ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.329/2565
ผู้กล่าวหา
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.329/2565
ผู้กล่าวหา
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ความสำคัญของคดี
ทีปกร อายุ 37 ปี อดีตเจ้าของธุรกิจร้านนวด ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 หลังกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เข้าแจ้งความกล่าวหาว่า เป็นผู้โพสต์ข้อความพร้อมแชร์คลิปที่มีข้อความตั้งคำถามและวิจารณ์กษัตริย์บนเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2563 โดยก่อนหน้าถูกเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหา ตำรวจ สน.นิมิตรใหม่ และ ปอท.ได้เข้าตรวจค้นบ้าน และตรวจยึดโทรศัพท์ พร้อมทั้งให้บอกรหัสผ่าน โดยไม่มีคำสั่งศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ชั้นสอบสวนทีปกรไม่ได้ถูกควบคุมตัว และได้รับการประกันตัวในชั้นพิจารณาคดี
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบสันติของประชาชน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบสันติของประชาชน
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ชญาพร นาคะผดุงรัตน์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2563 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊ก ได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ นําเข้าและเผยแพร่สู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยการแชร์คลิปวิดีโอจากยูทูบลงในเฟซบุ๊กของจําเลย ตั้งค่าการเข้าถึงเป็นสาธารณะ ซึ่งปรากฏภาพตัดต่อข้อความว่า “กษัตริย์มีไว้ทําไม” และมีการขีดทับสีแดงบนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่10 โดยมีข้อความหัวข้อวิดีโอที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ พร้อมโพสต์ข้อความว่า “#กษัตริย์มีไว้ทําไม ผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดินคือเหล่าราษฎร…”
ข้อความและคลิปดังกล่าว เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทําให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกลบหลู่ และมีเจตนาไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.329/2565 ลงวันที่ 15 ก.พ. 2565)
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2563 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊ก ได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ นําเข้าและเผยแพร่สู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยการแชร์คลิปวิดีโอจากยูทูบลงในเฟซบุ๊กของจําเลย ตั้งค่าการเข้าถึงเป็นสาธารณะ ซึ่งปรากฏภาพตัดต่อข้อความว่า “กษัตริย์มีไว้ทําไม” และมีการขีดทับสีแดงบนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่10 โดยมีข้อความหัวข้อวิดีโอที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ พร้อมโพสต์ข้อความว่า “#กษัตริย์มีไว้ทําไม ผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดินคือเหล่าราษฎร…”
ข้อความและคลิปดังกล่าว เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทําให้รัชกาลที่ 10 ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกลบหลู่ และมีเจตนาไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.329/2565 ลงวันที่ 15 ก.พ. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 23-08-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาทีปกร (สงวนนามสกุล) เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ บก.ปอท. พร้อมทนายความ ตามที่นัดหมายไว้ พ.ต.ต.นัฏ จินดาโชติอมร สว.(สอบสวน) กก.1 บก.ปอท. แจ้งข้อเท็จจริงที่กล่าวหาให้ทีปกรทราบว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ทราบว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อบัญชีตรงกับชื่อภาษาอังกฤษของทีปกร โพสต์ข้อความว่า “ผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดินคือเหล่าราษฎร..." พร้อมทั้งแชร์รูปภาพที่มีข้อความตั้งคำถามและวิจารณ์กษัตริย์ มีการขีดทับพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 จึงมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษดําเนินคดีกับผู้ต้องหาดังกล่าว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาทีปกรว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดง ความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร" อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) โดยทีปกรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
หลังพนักงานสอบสวนสอบปากคำทีปกรแล้วเสร็จ ไม่ได้ควบคุมตัวทีปกรไว้แต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้ เมื่อเช้าวันที่ 13 ส.ค. 2564 ตำรวจ สน.นิมิตรใหม่ และตำรวจจาก บก.ปอท. ประมาณ 10 นาย ไปที่บ้านพักของทีปกรย่านคลองสามวาพร้อมแสดงหมายค้น แต่ไม่ให้ถ่ายภาพ ทีปกรที่อยู่บ้านในขณะนั้นจึงให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้น ตำรวจพยายามจะค้นหาคอมพิวเตอร์และต้องการยึดคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีในบ้านซึ่งไม่ได้เป็นของเขา แต่เขาและครอบครัวไม่ยินยอม ท้ายที่สุดทีปกรถูกยึดโทรศัพท์มือถือพร้อมให้บอกรหัสผ่านของเฟซบุ๊กและอีเมล โดยที่ไม่มีคำสั่งศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนทำบันทึกตรวจยึด ภายหลังจากนั้น พนักงานสอบสวนจึงได้ติดต่อให้ทีปกรเข้ารับทราบข้อกล่าวหา
ทีปกรเป็นประชาชนอีกคนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเขาเคยเป็นเจ้าของธุรกิจร้านนวด แต่เนื่องจากธุรกิจของเขาถูกสั่งปิดโดยนโยบายของรัฐบาลหลายต่อหลายรอบในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เขาไม่สามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายได้อีกต่อไปและต้องปิดกิจการในที่สุด ทีปกรกล่าวว่า การที่เขาถูกดำเนินคดีเป็นการซ้ำเติมสภาวะที่ยากลำบากอยู่แล้วในปัจจุบันให้ยากลำบากยิ่งขึ้น การจะเริ่มทำงานที่ใหม่ทั้งที่ยังมีคดีความจะต้องสะสางไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าการกระทำของตนเองไม่ใช่การแสดงความอาฆาตมาดร้ายและเชื่อมั่นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา กก.1 บก.ปอท. ลงวันที่ 23 ส.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/40565) -
วันที่: 06-10-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนส่งตัวทีปกรและสำนวนการสอบสวนให้อัยการ อัยการนัดฟังคำสั่งในคดีวันที่ 26 ต.ค. 2564 เวลา 11.00 น.
-
วันที่: 26-10-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนฟังคำสั่งไปวันที่ 25 พ.ย. 2564
-
วันที่: 25-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนฟังคำสั่งไปวันที่ 27 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 27-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนฟังคำสั่งไปวันที่ 26 ม.ค. 2565
-
วันที่: 26-01-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนฟังคำสั่งไปวันที่ 15 ก.พ. 2565
-
วันที่: 15-02-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 มีความเห็นสั่งฟ้องทีปกร และยื่นฟ้องต่อศาลอาญา รัชดาฯ ในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการโพสต์ข้อความและแชร์คลิปจากยูทูบ ที่มีเนื้อหาตั้งคำถามและวิจารณ์รัชกาลที่ 10
ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างการพิจารณาคดี โดยให้เป็นดุลพินิจของศาล
หลังศาลรับฟ้อง และทนายความยื่นประกันตัวในชั้นพิจารณาคดี ศาลอนุญาตให้ประกันตัวด้วยเงินสด 90,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 เม.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.329/2565 ลงวันที่ 15 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40565) -
วันที่: 11-04-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานทีปกรเดินทางไปศาลพร้อมผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลย โดยทนายจำเลยมีคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลจึงเลื่อนนัดพร้อมสอบคำให้การ ตรวจพยาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน ไปเป็นวันที่ 2 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.329/2565 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2565) -
วันที่: 02-05-2022นัด: นัดตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง ทีปกรยืนยันให้การปฏิเสธ หลังทั้งสองฝ่ายตรวจพยานหลักฐานแล้ว ตกลงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 18-19 เม.ย. 2566 และสืบพยานจำเลยวันที่ 20 เม.ย. 2566
-
วันที่: 18-04-2023นัด: สืบพยานโจทก์
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทีปกร (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทีปกร (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์