ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.72/2567

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้ประสานงาน ศปปส. (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.72/2567

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้ประสานงาน ศปปส. (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.72/2567
ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้ประสานงาน ศปปส.

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.72/2567
ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้ประสานงาน ศปปส.

ความสำคัญของคดี

“เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และเบนจา อะปัญ 2 นักกิจกรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีเข้าร่วมชุมนุมและปราศรัยถึงการผูกขาดวัคซีนกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ในกิจกรรม “กระชากหน้ากากไบโอไซน์” ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 โดยมี ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้ประสานงานกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับทั้งสอง

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่มีความเห็นต่างทางการเมือง กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

สุกิต กังวล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

1. เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 จำเลยทั้งสองเป็นแกนนำในการชุมนุมชื่อว่า “กระชากหน้ากากสยามไบโอไซเอนซ์” ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ โดยมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชุมนุมจำนวนหลายร้อยคน อันเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวที่มีความแออัดในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ในเขตพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

2. จำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยในกิจกรรมดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ให้ประชาชนจำนวนหลายร้อยคนที่มาร่วม ประชาชนที่สัญจรไปมา รวมถึงประชาชนจำนวนมากที่รับชมการถ่ายทอดสดการชุมนุมผ่านสื่อสังคมออนไลน์เว็บไซต์ยูทูบรับฟัง

คำฟ้องได้ยกคำปราศรัยของพริษฐ์ จำเลยที่ 1 จำนวน 13 ท่อน พร้อมระบุว่า ข้อความดังกล่าวกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า การดำเนินการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ได้รับพระราชทาน โดยรัชกาลที่ 10 ทรงนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ผลิต และนำมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชน และทำให้เข้าใจได้ว่าบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นบริษัทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และบริษัทดังกล่าวผูกขาดการดำเนินโครงการผลิตวัคซีน โดยใช้เงินจากภาษีของประชาชนมาดำเนินการเพื่อสร้างความนิยมให้แก่สถาบันกษัตริย์ กล่าวหารัชกาลที่ 10 ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน

และได้ยกคำปราศรัยของเบนจา จำเลยที่ 2 จำนวน 3 ท่อน พร้อมระบุว่า ข้อความดังกล่าวกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่ารัชกาลที่ 10 ทรงมีส่วนร่วมในการหากำไรในการจัดทำวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 โดยทรงเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท SCG ซึ่งร่วมกับรัฐบาลหาผลประโยชน์และผูกขาดวัคซีนอยู่ที่บริษัทเดียว คือแอสตราเซนเนก้า

คำปราศรัยดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการจาบจ้าง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และทำให้ประชาชนชาวไทยเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.72/2567 ลงวันที่ 15 ม.ค. 2567)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 13.00 น. ที่ สน.ปทุมวัน เบนจา อะปัญ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก จากกรณีเข้าร่วมชุมนุมและปราศรัยในกิจกรรม “กระชากหน้ากากสยามไบโอไซน์” ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564

    ในคดีนี้มีระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ เป็นผู้กล่าวหา และยังมีผู้ถูกออกหมายเรียกอีกหนึ่งราย คือ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งไม่สามารถเดินทางมาได้เนื่องจากถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาตรา 112

    มูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องมาจากกิจกรรม “กระชากหน้ากากสยามไบโอไซน์” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 ช่วงบ่าย ในวันดังกล่าว พริษฐ์และเบนจาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ซึ่งเป็นที่ทำการของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ทั้งสองกล่าวปราศรัยเรื่องการผูกขาดวัคซีน หลังรัฐบาลสั่งวัคซีนจาก 2 บริษัท ได้แก่ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีนแอสตราเซนเนก้า (AstraZeneca) ซึ่งตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในประเด็นที่รัฐบาลให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ (Siambioscience) เท่านั้น เป็นผู้ผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา

    พ.ต.ท.เจริญสิทธิ์ จงอิทธิ รองผู้กำกับสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้แจ้ง 4 ข้อกล่าวหา ต่อเบนจา ได้แก่ ข้อหาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 “ร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์”, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 29 ม.ค. 2564 “ร่วมกันจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค”, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์คดีว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ พริษฐ์และเบญจา ได้มาร่วมชุมนุมและกล่าวปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศให้ยุติการชุมนุมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่ได้จัดมาตรการในการป้องกันโรคติดต่อ นอกจากนี้ พริษฐ์และเบนจายังได้กล่าวข้อความที่ถือเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ ต่อประชาชนทั่วไป

    พนักงานสอบสวนได้ยกถ้อยคำปราศรัยของทั้งสองคนแยกเป็นส่วน ๆ และอ้างว่าแต่ละส่วนเข้าข่ายความผิด โดยพริษฐ์ถูกกล่าวหาว่าปราศรัยถึงการผูกขาดวัคซีนกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และงบประมาณของวัคซีนพระราชทานที่มาจากภาษีประชาชน

    ด้านเบนจาถูกกล่าวหาว่ากล่าวปราศรัยเพิ่มเติมในประเด็นเดียวกัน เรื่องการถือหุ้นบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของกษัตริย์ การผูกขาดวัคซีน และกำไรที่ได้มาคนที่ได้รับกลับไม่ใช่ประชาชน

    ทั้งนี้ เบนจาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา แต่ลงข้อความว่า “ขี้เกียจมาแล้ว เหนื่อย” แทน

    หลังเสร็จกระบวนการ เบนจาได้รับการปล่อยตัวในชั้นสอบสวน เนื่องจากมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ทำให้ไม่มีเหตุให้ควบคุมตัว พนักงานสอบสวนนัดเบนจามาพบอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย. 2564 เพื่อส่งสำนวนให้พนักงานอัยการต่อไป

    คดีนี้เป็นอีกหนึ่งคดีที่ประชาชนทั่วไปเป็นผู้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาตามมาตรา 112 แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง นับเป็นอีกปัญหาหนึ่งของมาตรานี้ ซึ่งเปิดช่องว่างให้ประชาชนเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย เป็นการสร้างภาระทางคดีให้กับผู้ต้องหา และอาจเป็นเครื่องมือให้กลุ่มฝ่ายการเมืองต่าง ๆ นำไปใช้กล่าวหากลั่นแกล้งกันไปมาได้ง่าย

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 11 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26869)
  • พ.ต.ท.เจริญสิทธิ์ จงอิทธิ รองผู้กำกับสอบสวน สน.ปทุมวัน เดินทางไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในคดีนี้กับพริษฐ์ซึ่งถูกคุมขังและไม่ได้รับสิทธิประกันตัวในคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยมีทนายความเข้าร่วมรับฟัง

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์คดีและแจ้ง 4 ข้อกล่าวหา กับพริษฐ์เช่นเดียวกับที่แจ้งเบนจา พริษฐ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและไม่ลงชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเช่นกัน

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 23 เม.ย. 2564)
  • เบนจาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมาย โดย ร.ต.อ.พงศกร ข้องสาย รองสารวัตร (สอบสวน) ได้แจ้งพฤติการณ์คดีเช่นเดิม แต่ระบุวันเกิดเหตุใหม่จากวันที่ 20 ม.ค. 2564 เป็นวันที่ 25 ม.ค. 2564 ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมฐาน ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทํากิจกรรม การมั่วสุมกัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 ม.ค. 2564 โดยร่วมกันชุมนุมที่มีความแออัด เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ในพื้นที่มีประกาศหรือคําสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

    เบนจาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาเช่นเดิม และจะขอยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายใน 31 ก.ค. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 13 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/32104)
  • พริษฐ์และเบนจาเดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมายส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการ พนักงานอัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 20 เม.ย. 2565
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 นัดหมายพริษฐ์และเบนจาส่งฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ หลังนัดฟังคำสั่งราวเดือนละ 1 ครั้ง เรื่อยมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี ก่อนมีคำสั่งฟ้องคดีในที่สุด

    พนักงานอัยการฟ้องนักกิจกรรมทั้งสองใน 2 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ข้อหาตามมาตรา 112 และฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยไม่ได้สั่งฟ้องในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากทั้งสองข้อหานี้มีเพียงอัตราโทษปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี และหมดอายุความแล้ว

    คำฟ้องของอัยการโดยสรุปกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 จำเลยทั้งสองเป็นแกนนำในการชุมนุมชื่อว่า “กระชากหน้ากากสยามไบโอไซเอนซ์” ที่บริเวณหน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ อันเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวที่มีความแออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่ได้รับอนุญาต

    อัยการระบุว่า จำเลยทั้งสองยังได้กล่าวปราศรัยถึงรัชกาลที่ 10 และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นบริษัทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และบริษัทดังกล่าวผูกขาดการดำเนินโครงการผลิตวัคซีน โดยใช้เงินจากภาษีของประชาชนมาดำเนินการเพื่อสร้างความนิยมให้แก่สถาบันกษัตริย์ กล่าวหารัชกาลที่ 10 ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน อันเป็นการจาบจ้าง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

    ในท้ายฟ้อง อัยการระบุว่าหากจำเลยทั้งสองยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    ต่อมา ศาลอาญากรุงเทพใต้อนุญาตให้ประกันตัวพริษฐ์และเบนจา โดยให้วางหลักประกันคนละ 200,000 บาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

    ศาลกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 4 มี.ค. 2567 เวลา 13.30 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.72/2567 ลงวันที่ 15 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/63200)
  • ทนายจำเลยที่ 1 และพริษฐ์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากติดนัดศาลในคดีอื่นและติดประชุมที่ได้นัดไว้ก่อนแล้ว ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 27 พ.ค. 2567 เวลา 09.00 น.
  • เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 15 ก.ค. 2567 เวลา 10.00 น.

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์