ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • ทรงชัย เนียมหอม แกนนำกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบันฯ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • ทรงชัย เนียมหอม แกนนำกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบันฯ

ความสำคัญของคดี

“เจมส์” ณัฐกานต์ ใจอารีย์ นักกิจกรรมฝั่งธนบุรี อายุ 37 ปี อาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุง ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) และถูกนำตัวไปดำเนินคดีที่ สภ.เมืองพัทลุง โดยมี ทรงชัย เนียมหอม แกนนำกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบันฯ เป็นผู้แจ้งความ กล่าวหาว่า โพสต์ในเฟซบุ๊ก 3 โพสต์ ซึ่งตำรวจเชื่อว่าเป็นเฟซบุ๊กของเจมส์ มีลักษณะหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยก่อนหน้าคดีนี้ ทรงชัยได้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีประชาชนที่สถานีตำรวจในหลายจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สภ.เมืองกระบี่, สภ.ทะเลน้อย จ.พัทลุง และ สภ.คอหงส์ จ.สงขลา

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้กล่าวหาได้เล่นเฟซบุ๊กอยู่ที่บ้าน และเข้าไปดูบัญชีสาธารณะที่เคยติดตามดูเรื่องเกี่ยวกับการเมือง พบข้อความจำนวน 3 โพสต์ ที่ผู้กล่าวหาเชื่อว่าเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐฯ เป็นเหตุให้กษัตริย์ได้รับความเสียหาย ผู้กล่าวหาจึงร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีดังกล่าว ซึ่งจากการสอบสวน พนักงานสอบสวนเชื่อว่า เป็นเฟซบุ๊กของเจมส์

(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดพัทลุง ลงวันที่ 9 พ.ย. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • ประมาณ 11.00 น. “เจมส์” ณัฐกานต์ ใจอารีย์ นักกิจกรรมฝั่งธนบุรี อายุ 37 ปี ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ถูกตำรวจหลายนายเข้าล้อมจับที่บ้าน แสดงหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ก่อนถูกนำตัวไปที่ สน.ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เพื่อทำบันทึกจับกุม

    บันทึกจับกุม ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2566 เวลา 11.15 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 และ สน.ตลิ่งชัน รวมกันประมาณ 7 นาย ได้ร่วมกันจับกุมณัฐกานต์ที่บ้านพักแห่งหนึ่งย่านตลิ่งชัน พร้อมกับตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของเขาจำนวน 1 เครื่องไว้ด้วย

    บันทึกจับกุมระบุถึงพฤติการณ์การจับกุมมีรายละเอียดโดยสรุปว่า เจ้าหน้าที่สืบสวน กก.2 บก.ส.2 ตรวจพบความเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์ พบผู้ใช้งานเฟซบุ๊กรายหนึ่งซึ่งมีพฤติการณ์เผยแพร่ข้อความ รูปภาพ มีลักษณะลดทอนคุณค่าและให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ โดยตรวจพบว่า เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดพัทลุง ลงวันที่ 19 พ.ค. 2566 ในคดีที่ถูกกล่าวหาในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    ต่อมา ในวันที่ 6 พ.ย. 2566 เจ้าหน้าที่ได้สืบทราบว่าผู้ต้องหาพักอยู่ที่ใด จึงได้นำกำลังชุดจับกุมเข้าจับกุมที่บ้านพัก และนำตัวไปที่ สน.ตลิ่งชัน เพื่อจัดทำบันทึกจับกุมในช่วงประมาณ 14.00 น.

    ณัฐกานต์ถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขังของ สน.ตลิ่งชัน ตั้งแต่ถูกควบคุมตัวไปถึงในช่วงบ่ายของวันที่ 6 พ.ย. จนถึงเช้าวันที่ 7 พ.ย. 2566 ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทลุง เดินทางมารับตัวเขาเพื่อนำตัวไปแจ้งข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองพัทลุง

    เจมส์เล่าเหตุการณ์ขณะถูกจับกุมให้ทนายที่ติดตามไปถึงในภายหลังว่า ช่วงเช้าเขาได้นำรถมอเตอร์ไซค์ไปซ่อมทิ้งไว้ที่อู่แห่งหนึ่ง และเมื่อกลับถึงบ้านประมาณ 11.00 น. ก็ถูกตำรวจเข้าล้อมจับ โดยแสดงหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุงให้ดู จากนั้นรีบยึดโทรศัพท์มือถือเขาทันที

    เจมส์พยายามยืนยันสิทธิของตัวเองว่าจะต้องได้โทรหาทนายความและผู้ไว้วางใจก่อนเป็นอย่างแรก แต่เจ้าหน้าที่พยายามดึงโทรศัพท์ออกไปจากมือและยึดไว้ ตำรวจแจ้งว่า เจมส์ถูกจับกุมในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) หลังจากได้รับการยืนยันจากเจมส์ว่าเป็นบุคคลตามหมายจับจริง ตำรวจหลายคนก็สลับกันเข้ามาคุยกับเขา ทำให้เขาสับสน จากนั้นตำรวจนำภาพโพสต์เฟซบุ๊กหลายภาพมาให้เขาเซ็นรับรองว่า เป็นเฟซบุ๊กของเขาจริง

    เจมส์บอกว่าจำไม่ได้ว่ากี่ภาพ แต่มีหลายภาพมาก เขาสังเกตว่าส่วนใหญ่เป็นข้อความและภาพที่โพสต์เมื่อหลายปีมาแล้ว จากนั้นตำรวจขอให้มอบ ‘รหัสปลดล็อกหน้าจอ’ โทรศัพท์มือถือ โดยอ้างว่า ต้องการจะตรวจดูหน้าบัญชีเฟซบุ๊กเพียงอย่างเดียว แต่เขาก็ไม่รู้ว่าตำรวจทำอะไรกับโทรศัพท์ของเขาบ้าง จนกระทั่ง 14.00 น. ตำรวจถึงคืนโทรศัพท์กลับให้เขา เจมส์จึงใช้โอกาสนั้นโทรติดต่อหาบุคคลใกล้ชิดเพื่อให้ติดต่อขอความช่วยเหลือทางกฎหมายมายังศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

    เจมส์ถูกตำรวจนำตัวไปถึง สภ.เมืองพัทลุง ในช่วงค่ำของวันที่ 7 พ.ย. 2566 โดยมีทนายความอาสา และนักศึกษาจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach) ติดตามไปพบ ในเบื้องต้นทราบว่า เจมส์ต้องการความช่วยเหลือในเรื่องยารักษาโรคซึมเศร้า โดยได้แจ้งกับทางพนักงานสอบสวนเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับ

    พนักงานสอบสวนระบุว่า คดีนี้ได้เคยออกหมายเรียกผู้ต้องหาไปสองครั้ง แต่ผู้ต้องหาไม่ได้เดินทางมา ทำให้มีการร้องขอออกหมายจับจากศาล โดยเจมส์ยืนยันว่าไม่เคยเห็นหมายเรียกมาก่อน เนื่องจากอาศัยอยู่ที่บ้านเช่า และคาดว่าหมายเรียกอาจจะถูกส่งไปที่บ้านพักหลังเดิมในที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ตำรวจระบุด้วยว่า ผู้กำกับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.ตลิ่งชัน ลงวันที่ 6 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61320)
  • ช่วงบ่าย ร.ต.ท.สุภัทร์ ขุนนุ้ย พนักงานสอบสวน ได้นัดหมายทนายความ เพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนเจมส์ โดยพบว่าคดีมี ทรงชัย เนียมหอม แกนนำของกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน เป็นผู้กล่าวหา

    พฤติการณ์ข้อกล่าวหาระบุโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้กล่าวหาได้เล่นเฟซบุ๊กอยู่ที่บ้าน และเข้าไปดูบัญชีสาธารณะที่เคยติดตามดูเรื่องเกี่ยวกับการเมือง พบข้อความจำนวน 3 โพสต์ ที่ผู้กล่าวหาเชื่อว่าเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐฯ เป็นเหตุให้กษัตริย์ได้รับความเสียหาย ผู้กล่าวหาจึงร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีดังกล่าว ซึ่งจากการสอบสวน พนักงานสอบสวนเชื่อว่า เป็นเฟซบุ๊กของเจมส์ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหา ตามหมายจับ

    เจมส์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และพนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวเขาไว้ที่ สภ.เมืองพัทลุง อีก 1 คืน เพื่อรอยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลจังหวัดพัทลุง

    (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดพัทลุง ลงวันที่ 9 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61320)
  • พนักงานสอบสวนนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลจังหวัดพัทลุงเป็นครั้งที่ 1 ระยะเวลา 12 วัน โดยอ้างเหตุยังต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 6 ปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือและประวัติผู้ต้องหา ทั้งยังได้ขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี

    ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความได้ยื่นขอประกันตัว โดยขอวางหลักทรัพย์จำนวน 150,0000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์

    คำร้องยืนยันว่า ผู้ต้องหาประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ทำให้ต้องเช่าบ้านพักอยู่ใกล้บริเวณที่ทำงาน จึงไม่ได้รับหมายเรียกของพนักงานสอบสวน โดยหากได้รับหมายเรียก ผู้ต้องหาก็จะเดินทางมาตามนัดหมาย โดยไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีแต่อย่างใด ทั้งไม่ได้มีพฤติการณ์ขัดขืนการจับกุมที่เกิดขึ้น และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

    ต่อมาเวลาประมาณ 15.24 น. ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยเห็นว่า พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย ผู้ต้องหามีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง และมีแนวโน้มที่จะไปกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาอีก ทำให้เจมส์ถูกนำตัวไปยังเรือนจำกลางพัทลุงในช่วงเย็น

    จากการติดตามของศูนย์ทนายฯ เจมส์นับเป็นผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รายที่ 5 ที่ถูกทรงชัยแจ้งความ ก่อนหน้านี้มีคดีกระจายไปในหลายสถานีตำรวจในภาคใต้ ทั้งคดีของ “สินธุ” ที่ สภ.ตะโหมด จ.พัทลุง, คดีของ “ดลพร” ที่ สภ.เมืองกระบี่, คดีของธีรเมธ ที่ สภ.ทะเลน้อย จ.พัทลุง และคดีของณัฐพล ที่ สภ.คอหงส์ จ.สงขลา

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลจังหวัดพัทลุง ลงวันที่ 9 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61320)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกานต์ ใจอารีย์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์