ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3157/2561
แดง อ.91/2563
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ความสำคัญของคดี

จำเลยเป็นชาวบ้านทั่วไปที่มีพื้นเพที่แตกต่างกันแต่มีความเชื่อมโยงกันคืออยู่ในกลุ่มไลน์สหพันธรัฐและมีเสื้อที่มีสัญลักษณ์ขององค์กรที่เรียกว่าสหพันธรัฐไทในไว้ครอบครอง โดยจำเลยแต่ละคนถูกจับมาในเวลาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน ช่วงเดือน ก.ย. 61 จำเลยทั้ง 5 คนถูกนำตัวเข้าไปสอบปากคำในค่าย มทบ. 11 ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายเนื่องจากถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฏหมาย ด้วยระยะเวลาต่างกันและถูกนำไปส่งที่สถานีตำรวจในภายหลัง โดยคดีนี้จำเลยถูกแจ้งข้อหายุยงปลุกปั่นและอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 209 โดยมีพฤติการณ์แห่งคดีแตกต่างกันไป

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 61 โดยบรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 8 มิ.ย. – 12 ก.ย. 61 ทั้งกลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งห้าได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันวาระ กล่าวคือ

1.จำเลยทั้งห้า กับนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์, นายสยาม ธีรวุฒิ, นายวัฒน์ วรรลยางกูร และนายกฤษณะ ทัพไทย ซึ่งหลบหนียังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งหน้าที่ ในคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการ ชื่อกลุ่มสหพันธรัฐไท มีความมุ่งหมายเพื่อต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อต้านรัฐบาลและ คสช. เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่ระบอบการปกครองในระบอบสหพันธรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

2.จำเลยทั้งห้า กับพวกดังกล่าว ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ โดยได้เคลื่อนไหวปลุกระดมสมาชิกกลุ่มและประชาชนทั่วไปผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์ ยูทูบ และการแจกเอกสารแผ่นปลิว ชักชวนให้สมาชิกกลุ่มและประชาชนทั่วไปต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อต้านรัฐบาลและ คสช. ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินและเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 ลงวันที่ 24 ต.ค. 2561)

ความคืบหน้าของคดี

  • ทหารนำตัว วรรณภา (สงวนนามสกุล) ส่งกองบังคับการปราบปราม หลังถูกคุมตัวอยู่ในมณฑลทหารบกที่ 11(มทบ.11) 6 วัน โดยมี พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมาย คสช. และทนายความจากสภาทนายความเดินทางมาด้วย

    ทั้งนี้ ในกระบวนการรับตัววรรณภาและทำบันทึกจับกุมของพนักงานสอบสวน มีอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยพนักงานสอบสวนแจ้งกับทนายความและวรรณภาว่า จะทำการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบคำให้การในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.)

    นอกจากนั้น ในวันนี้ทนายความของศูนย์ทนายความฯ ได้ติดตามกรณีทหารควบคุมตัวบุคคลจากการครอบครองเสื้อสหพันธรัฐไท ก่อนหน้านี้ศูนย์ทนายความฯ เคยรายงานไปก่อนหน้านี้ว่ายังมีอีก 3 คน ทนายความได้พบทั้งหมดแล้ว โดยมี 2 คน ถูกขังระหว่างสอบสวนอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพและทัณฑสถานหญิงกลาง และพบตัวอีก 1 คน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก หลังถูกนำตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อรอศาลพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่

    คนแรก กฤษณะ (สงวนนามสกุล) เวลานี้ถูกฝากขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เบื้องต้นทราบว่าเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา แฟนของกฤษณะได้ยื่นประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท แต่ศาลไม่ให้ประกัน กฤษณะได้เล่าเพิ่มเติมว่าแฟนได้ขายรถยนต์ไปเพื่อนำมาประกันตัวในครั้งนี้

    คนที่สอง ประพันธ์ (สงวนนามสกุล) ทนายความพบว่าถูกฝากขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง เธอได้ให้สัมภาษณ์ว่าเวลาเจ็ดโมงเช้าวันที่ 3 ก.ย. ขณะเธออยู่ในห้องพักคนเดียว เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจในเครื่องแบบร่วม 10 นาย เข้าตรวจค้นจับกุมที่ห้องพักย่านลาดพร้าว เจ้าหน้าที่ได้ยึดโทรศัพท์สามเครื่อง, บัตร นปช., รูปภาพทักษิณ ชินวัตร และหนังสือ นปช. อีก 3 เล่ม หลังการตรวจค้นเธอถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่ มทบ. 11 เพื่อทำการซักถามโดยทหารและตำรวจ จนกระทั่งวันที่ 5 ก.ย. เธอจึงถูกนำตัวไปกองปราบฯ แจ้งข้อกล่าวหา แต่เธอจำไม่ได้ว่าข้อหาอะไรบ้าง

    ส่วนคนที่สาม เทอดศักดิ์ (สงวนนามสกุล) ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีจากเหตุเดียวกัน ทนายความได้ติดตามไปจนพบที่ศาลอาญา รัชดาฯ หลังเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพนำตัวเขาไปที่ศาลอาญาเพื่อทำเรื่องประกันตัว ทั้งนี้ เทอดศักดิ์ยังไม่ยินดีให้เผยแพร่ข้อมูลใด ๆ

    พวกเขาทั้ง 3 คนถูกนำตัวจาก มทบ.11 ส่งกองปราบฯ พร้อมกันเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 61 เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาแต่ยังไม่ทราบว่ามีข้อหาอะไรบ้างจึงยังต้องรอตรวจสอบข้อมูลในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาก่อน จากนั้น ทั้งสามถูกขังในห้องขังของกองปราบฯ เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อขออำนาจศาลฝากขังในวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยมีเพียงกฤษณะคนเดียวเท่านั้นที่ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา

    (https://tlhr2014.com/?p=8859)
  • 11 ก.ย. 2561 ศาลอาญาอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเทอดศักดิ์ ผู้ต้องหาคดีเสื้อสหพันธรัฐไท โดยใช้หลักทรัพย์ 40,000 บาท พร้อมติดอุปกรณ์ติดตามตัว และมีเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ

    ต่อมา 12 ก.ย. 2561 เวลาประมาณ 11.30 น. พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามแจ้งข้อหาเพิ่มเติม นางวรรณภา (สงวนนามสกุล) หญิงขับรถจักรยานยนต์รับจ้างแม่ลูกสองซึ่งถูกทหารควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 2561 โดยแจ้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 หลังจากวานนี้ทหารนำตัวมาที่กองบังคับการปราบปรามตามหมายจับข้อหาอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209

    ประมาณ 13.00 น. หลังแจ้งข้อหาเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนนำตัวนางวรรณภาไปศาลอาญา เพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ครั้งที่ 1 ระหว่างที่ยังสอบสวนคดีไม่เสร็จ

    คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ระบุพฤติการณ์ว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เป็นผู้กล่าวหานางวรรณภา โดยบรรยายพฤติกรรมของนางวรรณภาว่าเป็นผู้รับเสื้อที่มีสัญลักษณ์ของกลุ่มสหพันธรัฐไทเพื่อส่งต่อให้ผู้อื่น เป็นความผิดฐานยุยงปลุกปั่นและอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 209

    ประมาณ 15.00 น.ศาลอาญาอนุญาตฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์ 200,000 บาท ศาลอนุญาตปล่อยตัวโดยไม่กำหนดเงื่อนไข

    ทั้งนี้ คดีนี้มีผู้ถูกจับกุมทั้งสิ้น 4 คน คือ นายกฤษณะ, นางประพันธ์, นายเทอดศักดิ์, และนางวรรณา ทั้งสี่ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นและอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 209

    (https://tlhr2014.com/?p=8873)
  • นางจินดา ถูกฝากขังครั้งที่ 1 ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
  • ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดฟ้อง 3 ผู้ต้องหาคดีสหพันธรัฐไท ได้แก่ นายกฤษณะ (สงวนนามสกุล) เทอดศักดิ์ (นามสมมติ) และนางประพันธ์ (สงวนนามสกุล) โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 เดินทางมาศาลตามนัดหมายศาลหลังจากก่อนหน้านี้อัยการได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 3 เป็นจำเลยต่อศาลอาญาเลขคดีดำที่ อ. 3157/2561 และได้รับการประกันตัว นอกจากนั้นในวันนี้อัยการสูงสุดได้ส่งฟ้องผู้ต้องหาเพิ่มอีก 1 ราย คือนางจินดา (สงวนนามสกุล) จากกรณีครอบครองเสื้อสหพันธรัฐไท

    จำเลยและผู้ต้องหาทั้งหมด ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นและอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 209 โดยมีพฤติการณ์แห่งคดีแตกต่างกันไป

    ในกรณีจำเลย 3 คน ได้แก่ นายกฤษณะ, เทอดศักดิ์ และนางประพันธ์ (สงวนนามสกุล) สำหรับวันนี้ยังไม่มีการสอบคำให้การจำเลยแต่อย่างใด โดยศาลมีคำสั่งเลื่อนสอบคำให้การไปเป็นวันที่ 30 ต.ค.61 เวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นวันนัดพร้อมกับผู้ต้องหาในคดีสหพันธรัฐไทอีก 2 ราย คือกรณีของนางวรรณภา (สงวนนามสกุล) (อ่านเรื่องนี้ใน: ทหารคุม ‘วรรณภา’ คดีเสื้อสหพันธรัฐไท ส่งกองปราบฯ ตร.แจ้งข้อหาพรุ่งนี้ ทนายพบอีก 3 ถูกขังแล้ว) และนางจินดา (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกฟ้องรายล่าสุดในวันนี้

    ในวันนี้ยังมีการยื่นขอประกันตัวนางจินดาที่ศาลอาญาวันนี้ ศาลได้รับคำร้องขอปล่อยตัวโดยติดเครื่องติดตามและวางหลักประกันจำนวน 40,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยถูกขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงจึงมีคำสั่งให้เบิกตัวจำเลยจากทัณฑสถานหญิงมาศาลในวันพรุ่งนี้ เพื่อสอบถามความยินยอมว่าประสงค์จะติดเครื่องติดตามหรือไม่ หากจำเลยประสงค์จะติดเครื่องติดตาม ศาลจะพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวอีกครั้ง

    โดยจำเลย 4 คน และ ผู้ต้องหา 1 คนจะถูกนำมารายงานตัวต่อศาลเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 30 ต.ค. 61 (https://www.tlhr2014.com/?p=9308)
  • ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนางจินดาโดยติดเครื่องติดตามและวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 40,000บาท หากผิดสัญญาประกันปรับนายประกัน200,000บาท โดยนางจินดาได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำในช่วงค่ำ
  • เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เป็นนัดถามคำให้การจำเลย โดยศาลได้อ่านคำฟ้องต่อหน้าจำเลยทั้ง 5 คน ได้แก่ นายกฤษณะ (สงวนนามสกุล) เทอดศักดิ์ และนางประพันธ์ (สงวนนามสกุล) นางวรรณภา (สงวนนามสกุล) และนางจินดา (สงวนนามสกุล) ก่อนที่จำเลยทั้งหมดจะให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ศาลกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 9.00 น.

    หลังจากก่อนหน้านี้ ศาลอาญาเพิ่งอนุญาตให้ประกันตัวนางจินดา (สงวนนามสกุล) อีก 1 จำเลย คดีเสื้อสหพันธรัฐไท ไปเมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมาด้วยหลักทรัพย์ 40,000 บาท และให้ติดเครื่องติดตามตัว เช่นเดียวกับ จำเลย 3 คน (ยกเว้นกรณีวรรณภาที่ซึ่งศาลอาญาอนุญาตให้ประกันโดยใช้หลักทรัพย์ 200,000 บาท และปล่อยตัวโดยไม่กำหนดเงื่อนไข) ทำให้คดีนี้อัยการได้สั่งฟ้องไปแล้วทั้งสิ้น 5 คน โดยวันนี้เป็นนัดสอบคำให้การพร้อมกัน

    ในเอกสารคำฟ้องจำเลยทั้ง 5 คน สรุปสาระสำคัญดังนี้ว่า ระหว่างวันที่ 8 มิ.ย. 61 – 12 ก.ย. 61 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยได้กระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ โดยร่วมกับจำเลยที่ยังหลบหนีภายใต้ชื่อกลุ่มสหพันธรัฐไท มีความมุ่งหมายเพื่อต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อต้านรัฐบาลและ คสช. เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปสู่ระบอบการปกครองในระบอบสหพันธรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข (https://www.tlhr2014.com/?p=9358)
  • นางจินดา (สงวนนามสกุล) 1 ใน จำเลยคดีสหพันธ์รัฐไท ใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาทในการประกันตัวเพื่อถอด 'EM' เนื่องจากจำเลยแจ้งว่าไม่ได้รับความสะดวกต่อการประกอบอาชีพเนื่องจากต้องทำขนมและอยู่ใกล้กับเตาน้ำมันความร้อนเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ศาลอนุญาตให้ประกันตัว
  • วันนี้เป็นวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐาน จำเลยที่ 5 คือนางสาวจินดาอัจฉริยะศิลป์ไม่มาศาล ทนายจำเลยที่ 5และนายประกัน แถลงต่อศาลว่าในวันที่ 8 ธันวาคม 2561 จำเลยที่ 5 ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว และไม่สามารถติดต่อจำเลยที่ 5 ได้นับตั้งแต่วันนั้นจึงไม่ทราบว่าจำเลยที่ 5 ได้รับการปล่อยตัวแล้วหรือยัง จึงไม่สามารถนำตัวจำเลยไม่มาศาลในวันนี้ได้
    ส่วนจำเลยที่ 1 ถึง 4 มาศาลและยื่นคำให้การปฏิเสธเป็นหนังสือ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าเนื่องจาก จำเลยที่ 5 ถูกทหารนำตัวไปและไม่สามารถติดต่อได้ จึงให้เลื่อนวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานออกไปอีกนัดหนึ่งคือในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.30 น
  • นางประพันธ์ (สงวนนามสกุล) 1 ใน จำเลยคดีสหพันธ์รัฐไท ใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาทในการประกันตัวเพื่อถอด 'EM' โดยจำเลยแจ้งว่าไม่ได้รับความสะดวกต่อการประกอบอาชีพเนื่องจากต้องทำงานบริการ ศาลอนุญาตให้ประกันตัว
  • ศาลอาญา ถ.รัชดา มีนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีสหพันธรัฐไท เพื่อสอบคำให้การ และตรวจพยานหลักฐาน โดยคดีนี้อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย 5 คน ในข้อหายุยงปลุกปั่นฯ และอั่งยี่ ที่มีพฤติการณ์เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐไท จำเลยเดินทางมาศาล 3 คนและให้การปฏิเสธเพื่อต่อสู้คดี ศาลจึงให้นัดสืบพยานนัดแรก 19 พ.ย. 62 ขณะเดียวกันศาลยังมีคำสั่งให้ออกหมายจับและยึดหลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวของจำเลยที่ไม่มาศาล

    13.00 น. ผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 5 จำเลยคดีสหพันธรัฐไท ได้แก่ กฤษณะ (สงวนนามสกุล) เทอดศักดิ์ (สงวนนามสกุล) ประพันธ์ (สงวนนามสกุล) วรรณภา (สงวนนามสกุล) และจินดา (สงวนนามสกุล) ในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และข้อหาอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 โดยจำเลย 3 จาก 5 รายนี้เคยถูกควบคุมตัวถึง 2 ครั้งหลังจากที่อัยการได้มีคำสั่งฟ้องข้อหา (อ่านเพิ่มเติมที่: ตำรวจคุมตัว 2 จำเลยคดีเสื้อสหพันธรัฐไท จากร้านแมคฯ อ้างแค่นำตัวมาซักถามเรื่องนัดชุมนุมวันนี้)

    จำเลย 2 รายไม่เดินทางมารายงานตัวต่อศาล

    เมื่อเริ่มกระบวนการพิจารณาคดีพบว่า จำเลยที่มารายงานตัวต่อศาลมีจำนวน 3 คน และอีก 2 คน คือ จินดา และประพันธ์ ไม่เดินทางมาศาลตามนัด ทนายความของจินดาได้แถลงต่อศาลว่า จำเลยถูกเจ้าหน้าทหารคุมตัวไปควบคุมไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 และได้ทำหนังสือยื่นเพื่อติดตามตัวจำเลยมาศาลตามนัดหมาย แต่ได้รับแจ้งว่าได้มีการปล่อยตัวจำเลยไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าไปที่ใด

    ขณะที่ญาติก็ไม่สามารถติดต่อจินดาได้ ขณะที่นางประพันธ์จำเลยอีกรายที่ไม่เดินทางมาศาล ก็ไม่สามารถติดตามตัวมาได้เช่นกัน ศาลเห็นว่าจำเลย 2 ราย มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับมาพิจารณาคดี และให้ถือว่านายประกันผิดสัญญาให้ปรับนายประกันเต็มสัญญาโดยให้ยึดเงินสด 200,000 บาท ตามสัญญาประกัน และให้จำหน่ายคดีของทั้งสองเป็นการชั่วคราว

    จำเลยปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ด้านทนายความแถลงแนวทางต่อสู้

    ต่อมา ศาลดำเนินการตรวจพยานหลักฐานในคดีของจำเลย 3 คนที่เหลือ ศาลสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความ โจทก์ได้ส่งบัญชีพยาน ซึ่งทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกสารที่อ้างเป็นพยาน ส่วนใหญ่พบว่าเป็นบันทึกการซักถาม บันทึกการสอบสวน และวีซีดีที่บันทึกถ้อยคำของจำเลยและรายการที่เกี่ยวข้องกับสหพันธรัฐไท ขณะที่ทางจำเลยได้ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและได้อ้างตัวเองเป็นพยาน

    ทนายความได้แถลงแนวทางการต่อสู้คดีว่า จำเลยทุกคนต่างไม่รู้จักกันมาก่อน ขณะที่วันเกิดเหตุที่ถูกจับกุม จำเลยทุกคนไม่ได้ไปแจกเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสหพันธรัฐไท และได้ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเดินทางไปควบคุมตัวจากที่บ้านไปไว้ที่ค่ายทหาร ซึ่งจำเลยทุกคนไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งนี้ศาลให้ทั้งฝ่ายกำหนดวันสืบพยาน โดยได้ข้อสรุปนัดสืบพยานโจทก์ 3 นัด และฝ่ายจำเลย 3 นัด โดยเริ่มสืบพยานนัดแรกวันที่ 19 พ.ย. 62

    (อ้างอิง : https://www.tlhr2014.com/?p=10853)
  • คำเบิกความของพยานโจทก์

    บุรินทร์ชี้ จำเลยกระทำผิดจากการเป็นแอดมินเพจ พิมพ์สติ๊กเกอร์ แจกใบปลิว และขายเสื้อดำมีสัญลักษณ์ “สหพันธรัฐไท”

    พล.ต.บุรินทร์ เบิกความว่า ทางการข่าวได้ติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยสืบทราบว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวหลบหนีไปประเทศลาว ได้แก่ วุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์, สยาม ธีรวุฒิ, กฤษณะ ทัพไทย, วัฒน์ วรรลยางกูล, สุรชัย แซ่ด่าน ต่อมา วุฒิพงษ์, ชูชีพ, กฤษณะ, สยาม และวัฒน์ แยกตัวไปตั้งกลุ่ม “สหพันธรัฐไท” โดยมีวัตถุประสงค์คือเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ โค่นล้มพระมหากษัตริย์ มีการแบ่งประเทศออกเป็น 10 มลรัฐ มุ่งหวังให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นไปจนถึงเลือกตั้งประธานาธิบดี จัดตั้งศาลลูกขุน มีการจัดทำวิทยุเผยแพร่ทาง YouTube ทำธงสัญลักษณ์สีขาว แดง สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ของประชาชน สีแดงหมายถึงความกล้าหาญของประชาชน และมีแนวคิดทำเสื้อดำแจกจ่ายสมาชิก

    นายทหารซึ่งเป็นผู้กล่าวหาเบิกความต่อไปอีกว่า หนึ่งในการเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวคือ เพจเฟซบุ๊กที่ชื่อ “สหพันธรัฐไทกับเรื่องลึกลับของทรราช” ซึ่งมีนายกฤษณะ จำเลยที่ 1 เป็นแอดมินเพจ ในเพจมีข้อความโจมตีสถาบัน มีการเผยแพร่แถลงการณ์สหพันธรัฐไท และนำคลิปรายการมาเผยแพร่ โดยเพจเฟซบุ๊กนี้เป็นเพจที่เปิดสาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีการติดต่อกันผ่านช่องทางไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มลับ ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเห็นข้อความได้ ขณะจัดรายการจะมีประชาชนที่เป็นสมาชิกขบวนการ โทรศัพท์เข้าไปในรายการเพื่อแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นการยุยงปลุกปั่นให้เห็นพ้องด้วยกับการล้มล้างสถาบัน โดยนายเทอดศักดิ์ จำเลยที่ 2 และนางประพันธ์ จำเลยที่ 3 ก็ได้อยู่ในกรุ๊ปไลน์ข้างต้นด้วย

    พล.ต.บุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า จากนั้นทางการข่าวทราบว่ามีบุคคลนำใบปลิวและสติ๊กเกอร์ไปวางตามสถานศึกษา ได้แก่ ม.รามคำแหง 2, มศว., วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒน์อ่อนนุชบริหาร เพื่อขยายมวลชน ตำรวจสันติบาลจึงตามไปดูกล้องวงจรปิดและสอบถามชาวบ้านบริเวณดังกล่าว พบว่า นายกฤษณะและนายเทอดศักดิ์ เป็นผู้วางใบปลิว จึงมีการนำกำลังไปควบคุมตัวนายกฤษณะ เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 61 ที่บ้าน และค้นบ้านพบสติ๊กเกอร์ เสื้อและใบปลิว ก่อนนำตัวนายกฤษณะไปยัง มทบ. 11 เพื่อซักถาม จากการซักถาม นายกฤษณะยอมรับว่า เป็นผู้แจกจ่ายสติ๊กเกอร์และใบปลิว และรับว่าเป็นเจ้าของเพจดังกล่าว

    ผู้รับมอบอำนาจจาก คสช. ให้ดำเนินคดีจำเลย เบิกความอีกว่า ต่อมา ในวันที่ 3 ก.ย. 61 ได้เข้าควบคุมตัวนายเทิดศักดิ์ มีการตรวจค้นบ้านและตรวจยึดใบปลิวได้ 400 แผ่น วันเดียวกันนั้นยังได้ควบคุมตัวนางประพันธ์ นำตัวไปซักถามในค่ายทหารด้วย โดยทราบว่า นางประพันธ์เป็นกลุ่มแกนนำที่ชักชวนประชาชนเข้าร่วมกลุ่ม ตำรวจสันติบาลยังตรวจสอบพบว่า น.ส.วรรณภา จำเลยที่ 4 ข้ามไปฝั่งลาวเพื่อรับเสื้อ 60 ตัว จากแม่ของตนเอง และนำมาส่งที่ไปรษณีย์หนองคายเพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกกลุ่ม จากนั้นยังไปรับเสื้ออีก 2 ครั้ง ที่หนองคายและสำโรง เจ้าหน้าที่ทหารจึงเข้าควบคุมตัว น.ส.วรรณภา และตรวจยึดเสื้อได้ราว 454 ตัว พร้อมรายชื่อผู้ที่วรรณภาจะต้องส่งเสื้อไปให้ นอกจากนี้ ฝ่ายข่าวยังมีการสืบขยายผลไปถึง น.ส.จินดา จำเลยที่ 5 โดยทราบว่า น.ส.จินดา เป็นแกนนำสหพันธรัฐชลบุรี ในวันที่ 12 ก.ย. 61 จึงควบคุมตัวจากบ้านใน จ.ชลบุรี ไปซักถาม โดย น.ส.จินดา รับว่าเป็นผู้ทำเสื้อขายแก่สมาชิกกลุ่ม

    ตำรวจใช้ภาพหลักฐานจากทหาร มาซักถามจำเลยขณะอยู่ในค่ายทหาร

    พล.ต.ต. สุรศักดิ์ ขุนณรงค์ ตำรวจผู้ได้รับหน้าที่จาก คสช.ให้ทำหน้าที่สืบสวนและซักถามจำเลยทั้ง 5 ร่วมกับฝ่ายทหาร เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์โดยระบุว่า ได้ร่วมกับ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง เจ้าหน้าที่จาก คสช. ซักถามจำเลย 3 คน ในเบื้องต้น ได้แก่ จำเลยที่ 1-3 ต่อมาในวันที่ 7 และ 17 ก.ย. 61 ได้ร่วมซักถามจำเลยที่ 4 และ 5 ตามลำดับ

    พล.ต.ต. สุรศักดิ์ เบิกความอีกว่า ได้ใช้เอกสารภาพที่ได้มาจากทหารในการซักถามจำเลย ได้แก่ ภาพบันทึกหน้าจอที่จำเลยที่ 2 และ 3 พูดคุยกันในกลุ่มไลน์สหพันธรัฐไท, ภาพการวางใบปลิว, ภาพสิ่งของซึ่งยึดมาจากจำเลยที่ 3 เช่น เสื้อยืดสหพันธรัฐไท, เสื้อ นปช., ขันน้ำที่มีข้อความสหพันธรัฐไท, โทรศัพท์ที่จำเลยที่ 3 ใช้เล่นไลน์ รวมทั้งภาพที่ถูกระบุว่ามาจากโทรศัพท์ของจำเลยที่ 4 เช่น ภาพถ่ายจำเลยที่ 4 กับผ้าห่มที่นำไปแจกในชื่อสหพันธรัฐไท และภาพที่ถ่ายกับใบปลิว พล.ต.ต. สุรศักดิ์ ยังระบุว่า ภาพเสื้อที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 และ 4 มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากมีสัญลักษณ์สหพันธรัฐไทรูปธงแดง-ขาวเหมือนกัน


    เจ้าหน้าที่เปิดดูข้อมูลในโทรศัพท์ ขณะเข้าควบคุมตัวจำเลยที่ 4 และตรวจค้นบ้าน

    พ.ต.ท.ณพอนนท์ ส่องแสงจันทร์ ตำรวจสันติบาลผู้สืบสวนหาข่าวและจับกุมวรรณภา จำเลยที่ 4 ประจำอยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า เป็นผู้ร่วมจับกุมและตรวจยึดสิ่งของจากห้องพักของวรรณภา โดยในวันที่ไปจับกุมได้พบกองเสื้อสีดำมีตราสัญลักษณ์สหพันธรัฐไทที่หน้าอก 454 ตัว หลังสอบถามว่าเอาเสื้อมาจากไหน วรรณภาตอบว่าเอามาจากแม่ นอกจากนี้ยังพบสมุดที่บันทึกชื่อบุคคลที่จะไปส่งเสื้อให้ และเลขบัญชีที่จะให้โอนเงิน เจ้าหน้าที่ได้ยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ของวรรณภามาเปิดดูข้อมูล พยานได้เห็นภาพถ่ายเอกสารคล้ายใบปลิว และภาพวรรณภาที่ถ่ายกับใบปลิวต่างๆ โดยพยานทราบจากแหล่งข่าวว่า การถ่ายภาพเช่นนี้เพื่อเป็นการบอกว่า สหพันธรัฐไทได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นการถ่ายภาพเพื่อให้แกนนำทราบ แหล่งข่าวยังบอกว่า วรรณภาได้ค่าตอบแทนจากการขายเสื้อและถ่ายภาพเหล่านี้ หลังจากนั้น มีการควบคุมตัววรรณภาไปที่ มทบ.11 โดยพยานได้ตามไปด้วย และทราบจากการซักถามของทหารว่า วรรณภาไปรับเสื้อมา 3 ครั้ง ครั้งแรกรับจากแม่ที่ลาว 50-60 ตัว ครั้งที่ 2 200 ตัว ครั้งที่ 3 300 ตัว ภายหลังจากการจับกุมในวันดังกล่าว พยานก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับจำเลยอีก


    สันติบาลผู้สืบสวนหาข่าวเผย ติดตามองค์กรสหพันธรัฐไทตั้งแต่มีนาคม 61

    ร.ต.อ.ครรชิต สีหรอด ตำรวจสันติบาล ซึ่งทำหน้าที่ผู้สืบสวนหาข่าวกลุ่มสหพันธรัฐไท เบิกความในฐานะพยานโจทก์ว่า เดิมปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงของพระมหากษัตริย์ เริ่มสืบสวนเกี่ยวกับองค์กรสหพันธรัฐไทตั้งแต่มีนาคม 2561 โดยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา จากการสืบสวนพบว่า กลุ่มดังกล่าวหลบหนีอยู่ที่ประเทศลาว มีนายชูชีพ, นายวุฒิพงศ์ หรือโกตี๋ และบุคคลอีกหลายคน แนวคิดของกลุ่มคนเหล่านี้มีเรื่องการต่อต้านและยกเลิกสถาบันกษัตริย์ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ โดยแบ่งแยกประเทศไทยออกเป็น 10 รัฐ พยานยังเป็นผู้ติดตามหาข่าวโดยการฟังรายการของลุงสนามหลวงและบันทึกเสียงออกมา เนื่องจากเห็นว่ามีการจูงใจให้ล้มล้างสถาบัน

    พยานยังเบิกความอีกว่า ได้ข้อมูลเรื่องการแยกรัฐมาจากกลุ่มไลน์ สมาชิกของกลุ่มจะมีรหัสประจำตัว 8 หลัก จำเลยที่มีรหัสดังกล่าวคือ นายกฤษณะ จำเลยที่ 1 โดยทราบมาจากการที่เจ้าหน้าที่นำโทรศัพท์ของนายกฤษณะไปตรวจสอบหลังถูกจับกุม จึงพบกลุ่มไลน์และสมาชิกคนอื่น ๆ ซึ่งมีรหัส 8 หลัก และยังพบผู้ใช้งานชื่ออวตารต่อด้วยรหัส 8 หลัก ภายหลังสืบทราบว่าคือนางประพันธ์ จำเลยที่ 3 ทั้งนี้ พยานเป็นคนไปชี้ตัวให้ทหารไปจับจำเลยที่ 1 โดยระบุตัวได้จากสายข่าว

    นอกจากนี้ ในช่วงสิงหาคม 2561 พยานยังสืบพบไลน์ชื่อ original beer มีการโพสต์ภาพวางใบปลิวที่มหาวิทยาลัย โดยจากการตรวจสอบพบว่าเป็นของนายเทอดศักดิ์ (จำเลยที่ 2) และสืบจนทราบว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ขับรถอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง และในช่วงเดือนกันยายน 61 พยานสืบทราบว่า น.ส.วรรณภา (จำเลยที่ 4) ซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ สหพันธรัฐ ทำหน้าที่รับเสื้อจากแม่ซึ่งหลบหนีอยู่ที่ลาวรวม 3 ครั้ง เพื่อนำไปส่งให้สมาชิกกลุ่ม


    พนักงานสอบสวนระบุว่า จำเลยทั้งหมดเป็นแนวร่วมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    พ.ต.ท. เสวก บุญจันทร์ พยานโจทก์ปากพนักงานสอบสวนในคดี เบิกความว่า วันที่ 4 ก.ย. 61 พล.ต.บุรินทร์ได้มาแจ้งความให้ดำเนินคดีนายเทอดศักดิ์, นายกฤษณะ และนางประพันธ์ ในข้อหา ยุยงปลุกปั่น โดยนำ ซีดี, หนังสือมอบอำนาจจาก คสช., บันทึกซักถาม, สติ๊กเกอร์ และเสื้อของกลางมามอบให้กับพยานด้วย จากนั้น วันที่ 7 ก.ย. 61 พล.ต.บุรินทร์มาแจ้งความอีกครั้งให้ดำเนินคดี น.ส.วรรณภา พร้อมทั้งนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, นายสยาม ธีรวุฒิ, นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์ และนายวัฒน์ วรรลยางกูร โดยนำเสื้อสหพันธรัฐไทและซีดี รวมถึงหนังสือมอบอำนาจ มามอบให้พยาน และในวันที่ 17 ก.ย. 61 พล.ต.บุรินทร์ยังได้มาแจ้งความอีกครั้งให้ดำเนินคดี น.ส.จินดา และนายกฤษณะ ทัพไทย หลังจากพยานได้รับแจ้งความก็ขอออกหมายจับ

    พ.ต.ท.เสวก เบิกความต่อว่า หลังจากนั้นทหารได้จับผู้ต้องหามาส่งให้พยาน ชุดแรก ได้แก่ นายกฤษณะ, นายเทอดศักดิ์ และนางประพันธ์ ชุดที่ 2 มี น.ส.วรรณภา ส่วน น.ส.จินดา ถูกนำตัวมาส่งคนเป็นสุดท้าย พยานแจ้งสิทธิและแจ้งข้อกล่าวหาทั้งห้าคนในข้อหา ยุยงปลุกปั่น และเป็นอั้งยี่ โดยนายกฤษณะและ น.ส.วรรณภา ให้การปฏิเสธ ส่วนนายเทอดศักดิ์, นางประพันธ์ และ น.ส.จินดา ให้การรับสารภาพ พยานยังระบุว่า จำเลยในคดีนี้เกี่ยวข้องกับการแจกใบปลิว 3 คน คือ จำเลยที่ 1-3 ส่วนจำเลยที่ 4 รับเสื้อมาแจก ทั้งหมดเป็นแนวร่วมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ

    ข้อสังเกตจากห้องพิจารณา

    ข้อเท็จจริงที่นำมาฟ้องคดีได้จากการซักถามในค่ายทหาร ซึ่งไม่มีทนายหรือญาติอยู่ด้วย

    แม้ พล.ต.บุรินทร์จะเบิกความว่า ทางการข่าวสืบทราบเรื่องของจำเลยทั้ง 5 ก่อนจะเข้าควบคุมตัว แต่ก็ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยในตอนหนึ่งว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน สำหรับผู้ที่มีความผิดเกี่ยวกับ ม. 112, ม.116, คดีอาวุธ และคดีชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จึงนำตัวจำเลยทั้งห้าไปซักถามในค่ายทหาร โดยทั้ง พล.ต.บุรินทร์ และ พล.ต.ต.สุรศักดิ์ รับว่า กระบวนการซักถามในค่ายทหารไม่อนุญาตให้มีญาติหรือทนายอยู่ด้วย รวมทั้งไม่มีการแจ้งสิทธิของผู้ถูกดำเนินคดี และไม่ได้แจ้งว่า คำให้การของพวกเขาจะถูกนำไปใช้ในศาล

    สอดคล้องกับพนักงานสอบสวนในคดีที่ตอบคำถามทนายจำเลยว่า ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยได้มาจากการซักถามในค่ายทหาร โดยที่ทหารเป็นผู้ส่งเอกสารต่างๆ เช่น บันทึกการซักถาม บันทึกตรวจค้น/ตรวจยึดของกลาง และบันทึกการควบคุมตัว มาให้พนักงานสอบสวน พ.ต.ท.เสวก ยังรับว่าหากจำเลยไม่ให้ข้อมูล ฝ่ายสืบสวนแทบไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยเลย



    ทหารไม่ได้ขอหมายศาลเพื่อเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์จำเลย และไม่ได้ส่งโทรศัพท์จำเลยให้พนักงานสอบสวน

    พล.ต.บุรินทร์ ยังตอบคำถามทนายจำเลยเกี่ยวกับกระบวนการซักถามในค่ายทหารว่า จำเลยทุกคนได้ให้ความร่วมมือโดยการให้มือถือของตนกับเจ้าหน้าที่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำโทรศัพท์เหล่านั้นเสียบกับเครื่องอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลให้ คสช. โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้ขอหมายศาลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์ของผู้ถูกควบคุมตัว เมื่อได้ข้อมูลจากโทรศัพท์แล้วจึงมีเจ้าหน้าที่ชุดซักถามนำข้อมูลดังกล่าวมาซักถามจำเลย

    สอดคล้องกับที่ พ.ต.ต.สุรศักดิ์ ซึ่งเบิกความอีกว่า ได้รับข้อมูลในโทรศัทพ์มาจากทหารอีกที ได้ตอบทนายจำเลยว่า ไม่ทราบว่าทหารจะได้รับอนุญาตจากศาลในการเข้าถึงข้อมูลหรือไม่ พ.ต.ต.สุรศักดิ์ ยังตอบทนายจำเลยด้วยว่า ไม่ทราบว่าปัจจุบันบุคคลที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้มีแค่ 4 หน่วยงาน คือ ปปง., ปอท., DSI และหน่วยปราบปรามยาเสพติด ทั้งนี้ พ.ต.ท.เสวก พนักงานสอบสวน ยังรับว่าหลักฐานภาพถ่ายที่ทหารนำส่งโดยอ้างว่าได้จากโทรศัพท์ของผู้ต้องหาทั้งหมดนั้น ไม่ได้มีการส่งเครื่องโทรศัพท์มาให้ตำรวจตรวจสอบด้วยแต่อย่างใด



    ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลกับบริษัทไลน์เพื่อระบุตัวตนจำเลย อาศัยการแฝงตัวของเจ้าหน้าที่ในกรุ๊ปไลน์และคำรับสารภาพในค่ายทหาร

    ในการสืบพยาน พยานโจทก์หลายคนเบิกความถึงไลน์ไอดี ซึ่งนายกฤษณะ จำเลยที่ 1 นายเทอดศักดิ์ จำเลยที่ 2 และนางประพันธ์ จำเลยที่ 3 ใช้สื่อสารในกรุ๊ปไลน์สหพันธรัฐไท โดยระบุว่าเป็นการแสดงความเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท เพราะมีการกำหนดรหัสจังหวัดและมลรัฐที่แต่ละคนสังกัด อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ากลุ่มสหพันธรัฐไทมีการทำบัตรสมาชิกอย่างเป็นกิจลักษณะ และแม้ว่าภายหลังมีข่าวการจับกุม น.ส.วรรณภา จำเลยที่ 4 จะมีเฟซบุ๊กชื่อ Preechamahachai (ปรีชามหาชัย) เผยแพร่แถลงการณ์ให้ปล่อยคนครอบครองเสื้อดำซึ่งมีรูปธงสหพันธรัฐไท แต่พล.ต.บุรินทร์รับว่า ในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นสมาชิกขององค์กรแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ พยานโจทก์ให้การสอดคล้องกันว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไลน์ในกลุ่ม ได้มาจากการซักถามจำเลยในค่ายทหาร รวมถึงการแฝงตัวหาข่าวในกลุ่มไลน์ของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ โดยไม่มีพยานโจทก์คนใดให้การถึงหรือทราบว่ามีการส่งข้อมูลไปตรวจสอบกับบริษัทไลน์เพื่อระบุตัวตนจำเลยแต่อย่างใด รวมทั้งไม่มีพยานโจทก์ที่ให้การว่า น.ส.วรรณภา ใช้โปรแกรมไลน์สนทนากับผู้ใด หรือให้การถึงความเกี่ยวข้องของ น.ส.วรรณภากับจำเลยคนอื่นๆ



    แจ้งข้อหาอั้งยี่ แต่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงว่าจำเลยร่วมวางแผนกับแกนนำสหพันธรัฐไทในฝั่งลาว

    พล.ต.บุรินทร์ ผู้แจ้งความ, ร.ต.อ.ครรชิต ตำรวจสันติบาล ผู้สืบหาข่าว รวมถึง พ.ต.ท.เสวก พนักงานสอบสวน ต่างก็รับว่า ไม่สามารถระบุได้ถึงความเกี่ยวโยงของจำเลยทั้ง 5 กับการใช้ความรุนแรงหรือการใช้อาวุธ รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับการประชุมวางแผนกับนายชูชีพ, นายสยาม, นายวัฒน์, นายวุฒิพงศ์ และนายกฤษณะ บุคคลที่ถูกฟ้องว่า ร่วมกันเป็นอั้งยี่ในคดีนี้ มีเพียงการพบว่า นางประพันธ์และนายเทอดศักดิ์เคยโทรศัพท์เข้าไปร่วมรายการวิทยุของลุงสนามหลวง แต่ก็ทราบจากการซักถามบุคคลทั้งสองในค่ายทหาร ไม่ได้สืบทราบจากการข่าว พล.ต.บุรินทร์ ยังรับว่าในทางการข่าวของทหารแบ่งผู้มีความคิดต่อต้านสถาบันกษัตริย์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มโกตี๋หรือนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ เป็นกลุ่มคนที่ใช้อาวุธ ส่วนกลุ่มลุงสนามหลวง หรือนายชูชีพ เป็นกลุ่มหามวลชน โดยจำเลยทั้งห้าถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่สอง ทั้งนี้ กลุ่มของโกตี๋ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปลายปี 60 และภายหลัง 5 ธันวาคม 2561 ทางการข่าวก็ไม่ได้ติดตามกลุ่มของลุงสนามหลวงอีกว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

    พยานโจทก์รับว่าเนื้อหาใบปลิวไม่มีถ้อยคำยุยงปลุกปั่น แต่เชื่อว่าจำเลยทราบจุดมุ่งหมายขององค์กรสหพันธรัฐไทดี

    พยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งอยู่ในห้องพิจารณามีส่วนเกี่ยวข้องกับการแจกใบปลิว โดยใบปลิวของแต่ละคนมีการเผยแพร่แนวคิดสหพันธรัฐไทและมีข้อความแตกต่างกันไป

    พล.ต.บุรินทร์ ผู้กล่าวหาจำเลยทั้งห้ากล่าวว่า แม้เนื้อหาของใบปลิวต่างๆ จะเป็นเพียงองค์ประกอบในการเชิญชวนเข้าร่วมองค์กรสหพันธรัฐไทของพวกจำเลย แต่อนุมานได้ว่าจำเลยทุกคนทราบว่าเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมของลุงสนามหลวงคืออะไร

    ร.ต.อ.ครรชิต ตำรวจสันติบาล ตอบทนายจำเลยถึงเนื้อหาใบปลิวของนายเทอดศักดิ์ จำเลยที่ 2 ว่า หากพิจารณาเฉพาะเนื้อหาในใบปลิว ไม่น่าจะก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง แต่พยานเชื่อว่าแนวคิดของจำเลยน่าจะมีมากกว่าในใบปลิว ร.ต.อ.ครรชิต ยังเบิกความว่า กล้องวงจรปิดไม่ได้มีภาพจำเลยที่ 2 วางใบปลิวแต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่ พ.ต.ท.เสวก พนักงานสอบสวน ตอบคำถามทนายจำเลยว่า ใบปลิวของจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อความที่ก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง รุนแรงหรือผิดกฏหมาย อย่างไรก็ดี พ.ต.ท.เสวก ได้คำตอบอัยการในภายหลังว่า แม้ข้อความจะไม่ก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง แต่พยานเห็นว่าจุดหมายของใบปลิวเป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    ในส่วนเนื้อหาของใบปลิวที่เจ้าหน้าที่พบว่าจำเลยที่ 3 มีไว้ในครอบครอง ทั้ง พ.ต.ต.สุรศักดิ์ ตำรวจสืบสวน และ ร.ต.อ. ครรชิต ต่างตอบว่าไม่มีความเห็นและไม่ขอยืนยันว่า เนื้อความของใบปลิวเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์กลุ่มสหพันธรัฐไท หรือมีการเชิญชวน รณรงค์ให้คนกระทำผิดกฎหมาย ยุยง ปลุกปั่น

    สำหรับเอกสารใบปลิวที่ น.ส.วรรณภา จำเลยที่ 4 ถ่ายภาพด้วยนั้น มีข้อความตอนหนึ่งว่า อยากได้ความเจริญแบบญี่ปุ่น ทนายจำเลยได้ถาม พล.ต.บุรินทร์ว่า ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ใช่หรือไม่ พล.ต.บุรินทร์ตอบว่า ใช่ ทนายยังถามต่อว่า ปัจจุบันมีการปกครองแบบสหพันธรัฐทั้งที่มีกษัตริย์และไม่มีกษัตริย์ เช่น ประเทศมาเลเซียก็เป็นสหพันธรัฐที่มีกษัตริย์ พยานทราบหรือไม่ พล.ต.บุรินทร์ตอบว่า ทราบ นอกจากนี้ พ.ต.ท. ณพอนนท์ ตำรวจสันติบาลผู้ร่วมจับกุมจำเลยที่ 4 ก็รับว่าภาพถ่ายใบปลิวที่ได้จากโทรศัพท์ของ น.ส.วรรณภา ไม่ปรากฏว่ามีหน้าของ น.ส.วรรณภา ด้วย อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังรับว่าในรายงานการสืบสวนเองก็ไม่พบว่า น.ส.วรรณภาได้เผยแพร่รูปใบปลิวดังกล่าวในช่องทางใด

    นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังตอบทนายจำเลยเกี่ยวกับเสื้อดำที่ยึดจากจำเลยว่า ไม่มีข้อความ มีเพียงธงของสหพันธรัฐไท หากคนทั่วไปเห็น ก็ไม่สามารถทราบได้ว่ามีความหมายอย่างไร


    ไม่มีข่าวการเคลื่อนไหวของแกนนำสหพันธรัฐอีกหลังช่วง 5 ธ.ค. 61 จำเลยเองก็หยุดเคลื่อนไหวเช่นกัน

    ทนายจำเลยได้ถามพยานโจทก์หลายช่วงหลายตอน เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำองค์กรสหพันธรัฐไทในลาว พล.ต.บุรินทร์ รับว่าตั้งแต่ปี 2560 ไม่ปรากฏความเคลื่อนไหวของโกตี๋ ส่วนนายชูชีพ, นายกฤษณะ และนายสยาม ก็ไม่ได้จัดรายการอีกแล้วในขณะที่มีการสืบพยานอยู่นี้ พล.ต.บุรินทร์ ยังระบุว่า เคยได้ยินข่าวการถูกอุ้มหายของบุคคลเหล่านั้น แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจริงหรือไม่ ทั้งนี้ พล.ต.บุรินทร์ กล่าวว่า ภายหลังวันที่ 5 ธ.ค. 61 ไม่พบว่าจำเลยออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องสหพันธรัฐไทอีก เช่นเดียวกับที่ ร.ต.อ.ครรชิต เจ้าหน้าที่สันติบาลรับว่า ปัจจุบันกลุ่มสหพันธรัฐไทหยุดการเคลื่อนไหวมาพักใหญ่

    ขณะที่ พล.ต.บุรินทร์ เบิกความตอนหนึ่งกล่าวถึงนโยบายในการดำเนินคดีว่า ทหารมีนโยบายว่ากลุ่มบุคคลที่ฟังรายการของกลุ่มสหพันธรัฐไทแล้วทำตาม หน่วยงานความมั่นคงจะเรียกไปปรับทัศนคติก่อนให้เลิกหลงผิดและเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง และภายหลังหากมีบางคนเป็นผู้ที่ยากจะแก้ไขและกระทำการโดยมีแนวโน้มที่อันตราย ก็จะดำเนินคดี
  • 10.15 น. ศาลเริ่มอ่านคำพิพากษาโดยกล่าวว่าเป็นที่รับฟังได้ ว่าจำเลยถูกทหารตรวจค้นและเชิญไปซักถาม ตามบันทึกซักถามซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานของพยานโจทก์ ทั้งนี้มีปัญหาที่วินิจฉัยว่า 1. จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ 2. องค์กรสหพันธรัฐไทมีจริงหรือไม่

    ++องค์กร “สหพันธรัฐไท” มีจริง และมีแนวคิดในการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข++

    ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังปี 2557 ซึ่ง คสช.ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ มีการสั่งการให้จับตาดูผู้ที่มีแนวคิดล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยพบว่า โกตี๋ หรือนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ มีพฤติกรรมสะสมอาวุธและเคยทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ส่วนนายชูชีพ ชีวะสุทธิ์ เคยเป็นผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ นายสยาม ธีรวุฒิ หรือสหายข้าวเหนียวมะม่วง นายกฤษณะ ทัพไทย หรือสหายยังบลัด นายวัฒน์ วรรลยางกูร หรือสหาย 112 และสุรชัย แซ่ด่าน(ด่านวัฒนานุสรณ์) ที่เคยถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และได้รับพระราชทานอภัยโทษ ก็มีแนวคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงให้เป็นระบอบประธานาธิบดีและต้องการเปลี่ยนแปลงระบบศาล เป็นระบบคณะลูกขุน

    บุคคลทั้งหมดได้หลบหนีไปประเทศลาวและจัดตั้งกลุ่มสหพันธรัฐไท มีการจัดรายการวิทยุเผยแพร่ทางยูทูบ เพื่อเชิญชวนคนเข้าร่วมกลุ่ม โดยเนื้อหารายการมีรายละเอียดเกี่ยวกับการล้มล้างสถาบันพระหมากษัตริย์ และชักชวน ยุยง ปลุกปั่นบุคคล ให้ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ โจทก์มีพยานหลายปากซึ่งยืนยันว่ามีกลุ่มบุคคลปฏิบัติการเช่นนี้จริง โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมาเป็นพยานเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่จริงโดยมิได้มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน คำเบิกความของโจทก์ในส่วนนี้น่าเชื่อถือ

    ทั้งนี้ ยังมีหลักฐานเป็นแผ่นซีดีซึ่งบันทึกเนื้อหาของรายการวิทยุ โดยมีการถอดเทปพิมพ์ออกมาให้ศาล เมื่อศาลอ่านและเปิดดูแล้ว พบว่าบุคคลที่ใช้ชื่อในลักษณะนามแฝง เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการเป็นแกนนำทางความคิดและการกระทำขององค์กรสหพันธรัฐไท วิทยุทางโปรแกรมดังกล่าวมีเจตนาให้บุคคลทั่วรับฟัง ไม่ใช่การปรักปรำของเจ้าหน้าที่ การกระทำของบุคคลดังกล่าวจึงครบองค์ประกอบ เข้าข่ายชักชวน ยุยงปลุกปั่น เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร



    ++แม้จำเลย มีเสื้อดำ ใบปลิว และสติ๊กเกอร์ แต่เนื้อหาของใบปลิวและการกระทำยังไม่เข้าข่าย “ยุยงปลุกปั่น”++

    ศาลกล่าวถึงปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อที่ 2 จำเลยกระทำผิดร่วมกับแกนนำหรือไม่ โดยเริ่มด้วยการกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นผู้นำใบปลิวไปแจกตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้นที่พักก็พบใบปลิวกับเสื้อดำและสติ๊กเกอร์ เป็นใบปลิวลักษณะเดียวกับใบปลิวที่นำไปวางตามมหาวิทยาลัย โดยจำเลยที่ 1 และ 2 ได้รับสารภาพไว้ในบันทึกซักถาม การที่เจ้าพนักงานตรวจพบภาพจำเลยที่ 1 และ 2 ย่อมเป็นหลักฐานชั้นดี ว่าจำเลยที่ 1 และ 2 เกี่ยวข้องกับองค์กรสหพันธรัฐไท จึงเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องเป็นสมาชิกกลุ่ม

    สำหรับจำเลยที่ 3 ศาลเห็นว่ามีลักษณะเป็นแกนนำสหพันธรัฐในประเทศไทย ซึ่งชักชวนบุคคลอื่นทางไลน์ และจำเลยที่ 4 เป็นบุตรของนางสมพิศ แนวร่วมสหพันธรัฐไทซึ่งหลบหนีอยู่ที่ลาว โดยได้ไปรับเสื้อดำมีสัญลักษณ์สหพันธรัฐไทไปส่งไปรษณีย์หลายครั้ง จากการตรวจค้นบ้านพักของจำเลยที่ 4 พบเสื้อดำติดธงสัญลักษณ์ขาวแดงขาวจำนวนมาก

    เมื่อพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ มีเพียงการวางใบปลิวและเก็บเสื้อกับสติ๊กเกอร์ รวมถึงธงไว้ที่บ้าน และเมื่อพิจารณาดูข้อความในใบปลิว เช่น สหพันธรัฐไทเป็นการปกครองเช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว จัดให้มีการเลือกตั้งในทุกระดับ มีคณะลูกขุนที่เลือกโดยประชาชน รัฐสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนถึงตาย การศึกษาฟรีตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย พบว่าเป็นเพียงการให้ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐเท่านั้น ส่วนข้อความในสติ๊กเกอร์เป็นข้อความที่ไม่มีลักษณะเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย ยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ทั้งนี้ โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องของจำเลยกับแกนนำที่อยู่ฝั่งลาว ทั้งจำเลยที่ 1 และ 2 ไม่เกี่ยวข้องในฐานะคนจัดรายการ ในส่วนของบัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏข้อความยุยงปลุกปั่นเช่นเดียวกัน

    ในกรณีของจำเลยที่ 3 และ 4 จำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องเพียงชักชวนสมาชิกผ่านไลน์ จำเลยที่ 4 เกี่ยวข้องเพียงรับเสื้อดำมาส่งและไม่ปรากฏการวางใบปลิว เพียงถ่ายรูปคู่กับใบปลิวและข้อความในใบปลิวไม่มีลักษณะยุยงปลุกปั่น จำเลยที่ 3 และ 4 จึงไม่มีความผิดในลักษณะการกระทำยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร

    การพูดยุงยงปลุกปั่นของคณะต่างๆ ในยูทูบ จะเป็นการพูดส่วนตัวหรือพูดแทนสมาชิกทั้งหมด จึงไม่อาจตีความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1-4 ไปด้วย ทั้งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานจากโจทก์ว่ามีการประชุมกันระหว่างจำเลยที่ 1-4 และแกนนำที่ฝั่งลาว



    ++จำเลยเกี่ยวข้องโดยการ “ช่วยเหลือ” ให้กิจกรรมต่างๆดำเนินไปได้ เชื่อว่าทั้งสี่เป็นสมาชิก “สหพันธรัฐไท”++

    ศาลอ่านคำพิพากษาต่อไปว่า พยานหลักฐานโจทก์ บ่งชี้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1-4 มีส่วนเกี่ยวข้องกับแกนนำ โดยการช่วยเหลือให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ ทั้งข้อความในใบปลิวรวมถึงสติ๊กเกอร์ มีข้อความเชิญชวนไปฟังรายการวิทยุ จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสี่ต่างเข้าร่วมเป็นสมาชิก

    โดยคณะบุคคลดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะเปลี่ยนแปลง ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

    จึงถือว่าคณะบุคคลดังกล่าวกระทำการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งมีการปกปิดวิธีดำเนินการ เช่น การมีธงสัญลักษณ์ ใช้รหัสตัวเลขแทนความหมายที่ทราบเฉพาะในกลุ่มของตนเอง การเข้าร่วมกันเป็นสมาชิกจึงเป็นการกระทำผิดข้อหาอั้งยี่

    การไม่นำจำเลยที่ 1-3 ขึ้นสืบพยานถือเป็นพิรุธ ส่วนการเบิกความของจำเลยที่ 4 ว่าเพียงไปเยี่ยมมารดาที่ฝั่งลาวและนำเสื้อไปส่งให้มารดา ศาลเห็นว่าก่อนเกิดเหตุ จำเลยทราบว่ามารดาหลบหนีไปประเทศลาวซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปกติ เมื่อมารดาขอให้ช่วยส่งเสื้อ จึงอยู่ในวิสัยที่เชื่อได้ว่าจำเลยทราบว่าเสื้อดำหมายถึงสิ่งใด ศาลเชื่อว่าจำเลยทราบเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าว จึงเรียกได้ว่าเป็นสมาชิก ข้อหักล้างของจำเลยฟังไม่ขึ้น

    ศาลจึงพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-4 กระทำผิด มาตรา 209 วรรค 1 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกคนละ 3 ปี โดยจำเลยที่ 2 และ 3 รับสารภาพในชั้นสอบสวน ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 จำคุกคนละ 2 ปี ไม่รอลงอาญาและยกฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116

    ภายหลังจากฟังคำพิพากษา ทนายจำเลยและญาติได้ดำเนินการยื่นขอประกันตัวจำเลย 3 คน จำเลยที่ 1 นายกฤษณะ ได้ใช้หลักทรัพย์เดิมซึ่งเคยยื่นประกันไว้ จำนวน 100,000 บาท พร้อมติดกำไลข้อเท้า EM จำเลยที่ 2 นายเทอดศักดิ์ ต้องเปลี่ยนนายประกันเนื่องจากนายประกันคนเดิมไม่สะดวกมาทำเรื่องประกันตัว โดยยายของจำเลยได้มาเป็นนายประกันแทนและยื่นประกันด้วยหลักทรัพย์ 40,000 บาท พร้อมติดกำไลข้อเท้า EM จำเลยที่ 3 นางประพันธ์ ยังคงถูกจำคุก โดยไม่มีญาติมายื่นประกันตัว และจำเลยที่ 4 น.ส.วรรณภา เดิมวางเงินประกันตัวจำนวน 200,000 บาท แต่เนื่องจากศาลพิพากษาลงโทษ 3 ปี และตีวงเงินประกัน ปีละ 100,000 บาท ทำให้ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัวจำนวน 300,000 บาท จึงต้องเช่าหลักทรัพย์เพิ่มจำนวน 100,000 บาท โดยไม่ต้องติดกำไลข้อเท้า ทั้งนี้ ศาลได้อนุญาตประกันตัวจำเลยทั้งสาม ในเวลา 16.30 น.

    (อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 21 ม.ค. 2563 และ https://www.tlhr2014.com/?p=15587)
  • อัยการโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ในข้อหายุยงปลุกปั่น หรือมาตรา 116 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยอ้างเหตุผลหลัก 3 ข้อ ดังนี้

    1. ตามบันทึกถ้อยคำ (จัดทำในชั้นซักถามในค่ายทหาร) จำเลยที่ 1 รับเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “สหพันธรัฐไทกับเรื่องลึกลับของทรราช” มีการลงข้อความและรูปภาพในลักษณะหมิ่นสถาบันกษัตริย์ โดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และได้รับว่าเคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม นปช. และติดตามเฟซบุ๊คของกลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะหมิ่นสถาบันI หลายคน อาทิ นายเสน่ห์, นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์ (ลุงสนามหลวง) และนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ (โกตี๋)

    ทั้งยังมีการนำใบปลิวที่มีข้อความเกี่ยวกับสหพันธรัฐไทไปแจกตามมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าหากประชาชนทั่วไปพบเห็นอาจทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือเกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนได้

    ทั้งนี้ คำให้การของจำเลยที่ 1 ที่เป็นบันทึกซักถามของเจ้าหน้าที่ทหารยังซัดทอดถึงจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในลักษณะที่ให้การตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพื่อให้ตนเองพ้นผิด

    2. ด้าน จำเลยที่ 2 ได้ให้ถ้อยคําต่อเจ้าหน้าที่ทหาร รับว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม “สหพันธรัฐไท” และพบใบปลิวที่มีข้อความเกี่ยวกับองค์การสหพันธรัฐไทเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงิน ขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้น และได้รับว่ามีหน้าที่ชวนประชาชนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไทผ่านโปรแกรมไลน์ (LINE)

    3. ส่วน จำเลยที่ 4 ได้รับว่าเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไทต่อเจ้าหน้าที่ทหาร ตามบันทึกการซักถาม และยังมีภาพถ่ายเสื้อยืดสีดำที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดในห้องพักอีกด้วย

    4. จากพฤติการณ์ของจำเลยทั้ง 4 เห็นได้ว่าทั้งสี่ทำไปด้วยความมุ่งหมายเจตนารมณ์ขององค์กรหรือกลุ่มสหพันธรัฐไท เพื่อแสวงหาสมาชิกร่วมกลุ่มและอุดมการณ์ของตนคณะดังกล่าวยุยงปลุกปั่นให้สวมเสื้อดําหรือกล่าวให้ร้ายต่อสถาบันฯ ซึ่งหากมีประชาชนได้เข้าไปดูรับชม ย่อมส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนหรือความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อันถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือถึงขั้นที่ประชาชนอาจล่วงละเมิดต่อกฎหมายได้

    (อ้างอิง: อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 7 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28902)
  • จำเลยที่4 ได้ยื่นอุทธรณ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

    ประเด็นที่ 1 จำเลยที่ 4 ไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและขอโต้แย้งว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท กล่าวคือ จำเลยที่ 4เพียงเดินทางไปเยี่ยมมารดาที่ประเทศลาว แล้วมารดาได้บอกให้จำเลยที่ 4 นำเสื้อ มาส่งไปรษณีย์ให้บุคคลตามรายชื่อและที่อยู่ตามข้อมูลที่มารดาให้มาอีกทีหนึ่ง จำเลยที่ 4 ไม่รู้จักบุคคลตามรายชื่อและไม่ทราบว่ามารดาได้รายชื่อและที่อยู่ดังกล่าวมาได้อย่างไร อีกทั้งรายชื่อและที่อยู่ก็ไม่ได้ระบุว่า บุคคลตามรายชื่อดังกล่าวเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไทและไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับรหัสสมาชิกแต่อย่างใด

    เสื้อที่ยึดได้จากห้องพักของจำเลยที่ 4 นั้น เป็นเสื้อสีดำ ไม่มีตัวหนังสือ มีแต่เพียง สัญลักษณ์ที่หน้าอกเสื้อ สีขาวและแดง จำเลยที่ 4 ไม่ทราบความหมาย และเมื่อถามมารดาแล้วมารดา แจ้งว่าเป็นเสื้อธรรมดา เหตุที่จำเลยที่ 4 ไม่ทราบความหมายของเสื้อ เนื่องจากจำเลยที่ 4 ไม่ได้ติดตาม รับชมรายการทางโปรแกรม YouTube: sanamluang20082008 หรือรายการอื่นๆที่เกี่ยวกับกลุ่ม สหพันธรัฐไท และไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด

    จำเลยที่ 4 ใช้โปรแกรมเฟซบุ๊กแต่ไม่เคยกดติดตามกลุ่มสหพันธรัฐไทและไม่เคยโพสต์ข้อความที่เกี่ยวกับกลุ่มสหพันธรัฐไท หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด ดังไม่ปรากฏหลักฐานผลการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของจำเลยที่ 4 ว่าจำเลยที่ 4 ได้เข้าชม รายการยูทูป เข้ากลุ่มไลน์หรือเข้าเฟซบุ๊ก ของกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด โดยจำเลยที่ 4 ได้ให้การ ปฏิเสธว่าไม่ทราบความหมายของเสื้อสีดำดังกล่าวมาตั้งแต่ในชั้นซักถามของฝ่ายทหารมาตลอดจนชั้นศาล

    แม้ในชั้นซักถามเจ้าหน้าที่ทหารได้ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของจำเลยที่ 4 พบภาพถ่ายของ จำเลยที่ 4 ถ่ายรูปกับผ้าห่มและป้ายผ้า และพบภาพใบปลิว ซึ่งจำเลยที่ 4 ยอมรับว่าเป็นภาพถ่ายของจำเลยจริง แต่จำเลยที่ 4 ได้ให้การปฏิเสธไม่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มสหพันธรัฐไท แม้ป้ายผ้าที่จำเลยที่ 4 ถ่ายภาพด้วยนั้นจะมีข้อความองค์การ “สหพันธรัฐ ไทย” แต่ป้ายผ้าดังกล่าวก็ไม่มีธงสัญลักษณ์ใด จำเลยที่ 4 ไม่เข้าใจความหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การนี้และไม่เคยรู้จักองค์การนี้มาก่อน จำเลยที่ 4 เข้าใจเพียงว่าเป็นการบริจาคผ้าห่มช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในประเทศลาว จึงได้ถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก โดยไม่ได้มีการเผยแพร่ภาพดังกล่าวแต่อย่างใด

    นอกจากนี้ จำเลยที่ 4 ก็ไม่ทราบความหมายของข้อความในใบปลิว เนื่องจากมารดาจำเลยที่ 4 ส่ง ข้อความมาให้ โดยจำเลยที่ 4 ไม่ได้เรียบเรียงพิมพ์ขึ้นมาเอง และในใบปลิวดังกล่าวก็เป็นข้อความทั่วๆ ไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นของกลุ่มสหพันธรัฐไทและไม่มีรูปสัญลักษณ์ธงของกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 เพียงถ่ายรูปแล้วส่งให้มารดาตามที่มารดาบอก ไม่ได้ส่งให้บุคคลอื่นและไม่ได้โพสต์ต่อสาธารณะ และไม่ได้นำ ใบปลิวดังกล่าวไปให้แก่ผู้ใด ทั้งในการตรวจค้นห้องพักของจำเลยที่ 4 นอกจากเสื้อยืดสีดำที่มารดาให้ส่ง ไปรษณีย์ให้แล้ว ก็ไม่พบเอกสารใบปลิว สติกเกอร์ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด

    จำเลยที่ 4 ขอเรียนว่า การเป็นเป็นสมาชิกคณะบุคคลนั้น ต้องมีเจตนาเข้าร่วมเป็นสมาชิก และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายเดียวกัน แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก ไม่ได้ ติดตามรายการยูทูป เฟซบุ๊ก หรือไลน์ ของกลุ่มสหพันธรัฐไท และไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 4 ได้รู้จัก กับแกนนำหรือสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบว่ามารดาของจำเลยที่ 4 เกี่ยวข้องกับกลุ่ม สหพันธรัฐไทหรือเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท อันจะเป็นเหตุที่จำเลยที่ 4 จะทราบความหมายของเสื้อ ดังกล่าวว่าเป็นเสื้อของกลุ่มสหพันธรัฐไทได้

    การกระทำของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ช่วยเหลือหรือสนับสนุนกลุ่ม สหพันธรัฐไท แต่ทำเพื่อจะได้มีรายได้เสริมจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้างซึ่งไม่พอเลี้ยงชีพเท่านั้น โดย จำเลยที่ 4 ได้ยืนยันความบริสุทธิ์ของตนมาตลอดตั้งแต่ในชั้นซักถามของฝ่ายทหารจนถึงชั้นพิจารณาคดีของ ศาล

    ประเด็นที่ 2 ศาลอาญารับฟังข้อเท็จจริงและพิพากษาว่า “ก่อนเกิดเหตุมารดาของจำเลยที่ 4 ถูก เจ้าหน้าที่ทหารติดตามตัวและหลบหนีไปอยู่ประเทศลาว ซึ่งจำเลยที่ 4 เบิกความเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจึง แสดงว่าทราบข้อเท็จจริงนี้เป็นอย่างดีว่ามารดาของตนเป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่ต้องการตัวซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 4 ไปพบมารดาที่ประเทศลาวแล้ว มารดาขอให้ช่วยนำเสื้อสีดำไปส่งแก่บุคคลต่างๆ ทางพัสดุไปรษณีย์ จึงอยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 4 จะทราบได้ว่าเสื้อสีดำนั้นบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ความหมายใด ทั้งยังปรากฏภาพจำเลยที่ 4 ถ่ายภาพกับป้ายข้อความองค์กรสหพันธรัฐไท และถ่ายภาพกับแผ่นใบปลิวที่มี ข้อความเกี่ยวกับสหพันธรัฐไทเชื่อว่าจำเลยที่ ๔ ทราบเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าว และมีส่วนช่วยให้การ ดำเนินงานขององค์กรดำเนินต่อไปได้โดยร่วมกระทำการต่างๆตามที่โจทก์นำสืบ จึงเรียกได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นสมาชิกขององค์กรหรือคณะบุคคลดังกล่าวแล้ว ทางนำสืบหักล้างของจำเลยที่ 4 จึงฟังไม่ขึ้น” นั้น จำเลยที่ 4 ไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนนี้คลาดเคลื่อนและขัดแย้งต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณา

    ประเด็นที่ 3 จำเลยที่ 4 ให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 4 ได้ถ่ายภาพกับป้ายข้อความองค์การสหพันธรัฐไท และใบปลิวจริง แต่ไม่ทราบความหมาย แม้ป้ายผ้าที่จำเลยที่ 4 ถ่ายภาพด้วยนั้นจะมีข้อความองค์การ “สหพันธรัฐไทย” และป้ายผ้าดังกล่าวก็ไม่มีธงสัญลักษณ์ใด จำเลยที่ 4 ไม่เข้าใจความหมายหรือ วัตถุประสงค์ขององค์การนี้และไม่เคยรู้จักองค์การนี้มาก่อน จำเลยที่ 4 เข้าใจเพียงว่าเป็นการบริจาคผ้าห่ม ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในประเทศลาว จึงได้ถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก โดยไม่ได้มีการเผยแพร่ภาพดังกล่ วแต่อย่างใด นอกจากนี้ จำเลยที่ 4 ก็ไม่ทราบความหมายของข้อความในใบปลิว เนื่องจากมารดาจำเลยที่ 4 ส่งข้อความมาให้ โดยจำเลยที่ 4 ไม่ได้เรียบเรียงพิมพ์ขึ้นมาเอง และในใบปลิวดังกล่าวก็เป็นข้อความ ทั่วๆไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นของกลุ่มสหพันธรัฐไทและไม่มีรูปสัญลักษณ์ธงของกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 เพียงถ่ายรูปแล้วส่งให้มารดาตามที่มารดาบอก ไม่ได้ส่งให้บุคคลอื่นและไม่ได้โพสต์ต่อสาธารณะ และไม่ได้นำใบปลิวดังกล่าวไปให้แก่ผู้ใด

    ประเด็นที่ 4 จำเลยที่ 4 เห็นว่าความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 องค์ประกอบสำคัญต้องเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีวัตถุประสงค์อันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำว่าสมาชิกนั้น ต้องมีการจัดตั้งองค์กรรวมกลุ่มปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกันเพื่อดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มีการติดต่อปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกับบุคคลที่จัด รายการทางช่องยูทูปลุงสนามหลวงแต่อย่างใด


    เมื่อความผิดฐานเป็นอั้งยี่มีองค์ประกอบสำคัญต้องเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิด วิธีดำเนินการและมีวัตถุประสงค์อันมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งการเป็นสมาชิกนั้นย่อมหมายถึงการร่วมจัดตั้ง องค์กรมีตำแหน่งหน้าที่เฉพาะมีการประชุมปรึกษาหารือกับสมาชิกมีลักษณะควบคุมกันภายในองค์กร โดย ความมุ่งหมายของกฎหมายที่บัญญัติย่อมต้องการเอาผิดคณะบุคคลที่มีลักษณะจัดตั้งร่วมสมคบคิดแบ่งหน้าที่ หรือแสดงออกซึ่งการตกลงจะกระทำความผิดร่วมกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่
    4 เป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท และไม่มีพยานหลักฐานใดพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้กระทำการหรือ ดำเนินการช่วยเหลือหรือสนับสนุนโดยมีความมุ่งหมายเดียวกับกลุ่มสหพันธรัฐไท ทั้งพยานหลักฐานโจทก์ก็ เป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่มีประจักษ์พยานว่าจำเลยที่ ๔ เป็นสมาชิกองค์กรสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด คงมีแต่คำเบิกความของพยานโจทก์ที่เบิกความลอยๆ จึงไม่น่าเชื่อถือ ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 4 ให้การ ปฏิเสธ ดังนั้น พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่พอฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานอั้งยี่

    ประเด็นที่ 5 เสื้อที่โจทก์นำสืบว่าเจ้าหน้าที่ตรวจยึดได้จากห้องพักของจำเลยที่ 4 มี สัญลักษณ์ของกลุ่มสหพันธรัฐไทนั้น จำเลยที่ 4 ไม่ทราบความหมายของเสื้อดังกล่าวดังที่ได้เรียนต่อศาล มาแล้วข้างต้น และเสื้อดังกล่าวก็ไม่ได้มีข้อความหรือเป็นสิ่งผิดฎหมายแต่อย่างใด โดยจำเลยที่ 4 ได้ให้การ ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเสื้อดังกล่าวเป็นเสื้อของกลุ่มสหพันธรัฐไทมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่อง การปกครองรูปแบบต่างๆนั้น เป็นเพียงแนวคิดที่แตกต่างและสามารถวิพากย์วิจารณ์ด้วยเหตุผลได้ และ ไม่ได้นำสู่การก่อความรุนแรง ดังคำเบิกความของพลตรีบุรินทร์ ทองประไพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช. ผู้กล่าวหาดำเนินคดีจำเลยที่ 4 ได้ตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้าน ว่า “มีประชาชนบางคนที่มีพฤติกรรมเข้าร่วมกลุ่มสหพันธรัฐไทและออกไปแสดงพฤติกรรมต่างๆนั้น เจ้าหน้าที่เคยเชิญตัวไปอธิบายให้เข้าใจเหตุและผล และสามารถชักจูงให้กลับมาเป็นปกติและเข้าใจในสิ่งที่ ถูกต้อง ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้มองว่าเป็นศัตรูของประเทศ คงมองเฉพาะบุคคลที่มีพฤติกรรมที่เป็น อันตรายต่อความมั่นคง ยากแก่การอธิบายให้เข้าใจหรือแก้ไข” แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่มีความคิดเห็น แตกต่างทางความคิด ควรใช้วิธีในการพูดคุยปรับความเข้าใจ จะส่งผลให้เกิดความปรองดองสามัคคีใน ประเทศขึ้นได้มากกว่าการมุ่งการดำเนินคดีทางกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้มีพฤติกรรมที่เข้าร่วมกลุ่ม สหพันธรัฐไท ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดรายการทางสื่อออนไลน์ของกลุ่มสหพันธรัฐไท ไม่ได้ชักจูง เชิญชวน หรือมีบทบาทใดๆ กับกลุ่มสหพันธรัฐไทแต่อย่างใด

    (อ้างอิง: อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 17 เม.ย. 2563)

  • จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล โดยมีเนื้อหาดังนี้

    ประเด็นที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่เห็นพ้องด้วยเนื่องจาก ที่ศาลอาญารับฟังข้อเท็จจริงว่า “พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
    เกี่ยวข้องนำแผ่นใบปลิวไปวางที่มหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่งโดยมีหลักฐานข้อมูลภาพเคลื่อนไหวหรือภาพวีดีโอที่กล้องโทรทัศน์วงจรปิดบันทึกภาพขณะที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 นำแผ่นใบปลิวไปวางที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งดังกล่าว” การรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวคลาดเคลื่อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพยานหลักฐานโจทก์อย่างชัดเจน กล่าวคือ

    จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำแผ่นใบปลิวไปวางที่มหาวิทยาลัยต่างๆ แต่อย่างใด และในสำนวนการสอบสวนก็ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นภาพเคลื่อนไหววงจรปิดขณะที่จำเลยที่ 1 นำแผ่นใบปลิวไปวาง จำเลยที่1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าว โดยได้ความจากพยานโจทก์ปาก ร้อยตำรวจเอกครรชิต สีหะรอด เบิกว่าตอบโจทก์ถามว่า “ นายเทิดศักดิ์ (จำเลยที่ 2) วางใบปลิวในมหาวิทยาลัย...จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณมหาวิทยาลัย” และตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า ในทางสืบสวนจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 พูดคุยสนทนากันทางไลน์ ซึ่งพยานข้าใจว่าจำเลยคดีนี้น่าจะรู้จักกันเนื่องจากมีการเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มไลน์ แต่ไม่จำเป็นต้องรู้จักกันหรือไม่นั้นไม่ทราบ” จะเห็นได้ว่า พยานโจทก์ต่างเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาแต่อย่างใด

    ประเด็นที่ 2 ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าของกลาง แผ่นใบปลิวในลักษณะเดียวกันและสติกเกอร์ เสื้อสีดำที่ยึดได้จากจำเลยไม่เป็นทรัพย์สินที่มีไว้หรือใช้กระทำความผิดและวินิจฉัยในเนื้อ หาว่าไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด

    ประเด็นที่ 3 บันทึกผลการซักถาม เอกสารหมายและบันทึกการซักถามปากคำ นั้นไม่เป็นความจริง ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการให้การของจำเลยที่ 1 แต่เป็นเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นในค่ายทหาร ซึ่งไม่มีทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจร่วมอยู่ด้วย ศาลจึงไม่ควรรับฟัง
    ดังจะเห็นได้ว่าเอกสารดังกล่าวยังมีพิรุธและขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์หลายประการ กล่าวคือ ตามผลการซักถามเอกสารหมาย จ. 6 ไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ลงชื่อรับรองความถูกต้อง เป็นเอกสารที่ฝ่ายทหารจัดทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวและโจทก์ไม่ได้นำเจ้าหน้าที่ที่จัดทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความรับรองเอกสาร

    ประเด็นที่ 4 เอกสารซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบันทึกการซักถามปากคำของจำเลยที่ 1 ซึ่งแม้จะมีพยานคือพลตำรวจตรีสุรศักดิ์ ขุนณรงค์ มาเบิกความยืนยันเอกสาร แต่เมื่อพิจารณาดูข้อความในเอกสารแล้ว ปรากฏว่ามีข้อความเหมือนกับผลการซักถามตามเอกสารหมายหมาย จ. 6 ทุกประโยคและตัวอักษร ในลักษณะคัดลอกข้อมูลกัน โดยเอกสารหมาย จ. 35 เป็นการคัดลอกข้อมูลจากเอกสารหมาย จ. 6 มาจัดทำรูปแบบของบันทึกการซักถามปากคำ โดยเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นคำถามและคำตอบ แต่ข้อความดังกล่าวในส่วนเนื้อหาของคำตอบของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 35 เหมือนกับเอกสารหมายจ. 6 ทุกคำ ดังนั้นการจัดทำบันทึกการซักถามปากคำเอกสารหมาย จ. 35 จึงจัดทำขึ้นตามผลการซักถามเอกสารหมาย จ. 6 เท่านั้น นอกจากนี้ตามเอกสารหมาย จ.35 ก็มีเพียงภาพถ่ายขณะตรวจค้นห้องพักของจำเลยที่ 1 ประกอบเท่านั้น แต่ไม่มีข้อมูลเฟซบุ๊ค ยูทูป ไลน์ ที่สอดคล้องกับถ้อยคำของจำเลยที่ 1 ประกอบเป็นหลักฐานแต่อย่างใด จึงไม่น่าเชื่อถือ
    เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้

    ประเด็นที่ 5 เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและตำรวจได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 1 ได้ขณะควบคุมตัวที่ห้องพัก
    และสามารถตรวจสอบและตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งน่าเชื่อถือเพื่อพิสูจน์ให้ได้ข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้มีการโพสต์ข้อความหรือมีการสนทนาทางไลน์ของกลุ่มสหพันธรัฐไทจริงหรือไม่ ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าผลการซักถามซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและฝ่ายการข่าว และน่าเชื่อถือกว่าคำเบิกความลอยๆของพยานโจทก์

    ซึ่งพยานโจทก์ปาก ร.ต.อ.ครรชิต สีหะรอดเบิกความต่อศาลว่า “จำเลยที่ 1 ใช้โปรแกรมไลน์และเป็นสมาชิกกลุ่มไลน์ของกลุ่มสหพันธรัฐไทด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่คนอื่นเป็นผู้ตรวจสอบ ข้าฯไม่ได้ตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบนั้น ข้าฯไม่ขอเปิดเผยชื่อ ซึ่งในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่แฝงตัวเป็นสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มไลน์ดังกล่าว ซึ่งข้าฯไม่ขอเปิดเผยแต่เจ้าหน้าที่ที่แฝงตัวดังกล่าวไม่เคยปริ้นข้อความที่สนทนาในกลุ่มไลน์ให้ข้าฯดู” เจ้าหน้าที่รัฐแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มไลน์สหพันธรัฐไทแต่พนักงานสอบสวนก็มิได้สอบสวนและโจทก์ก็มิได้นำตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าแฝงตัวในกลุ่มไลน์มาเบิกความต่อศาล ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถนำตัวมาเบิกความได้อันเป็นพยานปากที่มีความใกล้ชิดและเป็นประจักษ์พยานสำคัญในคดี ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคดีนี้มีการรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจพิสูจน์ของกลางที่น่าเชื่อถืออันจะสามารถพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จนสิ้นข้อสงสัยแต่อย่างใดทั้งที่อยู่ในวิสัยของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ และพนักงานสอบสวนจะกระทำได้

    คงอาศัยเพียงข้อมูลจากผลการซักถามและบันทึกการซักถามปากคำและคำเบิกความลอยๆ ของพยานโจทก์ มาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่หนึ่งขอเรียนยืนยันต่อศาลว่าเอกสารดังกล่าวไม่เป็นความจริง เกิดขึ้นโดยไม่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น แม้บันทึกการซักถามจะมีข้อความว่าจำเลยให้การยอมรับว่าเป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไท แต่บันทึกซักถามข้างต้นเป็นพยานบอกเล่า มีพิรุธ และเอกสารหมาย จ. 35 ก็เป็นการคัดลอกข้อมูลจากเอกสารหมาย จ. 6 และไม่มีหลักฐานอื่นที่น่าเชื่อถือประกอบการให้ถ้อยคำ ทั้งที่หากจำเลยที่1 รับสารภาพจริงว่ามีมีการเปิดใช้ไลน์หรือสื่อออนไลน์อื่น ไฉนเลยจะไม่สามรถเปิดให้เจ้าหน้าที่ดูและเก็บมาเป็นพยาน หรือหากมีจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกกลุ่มไลน์จริง ไฉนเลยเจ้าที่รัฐซึ่งแฝงตัวในกลุ่มจะไม่สามารถหาพยานหลักฐานจากไลน์มายืนยันเป็นพยานหลักฐานต่อศาล

    ประเด็นที่ 6 “ซึ่งการที่เจ้าพนักงานตรวจพบข้อมูลจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่บันทึกภาพของจำเลยที่1 กับจำเลยที่ 2 ไว้ขณะนำแผ่นใบปลิวไปวางยังมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง ย่อมเป็นพยานหลักฐานชั้นดีที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องนำแผ่นใบปลิวไปวางยังสถานที่ดังกล่าว ดังกล่าว ประกอบกับเมื่อเจ้าพนักงานไปตรวจค้นบ้านพักของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็พบแผ่นใบปลิวในลักษณะเดียวกัน สติกเกอร์ข้อความสหพันธรัฐไท และเสื้อสีดำมีธงสัญลักษณ์สหพันธรัฐไทบริเวณอกเสื้อ จากบ้านพักของจำเลยดังกล่าว
    อย่างไรก็ตามพยานโจทก์ มาเบิกความลอยๆว่า “ได้ตรวจดูกล้องวงจรปิดบริเวณมหาวิทยาลัยที่มีการวางใบปลิว” แต่ไม่มีภาพข้อมูลกล้องวงจรปิดดังกล่าวมาอ้างส่งศาลเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด โดยคำเบิกความพยานโจทก์ในส่วนนี้มีข้อสงสัยหลายประการ
    ซึ่งหากโจทก์นำส่งภาพวงจรปิดย่อมน่าเชื่อถือและยืนยันพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำใบปลิวไปวางตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จริงหรือไม่

    นอกจากนี้ใบปลิวที่ตรวจพบที่ห้องพักของจำเลยที่ 1ก็ไม่ใช่ใบปลิวลักษณะเดียวกับตามเอกสารที่พยานโจทก์เบิกความว่ามีการนำไปวางที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 นำใบปลิวไปวางตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จริง โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดที่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกกลุ่มสหพันธรัฐไทจริง

    ประเด็นที่ 7 องค์ประกอบสำคัญต้องเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีวัตถุประสงค์อันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำว่าสมาชิกนั้นต้องมีการจัดตั้งองค์กรรวมกลุ่มปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกันเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง มิใช่เพียงการรับฟังจากบุคคลอื่นซึ่งกระทำความผิดและมาปฏิบัติหรือชื่นชอบหรือเห็นด้วยกับแนวคิดของบุคคลอื่นนั้นซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่มีการติดต่อปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกับบุคคลที่จัดรายการทางช่องยูทูปลุงสนามหลวงแต่อย่างใด ที่พลตรีบุรินทร์ ทองประไพที่เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า “ จากการข่าวทราบว่าจำเลยที่ 1-5 ฟังคำสั่งจากนายลุงสนามหลวง ซึ่งจัดรายการอยู่ที่ประเทศลาว
    หลังจากนั้นจะมีการติดต่อประสานงานกับสมาชิกในกลุ่ม” เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆของพยานและเป็นการให้การที่ขัดแย้งกับพยานโจทก์ปาก พ.ต.ท.เสวก บุญจันทร์ พนักงานสอบสวนที่เบิกความว่า “คดีนี้ไม่มีหลักฐานการติดต่อสนทนากันระหว่างจำเลยทั้งห้าคนนี้คดีนี้กับบุคคคลที่หลบหนีอยู่ประเทศลาว” ประกอบกับพลตรีบุรินทร์ ทองประไพเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ว่า “ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนว่าจำเลยที่ 1-4 เป็นสมาชิกของกลุ่มสหพันธรัฐไท และเป็นเครือข่ายของลุงสนามหลวงอย่างชัดเจน” ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีการติดต่อหรือรับคำสั่งจากนายลุงสนามหลวง และจำเลยที่ 1มิได้ปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกันจึงไม่เป็นสมาชิกองค์การสหพันธรัฐไท ไม่รู้จักบุคคลใดๆในกลุ่มตามที่โจทก์นำสืบมาตลอดคดี

    (อ้างอิง: อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 20 เม.ย. 2563)
  • เวลา 09.30 น. ทนายจำเลย 3 คน ยกเว้น อานนท์ นำภา ซึ่งยังคงถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาตรา 112 จากชุมนุม 19 ก.ย. 63 ในเรือนจำ พร้อมกับจำเลยอีก 4 คน เดินทางมายังห้องพิจารณาคดีที่ 801 เพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

    กฤษณะ (จำเลยที่ 1), เทอดศักดิ์ (จำเลยที่ 2) และ วรรณภา (จำเลยที่ 4) เดินทางมาที่ศาลพร้อมกับครอบครัว ส่วนประพันธ์ (จำเลยที่ 3) ถูกเบิกตัวมาจากทัณฑสถานหญิงกลาง และเดินทางมาถึงที่ห้องพิจารณาเป็นคนสุดท้าย

    เวลา 09.50 น. ศาลเรียกให้ทนายความและจำเลยทั้ง 4 เข้าไปฟังคำพิพากษา หลังนั่งรออยู่ด้านหน้าห้องพิจารณา ขณะที่ศาลกำลังอ่านคำพิพากษาคดีอื่น โดยศาลมีนโยบายไม่ให้บุคคลอื่น นอกเหนือจากผู้ต้องหาและคู่ความเข้าไปในห้องพิจารณาคดี ส่วนญาติต้องนั่งรออยู่ด้านนอกห้องเท่านั้น แม้แต่ผู้สังเกตการณ์ก็ไม่สามารถเข้าร่วมฟังคำพิพากษาได้ เนื่องจากเป็นมาตรการของศาลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

    ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยสรุป ดังนี้

    ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า มีพยานหลักฐานอันเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1-4 เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการในสมาคมแบบปิด หรือ องค์กรสหพันธรัฐไท เพื่อทำให้เกิดความไม่สงบ หรือความวุ่นวายต่อราชอาณาจักร อ้างอิงจากเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนที่ได้สืบทราบว่าจำเลยที่ 1-4 เป็นแนวร่วมขององค์กรดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 เป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก จำเลยที่ 1-3 ได้แจกใบปลิว และสติกเกอร์ให้แก่สมาชิก ด้านจำเลยที่ 4 ไปรับเสื้อสีดำจากมารดา ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมขององค์กร

    เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นบ้านของจำเลยที่ 1 ได้พบสัญลักษณ์สติ๊กเกอร์ของกลุ่มสหพันธรัฐไท โดยจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ และได้ให้การซัดทอดจำเลยที่ 2-3 จากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นบ้านจำเลยที่ 3 และ 4 ก็พบเสื้อสีดำตามพยานหลักฐานของโจทก์

    จากภาพกล้องวงจรปิดของมหาวิทยาลัย พบภาพของจำเลยที่ 1-2 นำแผ่นใบปลิวไปวางที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง และเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านพักของจำเลยที่ 1-2 พบใบปลิวที่แจกจ่ายในมหาวิทยาลัยและสติ๊กเกอร์ในบ้านของจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ชักชวนผู้อื่นให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มในโปรแกรมไลน์ และพบภาพเสื้อสีดำจำนวน 400 ตัวในบ้านของจำเลยที่ 4 เพื่อนำมาแจกจ่าย

    ด้านข้อความที่ปรากฏในสติ๊กเกอร์และใบปลิวที่อธิบายระบอบสหพันธรัฐว่า “เป็นการปกครองแบบการกระจายอำนาจเช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้วในหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยจัดให้มีการเลือกตั้งในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงประธานาธิบดี ศาลตัดสินโดยคณะลูกขุนซึ่งคัดเลือกมาจากประชาชน เป็นรัฐสวัสดิการโดยดูแลตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ให้การศึกษาฟรีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย สนใจสามารถดูเพิ่มจากแหล่งความรู้ทั่วไปหรือรับชมทาง YouTube sanamluang…”

    ศาลพิเคราะห์ว่า ข้อความดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือไม่มีลักษณะเป็นการกระทำที่จะส่งผลต่อการเกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือไม่มีลักษณะที่มีความหมายให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดินแต่ประการใด

    ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เผยแพร่ข้อความข้างต้น ส่วนจำเลยที่ 1-4 ไม่มีหลักฐานว่ามีความผิดในข้อหาตามมาตรา 116 ศาลชั้นต้นยกฟ้องข้อหา 116 ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย

    อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ 1-4 ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจแล้วว่าได้เข้าร่วมและสนับสนุนองค์กรสหพันธรัฐไท ผ่านการแจกใบปลิว และเผยแพร่องค์กรผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยมีเจตนาเข้าร่วมโดยสมัครใจ และเมื่อองค์กรสหพันธรัฐไทมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเป็นประมุข เป็นระบอบสหพันธรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1-4 นั้นฟังไม่ขึ้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำเลยที่ 1-4 ข้อหาอั้งยี่ จำคุกคนละ 3 ปี โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับสารภาพในชั้นสอบสวน ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้ยกฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116

    หลังรับทราบคำพิพากษา ญาติของกฤษณะ, เทอดศักดิ์ และวรรณภา ได้ยื่นประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกา โดยใช้หลักประกันเช่นเดิมกับที่ศาลอนุญาตให้ประกันในระหว่างอุทธรณ์ กฤษณะและเทอดศักดิ์ใช้เงินสดจำนวน 100,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ พร้อมเงื่อนไขขอติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ด้านวรรณภา ยื่นประกันตัวด้วยเงินสดจำนวน 300,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

    ส่วนประพันธ์นั้น ถูกขังระหว่างพิจารณามาตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2562 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว และไม่ได้มีญาติมายื่นประกันตัวในวันนี้

    อย่างไรก็ตาม เวลา 16.22 น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาพิจารณาคำสั่งให้ประกันตัวของจำเลยทั้ง 3 ทำให้ทั้งหมดถูกควบคุมตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลางทันที ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 และข่าวการติดเชื้อระหว่างผู้ต้องขังภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/28902 และ https://tlhr2014.com/archives/29029)

  • เวลา 15.30 น. ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลฎีกา ลงวันที่ 28 เม.ย. 64 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว กฤษณะ, เทอดศักดิ์ และวรรณภา ระบุว่า พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในชั้นนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ยังไม่ยื่นฎีกาและได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หากปล่อยตัวไปอาจหลบหนี จึงยังไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ชั่วคราวในระหว่างฎีกา ให้ยกคำร้อง

    คำสั่งนี้ทำให้กฤษณะและเทอดศักดิ์ต้องถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่วนวรรณภาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป ส่วน "ประพันธ์" จำเลยอีกหนึ่งราย ถูกคุมขังมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 62 โดยไม่ได้ยื่นประกันตัวระหว่างต่อสู้คดีตั้งแต่ต้น และคาดว่าจะครบกำหนดโทษวันที่ 23 พ.ค. 64

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลฎีกา ลงวันที่ 28 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28902)
  • ทนายความยื่นประกันตัวกฤษณะ, เทอดศักดิ์ และวรรณภา ระหว่างฎีกาเป็นครั้งที่ 2 ระบุเหตุผลว่า จำเลยทั้งสามยังมีความประสงค์จะยื่นฎีกาคำพิพากษา โดยระหว่างนี้อยู่ระหว่างจัดทำฎีกาเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน

    คำร้องยังระบุเหตุผลที่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ว่า จำเลยทั้งสามนั้นมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี มารายงานตัวตามนัดของศาล ทั้งในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์, พฤติการณ์คดีไม่ร้ายแรง และการปล่อยชั่วคราวจำเลยไม่ก่อให้เกิดภยันตรายหรือความเสียหายใดๆ อีกทั้ง ทั้งสามยังประกอบอาชีพสุจริต ไม่มีอิทธิพลไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้

    ทั้งนี้ คำร้องยังขอให้ศาลปล่อยตัวจำเลย เพื่อป้องกันชีวิตและสุขอนามัยของจำเลยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า ปัจจุบันมีข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และอ้างถึงคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ฉบับที่ 3 ข้อ 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยหรือผู้ต้องหาที่ไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน หรือจำเลยซึ่งมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์ฎีกา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา

    ขณะเดียวกัน คำร้องยังอ้างถึง รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำ เช่น กรณีการติดเชื้อไวรัสของ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ และ อานนท์ นำภา ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และกรณีผู้ต้องขังในจังหวัดต่างๆ ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวภายในเรือนจำ เช่น เรือนจำกลางเชียงใหม่ และเรือนจำนราธิวาส

    สำหรับกฤษณะ ทนายและครอบครัวใช้หลักทรัพย์เดิมในการยื่นประกันตัว กล่าวคือ เงินสดจำนวน 100,000 บาท และรับเงื่อนไขติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ส่วนเทอดศักดิ์ วางหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ด้านวรรณภาวางเงินสดจำนวน 300,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักประกัน

    เวลา 15.30 น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวให้ศาลฎีกาพิจารณา

    ปัจจุบัน (12 พ.ค. 64) รายงานจากกรมราชทัณฑ์เผย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง 1,040 ราย และที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ 1,785 ราย ด้าน iLaw ชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อกับจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมดที่รายงานเมื่อ 2 พ.ค. 64 จะพบว่า ทัณฑสถานหญิงกลาง มีผู้ติดเชื้อประมาณ 23% และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมีผู้ติดเชื้อประมาณ 54%จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29626)
  • ศาลอาญา รัชดาฯ อ่านคำสั่งศาลฎีกาลงวันที่ 14 พ.ค. 64 อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว กฤษณะ, เทอดศักดิ์ และวรรณภา ให้เหตุผลว่า จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมาก่อน โดยไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์หลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ไม่สูงนัก หากจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ยินยอมให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ก็อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกา ตีราคาประกันคนละ 300,000 บาท ให้ศาลชั้นต้นสอบถามความยินยอมของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 และพิจารณาหลักประกัน แล้วดำเนินการต่อไป

    หลังจากทราบคำสั่งศาลฎีกาแล้ว ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอขยายระยะเวลาติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ระบุว่า จำเลยทั้งสามยินยอมให้ติด EM แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง ทำให้จำเลยทั้งสามต้องไปตรวจเชื้อดังกล่าวเมื่อได้รับการปล่อยตัว ทั้งยังต้องกักตัวอีก 14 วัน เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอมาศาลเพื่อติด EM ภายในเวลา 20 วัน หลังได้รับการปล่อยตัว โดยศาลมีคำสั่งอนุญาต

    ทำให้กฤษณะ, เทอดศักดิ์ และวรรณภา ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางในเย็นนี้ทันที หลังทั้งสามถูกคุมขังเป็นเวลา 19 วันแล้ว โดยทั้งสามต้องไปรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง พร้อมกักตัวให้ครบระยะกำหนดเวลา 14 วัน และต้องเดินทางมาศาลเพื่อติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในวันที่ 4 มิ.ย. 64

    นอกจากจำเลยทั้งสาม ยังมีประพันธ์​ (จำเลยที่ 3) ที่ยังคงถูกขังระหว่างพิจารณาที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2562 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว คาดว่าครบกำหนดปล่อยตัวในวันที่ 23 พ.ค. 64 นี้

    อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า คดีนี้จำเลยถูกพิพากษาจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท โดยลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี เทอดศักดิ์ให้การเป็นประโยชน์ในชั้นสอบสวน ลดเหลือ 2 ปี ต่อมา ศาลอนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ ตีวงเงินประกัน ปีละ 100,000 บาท กฤษณะและเทอดศักดิ์ขอติด EM และวางเงินสด 100,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ ขณะวรรณภา ไม่ติด EM จึงต้องวางเงินสด 300,000 บาท แต่ในการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่าฎีกา ศาลฎีกาให้วางเงินประกันคนละ 300,000 บาท โดยให้ติด EM ด้วย

    ทั้งนี้ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกัน ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ระบุไว้ว่า

    “คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องมีประกัน หากมีเหตุจำเป็นต้องมีประกันให้กำหนดวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท เว้นแต่ มีเหตุสมควรที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น ก็ให้ระบุเหตุนั้นไว้โดยชัดแจ้ง ”

    รวมทั้งข้อบังคับฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ระบุว่า

    “ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลย ศาลอาจใช้ดุลพินิจเรียกหลักประกัน ดังนี้

    (1) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินประกัน”

    หลัง 3 จำเลยในคดีนี้ได้รับการประกันตัว ยังมีผู้ต้องขังคดีทางการเมืองยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอีก 8 คน โดยสัปดาห์ที่จะถึงนี้ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอประกันอีกอย่างน้อย 3 ราย ในวันที่ 18 และ 19 พ.ค. ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในเรือนจำเป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้ต้องขังติดเชื้อไม่น้อยกว่า 54%

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลฎีกา ลงวันที่ 14 พ.ค. 2564, คำร้องขอขยายระยะเวลาติด EM ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3157/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ.91/2563 ลงวันที่ 15 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29708)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเทอดศักดิ์

พฤติการณ์ของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำรวจหรือผู้ต้องหาระหว่างการสอบสวน :
ทหารเข้าร่วมฟังการสอบสวน

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางประพันธ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาววรรณภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาวจินดา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายกฤษณะ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเทอดศักดิ์

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 21-01-2020
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางประพันธ์

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 21-01-2020
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาววรรณภา

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 21-01-2020
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาวจินดา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายกฤษณะ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 21-01-2020

ศาลอุทธรณ์

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเทอดศักดิ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาววรรณภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายกฤษณะ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์