ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ. 1035/2566

ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ. 1035/2566

ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ. 1035/2566

ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 1035/2566
ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 1035/2566
ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 1035/2566
ผู้กล่าวหา
  • กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล

ความสำคัญของคดี

"บี๋" นิราภร อ่อนขาว, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ เบนจา อะปัญ 3 นักศึกษา และนักกิจกรรมกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) หลังกัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล ประชาชนทั่วไป เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีจากกรณีเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ไกรพันธุ์ พรหมานุกูล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า

ขณะเกิดเหตุคดีนี้ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 2 และมาตรา 6 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 เวลากลางคืน จำเลยทั้งสาม ซึ่งใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก บัญชีผู้ใช้ชื่อ “แนวร่วมธรรมศาตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” ซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยแบ่งหน้าที่กันในฐานะเป็นผู้จดทะเบียน เป็นแอดมิน เป็นหัวหน้าประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกัน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อรัชกาลที่ 10 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

จำเลยมีเจตนาที่จะให้ผู้อื่น หรือประชาชน ที่ได้เห็นภาพและอ่านข้อความดังกล่าวแล้ว มีความรู้สึกว่ารัชกาลที่ 10 เป็นผู้สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจกับการปกครองประเทศโดยไม่ยึดถือระบบประชาธิปไตย และอยู่เบื้องหลังการเพิกถอนประกัน พวกของจำเลยอันเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศอย่างร้ายแรง และเป็นการดูถูก ดูหมิ่น เกลียดชัง และอาฆาตมาดร้ายต่อ รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทยและอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1035/2566 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) “บี๋” นิราภร อ่อนขาว นักศึกษาปี 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมทนายความและเพื่อน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียกในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ได้โพสต์ข้อความจำนวน 1 โพสต์

    ร.ต.อ.ศักย์ศรณ์ เจริญศิลป์ รองสารวัตร (สอบสวน) กก.2 บก.ปอท. ได้แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาให้นิราภรทราบ ระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 เวลากลางคืน เพจเฟซบุ๊กชื่อ “แนวร่วมธรรมศาตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” ได้โพสต์ข้อความอันเป็นความผิดรวม 4 ข้อความ ซึ่งนำมาจากข้อความใน 1 โพสต์ ที่มี 4 ย่อหน้า โดยพนักงานสอบสวนได้บรรยายความหมายและความผิดแยกในแต่ละย่อหน้า มีรายละเอียดคือ

    ข้อความข้อที่ 1 หมายความว่า ร.10 เป็นคนขี้ขลาด ไม่ยอมรับความจริง และกลัวคนที่พูดความจริงในเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ เป็นคนที่ไม่มีความกล้าหาญที่เหมาะสมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศ ไม่มีความสง่างาม และยังใส่ความว่า ร.10 กําลังใช้อํานาจในทางที่ไม่ถูกต้องเพื่อทําร้าย ทําลาย กําจัดคนที่ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้าข่ายความผิดดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    ข้อความข้อที่ 2 หมายความว่า มีกลุ่มผู้ต้องหาถูกถอนประกันโดยศาลอาญาธัญบุรี และศาลอาญารัชดา โดยผู้พิพากษาที่ทําตัวเป็นสุนัขรับใช้เลียเจ้าของหมา คือ ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ เข้าใจได้ว่า กลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกถอนประกันนั้นเป็นการกระทําของผู้พิพากษาที่คอยเอาอกเอาใจ ร.10 และทําตัวเป็นผู้รับใช้ ร.10 เท่ากับว่า ร.10 เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อสถาบันตุลาการ เข้ามาแทรกแซงการบริหารงานของตุลาการ จนทําให้เหล่าผู้พิพากษาบางคนถอนประกันผู้ต้องหา เพื่อเป็นการประจบและสร้างความดีความชอบให้ ร.10 พึงพอใจ เข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 198

    ข้อความตามข้อ 3 มีความหมายเข้าใจได้ว่า มีการกลั่นแกล้งจับกุมผู้ที่มีความเห็นต่างและผู้ที่พูดถึงสถาบันกษัตริย์ในเชิงต่อต้าน และใกล้ที่จะถึงวันที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์อีกต่อไป หากในวันข้างหน้าที่ประชาชนมีอํานาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ร.10, ผู้ที่จงรักภักดีกับ ร.10 และพลเอกประยุทธ์ผู้ใช้อํานาจบริหารเด็ดขาดและ มี ร.10 เป็นเจ้านาย รวมทั้งผู้จับกุม ถอนประกันผู้ที่เห็นต่างเหล่านี้ จะไม่มีแผ่นดินให้อยู่ เข้าข่ายเป็นการอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    ข้อความที่ 4 หมายความว่าพลเอกประยุทธ์เป็นผู้ที่ปกครองประเทศโดยไม่ยึดถือระบอบประชาธิปไตย และมี ร.10 เป็นเจ้าของ ทําให้เข้าใจได้ว่า ร.10 เป็นผู้สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจกับคนที่ปกครองประเทศโดยไม่ยึดถือระบอบประชาธิปไตย ทําให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเกลียดชัง

    จากนั้น พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหานิราภรรวม 2 ข้อหา คือ ร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมาหากษัตริย์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)

    นิราภรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 7 เม.ย. 2565 นอกจากนี้ในวันนี้นิราภรยังได้ให้ปากคำเพิ่มเติม ดังนี้

    1) ตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาที่มีกัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล เป็นผู้กล่าวโทษ ตนยังไม่เข้าใจเพราะเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาที่มีข้อกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย กว้างไกล เคลือบคลุม มีที่สงสัยอยู่หลายประการ อีกทั้งข้อกล่าวหาก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ข้อความที่กล่าวหาในส่วนไหนที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

    2) ต้องการให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกกัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล ผู้กล่าวโทษ มาให้การเพิ่มเติมและอธิบายให้แจ้งชัดในคำกล่าวโทษที่กล่าวหาตนไว้ต่อพนักงานสอบสวนในคดีนี้ว่า ข้อความส่วนไหนหรือประโยคใดเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ในอันที่จะทำให้ตนเข้าใจข้อหาได้ดีกว่านี้ หากคำกล่าวโทษใดที่ไม่มีพยานหลักฐานตามสมควร หรือปราศจากความเป็นจริง ตนจะดำเนินคดีในข้อหานำความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญามาแจ้งต่อพนักงานสอบสวน และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ

    3) ตามข้อความที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาต่อตน ที่อ้างว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา14(3) ”นำเข้าสู่ระคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินเลยไปกว่าข้อความอันปรากฏอยู่ในข้อกล่าวหานี้ อย่างปราศจากความเป็นจริง เพราะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง หรือก่อการร้าย ควรจะเป็นการกระทำที่มีลักษณะสะสมกองกำลังหามีอาวุธ มีแผนการมีการกระทำที่มีการร่วมมือกันเกิน 1 คนขึ้นไป ข้อกล่าวหานี้จึงขาดพยานหลักฐานและองค์ประกอบของความผิดอย่างชัดแจ้งจึงเป็นการแจ้งข้อหาโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่ชอบธรรม

    4) คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ในการรับแจ้งข้อกล่าวหานั้น ตนมีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานพอสมควรที่น่าเชื่อว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดจริงเสียก่อน ไม่ควรเชื่อแต่คำกล่าวโทษแต่เพียงประการเดียว เพราะการเป็นคดีความย่อมสร้างภาระให้กับผู้ต้องหา มีผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของตน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรี อีกทั้งผู้กล่าวหาเป็นประชาชนธรรมดา หาได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงไม่ ข้อกล่าวหาดังกล่าวย่อมมีข้อสงสัย และข้อพิรุธหลายประการ ซึ่งอาจจะมาจากอคติ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองอยู่ในข้อกล่าวหานั้น ขอให้พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลยวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงก่อนตัดสินใจรับไว้เป็นคดี ซึ่งจะสร้างภาระและผลกระทบต่อตนป็นอย่างยิ่ง

    5) ตนให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ตั้งใจใช้มาเป็นเครื่องมือในการปิดปากหยุดการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตน เป็นการใช้กลอุบายทางกฎหมายเพื่อปิดปาก กลั่นแกล้ง (Strategy Lawsuit Against Public Participant - SLAPP) จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

    คดีนี้นับเป็นคดีที่ 2 ของนิราภรซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ในคดีเดียวกันยังมี “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และเบนจา อะปัญ ถูกออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเช่นกัน แต่ทั้งสองยังไม่ได้เดินทางมาในวันนี้

    สำหรับนิราภรเคยถูกนพดล พรหมภาสิต เลขาศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) แจ้งความในข้อหาตามมาตรา112 ด้วยพฤติการณ์คล้ายคลึงกับคดีนี้ และเข้ารับทราบข้อกล่าวหาไปเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา กก.2 บก.ปอท. ลงวันที่ 7 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41085)
  • ปนัสยาและเบนจา สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียกในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ได้โพสต์ข้อความจำนวน 1 โพสต์ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 เช่นเดียวกับนิราภร

    ร.ต.อ.ศักย์ศรณ์ เจริญศิลป์ รองสารวัตร (สอบสวน) กก.2 บก.ปอท. ได้แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาให้ปนัสยาและเบนจาทราบ โดยมีรายละเอียดเช่นเดียวกับที่แจ้งนิราภร ก่อนแจ้ง 2 ข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) โดยทั้งสองได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา กก.2 บก.ปอท. ลงวันที่ 10 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41085)
  • พนักงานสอบสวน บก.ปอท. นัดปนัสยา, นิราภร และเบนจาส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 อัยการรับตัวทั้งสามแล้วนัดหมายมาฟังคำสั่งในวันที่ 7 มี.ค. 2566
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดเป็นวันที่ 18 เม.ย. 2566
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 ยื่นฟ้องปนัสยา, นิราภร และเบนจา ต่อศาลอาญา รัชดาฯ หลังมีคำสั่งฟ้องทั้งสามในข้อหา ร่วมกัน “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    ต่อมา ทนายความได้ยื่นประกันตัวทั้งสาม และชาญชัย ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดคนละ 90,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกฟ้องในคดีนี้ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ในอันที่จะให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน พร้อมนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 มิ.ย. 2566 เวลา 09.00 น.

    สำหรับในคำฟ้อง พนักงานอัยการได้บรรยายโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 เวลากลางคืน จำเลยทั้งสาม ซึ่งใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก บัญชีผู้ใช้ชื่อ “แนวร่วมธรรมศาตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” ซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ โดยแบ่งหน้าที่กันในฐานะเป็นผู้จดทะเบียน เป็นแอดมิน เป็นหัวหน้าประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกัน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อรัชกาลที่ 10 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ด้วยการโพสต์ข้อความรวม 4 ย่อหน้า

    อัยการระบุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาที่จะให้ประชาชนที่ได้เห็นภาพและอ่านข้อความดังกล่าวแล้ว มีความรู้สึกว่ารัชกาลที่ 10 เป็นผู้สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจกับการปกครองประเทศโดยไม่ยึดถือระบบประชาธิปไตย และอยู่เบื้องหลังการเพิกถอนประกัน พวกของจำเลยอันเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศอย่างร้ายแรง และเป็นการดูถูก ดูหมิ่น เกลียดชัง และอาฆาตมาดร้ายต่อรัชกาลที่ 10

    อัยการระบุว่า หากจำเลยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    .

    คดีนี้นับเป็นคดีที่ 2 ของนิราภรและปนัสยา กรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ โดยจากข้อมูลสถิติผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นักกิจกรรมทั้งสามตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 รวมหลายคดี ได้แก่ ปนัสยา 10 คดี, เบนจา 7 คดี และนิราภร 2 คดี

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1035/2566 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/55257)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นิราภร อ่อนขาว

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นิราภร อ่อนขาว

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์