ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1395/2565
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต. นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ไทยภักดี” (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1395/2565
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต. นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ไทยภักดี”
ความสำคัญของคดี
อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) กรณีเขียนและโพสต์จดหมาย #ราษฎรสาส์น ถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 วิจารณ์การขยายพระราชอำนาจ หลัง ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ไทยภักดี” เข้าแจ้งความให้ ปอท.ดำเนินคดี
ทั้งนี้ กิจกรรม #ราษฎรสาส์น ซึ่งจัดโดยกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ โดยมีนักกิจกรรมร่วมเขียนจดหมายยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ภายหลังกิจกรรมมีแกนนำ "ราษฎร" ถึง 5 ราย ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีประชาชนที่เห็นต่างในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้เข้าแจ้งความ
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเองเหมือนกับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ทำให้กฎหมายมาตรานี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่าง
ทั้งนี้ กิจกรรม #ราษฎรสาส์น ซึ่งจัดโดยกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ โดยมีนักกิจกรรมร่วมเขียนจดหมายยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ภายหลังกิจกรรมมีแกนนำ "ราษฎร" ถึง 5 ราย ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีประชาชนที่เห็นต่างในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้เข้าแจ้งความ
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเองเหมือนกับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ทำให้กฎหมายมาตรานี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่าง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
เมขลา อัจฉราวงศ์ชัย พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูล รูปภาพ ข้อความและตัวอักษร ด้วยการโพสต์รูปภาพพร้อมด้วยตัวหนังสือ เป็นข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีข้อความภาษาไทยตอนหนึ่งว่า
“…นับแต่ท่านได้ขึ้นครองราชย์ ท่านได้ก้าวล่วงและละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุขในหลายประการ เช่น การสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว การแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตนของท่าน การรับเอาเงินภาษีของพวกเราไปใช้อย่างเกินความจําเป็น รวมทั้งความเคลือบแคลงต่อการละเมิดสิทธิของราษฎรในหลายกรณี ซึ่งการกระทําเช่นนี้นับว่าร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นการขยายอํานาจจนเกินกว่าที่ระบอบอนุญาตให้ท่านทําได้
พวกเราเหล่าราษฎรเฝ้ามองปรากฏการณ์นี้มานานจนกระทั่งความไม่พอใจ ความคับแค้นใจได้ประทุขึ้นในห้วงเวลานี้ ดังที่ท่านคงทราบดี พวกเราเหล่าราษฎรได้ร่วมกันชุมนุมหลายคราว เพื่อสื่อสารและส่งสาส์นไปยังท่าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อหวังให้ท่านปรับปรุงตน และกลับมาเป็นกษัตริย์ของพวกเราทุกคนตามที่ระบอบกําหนดไว้ แต่ท่านก็ไม่มีท่าทีที่จะปรับตนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับพยายามแสดงออกถึงความไม่พอใจในความเคลื่อนไหวครั้งนี้ รวมทั้งพยายามแสดงออกให้พวกเรากลายเป็น “ราษฎรอื่น” ในสายตาท่านไปเสีย”
ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊ก “อานนท์ นําภา” ซึ่งเป็นบัญชีเฟซบุ๊กของจําเลย ที่มีการกําหนดเป็นค่าการโพสต์ข้อความดังกล่าวเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และสั่งให้แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตน อันเป็นการล่วงละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตย และเอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้อย่างเกินความจําเป็น และกระทําการละเมิดสิทธิของราษฎร
อันเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เป็นความจริง และเป็นการใส่ร้าย จาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 โดยประการที่น่าจะทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาอาฆาตมาดร้าย ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2565)
“…นับแต่ท่านได้ขึ้นครองราชย์ ท่านได้ก้าวล่วงและละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุขในหลายประการ เช่น การสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว การแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตนของท่าน การรับเอาเงินภาษีของพวกเราไปใช้อย่างเกินความจําเป็น รวมทั้งความเคลือบแคลงต่อการละเมิดสิทธิของราษฎรในหลายกรณี ซึ่งการกระทําเช่นนี้นับว่าร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นการขยายอํานาจจนเกินกว่าที่ระบอบอนุญาตให้ท่านทําได้
พวกเราเหล่าราษฎรเฝ้ามองปรากฏการณ์นี้มานานจนกระทั่งความไม่พอใจ ความคับแค้นใจได้ประทุขึ้นในห้วงเวลานี้ ดังที่ท่านคงทราบดี พวกเราเหล่าราษฎรได้ร่วมกันชุมนุมหลายคราว เพื่อสื่อสารและส่งสาส์นไปยังท่าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อหวังให้ท่านปรับปรุงตน และกลับมาเป็นกษัตริย์ของพวกเราทุกคนตามที่ระบอบกําหนดไว้ แต่ท่านก็ไม่มีท่าทีที่จะปรับตนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับพยายามแสดงออกถึงความไม่พอใจในความเคลื่อนไหวครั้งนี้ รวมทั้งพยายามแสดงออกให้พวกเรากลายเป็น “ราษฎรอื่น” ในสายตาท่านไปเสีย”
ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊ก “อานนท์ นําภา” ซึ่งเป็นบัญชีเฟซบุ๊กของจําเลย ที่มีการกําหนดเป็นค่าการโพสต์ข้อความดังกล่าวเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และสั่งให้แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตน อันเป็นการล่วงละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตย และเอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้อย่างเกินความจําเป็น และกระทําการละเมิดสิทธิของราษฎร
อันเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เป็นความจริง และเป็นการใส่ร้าย จาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 โดยประการที่น่าจะทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาอาฆาตมาดร้าย ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 14-12-2020นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเวลา 13.30 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน เดินทางมารับทราบ 2 ข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ได้แก่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” หรือมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14(3) กรณีเขียนและโพสต์จดหมาย #ราษฏรสาสน์ ถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ของไทย โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ไทยภักดี”
ว่าที่ พ.ต.ต.หญิงสุธัญดา เอมเอก สารวัตร (สอบสวน) กองกำกับการ 3 บก.ปอท. และ ร.ต.อ.หญิงกรฉัตร มาตรศรี รองสารวัตร (สอบสวน) กองกำกับการ 3 บก.ปอท. ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่ออานนท์ บรรยายพฤติการณ์คดีโดยสรุปว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 จนถึงปัจจุบัน อานนท์ นำภา ได้ใช้บัญชีเพจเฟซบุ๊กชื่อ “อานนท์ นำภา” โพสต์จดหมายถีงรัชกาลที่ 10 ขอให้สถาบันพระมหากษัตริย์ปรับตัวให้ธำรงอยู่ใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของกษัตริย์ที่ละเมิดต่อหลักประชาธิปไตย
หลัง ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล ได้อ่านโพสต์ข้างต้นแล้ว จึงเดินทางมาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊ก “อานนท์ นำภา”
พนักงานสอบสวนยังบรรยายอีกว่า การกระทําดังกล่าวเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อความที่มีเนื้อหาเป็นการกล่าวหาใส่ความรัชกาลที่ 10 มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาอ่าน เกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้งจึงแจ้ง 2 ข้อหา ได้แก่ ข้อหามาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14(3) ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
อานนท์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติม ด้านพนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวอานนท์ไป โดยไม่ควบคุมตัวไว้ และจะนัดหมายวันส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการต่อไป
หลังจากเริ่มกลับมาใช้มาตรา 112 กล่าวหาผู้ชุมนุมทางการเมือง จนถึงวันที่ 14 ธ.ค. 2563 มีประชาชนถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างน้อย 26 คนใน 17 คดี ส่วนอานนท์ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งสิ้น 7 คดีแล้ว
ขณะเดียวกันการบังคับใช้ข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ที่ผ่านมา ยังมีปัญหาประการสำคัญ คือเปิดช่องให้ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเองเหมือนกับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา แม้จะมีกระบวนการกลั่นกรองในชั้นตำรวจและอัยการ แต่ก็พบว่ากฎหมายมาตรานี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือให้กลุ่มฝ่ายการเมืองต่างๆ นำไปใช้กล่าวหากันไปมา รวมทั้งกล่าวหากันจากความขัดแย้งส่วนตัว ทำให้เกิดคดีจำนวนมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23998) -
วันที่: 14-06-2022นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องอานนท์ในข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” หรือมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14(3) โดยนับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 12 แล้วที่อานนท์ถูกฟ้องต่อศาล
พนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 จําเลยได้โพสต์รูปภาพพร้อมด้วยตัวหนังสือ เป็นข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊ก “อานนท์ นําภา” ตั้งค่าเป็นสาธารณะ โดยมีข้อความภาษาไทยตอนหนึ่งว่า
“…นับแต่ท่านได้ขึ้นครองราชย์ ท่านได้ก้าวล่วงและละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีกษัตริย์เป็นประมุขในหลายประการ เช่น การสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว การแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตนของท่าน การรับเอาเงินภาษีของพวกเราไปใช้อย่างเกินความจําเป็น รวมทั้งความเคลือบแคลงต่อการละเมิดสิทธิของราษฎรในหลายกรณี ซึ่งการกระทําเช่นนี้นับว่าร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นการขยายอํานาจจนเกินกว่าที่ระบอบอนุญาตให้ท่านทําได้
พวกเราเหล่าราษฎรเฝ้ามองปรากฏการณ์นี้มานานจนกระทั่งความไม่พอใจ ความคับแค้นใจได้ประทุขึ้นในห้วงเวลานี้ ดังที่ท่านคงทราบดี พวกเราเหล่าราษฎรได้ร่วมกันชุมนุมหลายคราว เพื่อสื่อสารและส่งสาส์นไปยังท่าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อหวังให้ท่านปรับปรุงตน และกลับมาเป็นกษัตริย์ของพวกเราทุกคนตามที่ระบอบกําหนดไว้ แต่ท่านก็ไม่มีท่าทีที่จะปรับตนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับพยายามแสดงออกถึงความไม่พอใจในความเคลื่อนไหวครั้งนี้ รวมทั้งพยายามแสดงออกให้พวกเรากลายเป็น “ราษฎรอื่น” ในสายตาท่านไปเสีย”
อัยการระบุว่า การกระทำของจำเลยเพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และสั่งให้แก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตน อันเป็นการล่วงละเมิดต่อหลักการประชาธิปไตย และเอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้อย่างเกินความจําเป็น และกระทําการละเมิดสิทธิของราษฎร
ทั้งนี้ อัยการได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ระหว่างพิจารณาคดี อ้างเหตุว่า คดีมีอัตราโทษสูง และเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ทั้งยังขอให้ศาลนับโทษจำคุกอานนท์ในคดีนี้ ต่อจากโทษจำคุกในอีก 17 คดี โดยเป็นคดีของศาลอาญารัชดา จำนวน 13 คดี ศาลอาญากรุงเทพใต้ 2 คดี ศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงปทุมวันที่ละ 1 คดี
หลังศาลรับฟ้อง และถามคำให้การในเบื้องต้น โดยอานนท์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น. และอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ตามที่ยื่นคำร้อง ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสด 90,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนด 5 เงื่อนไข ดังนี้
1. ห้ามทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ อันจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันกษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนการพิจารณาคดีของศาล
2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุม ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. ให้ติด EM
4. ห้ามออกนอกเคหะสถาน ตั้งแต่เวลา 21.00 น. – 06.00 น. ของวันใหม่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น หรือได้รับอนุญาตจากศาล
5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาต
คำสั่งให้ประกันยังระบุด้วยว่า หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมคำสั่งตามพฤติกรรมของจำเลยที่เปลี่ยนไปตามความเหมาะสม และความร้ายแรงของพฤติกรรมต่อไป
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45076) -
วันที่: 18-07-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง อานนท์ให้การปฏิเสธตามคําให้การที่ยื่นเป็นเอกสาร โจทก์แถลงว่า มีพยานเอกสารรวม 11 ฉบับ สืบพยานบุคคลรวม 5 ปาก แต่หากฝ่ายจําเลยรับข้อเท็จจริงได้ว่าพยานโจทก์ปาก พ.ต.ต.นิมิตร หงส์เวียงจันทร์ เป็นตํารวจที่ตรวจสอบเฟซบุ๊กของจําเลยแล้วให้การเป็นพยานในชั้นสอบสวน ตามบันทึกคำให้การจริง โจทก์ก็ไม่ติดใจสืบพยานปากดังกล่าว จึงเหลือพยานบุคคลที่โจทก์จะนำเข้าสืบอีก 4 ปาก คือ ผู้กล่าวหา, นักวิชาการที่ให้ความเห็น และพนักงานสอบสวน ใช้เวลาสืบ 1 นัด
จําเลยแถลงแนวทางการต่อสู้คดีว่า จําเลยโพสต์ข้อความตามฟ้องโจทก์ในเฟซบุ๊กจริง แต่ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ตามสิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีเจตนากระทําผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจําเลยมีพยานบุคคลที่ประสงค์จะนําสืบ 24 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 6 นัด
นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 11 มิ.ย. 2567 และนัดสืบพยานจําเลยในวันที่ 12-14, 18-20 มิ.ย. 2567
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ลงวันที่ 18 ก.ค. 2565)
-
วันที่: 31-08-2022นัด: ยื่นหนังสือขอให้สอบสวนรองอธิบดีฯ ศาลเวลา 13.30 น. ที่ศาลอาญา อานนท์ นำภา และคณะ เดินทางไปยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) และอธิบดีศาลอาญา ขอให้สอบสวนและดำเนินการทางวินัยต่อ อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่อาจมีการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาคดีอาญาของตุลาการเจ้าของสำนวนในคดีนี้
การยื่นหนังสือครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 ในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์จำนวน 1 นัด และนัดสืบพยานจำเลยจำนวน 6 นัด ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลได้จัดทำรายงานเจ้าหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการโจทก์ และจำเลย ทราบถึงรายละเอียดจำนวนพยาน, จำนวนวันนัด ตลอดจนกำหนดนัดสืบพยานของแต่ละฝ่ายเรียบร้อยแล้ว
ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2565 อรรถการ ฟูเจริญ ในฐานะรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกคำสั่งท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ให้ทำการตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม เนื่องจากยังมีการกำหนดให้สืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดประเด็นพิพาทในคดีและพยานความเห็น
จนต่อมาวันที่ 4 ส.ค. 2565 ศาลอาญาได้มีหมายแจ้งคำสั่งมายังจำเลยว่า ศาลอาญาได้มีคำสั่งให้นัดตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในวันที่ 5 ก.ย. 2565 โดยมีอรรถการ ฟูเจริญ ในฐานะผู้พิพากษาลงชื่อในหมายแจ้ง
อานนท์ในฐานะจำเลยเห็นว่าตนได้รับความเสียหาย เพราะอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี โดยคดีนี้ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้พิจารณาแนวทางการต่อสู้คดีและมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานตามที่ได้ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลนั้น ย่อมต้องถือว่าผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว อันเป็นอำนาจตามกฎหมายที่เป็นอิสระของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี
ดังนั้น อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งไม่ได้เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีในคดีนี้ จึงไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งให้มีการตรวจพยานเพิ่มเติมได้ ถือเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
การกระทำดังกล่าวของ อรรถการ ฟูเจริญ ข้าราชการตุลาการดำรงตำแหน่งในระดับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร อาจจะเข้าข่ายเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการพิจารณาคดีของข้าราชการตุลาการที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม
ทำให้อานนท์ได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการพิจารณาคดีของตน เพราะอาจจะทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนคดีเกิดความหวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดี เพราะรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาซึ่งเป็นระดับผู้บริหารของศาลได้ออกคำสั่งเป็นอย่างอื่นให้ตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม ทั้งที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนได้ออกคำสั่งพิจารณาการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว อันอาจจะทำให้กระทบกระเทือนต่อหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกระบวนกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง
อีกทั้ง อรรถการ ฟูเจริญ ยังมีตำแหน่งสูงระดับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เพื่อให้การสอบสวนกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างโปร่งใสเป็นธรรม จึงขอให้ประธานศาลฎีกามีคำสั่งโอนย้ายอรรถการไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลอื่นและตำแหน่งอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสอบสวนดังกล่าวด้วย
.
สำหรับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 188 ได้รับรองหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาว่า ผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 66 ที่กล่าวว่าข้าราชการตุลาการต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการพิจารณาคดีของข้าราชการตุลาการอื่น เป็นเหตุให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม
ข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลยุติธรรม ระบุว่า ก.ต. เป็นหนึ่งในสามองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารงานของศาลยุติธรรม ซึ่ง ก.ต. มีบทบาทและภารกิจในการวางแผนกำลังคนฝ่ายตุลาการ เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบจริยธรรม และมาตรการในการรักษาวินัย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนและการคุ้มครองให้มีความอิสระอย่างแท้จริง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/47667) -
วันที่: 05-09-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมทนายจําเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกนัดตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม ระบุเหตุผลว่า คําสั่งของศาลเกี่ยวกับการตรวจพยานหลักฐานในนัดที่แล้วชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก และยื่นคําร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากอานนท์ติดนัดสอบสวนมารยาททนายความที่สภาทนายความ ส่วนทนายจําเลยติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว จึงไม่สามารถมาศาลได้
ต่อมา ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ศาลยกเลิกนัดตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม ระบุว่า การตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมถือเป็นการบริหารจัดการคดีให้สอดคล้องกับระเบียบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ผู้รับผิดชอบราชการศาลย่อมมีอํานาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 ศาลจึงมีอํานาจที่จะตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมคดีนี้ได้ แต่อนุญาตให้เลื่อนไปนัดตรวจพยานหลักฐาน
เพิ่มเติมใหม่ในวันที่ 26 ก.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ลงวันที่ 5 ก.ย. 2565) -
วันที่: 26-09-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมเวลา 10.00 น. อานนท์ นำภา พร้อมด้วยทนายความเดินทางมาศาล โดยอานนท์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารตามที่เคยยื่นบัญชีระบุพยานไปแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ อานนท์แถลงว่า ถ้าได้เอกสารดังกล่าวมาอาจไม่จำเป็นต้องสืบพยานในบางปาก โดยจะอ้างส่งเอกสารแทนการสืบพยาน พยานปากที่ว่า ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, กงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, เลขาธิการพระราชวัง, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจําประเทศไทย, เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไทยพาณิชย์, กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์, กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซีเมนท์ไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ซึ่งศาลได้บันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ศาลจะได้พิจารณาออกหมายเรียกพยานให้ตามที่จําเลยขอมา จากนั้นจึงได้ลดวันสืบพยานจำเลยลง จาก 6 วัน เหลือ 4 วัน จากเดิมที่มีนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 12-14,18-20 มิ.ย. 2567 โดยยกเลิกนัดสืบพยานในวันที่ 19-20 มิ.ย. 2567
อย่างไรก็ตาม ศาลได้ขอเวลาไปปรึกษาผู้บริหารในการออกหมายเรียกเอกสารก่อน อานนท์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลไม่ต้องไปปรึกษาอรรถการ ฟูเจริญ ที่มีข้อพิพาทกันและอยู่ระหว่างสอบสวน โดยคำร้องยังระบุว่า หากศาลไปปรึกษาผู้บริหารคนใดขอให้ศาลระบุชื่อด้วย เพื่อให้จำเลยตรวจสอบดุลพินิจได้ และยืนยันว่า การตรวจพยานหลักฐานครั้งที่เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 ชอบด้วยกฎหมายทุกประการแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาตามคำสั่งของอรรถการ ฟูเจริญ ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาองค์คณะของสำนวนคดีนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/48834) -
วันที่: 11-06-2024นัด: สืบพยานโจทก์
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์