ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำ ศปปส. (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำ ศปปส.

ความสำคัญของคดี

“บังเอิญ” ศิลปินอิสระชาวขอนแก่นวัย 25 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยมี อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความดำเนินคดีบังเอิญเป็นคดีที่ 2 กล่าวหาว่า มีเจตนาใช้รองเท้าชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ จากกรณีที่บังเอิญโพสต์ภาพถือรองเท้ายืนอยู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2566

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง และเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวระบุพฤติการณ์คดี ใจความโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2566 เวลาประมาณ 14.30 น. อานนท์ กลิ่นแก้ว ผู้กล่าวหา ได้เปิดเฟซบุ๊กของบังเอิญดู พบว่า บังเอิญได้โพสต์รูปภาพตนเองขณะยืนอยู่ใกล้แท่นด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี โดยใช้มือซ้ายถือรองเท้า จำนวน 1 ข้าง หันไปทางบริเวณด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ผู้กล่าวหาและประชาชนทั่วไปที่พบเห็นรูปภาพดังกล่าวมีความเห็นว่า ผู้ต้องหามีเจตนาที่จะใช้รองเท้าชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้าง ล่วงเกิน หรือกระทำให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ทรงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ทำให้ประชาชนทั่วไปเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ จนถึงขนาดล่วงละเมิดกฎหมายบ้านเมือง

(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 10 พ.ย. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม “บังเอิญ” ศิลปินอิสระจากจังหวัดขอนแก่นวัย 25 ปี พร้อมทนายความ เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกครั้งที่ 2 ลงวันที่ 31 ต.ค. 2566 ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มี อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ไปกล่าวหาเป็นคดีที่ 2

    พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ รองผู้กำกับสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาบังเอิญ ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    พฤติการณ์ข้อกล่าวหาโดยสรุประบุว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2566 เวลาประมาณ 14.30 น. อานนท์ กลิ่นแก้ว ได้เปิดเฟซบุ๊กของบังเอิญดู พบว่าผู้ต้องหาได้โพสต์รูปภาพตนเองขณะยืนอยู่ใกล้แท่นด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี โดยใช้มือซ้ายถือรองเท้า จำนวน 1 ข้าง หันไปทางบริเวณด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

    ผู้กล่าวหาอ้างว่า ตนเองและประชาชนทั่วไปในราชอาณาจักร ที่พบเห็นรูปภาพดังกล่าว มีความเห็นว่า ผู้ต้องหามีเจตนาที่จะใช้รองเท้าชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้าง ล่วงเกิน หรือกระทำให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ทรงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ทำให้ประชาชนทั่วไปเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ จนถึงขนาดล่วงละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ผู้กล่าวหาจึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี

    หลังรับทราบพฤติการณ์ข้อกล่าวหา บังเอิญได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมภายใน 30 วัน พนักงานสอบสวนได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ ก่อนแจ้งว่าจะนำตัวไปขอฝากขังที่ศาลอาญาในช่วงบ่าย เนื่องจากเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แม้ผู้ต้องหาจะมาพบตามหมายเรียกก็ตาม

    ช่วง 13.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวบังเอิญไปยื่นขอฝากขังที่ศาลอาญาเป็นระยะเวลา 12 วัน และศาลอนุญาตให้ฝากขังตามคำขอ ก่อนทนายความจะยื่นขอประกันตัว

    ต่อมาศาลได้อนุญาตให้ประกันตัวบังเอิญ โดยให้วางหลักทรัพย์จำนวน 90,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์

    คดีนี้ นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 2 ที่บังเอิญถูกกล่าวหา โดยทั้งสองคดีมี อานนท์ กลิ่นแก้ว เป็นผู้กล่าวหา เช่นเดียวกัน

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 10 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61372)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
"บังเอิญ" (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์