ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
ดำ อ. 1130/2563
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.อ.ปริญญา คำเจริญ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
หมายเลขคดี
ดำ อ. 1130/2563
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.อ.ปริญญา คำเจริญ
ความสำคัญของคดี
ปิยรัฐ จงเทพ นักกิจกรรมและอดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ จ.กาฬสินธุ์ ถูกดำเนินคดีในข้อหา จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 10, 14 จากการจัดกิจกรรม "วิ่งไล่ลุง" จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ปิยรัฐยืนยันให้การปฏิเสธ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมกีฬา จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และผู้จัดกิจกรรมจึงไม่ต้องแจ้งการจัดกิจกรรม
อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มการสืบพยานปิยรัฐตัดสินใจให้การรับสารภาพ โดยระบุเหตุผลว่า อยากให้คดีนี้จบโดยไว ไม่เป็นภาระต่อตัวเขา ทนายความ ซึ่งยังมีคดีจากการแสดงออกทางการเมืองอีกหลายคดี อีกทั้งคดีนี้มีเพียงโทษปรับ โดยศาลลงโทษปรับ 2,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือปรับ 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มการสืบพยานปิยรัฐตัดสินใจให้การรับสารภาพ โดยระบุเหตุผลว่า อยากให้คดีนี้จบโดยไว ไม่เป็นภาระต่อตัวเขา ทนายความ ซึ่งยังมีคดีจากการแสดงออกทางการเมืองอีกหลายคดี อีกทั้งคดีนี้มีเพียงโทษปรับ โดยศาลลงโทษปรับ 2,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือปรับ 1,000 บาท
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
คำฟ้องของพนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ระบุว่า
เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 เวลากลางวันจำเลยได้เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะในกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ซึ่งมีการจัดขึ้นในเขตพื้นที่ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยจำเลยได้เชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะในกิจกรรมดังกล่าว และพูดเชิญชวนให้ผู้มาร่วมชุมนุมลงทะเบียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้มาชุมนุม โดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น แล้วจากการที่จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว ทำให้มีประชาชนจำนวนประมาณ 200 คน เดินทางมาเข้าร่วมการชุมนุมกันที่ถนนภิรมย์บริเวณหน้าโรงเรียนอนุกูลนารี แล้วร่วมกันวิ่งไปที่อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร และวิ่งไปตามถนนกาฬสินธุ์ ผ่านหน้าโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จนถึงบริเวณหน้าโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ซึ่งเป็นทางสาธารณะ
โดยในระหว่างที่มีการชุมนุมกันดังกล่าว จำเลยได้ขึ้นไปพูดผ่านเครื่องขยายเสียงซึ่งตั้งอยู่บนรถยนต์ ซึ่งมีถ้อยคำโจมตีและวิจารณ์การทำงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ โดยผู้ร่วมชุมนุมมีการแสดงสัญลักษณ์ชูนิ้วมือ 3 นิ้ว ซึ่งเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์การต่อต้านการทำรัฐประหาร ทั้งยังมีป้ายข้อความว่า “มาไล่ลุง ให้ไป ออกไป” อันเป็นการแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งมิใช่กรณีการชุมนุมสาธารณะที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยจำเลยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือแจ้งโดยวิธีการใดๆ ต่อผู้รับแจ้งคือ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง หรือไม่ได้ยื่นคำขอผ่อนผันต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ก่อนเริ่มการชุมนุม ในกรณีไม่สามารถแจ้งการชุมนุมได้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว โดยจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ ตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจังหวัดพระโขนง ให้ลงโทษจำคุก 2 เดือนและปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ในความผิดฐานทำลายบัตรที่มีไว้สำหรับออกเสียงโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ ซึ่งศาลได้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2560 ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3789/2560 ทั้งนี้ เพื่อประกอบดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลย
จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1308/2563 ของศาลอาญา
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ. 1130/2563 ลงวันที่ 13 ก.ค. 2563)
เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 เวลากลางวันจำเลยได้เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะในกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ซึ่งมีการจัดขึ้นในเขตพื้นที่ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยจำเลยได้เชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะในกิจกรรมดังกล่าว และพูดเชิญชวนให้ผู้มาร่วมชุมนุมลงทะเบียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้มาชุมนุม โดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น แล้วจากการที่จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว ทำให้มีประชาชนจำนวนประมาณ 200 คน เดินทางมาเข้าร่วมการชุมนุมกันที่ถนนภิรมย์บริเวณหน้าโรงเรียนอนุกูลนารี แล้วร่วมกันวิ่งไปที่อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร และวิ่งไปตามถนนกาฬสินธุ์ ผ่านหน้าโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จนถึงบริเวณหน้าโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ซึ่งเป็นทางสาธารณะ
โดยในระหว่างที่มีการชุมนุมกันดังกล่าว จำเลยได้ขึ้นไปพูดผ่านเครื่องขยายเสียงซึ่งตั้งอยู่บนรถยนต์ ซึ่งมีถ้อยคำโจมตีและวิจารณ์การทำงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ โดยผู้ร่วมชุมนุมมีการแสดงสัญลักษณ์ชูนิ้วมือ 3 นิ้ว ซึ่งเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์การต่อต้านการทำรัฐประหาร ทั้งยังมีป้ายข้อความว่า “มาไล่ลุง ให้ไป ออกไป” อันเป็นการแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งมิใช่กรณีการชุมนุมสาธารณะที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยจำเลยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือแจ้งโดยวิธีการใดๆ ต่อผู้รับแจ้งคือ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง หรือไม่ได้ยื่นคำขอผ่อนผันต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ก่อนเริ่มการชุมนุม ในกรณีไม่สามารถแจ้งการชุมนุมได้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว โดยจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ ตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจังหวัดพระโขนง ให้ลงโทษจำคุก 2 เดือนและปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ในความผิดฐานทำลายบัตรที่มีไว้สำหรับออกเสียงโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ ซึ่งศาลได้พิพากษาเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2560 ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3789/2560 ทั้งนี้ เพื่อประกอบดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลย
จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1308/2563 ของศาลอาญา
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ. 1130/2563 ลงวันที่ 13 ก.ค. 2563)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 24-06-2020นัด: มอบตัวปิยรัฐเดินทางเข้ามอบตัวที่ สน.ชนะสงคราม ตำรวจฝ่ายสืบสวนได้แสดงหมายจับศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ จ.45/2563 ลงวันที่ 11 มี.ค. 2563 ซึ่งระบุข้อหา เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม. อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 10 โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ปิยรัฐรับว่า ตนเองเป็นบุคคลตามหมายจับ ฝ่ายสืบสวนจึงได้ทำบันทึกจับกุม และส่งตัวให้พนักงานสอบสวน
เนื่องจากเหตุในคดีมาจากกิจกรรมวิ่งไล่ลุงใน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงครามจึงต้องส่งตัวปิยรัฐไปดำเนินคดีที่ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ท้องที่เกิดเหตุและเป็นผู้ขอศาลออกหมายจับ โดยได้ให้แพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจมาทำการตรวจร่างกายปิยรัฐก่อนออกเดินทาง ซึ่งไม่พบว่ามีอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
รถตู้ของ สน.ชนะสงคราม นำตัวปิยรัฐออกเดินทางเวลาประมาณ 13.30 น. ถึง สภ.เมืองกาฬสินธุ์ประมาณ 21.30 น. โดยมีประชาชนทั้งในพื้นที่และที่เดินทางมาจากจังหวัดอุบลฯ รอให้กำลังใจ
จากนั้น ร.ต.อ.หญิง ฐิตาพัชร์ ภูกาบิล รอง สว. (สอบสวน) ผู้รับมอบตัวปิยรัฐจากตำรวจ สน.ชนะสงคราม ได้แจ้งข้อหาปิยรัฐ ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10 พร้อมทั้งแจ้งว่า จะควบคุมตัวไว้ในห้องขัง 1 คืน และจะนำตัวไปขอศาลฝากขังที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันรุ่งขึ้น ทำให้ปิยรัฐและทนายความโต้แย้งว่า คดีนี้เป็นความผิดลหุโทษ เนื่องจากมีเพียงแต่โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสอง ระบุว่า ตำรวจจะควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ได้เพียงเท่าที่ถามคำให้การ ชื่อ และที่อยู่เท่านั้น จะควบคุมตัวไว้ทั้งคืนจนกระทั่งส่งไปขอศาลฝากขังตามที่พนักงานสอบสวนแจ้งไม่ได้
หลังการโต้แย้งได้ข้อสรุปว่า จะไม่มีการควบคุมตัวไว้ทั้งคืนและไม่ส่งฝากขัง โดยนัดหมายให้ปิยรัฐมาพบพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนในวันรุ่งขึ้น เวลา 11.00 น. เพื่อสอบปากคำ
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.ชนะสงคราม และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 24 มิ.ย. 2563 และ https://www.tlhr2014.com/?p=18925) -
วันที่: 25-06-2020นัด: แจ้งข้อหาปิยรัฐพร้อมทนายความเข้าพบพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ซึ่งได้แจ้งข้อกล่าวหา และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 เวลาประมาณ 16.00 น. ผู้ต้องหาได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้รับแจ้งทราบก่อนการชุมนุม อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุม
ปิยรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ขอให้การใดๆ ในชั้นสอบสวน โดยประสงค์จะให้การในชั้นศาล หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันแล้ว พนักงานสอบสวนได้นัดหมายให้มาพบเพื่อส่งตัวให้พนักงานอัยการในวันที่ 2 ก.ค. 2563 เวลา 10.00 น. ก่อนปล่อยตัว
(อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=18925) -
วันที่: 02-07-2020นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวน สภ.เมืองกาฬสินธุ์ มีความเห็นควรสั่งฟ้องปิยรัฐ ในข้อหา เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 10 จากกรณีที่มีการจัดกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” จ.กาฬสินธุ์ ในวันที่ 12 ม.ค. 2563 และส่งตัวปิยรัฐพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการ
(อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=19355) -
วันที่: 13-07-2020นัด: ฟังคำสั่งอัยการเมื่อเข้ารายงานตัว อัยการซึ่งมีคำสั่งฟ้องคดีเช่นกัน แจ้งว่า ยังทำคำฟ้องไม่เสร็จ ขอเวลาไม่เกินเที่ยง ต่อมา อัยการนัดหมายปิยรัฐไปที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อยื่นฟ้องคดีในเวลาประมาณ 11.00 น.
หลังเจ้าหน้าที่ศาลรับคำฟ้อง ปิยรัฐถูกควบคุมตัวเข้าห้องขังใต้ถุนศาล จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ศาลจึงได้ถามคำให้การเบื้องต้นผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ปิยรัฐยืนยันให้การปฏิเสธ ศาลนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การอีกครั้งในวันที่ 1 ก.ย. 2563 และแจ้งให้นำเงินสด 5,000 บาท ยื่นประกันตัวในวันนี้ ปิยรัฐแถลงว่า ประสงค์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน แต่ศาลยังไม่เห็นคำร้อง จึงขอพิจารณาคำร้องก่อน จากนั้นในเวลาประมาณ 16.10 น. ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักประกัน ปิยรัฐจึงได้รับการปล่อยตัวหลังถูกขังอยู่ 5 ชั่วโมง ในห้องขังใต้ถุนศาล
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ระบุเหตุผลว่า ข้อหา เป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะไม่แจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อันเป็นความผิดลหุโทษที่มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งศาลสามารถใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยไม่มีหลักประกัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ได้
โตโต้เปิดเผยหลังได้รับการปล่อยตัวว่า ก่อนหน้าที่เจ้าหน้าที่ศาลจะนำคำสั่งให้ประกันตัวมาแจ้ง ซึ่งเหลือเวลาอีก 20 นาที รถเรือนจำจะต้องนำผู้ต้องขังที่ไม่ได้ประกันตัวจากศาลไปส่งเข้าเรือนจำ เขาคุยกับผู้ต้องขังที่เหลืออยู่ในห้องขังใต้ถุนศาลแค่ 3 คนว่า ต้องได้ไปเปลี่ยนกางเกงขาสั้นเตรียมเข้าเรือนจำแล้ว โดยเขาตั้งใจมาแต่ต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางเงินประกัน เขาก็จะไม่ยื่นประกัน
คำฟ้องของพนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ในคดีนี้ระบุว่า เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 จำเลยได้เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะในกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ใน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยจำเลยได้เชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมกิจกรรมดังกล่าว, พูดเชิญชวนให้ผู้มาร่วมชุมนุมลงทะเบียน, อำนวยความสะดวกให้ผู้มาชุมนุม และพูดผ่านเครื่องขยายเสียงโจมตีและวิจารณ์การทำงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยผู้ร่วมชุมนุมมีการแสดงสัญลักษณ์ชูนิ้วมือ 3 นิ้ว ต่อต้านการทำรัฐประหาร ทั้งยังมีป้ายข้อความว่า “มาไล่ลุง ให้ไป ออกไป” อันเป็นการแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งมิใช่กรณีการชุมนุมสาธารณะที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยจำเลยไม่ได้แจ้งโดยวิธีการใดๆ ต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
คดีของโตโต้นับเป็นคดีที่ 14 ที่ถูกกล่าวหาว่า ไม่แจ้งการชุมนุม จากกิจกรรมวิ่งไล่ลุงทั่วประเทศ และเป็นคดีที่ 5 ที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาล ขณะที่มีอีก 4 คดีที่อัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง โดย 2 คดีที่ศาลสืบพยานเสร็จแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10 วรรคสอง, 14, 28 ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะใช้บังคับกับจำเลยในคดีนี้ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26, มาตรา 34 และมาตรา 44 หรือไม่ และศาลเห็นควรให้ส่งคำร้องของจำเลยต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
(อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=19355) -
วันที่: 01-09-2020นัด: สอบคำให้การเวลาประมาณ 11.00 น. ปิยรัฐพร้อมทนายความเข้าพบผู้พิพากษาในห้องคุ้มครองสิทธิ หลังจากอธิบายสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีแล้ว ศาลได้ถามคำให้การจำเลย ปิยรัฐยืนยันให้การปฏิเสธ ตามคำให้การเป็นเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว เนื่องจากการจัดกิจกรรมของจำเลยเป็นกิจกรรมในรูปแบบการวิ่ง ซึ่งเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ตามมาตรา 3(3) ผู้จัดกิจกรรมจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องแจ้งการจัดกิจกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด โดยจำเลยจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลต่อไป
ปิยรัฐยังรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1308/2562 ของศาลอาญา (คดีแกนนำคนอยากเลือกตั้ง UN62) ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ซึ่งคดีดังกล่าวมีนัดสืบพยานในเดือน ม.ค.- มี.ค. 2564
ในวันนี้ ทนายจำเลยยังได้ยื่นบัญชีพยานจำเลยต่อศาล โดยระบุพยานบุคคลที่จะนำเข้าสืบ 1 ปาก คือตัวจำเลย และพยานเอกสารอีก 4 รายการ ได้แก่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ให้ความหมายของคำว่า “กีฬา” และภาพตัวอย่างกิจกรรมการวิ่ง, ชุดนักกีฬาวิ่ง และป้ายประจำตัวผู้วิ่ง (ฺBib)
นัดต่อไปในคดีนี้เป็นนัดตรวจพยานหลักฐานก่อนการสืบพยานโจทก์ โดยมีกำหนดนัดในวันที่ 28 ก.ย. 2563
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/?p=21020)
-
วันที่: 28-09-2020นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลได้เลื่อนถามคำให้การและตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 19 ต.ค. 2563 เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรอบคอบและให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เนื่องจากจำเลยได้ยื่นคำร้องว่า ในคดีไม่แจ้งการชุมนุมของศาลจังหวัดนครพนม จากกิจกรรมวิ่งไล่ลุงที่ จ.นครพนม ซึ่งมีเนื้อหาของคดีในลักษณะเดียวกัน จำเลยได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยข้อกฎหมาย หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยก็จะมีผลผูกพันทุกองค์กร
-
วันที่: 19-10-2020นัด: ตรวจพยานหลักฐานอัยการแถลงจะนำพยานบุคคลเข้าสืบรวม 6 ปาก ทนายจำเลยแถลงนำพยานบุคคลเข้าสืบ 3 ปาก นัดสืบพยานในวันที่ 19-21 ม.ค. 2564
-
วันที่: 19-01-2021นัด: สืบพยานโจทก์เจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์แจ้งทนายจำเลยก่อนหน้าการสืบพยาน 1 วัน ว่า เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ศาลให้เลื่อนนัดสืบพยานไปเป็นวันที่ 28-30 เม.ย. 2564
-
วันที่: 28-04-2021นัด: สืบพยานโจทก์เจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์แจ้งทนายจำเลยก่อนหน้าการสืบพยาน ว่า เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ศาลให้เลื่อนนัดสืบพยานไปเป็นวันที่ 20-22 ก.ค. 2564
-
วันที่: 20-07-2021นัด: สืบพยานโจทก์ศาลให้เลื่อนนัดสืบพยานไปเป็นวันที่ 2-4 พ.ย. 2564
-
วันที่: 02-11-2021นัด: สืบพยานโจทก์เมื่อศาลออกพิจารณาคดี ปิยรัฐแถลงขอถอนคำให้การเดิม และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้อง พร้อมทั้งยื่นคำร้องประกอบคำรับสารภาพ ใจความว่า เดิมจำเลยให้การปฏิเสธ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในวันเกิดเหตุ ภายหลังกิจกรรมสิ้นสุดลง จำเลยได้เข้าติดต่อสอบถามพนักงานสอบสวน สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวตามฟ้องว่าเป็นความผิดอย่างใดหรือไม่ ซึ่งพนักงานสอบสวนแจ้งว่ามีความผิดฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่รับอนุญาตเท่านั้น
จำเลยสอบถามว่ามีความผิดอื่นอีกหรือไม่ ตำรวจแจ้งว่าไม่มี จำเลยจึงได้เสียค่าปรับในวันนั้น แต่ภายหลัง สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ได้ออกหมายเรียกให้จำเลยไปรับทราบข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ต่อมาวันที่ 24 มิถุนายน 2563 จำเลยได้เข้ามอบตัวที่ สน.ชนะสงคราม แต่กลับถูกควบคุมตัวส่งให้ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ และจำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดมาเพราะเชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งในวันที่เสียค่าปรับ
อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาแจ้งว่ายังไม่สามารถอ่านคำพิพากษาในนัดนี้ได้เลย เนื่องจากต้องส่งคำพิพากษาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ตรวจก่อน จึงนัดมาฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ย. 2564
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38499)
-
วันที่: 29-11-2021นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 9.40 น. ในห้องพิจารณาคดีที่ 2 อรุณ ดีวังพล ผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษา ระบุว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้ลงโทษปรับ 2,000 บาท จำเลยให้การสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือปรับ 1,000 บาท ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1308/2562 (คดีแกนนำคนอยากเลือกตั้ง UN62) เนื่องจากคดีนี้มีโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกต่อได้
หลังชำระค่าปรับเสร็จสิ้น โตโต้ ปิยรัฐ กล่าวถึงการตัดสินใจให้การรับสารภาพครั้งนี้ว่า หลังเสร็จสิ้นการชุมนุมวันดังกล่าว เขาได้เข้าพบตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อจ่ายค่าปรับ ฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้ขออนุญาต และใช้เส้นทางผิวการจราจรโดยไม่ได้รับอนุญาต ตำรวจได้เปรียบเทียบปรับตามความผิดทั้ง 2 ข้อหา ไปแล้ว แต่ไม่มีการแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และตัวเขาเองคิดว่าพนักงานสอบสวนน่าจะมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจในการไม่แจ้งข้อหา พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ตามที่บอกไว้ครั้งแรก
แต่กลับมาดำเนินคดีในภายหลังจึงยืนยันความบริสุทธิ์โดยการปฏิเสธมาตลอด กระทั่งตัดสินใจให้การรับสารภาพในชั้นสืบพยาน โตโต้ยังกล่าวอีกว่า เขายอมรับการถูกตัดสินว่าเป็นผู้จัดชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมได้ เพราะตั้งแต่ปี 2563-2564 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามีคนหลายกลุ่มทั่วประเทศ ต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ลาออก ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของกิจกรรมวิ่งไล่ลุงในช่วงเวลานั้น และถึงตอนนี้ประชาชนไทยมีข้อเสนอปฏิรูปทั้งโครงสร้างการเมืองและสถาบันกษัตริย์ไปไกลกว่านั้นแล้ว
นอกจากนี้เหตุที่อยากให้คดีนี้จบโดยไว เนื่องจากมีเพียงโทษปรับ เพราะตัวเขายังมีคดีจากการแสดงออกทางการเมืองอีกหลายคดี ทั้งที่กรุงเทพฯ และอุบลราชธานี ซึ่งต้องขึ้นศาลในช่วงปลายปีนี้ยาวจนถึงสิ้นปี 2565 จึงไม่อยากให้เป็นภาระในการเดินทางไปศาลของทนายความและผู้เกี่ยวข้องในคดีอีกด้วย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38499)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- อรุณ ดีวังพล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
29-11-2021
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์