานได้ให้จําเลยดูภาพจากกล้องวงจรปิดด้วย จําเลยยอมรับว่าเป็นภาพของตนเอง พยานจึงแจ้งข้อหา ทําให้เสียทรัพย์ จําเลยให้การรับสารภาพ จากนั้นพยานจึงจัดทำบันทึกจับกุมและส่งตัวจําเลยให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดี
พยานเบิกความใหม่ว่า ไม่ได้สังเกตว่าขณะเดินทางไปถึงหน้าสถานีขนส่ง พระบรมฉายาลักษณ์ถูกทําลายแล้วหรือไม่
ต่อมาพยานย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคดี
พ.ต.ท.พีรพล ตอบทนายจําเลยถามค้าน ในเวลาต่อมาว่า พยานมีอํานาจหน้าที่ในการระงับเหตุด้วย แต่ขณะที่พยานเดินทางไปถึงจําเลยไม่ได้ก่อเหตุใดๆ แล้ว
สภ.ตระการพืชผล อยู่ห่างจากโรงเรียนมัธยมตระการพืชผลไม่ถึง 1 กิโลเมตร และห่างจากปั๊มคาลเท็กซ์ประมาณ 1 กิโลเมตร ก่อนรับแจ้งเหตุ พยานไม่ได้ยินเสียงเอะอะโวยวาย
ขณะพบจำเลยที่ บขส. พยานพูดคุยกับจําเลยเป็นภาษาอีสาน และสอบถามจําเลยว่าได้ทําลายป้ายหรือไม่ แต่จําไม่ได้ว่า ได้ระบุในคำถามโดยตรงว่า ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือไม่
พยานไม่ได้ใส่กุญแจมือจําเลย แต่ไม่ทราบว่าเจ้าพนักงานตํารวจคนอื่นจะใส่หรือไม่
ที่ สภ.ตระการพืชผล พยานเป็นผู้สอบถามและได้ยินจําเลยตอบด้วยตนเองว่า สวรรค์สั่งให้ทํา แต่พยานไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ และคิดว่า คนปกติคงจะไม่ตอบและทำเช่นนั้น แต่พยานไม่ได้ให้ความเห็นเช่นนี้กับพนักงานสอบสวนในขณะที่ให้การ
พยานไม่มีความรู้เรื่องจิตเวช
พยานได้ให้การเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2564 ว่า จากการตรวจค้นที่บ้านของจําเลย ไม่พบพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับมาตรา 112 หรือการชุมนุมทางการเมือง แต่พยานไม่ได้ให้การว่า แม่ของจําเลยได้แจ้งด้วยว่าจําเลยป่วย และนํายาที่จําเลยรับประทานมาให้ดู เนื่องจากพยานเข้าใจว่า จำเลยเพียงแต่ไม่สบายธรรมดา เพราะซองยาไม่ได้ระบุชื่อโรงพยาบาล และแม่จำเลยไม่ได้บอกว่าจำเลยเป็นบ้าหรือมีอาการทางจิตเวช
ในวันที่เชิญตัวจําเลยมาสอบถาม พล.ต.ต.สถาพร เอมโอษฐ์ ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมาร่วมฟังด้วย ซึ่ง พล.ต.ต.สถาพร ไม่ได้มีความเห็นให้แจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ตำรวจผู้จับกุมเบิกความเพิ่มเติมตอบโจทก์ถามติงว่า ขณะที่พยานพบจําเลย จําเลยมีสภาพปกติ พูดจารู้เรื่อง ตอบคําถามได้ สื่อสารได้ ตอนแจ้งข้อกล่าวหา จําเลยก็รู้เรื่อง รู้ข้อกล่าวหา ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมตามปกติ ไม่โวยวาย และเมื่อพยานนําภาพจากกล้องวงจรปิดซึ่งเป็นภาพการทําลายพระบรมฉายาลักษณ์ให้จําเลยดู จําเลยก็ยอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุจริง
++พนักงานสอบสวน: สอบปากคำแม่ ผู้ใหญ่บ้าน จิตแพทย์ ระบุตรงกัน จำเลยมีอาการทางจิต แต่สุดท้ายพยานมีความเห็นสมควรสั่งฟ้อง
ร.ต.อ.ประสพโชค แสงต่าย พนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า วันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 17.00 น. ผู้รับมอบอํานาจจากเทศบาลตําบลตระการพืชผลแจ้งว่า มีคนร้ายทําลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ได้รับความเสียหาย 3 จุด คือ หน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล, หน้าปั๊มคาลเท็กซ์ แลหน้าสถานีขนส่งอําเภอตระการพืชผล พยานจึงเดินทางไปดูสถานที่เกิดเหตุ
วันเดียวกันจําเวลาไม่ได้ เจ้าพนักงานตํารวจนําตัวผู้ต้องหามามอบให้พยาน ซึ่งคือจําเลย พร้อมทั้งมอบบันทึกการจับกุม, ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด และบัตรนัดของโรงพยาบาลตระการพืชผล พยานแจ้งข้อหาทําให้เสียทรัพย์ จําเลยให้การรับสารภาพ
พยานได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคําสั่งตํารวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี และคณะกรรมการพิจารณาคดีตามคําสั่งสถานีตํารวจภูธรตระการพืชผล
ต่อมา พยานได้รับมอบหมายให้สอบสวนเพิ่มถึงความเห็นในประเด็นว่า การกระทำของจำเลยสื่อว่า จำเลยอาฆาตมาดร้าย หรือดูหมิ่นกษัตริย์หรือไม่ เมื่อสอบสวนพยานเพิ่มเติมแล้ว พยานเห็นว่าการกระทําของจําเลยเป็นสิ่งไม่สมควร พยานจึงแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามมาตรา 112 จําเลยให้การปฏิเสธ หลังจากนั้นพยานมีความเห็นควรสั่งฟ้องจําเลยในทั้งสองข้อหา
จากนั้นพนักงานสอบสวนตอบทนายจําเลยถามค้านว่า เดิมพยานพาจําเลยมาฝากขังต่อศาลแขวงอุบลราชธานี ในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ แต่จําไม่ได้ว่า ยื่นคําร้องฝากขังแล้วหรือไม่ ก่อนผู้บังคับบัญชาแจ้งให้นําตัวผู้ต้องหากลับมาก่อน โดยพยานจำสาเหตุไม่ได้ แต่รับว่าเป็นไปตามที่ระบุในคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดอุบลฯ เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (ศาลไม่ได้บันทึก)
พยานรับว่า ในวันที่จำเลยถูกจับกุม พล.ต.ต.สถาพร เอมโอษฐ์ ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดอุบลฯ ได้มาร่วมสอบด้วย และมีความเห็นให้แจ้งข้อหาทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น (ศาลไม่ได้บันทึก)
ต่อมาจึงมีการแจ้งข้อหาและดําเนินคดีจําเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงให้มีการส่งตัวจําเลยไปตรวจสภาพการป่วยที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
พยานได้สอบปากคําพิชา จําปาป่า ผู้ใหญ่บ้าน และแม่ของจําเลย ทั้งสองให้การว่า จําเลยมีอาการทางจิต รวมทั้งสอบปากคําแพทย์ผู้ตรวจรักษาจําเลย โดยได้ส่งบันทึกคำให้การให้พนักงานอัยการแล้ว
แพทย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ได้ตรวจและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของจําเลย และทําความเห็นส่งให้พยานแล้ว พยานได้ส่งให้พนักงานอัยการแล้วเช่นกัน
พยานสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอผู้บังคับบัญชาไปตามลําดับจนถึงผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 ก่อนมีความเห็นเป็นเอกสารลงมาว่า เห็นควรสั่งฟ้อง ซึ่งพยานได้ส่งให้อัยการแล้ว (อัยการไม่ได้อ้างส่งศาล) ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช (ศาลไม่ได้บันทึก)
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 2 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58278)
-
วันที่: 03-05-2023นัด: สืบพยานผู้เสียหายและพยานจำเลย++พยานผู้เสียหาย: ค่าเสียหายจริงตามใบเสร็จรับเงินรวม 20,440
อภิชิต ทองประสม นิติกร เทศบาลตำบลตระการพืชผล เบิกความในฐานะพยานฝ่ายผู้ร้อง (ผู้เสียหาย) ถึงค่าเสียหายจากเหตุทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ในครั้งนี้ว่า เทศบาลฯ เรียกค่าเสียหายเป็นค่าป้ายไวนิล 4 ป้ายใน 2 จุด รวม 8,000 บาท ส่วนป้ายที่หน้า บขส. มีรูปสำรองที่นำมาใช้ได้เลย จึงไม่ต้องทำเบิกเพื่อซื้อใหม่ และค่าซ่อมแซมฐานรากของป้ายทั้ง 3 จุด รวมค่าเสียหายทั้งสองส่วนเป็นเงิน 20,440 บาท โดยมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินและฎีกาเบิกเงิน ซึ่งมีอัมพร มะลิวัลย์ หัวหน้าสํานักปลัดเทศบาลฯ พยานอีกปาก เป็นผู้จัดทำ บวกดอกเบี้ยร้อยละ 5 รวมเป็นเงิน 21,274 บาท
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานผู้ร้อง ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 3 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58278)
-
วันที่: 11-05-2023นัด: สืบพยานจำเลย++แม่แต้ม: แต้มรู้ว่า การทำลายรูป ร.10 เป็นสิ่งไม่สมควร แม้เป็นทรัพย์สินอื่นก็ไม่สมควร แต่ช่วงเกิดเหตุขาดยา อาการกำเริบ ได้ยินเสียงสวรรค์ให้ทำลายป้ายดำ ๆ
สุ่น แม่ของแต้ม อาชีพ เกษตรกร เบิกความเป็นพยานจำเลยว่า พยานมีลูก 3 คน โดยจำเลยเป็นคนที่ 2 พยานทราบว่า จำเลยเป็นโรคประสาท ตั้งแต่เป็นทหารเกณฑ์เมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว มีอาการหงุดหงิด ตาขวาง ทำลายข้าวของที่บ้าน แต่ไม่เคยทำร้ายคน
ครั้งแรกเข้ารักษาที่โรงพยาบาลตระการพืชผล ต่อมา พยานขอให้ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เนื่องจากบางครั้งจำเลยมีอาการหนัก โรงพยาบาลตระการพืชผลรักษาไม่ไหว โรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง รักษาโดยการให้ยา จำเลยกินยาตามที่หมอสั่ง แต่บางครั้งก็ลืม หากจำเลยลืมกินยาจะมีอาการหงุดหงิด ทำลายของในบ้าน
วันเกิดเหตุพยานอยู่ที่บ้าน เวลาประมาณ 10.00 น. จำเลยบอกว่าจะไปสมัครงาน พยานห้ามไม่ให้ไป เพราะเป็นช่วงโควิดระบาด และจำเลยก็ไม่ได้ทานยามา 5 วันแล้ว แต่จำเลยไม่ฟังและขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านไป
ประมาณเที่ยงจำเลยกลับมาบ้าน บอกพยานว่า “แม่ ข้อยไปทุบป้ายมา” พยานฟังแล้วคิดว่า เป็นป้ายโฆษณาทั่วไป แต่เพื่อนบ้านซึ่งบ้านอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนและทราบข่าวจากเฟซบุ๊กตะโกนบอกว่า แต้มไปทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 พยานจึงถามจำเลยว่า ทำไปทำไม จำเลยบอกว่า มีเสียงกระซิบที่หู เป็นเสียงจากสวรรค์ว่าให้ทำลายป้ายดำๆ นั้น ถ้าไม่ทำจะมีอันเป็นไป ถ้ารู้ว่าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 จะไม่ทำ
ต่อมา เพื่อนบ้านคนเดิมได้รับโทรศัพท์จากญาติที่ทำงานในเมืองว่า มีคนเก็บบัตรประชาชนของจำเลยได้ จึงตะโกนบอกพยานและจำเลย จำเลยจึงขับรถออกไปอีกครั้งเพื่อจะไปหาบัตรประชาชน
หลังจากนั้นตำรวจได้พาจำเลยกลับมาที่บ้าน พยานจึงรู้ว่าจำเลยถูกจับที่ บขส. ตำรวจบอกพยานให้เอาหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับจำเลยออกมาให้หมด พยานก็เอายา บัตรคนไข้ บัตรผู้พิการ และเอกสารของจำเลยทั้งหมดออกมาให้ ซึ่งตำรวจได้ถ่ายรูปไป
จากนั้นตำรวจได้เอาตัวจำเลยไปที่ สภ.ตระการพืชผล พยานตามไปด้วย ตำรวจถามพยานว่า จำเลยเคยก่อเหตุแบบนี้มั้ย พยานตอบว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ตำรวจถามอีกว่า จำเลยเคยไปชุมนุมชู 3 นิ้วมั้ย พยานตอบว่า ไม่เคย ตำรวจยังถามด้วยว่า เป็นประสาทจริงมั้ย พยานตอบว่า จริง และช่วงนี้ (ช่วงเกิดเหตุ) ไม่ได้ทานยา
พยานเคยให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนอ่านให้ฟัง เนื่องจากจำเลยอ่านหนังสือไม่ออก แต่เซ็นชื่อได้ และได้เซ็นชื่อในบันทึกคำให้การไว้ พยานทราบในภายหลังว่า ผู้ใหญ่บ้านก็เคยไปให้ปากคำกับตำรวจ แต่ไม่รู้ว่าให้การว่าอย่างไร
ภายหลังเกิดเหตุตำรวจสั่งให้จำเลยไปตรวจที่โรงพยาบาลตระการพืชผล จากนั้นโรงพยาบาลตระการพืชผลได้ส่งต่อไปให้โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ตรวจ โดยพยานตามไปด้วย และนั่งอยู่ด้วยขณะที่แพทย์พูดคุยซักถามจำเลย
ต่อมา แม่แต้มตอบโจทก์ถามค้านว่า หลังจำเลยปลดประจำการแล้วได้กลับมาอยู่กับพยานโดยตลอด เคยไปทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นยามธนาคารกรุงไทยไม่ถึง 1 ปี หลังจากนั้นก็กลับมาอยู่กับพยาน โดยพยานเป็นคนพาจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลตระการพืชผล ถ้าอาการหนักโรงพยาบาลตระการพืชผลก็จะส่งต่อไปที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ บางครั้งได้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล บางครั้งโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ก็เพียงแต่จ่ายยาให้มากิน และบอกว่า ถ้ายาหมดให้ไปรับยาที่โรงพยาบาลตระการพืชผล
ถ้าจำเลยลืมกินยาจะมีอาการหงุดหงิด ไม่สบายตัว หากพยานเห็นอาการดังกล่าวก็จะให้จำเลยกินยาก่อนเข้านอน เมื่อตื่นขึ้นมาอาการก็จะเป็นปกติ
วันเกิดเหตุพยานห้ามไม่ให้จำเลยไปสมัครงาน เพราะจำเลยมีอาการหงุดหงิด ประสาทขึ้น และเป็นช่วงที่โควิดระบาด แต่จำเลยไม่ฟังจะออกไปให้ได้ และมีอาการโวยวาย พยานรู้ว่าจำเลยขาดยา แต่ไม่ได้ให้กินยา เพราะพยานส่งยาไปให้จำเลยที่กรุงเทพฯ และลูกคนโตบอกว่าส่งยากลับมาแล้ว พยานจึงไม่ได้ไปขอยาใหม่
ที่บ้านพยานมีรูปรัชกาลที่ 10 จำเลยรู้จัก หลังเกิดเหตุจำเลยได้มาเล่าว่า ทำลายป้าย เพราะมีเสียงกระซิบให้ทำลายป้ายที่ขวางหน้า พอจำเลยรู้สติรู้ว่าเป็นป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 จำเลยก็เสียใจ นอนไม่หลับ
พยานและจำเลยรู้ว่า การกระทำตามฟ้องเป็นสิ่งไม่สมควรกระทำ แม้เป็นทรัพย์สินอื่นก็ไม่สมควร เพราะเป็นของคนอื่น
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานจำเลย ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 11 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58278)
-
วันที่: 25-05-2023นัด: สืบพยานจำเลย++จิตแพทย์: จำเลยป่วยมา 10 ปี ช่วงเกิดเหตุขาดการรักษา 2 เดือน อนุมานได้ว่า ขณะเกิดเหตุอาจจะมีอาการของโรคกำเริบและไม่รู้ตัว
สิปณัฐ ศิลาเกษ แพทย์ชำนาญการประจำโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ผู้ตรวจรักษาจำเลย เบิกความว่า พยานเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช ทำหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ทำงานมาแล้ว 6 ปี
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เป็นโรงพยาบาลจิตเวชของรัฐขนาดใหญ่ และเป็นนิติจิตเวชของเขตสุขภาพที่ 10 ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกดำเนินคดี
เกี่ยวข้องกับคดีนี้พยานเป็นแพทย์เจ้าของไข้ของจำเลย โดยในปี 2564 ตำรวจได้พาจำเลยมารักษาอาการทางจิต พยานให้การบำบัดรักษาโดยการให้ยา ต่อมาตำรวจแจ้งว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับคดี ขอให้พยานประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
การประเมินความสามารถของผู้ป่วยจะดำเนินการโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา ทำการซักประวัติผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว ตลอดจนข้อมูลแวดล้อม เช่น จากตำรวจ จากนั้นมีการทำแบบสอบถามทางจิตเวชแล้วจึงประชุมคอนเฟอเรนซ์สหวิชาชีพทั้ง 4 ฝ่าย เพื่อสรุปอาการและวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย
กรณีของจำเลยทีมสหวิชาชีพวินิจฉัยว่า จำเลยป่วยเป็นจิตเภท (Schizophrenia) และโรคติดสุรา และหลังจากประเมินความสามารถในด้านต่างๆ รวม 4 ด้าน สรุปว่า จำเลยมีความสามารถในการต่อสู้คดีได้ จากนั้นพยานได้ทำรายงานส่งตำรวจ โดยระบุความเห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยขาดการรักษา
ตามประวัติของผู้ป่วยในเวชระเบียน ผู้ป่วยเคยรักษามาประมาณ 10 ปีแล้ว ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา มารักษาที่โรงพยาบาลตระการพืชผลเมื่อปี 2556 และที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2563 ช่วงเกิดเหตุในเดือนพฤศจิกายน 2564 ผู้ป่วยขาดการรักษามา 2 เดือน
คำว่า จิตเภท รากศัพท์มีความหมายว่า จิตแตก แยก หลุดจากความจริง ควบคุมตัวเองไม่ได้ คือการที่ผู้ป่วยมีจิตที่แตก มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ปัจจุบันยังไม่แน่ชัดในสาเหตุของโรค แต่คาดว่าเป็นอาการผิดปกติของสมอง สันนิษฐานว่า สารสื่อประสาทผิดปกติ ซึ่งโรคดังกล่าวจะเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต แต่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้หากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็คือ ไม่รู้จักบริบทสังคม ไม่รู้ว่าควรทำอะไร บางครั้งรู้ตัวว่าทำอะไร แต่ควบคุมให้ไม่ทำไม่ได้ หรือรู้ตัวก็จะทำ เพราะไม่รู้ความเหมาะสมตามบริบทของสังคม บางทีก็ไม่รู้เลยว่าตัวเองทำอะไร
ในส่วนของจำเลยเท่าที่แพทย์บันทึกไว้อาการที่สอดคล้องกับโรคจิตเภทคือ มีความหลงผิดว่าตนเองเป็นพระพุทธเจ้า ทั้งมีการรับรู้ผิดปกติคือ เห็นเงาดำ รวมถึงได้ยินเสียงสั่งให้ทำ
ผู้ป่วยจิตเภทมีหลายประเภท บางประเภทมีอาการเด่นในเรื่องการหลงผิด บางประเภทมีอาการเด่นในเรื่องหูแว่ว สำหรับจำเลยมีอาการเด่นคือ เป็นพารานอยด์ ภาษาไทยอาจจะเรียกว่า หวาดระแวง ก็ได้ โดยจะความคิดแปรปรวน หลงผิด ประสาทสัมผัสผิดไป หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดกลัว
ผู้ป่วยบางประเภทไม่ก่อความวุ่นวาย จะอยู่นิ่งๆ เฉยๆ ไม่กิน ไม่นอน บางประเภทหลงผิด ระแวง กลัวมากๆ จนทำให้ผู้ป่วยไปก่อเหตุ อาการที่รุนแรงที่สุด คือ ควบคุมตัวเองไม่ได้ แพทย์จะไม่สามารถบอกได้ว่า จะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เมื่อไหร่ แต่ถ้าได้รับการรักษาต่อเนื่องมีแนวโน้มว่า อาการจะไม่รุนแรง
อาการของโรคจิตเภทมีหลายระดับ บางคนยังทำงานได้ คุยรู้เรื่อง ยกเว้นเวลาที่อาการกำเริบหนัก คนที่มีประวัติว่ามีอาการป่วย แม้จะคุยรู้เรื่องก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้ป่วย หากผู้ป่วยกินยาต่อเนื่อง อาการก็จะสงบ แต่ไม่ได้หาย เหมือนคนเป็นไข้หวัด กินยาลดไข้อาการไข้ก็ลด แต่ไม่ได้แปลว่าหายหวัด
อาการหลักๆ ของจำเลยขณะก่อเหตุ อาจเป็นอาการของโรคจิตเภท ประกอบกับการขาดยา และมีตัวกระตุ้นคือสุรา
ในการประชุมคอนเฟอเรนซ์เพื่อสรุปอาการของจำเลยเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 ได้เชิญจำเลยและญาติมาร่วมด้วย ขณะนั้นจำเลยได้รับการรักษามาอย่างต่อเนื่องแล้ว
สำหรับอาการป่วยของจำเลย พยานมีคำแนะนำคือ ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ส่วนจะนัดมาพบหมอถี่แค่ไหนแล้วแต่อาการ ถ้าอาการดีอาจจะห่าง 3-6 เดือนต่อครั้ง ส่วนยาจะต้องกินทุกวัน ไม่ควรหยุด และมียาฉีดทุก 2-4 สัปดาห์
พยานเคยไปให้การกับพนักงานสอบสวน ตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่พยานให้การว่า ขณะเกิดเหตุพยานไม่ทราบว่าจำเลยมีสติสัมปชัญญะ หรือรู้สึกในการกระทำผิดของตัวเองหรือไม่นั้น หมายความว่า ณ เวลาเกิดเหตุไม่มีใครที่จะบอกได้ว่า จำเลยมีสติรู้ตัวหรือไม่ แต่จากประวัติการรักษาพอจะอนุมานได้ว่า ช่วงก่อเหตุซึ่งจำเลยขาดยา ประกอบกับเป็นโรคเรื้อรัง และมีการใช้สุราเป็นปัจจัยกระตุ้น จำเลยอาจจะมีอาการของโรคกำเริบและไม่รู้ตัว
นพ.สิปณัฐ ตอบโจทก์ถามค้าน ในเวลาต่อมาว่า ตามประวัติการรักษาของจำเลย ในปี 2563 โรงพยาบาลตระการพืชผลส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เนื่องจากจำเลยมีอาการก้าวร้าว พูดคนเดียว ไม่นอน ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง และแอดมิทเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในในเดือนธันวาคม 2563
ปี 2564 จำเลยอาการดีขึ้น จึงให้ไปรับยาที่โรงพยาบาลตระการพืชผล โดยญาติไปรับแทนและส่งไปให้จำเลยซึ่งไปทำงานที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ไปรับยาอยู่ 2 เดือน จากนั้นมาโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2564 หลังเกิดเหตุ
โดยหลักการผู้ป่วยควรมาพบหมอทุกเดือนตามนัดเพื่อดูอาการ แต่ในชีวิตจริงในทางปฏิบัติผู้ป่วยต้องไปทำงาน จึงอนุโลมให้ญาติมารับยาแทนได้
จากนั้น ศาลได้สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคจิตเภทและอาการของจำเลย นพ.สิปณัฐ เบิกความตอบว่า พยานระบุไม่ได้ว่า ผู้ป่วยขาดยาเป็นเวลานานเท่าไหร่ถึงจะมีอาการกำเริบ โดยเฉลี่ย 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน แต่บางคนขาดยา 2-3 วันก็มีอาการแล้ว
พยานได้สอบถามจำเลยว่า อาการที่ได้ยินเสียงสั่งให้ทำสิ่งต่าง เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน แต่จำไม่ได้ว่า จำเลยตอบว่าอย่างไร ต้องดูเวชระเบียน
.
หลังเสร็จการสืบพยาน ทนายจำเลยขอยื่นคำแถลงปิดคดีภายใน 30 วัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 ส.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานจำเลย ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58278)
-
วันที่: 23-06-2023นัด: ยื่นคำแถลงปิดคดีทนายจำเลยยื่นคำแถลงปิดคดี ระบุว่า จำเลยป่วยจริง และขาดเจตนาทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ ขอให้ศาลยกฟ้อง มีเนื้อหาดังนี้
คดีนี้จำเลยต่อสู้คดีว่า ได้ทำลายทรัพย์สินตามฟ้องโจทก์จริง แต่ไม่มีเจตนาดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ เพราะขณะกระทำการจำเลยไม่รู้สึกตัว โดยจำเลยได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลย ดังนี้
1. จำเลยนำนายแพทย์สิปณัฐ ศิลาเกษ จิตแพทย์ชำนาญการประจำโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เข้าเบิกความต่อศาลถึงผลตรวจโรคจิตของจำเลย และให้ความรู้ว่า โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยควบคุมตัวเองไม่ได้ ในบางครั้งอาจไม่รู้สึกตัวว่ากระทำสิ่งใดลงไป บางครั้งหวาดระแวง มีอาการหูแว่วประสาทหลอน ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องโดยการรับประทานยา จึงจะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ กรณีจำเลยกระทำตามฟ้องโจทก์นี้ จำเลยมีเสียงสวรรค์สั่งให้ทำและควบคุมตัวเองไม่ได้
นพ.สิปณัฐ เบิกความต่อศาลอธิบายอีกว่า “เมื่อดูจากประวัติของจำเลยคือขาดการรักษามาระยะหนึ่ง มีการดื่มสุราและลักษณะของโรคเป็นโรคที่เรื้อรัง ไม่หายขาด จึงอาจอนุมานได้ว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยมีอาการจิตเภท“
นพ.สิปณัฐ ตรวจรักษาจำเลยมาก่อนเกิดเหตุ จึงน่าเชื่อถือและย่อมสมควรรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ก่อนและขณะที่จำเลยก่อเหตุจนถึงปัจจุบัน จำเลยมีอาการจิตเภทเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงย่อมอนุมานได้ว่าขณะก่อเหตุจำเลยที่มีอาการจิตเภท ไม่สามารถควบคุมหรือรู้สำนึกถึงการกระทำของตนได้
2. เมื่อขณะกระทำการตามฟ้องโจทก์จำเลยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่สามารถรับรู้ถึงข้อเท็จจริง อันเป็นผลมาจากที่โรคจิตเภท จึงสมควรต้องรับฟังว่า จำเลยขาดเจตนาที่จะทำลายพระบรมฉายาลักษณ์
ประกอบกับพยานโจทก์ปาก พ.ต.ท.พีรพล เบิกความโดยสรุปว่า จำเลยแจ้งตั้งแต่แรก (โดยที่ไม่มีทนายความอยู่ด้วย) ว่า “สวรรค์สั่งให้ทำ” และในตรวจค้นบ้านพักของจำเลยก็ไม่พบพยานหลักฐานที่สื่อให้เห็นว่าผู้ต้องหาดูหมิ่น เหยียดหยามเกลียดชัง หรืออาฆาตมาดร้ายองค์พระมหากษัตริย์ แต่อย่างใด
รวมทั้งไพโรจน์ วรรณฉัตร เบิกความถึงเหตุการณ์ที่เห็นว่า “ขณะเกิดเหตุ มีเพื่อนที่อยู่ด้วยกันกับข้าฯ ด้วย ข้าฯ ยังสอบถามและพูดคุยกันว่า จำเลยน่าจะบ้า” สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของชินกาญ อินทรปัญญา พยานโจทก์ผู้เห็นเหตุการณ์อีกคนหนึ่งที่ว่า “ข้าฯ เห็นว่าลักษณะการกระทำของผู้ต้องหา มีพฤติการณ์สื่อให้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ได้กระทำด้วยอาการอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ หรือดูหมิ่น เหยียดหยามเกลียดชัง แต่อย่างใด เนื่องจากลักษณะท่าทางเป็นคนคล้ายๆ มีอาการป่วยทางจิตเวช” แสดงให้เห็นว่าวิญญูชนก็ยังสังเกตได้ว่าจำเลยมีอาการไม่ปกติ
ทั้งนี้ ร.ต.อ.ประสพโชค พนักงานสอบสวนในคดีนี้ ก็ทราบข้อเท็จจริงว่าจำเลยป่วยเป็นโรคจิตตั้งแต่แรก จากการสอบปากคำมารดาจำเลย และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งเป็นผู้จัดทำภาพถ่ายประกอบคดีที่ระบุชัดเจนว่าเป็น “ภาพบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรงพยาบาลตระการพืชผล ของคนไข้จิตเวช คือ ผู้ต้องหา …” ทั้งยังเป็นผู้ส่งตัวจำเลยให้แพทย์ตรวจอาการทางจิตด้วยตนเอง
เมื่อรับฟังพยานโจทก์ทั้งสามปากนี้ประกอบกับพยานจำเลยปาก นพ.สิปณัฐ ย่อมต้องรับฟังว่า ที่จำเลยกล่าวอ้างถึงอาการป่วยทางจิตตั้งแต่แรกที่ถูกจับกุมเป็นความจริงทั้งสิ้น
3. วัตถุแห่งการกระทำในคดีนี้เป็นเพียงป้ายภาพ แม้จะเป็นป้ายภาพซึ่งปรากฏพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ก็ตาม แต่ป้ายเหล่านั้นไม่อาจเป็นองค์พระมหากษัตริย์ และไม่ใช่สิ่งแทนองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะในทางกฎหมายหรือในทางความเป็นจริง ดังที่ฟ้องโจทก์อ้างว่าป้ายภาพตามฟ้องเป็นของเทศบาลตำบลตระการพืชผล ซึ่งหากเป็นองค์พระมหากษัตริย์หรือสิ่งแทนพระมหากษัตริย์ย่อมไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป้ายทั้ง 3 รายการได้จัดทำขึ้นไว้เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี เชิดชูเกียรติพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ และมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทย จึงเป็นการบรรยายฟ้องโดยตีความขยายความหมายตามอำเภอใจ ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อศาล นอกจากจะก่อให้เกิดภาระทางคดีความแก่จำเลยโดยไม่เป็นธรรมแล้ว ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใดด้วยประการทั้งปวง
4. ทางนำสืบของโจทก์ยังปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นพิรุธต้องสงสัยว่าการดำเนินคดีจำเลยนี้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เบื้องต้นโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน แต่ในสำนวนคดีกลับปรากฏบันทึกจับกุม ภาพถ่ายคดียังปรากฏภาพจำเลยถูกใส่กุญแจมือ นอกจากนี้ จำเลยถูกแจ้งข้อหาในวันที่เกิดเหตุทันทีเพียงข้อหาเดียวคือทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น แต่ต่อมาพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเรียกมาแจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากวันเกิดเหตุถึง 2 เดือน
ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ส่งเอกสารเข้าสู่สำนวนคดีของศาลหลายรายการ โดยเฉพาะเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวข้องกับอาการป่วยโรคจิตของจำเลย (คำให้การมารดาจำเลย ผู้ใหญ่บ้าน จิตแพทย์ และรายงานการตรวจรักษา) ทำให้ทนายจำเลยต้องขอศาลหมายเรียกเข้าสู่สำนวนเอง ทั้งที่พนักงานสอบสวนรวมทั้งอัยการโจทก์มีอำนาจหน้าที่พิสูจน์ความผิด รวมทั้งพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยในคดีอาญา สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะปกปิดข้อเท็จจริงต่อศาลเพื่อมุ่งหวังผลทางคดีในทางร้ายแก่จำเลย
นอกจากนี้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงและไม่ส่งพยานเอกสารสำคัญในคดี 2 ฉบับ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่จำเลยถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คือ
1) บันทึกข้อความเรื่อง รายงานเหตุด่วนน่าสนใจ ลงวันที่ 8 พ.ย. 2564 ซึ่งมีเนื้อความในตอนท้ายว่า “3. ในชั้นนี้พนักงานสอบสวนมีความเห็นตรงกันว่าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับทางการเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ประกอบกับผู้ใหญ่บ้านและราษฎรใกล้เคียงต่างยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวช หากขาดยาหรือรับประทานยาไม่ต่อเนื่องจะเกิดอาการดังกล่าว จึงน่าเชื่อได้ว่าไม่น่าเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ลงชื่อ พ.ต.อ.บุญเลิศ เลิศวัฒนกิตติ ผู้กำกับการ สภ.ตระการพืชผล
2) ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2565 ภายหลังจากแจ้งข้อหาเพิ่มเติมจำเลยเพียง 2 วัน มีการจัดทำเอกสารบันทึกข้อความเรื่อง รายงานเหตุคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ลงชื่อ พ.ต.อ.บุญเลิศ เลิศวัฒนกิตติ เช่นเดียวกัน แต่เนื้อหาใจความกลับเปลี่ยนไปสอดคล้องกับคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ที่ระบุว่า “..ต่อมา พนักงานอัยการได้คืนสำนวนพร้อมตัวผู้ต้องหา และให้ไปดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแขวงอุบลราชธานี เมื่อศาลได้รับคำร้องและพิจารณาพฤติการณ์แล้ว จึงยกคำร้องโดยแนะนำพนักงานสอบสวนให้ไปดำเนินคดีในความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 …”
และแผ่นที่ 2 ระบุว่า “..ซึ่งแม้ว่าจากการสอบสวนผู้ต้องหาจะอ้างว่าตนเองกระทำไปโดยมีจินตนาการว่ามีผู้สั่งการจากสวรรค์ ด้วยภาวะอาการป่วยทางจิต และมีมารดา, ผู้ใหญ่บ้าน ต่างให้การยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ป่วยจิตเวช แต่จากพฤติการณ์ของผู้ต้องหา… ซึ่งหากผู้ต้องหามีอาการป่วยทางจิตเวชและกระทำไปโดยไม่รู้สำนึกตามข้ออ้างแล้ว ผู้ต้องหาก็น่าจะทำลายทรัพย์อื่นๆ ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุนั้นด้วย แต่ผู้ต้องหาหาได้กระทำไม่ โดยเลือกทำลายเฉพาะป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงเจตนาของผู้ต้องหาเป็นอย่างดี…”
การที่ความเห็นในชั้นพนักงานสอบสวนเป็นไปในทางที่ไม่รับฟังข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยป่วยเป็นโรคจิตในขณะกระทำการนั้น น่าสงสัยว่าการดำเนินคดีต่อจำเลยเป็นไปโดยมีอคติ มุ่งเอาผิดจำเลยตามนโยบายของรัฐบาล โดยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเภท หรือพนักงานสอบสวนไม่อาจมีดุลพินิจได้อย่างอิสระเนื่องจากอยู่ภายใต้ระบบบังคับบัญชาที่อยู่ใต้นโยบายของรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง เป็นผลให้จำเลยต้องถูกดำเนินคดีอาญาร้ายแรงอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยโดยไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง หากการดำเนินคดีต่อจำเลยนี้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่สมควรรับฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบทุกประการ
ด้วยเหตุผลในประเด็นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงดังกล่าว คดีย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งแล้ว หรือมีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดฐานดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น เนื่องจากขณะกระทำการจำเลยไม่สามารถควบคุมการกระทำของตนเอง จำเลยจึงไม่สมควรต้องรับโทษทางอาญา ส่วนความเสียหายทางแพ่ง ขอศาลได้พิจารณาเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากอาการเจ็บป่วยของจำเลยประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยด้วย
(อ้างอิง: แถลงการณ์ปิดคดี ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 ลงวันที่ 23 มิ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58278) -
วันที่: 15-08-2023นัด: ฟังคำพิพากษาราว 08.30 น. แต้มเดินทางมาถึงศาลพร้อมแม่ดังเช่นทุกครั้ง ก่อนเข้าไปนั่งรอที่ห้องพิจารณาคดีที่ 10 ในวันนี้นอกจากคู่ความในคดีอันได้แก่ แต้ม ทนายจำเลย อัยการ และตัวแทนเทศบาลตำบลตระการพืชผล ผู้เสียหาย แล้ว ยังมีผู้สังเกตการณ์จาก iLaw และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลฯ เข้าร่วมฟังคำพิพากษาด้วย
เวลา 09.40 น. ศิษฏากร สวัสดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ออกนั่งอ่านคำพิพากษา โดยสรุปได้ว่า ศาลยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 เนื่องจากเห็นว่า การกระทำของแต้มไม่ได้แสดงถึงการดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แต่ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยเห็นว่า แม้แต้มจะเป็นโรคจิตเภท ที่มีอาการเรื้อรังมา 10 ปี แต่ขณะก่อเหตุแต้มไม่ถึงกับควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้ลงโทษสถานเบาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง จำคุก 3 เดือน ปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกและปรับให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 5 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติให้เข้ารับการรักษาอาการจิตเภทที่ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ตลอดเวลาที่รอการลงโทษ กับให้ชำระค่าเสียหายจำนวน 20,440 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ สิ้น
ผลคำพิพากษาทำให้ตำรวจประจำศาลที่มารอควบคุมตัว กลับออกจากห้องพิจารณาไป เหลือเพียงกระบวนการที่แต้มต้องไปรายงานตัวกับเจ้าพนักงานคุมประพฤติ และนายประกันยื่นคำร้องขอคืนเงินประกันของกองทุนราษฎรประสงค์จำนวน 90,000 บาท ที่วางไว้กับศาลในระหว่างพิจารณาคดี
หลังทนายความอธิบายคำพิพากษาให้แต้มฟังอีกครั้งจนเข้าใจ แต้มกล่าวด้วยความดีใจว่า “แต้มจะได้อยู่กับแม่ได้อีกนานๆ”
รายละเอียดคำพิพากษาโดยสรุปมีดังนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน จุดเกิดเหตุบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล มีพยานโจทก์ปาก ไพโรจน์ วรรณวัตร อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 100 เมตร เห็นจำเลยเข้าทุบทำลายป้ายใช้เวลา 4-5 นาที ก่อนขับมอเตอร์ไซค์ออกไป ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ส่วนจุดเกิดเหตุหน้าปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ มีพยานโจทก์ปาก ชินกาญ อินทรปัญญา เห็นเหตุการณ์ และเคยให้การในชั้นสอบสวนไว้ว่า ผู้ก่อเหตุเป็นชายใส่เสื้อแจ็คเก็ตแขนยาวสีน้ำเงิน กางเกงขาสั้นสีดำ คล้ายบุคคลที่ปรากฏในภาพจากกล้องวงจรปิด
และที่จุดเกิดเหตุหน้า บขส.ตระการพืชผล พ.ต.ท.พีรพล บุญศรัทธา เบิกความว่า พบจำเลยยืนอยู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ เมื่อสอบถามจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุ สอดคล้องกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่รับว่าเป็นผู้กระทำการทำลายป้ายในทั้ง 3 จุดจริง
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากลักษณะการลงมือทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง 3 แห่ง โดยแต่ละแห่งห่างไกลกัน หากจำเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำลายเป็นสิ่งใดคงยากที่จะทำสิ่งนี้ แม้จำเลยมี นพ.สิปณัฐ ศิลาเกษ จิตแพทย์ชำนาญการผู้ให้การตรวจรักษามาเบิกความว่า จำเลยเป็นจิตเภท ที่อาจเกิดอาการประสาทหลอน หูแว่ว แล้วก่อเหตุดังกล่าว แต่พยานก็ไม่ได้เบิกความว่า จำเลยสามารถเห็นภาพหลอนกับวัตถุบางอย่างเป็นการเฉพาะ ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยมีอาการเช่นนี้มาก่อน พยานหลักฐานโจทก์มีความหนักแน่นมั่นคง เชื่อว่า ขณะก่อเหตุจำเลยรู้สำนึกและสาระสำคัญของสิ่งที่ทุบทำลายว่าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ครบองค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
ส่วนจำเลยจะรู้สึกผิดชอบและบังคับตนเองได้ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ จากการเบิกความของ นพ.สิปณัฐ ได้ความว่า จำเลยเป็นผู้ป่วยมีอาการทางจิตเภทที่เข้ารับการรักษามาตั้งแต่ปี 2556 และดื่มสุรามาเป็นระยะเวลา 10 ปี บางครั้งจำเลยกินยาไม่สม่ำเสมอจนเกิดอาการได้ยินเสียงแว่ว เห็นภาพหลอน ก่อนเกิดเหตุมีการทานยาไม่สม่ำเสมอ ภายหลังถูกจับกุมดำเนินคดีพนักงานสอบสวนได้ส่งจำเลยไปตรวจสอบความสามารถในการต่อสู้คดี พยานได้จัดทำรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี เห็นว่า เอกสารมีความน่าเชื่อถือ เป็นการตรวจวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
สอดคล้องกับความเบิกความของ นพ.สิปณัฐ ที่ว่า โรคจิตเภทเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดแตกแยกออกไป ทำให้หลุดจากความจริง ควบคุมตัวเองไม่ได้ บางครั้งหวาดระแวง กลัว หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งผู้กระทำรู้ว่ากำลังกระทำสิ่งใดลงไป แต่ควบคุมไม่ให้กระทำการดังกล่าวไม่ได้ และในบางครั้งผู้กระทำไม่รู้สึกตัวก็มี การรักษาทำได้โดยการทานยาทุกวัน หากมีการใช้สารเสพติดก็อาจมีส่วนกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นได้
เมื่อดูประวัติการรักษาของจำเลย จำเลยขาดการรักษามาระยะหนึ่ง ประกอบกับมีการดื่มสุราและลักษณะของโรคเป็นโรคที่เรื้อรังไม่หายขาด จึงอนุมานได้ว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยมีอาการจิตเภท นพ.สิปณัฐ มีความรู้เชี่ยวชาญ นับเป็นพยานคนกลางที่เชื่อถือได้ คำเบิกความของจำเลยและ นพ.สิปณัฐ สอดคล้องต้องกันว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขาดยา ประกอบกับมีการดื่มสุรา กระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้น
ทั้งพยานโจทก์ปาก พ.ต.ท.พีรพล เบิกความว่า ขณะเชิญตัวจำเลยมาที่ สภ.ตระการพืชผล จำเลยให้การว่าเป็นผู้ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์จริง โดยบอกว่าสวรรค์เป็นคนสั่งให้ทำ และในชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า หูแว่ว เข้ากับอาการจิตเภทที่ นพ.สิปณัฐ เบิกความเอาไว้ข้างต้น รวมทั้งเบิกความด้วยว่า โรคจิตเภทมีอาการหลายระดับตั้งแต่อยู่นิ่งๆ ไม่แสดงอาการอะไร จนถึงมีพฤติกรรมหวาดระแวงมากๆ ควบคุมตัวเองไม่ได้
เมื่อพิจารณาจากประวัติการรักษาของจำเลย จำเลยเคยมีอาการหูแว่วได้ยินเสียงสั่งให้กระโดดลงจากตึก แต่จำเลยก็ไม่ได้กระโดดตามที่มีเสียงสั่ง ประกอบกับ นพ.สิปณัฐ เบิกความตอบศาลว่า จำเลยไม่เคยทำร้ายตนเอง และ พ.ต.ท.พีรพล เบิกความว่าตั้งแต่พบจำเลยที่หน้า บขส. และนำตัวไปสอบปากคำที่ สภ.ตระการพืชผล จำเลยไม่แสดงอาการผิดปกติ ทั้งที่มีระยะเวลาห่างจากเวลาเกิดเหตุไม่มาก และจำเลยยังขาดยาเช่นเดิม เชื่อว่า แม้จำเลยจะได้ยินเสียงสั่งให้ทำลายรูปภาพพระบรมฉายาลักษณ์ จำเลยก็สามารถปฏิเสธเสียงสั่งการนั้นได้
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอาการทางจิตไม่รุนแรงถึงขนาดไม่สามารถบังคับตนเองได้ จำเลยจึงยังต้องรับโทษในการกระทำของตนเอง ฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรค 2
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปว่า จำเลยกระทำผิดฐานดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์หรือไม่
คำว่า ดูหมิ่น ตามพจนานุกรม หมายถึง แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง อาฆาต หมายถึง ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น พยาบาท การพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่แวดล้อมขณะเกิดเหตุ รวมถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุของจำเลยด้วย
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยทำลายพระบรมฉายาลักษณ์โดยใช้ไม้ไผ่ เหล็กแหลม แต่ไม่ปรากฏว่า จำเลยมีกิริยาอาการในเชิงดูถูกหรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีจิตใจผูกใจเจ็บ อยากแก้แค้น ประกอบกับ พ.ต.ท.พีรพล ได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า พยานได้เข้าตรวจค้นที่พักอาศัยของจำเลยไม่พบเอกสารหรือข้อความและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการสื่อให้เห็นว่าผู้ต้องหามีการอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ หรือสื่อให้เห็นถึงการดูหมิ่น เหยียดหยาม เกลียดชังแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดโดยผิดกฎหมาย จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 พยานผู้ร้อง อภิชิต ทองประสม นิติกร เทศบาลตำบลตระการพืชผล เบิกความถึงค่าเสียหายเป็นจำนวน 20,440 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่นายกเทศมนตรี อนุมัติให้เบิกจ่ายได้จริงตามฎีกาเบิกจ่าย และเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยละเมิดของจำเลย
ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ไม่มีโทษขั้นต่ำ เห็นควรลงโทษสถานเบา
ประกอบกับ นพ.สิปณัฐ เบิกความว่า หากจำเลยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและทานยาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ขาด เชื่อว่าจำเลยจะอาการดีกว่านี้ เห็นว่า การปล่อยตัวจำเลยไม่น่าจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อประชาชน และไม่สมควรที่จะส่งตัวจำเลยไปรักษาอยู่ในสถานพยาบาล เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยไม่ทานยา แม้แม่จะตักเตือน จำเลยก็ไม่เชื่อฟัง เห็นว่าแม่ไม่สามารถตักเตือนจำเลยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้จำเลยกระทำความผิดขึ้นอีก จึงเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติให้จำเลยเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ประกอบมาตรา 65 วรรคสอง ให้จำคุก 3 เดือน ปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกและปรับรอการลงโทษไว้มีกำหนด 5 ปี และกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติให้จำเลยเข้ารับการรักษาอาการจิตเภทที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ตลอดเวลาที่รอการลงโทษ กับให้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับเทศบาลตำบลตระการพืชผลจำนวน 20,440 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี นับตั้งแต่วันวันถัดจากวันที่ยื่นคำร้องในวันที่ 30 ส.ค. 2565 จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.758/2566 ลงวันที่ 15 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58348) -
วันที่: 12-01-2024นัด: โจทก์ยื่นอุทธรณ์อนุชา ช้างสาร พนักงานอัยการศาลสูงจังหวัดอุบลราชธานี ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้น ลงโทษจำเลยสถานหนักในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 ด้วย โดยอ้างว่า จำเลยรู้สำนึกในการกระทำ ไม่ได้มีจิตฟั่นเฟือน และพระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าตัวบุคคล การกระทำต่อพระบรมฉายาลักษณ์จึงเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
1. ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกี่ยวกับในความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ว่าขณะเกิดเหตุจําเลยมีอาการโรคจิตเภทยังไม่รุนแรงจนถึงขนาดไม่สามารถบังคับตนเองได้โดยสิ้นเชิง การกระทําของจําเลยกระทําไปในขณะมีจิตฟั่นเฟือนแต่ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย โดยโจทก์เห็นว่า จําเลยรู้สํานึกในการกระทําของตน ไม่ได้มีจิตฟั่นเฟือนแต่อย่างใด
โดยโจทก์มีพยานปากไพโรจน์ วรรณฉัตร และชินกาญ อินทรปัญญา เบิกความถึงพฤติการณ์ของจําเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จําเลยสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ไปมาได้ในระยะที่ไกลพอสมควร จําเลยรู้ถึงวิธีการขับขี่ไปมา การหยุด การจอด และการที่จําเลยเขย่าพระบรมฉายาลักษณ์ประมาณ 5 นาที นําไม้ไผ่มาตีอีก 5 นาที จนพระบรมฉายาลักษณ์ฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าจําเลยรู้ว่าการเขย่าของตนนั้นไม่ได้ผล จึงได้คิดไตร่ตรองหาวิธีการใหม่ ทําให้น่าเชื่อว่าขณะกระทําความผิดจําเลยรู้สึกผิดชอบ
นอกจากนี้ จําเลยยังได้ขี่รถจักรยานยนต์ไปทําลายพระบรมฉายาลักษณ์อีกที่หนึ่งโดยใช้เหล็กเสียบเสาธงเสียบพระบรมฉายาลักษณ์และใช้มือดึงจนพระบรมฉายาลักษณ์ฉีกขาดลง ยิ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าจําเลยมีวิธีการที่จะทําให้พระบรมฉายาลักษณ์ได้รับความเสียหาย จําเลยจึงไม่ได้ฟั่นเฟือนในขณะทําความผิด
และจากคําเบิกความของมารดาของจําเลย ทํานองว่า ในวันเกิดเหตุ จําเลยบอกว่าจะไปสมัครงาน พยานบอกไม่ให้ไป แต่จําเลยยืนยันว่าจะไป จึงเห็นได้ว่าจําเลยก็มีสติ พูดคุยกับมารดาของจําเลยได้ตามปกติของคนทั่วไป ไม่มีลักษณะคนมีสติฟั่นเฟือนแต่อย่างใด
แม้จะมีแพทย์มายืนยันว่าจําเลยเป็นโรคจิตเภทก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจําเลยมีสติฟั่นเฟือนตลอดเวลา และในชั้นพิจารณาจําเลยให้การปฏิเสธ จําเลยก็ไม่ได้มีอาการว่าจะมีสติฟั่นเฟือนแต่อย่างใด มีลักษณะเหมือนคนปกติทั่วไป
อีกทั้งแพทย์ยังเบิกความจากประวัติการรักษาของจําเลยว่า ในช่วงเกิดเหตุจําเลยเริ่มขาดการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมดื่มสุราซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้อาการของโรคจิตเภทรุนแรงยิ่งขึ้น จึงเป็นการกระทําของจําเลยที่ไม่ทานยาตามกําหนดและยังได้ดื่มสุราอีกด้วย จําเลยจะยกเป็นข้อแก้ตัวว่าสติฟั่นเฟือน เพื่อให้รับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 มิได้
2. ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สําหรับความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พยานโจทก์นําสืบมาฟังได้แต่เพียงว่า จําเลยทําลายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์โดยใช้ไม้ไผ่ฟาด ใช้เหล็กขว้างใส่ แต่ไม่ปรากฏ ว่าจําเลยแสดงกริยาท่าทางใดที่เป็นเชิงดูถูก หรือมีพฤติการณ์อื่นที่มาประกอบการกระทําของจําเลยที่บ่งชี้ถึงเจตนาภายในใจว่าจําเลยกระทําไปโดยผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้นหรือปองร้ายพระมหากษัตริย์ อีกทั้งพันตํารวจโทพีรพลกับพวกค้นภายในที่พักของจําเลยแล้ว ไม่พบเอกสารหรือข้อความและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการสื่อให้เห็นว่าจําเลยอาฆาตมาดร้าย หรือดูหมิ่น เหยียดหยาม เกลียดชังพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด จึงไม่ปรากฏมูลเหตุจูงใจที่บ่งชี้ว่าจําเลยกระทําการไปด้วยเจตนาร้าย จําเลยจึงไม่มีความผิด นั้น
โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย โดยโจทก์เห็นว่า ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
และในทรรศนะของสังคมไทยเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าตัวบุคคล มีไว้กราบไหว้และเป็นที่เคารพสักการะ ต้องเก็บรักษาและดูแลไม่ให้เสื่อมเสียเกียรติ ไม่ควรแสดงเสรีภาพหรือมีพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติที่มีพระบรมฉายาลักษณ์เป็นการถวายพระเกียรติแก่พระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาในการแพร่พระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งต้องการเฉลิมพระเกียรติและแสดงออกถึงความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
พฤติการณ์ของจำเลยนอกจากใช้ไม้ฟาดและใช้เหล็กขว้างใส่พระบรมฉายาลักษณ์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แล้วจําเลยยังได้ใช้เท้ากระทืบซุ้มประตู และมีการฉุดกระชาก ทําให้พระบรมฉายาลักษณ์ฉีกขาดลงมาพังเสียหายกองที่พื้นอีกด้วย เป็นการกระทำอันไม่สมควรล่วงละเมิด เป็นการแสดงออกโดยมีเจตนาโดยตรงมุ่งกระทําต่อพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนพระองค์ และเป็นการแสดงออกว่าจะทําให้เสียหายแก่ร่างกาย ทรัพย์สิน เสรีภาพ หรือชื่อเสียงเกียรติคุณ จึงนับว่าเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ เป็นการด้อยค่า และเป็นการไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ครบองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว
แม้ภายหลังจับจําเลยเจ้าพนักงานตํารวจได้ตรวจค้นที่พักของจําเลย ไม่พบเอกสารหรือข้อความและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการสื่อให้เห็นว่าจําเลยมีการอาฆาตมาดร้าย หรือดูหมิ่น เหยียดหยาม เกลียดชังต่อพระมหากษัตริย์ก็ตาม แต่การกระทําของจําเลยแสดงโดยแจ้งชัดถึงเจตนาของจําเลยแล้ว
การกระทําของจําเลยที่กระทําต่อพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 นั้น เป็นการกระทําความผิดร้ายแรงกระทบต่อความรู้สึกของคนไทยที่พบเห็นหรือทราบข่าว การที่ศาลชั้นต้นกําหนดโทษและรอการลงโทษจําเลยไว้ในความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์นั้น จึงเป็นการกําหนดโทษจําเลยสถานเบาเกินไป ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์และรูปคดี
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โจทก์เห็นว่า จําเลยได้กระทําความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจริง ขอศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และทําให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 358 และลงโทษจําเลยสถานหนักด้วย
(อ้างอิง: อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.758/2566 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/69552) -
วันที่: 11-04-2024นัด: จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ทนายจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ยืนยันว่า ขณะกระทำการจำเลยป่วยเป็นโรคจิตเภท ไม่สามารถรู้สำนึกและควบคุมการกระทำของตนเองได้ อีกทั้งพระบรมฉายาลักษณ์มิได้เทียบเท่าองค์พระมหากษัตริย์ หากตีความดังที่โจทก์กล่าวอ้างย่อมจะเป็นการขยายความตัวบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจนเกินขอบเขต มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
จำเลยเห็นพ้องด้วยว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องตามหลักการตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัดแล้ว ทั้งเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้มีข้อวินิจฉัยโดยใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานอย่างถี่ถ้วน และคำนึงถึงการอำนวยความยุติธรรมต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทอันเป็นโรคเรื้อรังอย่างเหมาะสมแล้ว เนื่องจากจำเลยมิได้มีเจตนาฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่การกระทำผิดตามฟ้องโจทก์ด้วยความบกพร่องทางจิต
โจทก์อุทธรณ์ให้ศาลลงโทษจำเลยสถานหนักในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิ้น จึงขอแก้อุทธรณ์ของโจทก์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยขอถือเอาเหตุผลตามข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ประกอบกับเหตุผลในประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่า
1. จำเลยป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophenic Disorder) ซึ่งเป็นโรคจิตมีลักษณะเรื้อรังมาประมาณ 12 ปี ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ โดยนายแพทย์เจ้าของไข้ของจำเลยได้จัดทำรายงานการตรวจวินิจฉัยระบุว่า จำเลยป่วยเป็นโรคจิตเภทแต่สามารถต่อสู้คดีได้ เนื่องจากภายหลังเกิดเหตุได้รับการรักษาแล้ว และยังได้เบิกความต่อศาลว่า “…จึงอาจอนุมานได้ว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยมีอาการจิตเภท” แม้จำเลยเห็นว่าตัวจำเลยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ในขณะกระทำการ แต่ที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสองนั้น พอเหมาะสมแก่พฤติการณ์ของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น
ด้วยเหตุนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า “..โจทก์เห็นว่าจำเลยรู้สำนึกในการกระทำของตน ไม่ได้มีจิตฟั่นเฟือนแต่อย่างใด..” นั้น จำเลยจึงไม่อาจเห็นพ้องด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ โดยขัดแย้งกับพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบเอง พยานที่โจทก์อ้าง คือ ไพโรจน์และชินกาญ ก็ยังเบิกความถึงขณะที่เห็นเหตุการณ์ว่า ในลักษณะว่า จำเลยน่าจะบ้าหรือป่วยทางจิตเวช แสดงให้เห็นว่าวิญญูชนผู้มีใจเป็นธรรมก็ยังสังเกตได้ว่าจำเลยมีอาการไม่ปกติ
จึงควรรับฟังเข้าใจได้ว่า จำเลยไม่ได้รู้สึกผิดชอบพอที่จะมีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพียงแต่ทำลายป้ายของผู้อื่นเท่านั้น ด้วยอาการที่เห็นชัดแจ้งว่าไม่ปกติ ข้ออุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นการคาดเดาอย่างเลื่อนลอย โดยขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนคดี ไม่สมควรรับฟัง
โดยพฤติการณ์ของจำเลยประกอบกับเวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน สถานที่เกิดเหตุก็เป็นที่สาธารณะอยู่ใกล้ สภ.ตระการพืชผล หากจำเลยรู้สำนึกเหมือนคนปกติย่อมไม่กล้ากระทำการ และจำเลยก็ยังมิได้หลบหนีไปจากบริเวณที่เกิดเหตุอีกด้วย โดย พ.ต.ท.พีรพล บุญศรัทธา ผู้จับกุมจำเลย ซึ่งได้พบจำเลยขณะอยู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารตระการพืชผล เบิกความไว้โดยสรุปว่า จำเลยรับตั้งแต่แรกว่าเป็นผู้ก่อเหตุและให้เหตุผลว่า “สวรรค์สั่งให้ทำ” ซึ่งย่อมมิใช่เหตุผลหรือข้ออ้างของผู้มีจิตใจปกติ ทั้งจำเลยก็ยังไม่มีทนายความ ย่อมน่าเชื่อว่าให้การตามความรับรู้ของตัวจำเลยซึ่งมีอาการโรคจิตกำเริบในขณะนั้น
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างคำเบิกความของมารดาจำเลยว่า มีการพูดคุยกับจำเลย เชื่อว่าจำเลยมีสติ เพราะสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์และเขย่าป้ายได้ ทำให้น่าเชื่อว่าขณะกระทำความผิดจำเลยรู้สึกผิดชอบ ทั้งโจทก์ยังอ้างว่าในชั้นพิจารณาจำเลยมีลักษณะเหมือนคนปกติทั่วไปนั้น
จำเลยเห็นว่า ไม่เพียงแต่โจทก์ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการโรคจิต โจทก์ยังอาศัยเพียงการคาดเดาอย่างขาดความสมเหตุสมผลถึงสภาพจิตใจและเจตนาของจำเลย ทั้งยังขาดความเห็นอกเห็นใจ มุ่งหวังผลทางคดีให้จำเลยต้องรับโทษสถานหนัก โดยโจทก์ไม่นำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคของจำเลยซึ่งมีอยู่ในสำนวนของโจทก์อยู่แล้ว กลับต้องให้จำเลยมีภาระนำสืบในประเด็นนี้เอง ซึ่งจำเลยก็ได้นำสืบจนเป็นที่ประจักษ์ต่อศาลแล้วว่า จำเลยมีสติฟั่นเฟือนขณะกระทำการ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงมีข้อสงสัยว่าเป็นการปกปิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยมุ่งหวังจะให้ศาลเข้าใจผิดในพฤติการณ์แห่งการกระทำเพื่อลงโทษจำเลย ไม่สมควรรับฟัง
ทั้งนี้ จิตแพทย์ได้เบิกความให้ความรู้ต่อศาลด้วยว่า โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องโดยการรับประทานยา จึงจะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ จึงสมควรรับฟังว่า ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยสามารถพูดคุยให้การเป็นปกติได้ก็เพราะได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจิตเภทสามารถพูดคุยได้ปกติเมื่ออาการไม่ได้กำเริบ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถทราบได้ว่าอาการจะกำเริบเมื่อใด มิใช่ดังที่โจทก์อ้างว่า จำเลยพูดคุยรู้เรื่องจึงไม่ได้สติฟั่นเฟือน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดไปจากจิตแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกันนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า “…จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ไม่ทานยาตามกำหนดและยังได้ดื่มสุราอีกด้วย ทำให้มีส่วนกระตุ้นให้โรคจิตเภทของจำเลยกำเริบขึ้น จำเลยจะยกเป็นข้อแก้ตัวว่าสติฟั่นเฟือน เพื่อให้รับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 หามิได้” นั้นจึงเป็นการที่โจทก์มิได้แยกแยะเหตุผลทางกฎหมายที่บุคคลจะขาดสติหรือมึนเมาเพราะเสพสุราหรือสิ่งเมาอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66 มาเป็นข้ออ้าง ซึ่งแตกต่างจากกรณีสติฟั่นเฟือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 เนื่องจากอาการเจ็บป่วยที่ก่อให้เกิดสติฟั่นเฟือนของจำเลยนั้นมีสาเหตุหลักมาจากโรคติดตัวเรื้อรัง มิใช่เกิดจากความมึนเมาเนื่องจากการเสพสุราแต่อย่างใด ซึ่งจิตแพทย์ก็ได้เบิกความไว้อย่างชัดเจนแล้ว
และการที่จำเลยขาดยาก็มีสาเหตุมาจากที่ช่วงเวลาดังกล่าวยารักษาโรคถูกส่งไปยังภูมิลำเนาทหารเดิมของจำเลย ไม่ใช่ความผิดของจำเลย ซึ่งแท้จริงแล้วโรคจิตเภทมีผลโดยตรงกับการแสดงออกหรือการกระทำของจำเลย เป็นความทุกข์ทรมานที่ปรากฏอยู่จริงโดยที่จำเลยมิได้ประสงค์จะใช้เป็นข้ออ้างดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด
2. การที่โจทก์กล่าวอ้างรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 และกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า พระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่ากับตัวบุคคล การกระทำต่อพระบรมฉายาลักษณ์เป็นการแสดงออกว่าจะทำให้เสียหายแก่ร่างกาย ทรัพย์สิน เสรีภาพหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ จึงเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายและดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์นั้น จำเลยไม่อาจเห็นพ้องด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการที่โจทก์ตีความขยายความบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้ครอบคลุมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญซึ่งมิใช่องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบกับโจทก์ก็มิได้นำสืบในชั้นพิจารณาว่า พระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าบุคคล จึงไม่ชอบที่จะรับฟังอุทธรณ์โจทก์ในข้อนี้
โดยจำเลยเห็นว่า องค์พระมหากษัตริย์ไม่อาจมีค่าเทียบเท่ากับพระบรมฉายาลักษณ์ได้ ไม่สมเหตุสมผลและไม่อาจเป็นจริงได้เลย เพราะหากตีความเช่นนั้นย่อมเป็นการตีความที่จะไปลดทอนคุณค่าขององค์พระมหากษัตริย์ให้มาเทียบเท่ากับป้ายภาพซึ่งเป็นเพียงสิ่งของ ทั้งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ดังเช่นในธนบัตรหรือเหรียญก็มีพระบรมฉายาลักษณ์ปรากฏอยู่ แต่ก็มิได้มีคุณค่าหรือเป็นสิ่งแทนองค์พระมหากษัตริย์ มิใช่เรื่องปกติทั่วไปที่คนในสังคมจะกราบไหว้ธนบัตรหรือเงินตราเพียงเพราะมีพระบรมฉายาลักษณ์ การกล่าวอ้างของโจทก์จึงไม่มีสาระ ไม่สมควรรับฟัง
ส่วนการกระทำต่อพระบรมฉายาลักษณ์จะเป็นความผิดฐานแสดงความอาฆาตมาดร้ายและดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์หรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาเจตนาของผู้กระทำด้วย ซึ่งประเด็นนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้อย่างเคร่งครัดโดยชอบด้วยหลักกฎหมายอาญาแล้ว
การที่โจทก์บรรยายอุทธรณ์ทำนองว่า การทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ตัวแทนองค์พระมหากษัตริย์ ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้แต่ประการใดว่าจำเลยมีเจตนาล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ โดยสรุปเพียงว่า “..แต่การกระทำของจำเลยแสดงโดยแจ้งชัดถึงเจตนาของจำเลยแล้ว” จึงเป็นการที่โจทก์เข้าไปล่วงรู้ภายในจิตใจของจำเลยโดยการคาดเดาอย่างขาดความสมเหตุสมผล ไม่เป็นธรรม เพราะจำเลยเป็นเพียงผู้ป่วยจิตเภท มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างโดยอำเภอใจ
การที่โจทก์บรรยายอุทธรณ์โดยมุ่งหวังให้ศาลตีความไปในทันทีว่าการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากจะเป็นการตีความขยายความให้เกินขอบเขตจากบทบัญญัติอาญาซึ่งเป็นการตีความที่ไม่เคร่งครัดตามหลักการ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว เนื่องจากความไม่แน่นอนในการบังคับใช้ และยากต่อการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ ของประชาชนอันเกี่ยวเนื่องกับวัตถุต่าง ๆ ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ปรากฏอยู่อย่างธนบัตรและเหรียญเงิน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาเจตนาของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏด้วย
จำเลยเห็นพ้องด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ว่าเป็นการที่ศาลชั้นต้นตีความบทบัญญัติความผิดปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพยานหลักฐานในสำนวนคดีนี้ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญาและบทบัญญัติที่คุ้มครองผู้วิกลจริตที่ขาดเจตนามีความรับรู้บกพร่องโดยชอบแล้ว เพื่อมิให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างกว้างขวางไร้ขอบเขตที่แน่นอนโดยไม่เป็นธรรม
การตีความบังคับใช้บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างไม่มีขอบเขตดังที่โจทก์อุทธรณ์มาย่อมส่งผลเสียหายต่อองค์พระมหากษัตริย์ร้ายแรงยิ่งกว่า ชอบที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จะได้มีข้อวินิจฉัยตีความด้วยเหตุผลตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นประกอบกับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
จำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผลแล้วในการมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และลงโทษจำเลยสถานเบาตามความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย และสั่งให้คุมประพฤติจำเลยโดยกำหนดให้จำเลยเข้ารับการรักษาอาการโรคจิตของจำเลยอย่างต่อเนื่องในความดูแลของแพทย์ ซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอย่างเคร่งครัดแล้ว โดยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เทศบาลตำบลตระการพืชผลแล้ว และเข้ารักษาตัวกับจิตแพทย์อย่างต่อเนื่องตามที่ศาลมีคำสั่ง
ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่กล่าวมา จำเลยขอศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษายืน โดยพิพากษายกฟ้องจำเลยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย
(อ้างอิง: คำแก้อุทธรณ์ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี คดีหมายเลขดำที่ อ.559/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.758/2566 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/69552) -
วันที่: 04-09-2024นัด: ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 10 ธีรยุทธ เจริญผลอนันต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดอุบลราชธานี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงวันที่ 26 ก.ค. 2567 ซึ่งองค์คณะผู้พิพากษาที่ประกอบด้วย สุนันทา ผดุงเกียรติวงศ์, วิวุฒิ มณีนิล และสุทธิมาลย์ วิริยะการุณย์ วินิจฉัยไว้ว่า
จำเลยมีมารดาเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยป่วยเป็นโรคประสาทมาประมาณ 12 ปี เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตระการพืชผล แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำเลยรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ หากไม่ได้รับประทานยาจะมีอาการหงุดหงิดและทำลายสิ่งของในบ้าน ก่อนวันเกิดเหตุไม่ได้รับยามาประมาณ 5 วัน หลังเกิดเหตุจำเลยบอกว่ามีเสียงสั่งให้ทำ หากไม่ทำจะมีอันเป็นไป
และสิปณัฐ ศิลาเกษ จิตแพทย์ เบิกความว่า ตำรวจพาจำเลยมาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เพื่อรักษาอาการทางจิต และขอให้พิจารณาความสามารถในการต่อสู้คดี คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภทและโรคติดสุรา แต่มีความสามารถในการต่อสู้คดีได้ จำเลยมีประวัติการรักษามาก่อนเกิดเหตุประมาณ 10 ปี
โรคจิตเภทเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดแตกแยกออกไป ทำให้หลุดจากความจริง หวาดระแวง กลัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งหมายถึงบางครั้งรู้ว่ากำลังทำสิ่งใด แต่ควบคุมไม่ให้กระทำการดังกล่าวไม่ได้ และบางครั้งอาจไม่รู้สึกตัว สันนิษฐานว่าเกิดจากความปกติของสมอง เป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลักษณะจิตเภทของจำเลยจะเด่นชัดในด้านมีความคิดแปรปรวน ไม่เป็นความจริง หลงผิด เข้าใจว่าตัวเองมีพลังวิเศษ ประสาทการรับสัมผัสบิดเบือน หูแว่ว เป็นภาพหลอน
อาการของโรคดังกล่าวมีหลายระดับ ตั้งแต่ไม่แสดงอาการจนถึงมีพฤติกรรมหวาดระแวงมาก ควบคุมตัวเองไม่ได้ หากอาการไม่รุนแรงอาจพูดคุยรู้เรื่อง มีสติดี หากมีอาการรุนแรงอาจพูดคุยรู้เรื่องในเวลาปกติ แต่ขณะอาการกําเริบอาจพูดคุยไม่รู้เรื่อง สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ เมทแอมเฟตามีน อาจมีส่วนกระตุ้นให้อาการทางจิตรุนแรงขึ้น
เห็นว่า แม้จิตแพทย์ไม่เบิกความยืนยันว่าจำเลยมีจิตฟั่นเฟือนตลอดเวลาดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ได้ความจากพยานปากนี้ว่า ขณะเกิดเหตุไม่มีผู้ใดสามารถทราบได้ว่าจำเลยมีสติสัมปชัญญะ รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือไม่ แต่จากประวัติซึ่งจำเลยขาดการรักษามาระยะหนึ่ง ดื่มสุรา และลักษณะของโรคเรื้อรังไม่หายขาด จึงอนุมานได้ว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยมีอาการจิตเภท
ดังนี้ เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของจิตแพทย์ที่ตรวจรักษาจำเลย ประวัติการตรวจรักษา ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ ไพโรจน์ วรรณฉัตร ว่า ขณะจำเลยขับรถจักรยานยนตร์มาหยุดที่กลางถนนด้านหน้าโรงเรียนตระการพืชผลนั้น จำเลยส่งเสียงเอะอะโวยวาย พูดไม่เป็นภาษา ทำให้เชื่อได้ว่า ขณะที่จำเลยทุบทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง 3 แห่งนั้น จำเลยมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน
ส่วนการที่จําเลยไม่รับประทานยาและดื่มสุรา อันเป็นการกระทําของจําเลยเอง หาใช่เหตุที่จะนํามารับฟังว่าจําเลยไม่ได้กระทําการตามฟ้องขณะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนตามที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่
แต่พฤติการณ์ที่จำเลยทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ 3 แห่ง แต่ละแห่งอยู่ห่างกันและไม่ทำลายทรัพย์สินอื่น แสดงให้เห็นว่า ขณะที่กระทำการดังกล่าวยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้
สำหรับข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น ได้ความจากไพโรจน์และชินกาญ พยานโจทก์ ว่า จำเลยเขย่า ถีบ และใช้ไม้ไผ่ฟาดพระบรมฉายาลักษณ์ที่กลางถนนด้านหน้าโรงเรียนมัธยมตระการพืชผลหลายครั้งจนขาด จำเลยใช้เหล็กสำหรับเสียบเสาธงขว้างและเกี่ยวพระบรมฉายาลักษณ์บริเวณเกาะกลางถนนหน้าหน่วยกู้ภัยตระการร่วมใจคุณธรรมจนขาด
แม้การกระทำของจำเลยเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยกระทำขณะมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน กรณีจึงเป็นการไม่แจ้งชัดว่า จำเลยกระทำโดยมีเจตนาดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์หรือไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไม่มีเหตุให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน.
(อ้างอิง: คำพิพากษ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 895/2567 คดีหมายเลขแดงที่ 2551/2567 ลงวันที่ 26 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/69673)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แต้ม (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แต้ม (นามสมมติ)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ศิษฏากร สวัสดี
- เมธัส หวังประเสริฐกุล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
15-08-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แต้ม (นามสมมติ)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สุนันทา ผดุงเกียรติวงศ์
- วิวุฒิ มณีนิล
- สุทธิมาลย์ วิริยะการุณย์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ :
04-09-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์