ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.250/2566
แดง อ.577/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.แทน ไชยแสง สันติบาล (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.250/2566
แดง อ.577/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.แทน ไชยแสง สันติบาล
ความสำคัญของคดี
อัฐสิษฎ (สงวนนามสกุล) ศิลปินวัย 29 ปี ถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยถูกกล่าวหาว่า เผยแพร่ภาพกราฟฟิก 2 ภาพ ในเพจเฟซบุ๊ก เมื่อเดือน มิ.ย. และ ก.ย. 2564 มีลักษณะใส่ความรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10
กรณีนี้สะท้อนปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความขยายขอบเขตการกระทำที่เป็นความผิดไปอย่างกว้างขวาง จนกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบของประชาชน
กรณีนี้สะท้อนปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความขยายขอบเขตการกระทำที่เป็นความผิดไปอย่างกว้างขวาง จนกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบของประชาชน
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
วนิดา เศวตทิฆัมพร พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6 บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า
1. เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กโพสต์ภาพวาดและข้อความว่า “ออกแบบคาแรคเตอร์มือปืนที่เก่งที่สุดในโลก….จอห์นวิคยังต้องกราบ” เมื่อตีความและอ่านออกเสียงประกอบภาพย่อมต้องนึกถึงรัชกาลที่ 9 อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 9 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
2. เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กโพสต์ภาพวาดคล้ายชายกำลังกัดกินแผนที่ประเทศไทย และข้อความ “ทางออก ประเทศไทย?” โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนที่ได้เห็นภาพและอ่านข้อความมีความรู้สึกว่า รัชกาลที่ 10 กัดกินประเทศไทย อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.250/2566 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2566)
1. เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กโพสต์ภาพวาดและข้อความว่า “ออกแบบคาแรคเตอร์มือปืนที่เก่งที่สุดในโลก….จอห์นวิคยังต้องกราบ” เมื่อตีความและอ่านออกเสียงประกอบภาพย่อมต้องนึกถึงรัชกาลที่ 9 อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 9 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
2. เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กโพสต์ภาพวาดคล้ายชายกำลังกัดกินแผนที่ประเทศไทย และข้อความ “ทางออก ประเทศไทย?” โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนที่ได้เห็นภาพและอ่านข้อความมีความรู้สึกว่า รัชกาลที่ 10 กัดกินประเทศไทย อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.250/2566 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 08-11-2022นัด: จับกุมตามหมายจับเวลา 07.30 น. อัฐสิษฎถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 12 นาย จากกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กก.1 บก. ปอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เข้าจับกุมและตรวจค้นในบ้านพักที่จังหวัดนครราชสีมา ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 2359/2565 ลงวันที่ 4 พ.ย. 2565 และหมายค้นจากศาลจังหวัดพิมายที่ 19/2565 ลงวันที่ 7 พ.ย. 2565
หลังจากที่ตำรวจได้ตรวจยึดคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ และเมาท์ปากกาวาดภาพของอัฐสิษฎไว้เป็นของกลางในคดีนี้ อัฐสิษฎได้ถูกนำตัวจากจังหวัดนครราชสีมามายังกรุงเทพมหานครในวันเดียวกันนั้น เพื่อทำบันทึกจับกุมและแจ้งข้อหาที่ บก.ปอท.
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ระบุว่า สาเหตุมาจาก พ.ต.ท.แทน ไชยแสง ผู้กล่าวหา พบว่า เพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งได้เผยแพร่ภาพและข้อความที่เข้าข่ายลักษณะบิดเบือน พาดพิง เสียดสี ด้อยค่าสถาบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. และ 12 ก.ย. 2564 และจากการสืบสวนพบว่า อัฐสิษฎเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว
ในชั้นจับกุมและสอบสวนซึ่งไม่มีทนายความเข้าร่วม อัฐสิษฎให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ได้รับว่าเป็นผู้วาดและเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว โดยไม่ได้มีเจตนาพาดพิงสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม กก.1 บก.ปอท. ลงวันที่ 8 พ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/65047) -
วันที่: 09-11-2022นัด: ฝากขังพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังอัฐสิษฎต่อศาลอาญา โดยศาลอนุญาตให้ฝากขัง ก่อนอนุญาตให้ประกันระหว่างสอบสวน วงเงินประกัน 90,000 บาท แต่เนื่องจากเขาไม่สามารถติดต่อครอบครัวได้ เพราะโทรศัพท์ถูกตำรวจยึดไป อัฐสิษฎจึงถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อนครอบครัวมายื่นประกันเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/65047) -
วันที่: 31-01-2023นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญา โดยสาระสำคัญของคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยโพสต์ภาพวาดและข้อความว่า “ออกแบบคาแรคเตอร์มือปืนที่เก่งที่สุดในโลก….จอห์นวิคยังต้องกราบ” อัยการระบุว่า เมื่อตีความและอ่านออกเสียงประกอบภาพย่อมต้องนึกถึงรัชกาลที่ 9 อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 9 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
และเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2564 ต่อเนื่องถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยโพสต์ภาพวาดคล้ายชายกำลังกัดกินแผนที่ประเทศไทย และข้อความ “ทางออก ประเทศไทย?” อัยการระบุว่า จำเลยมีเจตนาให้ประชาชนที่ได้เห็นภาพและอ่านข้อความมีความรู้สึกว่า รัชกาลที่ 10 กัดกินประเทศไทย อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ใส่ความ ดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
อย่างไรก็ตาม อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณาคดี
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 250/2566 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/65047)
-
วันที่: 01-02-2023นัด: รายงานตัวต่อศาลอัฐสิษฎเดินทางมารายงานตัวต่อศาลตามนัด ก่อนรับทราบว่าอัยการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว หลังจากยื่นประกันระหว่างการพิจารณาคดี ศาลมีคำสั่งอนุญาต โดยใช้หลักทรัพย์เดิมในชั้นฝากขัง นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 27 มี.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 27-03-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง อัฐสิษฎให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงติดใจสืบพยาน 12 ปาก ใช้เวลาสืบ 3 นัด ด้านอัฐสิษฎและทนายจำเลยแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า จำเลยเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กและเป็นผู้โพสต์ภาพและข้อความตามฟ้องจริง แต่จำเลยไม่ได้มีเจตนา และการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามฟ้อง จำเลยติดใจสืบพยานรวม 3 ปาก ใช้เวลา 1 นัด นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 - 25 ม.ค. 2567 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 26 ม.ค. 2567
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 250/2566 ลงวันที่ 27 ก.พ. 2566) -
วันที่: 23-01-2024นัด: สืบพยานโจทก์อัฐสิษฎเดินทางมาศาลในนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ขณะที่ทนายจำเลยคือ อานนท์ นำภา ถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในชุดผู้ต้องขัง พันธนาการด้วยกุญแจข้อเท้า ก่อนเริ่มการสืบพยาน อัฐสิษฎได้ขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย รายงานต่อศาลภายใน 15 วัน นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ก.พ. 2567 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 28-02-2024นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 805 อัฐสิษฎเดินทางมาฟังคำพิพากษาเพียงคนเดียว โดยเขาต้องเดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมาล่วงหน้า 1 วัน เนื่องจากเขาต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 9 ชั่วโมง จากระยะทางราว 300 กิโลเมตร
เมื่อเวลา 10.03 น. ศาลออกนั่งอ่านคำพิพากษา โดยสามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า
ในคดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพ ศาลสั่งให้มีการสืบเสาะ จำเลยได้ให้การต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติว่าได้โพสต์ภาพตามคำฟ้องจริง โดยอ้างว่าโพสต์ตามจินตนาการทางการเมือง
เห็นว่า ในความจริงแล้วรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ไม่ได้เป็นไปตามที่จำเลยใส่ความ ข้อความและโพสต์ของจำเลยนั้นบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ทำให้รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ทำให้คนที่มาเห็นรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 12 เดือน และให้ริบคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง, โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง, ซิมการ์ด และเมาท์ปากกาวาดภาพ ของกลาง
ผู้พิพากษาในคดีนี้คือ สมชาย ขานสระน้อย และดุษดี พิชยภิญโญ
หลังจากที่ศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวอัฐสิษฎในระหว่างอุทธรณ์ ส่วนอัฐสิษฎถูกใส่กุญแจมือและถูกควบคุมตัวลงไปที่ห้องขังใต้ถุนศาล เพื่อรอฟังคำสั่ง
ต่อมาในเวลา 15.46 น. ศาลอาญามีคำสั่งส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ทำให้อัฐษสิฎต้องถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ต่อมาวันที่ 1 มี.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันอัฐสิษฎระหว่างอุทธรณ์ ระบุว่า ข้อหามีอัตราโทษสูง ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยนำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ และกระทบกระเทือนต่อจิตใจของประชาชน จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.250/2566 คดีหมายเลขดำที่ อ.577/2567 ลงวันที่ 28 ก.พ. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/65047) -
วันที่: 22-05-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายความได้ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ซึ่งอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีจำนวน 16 ราย ได้แก่ อานนท์, ถิรนัย, ชัยพร, ประวิตร, มงคล, ขจรศักดิ์, คเชนทร์, ไพฑูรย์, สุขสันต์, อุกฤษฏ์, วีรภาพ, จิรวัฒน์, ณัฐนนท์, ทานตะวัน, อัฐสิษฎ และสิรภพ
การยื่นประกันตัวครั้งดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการทำรัฐประหาร ที่นำมาซึ่งการถูกดำเนินคดีทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บรรดาองค์กรทางกฎหมายได้นิรโทษกรรมให้กับคณะผู้ทำรัฐประหารที่ทำลายระบบนิติรัฐของประเทศ
ในโอกาสนี้ ผู้ต้องขังจำนวน 16 ราย จึงประสงค์ที่จะยื่นประกันตัว เพื่อตอกย้ำว่ายังมีคนที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวขั้นพื้นฐาน และเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเพื่อนผู้ต้องขังที่เพิ่งเสียชีวิตไปอย่างไม่มีวันกลับอย่าง ‘บุ้ง เนติพร’
คำร้องขอประกันอัฐสิษฎในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ในคดีนี้ เสนอหลักประกันจำนวน 300,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญถึงหลักการที่จำเลยมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งบัญญัติรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29
การที่จำเลยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวและต้องถูกคุมขังในระหว่างการต่อสู้คดีทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด ถือเป็นการลงโทษจำเลยเสมือนว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดไปแล้ว แม้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจำเลย ก็มิอาจบรรเทาผลร้ายเกินสมควรที่เกิดขึ้นกับจำเลย และครอบครัวในระหว่างถูกคุมขังได้ ดังเช่นในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับจำเลยทั้งสี่และครอบครัวในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2536 รวมถึงในกรณีเนติพร เสน่ห์สังคม ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมตัวของรัฐในระหว่างการพิสูจน์ความรับผิดทางกฎหมาย เป็นผลร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหนทางที่จะบรรเทาผลร้ายได้แต่อย่างใด
หลังทนายยื่นคำร้อง ศาลอาญาได้ส่งคำร้องขอประกันอัฐสิษฎให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา โดยศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกัน โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.250/2566 คดีหมายเลขดำที่ อ.577/2567 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67671) -
วันที่: 28-05-2024นัด: จำเลยยื่นอุทธรณ์อัฐสิษฎยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษจำเลย
-
วันที่: 18-06-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3ทนายความยื่นประกันอัฐสิษฎระหว่างอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3 เสนอหลักประกันจำนวน 300,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญว่า จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แล้ว
หลังทนายยื่นคำร้อง ศาลอาญาได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา โดยศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันอัฐสิษฎ โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง จำเลยให้การรับสารภาพ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.250/2566 คดีหมายเลขดำที่ อ.577/2567 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68118)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อัฐสิษฎ (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อัฐสิษฎ (สงวนนามสกุล)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สมชาย ขานสระน้อย
- ดุษดี พิชยภิญโญ
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
28-02-2024
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อัฐสิษฎ (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์