ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1845/2566
แดง อ.1449/2567
ผู้กล่าวหา
- อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ สมาชิกกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันฯ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1845/2566
แดง อ.1449/2567
ผู้กล่าวหา
- อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ สมาชิกกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันฯ
ความสำคัญของคดี
“อาเล็ก” โชคดี ร่มพฤกษ์ กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อราษฎร วัย 53 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” เป็นคดีที่ 2 จากการเล่นกีตาร์และร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และ “ใครฆ่า ร.8” ของวงไฟเย็น บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในระหว่างกิจกรรมเดินขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 โดยมี อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ สมาชิกกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันฯ เป็นผู้กล่าวหาระบุว่า เนื้อหาเพลงดังกล่าวทำให้ประชาชนรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์
ทั้งนี้ มีศิลปิน นักข่าวอิสระ และผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร้องหรือเล่นดนตรีเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น ในการชุมนุมครั้งต่างๆ ถึง 5 คน โดยมีทั้งประชาชน “กลุ่มปกป้องสถาบันฯ” และตำรวจเป็นผู้กล่าวหา
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเอง และการตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังกลายเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคนที่มีความคิดต่างทางการเมือง
ทั้งนี้ มีศิลปิน นักข่าวอิสระ และผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร้องหรือเล่นดนตรีเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น ในการชุมนุมครั้งต่างๆ ถึง 5 คน โดยมีทั้งประชาชน “กลุ่มปกป้องสถาบันฯ” และตำรวจเป็นผู้กล่าวหา
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเอง และการตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังกลายเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคนที่มีความคิดต่างทางการเมือง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ภัทรกร อุดมผล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 บรรยายฟ้องใจความโดยสรุปว่า
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 จําเลยกับจำเลยในอีกคดีของศาลนี้ (วรัณยา แซ่ง้อ) ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการร่วมกันร้องเพลง เล่นดนตรี และเต้นรํา โดยมีการถอดความเนื้อเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และเพลง “ใครฆ่า ร.8” บางส่วนมาประกอบการบรรยายฟ้อง การร้องเพลงดังกล่าวน่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 และรัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยจําเลยกับพวกมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1845/2566 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2566)
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 จําเลยกับจำเลยในอีกคดีของศาลนี้ (วรัณยา แซ่ง้อ) ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการร่วมกันร้องเพลง เล่นดนตรี และเต้นรํา โดยมีการถอดความเนื้อเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และเพลง “ใครฆ่า ร.8” บางส่วนมาประกอบการบรรยายฟ้อง การร้องเพลงดังกล่าวน่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 และรัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยจําเลยกับพวกมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1845/2566 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 03-03-2023นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเวลา 10.00 น. ที่ สน.พญาไท “อาเล็ก” โชคดี ร่มพฤกษ์ กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อราษฎร วัย 53 ปี พร้อมทนายความ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” เป็นคดีที่ 2 หลังได้รับการติดต่อจากตำรวจ
พ.ต.ท.วิทยากร สุวรรณเรืองศรี และ ร.ต.อ.พีรพงษ์ โพธิ์ศรี คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.1 ลงวันที่ 1 ก.ย. 2565 แจ้งพฤติการณ์ในคดีนี้โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. โชคดีกับพวก มีการจัดกิจกรรม ร้องเพลง เล่นดนตรี บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใต้สกายวอล์คฝั้่งเกาะพญาไท โดยมีเจตนาร่วมกันในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ มีบางคนเล่นดนตรี บางคนร้อง บางคนเต้น และร่วมกันร้องเพลง โดยพวกของผู้ต้องหาได้ไลฟ์สดถ่ายทอดทางช่องยูทูบศักดินาเสื้อแดง ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าดูได้ มีเนื้อเพลงลักษณะเสียดสีใส่ร้ายทางการเมือง และสถาบันพระมหากษัตริย์
พฤติการณ์ข้อกล่าวหาได้มีการยกเนื้อหาบทสนทนาระหว่างทำกิจกรรมดังกล่าว บางท่อนมีการร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และเพลง “ใครฆ่า ร.8” ของวงไฟเย็น โดยมีผู้ร้องหลักคือ “สาวนุ้ย”
อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ หรือ “เต้ อาชีวะ” กับพวก ผู้กล่าวหา เห็นว่า บุคคลทั่วไปเมื่อได้ฟังเพลงดังกล่าว รู้ได้ทันทีว่าหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นการเจตนาด้อยค่าพระมหากษัตริย์ ทั้งองค์ปัจจุบันและพระมหากษัตริย์ในอดีต ทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ผู้กล่าวหากับพวกจึงได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี
ต่อมาจากการสืบสวนสอบสวนพบว่า โชคดีอยู่ในที่เกิดเหตุ และร่วมกันกระทำกับกลุ่มดังกล่าว โดยเป็นคนเล่นกีตาร์และควบคุมเครื่องเสียง จึงแจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ
โชคดีได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา หลังจากนั้นตำรวจได้ปล่อยตัวไป โดยไม่ได้ควบคุมตัวไว้ แต่นัดให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 17 มี.ค. 2566
ทั้งนี้ กรณีกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 จัดขึ้นโดยกลุ่มมวลชนอิสระ เพื่อแสดงออกขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน 2565 วรัณยา แซ่ง้อ หรือ “นุ้ย” ได้ถูกตำรวจจับกุมและดำเนินคดีที่ สน.พญาไท มาก่อนแล้ว จากการร้องเพลง 2 เพลงของวงไฟเย็นดังกล่าว และอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาไปแล้ว อยู่ระหว่างรอการสืบพยานในช่วงต้นปี 2567 ทำให้โชคดีเป็นรายที่ 2 ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร่วมทำกิจกรรมดังกล่าว
คดีนี้ยังเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่สองของโชคดี หลังเมื่อต้นเดือนมกราคม 2566 เขาถูกตำรวจ สน.นางเลิ้ง เรียกไปแจ้งข้อกล่าวหาเหตุจากการร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ในโอกาส #8ปีประยุทธ์ เช่นกัน แต่เป็นกรณีการร้องเพลงในระหว่างกิจกรรมหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในช่วงหัวค่ำวันที่ 23 ส.ค. 2565 หลังจากกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในคดีนี้แล้ว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.พญาไท ลงวันที่ 3 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54007) -
วันที่: 26-06-2023นัด: ยื่นฟ้องเวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโชคดี ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นคดีที่ 2
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เพิ่งยื่นฟ้องโชคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) จากการเล่นกีต้าร์และร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ จากกิจกรรมในวันที่ 23 ส.ค. 2565 เช่นเดียวกันนี้ แต่เป็นกรณีการร้องเพลงระหว่างกิจกรรมหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในช่วงหัวค่ำ หลังจากกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสร็จสิ้นแล้ว
สำหรับคดีนี้ ภัทรกร อุดมผล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 บรรยายฟ้องใจความโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 จําเลยกับจำเลยในอีกคดีของศาลนี้ (วรัณยา แซ่ง้อ) ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการร่วมกันร้องเพลง เล่นดนตรี และเต้นรํา โดยมีการถอดความเนื้อเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” และเพลง “ใครฆ่า ร.8” บางส่วนมาประกอบการบรรยายฟ้อง
อัยการมีความเห็นว่า การร้องเพลงดังกล่าวน่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 และรัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยจําเลยกับพวกมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
ภายหลังอัยการยื่นฟ้อง โดยไม่คัดค้านการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี และศาลรับฟ้อง โชคดีได้ยืนยันให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนทนายความจะยื่นประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 180,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวในเวลา 16.00 น. และกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 ก.ย. 2566 เวลา 13.30 น.
คดีนี้ยังมี วรัณยา แซ่ง้อ หรือ “นุ้ย” ได้ถูกตำรวจจับกุมและดำเนินคดีที่ สน.พญาไท มาก่อนแล้ว จากการร้องเพลง 2 เพลงของวงไฟเย็นในกิจกรรมดังกล่าว โดยอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2565 อยู่ระหว่างรอการสืบพยานในช่วงต้นปี 2567 โดยโชคดีเป็นรายที่สองที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร่วมทำกิจกรรมดังกล่าว
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1845/2566 ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/56955) -
วันที่: 11-09-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง โชคดีให้การปฏิเสธ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากติดนัดคดีอื่น ๆ ที่นัดไว้ก่อนแล้ว ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 9 ต.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
ในส่วนที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมการพิจารณาคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2934/2565 ของศาลนี้ ที่มีวรัณยา แซ่ง้อ เป็นจำเลย ศาลแจ้งว่าจะสั่งเมื่อตรวจพยานหลักฐานแล้ว
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1845/2566 ลงวันที่ 11 ก.ย. 2566) -
วันที่: 09-10-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอนุญาตให้รวมการพิจารณาคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2934/2565 ของศาลนี้ที่มีวรัณยา แซ่ง้อ เป็นจำเลย นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 30 ม.ค. และ 23 ก.พ. 2567 สืบพยานจำเลยในวันที่ 15 มี.ค. 2567
-
วันที่: 30-01-2024นัด: สืบพยานโจทก์สืบพยานโจทก์ได้ 3 ปาก ได้แก่ ตำรวจ สน.พญาไท ผู้กล่าวหา, ชุดสืบสวน บก.น.1 และณัฐพร โตประยูร พยานความเห็น 112
-
วันที่: 23-02-2024นัด: สืบพยานโจทก์สืบพยานโจทก์ได้ 4 ปาก ได้แก่ อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ ผู้กล่าวหา, พยานความเห็น 2 ปาก และพนักงานสอบสวน
-
วันที่: 15-03-2024นัด: สืบพยานจำเลยก่อนเริ่มสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าจำเลยทั้งสองตัดสินใจถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง โดยขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพภายใน 30 วัน ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะจำเลยทั้งสองรายงานต่อศาล และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 9 พ.ค. 2567 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 09-05-2024นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดี 907 วรัณยาและโชคดีเดินทางมาศาลด้วยสีหน้าแจ่มใส พร้อมด้วยเพื่อน ประชาชน และสื่ออิสระ ร่วม 15 คน ที่มารอให้กำลังใจ หรือมาร่วมติดตามฟังคำพิพากษา ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่ามีการเปลี่ยนแปลงห้องในการอ่านคำพิพากษาเป็นห้องพิจารณาคดี 908
เวลาประมาณ 09.45 น. ศาลออกพิจารณาคดี และมีการพูดคุยกับจำเลยทั้งสองว่า ภายหลังรับสารภาพ จำเลยทั้งสองรู้สึกสำนึกผิดหรือไม่ โชคดีและวรัณยาตอบคำถามในทำนองเดียวกันว่า ตนสำนึกในการกระทำ และจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
ก่อนศาลอ่านคำพิพากษา ได้ให้จำเลยสาบานตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 โชคดีและวรัณยาจึงสาบานตนทีละคนด้วยถ้อยคำว่า “ข้าพเจ้าสำนึกในการกระทำความผิดว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ให้เป็นที่ระคายเบื้องพระยุคลบาทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และให้สัตย์ปฏิญาณว่า จะจงรักภักดีและเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะไม่กลับไปกระทำการ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่มิบังควรไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม หากไม่ปฏิบัติตามขอให้พบกับความวิบัติ อย่าให้มีความสุขสวัสดิ์” พร้อมทั้งลงนามในเอกสารสาบานตน
จากนั้น ศาลจึงเริ่มอ่านคำพิพากษา สามารถสรุปใจความสำคัญในส่วนของคำวินิจฉัยได้ดังนี้
เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 83 (ร่วมกันกระทำความผิด) โดยจำเลยที่ 1 (วรัณยา) มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกัน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 อันเป็นบทหนักสุด ลงโทษจำคุกคนละ 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพหลังสืบพยานโจทก์ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 4 ปี
พิเคราะห์คำฟ้องและรายงานการสืบเสาะแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้นำ หรือผู้จัดกิจกรรม และไม่พบว่ามีการกระทำเข้าร่วมกับกลุ่มผู้กระทำความผิดในลักษณะเดียวกันอีกภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว โดยในอีกคดีหนึ่งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการกระทำในวันเดียวกันกับคดีนี้ จำเลยทั้งสองประกอบอาชีพสุจริต มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และมีภาระหน้าที่ตามปุถุชนคนทั่วไป
จากประวัติที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองได้มีส่วนร่วมในการทำงานช่วยเหลือราชการอันเป็นประโยชน์สาธารณะต่อสังคม และกิจกรรมก็เป็นโครงการในพระราชดำริของสถาบันพระมหากษัตริย์
ปัจจุบัน จำเลยทั้งสองเข้าสู่วัยชรา โดยจำเลยที่ 1 เป็นหญิงมีภาระที่ต้องอุปการะมารดาซึ่งเป็นบุคคลชราภาพ ส่วนจำเลยที่ 2 แพทย์มีความเห็นว่า การมองเห็นของจำเลยอยู่ในระดับตาบอดถาวรทั้งสองข้าง
ตามคำแถลงประกอบคำรับสารภาพและคำสาบานต่อหน้าศาล จำเลยทั้งสองได้ตระหนักแล้วว่าการกระทำของตนเป็นการมิบังควร ทั้งสำนึกในการกระทำความผิด ขอกลับตัวเป็นพลเมืองดี ยึดมั่นและเทิดทูนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นสัญญาและสาบานว่า จะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำอันใดที่มีลักษณะเช่นเดียวกับคดีนี้อีก
จากพฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นคนหลงผิด ภายหลังได้เข้าใจในข้อความจริงอย่างถ่องแท้แล้วไม่ได้หวนกระทำความผิดอีก จำเลยทั้งสองเคยทำประโยชน์ต่อสังคมและมีสภาพการดำรงชีพมีความทุกข์ยากลำเค็ญ นับว่ายังมีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ และมีข้อให้น่าเห็นใจอันเป็นเหตุให้ควรปราณีอยู่บ้าง
ประกอบกับนิสัยและความประพฤติอื่นไม่พบข้อเสื่อมเสียที่ร้ายแรงประการอื่นใดอีก น่าจะอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ควรให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับตัวกลับใจเป็นพสกนิกรที่ดี มีแนวคิดยึดมั่นและศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพระมหากษัตริย์ที่เป็นสถาบันหลักในการปกครอง โดยนำวิธีการคุมความประพฤติมาใช้บังคับสักครั้งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี คุมความประพฤติ 1 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน และให้ทำกิจกรรมบริการสาธารณะไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร
ส่วนที่โจทก์มีคำร้องขอให้มีการนับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลย เนื่องจากคดีนี้และคดีดังกล่าว ศาลมิได้พิพากษาลงโทษจำคุก คำขอในส่วนนี้จึงให้ยก
ผู้พิพากษาที่ทำคำพิพากษาในคดีนี้ ได้แก่ วัฒนา ชัยรัตน์ และ สุรเดช ยิ้มเกิด
หลังการอ่านคำพิพากษาแล้วเสร็จ ศาลได้มีการพูดคุยกับจำเลยทั้งสอง โดยศาลเชื่อว่า จำเลยทั้งสองสำนึกผิดจริง กลับตัวกลับใจเป็นพลเมืองที่ดี และพสกนิกรที่ดีของพระมหากษัตริย์ และหวังว่าจะไม่หวนกระทำความผิดซ้ำอีก พร้อมเน้นย้ำกับจำเลยทั้งสอง ถึงเงื่อนไขในระหว่างรอการลงโทษ หากมีการกระทำผิดอีก
.
ทั้งนี้ โชคดียังมีคดีตามมาตรา 112 อีกหนึ่งคดีจากการเล่นกีต้าร์และร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ ในกิจกรรมวันที่ 23 ส.ค. 2565 เช่นเดียวกันกับคดีนี้ แต่เป็นกรณีการร้องเพลงระหว่างกิจกรรมหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในช่วงหัวค่ำ หลังจากกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสร็จสิ้นแล้ว
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 ในยุคหลังปี 2563 คดีแรกที่ศาลลงโทษจำคุกกระทงละ 6 ปี ก่อนลดหย่อนโทษลงและให้รอลงอาญา หลังจากก่อนหน้านี้โดยมากในคดีที่มีคำพิพากษาออกมา ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี เป็นหลัก แต่ก็มีคดีที่พิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 4 และ 5 ปีด้วย โดยมาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกไว้ขั้นต่ำ 3 ปี และสูงสุดถึง 15 ปี อัตราโทษที่ศาลลงยังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปมาตามนโยบายและบริบททางการเมืองอีกด้วย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/66899)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
โชคดี ร่มพฤกษ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
โชคดี ร่มพฤกษ์
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- วัฒนา ชัยรัตน์
- สุรเดช ยิ้มเกิด
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
09-05-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์