ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.287/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โบราณสถานฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ข้อหา

  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.287/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ความสำคัญของคดี

นักกิจกรรมและประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำ ผู้ปราศรัย และผู้เข้าร่วมชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต่อเนื่องถึงสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563 รวม 24 ราย ถูกผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากร เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีในหลายข้อหา โดยแกนนำและผู้ปราศรัยรวม 7 ราย ถูกออกหมายจับในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (ยุยงปลุกปั่น) ทั้งหมดถูกขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นฝากขังในช่วง 15 ต.ค. - 2 พ.ย. 2563 ก่อนจตุภัทร์ได้รับการประกันตัว ส่วนคนอื่นๆ ศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังต่อ ในส่วนของผู้ชุมนุมมีการออกเป็นหมายเรียก ซึ่งมีอดีตสมาชิกกลุ่มดาวดิน 2 คน ที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมถูกออกหมายเรียกด้วย

ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศดำเนินการบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ชุมนุม พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามมาตรา 112 เพิ่มเติมกับแกนนำและผู้ปราศรัยทั้ง 7 รายเป็นคดีแรก ทั้งยังแจ้งข้อหา 116 กับผู้ถูกดำเนินคดีคนอื่น

คดีนี้ยังถือเป็นคดีแรกจากการชุมนุมในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่อัยการเร่งรัดยื่นฟ้องคดีต่อศาลในข้อหาตามมาตรา 112 อย่างผิดสังเกต และจำเลยที่เป็นแกนนำและผู้ปราศรัยทั้งเจ็ดไม่ได้รับการประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดี จนกระทั่งมีกระแสเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมือง ศาลจึงทยอยให้ประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องนักกิจกรรม 22 ราย บรรยายฟ้องโดยสรุปดังนี้

จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน อาทิ จัดกิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อชุมนุมทางการเมืองโดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ทางราชการกำหนด และไม่ได้แจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม ซึ่งเป็นผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง จึงเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จำเลยยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง คือได้จัดการชุมนุมสาธารณะ มีการปราศรัยแสดงความเห็นในลักษณะเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ยุบสภา เรียกร้องให้รัฐบาลมีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารประเทศ เรียกร้องให้ประชาชนออกมาช่วยยืนหยัดต่อสู้เพื่อทวงคืนอำนาจอธิปไตย แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย และได้ทำการปิดล็อกประตูเข้าออกมหาวิทยาลัย แต่พวกของจำเลยได้ใช้เครื่องเสียงประกาศโดยขู่เข็ญให้เปิดประตูให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปภายใน สั่งการให้ผู้ชุมนุมก่อความวุ่นวายขึ้น และเข้าทำลายประตูทางเข้าออกมหาวิทยาลัย ก่อนได้ร่วมกันพากลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนหลายร้อยคนเข้าไปภายใน

ต่อมา ยังได้มีผู้ชุมนุมใช้คีมขนาดใหญ่ตัดทำลายแม่กุญแจและโซ่ซึ่งคล้องประตูมหาวิทยาลัยฝั่งท่าพระจันทร์จนได้รับความเสียหาย ก่อนได้ชักชวนให้กลุ่มผู้ชุมนุมในมหาวิทยาลัยออกไปชุมนุมที่ท้องสนามหลวงแทน โดยได้เดินล้ำเข้าไปในทางจราจร และกีดขวางการจราจรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และยังมีการร่วมกันใช้กำลังทำให้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหาย ได้แก่ การพังรั้วเหล็ก เป็นเหตุให้รั้ว 1 อัน ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวน 264 บาท และตัดกุญแจที่ปิดล็อกรั้วดังกล่าว

จำเลย 7 คน ยังได้ปราศรัยบนรถบรรทุก และบนเวทีเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และกระทำจาบจ้วง หมิ่นประมาท ดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิใช่การกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายพระมหากษัตริย์ บิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง อันเป็นการปลุกปั่น ยุยง ส่งเสริมประชาชน ให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่อง และเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถึงขนาดที่จะไปชุมนุม ประท้วง ขู่เข็ญ หรือบังคับกดดันให้รัฐบาล รัฐสภา และขู่เข็ญหรือบังคับให้พระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้ประชาชน อันจะทำให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร เป็นเหตุให้ประชาชนที่ได้รับฟังคำปราศรัยดังกล่าว ตะโกน ตอบโต้ โห่ร้อง ปรบมือ สนับสนุน อันเป็นการทำให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

จำเลย 9 คน ยังได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลง รื้อถอน ทำลายโบราณสถาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร โดยร่วมกันใช้เครื่องมือขุดเจาะพื้นคอนกรีตบริเวณทางเดินคอนกรีตในพื้นที่สนามหลวง เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณนั้นได้รับความเสียหาย ประเมินราคาเป็นเงินจำนวน 16,781.62 บาท

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2564 และคดีหมายเลขดำที่ 539/2564 ลงวันที่ 8 มี.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.30 น. พ.ต.ท.โชคอำนวย วงศ์บุญฤทธิ์ รอง ผกก. (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม เดินทางไปแจ้งข้อกล่าวหาจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” จากกรณีการชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร ขณะจตุภัทร์ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี หลังถูกจับกุมพร้อมคณะราษฎรอีสานรวม 21 ราย ระหว่างตั้งเต็นท์เพื่อปักหลักรอการชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 14 ต.ค. 2563 บริเวณทางเท้าหน้าร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

    พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจตุภัทร์รวม 7 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, ฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385, ร่วมกันกีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 114 และร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19 โดยมีทนายความเข้าร่วม จตุภัทร์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    เวลา 13.25 น. หลังการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้นำตัวจตุภัทร์ไปยังศาลอาญาเพื่อขออำนาจในการฝากขัง ขณะที่รถเลี้ยวออกจาก บก.ตชด. จตุภัทร์เปิดกระจกจากรถผู้ต้องขังพร้อมตะโกน #ศักดินาจงพินาศประชาราษฎร์จงเจริญ

    ที่ศาลอาญา พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังจตุภัทร์ อ้างเหตุว่า การสอบสวนไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบพยานเพิ่มอีก 6 ปาก, รอผลการตรวจลายนิ้วมือและประวัติอาชญากรรม และคดีนี้ยังมีอัตราโทษสูง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงขออำนาจศาลฝากขังไว้เป็นเวลา 12 วัน และคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากผู้ต้องหามีพฤติการณ์ไปชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองในลักษณะเดิมอีก และผู้ต้องหายังอยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีอยู่หลายคดีและหลายท้องที่

    ทนายความได้ยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขัง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่มีเหตุหรือความจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ เป็นคดีเกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ผู้ต้องหาไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ และยังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ได้มีเจตนาจะหลบคดี ทั้งยังไม่เคยมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหามาก่อน จตุภัทร์แถลงเพิ่มเติมด้วยว่า พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับตนโดยจงใจใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมตามกฎหมาย

    เวลา 18.00 น. หลังการไต่สวนฝากขัง ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังจตุภัทร์ ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน จากนั้น ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ใช้ตำแหน่งในการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ ต่อมา นายสันติ บุตร ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหามีพฤติการณ์ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หากปล่อยตัว อาจมีพฤติการณ์ในลักษณะเช่นเดียวกันอีก ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกัน

    เวลาประมาณ 18.40 น. เจ้าหน้าที่ได้นำตัวจตุภัทร์ไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา บก.ตชด.ภาค 1 และรายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 14 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22339)
  • เวลา 11.18 น. สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมทางการเมือง ถูกจับกุมตามหมายจับศาลอาญาที่ 1590/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค. 2563 ระหว่างอยู่กับเอกชัย หงส์กังวาน ที่ สน.ลาดพร้าว ที่ถูกจับกุมจากบ้านพักขณะจะออกเดินทางไปมอบตัวตามหมายจับในคดีตามมาตรา 110 จากนั้นตำรวจได้นำตัวสมยศไปยัง สน.ชนะสงคราม

    หลังทำบันทึกจับกุม พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาสมยศรวม 4 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ

    พนักงานสอบสวนระบุพฤติการณ์ที่สมยศถูกกล่าวหาคือ โพสต์ข้อความเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปมาร่วมชุมนุม และเข้าร่วมชุมนุม พร้อมทั้งกล่าวปราศรัยต่อหน้าผู้ชุมนุม โดยมีเนื้อหาพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน สมยศให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา กระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำเสร็จในช่วงค่ำ สมยศจึงถูกขังที่ สน.ชนะสงคราม 1 คืน

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 16 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22193)

    วันเดียวกันนี้ ที่ศาลอาญา ทนายความเดินทางไปยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างสอบสวนจตุภัทร์เป็นครั้งที่ 2 แต่ศาลมีคำสั่งเมื่อเวลา 16.30 น. ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างเหตุว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 16 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3343833745666456)
  • พนักงานสอบสวนควบคุมตัวสมยศไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อขอฝากขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังไว้มีกำหนด 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 17-28 ต.ค. 2563 ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส.ของนายทวี สอดส่อง เป็นหลักทรัพย์ประกัน

    15.15 น. เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกัน ระบุเหตุผลว่า คดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง กระทบต่อความมั่นคงและสังคมส่วนรวม ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อาจไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือไปมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันอีก

    สมยศจึงถูกควบคุมตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นับเป็นการกลับเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่ 2 หลังจากติดคุกมา 7 ปีเต็ม ในคดีมาตรา 112 และเพิ่งได้รับการปล่อยตัวในปี 2561

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 17 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22193)

    ช่วงค่ำ เวลา 20.40 น. "ไมค์" ภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำนักกิจกรรม ถูกชุดเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจาก กก.สส.1 บก.สส.บช.น. เข้าจับกุมบริเวณ ซ.รามคำแหง 26 ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1587/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค. 2563 ข้อหายุยงปลุกปั่น และมั่วสุมก่อความวุ่นวาย โดยเป็นหัวหน้า หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแฟลชม็อบที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในช่วงเย็น พร้อมกับณัฐชนน พยัฆพันธ์ นักกิจกรรมอีกราย ซึ่งถูกจับตามหมายจับของศาลแขวงปทุมวันในคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2563

    ไมค์ระบุว่าได้มีเจ้าหน้าที่ได้ขับรถจักรยานยนต์ติดตามมา 5-6 คันรถ แล้วเข้าทุบกระจกรถจนแตก เพื่อให้รถหยุด เขาเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต แม้ทั้งสองคนจะขอให้รอทนายความก่อน แต่เจ้าหน้าที่ยืนยันควบคุมตัวไป สน.หัวหมาก เพื่อทำบันทึกจับกุม ก่อนนำไปที่ บก.ตชด.ภาค 1 ควบคุมตัวไว้รอพนักงานสอบสวนเดินทางไปแจ้งข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 18 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3344722572244240)
  • เวลา 15.00 น. พ.ต.ท.โชคอำนวย วงศ์บุญฤทธิ์ รอง ผกก. (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม เดินทางไปแจ้งข้อกล่าวหาภาณุพงศ์ที่ บก.ตชด.ภาค 1 รวม 2 คดี คือ คดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาในทั้งสองคดีเหมือนกันว่า ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2563 ภาณุพงศ์ได้ร่วมกับพวกประกาศนัดหมายผ่านสื่อออนไลน์ จากนั้นในวันเกิดเหตุ ภาณุพงศ์ได้เข้าร่วมกับผู้ชุมนุมผลักดันประตูรั้ว ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนเข้าไปชุมนุมในธรรมศาสตร์และขึ้นปราศรัยบนรถเครื่องเสียง รวมทั้งต่อมามีการเคลื่อนมาตั้งเวทีที่สนามหลวง ภาณุพงศ์ยังได้กล่าวปราศรัย โดยมีเนื้อหาพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต่อมา วันที่ 20 ก.ย. 2563 ภาณุพงศ์ได้ร่วมกับผู้ชุมนุมทำพิธีปักหมุดคณะราษฎรลงบนพื้นที่สนามหลวง และเดินไปยื่นหนังสือถึงองคมนตรี

    จากนั้น พ.ต.ท.โชคอำนวย ได้แจ้งข้อกล่าวหาภาณุพงศ์ ดังนี้

    1. คดีอาญาที่ 426/2563 ซึ่งกรุงเทพมหานคร โดยนายสุรเดช อำนวยสาร และกรมศิลปากร โดยนายสถาพร เที่ยงธรรม เข้าแจ้งความร้องทุกข์ กรณีภาณุพงศ์ได้ร่วมกับผู้ชุมนุมทำพิธีปักหมุดคณะราษฎรลงบนพื้นที่สนามหลวง ในความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และแก้ไข ต่อเติม เปลี่ยนแปลง ทำลายโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ มาตรา 10

    2. คดีอาญาที่ 430/2563 ซึ่ง พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม กับพวก เป็นผู้แจ้งความกรณีการจัดเวทีชุมนุมปราศรัย ในความผิดฐาน ร่วมกันยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, ไม่แจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, ฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ, ร่วมกันกีดขวางการจราจร, ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ภาณุพงศ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในทั้ง 2 คดี

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม คดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 18 ต.ค. 2563)
  • ภาณุพงศ์ถูกนำตัวมายังศาลอาญา พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ยื่นคำร้องขอฝากขังภาณุพงศ์ในทั้งสองคดีๆ ละ 12 วัน ระหว่างวันที่ 19 – 30 ต.ค. 2563 ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังมีกำหนด 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-25 ต.ค. 2563

    ราว 16.00 น. ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ โดยใช้เงินประกันจาก 'กองทุนดา ตอร์ปิโด' กองทุนซึ่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุม คดีละ 100,000 บาท รวมแล้ว 200,000 บาท โดยระบุเหตุผลว่า

    1. ภาณุพงศ์เป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและยังต้องไปเรียน 2. ภาณุพงศ์เป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่มีอิทธิพลจะยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน 3. ภาณุพงศ์ศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งประพฤติดีมาตลอด 4. ยังไม่มีการพิพากษาว่าภาณุพงศ์เป็นผู้กระทำผิด ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งไทยเป็นภาคีในข้อ 14 (1) ตลอดจนรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2560 ยังได้บัญญัติรับรองหลัก “เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด” 5. “สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม” เป็นสิทธิมนุษยชนสำคัญซึ่งสากลยอมรับ การกระทำของเจ้าพนักงานเป็นการยับยั้งเสรีภาพของประชาชน 6. ในประเทศไทยที่ขณะนี้หลักการสำคัญหลายประการพังทลายลง มีเพียงอำนาจศาลที่จะช่วยตรวจสอบอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

    เวลา 16.50 น. ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวภาณุพงศ์ในทั้งสองคดี โดยระบุเหตุผลเหมือนกัน คือ “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งยังกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของสังคมโดยรวม ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว กรณีน่าเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาอาจไปชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือยุยงส่งเสริมให้เกิดความไม่สงบแก่บ้านเมืองหรือก่อเหตุร้ายประการอื่นอีก จึงไม่อนุญาตให้ยกคำร้อง คืนหลักทรัพย์”

    หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ราชฑัณฑ์ได้นำตัวภาณุพงศ์ไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 19 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3351385061577991)

    วันเดียวกันนี้เวลา 11.30 น.​ ตำรวจจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 (บก.สส.ภ.4) ในชุดนอกเครื่องแบบ​เกือบ 10 นาย​ เข้าจับกุมปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ที่หอพักหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่น​ โดยแสดงหมายจับของศาลอาญาที่ 1589/2563 ในข้อหาตามมาตรา 116 ก่อนควบคุมตัวปติวัฒน์ขึ้นรถไปที่ กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4 ทำบันทึกจับกุม และนำตัวไปลงบันทึกประจำวันที่ สภ.เมืองขอนแก่น

    จากนั้น ตำรวจได้ควบคุมตัวปติวัฒน์ออกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ด้วยรถกระบะ 4 ประตู โดยแจ้งปติวัฒน์และทนายว่า จะนำตัวไป สน.ชนะสงคราม แต่ในระหว่างทางได้รับแจ้งจากตำรวจว่า เปลี่ยนจุดหมายเป็น บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี

    ราว 19.30 น. ปติวัฒน์ถูกนำตัวถึง บก.ตชด. ภาค 1 พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่า ปติวัฒน์ได้เข้าร่วมการชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และขึ้นปราศรัยบนรถยนต์เวทีเคลื่อนที่โดยใช้เครื่องขยายเสียง มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ และได้แจ้งข้อกล่าวหาปติวัฒน์ว่า ร่วมกันยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และร่วมกันใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ปติวัฒน์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 19 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22271)
  • พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวปติวัฒน์ออกจาก บก.ตชด.ภาค 1 ไปที่ศาลอาญาเพื่อยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน มีกำหนด 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 20-31 ต.ค. 63 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ขณะที่ทนายจากพรรคเพื่อไทยยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง ระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด เป็นเพียงการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและเป็นการเรียกร้องทางการเมืองโดยสุจริตชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

    ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตามคำขอของพนักงานสอบสวนเพียง 7 วัน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นโดยเร็ว ทนายความจึงดำเนินการยื่นประกันตัว โดยนายภาควัต ศรีสุรพล ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.ขอนแก่น ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส.ยื่นเป็นหลักประกัน แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน

    นายเทวัญ รอดเจริญ ผู้พิพากษาระบุเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ประกันตัวปติวัฒน์ว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา ประกอบกับคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน เห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง กระทบต่อความมั่นคง และสังคมส่วนรวม อีกทั้งเจ้าพนักงานจับกุมผู้ต้องหาได้ตามหมายจับ กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากให้ประกัน ผู้ต้องหาจะหลบหนี และจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือไปมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันอีก” ทำให้แบงค์ต้องถูกควบคุมตัวไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงเย็น

    เมื่อปี 58 “หมอลำแบงค์” พร้อม “กอล์ฟ-ภรณ์ทิพย์” เคยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในคดี ม.112 จากการแสดงละครเวทีเรื่อง “เจ้าสาวหมาป่า” มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยขณะนั้นเขาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนที่จะเขาพ้นโทษจำคุกได้รับอิสระภาพเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 60 สี่ปีต่อมาเขาต้องถูกขังในเรือนจำอีกครั้ง

    นอกจากคดีจากการชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ปติวัฒน์ยังถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุม #อีสานบ่ย่านเด้อ ที่ จ.ขอนแก่น เมื่อ 23 ก.ค. 63

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 20 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22271)

    ด้านพริษฐ์ ชิวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แม้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำอำเภอธัญบุรีในเวลา 14.15 น. หลังศาลจังหวัดธัญบุรีอนุญาตให้ประกันในคดีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 แต่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม ได้เข้าอายัดตัวต่อทันทีตามหมายจับศาลอาญาที่ 1585/2563 และ 1586/2563 ควบคุมไปที่ บก.ตชด.ภาค 1 โดยมีพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจ 3 แห่ง ซึ่งขอออกหมายจับทั้งสองไว้ก่อนหน้านี้ได้ทยอยเดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาใน 3 คดี ได้แก่ คดีชุมนุม #19กันยาทวงคืนอํานาจราษฎร, คดีการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 63 และคดีการชุมนุมที่ท่าน้ำนนทบุรี เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 63

    สำหรับคดีชุมนุม #19กันยาทวงคืนอํานาจราษฎร รอง ผกก.(สอบสวน) สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์และปนัสยา ในคดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 รวม 10 ข้อหา เช่นเดียวกับภาณุพงศ์ แต่ข้อหาของปนัสยาต่างจากพริษฐ์ในข้อหามั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งพนักงานสอบสวนระบุว่า ปนัสยาเป็นหัวหน้าในการกระทำความผิด (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคท้าย)

    นักกิจกรรมทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม บก.ตชด.ภาค 1 ลงวันที่ 20 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3352987684751062)

    วันเดียวกันนี้ ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันจตุภัทร์ต่อศาลอุทธรณ์ คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 ระบุเหตุผลว่า

    1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 ได้รับรองหลักสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด

    2. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้ประกัน อ้างว่า ผู้ต้องหามีลักษณะเป็นการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองนั้น คลาดเคลื่อนต่อหลักการวินิจฉัยสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่ก่อให้เกิดความรุนแรงดังที่พนักงานสอบสวนระบุไว้ในสำนวนคดี ผู้ต้องหาเพียงแต่ใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งกติการะหว่างประเทศรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง รับรองไว้ จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้าย และไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปก่อความวุ่นวายในที่ชุมนุม

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ศาลอาญา ลงวันที่ 20 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3359802534069577
  • เวลา 11.00 น. พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ควบคุมตัวพริษฐ์และปนัสยาออกจาก บก.ตชด.ภาค 1 เพื่อไปขอศาลอาญาฝากขังครั้งที่ 1 เป็นเวลา 12 วัน ขณะทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง จากนั้นศาลอาญาได้อนุญาตให้ฝากขังทั้งพริษฐ์และปนัสยาเป็นเวลา 7 วัน

    ต่อมานักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คนได้ใช้ตำแหน่งอาจารย์ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองคน จนเวลา 15.20 น. ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุเหตุผลว่าพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมแล้ว เห็นว่าหากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว น่าเชื่อว่าผู้ต้องหาจะไปทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นอีก ในชั้นนี้จึงให้ยกคำร้อง

    เวลา 15.40 น. เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวทั้งสองคนไปยังเรือนจำ โดยพริษฐ์ถูกนำตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่วนปนัสยาถูกนำตัวไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง

    วันนี้ทนายความยังยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันสมยศ ยืนยันหลักสันนิษฐานว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด รวมทั้งยืนยันว่า การกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งกติการะหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 รับรองไว้ จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ศาลอาญา ลงวันที่ 21 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3354599241256573)
  • ทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันไมค์, เพนกวิน และรุ้ง ให้เหตุผลว่า ปัจจุบันผู้ต้องหาเป็นนักศึกษา มีภาระต้องเข้าเรียน นำเสนองาน และสอบให้ครบตามกำหนด หากไม่ได้รับการประกันตัว จะกระทบโดยตรงต่อสิทธิและอนาคตทางการศึกษาของผู้ต้องหาอย่างร้ายแรง อีกทั้งรุ้งยังมีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคหอบหืด การถูกขังไว้ในเรือนจำที่แออัดอาจทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นจนเป็นอันตราย

    นักกิจกรรมทั้งสามยืนยันในหลักสันนิษฐานว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 อันเป็นผลให้ผู้ต้องหาต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดี

    รวมทั้งยืนยันว่า การกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งกติการะหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 รับรองไว้ จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ศาลอาญา ลงวันที่ 22 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3362633340453163)
  • เวลา 13.40 น. ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้ประกัน “ไผ่” จตุภัทร์ โดยกำหนดวงเงินประกัน 70,000 บาท หลังจากทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส.วางเป็นหลักประกันแทนเงินสด เมื่อทำสัญญาประกันเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำหมายปล่อยไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อนไผ่ได้รับการปล่อยตัวในช่วงเย็น

    วันเดียวกันนี้ ทนายความได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่ให้ประกันปติวัฒน์ของศาลชั้นต้น

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 23 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3359802534069577)
  • ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันสมยศ, ไมค์, เพนกวิน และรุ้ง ลงวันที่ 23 ต.ค. 2563 อ้างเหตุคล้ายคลึงกันว่า

    "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า การกระทำตามข้อกล่าวหามีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลจำนวนมากอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้น และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ชักนำให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน โดยการบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้วยังปรากฏว่า ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายคดีในหลายท้องที่ กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าในชั้นนี้หากอนุญาตให้ประกัน ผู้ต้องหาอาจจะก่อให้เกิดเหตุอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น และน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาอาจจะหลบหนี กรณีสมควรรอฟังผลการสอบสวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว"

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 23 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3362633340453163)
  • เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา ทนายความยื่นประกันตัวพริษฐ์ (เพนกวิน), ปนัสยา (รุ้ง) และภาณุพงศ์ (ไมค์) เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 63 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตามศาลชั้นต้น โดยการประกันวันนี้ใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดคนละ 5 แสนบาท แทนการใช้ตำแหน่งอาจารย์ และ ส.ส.

    ต่อมา เวลา 15.07 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน อ้างเหตุว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ที่เคยสั่งไม่ให้ประกัน เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาทั้งสองจะไปกระทำการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นอีก

    นอกจากนี้ ศาลยังอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ลงวันที่ 24 ต.ค. 2563 ไม่ให้ประกันปติวัฒน์ อ้างเหตุที่ไม่ให้ประกันว่า

    "การกระทำตามข้อกล่าวหามีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลจำนวนมากอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้น และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ผู้ต้องหาขึ้นปราศรัยชักนำให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน ประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมตามหมายจับ เมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากอนุญาตให้ประกัน ผู้ต้องหาอาจจะก่อให้เกิดเหตุอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น และน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาอาจจะหลบหนี กรณีสมควรรอฟังผลการสอบสวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว"

    ส่วนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง ครอบครัว กลุ่มอาจารย์ และเพื่อนขอเข้าเยี่ยม รุ้ง และเพนกวิน แต่ไม่ได้เข้าเยี่ยม จึงเพียงแต่ฝากหนังสือและข้อความเข้าไป มีเพียงทนายความที่ได้เข้าเยี่ยมทั้งสอง พร้อมทั้งไมค์ และสมยศ ขณะที่มีทนายความจากพรรคเพื่อไทยเดินทางเข้าเยี่ยมแบงค์

    ขณะที่ จ.เชียงใหม่ หลังศาลจังหวัดเชียงใหม่อนุญาตให้ประกันอานนท์ ในคดีการชุมนุม 9 ส.ค. 2563 และปล่อยตัวจากเรือนจำกลางเชียงใหม่ในช่วงค่ำ ตำรวจภูธรภาค 5 ได้เข้าอายัดตัวอานนท์ต่อตามหมายจับของศาลอาญาในคดีชุมนุม #19กันยาทวงคืนอํานาจราษฎร เพื่อคุมตัวเดินทางโดยรถตู้หมายเลขทะเบียน ฮษ 9923 กทม. ไม่มีสัญลักษณ์บ่งชี้ว่าเป็นรถตำรวจ มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ โดยมีตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมตัวรวม 7 นาย และอนุญาตให้ทนายนั่งไปด้วย 2 คน เดินทางถึง สภ.ทรงธรรม จ.กำแพงเพชร ก็เปลี่ยนเป็นรถกระบะ

    (อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3368609549855542)
  • เวลา 05.15 น. ตำรวจนำตัวอานนท์เดินทางถึง สน.ชนะสงคราม กรุงเทพฯ ในครั้งแรก เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่า จะนำตัวอานนท์ไปสอบสวนที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี แต่อานนท์ยืนยันให้สอบสวนที่ สน.ชนะสงคราม ตามที่ศาลระบุไว้ในหมายจับ เมื่อตำรวจควบคุมตัวถึง สน.ชนะสงคราม พนักงานสอบสวนยังพยายามให้นำตัวอานนท์ไปที่ บก.ตชด.ภาค 1 แต่อานนท์ยืนยันไม่ไป

    ต่อมา ประมาณ 11.00 น. พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ พนักงานสอบสวนเดินทางมาถึง สน.ชนะสงคราม ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาทนายอานนท์รวม 2 คดี ได้แก่

    1. กรณีปราศรัย #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร แจ้งข้อกล่าวหา 7 ข้อหา ได้แก่ ยุยงปลุกปั่น, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, กีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, มาตรา 215, มาตรา 385, ไม่แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, ร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ

    2. กรณีปัก #หมุดคณะราษฎร2563 แจ้งข้อกล่าวหา 4 ข้อหา ได้แก่ เป็นผู้แก้ไข เปลี่ยนแปลง ต่อเติม ทำลายโบราณสถานหรือส่วนต่างๆ ของโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี ตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, ร่วมกันตั้งวางหรือกองวัตถุใดๆ บนถนน และร่วมกันติดตั้งตาก วาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ

    อานนท์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนจะนำตัวไปขออำนาจศาลอาญา รัชดาฯ ฝากขัง ในเวลา 12.40 น.

    ประมาณ 14.00 น. ทนายความยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยนอกจากคำร้องคัดค้านที่ทนายยื่นแล้ว อานนท์ยังยื่นคำร้องคัดค้านด้วยตนเอง มีเนื้อหาดังนี้

    “คดีนี้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาวันนี้ โดยอายัดตัวผู้ต้องหาจากเรือนจำกลางเชียงใหม่ ซึ่งผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ภายหลังจากถูกจับกุมเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 63 บริเวณทำเนียบรัฐบาล ซึ่งผู้ต้องหาได้ประกาศสลายการชุมนุมประมาณ 04.00 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่ขังผู้ต้องหา 12 วัน ผู้ต้องหายอมรับว่าขณะเขียนคำร้องคัดค้านฝากขังนี้ ความศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมได้ลดน้อยถอยลงไปมาก ภายหลังจากทราบข่าวการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 ต.ค. และมีการจับกุมนักศึกษาและประชาชนจำนวนหลายรายโดยไม่ได้รับการประกันตัว รวมทั้งเหตุการณ์การสลายการชุมนุมโดยใช้ศาลเคมีในวันต่อมาบริเวณสี่แยกปทุมวัน ผู้ต้องหาได้เห็นภาพอันน่าสะเทือนใจที่เห็นน้องๆ นักเรียนออกมาเป็นแนวหน้าในการชุมนุมครั้งนี้โดยร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนไม่หวั่นไหวต่ออันตราย ผู้ต้องหาจึงเข้าใจว่า คำว่า “มิตรแท้” ในห้วงเวลาวิกฤตเป็นเช่นไร และเห็นถึงความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงชีวิตผู้ต้องหา

    ผู้ต้องหาขอเรียนยืนยันว่า ทุกข้อเรียกร้องของพวกเราล้วนเป็นข้อเรียกร้องที่อยากเห็นบ้านเมือง เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยข้อเรียกร้องข้อที่ 1 คือการให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก ทั้งนี้เพราะไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศและเป็นต้นตอของปัญหาทางการเมือง ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่รัฐประหารเข้ามา ได้ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมลงอย่างสิ้นเชิง และเมื่อเขาลาออกแล้วต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย นั่นคือข้อเรียกร้องข้อที่ 2

    ข้อเรียกร้องประการสุดท้าย คือการให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ อันเป็นข้อเรียกร้องที่สำคัญยิ่ง เพราะนับจากรัฐบาลของประยุทธ์ได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้มีการขยายพระราชอำนาจของสถาบันฯ อย่างกว้างขวางและไม่เคยปรากฎมาก่อน เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านประชามติแล้ว การออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันมีผลทำให้องค์พระมหากษัตริย์สามารถจัดการทรัพย์สินซึ่งบางส่วนเป็นของสาธารณะได้ตามพระราชอัธยาศัย มีการตั้งหน่วยราชการในพระองค์ ทำให้องค์พระมหากษัตริย์เข้ามาบริหารราชการด้วยพระองค์เอง และล่าสุดมีการตรากฎหมายโอนกำลังพลทหารจำนวนมากไปเป็นหน่วยงานในพระองค์ ซึ่งทั้งหมดขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในสาระสำคัญทั้งสิ้น และไม่สอดคล้องกับหลักการ “ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง” ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ นอกจากนั้นยังมีข้อเรียกร้องอื่นๆ เช่น ให้พระมหากษัตริย์กลับมาอยู่ในประเทศ เพื่อประหยัดเงินค่าใช้จ่ายของรัฐที่แต่ละปีงบประมาณต้องใช้จ่ายส่วนนี้มหาศาล

    ผู้ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดของพวกเราต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ในร่องในรอย ทัดเทียมนานาอารยประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ปกครองในระบอบเดียวกัน

    การฝากขังผู้ต้องหาครั้งนี้มีเจตนาใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิทางการเมืองของผู้ต้องหา ไม่มีเหตุผลในการขังผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาแต่อย่างใด และแม้ศาลสั่งขังผู้ต้องหาไว้ในคุก บรรดาพี่น้องประชาชนก็ยังต้องต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสามข้อต่อไป วิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งนี้สามารถหาข้อยุติได้ด้วยการเปิดใจให้อภิปรายถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ขอศาลได้โปรดยกคำร้องของพนักงานสอบสวนให้ผู้ต้องหาได้ใช้เสรีภาพทางการเมืองตามเจตนารมณ์ด้วย”

    15.30 น. ศาลไต่สวนการขอฝากขังอานนท์แล้วเสร็จ โดยพนักงานสอบสวนแถลงเหตุที่ขอฝากขังผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนไว้มีกำหนด 12 วัน ว่า ต้องรอผลตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหา และสอบพยานเพิ่มเติมอีก 6 ปาก ได้แก่ ตำรวจผู้จับกุม, ตำรวจฝ่ายสืบสวน และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านอานนท์แถลงต่อศาลถึงเหตุผล 5 ข้อที่คัดค้านคำร้องฝากขัง ได้แก่

    1. แม้ไม่ขังผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนก็สามารถสอบสวนได้
    2. คดีอื่นที่ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดี ผู้ต้องหาได้ประกันตัวทุกคดี และไม่เคยหลบหนี ให้ความร่วมมือทุกคดี
    3. คดีนี้เหตุเกิด 19-20 ก.ย. 63 ถ้าพนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขวนขวายก็สามารถสอบพยานเสร็จได้
    4. คดีที่เชียงใหม่ ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกีบคดีนี้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ให้ประกันตัว เพราะผู้ต้องหามีอาชีพทนายความ และหลักประกันเป็นเงินสดหลักประกันน่าเชื่อถือ
    5. ถ้าศาลนี้รับฝากขัง จะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ต้องหาเกินจำเป็น

    16.30 น. ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 2 แสนบาท เนื่องจากเกรงว่าจะยื่นไม่ทันในเวลาราชการ

    ต่อมา เวลา 16.40 น. ก่อนที่อานนท์และทนายความจะทราบว่า องค์คณะผู้พิพากษาที่ไต่สวนคำร้องขอฝากขังมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด ก็ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ อ้างเหตุว่าหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวอาจไปก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อบ้านเมืองขึ้นอีก

    “พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งข้อหาแล้ว เห็นว่าหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวอาจไปก่อให้เกิดเหตุความวุ่นวายต่อบ้านเมืองขึ้นอีก ตลอดจนพนักงานสอบสวนคัดค้านในชั้นนี้ จึงให้ยกคำร้อง”

    16.49 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา 7 วัน องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย นายอนุชา ทองวงศ์สกุล, นายอดิศักดิ์ ศรีวิพัฒน์ และ น.ส.ณัฐพร สังข์น้อย ระบุเหตุผลในการอนุญาตฝากขังว่า หากไม่มีการฝากขังไว้ก็จะเป็นอุปสรรคในการสอบสวน ประกอบกับ “ข้อคัดค้านของผู้ต้องหาไม่มีน้ำหนักหักล้าง เมื่อมีพฤติการณ์ถึงเหตุจำเป็นของผู้ร้องตามที่ได้ไต่สวนได้ความแล้ว เห็นสมควรให้เร่งรัดการสอบสวนให้เสร็จสิ้นโดยเร็วจึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา 7 วัน”

    พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บทบัญญัติเรื่องการฝากขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้วางหลักเกณฑ์การควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้ไม่เกินกว่าความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีเพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คดีนี้ผู้ร้องรับตัวผู้ต้องหาจากเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมแล้วนำตัวมาฝากขังต่อศาลภายในเวลา 48 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาตามกฎหมาย ผู้ร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลนี้เป็นครั้งแรกอ้างว่าต้องสอบสวนพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก 6 ปาก รอผลการตรวจสอบทะเบียนประวัติอาชญากรและผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา ซึ่งผู้ร้องและผู้ต้องหาแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีในลักษณะเดียวกับคดีนี้หลายคดี หากไม่มีการฝากขังไว้ก็จะเป็นอุปสรรคในการสอบสวน

    ผู้ต้องหาคัดค้านว่าผู้ร้องสามารถสอบสวนได้โดยไม่จำเป็นต้องฝากขัง แม้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีหลายคดีแต่ทุกคดีก็ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แสดงว่าไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และการกระทำของผู้ต้องหาเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 10 ปี พนักงานสอบสวนมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลได้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 12 วันรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน โดยอ้างว่ามีเหตุจำเป็นต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมซึ่งการฝากขังเป็นกระบวนการก่อนฟ้องที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาล แต่หลังจากนั้นผู้ต้องหาก็สามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวว่า ไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวไว้ระหว่างการสอบสวนได้ กรณีตามคำร้องมีเหตุผลและความจำเป็นที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล ข้อคัดค้านของผู้ต้องหาไม่มีน้ำหนักหักล้าง เมื่อมีพฤติการณ์ถึงเหตุจำเป็นของผู้ร้องตามที่ได้ไต่สวนได้ความแล้ว เห็นสมควรให้เร่งรัดการสอบสวนให้เสร็จสิ้นโดยเร็วจึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา 7 วัน

    เย็นวันนี้ อานนท์จึงถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยทนายความจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันในวันพรุ่งนี้ต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องคัดค้านคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 27 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22437)
  • ทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์คําสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

    1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รับรองหลักสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ส่งผลให้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติรองรับสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจําเลยที่อยู่ระหว่างการถูกดําเนินคดี ให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวเช่นกัน การที่ผู้ต้องหาต้องถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. 2563 โดยที่ไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เสมือนว่าผู้ต้องหาต้องได้รับโทษทางอาญาก่อนที่ศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุด ทําให้ผู้ต้องหาเสียโอกาสที่จะแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และเสียโอกาสที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
    2. การกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งกติการะหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 รับรองไว้ จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
    3. ผู้ต้องหาประกอบอาชีพทนายความมีภาระทางคดีที่ต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้การดําเนินคดีเพื่อกลั่น แกล้งประชาชนโดยไม่มีค่าตอบแทนอยู่หลายคดี ซึ่งหากผู้ต้องหา ถูกคุมขังไว้ระหว่างการสอบสวนย่อมกระทบต่อการทําหน้าที่ทนายความและสิทธิในการมีทนายความ ของจําเลยในคดีดังกล่าวอย่างมาก จะเห็นได้ว่า ผู้ต้องหา ไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้าย หรือมีจิตคิดเป็นอาชญากร การใช้ดุลพินิจ พิจารณามีคําสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์มีแนวโน้มที่จะก่อความวุ่นวายในที่ชุมนุม ถือว่าเกินจําเป็น อันเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา 29 อย่างชัดแจ้ง
    4. ในคดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันและข้อหาเดียวกันศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็เคยมีคําสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาแล้ว

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ศาลอาญา ลงวันที่ 28 ต.ค. 2563)
  • ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันอานนท์ลงวันที่วันเดียวกับที่ยื่นคำร้อง ระบุเหตุผลเหมือนก่นหน้าที่ไม่ให้ประกัยคนอื่นว่า

    "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า การกระทำตามข้อกล่าวหามีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลจำนวนมากอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้น และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ชักนำให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน โดยการบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้วยังปรากฏว่า ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายคดีในหลายท้องที่ กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าในชั้นนี้หากอนุญาตให้ประกัน ผู้ต้องหาอาจจะก่อให้เกิดเหตุอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น และน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาอาจจะหลบหนี กรณีสมควรรอฟังผลการสอบสวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว"

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 28 ต.ค. 2563)
  • พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 พริษฐ์ ปนัสยา ภาณุพงศ์ และปติวัฒน์ ด้านทนายความได้คัดค้านคำร้อง ต่อมาเวลา 16.15 น. ศาลอาญาได้พิจารณาคำร้องคัดค้านฝากขังและให้ยกร้องคำร้องขอฝากขัง โดยนายสันติ บุตรดี ผู้พิพากษาให้เหตุผลในกรณีของพริษฐ์ ปนัสยา และภาณุพงศ์ อย่างคล้ายคลึงกันว่า

    “พิเคราะห์คําร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 ของผู้ร้อง ประกอบคําคัดค้านของทนายผู้ต้องหาแล้วเห็นว่า ในการขอให้ฝากขังผู้ต้องหาต่อไปนั้น สืบเนื่องจากยังสอบสวนพยานทั้งบุคคลและเอกสารไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลได้อนุญาตให้ขังผู้ต้องหาทั้งสองมาแล้ว 2 ฝาก เป็นเวลา 10 วัน เป็นเวลานานเพียงพอที่ผู้ร้องจะสามารถสอบพยานบุคคลที่อ้างในคําสั่งขอฝากขังครั้งที่ 1 ว่า มีจํานวนทั้งหมด 5 ปาก และรอผลการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ และประวัติอาชญากรของผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรให้เสร็จสิ้นได้”

    “ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดๆ ว่าการสอบสวนมีความยุ่งยากจนต้องขอให้ศาลฝากขังผู้ต้องหาต่อเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งศาลต้องคํานึงและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาเป็นประการสําคัญ มิให้มีการขังเกินกว่าความจําเป็น จนกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ หากมีการสอบสวนเสร็จในภายหลังสามารถติดตามตัวผู้ต้องหามาสั่งฟ้องได้ จึงไม่มีความจําเป็นใดๆ ที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 อีกต่อไป จึงให้ยกคําร้องขอฝากขังครั้งที่ 3”

    ส่วนกรณีของปติวัฒน์ นายเทวัญ รอดเจริญ ผู้พิพากษาให้เหตุผลในการยกคำร้องขอฝากขัง ดังนี้

    “พิเคราะห์คําร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 ของผู้ร้อง ประกอบคําร้องคําคัดค้านของทนายผู้ต้องหาแล้ว ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า พยานที่พนักงานสอบสวนจะสอบปากคําเพิ่มเติมเป็นใคร เกี่ยวข้องกับพฤติการณ์การกระทําความผิดของผู้ต้องหาอย่างไร อีกทั้งเหตุผลเพื่อรอผลการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือและประวัติจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรนั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่า การสอบสวนมีความคืบหน้าอย่างไร”

    “การจะขังบุคคลใดตามคําร้องขอฝากขังของผู้ร้องนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น เหตุผลในการขอฝากขังของผู้ร้องจึงไม่พอฟังว่ามีเหตุจําเป็นที่จะต้องฝากขังผู้ต้องหารายนี้ต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ยกคําร้องขอฝากขังครั้งที่ 3”

    พริษฐ์และปนัสยา ปัจจุบันเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกควบคุมตัวตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 15 ต.ค. 63 ตามหมายจับกรณีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 63 โดยศาลจังหวัดธัญบุรีให้ประกันตัวแล้วเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 63 แต่ทั้งสองถูกอายัดตัวตามหมายจับกรณีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร อีกทั้งศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขังไว้ในระหว่างสอบสวน รวมทั้งไม่ให้ประกันตัว ทำให้ทั้งสองถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิง ตามลำดับ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 63 ทั้งสองสูญเสียอิสรภาพเป็นเวลา 16 วัน

    ส่วนภาณุพงศ์นั้น ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 63 บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตามหมายจับกรณีฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการเข้าร่วมชุมนุม #15ตุลาไปแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 63 ขณะถูกคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 ภาณุพงศ์ยังถูกแจ้งข้อหามาตรา 116 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และข้อหาฝ่าฝืนมาตรา 32 ของ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ เหตุปักหมุดคณะราษฎร 2563 ในการชุมนุมเดียวกัน ภาณุพงศ์สูญเสียอิสรภาพรวมเป็นเวลา 14 วัน

    ก่อนศาลจะไม่อนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังต่อและออกหมายปล่อยทั้งสามคน ทนายความได้ยื่นประกันตัวไปทั้งหมด 2 ครั้ง และได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้นไป 1 ครั้ง

    ด้าน “หมอลำแบงค์” หรือปฏิวัฒน์ ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. 63 ที่บริเวณหอพัก จังหวัดขอนแก่น ตามหมายจับในคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ทนายความของพรรคเพื่อไทยได้ยื่นประกันตัวในวันที่ 20 ต.ค. 63 โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยเป็นหลักประกัน ทว่าศาลอาญากลับไม่อนุญาตให้ประกันตัว แม้ว่าทนายความจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น ในวันที่ 23 ต.ค. 63 แต่ศาลอุทธรณ์กลับยกคำร้อง โดยอ้างเหตุผลคล้ายกับกรณีของพริษฐ์ ปนัสยาและภาณุพงศ์ ปติวัฒน์สูญเสียอิสรภาพรวมเป็นเวลา 12 วัน

    อย่างไรก็ตาม ขณะได้รับการปล่อยตัวเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และปนัสยา กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าอายัดตัวตามหมายจับคดีการชุมนุมที่นนทบุรี, อยุธยา และอุบลฯ อีก ทั้งที่คดีเหล่านี้ได้แจ้งกล่าวหาขณะทั้งสามถูกคุมขังที่ บก.ตชด.ภาค 1 และเรือนจำแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 หมายจับดังกล่าวสิ้นผลไปแล้ว เท่ากับว่าเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

    นอกจากนี้ยังเหลือประชาชนอีก 4 คนที่ยังคงอยู่ในเรือนจำ แบ่งเป็นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ 3 คน ได้แก่ เอกชัย หงส์กังวาน (ถูกคุมขังตั้งแต่ 16 ต.ค. 63 รวม 15 วัน), อานนท์ นำภา (ถูกคุมขังตั้งแต่ 15 ต.ค. 63 รวม 16 วัน) และสมยศ พฤกษาเกษมสุข (ถูกคุมขังตั้งแต่ 16 ต.ค. 63 รวม 15 วัน) ที่เรือนจำบางขวางอีก 1 คน ได้แก่ “ตัน” สุรนาถ แป้นประเสริฐ (ถูกคุมขังตั้งแต่ 21 ต.ค. 63 รวม 10 วัน)

    (อ้างอิง: คำร้องคัดค้านคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 ศาลอาญา ลงวันที่ 30 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22631)
  • พนักงานสอบสวนได้เข้ายื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขังอานนท์ครั้งที่ 2 และผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขัง โดยมีเนื้อหาและประเด็นในคำร้องดังนี้

    1. พฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีเหตุความวุ่นวาย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของผู้ใด
    2. ผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลธรรมดาประกอบวิชาชีพทนายความ ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้
    3. คดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหาจนเสร็จแล้ว หากผู้ต้องหาต้องอยู่ในความควบคุมระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ย่อมจะเป็นการควบคุมตัวที่เกินจำเป็น กระทบต่อการทำหน้าที่ทนายความ ทั้งยังกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาเป็นอย่างมาก
    4. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังนายภาณุพงศ์ จาดนอก, นายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ซึ่งพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เป็นผู้ร้อง อันเป็นมูลคดีเดียวกับคดีนี้ โดยศาลให้เหตุผลว่า “ศาลต้องคำนึงและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาเป็นประการสำคัญ มิให้มีการขังเกินความจำเป็น จนกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ หากมีการสอบสวนเสร็จในภายหลังสามารถติดตามตัวผู้ต้องหามาสั่งฟ้องได้ จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนอีกต่อไป”
    5. “สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม” เป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญซึ่งในทางสากลให้การยอมรับ ลำพังการใช้สิทธิ เสรีภาพดังกล่าวก็มิใช่การกระทำความผิดในตัวเอง เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล การที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังโดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปร่วมกิจกรรมอื่นใดในอนาคต เป็นการกระทำที่มุ่งจะแทรกแซงยับยั้งการใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองไว้ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ผู้ต้องหาหรือประชาชนอื่นไปใช้สิทธิตามกฎหมายต่อไปในอนาคตได้

    ศาลพิเคราะห์ว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความมั่นคง มีการตั้งพนักงานสอบสวนกว่า 50 นาย พยานที่เหลือที่ยังไม่ได้สอบปากคำเป็นเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งไม่ได้มีความยุ่งยาก ระยะเวลาฝากขัง 12 วัน จึงเพียงพอแล้ว กระบวนการตรวจสอบหลักฐานภายในอย่างเรื่องภาพเคลื่อนไหวและลายนิ้วมือเป็นกระบวนการตรวจสอบภายใน ไม่เกี่ยวกับผู้ต้องหา จึงยกคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน

    พนักงานสอบสวนยังได้ยื่นคำร้องขอฝากขังสมยศเป็นครั้งที่ 3 ทนายความก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้

    1. แม้จะมีการตั้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาตาม ป. อาญาฯ มาตรา 116 แต่ในคำร้องขอฝากขังชัดเจนว่าพฤติการณ์ที่กล่าวอ้างถึงเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ลักษณะของคดีจึงเป็นการใช้กฎหมายเพื่อปิดปากคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐเท่านั้น
    2. ผู้ต้องหาเป็นบุคคลธรรมดา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถในการจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน หลักฐานต่างๆ อย่างภาพถ่ายและวิดีโอเหตุการณ์เองก็อยู่ในความดูแลของพนักงานสอบสวน พยานบุคคลที่พนักงานสอบสวนอ้างถึง ผู้ต้องหาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร การไม่คุมขังผู้ต้องหาจึงไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน
    3. ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี อีกทั้งผู้ต้องหายังมีอายุมากแล้ว ป่วยด้วยโรคไขข้ออักเสบและโรคเก๊า ทำให้การใช้ชีวิตในเรือนจำเป็นเรื่องยากลำบาก
    4. เสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลถือเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของมวลชน ไม่ว่ารัฐบาลจะได้มาจากการเลือกตั้งหรือการทำรัฐประหาร ถือเป็นการกระตุ้นเตือนรัฐบาลโดยพลเมือง สิทธิในการชุมนุมจึงเป็นสิทธิมนุษยชนข้อสำคัญที่สากลให้การยอมรับ
    5. หากพนักงานสอบสวนเกรงว่า หากปล่อยตัวผู้ต้องหาแล้ว ผู้ต้องหาจะไปใช้เสรีภาพในการกระทำใดเพื่อทำกิจกรรมใดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐย่อมสามารถออกหมายเรียกหรือใช้อำนาจในการจับกุม ไม่จำเป็นต้องนำมาฝากขังต่อศาล การที่พนักงานสอบสวนนําตัวผู้ต้องหามาฝากขังโดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปร่วมกิจกรรมอื่นใดในอนาคต ถือเป็นการกระทําที่มุ่งจะแทรกแซงยับยั้งการใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองไว้
    6. คดีนี้มิใช่คดีอาญาทั่วไปที่ผู้กระทําความผิดมีเจตนาต้องการสร้างความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม แต่เป็นการเรียกร้องให้ผู้มีอํานาจดําเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกตรวจสอบมักใช้การฟ้องร้อง ดําเนินคดีทางอาญาต่อนักวิชาการ นักกิจกรรมภาคประชาชน หวังใช้กระบวนการยุติธรรมเป็น เครื่องมือในการขจัดหรือยับยั้งฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นหรือตรวจสอบการทํางานของตน หากวิธีการเช่นนี้เป็นที่ยอมรับให้กระทําได้โดยปกติ บุคคลจะขาดเสรีภาพในการแสดงออก ในสภาพการณ์ของคดีนี้ที่กล่าวมาข้างต้น จึงคงมีเพียงศาลสถิตยุติธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเสาหลักค้ำยันเป็นที่พึ่งของประชาชน

    ศาลพิเคราะห์ว่า คดีนี้เป็นคดีความมั่นคง ผู้ร้องอ้างพยานบุคคล 6 ปาก สอบปากคำไปแล้ว 2 ปาก เหลืออีก 4 ปาก 3 ปาก เป็นพนักงานในหน่วยงานรัฐ อีก 1 ปาก เป็นเจ้าหน้าที่เขต การสอบสวนไม่ยุ่งยาก ระยะเวลาที่ให้ฝากขัง 2 ครั้ง 17 วัน เพียงพอในการสอบสวน พยานหลักฐานอื่นๆ ตรวจเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอรับพยานหลักฐานที่เป็นวิดีโอและภาพของสื่อมวลชนตรวจสอบแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องขังผู้ต้องหา ให้ยกคำร้อง

    รวมอานนท์และสมยศถูกคุมขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้เป็นเวลา 7 และ 18 วันตามลำดับ

    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อ้างว่าศาลยังไม่ออกหมายปล่อย ทำให้ทั้งหมดอาจจะต้องถูกคุมขังต่ออีก 1 คืน จนกว่าหมายขังที่ศาลออกก่อนหน้านี้จะครบกำหนดในเวลาเที่ยงคืน โดยที่เรือนจำมีระเบียบไม่ให้ผู้ต้องขังออกนอกแดนในยามวิกาล สุดท้ายจากการยืนยันอำนาจขังตามหมายขัง อานนท์ สมยศ รวมทั้งสุรนาถและเอกชัยได้รับการปล่อยตัวในเวลาเที่ยงคืน

    (อ้างอิง: คำร้องคัดค้านคำร้องขอฝากขัง ศาลอาญา ลงวันที่ 2พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22683)
  • เวลา 13.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม 12 นักกิจกรรม ผู้ถูกออกหมายเรียกและมีรายชื่อว่าจะถูกดำเนินคดีในคดีนี้เพิ่มอีก ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน โดยนักกิจกรรมบางส่วนก็ยังไม่ได้รับหมายเรียก แต่ได้รับแจ้งว่าอยู่ในรายชื่อที่ตำรวจออกหมายเรียก รวมจำนวนทั้งหมด 17 ราย

    ในกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากห้องสอบสวนของ สน.ชนะสงครามมีขนาดเล็ก ทำให้มีการทยอยให้ผู้ถูกออกหมายเรียกเข้ามารับทราบข้อหาเป็นกลุ่มๆ โดยผู้ต้องหาแต่ละรายถูกแจ้งข้อกล่าวหาแตกต่างกันไป ตามพฤติการณ์ที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการชุมนุม

    นักกิจกรรม 12 ราย ที่เดินทางมาตามหมายเรียกในวันนี้ ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา 11 ราย เนื่องจากมีผู้ถูกออกหมายเรียก 1 ราย มีพยานหลักฐานมาแสดงว่าไม่ได้อยู่ในการชุมนุมดังกล่าว

    ขณะที่นักกิจกรรม 11 ราย ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา มีจำนวน 10 ราย ที่ถูกดำเนินคดีในทั้ง 2 คดี คือคดีจากการชุมนุมปราศรัย 19-20 ก.ย. และคดีการฝังหมุดคณะราษฎร ขณะที่อะดิศักดิ์ สมบัติคำ ถูกกล่าวหาคดีเดียว โดยไม่ได้ถูกกล่าวหาในคดีการฝังหมุดคณะราษฎรด้วย

    ในคดีจากการชุมนุมและปราศรัย ซึ่งมี พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม เป็นผู้กล่าวหา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาชินวัตร จัทร์กระจ่าง, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา และธนชัย เอื้อฤาชา ใน 2 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385 ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ และ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114 ร่วมกันวางสิ่งของกีดขวางการจราจร ทั้งสองข้อหานี้มีโทษเป็นอัตราโทษปรับ และแจ้งข้อกล่าวหาอรรถพล บัวพัฒน์ ใน 2 ข้อหานี้ พร้อมทั้งข้อหาใช้เครื่องขยายโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ด้านณัฐชนน ไพโรจน์ นอกจากถูกแจ้ง 2 ข้อหาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนยังแจ้งข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ และข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้วย ขณะภัทรพงศ์ น้อยผาง มีเพียงข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ และข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    ในส่วนของธานี สะสม และสุวรรณา ตาลเหล็ก ถูกแจ้งรวม 6 ข้อหา คือ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะ, กีดขวางการจราจร และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเจ้าหน้าที่อ้างถึงพฤติการณ์ที่เข้าร่วมขึ้นปราศรัยโจมตีขับไล่นายกรัฐมนตรีด้วย

    ขณะที่ไชยอมร แก้ววิบูลพันธ์, อะดิศักดิ์ สมบัติคำ และวสันต์ เสตสิทธิ์ นั้น ถูกแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เพียงข้อหาเดียว เรื่องการร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง (โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท) จากพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่า พังรั้วของกรุงเทพมหานครเข้าไปภายในสนามหลวง และกรณีพบการตัดกุญแจรอบสนามหลวง

    ส่วนคดีฝังหมุดคณะราษฎรซึ่งมีกรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากร เป็นผู้กล่าวหา นักกิจกรรม 4 ราย ได้แก่ อรรถพล บัวพัฒน์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ธนชัย เอื้อฤาชา, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา ซึ่งพนักงานสอบสวนระบุว่า ร่วมกันฝังหมุดลงบนท้องสนามหลวง ถูกแจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อหา

    1. ร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง ต่อเติม โบราณสถานหรือส่วนต่างๆ ของโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน มาตรา 10 (โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท)
    2. ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 (โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท)
    3. ร่วมกันติดตั้ง ตากวาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 39 (โทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท)

    ในส่วนของไชยอมร แก้ววิบูลพันธ์ และวสันต์ เสดสิทธิ์ ถูกแจ้งเฉพาะข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์เพียงข้อหาเดียว กรณีพังรั้วรอบสนามหลวง

    ส่วนกรณีธานี สะสม, ณัฐชนน ไพโรจน์, นายภัทรพงศ์ น้อยผาง และสุวรรณา ตาลเหล็ก ถูกแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ เพียงข้อหาเดียว โดยในส่วนของณัฐชนนยังปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในเอกสารการแจ้งข้อหา เนื่องจากเห็นว่าพฤติการณ์ที่พนักงานสอบสวนอ้าง ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

    ผู้ต้องหาทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในทั้งสองคดี และขอให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน

    ขณะเดียวกันกรณีของนายวสันต์ เสดสิทธิ์ และนายสุวิชชา พิทังกร อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและสมาชิกกลุ่มดาวดิน ซึ่งไม่ได้เดินทางไปร่วมการชุมนุมในวันที่ 19-20 ก.ย. แต่อย่างใด แต่กลับได้รับแจ้งว่ามีการออกหมายเรียกให้ทั้งคู่มารับทราบข้อหา โดยเจ้าหน้าที่นำภาพผู้ชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับการพังรั้วสนามหลวง และมีการคาดเดาว่าเป็นทั้งสองคน ทั้งที่ไม่ใช่แต่อย่างใด

    กรณีของนายสุวิชชาจึงได้นำพยานหลักฐานว่าตนไปทำกิจกรรมอื่นๆ อยู่ในวันเวลาดังกล่าว และไม่ได้เดินทางไปร่วมชุมนุมแต่อย่างใด เตรียมมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ดู โดยต้องการทราบข้อกล่าวหาที่ตำรวจอ้างว่าเขาถูกกล่าวหาก่อน ทางพนักงานสอบสวนจึงไม่แจ้งข้อกล่าวหาต่อเขา สุวิชชายังได้ขอเจ้าหน้าที่ดูหมายเรียกของตนเอง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ดู อ้างว่าอยู่ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล

    แต่กรณีนายวสันต์ ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาแสดงด้วย แม้จะแจ้งพนักงานสอบสวนว่าเขาไม่ได้มาร่วมชุมนุมแล้วก็ตาม แต่ พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ รองผู้กำกับสอบสวน ยังคงมีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อเขาอีก

    ทั้งสองคนระบุว่าการถูกออกหมายเรียกดังกล่าว เป็นดำเนินการโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ไปร่วมชุมนุมเลย ทำให้ต้องเสียเวลาเดินทางมาสถานีตำรวจ โดยในส่วนของวสันต์ยังต้องนั่งรถมาจากต่างจังหวัดอีกด้วย และกลับต้องมาต่อสู้คดีต่อ

    เวลา 18.20 น. ในส่วนของวสันต์และสุวิชชา พนักงานสอบสวนยังยืนยันว่าจะลงบันทึกประจำวันในวันนี้ต่อการเดินทางมาของทั้งคู่ โดยจะระบุว่าสุวิชชามีการนำพยานหลักฐานมา แต่ไม่ได้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงยังไม่ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งสุวิชชาได้โต้แย้งข้อความดังกล่าว

    ในที่สุดจึงได้ลงบันทึกประจำวันไว้ว่าสุวิชชาได้มาพบ พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ แล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาตามหมายเรียก และไม่ได้สอบปากคำ ทั้งที่ตนได้มาแสดงตัวแล้ว พร้อมกับได้นำพยานหลักฐานเตรียมมาให้การว่าตนไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 63

    ขณะที่ของวสันต์ เจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้ว่าเขาได้ถูก พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ แจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยเขาให้การปฏิเสธทั้งสองข้อหา

    หลังจากการรับทราบข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ต้องหาในคดีนี้บางส่วนยังได้ทำกิจกรรมเผาพริกเกลือที่หน้า สน.ชนะสงคราม พร้อมกับสวดมนต์ให้ประยุทธ์ไปดี ออกไปจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสียที

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม คดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 ลงวันที่ 3 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/25116)
  • ธนพ อัมพะวัติ และชูเกียรติ แสงวงค์ เข้ารับทราบข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาธนพ อายุ 19 ปี ว่า “ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 โดยระบุพฤติการณ์เฉพาะของธนพด้วยว่า ธนพได้ร่วมกับผู้ชุมนุมอีกกลุ่มนำคีมตัดเหล็กแม่กุญแจของประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านท่าเรือท่าพระจันทร์

    ส่วนชูเกียรติ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา “ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ, ร่วมกันวางสิ่งของกีดขวางการจราจร และร่วมกันโฆษณาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ทั้งยังแจ้งข้อกล่าวหาในคดีที่ 2 ว่า “ข้อหาร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลงฯ โบราณสถานหรือส่วนต่างๆ ของโบราณสถาน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และร่วมกันติดตั้ง ตากวาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะ”

    ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้ระบุพฤติการณ์เฉพาะของชูเกียรติว่า ขึ้นปราศรัยบนเวทีปราศรัยเคลื่อนที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งร่วมปักหมุดคณะราษฎร์ในเช้าวันที่ 20 ก.ย. 2563 และร่วมเคลื่อนขบวนโดยใช้รถยนต์บรรทุกออกจากท้องสนามหลวง อันเป็นการกีดขวางการจราจร เพื่อเดินทางไปยื่นหนังสือให้กับตัวแทนที่จะมารับหนังสือส่งต่อให้องคมนตรี

    ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะปล่อยตัวกลับ โดยไม่มีการควบคุมตัวแต่อย่างใด

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม คดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 ลงวันที่ 6 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23248)
  • ที่ สน. ชนะสงคราม สิทธิทัศน์ จินดารัตน์ และณัทพัช อัคฮาด พร้อมทนายความ เดินทางเข้ารับข้อกล่าวหา จากเหตุการณ์การชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ รอง ผกก.(สอบสวน) สน.ชนะสงคราม เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาสิทธิทัศน์และณัทพัช ว่า ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ในคดีที่ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม เป็นผู้แจ้งความ

    พ.ต.ท.โชคอำนวย ยังได้แจ้งข้อกล่าวหาณัทพัชอีก 1 ข้อหา คือ “ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ในคดีที่กรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากร เป็นผู้แจ้งความ

    สิทธิทัศน์และณัทพัชให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 20 วัน จากนั้น พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวทั้งสอง

    ทั้งนี้ ในช่วงการชุมนุมดังกล่าวมีรายงานข่าวว่า สิทธิทัศน์ จินดารัตน์ เป็นหนึ่งในการ์ดรักษาความปลอดภัยในการชุมนุม ซึ่งในช่วงที่ผู้ชุมนุมดันให้ประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดออกเพื่อเข้าไปชุมนุมด้านใน นายสิทธิรัตน์ได้ถูกประตูหนีบจนนิ้วก้อยมือซ้ายขาด

    ด้านอนุรักษ์ เจนตะวนิชย์ นักกิจกรรมอีกรายที่ถูกออกหมายเรียก มีรายงานว่า ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว โดยถูกแจ้งข้อหา ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม คดีอาญาที่ 426/2563 และ 430/2563 ลงวันที่ 17 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23248)

  • เวลาประมาณ 13.30 น. พริษฐ์, อานนท์, ปนัสยา, ภาณุพงศ์ และปติวัฒน์ เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ตามหมายเรียกผู้ต้องหา เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม แจ้งพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเบื้องต้นเช่นเดียวกับที่เคยแจ้งไปแล้ว โดยระบุเพิ่มเติมจากเดิมว่า “คำปราศรัยของผู้ต้องหาแต่ละคน เป็นข้อความที่เป็นการใส่ความต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นการพูดกล่าวหาพระมหากษัตริย์ฝ่ายเดียว โดยพูดลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานยืนยัน และเป็นการพูดในทางที่ทําให้องค์พระมหากษัตริย์อาจได้รับความเสียหาย และมีเจตนาให้ประชาชนผู้ร่วมรับฟังเกลียดชังต่อองค์พระมหากษัตริย์”

    ภายหลังรับทราบข้อกล่าวหา นักกิจกรรมทั้งห้าได้ในการปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ให้การรับรองในเอกสารถอดเทปคำปราศรัย โดยจะขอให้การเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน นอกจากนี้ ทั้งหมดยังไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา โดยเขียนหมายเหตุไว้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ เนื่องจากไม่ยอมรับอำนาจศักดินา ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ และไม่ยอมรับมาตรา 112 เป็นกฎหมาย”

    ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อหามาตรา 112 เพิ่มเติม รวม 7 ราย แต่จตุภัทร์และสมยศยังไม่สะดวกเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันเดียวกันนี้

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 30 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23649)
  • สมยศ และ “ไผ่” จตุภัทร์ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มเติม พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ พร้อมคณะพนักงานสอบสวน เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาสมยศและจตุภัทร์ โดยได้มีการนำข้อความการปราศรัยในประเด็นสถาบันกษัตริย์ของทั้งสองคน ในเวทีชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 63 มาใช้ตั้งข้อกล่าวหา

    คำปราศรัยของสมยศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเสื่อมถอยของสถาบันกษัตริย์ และการใช้มาตรา 112 เป็นกฎหมายเผด็จการ พร้อมกับกล่าวยืนยันสนับสนุนข้อเรียกร้อง 10 ข้อในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

    คำปราศรัยของจตุภัทร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ เพิ่มอำนาจให้กับประชาชน กล่าวถึงสถานะความเป็นคนเหมือนกัน พร้อมเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 โดยทบทวนถึงคดีเก่าของเขา ที่ถูกจำคุกจากการแชร์ข่าวประวัติรัชกาลที่ 10 ของบีบีซีไทย

    นักกิจกรรมทั้ง 2 คน ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนของไผ่ จตุภัทร์ ยังปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา โดยระบุในบันทึกว่า “ข้าพเจ้าไม่ขอลงลายมือชื่อ เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ยอมรับกฎหมายมาตรา 112 เพราะเป็นกฎหมายอยุติธรรม ยกเลิกมาตรา 112″

    จากนั้น พนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวทั้งสองคนไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว

    ขณะเดียวกันระหว่างการรอกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาทั้งสองคน เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้เข้าแจ้งข้อหาต่อมวลชนหน้าสถานีตำรวจที่นำเครื่องขยายเสียงมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนรถ 2 คัน ก่อนจะเปรียบเทียบปรับข้อหาดังกล่าวเป็นเงิน 200 บาท

    สำหรับสมยศและจตุภัทร์ได้ถูกกล่าวหาด้วยข้อหามาตรา 112 เป็นครั้งที่สองในชีวิตแล้ว โดยสมยศถูกจับกุมและกล่าวหาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2554 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin และมีการเผยแพร่บทความที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทกษัตริย์ เขาต่อสู้คดีนี้ถึงชั้นศาลฎีกา โดยไม่ได้รับการประกันตัว และต้องติดคุกอยู่ทั้งหมด 7 ปีเต็ม ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว

    ขณะที่จตุภัทร์ถูกจับกุมและกล่าวหาครั้งแรกในช่วงปลายปี 2559 ขณะเปลี่ยนผ่านรัชสมัย จากการแชร์บทความประวัติรัชกาลที่ 10 ของบีบีซีไทย ไผ่ถูกจองจำอยู่ในคุกทั้งหมด 2 ปี 4 เดือนเศษ ก่อนได้รับการปล่อยตัวช่วงกลางปี 2562 ทั้งสองคนยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังการปล่อยตัว จนกระทั่งถูกดำเนินคดีข้อหานี้อีกครั้ง

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23863)
  • นักกิจกรรม 10 ราย ได้แก่ สุวรรณา, ธานี, ณัฐชนน, ภัทรพงศ์, ไชยอมร, อะดิศักดิ์, สิทธิทัศน์, ณัทพัช, ธนพ และอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกเพื่อส่งตัวให้อัยการแขวงดุสิต หลังอัยการรับตัวแล้วนัดฟังคำสั่งในวันที่ 3 ก.พ. 2564

    ส่วนอีก 12 ราย ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องส่งตัวให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยมี 7 รายถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 นั้น ได้ยื่นหนังสือขอเลื่อนนัดส่งตัวให้อัยการไปเป็นวันที่ 14 ม.ค. 2564
  • ที่ สน.ชนะสงคราม ประชาชน-นักกิจกรรมจำนวน 14 คนเข้ารับทราบข้อหาเพิ่มเติม ตามที่ได้รับการประสานงานจากพนักงานสอบสวน หลังจากที่ทั้งหมดเคยเข้ารับทราบข้อหามาแล้ว นักกิจกรรมทั้ง 14 คน ได้แก่ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ชูเกียรติ แสงวงศ์, “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ณัทพัช อัคฮาด, ธนชัย เอื้อฤาชา, ธนพ อัมพะวัติ, ธานี สะสม, ภัทรพงศ์ น้อยผาง, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, อะดิศักดิ์ สมบัติคำ, “ฟอร์ด เส้นทางสีแดง” อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ และณัฐชนน ไพโรจน์

    ส่วน “แอมมี่” ไชยอมรแก้ว วิบูลย์พันธ์นั้น ได้ถูกออกหมายเรียกแจ้งข้อหามาตรา 116 เพิ่มด้วย แต่เนื่องจากติดภารกิจ จึงประสานงานเลื่อนวันรับทราบข้อหากับพนักงานสอบสวนแล้ว ขณะที่พนักงานสอบสวนไม่ได้เรียกวสันต์และสุวิชชามาอีก หลังทั้งสองระบุว่าไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม

    พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมตามมาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่น” และมาตรา 215 “มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ" แก่นักกิจกรรม 7 คน ได้แก่ อรรถพล บัวพัฒน์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ธนชัย เอื้อฤาชา, ณัฐชนน ไพโรจน์, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ชูเกียรติ แสงวงศ์ และภัทรพงศ์ น้อยผาง

    ด้านประชาชนอีก 7 คน ได้แก่ อะดิศักดิ์ สมบัติคำ, ธานี สะสม, สุวรรณา ตาลเหล็ก, ณัทพัช อัคฮาด, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ และ ธนพ อัมพะวัติ ซึ่งในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 215 ไปแล้ว (ยกเว้นอนุรักษ์) ในวันนี้จึงแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามมาตรา 116 เพียงข้อหาเดียว โดยอ้างพฤติการณ์คดีในลักษณะคล้ายกัน

    ทั้งหมด 14 คนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ส่วนวันนัดรายงานตัวและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนจะประสานงานนัดหมายในภายหลัง

    นักกิจกรรมและประชาชนที่เข้ารับทราบข้อหาเพิ่มเติมในวันนี้ 9 ราย ซึ่งไม่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ก่อนหน้านี้ พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการศาลแขวงดุสิตแล้ว (รวมทั้งแอมมี่) เนื่องจากเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ต่อมา ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้รวมคดีเป็นคดีเดียวกัน โดยเห็นว่าผู้ต้องหาทุกคนคือตัวการร่วม อัยการจึงส่งสำนวนคืน ก่อนพนักงานสอบสวนเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในวันนี้

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม คดีอาญาที่ 430/2563 ลงวันที่ 14 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25116)
  • พริษฐ์เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกเพื่อส่งตัวให้อัยการ หลังยื่นหนังสือขอเลื่อนจากวันที่ 14 และ 22 ม.ค. 2564 หลังพนักงานสอบสวนส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 แล้ว อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 9 ก.พ. 2564
  • สมยศ พฤกษาเกษมสุข และปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนได้นำตัวส่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 9 ก.พ. 2564

    ส่วนนักกิจกรรมอีก 19 ราย ผู้ต้องหาในคดีนี้ ทนายความได้ยื่นหนังสือของเพื่อแจ้งเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการ เนื่องจากผู้ต้องหามีเหตุขัดข้อง ไม่สามารถมาพบพนักงานสอบสวนได้ในวันนี้ได้ แต่พนักงานสอบสวนกลับแจ้งว่า จะขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 19 คน

    มีรายงานจากนักกิจกรรมบางราย ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้ด้วยว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์หา รวมถึงไปที่บ้านเพื่อหว่านล้อมให้ไปพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 28 ม.ค. 2564 ให้ได้ โดยระบุว่า ถ้าไม่ไปตามนัดจะออกหมายจับ

    เวลา 14.00 น. ทนายความได้เข้ายื่นหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาศาลอาญา คัดค้านการออกหมายจับผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม

    หนังสือคัดค้านการออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีนี้ ขอให้ผู้พิพากษามีคำสั่งยกคำร้องขอออกหมายจับผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาให้ได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม โดยระบุเหตุขัดข้องที่ผู้ต้องหา 19 ราย ต้องเลื่อนนัดเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อส่งตัวให้อัยการในวันนี้ และเหตุผลในการคัดค้านการออกหมายจับดังนี้

    1. เนื่องจากผู้ต้องหาจำนวนหลายคนมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างจังหวัด ได้รับหมายเรียกในเวลาที่กระชั้นชิด ซึ่งติดภารกิจที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามที่นัดได้

    ส่วนนายอานนท์ นำภา มีนัดส่งตัวพร้อมสำนวนต่อพนักงานอัยการจังหวัดพะเยา, นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธ์ ติดภารกิจมีงานเร่งด่วน ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และนายอดิศักดิ์ สมบัติคำ บิดาเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเมื่อคืนที่ผ่านมา

    2. คดีนี้พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหา 14 คน ว่าได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และมาตรา 215 เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 โดยผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธ และขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน เพราะคดีนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้ว มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก

    ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนก็ได้รับทราบแล้ว และจะครบกำหนดยื่นคำให้การเพิ่มเติมในวันที่ 13 ก.พ. 2564 ขณะนี้ผู้ต้องหายังอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานสำหรับการจัดทำคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือเพื่อต่อสู้คดี แต่ยังไม่ทันครบกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนก็ออกหมายเรียกส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนคดีให้กับพนักงานอัยการแล้ว

    กระบวนการดังกล่าวอาจจะเป็นการสรุปสำนวนคดีและมีความเห็นทางคดีเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาก่อนที่ผู้ต้องหาจะได้ยื่นคำให้การพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อต่อสู้คดี ซึ่งย่อมกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม อันเป็นสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 วรรคสาม, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)

    อย่างไรก็ตาม เวลา 16.30 น. ยังไม่พบว่าพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เข้ายื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 19 คน

    (อ้างอิง: หนังสือคัดค้านการออกหมายจับ ลงวันที่ 28 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25615)
  • พนักงานสอบสวนโทรศัพท์ประสานให้อานนท์ไปพบเพื่อส่งตัวให้อัยการ ก่อนกำหนดวันนัดที่ได้ยื่นหนังสือขอเลื่อนไว้เป็นวันที่ 16 ก.พ. 2564 หลังพนักงานสอบสวนส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการแล้ว อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 9 ก.พ. 2564
  • พ.ต.ท.โชคอำนวย พนักงานสอบสวน เดินทางไปที่ สน.พหลโยธิน เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในคดีนี้เพิ่มเติมแก่ไชยอมร หรือแอมมี่ ในข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" หลังเขาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีม็อบซ้อมต้านรัฐประหารของ สน.พหลโยธิน ก่อนหน้านี้ แอมมี่ไม่ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมพร้อมคนอื่น เนื่องจากติดภารกิจ และได้ส่งหนังสือขอเลื่อน

    แอมมี่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายใน 30 วัน

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม คดีอาญาที่ 430/2563 ลงวันที่ 3 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25732)

  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นสั่งฟ้องพริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข รวมทั้งฟ้องพริษฐ์ในคดี #MobFest ถือเป็นคดีสองแรกจากการชุมนุมในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลในข้อหาตามมาตรา 112 โดยผู้ต้องหาเพิ่งเดินทางไปรับทราบข้อหาเมื่อวันที่ 30 พ.ย. และ 8 ธ.ค. 63

    เวลา 10.00 น. บรรยากาศช่วงเช้าบริเวณศาลอาญา รัชดา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนตั้งจุดคัดกรองเพื่อควบคุมการเข้าออกของประชาชนบริเวณศาลอย่างเข้มงวด

    ต่อมา เวลา 11.00 น. นักกิจกรรมทั้งสี่เดินทางมาถึงศาลอาญา รัชดา และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พร้อมระบุว่า ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมให้สอบพยานเพิ่มเติมและไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหา ระบุว่า เนื้อหาปราศรัยของผู้ต้องหาเป็นการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสถานะของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในบริบทสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่การหมิ่นประมาทกษัตริย์ และไม่ถือเป็นความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตาม มาตรา 116

    นอกจากนี้ ยังขอให้สอบพยานฝ่ายผู้ต้องหาเพิ่มเติม 2 ปาก ได้แก่ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้การในประเด็นเกี่ยวกับสถานะของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการบังคับใช้ ในบริบททางการเมืองในสังคมไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์โดยสุจริต และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และนายชำนาญ จันทร์เรือง ให้การในประเด็นหลักสิทธิมนุษยชนกับปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม เวลา 14.00 น. โฆษกสำนักงานอัยการแถลงต่อสื่อมวลชนว่า อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องพริษฐ์ในคดีชุมนุม Mob Fest และสั่งฟ้องพริษฐ์, สมยศ, อานนท์ และปติวัฒน์ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ทุกข้อหา รวม 10 ข้อหา

    หลังโฆษกแถลงข่าวเสร็จ พริษฐ์ทวงถามถึงการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งพูดถึงปัญหาของการบังคับใช้มาตรา 112 พร้อมถามถึงสาเหตุที่อัยการไม่พิจารณาประเด็นนี้ ด้านโฆษกตอบว่า อัยการเห็นว่าพยานที่ผู้ต้องหาขอให้สอบเพิ่มไม่มีผลให้เปลี่ยนแปลงความเห็น จึงจะยื่นฟ้องคดีในวันนี้ต่อไป ก่อนพริษฐ์เดินออกจากการแถลงข่าวได้เอ่ยขึ้นว่า “กระบวนการอัยการประเทศนี้ไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของประชาชน”

    การยื่นฟ้องในวันนี้เป็นไปโดยเร่งรีบอย่างผิดสังเกต โดยอัยการมีคำสั่งฟ้องหลังรับสำนวนคดีจากพนักงานสอบสวนเพียง 2 อาทิตย์ (กรณีอานนท์เพียงอาทิตย์เดียว) ทนายความในคดีกล่าวว่า ไม่คิดว่าอัยการจะสั่งฟ้องคดีเลย ปกติถ้ายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม อัยการมักสั่งให้สอบเพิ่ม แล้วนัดให้ฟังคำสั่งฟ้องในนัดหน้า

    นางผุสดี สุวรรณมงคล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องจำเลยแต่ละคนด้วยข้อหาแตกต่างกันไป โดยมีอานนท์และพริษฐ์ที่ถูกฟ้องหลายกรรมใน 11 ข้อกล่าวหา ได้แก่

    1. ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ
    2. ไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มการการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
    3. พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
    4. พ.ร.บ.การจราจรทางบกฯ
    5. พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
    6. ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215
    7. “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
    8. “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
    9. พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
    10. ทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358
    11. กีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385

    ส่วนสมยศถูกฟ้อง 7 ข้อหา ได้แก่ มาตรา 112, 116, 215, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นข้อหาหลัก ขณะปติวัฒน์ถูกฟ้องมาตรา 112, 116, 215 และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    พนักงานอัยการได้ระบุขอให้เพิ่มโทษจำคุกปติวัฒน์ หนึ่งในสาม และเพิ่มโทษสมยศกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ด้วย เนื่องจากได้กระทำผิดซ้ำอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ และหากจำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา ขอให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    หลังศาลอาญารับฟ้องคดี ทั้งสี่คนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลได้นัดหมายคุ้มครองสิทธิในทั้งสองคดีต่อไปในวันที่ 15 มี.ค. 2564

    ต่อมาเวลา 15.45 น. ทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสี่คนระหว่างพิจารณาคดีในช้้นศาล โดยยื่นหลักทรัพย์คนละ 200,000 บาท

    จนเวลา 17.50 น. นายเทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งสี่คน ระบุในคำสั่งว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูงพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง อีกทั้งการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำๆต่างกรรมต่างวาระตามข้อกล่าวหาเดิมหลายครั้งหลายครา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ให้ยกคำร้อง”

    การไม่ได้ประกันตัวดังกล่าว ทำให้ทั้งสี่คนถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และการคุมขังในครั้งนี้เป็นการขังระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล ซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลา หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างพิจารณา ทั้ง 4 คน จะถูกคุมขังจนกว่าจะมีคำพิพากษา

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2564, https://tlhr2014.com/archives/25821 และ https://tlhr2014.com/archives/25998)

  • ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี 4 นักกิจกรรม คำร้องดังกล่าว ศาลอาญาจะส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา

    คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลอาญาที่ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว พริษฐ์, อานนท์, ปติวัฒน์ และสมยศ ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลอาญา และขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยมีเนื้อหาโดยย่อดังนี้

    1. การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้น ไม่อาจพิจารณาเพียงข้อหาหรือฐานความผิดที่ถูกฟ้องเท่านั้น คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ซึ่งจำเลยในคดีอื่นที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันหรือในข้อหาร้ายแรงอื่นๆ ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ ดังนั้น อาศัยเพียงฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สันนิษฐานว่าเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูง และไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงไม่อาจรับฟังได้และไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง

    2. พฤติการณ์แห่งคดีนี้ไม่ใช่พฤติการณ์ร้ายแรงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ทั้งนี้ สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนมีช่องทางในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อเรียกร้องของตนได้อย่างสันติ อีกทั้งข้อเรียกร้องของจำเลยที่ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ดำรงไว้ตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญทุกประการ โดยจำเลยจะได้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลต่อไป

    3. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำๆ หลายครั้งหลายครานั้น เป็นข้อเท็จจริงอื่นนอกสำนวนคำฟ้องของโจทก์ ที่กล่าวอ้างขึ้นลอยๆ และเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ การกระทำของจำเลยในคดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นความผิด และจำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดข้อกล่าวหา ยืนยันว่าการชุมนุมดังกล่าวถือเป็นการชุมนุมโดยชอบด้วยกฎหมายได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ การพิจารณาการปล่อยชั่วคราวจากคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นการกล่าวหาฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้นำสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย จึงต้องเป็นไปโดยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยอย่างยิ่ง อีกทั้งการกระทำอื่นที่ซ้ำๆ หลายครั้งหลายครา ก็ยังไม่ได้มีการยื่นฟ้องจำเลยแต่อย่างใด ศาลจึงไม่อาจสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำความผิดได้

    ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า “จำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว” จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ขัดต่อหลักการสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด อันเป็นหัวใจของกฎหมายอาญา จำเลยเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องว่ากระทำความผิด แต่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาโดยที่ไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เสมือนว่าจำเลยได้รับโทษทางอาญาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ทำให้สูญเสียอิสรภาพและได้รับความเดือดร้อนต่อการประกอบอาชีพและการศึกษา ประการสำคัญทำให้จำเลยเสียโอกาสที่จะแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และเสียโอกาสที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่

    4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” หลักการดังกล่าวยังปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11(1), ICCPR ข้อ 9 วรรคสาม และข้อ 14 (1) ดังนั้น สิทธิขั้นพื้นฐานของจำเลยที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่ากระทำผิดจริงและสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว จึงเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับทางสากล โดยคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้เคยให้ความเห็นว่าการคุมขังผู้ต้องหาและจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนดังกล่าว

    5. จำเลยไม่มีพฤติการณ์อันเป็นเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 แต่อย่างใด กล่าวคือ

    (1) จำเลยไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี คดีนี้จำเลยไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก และพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่ได้สั่งให้ควบคุมตัวจำเลยระหว่างการสอบสวน จำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน โดยจำเลยที่ 1 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความจำเป็นต้องเข้ารับการศึกษา จำเลยที่ 2 เป็นทนายความ มีความจำเป็นต้องทำหน้าที่ทนายความและมีกำหนดนัดคดีที่รับผิดชอบหลายคดี จำเลยที่ 3 ประกอบอาชีพเป็นนักแสดงพื้นบ้าน ส่วนจำเลยที่ 4 ประกอบอาชีพรับจ้างและมีอายุมาก มีความจำเป็นต้องดูแลครอบครัว จึงมีเหตุอันน่าเชื่อถือว่าจำเลยจะไม่หลบหนีในระหว่างพิจารณาคดี

    (2) จำเลยไม่มีพฤติการณ์จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน เป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานในคดีนี้พนักงานสอบสวนก็ได้รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นและอยู่ในความครอบครองของพนักงานอัยการแล้ว

    (3) จำเลยไม่มีพฤติการณ์จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น กล่าวคือ จำเลยเป็นนักศึกษาและประชาชนที่ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกโดยสันติ ปราศจากอาวุธ การแสดงออกของจำเลยไม่ใช่การกระทำความผิดหรือก่อเหตุอันตรายแต่ประการใด จำเลยไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้าย หรือมีจิตคิดเป็นอาชญากร

    (4) ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวนี้ จำเลยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท อันเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า หลักประกันดังกล่าวไม่เพียงพอ และต้องวางหลักประกันเพิ่ม จำเลยยินดีวางหลักประกันตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด

    (5) การปล่อยชั่วคราวจำเลยคดีนี้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาคดีแต่อย่างใด เนื่องจากคดีนี้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยประสงค์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์อย่างเต็มที่

    วันเดียวกัน จากกรณีการไม่ให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้งสี่ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และประธานศาลฎีกา ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้ศาลยุติการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองและคืนความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

    ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนย้ำว่า ผู้พิพากษาต้องคำนึงถึงหลักความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม ศาลต้องเป็นหลักอันศักด์สิทธิและเป็นไม้หลักสุดท้ายในการผดุงความยุติธรรมให้ประชาชนได้เข้าถึงความยุติธรรมโดยเสมอภาค และต้องดำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลักการให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด ไม่ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยการใช้ดุลพินิจในทางที่เป็นผลร้ายต่อผู้ต้องหาหรือจำเลย และผู้พิพากษาต้องมีความกล้าหาญในการใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน หาไม่แล้วสถาบันตุลาการเองจะกลายเป็นสถาบันที่สร้างแต่ความอยุติธรรมให้แก่ประชาชน

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวของศาลชั้นต้น ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 11 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25880)
  • เวลาประมาณ 16.30 น. ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ลงวันที่ 15 ก.พ. 2564 ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น

    คำสั่งศาลอุทธรณ์มีเนื้อความว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าความผิดตามฟ้องมีอัตราโทษสูง การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 1 - ที่ 4 ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน

    นอกจากนี้ยังปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 (พริษฐ์) และที่ 2 (อานนท์) ว่า ถูกกล่าวหาดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดในลักษณะทำนองเดียวกันนี้ในคดีอื่นอีก ส่วนจำเลยที่ 3 (ปติวัฒน์) และที่ 4 (สมยศ) เคยต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดในลักษณะทำนองเดียวกันนี้มาก่อน อีกทั้งคดีนี้จำเลยทั้งสี่ถูกจับกุมตามหมายจับ กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาแล้ว จำเลยทั้งสี่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่นอีก และน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

    ท้ายคำสั่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพียงแต่ลงลายมือชื่อไว้ โดยไม่ได้พิมพ์ชื่อสกุลกำกับเอาไว้แต่อย่างใด

    ทั้งสี่คนถูกคุมขังมาเป็นเวลา 7 วัน หรือ 1 อาทิตย์แล้ว โดยกรณีนี้เป็นการคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล จำเลยจะถูกคุมขังจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ประกันตัว หรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดี

    (อ้างอิง: คำสั่งศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 15 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25971)
  • ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม นัดผู้ต้องหาที่เหลืออีก 18 คน ส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ โดยขาดเพียง ไผ่ จตุภัทร์ ที่ไม่ได้เข้าพบอัยการในวันนี้ เนื่องจากอยู่ระหว่างทำกิจกรรม #เดินทะลุฟ้า และได้ทำหนังสือขอเลื่อนส่งตัวให้อัยการไปเป็นวันที่ 2 มี.ค. 2564

    คดีนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาหลักตามมาตรา 112 และ 116 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด 7 คน นอกจาก อานนท์, สมยศ, ปติวัฒน์ และพริษฐ์แล้ว อีก 3 คน ได้แก่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, “ไผ่ ดาวดิน” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก ซึ่งพนักงานสอบสวนส่งตัวให้อัยการในวันนี้

    ส่วนผู้ต้องหาอีก 15 คน ถูกดำเนินคดีในข้อหาหลักคือ “ยุยงปลุกปั่น” มาตรา 116 และ “มั่วสุมกันมากกว่า 10 คนขึ้นไป” มาตรา 215 ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยผู้ต้องหา ได้แก่ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ชูเกียรติ แสงวงศ์, “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ณัทพัช อัคฮาด, ธนชัย เอื้อฤาชา, ธนพ อัมพะวัติ, ธานี สะสม, ภัทรพงศ์ น้อยผาง, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, อะดิศักดิ์ สมบัติคำ, “ฟอร์ด เส้นทางสีแดง” อนุรักษ์ เจนตวนิชย์, ณัฐชนน ไพโรจน์ และ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธ์

    อย่างไรก็ดี วันนี้อัยการยังไม่มีคำสั่ง โดยนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องในวันที่ 8 มี.ค. 2564

    วันเดียวกัน เวลา 11.20 น. ที่ศาลอาญา ทนายความพร้อมกับนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว 4 นักกิจกรรมกลุ่มราษฎรอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มหลักทรัพย์เป็นคนละ 300,000 บาท

    ต่อมาเวลา 12.20 น. สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวทั้ง 4 คน ชี้ว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยทั้ง 4 มาก่อนแล้ว คดียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง

    ส่งผลให้ทั้งสี่คนยังคงถูกจองจำที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นวันที่ 9 แล้ว

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 17 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26082)
  • 13.00 น. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทนายความเข้ายื่นประกันอานนท์, สมยศ, ปติวัฒน์ และพริษฐ์ เป็นครั้งที่ 3 โดยเพิ่มหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 400,000 บาท จากครั้งที่แล้วที่ยื่นขอประกันด้วยหลักทรัพย์ 300,000 บาท

    เวลา 15.15 น. ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยแสดงเหตุผลไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว กรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันนี้อีก จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง

    ศ.พิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้ง โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีผลงานเขียนสำคัญ เช่น “14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์” ,”3 ทศวรรษ 14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย”, การสำรวจแนวพรมแดนไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา

    ทางด้านอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการพิเศษประจำกรมอัยการ (สำนักงานอัยการสูงสุด) ต่อมาลาออกจากราชการมาเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ฉบับปี 2540 ก่อนเข้าสู่เส้นทางการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ระหว่างปี 2543-2549 หลังจากนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม

    การที่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับเข้าเป็นนายประกันในการยื่นประกันครั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือว่า จำเลยจะไม่หลบหนี หรือผิดสัญญาประกัน แต่ศาลยังไม่คงไม่อนุญาตให้ประกันเช่นเดิม

    นอกจากนี้ เช้านี้ นักวิชาการนานาชาติกว่า 30 ราย และนักวิชาการไทยบางส่วนยังร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ศาลยุติธรรมคืนสิทธิการประกันตัวให้ทั้งสี่ ชี้การปฏิเสธการประกันตัว มีแนวโน้มจะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 22 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26224)
  • เวลาประมาณ 13.30 น. ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอาญา กรณีศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้งสี่ หลังทนายความยื่นประกันตัวเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 นับเป็นการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน 4 นักกิจกรรม เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอาญา ลงวันที่ 9 ก.พ. 2564

    คำร้องอุทธรณ์ครั้งนี้ พริษฐ์, อานนท์, ปติวัฒน์ และสมยศ ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันจำเลยทั้งสี่ เพื่อให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม โดยให้มีคำสั่งไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยประกอบการพิจารณาด้วย ระบุเหตุผลโดยสรุปดังนี้

    1. เหตุที่ถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยทั้งสี่กระทำโดยเปิดเผยและเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกโดยสงบสันติและปราศจากอาวุธตามที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำเลยทั้งสี่แสดงความคิดอย่างบริสุทธิ์ใจเพื่อให้เกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นไปตามหลักการพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่ถูกฟ้องในคดีนี้ไม่ใช่การกระทำที่เป็นความผิดโดยตัวเอง เพียงการพูดความคิดเห็นโดยมีเหตุผลประกอบย่อมไม่อาจจะตีความว่าเป็นการก่อเหตุอันตรายประการอื่นได้

    โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าการกล่าวแสดงความคิดเห็นของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องของโจทก์เป็นดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ อย่างไร และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์นั้นไม่เป็นดังที่โจทก์ฟ้องอย่างยิ่ง จำเลยทั้งสี่จึงขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ประกอบการพิจารณาคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวของจำเลยทั้งสี่ด้วย

    นอกจากนี้ หลังจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ถูกดำเนินคดีนี้ ก็ไม่ได้ถูกดำเนินคดีใด ๆ อีก ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ากรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ จะไปก่อเหตุเช่นเดียวกับที่ถูกฟ้องอีก จึงคลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริง

    2. หลักประกันของจำเลยทั้งสี่ในคราวนี้ เป็นเงินจำนวนที่สูงถึงคนละ 400,000 บาท ซึ่งสูงกว่าการขอประกันในครั้งก่อน อีกทั้ง นายประกันซึ่งได้ยื่นขอประกันตัวจำเลยทั้งสี่ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ และอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ โดยนายประกันทั้งสองเป็นอดีตอาจารย์และข้าราชการระดับสูง เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและได้รับความยอมรับนับถือในสังคม จึงประกอบเป็นเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และการปล่อยตัวไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณา

    3. หากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวย่อมจะเดือดร้อนอย่างยิ่งและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ

    พริษฐ์ ชิวารักษ์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทำรายงานต่าง ๆ และเข้าสอบให้ครบตามกำหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย หากไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ อันจะทำให้ผู้ร้องไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตทางการศึกษาของจำเลยอย่างร้ายแรง ประกอบกับจำเลยมีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคหอบหืด การถูกขังไว้ในเรือนจำซึ่งแออัดอาจทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น และอาจทำให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

    อานนท์ นำภา ประกอบวิชาชีพทนายความ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องเดินทางมาศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบว่าความหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายในคดีสิทธิมนุษยชนหลายคดี และตลอดทั้งเดือนมีนาคม 2564 ก็จะต้องทำหน้าที่ทนายความจำเลยในศาลอาญา หากจำเลยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวย่อมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทนายความได้ และอาจจะกระทบต่อสิทธิของจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีนั้น ๆ ด้วย

    ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้มประกอบอาชีพเป็นหมอลำ มีภาระหน้าที่ต้องหาเลี้ยงชีพและเลี้ยงดูครอบครัว หากไม่ได้รับการประกันตัวย่อมทำให้จำเลยและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

    สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประกอบอาชีพรับจ้าง มีภาระหน้าที่ต้องหาเลี้ยงชีพและเลี้ยงดูครอบครัว และยังมีอายุมากแล้ว หากไม่ได้รับการประกันตัวย่อมทำให้จำเลยและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

    4. จำเลยไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไม่มาตามกำหนดนัด กล่าวคือ ในคดีนี้แม้จำเลยจะเคยถูกจับกุมตามหมายจับ แต่ก็เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่เคยออกหมายเรียกจำเลยมาก่อน และเป็นการจับกุมในความผิดอื่นไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อมาเมื่อพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกจำเลยมารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามมาตรา 112 จำเลยทั้งสี่ได้ไปพบพนักงานสอบสวน และปฏิบัติตามนัดของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกนัด แม้แต่ในวันนัดส่งตัวฟ้องคดีนี้ และโจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัวแต่อย่างใด

    สำหรับคดีความผิดลักษณะเดียวกันนี้ พริษฐ์เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2563 ในคดีของศาลอาญา และเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีของศาลจังหวัดธัญบุรี จำเลยก็ไม่เคยหลบหนีแต่อย่างใด

    อานนท์เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 8 และ 20 ส.ค. 2563 ในคดีของศาลอาญา และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีของศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยก็เดินทางไปศาลในทุกคดีตามกำหนดโดยตลอดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเป็นหลักประกันอีกชั้นหนึ่งว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นใดอีก

    5. หลักประกันสิทธิอันสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาคือการที่ศาลต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้รับรองไว้อย่างชัดเจน ซึ่งกติกาดังกล่าวเป็นหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับที่สำคัญที่สุด และไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2539 สิทธิดังกล่าวยังได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรค 2 และในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227

    สิทธิที่จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์มีขึ้นเพราะกฎหมายอาญาเป็นดาบสองคมที่รัฐอาจใช้ได้ทั้งเพื่อจัดการผู้กระทำความผิด และทิ่มแทงประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งรวมทั้งประชาชนที่ใช้สิทธิตามกฎหมายไปในทางที่ขัดแย้งกับรัฐบาล ดังนั้น ศาลในฐานะหนึ่งในเสาหลักแห่งอำนาจอธิปไตยจึงต้องเป็นผู้คุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งรวมถึงประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิโดยอำนาจรัฐ

    การควบคุมตัวจำเลยทั้งสี่ระหว่างการพิจารณาคดีจะต้องกระทำโดยได้สัดส่วนและด้วยความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น ทั้งนี้ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 และ 108/1 “จำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว” โดย “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ” เหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ บทบัญญัติกฎหมายนี้แสดงให้เห็นว่าการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นโดยหลักทำไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลตามที่มาตรา 108/1 กำหนด อันได้แก่การหลบหนี การไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน การไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาคดี

    จำเลยทั้งสี่เป็นเพียงบุคคลที่ถูกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่ากระทำความผิดเท่านั้นยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้กระทำผิด การที่ศาลให้เหตุผลว่าหากจำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำในลักษณะที่ถูกฟ้องในคดีนี้อีก เป็นการตีความโดยคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย กล่าวคือ การกระทำในลักษณะที่ถูกฟ้องคดีนี้ไม่ใช่การกระทำที่จะก่อให้เกิดอันตรายประการอื่นแต่อย่างใด

    อีกทั้งในคดีข้อหาทางการเมืองคดีอื่น แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดลงโทษจำคุกจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็ได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อันถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา

    6. การใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือการใช้เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นเครื่องมือแสดงออกซึ่งเจตจำนงอย่างเสรีของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เพื่อเป็นเครื่องสะท้อนและกระตุ้นเตือน “รัฐบาล” ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนให้มากที่สุด และเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน เสรีภาพในการแสดงออกหรือเสรีภาพในการชุมนุม จึงเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญซึ่งในทางสากลให้การยอมรับ ดังนั้นแล้วประชาชนทั่วไปจึงสามารถใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย

    จำเลยทั้งสี่เป็นผู้เชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และหลักสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบากทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกหย่อมหญ้าเช่นนี้ ก็คงมีเพียงอำนาจศาลเท่านั้น ที่จะช่วยถ่วงดุล ตรวจสอบ คานอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงเป็นเสาหลักอันสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ช่วยสร้างหลักประกันสิทธิและฟื้นฟูให้ระบบกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว

    จำเลยขอให้คำมั่นว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และจะปฏิบัติตามนัดของศาลโดยเคร่งครัด หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใด ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดกำหนดวงเงินหลักประกันตามควรแก่กรณี และจำเลยทั้งสี่ยินดีวางหลักประกันตามวงเงินที่ศาลเรียกต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 26 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26336)
  • เวลาประมาณ 10.15 น. ศาลอาญา รัชดาฯ อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ลงวันที่ 26 ก.พ. 2564 ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี 4 นักกิจกรรม “ราษฎร” ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณามาแล้ว อีกทั้งเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว”

    คำสั่งศาลอุทธรณ์ฉบับนี้มีขึ้นหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ประกันตัว 8 แกนนำ กปปส. ซึ่งศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 จำคุก 4 ปี 8 เดือน – 9 ปี 24 เดือน กรณีชุมนุมล้มการเลือกตั้ง ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ยึดสถานที่ราชการ เพื่อขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ เมื่อปี 2556 ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วจำเลยเคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมาก่อน ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือไม่มาศาลตามกำหนดนัด แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย แต่โทษจำคุกสำหรับความผิดในแต่ละกระทงก็ไม่สูงนัก อีกทั้งจำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ตีราคาประกัน 800,000 บาท และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น”

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 26 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26336)
  • ทนายความเข้ายื่นประกันตัว 4 แกนนำราษฎร อีกเป็นครั้งที่ 4 โดยได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันคนละ 5 แสนบาท จาก #กองทุนราษฎรประสงค์ ขณะที่เพนกวินมีมารดาเป็นผู้ยื่นเป็นนายประกันด้วยตนเอง โดยใช้หลักทรัพย์รวม 1 ล้านบาท เนื่องจากถูกกล่าวหาใน 2 คดี ทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลา 24 วันแล้ว

    สำหรับเนื้อหาในคำร้องขอประกันตัวของทั้งสี่ ระบุยืนยันว่าการใช้เงินสดเป็นหลักประกันทั้งหมด 500,000 บาท ทำให้เชื่อได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดี

    คำร้องระบุด้วยว่า แม้ว่าเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวส่วนหนึ่งว่า “การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคล อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน”

    การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ก่อให้เกิดคำถามว่า มีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่าศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย การวินิจฉัยการกระทำของจำเลยและหยิบข้อวินิจฉัยมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อนานาประเทศ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันล้วนแต่เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

    อย่างไรก็ตาม เวลา 12.51 น. ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 แกนนำราษฎรอีกครั้ง โดยระบุว่าคดีนี้ ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าเกรงว่าจำเลยจะไปก่อเหตุร้ายอีก ศาลนี้เห็นว่าการที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวและได้ให้เหตุผลไว้แล้ว ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้น ย่อมเป็นการยุติว่าคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวของศาลชั้นต้นนั้นถูกต้องแล้ว

    แม้กฎหมายอนุญาตให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวใหม่ได้ แต่การยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวใหม่ซึ่งจะมีผลให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้นั้น ต้องปรากฏว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์แห่งคดีได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าในเหตุลักษณะคดี เช่น มีการรวบรวมพยานหลักฐานแล้วปรากฏพยานหลักฐานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 อนุสอง หรือมีพฤติการณ์เกี่ยวกับจำเลย อันแสดงว่าจำเลยนั้นจะไม่หลบหนี หรือไม่สามารถไปก่อเหตุร้ายอื่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุผลที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น

    ทั้งนี้ ศาลหาจำต้องระบุเหตุผลตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ใหม่ไม่ เพราะเท่ากับจะเป็นการคัดลอกข้อความที่ศาลนี้และศาลอุทธรณ์ได้เคยมีคำสั่งไว้แล้ว ยิ่งเมื่อศาลนี้ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามต่อเนื่องกันมาหลายครั้ง หากศาลจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งโดยไม่มีเหตุย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีตามอำเภอใจ ไม่เป็นแนวทางที่ชอบด้วยกฎหมาย

    ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 (เพนกวิน) มีอาการเจ็บป่วยเพราะโรคประจำตัวนั้น ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าถึงขนาดไม่สามารถรักษาพยาบาลภายในเรือนจำได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 เป็นนักศึกษานั้น มีเพียงเหตุผลให้คาดเดาได้ว่าจะไม่สะดวกในการศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจะส่งผลกระทบต่อการเรียนอย่างชัดเจนร้ายแรงอย่างไร ในส่วนของจำเลยอื่นที่อ้างเรื่องการประกอบอาชีพและการดูแลครอบครัว ถือเป็นความขัดข้องทั่วไปของผู้ที่ต้องคดี ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมว่าจำเลยทั้งหมดได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จนถึงขนาดที่จะมีผลเพราะให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง

    คำสั่งลงนามโดยนายมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 4 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26557)
  • ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดา อัยการได้มีคำสั่งฟ้องนักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” อีก 18 ราย ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ด้วยข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และข้อหาอื่นๆ อีก 9 ข้อหา ก่อนยื่นฟ้องต่อศาลอาญา และศาลให้ประกันตัวเฉพาะจำเลยที่ไม่ถูกฟ้องข้อหามาตรา 112 จำนวน 14 ราย แต่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งอัยการฟ้องในข้อหามาตรา 112 ขณะที่ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ไม่ได้ยื่นประกันตัว เนื่องจากถูกฝากขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษธนบุรีแล้วในคดีเผารูป ร.10 หน้าเรือนจำ

    เวลา 09.30 น. บรรยากาศช่วงเช้า บริเวณหน้าประตูทางออกสำนักงานอัยการสูงสุด รัชดาฯ มีการตั้งจุดคัดกรองและมีเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนตรึงกำลังเพื่อควบคุมการเข้าออกของประชาชนอย่างเข้มงวด มีการตรวจบัตรประชาชน จดชื่อและเบอร์โทรของผู้ติดต่อ และมีกล้องจับภาพคนเข้าออก

    เวลา 09.35 น. จตุภัทร์และภาณุพงศ์นำขบวนผู้ชุมนุม #เดินทะลุฟ้า เดินเท้าจากสถานีรถไฟฟ้า MRT ลาดพร้าวเดินทางมาถึงหน้าสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเข้ารายงานตัวและฟังคำสั่ง ส่วนผู้ชุมนุมนั่งปักหลักอยู่บริเวณฟุตบาธด้านหน้าสำนักงานอัยการ เพื่อฟังปราศรัยและให้กำลังใจผู้ต้องหาที่เข้าฟังคำสั่งฟ้องวันนี้ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ประกาศว่ามีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยและมาตรการโควิด ทำให้ต้องตรวจบัตรประชาชนและต้องผ่านจุดคัดกรอง อีกทั้งยังประกาศห้ามนำแผ่นป้ายข้อความต่าง ๆ และอาวุธเข้ามา

    ในวันนี้ ผู้ต้องหา 17 คน ที่มารายงานตัวที่สำนักอัยการสูงสุด ได้แก่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งขอเลื่อนส่งตัวให้อัยการมาเป็นวันนี้, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ชูเกียรติ แสงวงค์, “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ณัทพัช อัคฮาด, ธนชัย เอื้อฤาชา, ธนพ อัมพะวัติ, ธานี สะสม, ภัทรพงศ์ น้อยผาง, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, อะดิศักดิ์ สมบัติคำ, “ฟอร์ด เส้นทางสีแดง” อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ และณัฐชนน ไพโรจน์ ส่วน “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หนึ่งในผู้ต้องหาของคดีนี้ถูกฝากขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษธนบุรีในคดีเผารูป ร.10 หน้าเรือนจำ

    ทั้งนี้ ทนายความได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาภาณุพงศ์และอนุรักษ์เพิ่มเติม ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคท้าย (เป็นแกนนำในการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) และมาตรา 215 ตามลำดับ แต่ทนายความปฏิเสธกระบวนการดังกล่าว ที่จะทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

    เวลาประมาณ 11.30 น. อัยการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 18 ราย จากนั้น นักกิจกรรมที่มารายงานตัวทั้ง 17 ราย พร้อมทนายความได้เดินเท้าไปที่ศาลอาญา รัชดาฯ และเข้ารอกระบวนการในห้องเวรชี้

    เวลา 12.45 น. พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญา ด้วยข้อหามาตรา 116 เป็นข้อหาหลัก ศาลรับฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.539/2564 จากนั้นศาลได้อ่านคำฟ้องโดยสรุปให้จำเลยทั้ง 18 ฟัง ผ่านทางจอภาพหรือวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ขณะที่ “แอมมี่” ไชยอมร เจ้าหน้าที่ศาลก็ได้วีดิโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเรือนจำพิเศษธนบุรี เพื่อรับทราบคำฟ้องด้วย

    จากนั้น จำเลยให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอต่อสู้คดี โดยศาลกำหนดนัดพร้อมวันที่ 15 มี.ค. 64 เวลา 09.00 น. และนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 29 มี.ค. 64 เวลา 09.00 น.

    ทั้งนี้ จำเลยแต่ละคนถูกฟ้องด้วยข้อหาแตกต่างกันไป โดยมีข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เป็นข้อหาหลัก อัยการระบุในคำฟ้องด้วยว่า ในการมั่วสุมมีปนัสยาและภาณุพงศ์เป็นผู้สั่งการ ส่วนข้อหาอื่นๆ ได้แก่

    1. ไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มการการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ
    2. ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ
    3. กีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385
    4. กีดขวางการจราจร ฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ
    5. ตั้ง วาง กอง วัตถุบนถนน ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
    6. ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

    โดยส่วนอรรถพล, ณวรรษ, ชินวัตร, ธนชัย, และชูเกียรติ ถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.โบราณสถานฯ และ “ทำให้เสียทรัพย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ด้วย กรณีปักหมุดคณะราษฎรลงบนพื้นซีเมนต์ในสนามหลวง ซึ่งอัยการระบุว่า เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณนั้นได้รับความเสียหาย ประเมินราคาเป็นเงินจำนวน 16,781.62 บาท

    สำหรับไชยอมรและณัทพัช ยังถูกฟ้องข้อหา “ทำให้เสียทรัพย์” กรณีร่วมกันใช้กำลังพังรั้วเหล็กกั้นสนามหลวง 1 อัน ทำให้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหายเป็นเงินจำนวน 264 บาท

    ขณะที่ปนัสยา, ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ ถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 ด้วย อัยการบรรยายฟ้องว่า ทั้งสามได้ปราศรัยข้อความที่หมิ่น ประมาท และดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์แก่ประชาชนหลายคนซึ่งอยู่บริเวณท้องสนามหลวง โดยปนัสยาปราศรัยถึง 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน ภาณุพงศ์ปราศรัยถึงการพำนักอาศัยของกษัตริย์ในประเทศเยอรมนี ขณะที่ประชาชนทุกข์ยาก และจตุภัทร์ปราศรัยถึงประสบการณ์ถูกดำเนินคดี 112 หลังแชร์บทความของบีบีซี เกี่ยวกับกษัตริย์รัชกาลที่ 10

    อีกทั้งปนัสยาและภาณุพงศ์ถูกอัยการกล่าวหาว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ.โบราณสถานฯ และ “ทำให้เสียทรัพย์” กรณีปักหมุดด้วย ทำให้ปนัสยาและภาณุพงศ์ถูกฟ้องรวม 11 ข้อหา เช่นเดียวกับอานนท์และพริษฐ์ ส่วนจตุภัทร์ถูกฟ้องทั้งหมด 9 ข้อหา

    คำฟ้องของพนักงานอัยการยังระบุขอให้ศาลเพิ่มโทษจำคุกจตุภัทร์กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ด้วย เนื่องจากได้กระทำผิดซ้ำในฐานความผิดเดียวกันภายในเวลา 3 ปีนับแต่วันพ้นโทษ อีกทั้งขอให้เพิ่มโทษจำคุก 1 ใน 3 ของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ เนื่องจากได้กระทำผิดซ้ำภายในเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษ

    ทั้งนี้ ท้ายคำฟ้องยังระบุว่า โจทก์คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากโทษในคดีนี้มีอัตราสูง และเกี่ยวข้องกับความมั่นคง

    ต่อมาเวลา 16.00 น. หลังทนายความยื่นประกันตัวจำเลยทั้งหมด ยกเว้นแอมมี่ ระหว่างพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่อ่านคำสั่งศาลไม่ให้ประกันตัว 3 แกนนำ ระบุว่า พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งมีเหตุอันควรให้เชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยตัวช่วยคราว จำเลยจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน  หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก จึงไม่สมควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว แม้ทนายและนายประกันจะยื่นขอคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและตำแหน่งอาจารย์ ในวงเงินคนละ 90,000 บาท ก็ตาม

    ส่วนจำเลยที่เหลือ ศาลอนุญาตให้ประกันในวงเงินคนละ 35,000 บาท โดยมี ส.ส.พรรคก้าวไกล และนักวิชาการใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันแทนเงินสด

    ทั้งนี้ มีสื่อหลายสำนักรายงานว่า ทั้งสามถูกคุมตัวขึ้นรถตู้และนำตัวออกจากประตูศาลไปเมื่อ เวลา 15.30 น. ขณะที่ 15.50 น. นายประกันระบุยังไม่ได้รับแจ้งผลการขอปล่อยตัวชั่วคราวของ 18 ราษฎร

    การไม่ได้ประกันตัวดังกล่าว ทำให้ ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และ ปนัสยา ถูกนำตัวไปที่ทัณฑสถานหญิงกลางทันที

    ทั้งนี้ เมื่อศาลรับฟ้องแล้ว ต้องออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สามารถนำตัวไปเรือนจำได้ทันที แต่โดยปกติแล้วในทางปฏิบัติ หากจำเลยยื่นประกันตัวเจ้าหน้าที่ก็จะรอให้ศาลมีคำสั่งและจำเลยเซ็นรับทราบคำสั่งก่อน แต่กรณีนี้ปนัสยา ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ ยังไม่ได้เซ็นรับทราบคำสั่งไม่ให้ประกันของศาล

    ชี้ให้เห็นว่าทั้งสามถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำตัวออกจากศาลขึ้นรถไปยังเรือนจำ ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการจากสถาบันสิทธิฯ นายประกันของปนัสยาและจตุภัทร์ ไม่ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งของศาล

    นอกจากนี้ พบว่า ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ พร้อมด้วยปิยรัฐ จงเทพ ที่ไม่ได้ประกันในชั้นฝากขังในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอั้งยี่ กลับถูกส่งตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี แทนที่จะเป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามหมายขังของศาล

    ภายหลังศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันปนัสยา, ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ ทำให้มีผู้ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัว จำนวนอย่างน้อย 18 คน โดยเป็นผู้ถูกคุมขังในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 9 คน

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 539/2564 ลงวันที่ 8 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26691)
  • ที่ศาลอาญา นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ เข้ายื่นคำร้องขอให้ศาลออกคำสั่งให้นำตัว “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก จากเรือนจำพิเศษธนบุรี มาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ให้ตรงกับหมายขังระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณาคดี เนื่องจากหมายขังจะต้องจัดการให้เป็นไปตามเขตของศาล อีกทั้งการนำตัวทั้งหมดไปขังในเรือนจำที่ห่างไกลนั้นกระทบกระเทือนต่อสิทธิในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาและสิทธิอื่นๆ เนื่องจากทนายความและญาติเข้าเยี่ยมไม่สะดวก .

    คำร้องขอให้ย้ายจตุภัทร์และภาณุพงศ์ซึ่งศาลออกหมายขังระหว่างพิจารณาคดีหลังรับฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

    คดีนี้ศาลออกหมายขังระหว่างพิจารณาคดีให้กับผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้ขังทั้งสองไว้ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร แต่ปรากฏว่าทั้งสองกลับถูกบุคคลนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี

    ซึ่งถือว่าเป็นการคุมขังที่ขัดต่อหมายขังของศาลและขัดต่อกฎหมาย เพราะหมายขังจะต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้นในเขตของศาลซึ่งออกหมาย ตามมาตรา 89 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    และไม่ว่าการจะเป็นประการใดก็แล้วแต่ การนำตัวทั้งสองไปคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งเป็นเรือนจำที่มีที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากศาลอาญาและเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และขังแยกกันกับจำเลยในคดีเดียวกันของศาลนี้ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร่วมกัน ย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนเกินสมควรแก่จำเลยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ทนายความซึ่งเป็นทีมเดียวกันไม่สามารถปรึกษาหารือคดีกับจำเลยทั้งหมดร่วมกันได้อย่างสะดวก เต็มที่ และเป็นธรรม กระทบกระเทือนต่อสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างยิ่ง และยังกระทบต่อญาติของจำเลยในการเดินทางติดต่อขอเข้าเยี่ยมหรือสั่งซื้อสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่จำเลย

    อีกทั้งการนำตัวจตุภัทร์และภาณุพงศ์ไว้ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกในช่วงเวลาที่จะต้องเบิกตัวจำเลยมาศาล เพราะที่ตั้งของเรือนจำมีความห่างไกล เดินทางยากลำบาก อาจจะก่อให้เกิดความล่าช้า ไม่สะดวก ในการเดินทางมาศาล ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนต่อกระบวนพิจารณาคดีของศาล

    ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทนายความจึงขอศาลอาญาได้ออกคำสั่งไปยังผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และหรือผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษธนบุรี ให้ปฏิบัติตามหมายขังของศาลและกฎหมายโดยเคร่งครัด โดยให้นำตัวทั้งสองมาคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

    ในช่วงบ่ายศาลได้เรียกทนายความและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มาไต่สวน รวมทั้งเบิกตัว ปิยรัฐ, จตุภัทร์ และภาณุพงศ์ เข้าร่วมกระบวนการผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้อ้างส่งเอกสารซึ่งผู้ต้องขังทั้งสามไม่สามารถดูได้ รวมทั้งจตุภัทร์ได้แถลงขอให้ศาลเบิกตัวมาเข้าร่วมการไต่สวนในห้องพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม ศาลจึงได้มีคำสั่งให้เบิกตัวทั้งสามมาที่ศาลอาญาในวันรุ่งขึ้น

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ศาลออกคำสั่งให้นำตัวจำเลยมาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 539/2564 ลงวันที่ 10 มี.ค. 2564, https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3729315320451628 และ https://tlhr2014.com/archives/26908)
  • เวลา 10.00 น. ห้องพิจารณา 907 วันที่ 2 ของนัดไต่สวนคำร้องของทนายความ ซึ่งยื่นคำร้องให้ศาลออกคำสั่งนำตัว “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก จากเรือนจำพิเศษธนบุรี มาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ให้ตรงกับหมายขัง

    ก่อนการพิจารณามีประชาชนและเพื่อนจำนวนหนึ่งเดินทางมาให้กำลังใจนักกิจกรรมทั้งสาม แต่เจ้าหน้าที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าฟังการพิจารณา โดยอ้างข้อปฏิบัติเรื่องการป้องกันโควิดของศาลอาญา ข้อ 10 “การติดต่อราชการศาล การพิจารณาคดี อนุญาตให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีเท่านั้น เว้นแต่บุลคลที่มีความจำเป็นเกี่ยวข้องกับคู่ความ เช่น อัยการ ทนายความ พยาน และบุคคลที่โจทก์หรือจำเลยร้องขอ โดยเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอื่น (social distancing)” โดยเอกสารดังกล่าวลงวันที่ 10 มี.ค. 64

    นอกจากนี้บริเวณทางเดินเข้าห้องพิจารณา 907-910 ถูกปิดกั้นด้วยรั้วสีเหลือง ทำให้ผู้ที่ต้องการจะเข้ามาให้กำลังใจไม่สามารถเดินเข้าไปตรงทางเดินหน้าห้องพิจารณาได้ ตลอดช่วงเวลาของการพิจารณายังมีเจ้าหน้าที่ศาล, ตำรวจศาล และ รปภ. ยืนเฝ้าบริเวณหน้าห้องพิจารณา และในช่วงเวลาประมาณ 12.20 น. รองอธิบดีผู้พิพากษา ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ได้เดินมาตรวจดูความเรียบร้อยเช่นเดียวกัน

    เวลา 10.00 น. โตโต้, ไผ่ และไมค์ ถูกนำตัวมาที่ห้องพิจารณา ทั้งสามคนใส่เสื้อแขนสั้น-กางเกงขาสั้นสีน้ำตาล และรองเท้าแตะสีดำ โดยมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 5-8 คน ทำหน้าที่ควบคุมตัวมา มีเพียงมารดาของไมค์ และแฟนของไผ่ รวมถึง ปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะอาจารย์ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณา ก่อนเริ่มการพิจารณา ศาลขอความร่วมมือผู้เข้าฟังการพิจารณาปิดเครื่องมือสื่อสาร และไม่บันทึกหรือถ่ายภาพในห้องพิจารณา

    10.15 น. เริ่มพิจารณากรณีของ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ซึ่งศาลอนุญาตฝากขังและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จากเหตุจับกุมกลุ่มการ์ด We Volunteer (Wevo) และประชาชน บริเวณห้างสรรพสินค้าเมเจอร์รัชโยธิน ก่อนการชุมนุมในวันที่ 6 มี.ค. 64 นักทัณฑวิทยาชำนาญการพิเศษ นายนราวิชญ์ ซึ่งรับราชการมาแล้ว 10 ปี ขึ้นเบิกความตอบทนายผู้ต้องหา โดยรับว่าในคดีนี้มีการย้ายผู้ต้องขังไปเรือนจำพิเศษธนบุรีโดยไม่ได้พาตัวโตโต้ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาก่อน และไม่มีการแจ้งญาติให้ทราบ

    เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์รับว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะต้องนำผู้ต้องขังไปขังตามหมาย และหมายขังสั่งให้ขังผู้ต้องหาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทนายผู้ต้องหาได้นำกฎกระทรวง เรื่องการกำหนดระบบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง การควบคุมและการแยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง ให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ดู โดยกล่าวว่า กฏกระทรวงข้อ 17 การสั่งย้ายผู้ต้องขังต้องขออนุญาตศาลและอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายนราวิชญ์รับว่าโดยปกติต้องเป็นเช่นนั้น แต่หากมีกรณีจำเป็นก็สามารถย้ายผู้ต้องขังก่อนแล้วจึงแจ้งศาล

    ทั้งนี้ ในการไต่สวนเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 64 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่ได้อ้างส่งเอกสารคำสั่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ย้ายผู้ต้องขังเข้ามาในสำนวน มีเพียงหนังสือผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่งถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อขอย้ายผู้ต้องขัง ทนายความได้ถามนายนราวิชญ์ว่า เอกสารนี้จัดทำขึ้นในเวลา 14.50 น. ของวันที่ 10 มี.ค. 64 ภายหลังจากทนายยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลออกคำสั่งนำตัว โตโต้, ไผ่ และไมค์ ย้ายจากเรือนจำพิเศษธนบุรี กลับมาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 10 มี.ค. 64 ใช่หรือไม่

    อย่างไรก็ดี ในวันนี้นายนราวิชญ์ได้นำคำสั่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ย้ายผู้ต้องขังไปยังเรือนจำพิเศษธนบุรีมาอ้างส่งศาล ศาลรับไว้โดยกล่าวว่า คดีอาญาต้องให้ความยุติธรรมและวางตัวเป็นกลาง จะไม่ทำให้มีความเคลือบแคลงสงสัย ทนายผู้ต้องหาได้ซักถามนายนราวิชญ์ว่า เมื่อวาน (10 มี.ค. 64) ทนายได้ถามแล้วว่า มีเอกสารอะไรจะยื่นอีกหรือไม่ พยานไม่ได้ยื่น แต่วันนี้กลับส่งหนังสือฉบับนี้ ซึ่งลงวันที่ 10 มี.ค. 64 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 64 เป็นการสั่งย้อนหลัง อีกทั้งเป็นเพียงเอกสารสำเนา ไม่มีวันเวลาที่เซ็นรับเอกสาร ไม่ได้แนบเหตุผลในการขอย้ายเพื่อรายงานให้ศาลทราบ รวมทั้งไม่มีคำสั่งอนุญาตจากศาล ใช่หรือไม่ นายนราวิชญ์รับว่าใช่

    เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์กล่าวว่าเหตุผลหลักที่ต้องย้ายตัวผู้ต้องขังเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย เนื่องจากวันดังกล่าวมีการออกมาเรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องขังที่ถูกขังไปก่อนหน้าที่บริเวณหน้าศาลอาญาและยังมีมวลชนมารวมตัวกันหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มากกว่าทุกครั้ง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 64 มีการชิงตัวกลุ่ม Wevo บริเวณเมเจอร์รัชโยธินอีกด้วย

    ทนายความได้ซักถามพยานโดยตั้งข้อสังเกตว่า หนังสือขอย้ายไม่ได้ระบุเหตุผลเรื่องมวลชน อีกทั้งที่ผ่านมาก็มีการคุมขังอานนท์ นำภา, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ในคดีการชุมนุมวันที่ 19-20 ก.ย. 63 มาตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 64 และมีการทำกิจกรรมเรียกร้องหน้าเรือนจำหลายครั้ง แต่ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยมาก่อน และทั้งสี่คนก็ไม่ได้ถูกย้ายออกไปคุมขังที่เรือนจำอื่นแต่อย่างใด นราวิชญ์รับว่าใช่

    นอกจากนี้ ทนายผู้ต้องหา/จำเลยทั้งสามได้แย้งคำเบิกความของนายนราวิชญ์ว่า ไม่สอดคล้องกับการแถลงข่าวของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่อ้างว่า การนำตัวทั้ง 3 คน ไปขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี เนื่องจากต้องการลดความแออัด

    ทนายความยังได้ถามเจ้าหน้าที่ถึงเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า ในเขตกรุงเทพฯ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีระบบรักษาความปลอดภัยดีที่สุดรองจากเรือนจำบางขวางใช่หรือไม่ ที่ผ่านมาผู้ต้องขังคดีการเมืองซึ่งมีมวลชนมาให้กำลังใจจำนวนมากก็ขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เคยมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ตอบว่าตนรู้เรื่องระบบความปลอดภัยเพียงบางส่วน และตลอดช่วงเวลาที่ตนทำงานราว 10 ปี มีผู้ต้องขังหนี 1-2 คน

    ทั้งนี้ ไมค์และไผ่เบิกความว่า ในวันที่ 8 มี.ค. 64 “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ก็ถูกนำตัวออกจากศาลพร้อมกัน แต่อยู่ในรถคนละคัน ขบวนรถผู้ต้องขังได้ผ่านหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีเพียงรถคันที่ควบคุมตัวรุ้งที่เลี้ยวเข้าประตูทางเข้าเรือนจำ แต่รถที่ควบคุมตัวไมค์และไผ่วิ่งผ่านไป ไม่ได้เลี้ยวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งที่หมายขังให้ขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่กลับพาตัวไปยังเรือนจำพิเศษธนบุรีแทน

    ไผ่ยังเบิกความว่า ขณะผ่านหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตนมองเห็นแต่ลวดหนามหีบเพลง ไม่เห็นมวลชนที่หน้าเรือนจำแต่อย่างใด ทำให้ทนายตั้งคำถามนราวิชญ์ว่า ประตูทางเข้าของทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ใช้ประตูเดียวกัน ที่พยานเบิกความว่ามีมวลชนอยู่ที่ประตูทางเข้าเรือนจำจำนวนมาก มวลชนจะขัดขวางได้แค่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่ขัดขวางทางเข้าทัณฑสถานหญิงกลางใช่หรือไม่ นายนราวิชญ์ไม่ตอบ

    ทนายความของทั้งสามยังถามถึงสาเหตุที่ไม่มีการรายงานศาลเรื่องการเปลี่ยนที่คุมขังภายในวันที่ 9 มี.ค. 64 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ตอบว่าอยู่ระหว่างการดำเนินงานธุรการ ซึ่งเสร็จก่อนวันที่ 10 มี.ค. 64 แต่ติดเรื่องการออกเลขเอกสารอยู่ นราวิชญ์ยังตอบทนายว่า สามารถแจ้งศาลย้อนหลังได้และเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบไม่ให้การขออนุญาต โดยในปีที่ผ่านมามีการย้ายผู้ต้องขังเช่นนี้ประมาณ 5 คนและไม่ได้ขออนุญาต

    ทนายความถามถึงความสมัครใจของผู้ต้องขังทั้งสามเกี่ยวกับการถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี โดยทั้งสามไม่ได้เซ็นยินยอมให้ย้ายเรือนจำ โดยเห็นว่าเรือนจำพิเศษธนบุรีอยู่ไกล ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าเยี่ยมของญาติและทนายความ กระทบกับการต่อสู้คดี อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้กล่าวว่าการย้ายเรือนจำเป็นอำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องขัง

    โตโต้กล่าวว่าตนถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 64 โดยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ บก.ตชด.ภาค 1 ก่อนถูกนำตัวไปเรือนจำพิเศษธนบุรี ในวันที่ 8 มี.ค. 64 โดยขณะที่ถูกจับกุมบริเวณลานจอดรถชั้น 3 ของโรงภาพยนตร์เมเจอร์รัชโยธิน ตนไม่มีพฤติการณ์ขัดขืน แต่ไม่ทราบว่าคนที่มาจับเป็นเจ้าหน้าที่หรือไม่ เนื่องจากไม่ได้แต่งเครื่องแบบ และนำตนขึ้นรถส่วนตัวไปคนเดียว จนตนคิดว่าถูกชิงทรัพย์ ที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เบิกความเรื่องการชิงตัว Wevo นั้น จึงไม่เกี่ยวกับตน รวมทั้งคำร้องขอฝากขัง พนักงานสอบสวนก็ไม่ได้ระบุว่า ตนต่อสู้ขัดขวาง

    ส่วนไมค์และไผ่ เห็นว่าพวกตน กับผู้ต้องขังอีก 4 คน คือ อานนท์, พริษฐ์, สมยศ และปติวัฒน์ ซึ่งถูกขังระหว่างพิจารณาคดีอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นผู้ต้องขังในคดีเดียวกันซึ่งอัยการยื่นคำร้องของรวมคดีแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้ปรึกษาหารือในเรื่องการต่อสู้คดี นอกจากนี้ยังใช้ทนายชุดเดียวกัน พยานหลักฐานเดียวกัน สมควรที่จะได้อยู่ในเรือนจำเดียวกันเพื่อความสะดวกในการเข้าเยี่ยมและเพื่อความยุติธรรมในการต่อสู้คดี

    ไผ่ยังเบิกความว่าวันที่พวกตนถูกนำตัวมามีการใช้รถบัสชุดควบคุมฝูงชนจำนวนมากกว่า 4 คัน มีรถหน่วย SWAT และรถเจ้าหน้าที่ รวมๆ แล้วอาจจะถึง 15 คัน รถที่ควบคุมตนไม่ได้เลี้ยวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่พามายังเรือนจำพิเศษธนบุรี พวกตนถูกทำประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายภาพ ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาทำ ครั้งที่สองเป็นเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่ทำตามคำสั่งศาลและไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าเหตุใดจึงพาพวกตนมาคุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ทำให้ตนรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและต่อกระบวนการยุติธรรม

    หลังจบการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งต่อคำร้องขอให้ย้ายผู้ต้องขังทั้งสามมาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามหมายขังของศาล ในวันจันทร์ที่ 15 มี.ค. 64 เวลา 9.00 น.

    ทั้งนี้ ก่อนจบการไต่สวน ทนายความได้แถลงต่อศาลและแจ้งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ว่า พริษฐ์ยังเป็นเพียงนักศึกษาไม่ควรขังเขาไว้ในแดน 5 ซึ่งเป็นแดนนักโทษเด็ดขาด โดยศาลให้ทนายความประสานกรมราชทัณฑ์ก่อน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/26908)
  • เวลา 9.00 น. คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมกับทนายความ ได้เดินทางไปที่ศาลอาญา เพื่อยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว 3 แกนนำราษฎร ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, “รุ้ง” ปนัสยา นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ “ไผ่” จตุภัทร์ ซึ่งกำลังศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล

    การยื่นประกันตัวในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 ของเพนกวิน หลังเขาถูกคุมขังมา 32 วัน แล้ว ส่วนของรุ้งและไผ่ เป็นการยื่นครั้งที่ 2 หลังจากไม่ได้รับการประกันตัวในวันสั่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564

    การร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ ได้ใช้ตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นหลักประกันทั้งสามคน โดยมี ผศ.ดร.จันทนี เจริญศรี คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ และอาจารย์สิทธิโชค ชาวไร่เงิน ยื่นขอประกันตัวรุ้ง ส่วน ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยื่นขอประกันตัวเพนกวิน ในสองคดี ทั้งในคดีชุมนุม 19 ก.ย. 63 และคดีชุมนุม Mobfest ส่วน อ.ดร.พัทธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ยื่นขอประกันตัวไผ่

    คำร้องยืนยันว่าตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือได้ ว่าหากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะไม่หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาคดี

    ทั้งสามคนยังมีเหตุผลความจำเป็นด้านการศึกษา โดยมีการเรียนและสอบกลางภาคที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงนี้ การศึกษาค้นคว้า การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ภายในเรือนจำ จะส่งผลกระทบกับการเรียนของจำเลยอย่างร้ายแรง ถึงขั้นไม่ผ่านวิชาที่ลงทะเบียนเรียน และส่งผลกระทบต่อการเรียนจบตามหลักสูตร นำไปสู่การถูกตัดสิทธิทางการศึกษา

    อีกทั้งทั้งสามคนยังมิได้ถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดแต่อย่างใด จึงสมควรได้รับโอกาสให้ได้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อกลับไปศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกติกาสิทธิมนุษยชนสากล ล้วนรับรองหลักการได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในคดีอาญา

    อย่างไรก็ตาม สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุว่า ยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และไม่ได้มีการกล่าวถึงเหตุจำเป็นที่ทั้งสี่กล่าวถึงในคำร้อง

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 และ 539/2564 ลงวันที่ 12 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26914)
  • ที่ห้องพิจารณา 701 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. จำเลย 12 คน ประกอบด้วย ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ชูเกียรติ แสงวงค์, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ณัทพัช อัคฮาด, ธนชัย เอื้อฤาชา, ธนพ อัมพะวัติ, ธานี สะสม, ภัทรพงศ์ น้อยผาง, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ และณัฐชนน ไพโรจน์ ทยอยเดินทางเข้ามาในห้องพิจารณา โดยมีจำเลย 2 คน ไม่ได้เดินทางมาในวันนี้ ได้แก่ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ ซึ่งติดสืบพยานในคดีที่จังหวัดขอนแก่น และอะดิศักดิ์ สมบัติคำ ซึ่งติดภารกิจงานศพบิดา

    เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำตัวจำเลยอีก 8 คน ซึ่งถูกคุมขังในเรือนจำต่างๆ ได้แก่ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ จากเรือนจำพิเศษธนบุรี, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จากทัณฑสถานหญิงกลาง และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, สมยศ พฤกษาเกษมสุข จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เข้ามาในห้องพิจารณา โดยมีประชาชนจำนวนมากและครอบครัวของผู้ถูกคุมขังแต่ละคนเดินทางมาให้กำลังใจ ทำให้บรรยากาศในห้องพิจารณาเต็มไปด้วยความอบอุ่น

    ในวันนี้ตลอดทั้งวันยังมีผู้สังเกตการณ์สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และเจ้าหน้าที่สถานทูตต่างๆ กว่า 14 ประเทศ สลับการเข้าร่วมฟังการพิจารณาตลอดวันนี้ด้วย ได้แก่ สหภาพยุโรป, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรเลีย , อังกฤษ, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, ลักเซมเบิร์ก, สวีเดน, นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา

    บรรยากาศของศาลอาญา ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจศาล เจ้าหน้าที่ศาล และ รปภ. จำนวนหนึ่ง คอยตรวจตราความเรียบร้อยภายในและภายนอกห้องพิจารณา เนื่องจากมีผู้ให้ความสนใจเดินทางมาเข้าฟังการพิจารณาเป็นจำนวนมาก มีการประกาศให้เว้นระยะห่างจากจำเลยเนื่องจากสถานการณ์โควิด

    เวลา 10.30 น. “ไมค์” ภาณุพงศ์ และ “ไผ่” จตุภัทร์ ถูกนำตัวไปยังห้องพิจารณาที่ 907 เพื่อฟังคำสั่งศาลเรื่องการขอย้ายเรือนจำจากเรือนจำพิเศษธนบุรี มายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามหมายขัง ซึ่งมีการไต่สวนเรื่องดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 64 โดยในวันนี้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายทั้งคู่กลับมาคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    เวลา 10.45 น. ศาลเริ่มพิจารณาคดี อัยการโจทก์แถลงขอรวมการพิจารณาคดี ระหว่างคดีของจำเลย 4 คน ได้แก่ พริษฐ์, อานนท์, ปติวัฒน์, สมยศ ซึ่งถูกฟ้องเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 64 โดยไม่ได้รับการประกันตัว กับคดีของจำเลยอีก 18 คน ซึ่งถูกฟ้องเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 64 ซึ่งมีผู้ไม่ได้รับการประกันตัวในวันดังกล่าว จำนวน 3 คน ได้แก่ ภาณุพงศ์, จตุภัทร์ และปนัสยา เนื่องจากจำเลยทั้งสองคดีถูกกล่าวหาจากมูลเหตุเกี่ยวพันกัน ในเหตุการณ์เดียวกัน และมีพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ศาลอนุญาตให้รวมการพิจารณาคดี รวมแล้วมีจำเลยทั้งสิ้น 22 คน เป็นจำเลยที่ถูกฟ้องมาตรา 112 จำนวน 7 คน ซึ่งไม่ได้รับการประกันตัว และจำเลยถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา 116 อีกจำนวน 15 คน

    ขณะศาลถามว่าจะมีจำเลยคนใดคัดค้านการพิจารณาคดีหรือไม่ สมยศลุกขึ้นยืนแถลงต่อศาลว่า ผมจะสู้คดีได้อย่างไร ในเมื่อถูกคุมขังอยู่ ประชาชนในห้องพิจารณากล่าวขึ้นมาว่า “ให้พวกเขาประกันตัว”

    ศาลชี้แจงว่าองค์คณะที่พิจารณาคดีในวันนี้มีส่วนรับผิดชอบเพียงเรื่องการรวมสำนวนการพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน ฝ่ายบริหารคืออธิบดีและรองอธิบดีศาลเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาเรื่องการให้ประกันตัว

    ศาลกล่าวต่อว่าศาลพยายามให้ความยุติธรรมและความเป็นกลางแล้ว เพนกวินถามว่าศาลเป็นกลางอย่างไร ในเมื่อขังตนไว้ แต่แกนนำ กปปส. ซึ่งศาลมีคำพิพากษาแล้วว่ามีความผิด ถูกขังเพียง 2 คืน และไม่ถูกตัดผม ก่อนได้รับการประกันตัว เหมือนกับพวกตน เพนกวินกล่าวต่อว่าไม่ว่าศาลคนใดก็พิพากษาในนามสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น ผู้คนในห้องพิจารณาพากันปรบมือ

    จากนั้น ผู้พิพากษาได้เรียกตำรวจศาลเข้ามาในห้องพิจารณาเพื่อให้ควบคุมประชาชน ศาลกล่าวว่าจะไม่ให้เพนกวินแถลงต่ออีก ขอให้นั่งลง และฟังศาล แต่เพนกวินยังคงยืนอยู่และพยายามจะแถลงต่อ

    อานนท์กล่าวว่าบางเรื่องที่ศาลจะได้ฟังเป็นยาขม น่ากระอักกระอ่วนใจ แต่ศาลควรรับฟัง ศาลกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นศาลจะเปิดโอกาสให้ได้แถลงแต่ต้องพิจารณาเป็นการลับ ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องพิจารณา เนื่องจากสิ่งที่จะกล่าว อาจกระทบกระเทือนผู้อื่น

    เพนกวินบอกว่าศาลจะกลัวอะไร อย่าปิดหูปิดตาประชาชน ศาลขอให้เพนกวินนั่งลงหลายครั้ง และยังกล่าวว่าในห้องพิจารณานี้มีกล้องวงจรปิด

    จากนั้น “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ ได้ลุกขึ้นแถลงต่อศาลท่ามกลางบรรยากาศการถกเถียงว่า อยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันก่อน ปติวัฒน์กล่าวยืนยันว่าตนแสดงความบริสุทธิ์ใจมาโดยตลอด ตั้งแต่ถูกจับกุม ตนได้เข้ารายงานตัวทั้งที่จังหวัดขอนแก่น ปทุมธานี และกรุงเทพ ฯ เมื่อถูกปล่อยตัวจากเรือนจำ ตนมารายงานตัวอย่างสม่ำเสมอและทำตามกฎหมายทุกอย่าง โดยนั่งรถทัวร์มารายงานตัวตามนัดอัยการตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. ถึงกรุงเทพฯ เช้าวันที่ 9 ก.พ. จนมาถูกจำคุกราว 1 เดือนเต็มแล้ว

    ปติวัฒน์ระบุว่าตนใช้เวลาพิจารณาชีวิตในระหว่างนี้มาโดยตลอดว่า ที่ผ่านมาตนแสดงความบริสุทธิ์ใจ ให้ความร่วมมือและทำตามกฎหมาย แต่กลับต้องได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจในคุก ตั้งแต่แม่เสียเมื่อเดือนสิงหาคม 63 ที่ประเทศอังกฤษ ศพของแม่ยังอยู่ที่นั่น ตนยังไม่ได้มีเวลาจัดการและต้องเจ็บปวดซ้ำซ้อนกับคดีมาตรา 112 ตนอยากทราบว่าการพิจารณาคดีวันนี้จะให้ผลดีหรือผลเสียแก่ตนอย่างไรบ้าง

    ศาลจึงอธิบายขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายให้ฟัง พร้อมทั้งยังกล่าวขอให้อานนท์ นำภา ช่วยอธิบายเรื่องกระบวนการพิจารณาและการประกันตัวแก่จำเลยที่เหลือเพิ่มเติม เนื่องจากคิดว่าทนายอานนท์น่าจะเข้าใจกระบวนการเป็นอย่างดี

    อานนท์จึงลุกขึ้นแถลงต่อศาลว่า เพราะตนเข้าใจกระบวนการเป็นอย่างดี ตนจึงพูดไม่ออกกับเรื่องดังกล่าว (เรื่องสิทธิในการประกันตัว) หากตนไม่เข้าใจ ตนคงลุกขึ้นถาม แต่เพราะเข้าใจจึงไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรกับเรื่องนี้ และไม่มีเรื่องอะไรในกระบวนการตอนนี้ที่จะอธิบายให้ใครเข้าใจ

    สมยศได้กล่าวกับศาลอีกว่า พวกผมอยู่ในสถานะถูกมัดมือชก ถูกคุมขัง เราจะเดินหน้าคดีต่อไปได้อย่างไร อยากให้ศาลเรียนกับศาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกันตัวถึงเรื่องนี้ โดยอธิบายว่าแม้แต่คำฟ้องจำนวน 20-30 แผ่นนี้ ในเรือนจำก็ยังไม่มีที่เก็บ ซ้ำตนไม่สามารถแม้แต่จะหาที่นั่งอ่านอย่างเงียบสงบในเรือนจำได้ การคุมขังพวกตนคือการตัดสินไปล่วงหน้านั่นเอง

    เอกชัยได้กล่าวเสริมว่าการคุมขังเช่นนี้ต่อให้ท้ายที่สุดชนะคดี ก็ไม่มีประโยชน์เพราะถูกขังฟรีไปแล้ว

    ศาลกล่าวว่าศาลจะรับคำแถลงนี้และรู้สึกเห็นใจจำเลยทุกคนที่ถูกคุมขังอยู่ สมยศกล่าวว่าศาลต้องกล้าหาญในการบอกว่า ศาลไม่สามารถเป็นผู้พิจารณาในคดีนี้ได้ หากจำเลยทั้งหมดยังไม่ได้รับการประกันตัว

    ตลอดการพูดคุยในห้องพิจารณามีเสียงปรบมืออยู่เป็นระยะจากผู้เข้าร่วมฟังการพิจารณา ขณะที่เพนกวินยังพยายามจะแถลงสิ่งที่ได้เตรียมมาแต่ศาลไม่ให้แถลง ยืนยันว่าหากจะแถลงต้องพิจารณาลับ

    เจ้าหน้าที่ตำรวจศาลได้พยายามเดินเข้ามาล้อมเพนกวิน แต่ประชาชนในห้องพิจารณาเริ่มยืนขึ้น รุ้ง ปนัสยาได้เดินเข้าไปด้านหลังเพนกวิน และพยายามยืนกันเพนกวินเอาไว้ไม่ให้มีใครเข้าใกล้

    ผู้พิพากษาองค์คณะได้สั่งพักการพิจารณา แล้วเดินออกจากห้องพิจารณาไป โดยสั่งให้ตำรวจศาลเชิญผู้ไม่เกี่ยวข้องในคดีออกจากห้องพิจารณา

    ภายหลังศาลออกจากห้องพิจารณาแล้ว เพนกวินยังคงพยายามแถลงสิ่งที่เตรียมมา โดยตำรวจศาลรวมถึงเจ้าหน้าที่ศาล และ รปภ. ประมาณ 15 คน พยายามเข้ามาล้อมเพนกวินไว้เพื่อจะนำตัวออกไป

    เพนกวินได้ลุกขึ้นยืนบนเก้าอี้ไม้ในห้องพิจารณา ประชาชนที่มาฟังการพิจารณาพยายามยืนขึ้นคล้องแขนล้อมเพนกวินไว้ บางคนชูสามนิ้ว เพื่อแสดงถึงความสนับสนุน

    ใจความในตอนหลังของการแถลงดังกล่าวคือ การประกาศอดอาหารเพื่อประท้วงการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว โดยจะดื่มแค่น้ำเปล่า น้ำหวาน และน้ำนม จนกว่าศาลจะคืนสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคน โดยหวังว่าความทรมานของตนจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริง เพนกวินได้แถลงจนจบใจความที่ต้องการ ก่อนถูกตำรวจศาลนำตัวออกไปจากห้องพิจารณา พร้อมผู้ถูกคุมขังคนอื่นๆ ประชาชนในห้องพิจารณาตะโกนพร้อมกันว่า “ศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ” จำนวน 3 ครั้ง

    ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 13.30 น. ศาลได้กลับมาพิจารณาคดีอีกครั้ง โดยตำรวจศาลและเจ้าหน้าที่ศาลได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดกับการเข้าฟังการพิจารณา มีการกั้นแผงรั้วเหล็กที่ระเบียงทางเดินศาลไปยังห้องพิจารณาที่ 701 มีการคัดกรองผู้ที่จะเข้าไปยังห้องพิจารณา โดยไม่อนุญาตให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าฟัง

    ต่อมาได้มีการพูดคุยให้เฉพาะผู้ที่จำเลยร้องขอ สามารถเข้าไปให้ห้องพิจารณาได้ ได้แก่ ญาติ หรือบุคคลที่จำเลยไว้วางใจ และต่อมายังอนุญาตให้ผู้แทนสถานทูตเข้าฟัง ทั้งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบสองคนได้เข้าฟังการพิจารณาด้วย

    ศาลได้ปรึกษากับทนายความว่าในวันนี้มีจำเลย 2 คน ไม่ได้เข้าร่วมการพิจารณา โดยมีเหตุติดขัดจำเป็นและในคดีนี้โจทก์อ้างส่งเอกสารจำนวนมากโดยเป็นพยานเอกสาร 234 ลำดับ และแผ่นซีดีจำนวน 22 แผ่น

    ทนายจำเลยและอานนท์ จึงได้แถลงขอให้ศาลเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานไปอีกนัดหนึ่ง เพื่อให้มีเวลาตรวจสอบพยานหลักฐาน

    ทนายความยังแถลงขอให้ศาลอนุเคราะห์เรื่องการคุมขังจำเลย ได้แก่ พริษฐ์และอานนท์ ไว้รวมกับผู้ที่ถูกขังระหว่างพิจารณา มิใช่คุมขังในแดนนักโทษเด็ดขาด เพื่อให้สะดวกต่อการปรึกษาเรื่องการต่อสู้คดีในเรือนจำ

    ศาลระบุว่า การควบคุมตัวจำเลยและผู้ถูกคุมขังทั้งหมดเป็นอำนาจหน้าที่ของทางราชทัณฑ์ แต่เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ถูกฟ้องและจำกัดอิสรภาพได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จึงขอความอนุเคราะห์ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป โดยได้บันทึกคำแถลงประเด็นนี้ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลไม่ได้บันทึกคำแถลงต่างๆ ของจำเลยแต่ละคนในช่วงเช้าไว้ในกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด

    ศาลได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 29 มี.ค. 64 เวลา 9.00 น.

    รายละเอียดของคำสั่งอนุญาตให้ย้ายเรือนจำ มีดังนี้ พิเคราะห์ว่าตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณา มาตรา 89 ได้กำหนดไว้ว่า หมายขังหรือหมายจำคุกต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้นในเขตของศาลซึ่งออกหมาย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ในที่นี้คือกฎกระทรวง กำหนดระบบการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง การควบคุม และการแยกคุมขัง และการย้ายผู้ต้องขัง ข้อ 16 และ 17 ในหมวดการย้ายผู้ต้องขัง ซึ่งการย้ายผู้ต้องขัง ผู้ฝากต้องขออนุญาตศาลก่อนเว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ต้องรายงานให้ศาลทราบ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นการย้ายไปตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามหมายศาล ตามประมวลกฎหมายงิธีพิจารณาความอาญามาตรา 89

    ศาลระบุว่ามีข้อเท็จจริงจากการไต่สวนปรากฎว่าในวันที่ 8 มี.ค. 64 มีกลุ่มมวลชนออกมาเรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องขังที่ถูกขังไปก่อนหน้าที่บริเวณหน้าศาลอาญา และยังมีมวลชนมารวมตัวกันหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มากกว่าทุกครั้ง อันอาจจะเกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือมีเหตุพิเศษอย่างอื่น ทำให้มีเหตุจำเป็นที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์สามารถใช้ดุลพินิจในการย้ายจำเลยทั้งสามไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี แล้วแจ้งให้ศาลทราบได้ ฉะนั้นการคุมขังทั้งสามคนที่เรือนจำพิเศษธนบุรีนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

    หลังจากวันที่ 8 มี.ค. 64 ไม่มีมวลชนที่ศาลอาญาและเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เหตุจำเป็นที่ต้องคุมขังจำเลยทั้งสามที่เรือนจำพิเศษธนบุรีย่อมหมดสิ้นไปแล้ว และสามารถย้ายจำเลยทั้งสามไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความแออัดภายในที่คุมขังและตามมาตรการโควิด เป็นสถานที่คุมขังที่ใหญ่มีประสิทธิภาพและบริหารจัดการได้ดี รวมถึงนักโทษคดีการเมืองหลายคดี ได้แก่ คดีกปปส., คดีนปช., และ อานนท์และพวก อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ด้วย ฉะนั้นการย้ายสถานที่คุมขังสามารถกระทำได้

    หลังอ่านคำสั่ง ศาลยังได้กล่าวกำชับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ว่า หากเกิดเหตุการณ์ในกรณีเดียวกันนี้อีก อย่าให้เกิดความล่าช้าในการแจ้งให้ศาลทราบ และยังกำชับต่อทนายความของจำเลย 2 และ 3 ว่า ขอให้ระวังเรื่องการให้ข่าวกับสื่อและการโพสท์ลงโซเชียลมีเดียที่จะมีผลต่อการพิจารณาคดี มิเช่นนั้นศาลดำเนินการที่เห็นว่าสมควรต่อไป

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 15 มี.ค. 2564, https://tlhr2014.com/archives/27026 และ https://tlhr2014.com/archives/26999)
  • อานนท์เขียนคำร้องถึงศาลอาญาในระหว่างการสืบพยานในคดีคนอยากเลือกตั้ง ARMY57 ระบุว่าเมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้คุมพยายามจะเอาตัว “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก ซึ่งถูกขังระหว่างพิจารณาในคดีนี้ และเพิ่งถูกนำตัวมาขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังศาลมีคำสั่งให้ย้ายจากเรือนจำพิเศษธนบุรี โดยมีการพยายามมานำตัวออกไปควบคุมนอกแดนถึง 4 ครั้งในช่วงกลางดึก อ้างเพียงว่าจะเอาตัวไปตรวจโควิด ซึ่งผิดวิสัยโดยปกติที่จะไม่นำผู้ต้องขังออกนอกแดนในเวลาหลังเที่ยงคืน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มากลางดึกยังไม่ติดป้ายชื่อ ทำให้เขาเกรงว่าจะถูกนำตัวไปทำร้ายถึงชีวิต

    อานนท์ยังได้ทำหนังสือให้ทีมทนายความไปยื่นถึงผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปพยายามดำเนินการดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดหน่วยงานใด ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการในการเข้าไปยังห้องควบคุม/ขังหรือไม่ และมีชื่อสกุลว่าอะไรบ้าง พร้อมกับเปิดเผยภาพกล้องวงจรปิดทุกกล้อง ทุกตัว ทุกมุม ที่บันทึกภาพและคลิปเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ชี้แจงว่าการย้ายที่คุมขังในยามวิกาลหรือในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน สามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบหรือไม่ หากสามารถทำได้ อาศัยอำนาจตามข้อกฎหมายหรือระเบียบใด

    (อ้างอิง: คำร้อง ศาลอาญา ลงวันที่ 16 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27045)

    ภายหลังเกิดเหตุดังกล่าวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ช่วงคืนที่ผ่านมา ทนายจำเลยและครอบครัวจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวนักกิจกรรม "ราษฎร" 8 ราย อีกครั้ง ได้แก่ กลุ่มที่ถูกฟ้องมาตรา 112 และ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ ซึ่งถูกคุมขังในชั้นสอบสวนในคดีวางเพลิงรูป ร.10 ที่เรือนจำพิเศษธนบุรีด้วย

    สำหรับอานนท์, ปติวัฒน์ และสมยศ นับการยื่นประกันเป็นครั้งที่ 5 แล้ว พริษฐ์เป็นครั้งที่ 6 ส่วนจตุภัทร์, ปนัสยายื่นประกันเป็นครั้งที่ 3 และภาณุพงศ์ยื่นครั้งที่ 2 โดยในวันนี้ได้วางเงินสดจำนวนคนละ 300,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักประกัน ส่วนของไชยอมรนั้นวางเงินสดจำนวน 35,000 บาท เนื่องจากถูกฟ้องด้วยข้อหาหลัก คือ “ยุยงปลุกปั่น” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ “ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนทั่วไป” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 เท่านั้น

    เวลาประมาณ 19.00 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้ง 8 คน ระบุว่า สำหรับปติวัฒน์, สมยศ, พริษฐ์ และอานนท์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ส่วนสำหรับภาณุพงศ์, ปนัสยา และจตุภัทร์นั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งศาลได้แสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้งไว้แล้ว หากได้รับการปล่อยตัว อาจไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    สำหรับคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวไชยอมร ระบุเหตุผลว่า เนื่องจากไชยอมรถูกจับกุมได้ในคดีอื่นขณะหลบหนี กรณีนี้มีเหตุอันควรให้เชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะหลบหนีหรือไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก จึงไม่สมควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

    ทั้งนี้ ในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ นำภา ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า “ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 [อานนท์ นำภา] อาจได้รับอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มิใช่เหตุผลที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งศาลได้นัดไต่สวนเรื่องดังกล่าวในคดีนี้แล้ว จึงยังไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”

    นอกจากคดีชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ทนายและครอบครัวยังได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ ระหว่างพิจารณาคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #Mobfest เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 63 และประกันตัวไชยอมรในชั้นสอบสวน ในคดีวางเพลิงเผาทรัพย์รูปกษัตริย์รัชกาลที่ 10 อย่างไรก็ตาม ศาลยกคำร้อง ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกัน

    ทั้งนี้ คำสั่งทุกฉบับมี ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นผู้ลงนาม

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 16 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27078)

  • ศาลเบิกตัวอานนท์มาไต่สวนกรณีที่ยื่นคำร้องว่า ผู้คุมพยายามจะเอาตัว “ไผ่” จตุภัทร์ และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ ออกไปควบคุมนอกแดน บรรยากาศการไต่สวนในห้องพิจารณา 812 เป็นไปด้วยความเคร่งครัด โดยมีเจ้าหน้าที่ศาล, รปภ. และตำรวจศาลกว่า 10 คน คอยตรวจตราหน้าห้องและไม่อนุญาตให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าฟังการพิจารณา ขณะเดียวกันญาติ ผู้ได้รับอนุญาตให้นั่งฟังการพิจารณาและทนายความ ต้องปิดมือถือและนำมาฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ศาลด้านหน้าผู้พิพาษา แม่ไผ่, แม่ไมค์ และครอบครัวของทนายอานนท์ ได้เข้าฟังการไต่สวน ขณะที่แม่ของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งเดินทางมาร่วมฟังการพิจารณาด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ต้องขังทั้งหมดมิใช่เพียงแค่สามคน ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณาแต่อย่างใด

    ทนายความแถลงต่อศาลว่า นักข่าวให้ความสนใจต่อกรณีดังกล่าวและอยากขอส่งตัวแทนเข้าฟังการพิจารณานี้ด้วย พร้อมทั้งกล่าวว่า การไม่เปิดให้ประชาชนเข้าฟังไม่สอดคล้องกับหลักการพิจารณาโดยเปิดเผย ศาลกล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมในการนำเสนอชื่อและภาพของผู้พิพากษาในลักษณะกล่าวร้าย ทำให้ต้องจำกัดการเข้าฟังการพิจารณาและกล่าวถึงการพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 64 ซึ่งเกิดความวุ่นวายขึ้นในห้องพิจารณาขณะที่ “เพนกวิน” ลุกขึ้นแถลงข้อความต่อศาล จนศาลต้องพักการพิจารณา โดยภายหลังปรากฎภาพถ่ายเหตุการณ์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนภาพจากกล้องวงจรปิดว่าใครเป็นผู้ถ่ายภาพ

    ก่อนทนายอานนท์ซึ่งผู้เขียนคำร้องจะขึ้นเบิกความเป็นพยานปากแรก ศาลกล่าวกับทุกคนในห้องพิจารณาว่าศาลจะให้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ระบบการไต่สวนเป็นระบบที่มีผู้พิพากษาเป็นผู้ซักถาม โดยผู้พิพากษาให้อานนท์ไล่เรียงเหตุการณ์ของวันที่ 15 มี.ค. 64 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ

    อานนท์เบิกความว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 15 มี.ค. 64 ตน, พริษฐ์, สมยศ และปติวัฒน์ จำเลยในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ถูกนำตัวกลับจากศาลแห่งนี้ไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อนเข้าไปมีการตรวจอุณหภูมิที่อาคารพยาบาล โดยทุกคนมีอุณหภูมิปกติ มาตราการดังกล่าวใช้กับทุกคนที่เข้าเรือนจำ ทั้ง 4 คนถูกนำตัวไปที่แดน 2 มีเพียง 3 คนที่นั่งกินข้าวด้วยกัน เนื่องจากพริษฐ์เริ่มอดอาหารประท้วงตามที่ประกาศในวันนั้น หลังจากนั้นพวกตนขึ้นไปโรงนอน

    ห้องขังแดน 2 เป็นแดนกักโรคของเรือนจำ ผู้ต้องขังที่ออกศาลจะถูกกักที่นั่น 7 วัน หลังจากนั้นจะถูกกักในแดนที่ตัวเองประจำอยู่อีก 7 วัน สำหรับผู้ต้องขังที่เข้ามาใหม่ จะถูกกักที่แดนสอง เป็นเวลา 14 วัน หลังจากครบระยะเวลาก็จะถูกตรวจโควิด ก่อนถูกจำแนกไปยังแดนอื่นๆ สภาพแวดล้อมของแดน 2 มีเรือนขัง 2 ชั้น ชั้นบนมีห้องขังขนาดราว 4×12 เมตร 10 ห้อง ไว้ขังผู้ต้องขังเพื่อกักโรคทั้ง 10 ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องขังผู้ต้องขังทั่วไป ทั้ง 4 ถูกขังในห้องหมายเลข 7 โดยมีผู้ต้องขังในห้องเดิม 9 คน ผู้ต้องขังบางคนเคยอยู่ห้องเดียวกับตน

    ไม่เกิน 1 ทุ่ม หลังสวดมนต์ เจ้าหน้าที่นำตัว “ไมค์” ภาณุพงศ์, “ไผ่” จตุภัทร์ และ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ที่ศาลอนุญาตให้ย้ายมาจากเรือนจำพิเศษธนบุรี เข้ามาที่ห้อง 7 ที่ตนทั้งสี่คนถูกควบคุมตัวอยู่

    เวลาประมาณ 21.00 น. มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 3 คน มาพร้อมพยาบาล ตนเห็นว่า ไมค์, ไผ่ และโตโต้ จะถูกนำตัวไปแยกขังที่เรือนพยาบาล จึงบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า ศาลอนุญาตให้ควบคุมตัวไว้ด้วยกัน ไว้ตอนเช้าค่อยแยกขัง โดยให้ทำต่อหน้าคนอื่นๆ เพราะเกรงจะมีอันตราย เหตุที่ตนทราบว่าจะมีอันตรายเพราะทนายเล่าให้ฟังว่า คนชื่อค้อกจะส่งคนมาฆ่าให้เสียชีวิตเหมือนหมอหยองและ พ.ต.ต.ปรากรม ซึ่งมีข่าวว่า ทั้งสองเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว

    ตนคุยกับไผ่ว่า สุดท้ายแล้วหากจะถูกแยกกันก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ฟ้าสว่างก่อน และหากถูกแยกไปจริงก็จะขอให้ศาลสั่งให้นำมาขังรวมกันอีกครั้ง หลังจากเข้ามาได้ประมาณ 15 นาที ผู้คุมทั้งสามก็ออกไปจากห้องตนจำชื่อผู้คุมเหล่านั้นไม่ได้ แต่จำหน้าได้ เพราะเป็นผู้คุมที่เคยเห็นอยู่ปกติ หากศาลเรียกวีดิโอจากกล้องวงจรปิดมาแสดงก็จะเห็นหน้าตาชัดเจน เพราะพวกเขาเพียงคาดหน้ากากอนามัย

    ประมาณ 23.45 น. มีผู้คุมกลุ่มเดิม 3-4 คน ซึ่งเป็นผู้คุมประจำ และเจ้าหน้าที่อีกราว 4-5 คน มายืนอยู่ข้างนอกห้องขัง บอกว่าจะนำพวกตนทั้ง 7 คนไปตรวจโควิด พวกตนจึงเดินไปคุย ยืนยันว่ารุ่งเช้าค่อยดำเนินการ ที่ปฎิเสธการตรวจไปเพราะรู้สึกแปลกที่เจ้าหน้าที่จะตรวจแค่ 7 คน ผู้คุมจึงบอกว่าจะไปปรึกษาผู้บังคับบัญชาก่อน

    เวลาประมาณ 00.15 น. มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ราว 8 คน ซึ่งน่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ชุดเดิม เดินเข้ามาบอกว่าจะนำตัวคน 16 คน ในห้องขังหมายเลข 7 ไปตรวจโควิด ซึ่งก่อนหน้านี้จะเข้ามาเอาตัวไปเฉพาะ 7 คน พวกตนยังคงปฎิเสธการตรวจ เนื่องจากเป็นยามวิกาลแล้ว และการตรวจโควิดต้องนำสำลีแหย่เข้าไปในจมูก ตนกังวลว่าหากถูกใส่ยาสลบจะเป็นอันตราย อีกทั้งไม่ทราบว่าจะถูกพาไปตรวจที่ไหน ผู้คุมจึงนำตัวผู้ต้องขัง 9 คนออกไปห้องข้าง ๆ เหลือพวกตน 7 คน อยู่ด้วยกัน

    หลังจากนั้นพวกตนทั้งเจ็ดนอนไม่หลับอีกเลย กระทั่งเวลาประมาณ 02.30 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็เข้ามาอีกครั้งตอน นอกจากผู้คุมชุดเดิม 3-4 คน ยังมีเจ้าหน้าที่อีกกว่า 10 คน แต่งกายด้วยชุดสีน้ำเงินเข้ม ไม่ติดยศและชื่อ ไผ่ลุกขึ้นถือสมุดไปจดชื่อผู้คุมที่ใส่ชุดสีกากีซึ่งมีป้ายชื่อ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ไม่ติดป้ายชื่อไม่มีใครยอมแจ้งชื่อ เราพูดกันทำนองว่า “มันไม่ใช่แล้ว”

    เจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นแจ้งว่า จะเอาพวกตนทั้งหมดไปที่สถานพยาบาลราชทัณฑ์ ตนถามเจ้าหน้าที่ว่า “มันจะปลอดภัยไหม” ตนรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้ดีกว่า เพราะหากออกไปนอกแดนจะไม่มีกล้องวงจรปิด ซึ่งจะถูกพาไปที่ไหนก็ได้ ตนไม่กลัวถูกเอาไปขังที่อื่นแต่กลัวถูกฆ่า เพราะโดยสามัญสำนึกแล้ว เวลา 02.30 น. ไม่ใช่เวลาย้ายห้องขัง ซ้ำเจ้าหน้าที่มามากกว่า 10 คน แต่ไม่ติดป้ายชื่อ ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติ หลังจากนั้นพวกตนพากันอยู่ในบริเวณที่มีกล้องตลอดเวลา ตนยังได้เดินไปหมุนเข็มนาฬิกาให้เป็นเวลา 7 โมงเช้า เนื่องจากความกลัวอีกด้วย

    อานนท์เบิกความต่อว่า เวลา 7.00 น. ตนต้องเดินทางมาที่ศาล เนื่องจากมีนัดสืบพยานในคดีคนอยากเลือกตั้งชุมนุมบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบก เมื่อ 24 มี.ค. 61 หรือ คดี #​Army57 เมื่อมาถึงศาลในเวลา 8.00 น. จึงเขียนคำร้องฉบับดังกล่าวขึ้น เหตุที่เชื่อว่าจะมีคนเอาชีวิตเพราะในบรรดาผู้ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 ล้วนถูกทำให้เสียชีวิต เช่น ผู้ที่ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สุรชัย แซ่ด่าน, ชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือผู้ต้องขัง อาทิ หมอหยองกับ พ.ต.ต.ปรากรม ทำให้ตนเป็นกังวล อีกประการที่เชื่อว่าจะถูกฆ่าในเรือนจำ คือการที่ตนไม่ได้รับการประกันตัวอย่างไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด ทั้งที่ไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี ตนเชื่อว่าศาลอาญาไม่ได้มีอำนาจในการสั่งขังด้วยตัวเองแต่มีผู้มีอำนาจสั่งการอีกที

    ตนเห็นว่า การตรวจโควิดโดยปกติก็ไม่ได้ตรวจกันในเวลากลางคืน และจะตรวจก่อนจะถูกแยกแดน หากเห็นว่าจะต้องตรวจทั้ง 3 คนอย่างเร่งด่วน ก็ควรแยกทั้ง 3 ไปที่แดนพยาบาลตั้งแต่ตอนรับเข้ามา แต่ทั้งสามก็ผ่านเข้ามายังแดน 2 ได้ ตนออกไปศาลบ่อยๆ ระหว่างถูกคุมขัง แต่ก็เพียงต้องกลับมากักตัวที่แดน 2 เท่านั้น การอ้างว่าจะเอาไปกักโรคที่สถานพยาบาลก็ฟังไม่ขึ้น เพราะห้อง 7 แดน 2 ก็คือที่กักโรคอยู่แล้ว

    อานนท์เบิกความอีกว่า วันนี้ (17 มี.ค. 64) ทราบว่าเพจเฟซบุ๊กราชทัณฑ์มีการโพสต์จดหมายข่าว 1 ฉบับ ชี้แจงเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ปัจจุบันลบออกไปแล้ว ตนเห็นว่าคำชี้แจงนี้บิดเบือนหลายจุด จึงขอนำมาชี้แจงต่อศาล โดยศาลให้เจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสารดังกล่าวมาประกอบสำนวน

    ประการแรก เวลาในหมายข่าวชี้แจงบอกว่าเจ้าหน้าที่เข้ามาตอน 23.00 น. แต่จริงๆคือ 23.45 น. ในหมายข่าวยังไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงเวลา 02.00 แต่ประการใด ทั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง จึงอยากให้ศาลเรียกดูกล้องวงจรปิดด้วย อีกประการตนทราบตอนเช้าวันที่ 16 มี.ค. ว่า ทั้งหมดเป็นคำสั่งของนายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แต่ตนไม่ได้เขียนลงคำร้องเพราะกลัวจะถูกฟ้องหมิ่นประมาท เมื่อท่านแถลงข่าวรับเอง จึงขอให้ศาลเรียกนายแพทย์วีระกิตติ์มาไต่สวนด้วย

    อานนท์ยังกล่าวว่า วานนี้ (16 มี.ค.) ประมาณ 19.00 น. รองอธิบดีคนดังกล่าวกับผู้ที่แจ้งความพริษฐ์ในข้อหา 112 (ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) ได้เข้าไปในเรือนจำและถ่ายรูปพวกตนในห้องขัง นอกจากนี้ตนยังได้เห็นข่าวในเว็บไซต์ข่าว (Top news) ซึ่งทนายให้ดูว่า กรมราชทัณฑ์ได้สั่งการให้ตรวจสอบกรณีการเขียนคำร้องของตน แต่แต่งตั้งนายแพทย์วีระกิตติ์ เป็นผู้ตรวจสอบสวน ตนเห็นว่าสำนักข่าว Top News ซึ่งเอาข่าวไปรายงานนั้นมีความคลาดเคลื่อนทั้งหมด และการให้สัมภาษณ์ของนายแพทย์วีระกิตติ์ แสดงทัศนคติที่แย่ต่อผู้ต้องขังทางการเมือง

    อานนท์แถลงต่อศาลทิ้งท้ายว่า “คนที่ช่วยชีวิตผมได้มีแค่ศาล ญาติหรือทนายก็ช่วยผมไม่ได้ ท่านทราบหรือไม่ว่า ท่านกำลังนั่งอยู่ตรงหน้าคนที่กำลังจะตาย”

    ช่วงบ่ายอโนทัย ทิ้งรักษ์ รักษาการผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เข้าเบิกความเป็นลำดับถัดมา ระบุว่า ตนมารับตำแหน่งที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 22 ก.พ. 64 โดยปกติเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มี 8 ส่วนงาน ตามระเบียบของเรือนจำ ผู้ต้องขังตามหมายขังของศาล ต้องมีกระบวนการรับตัวและมีมาตรการป้องกันโควิด โดยแบ่งนักโทษเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ต้องขังใหม่ ที่ต้องทำประวัติในแดนแรกรับและตรวจสุขภาพ มีแดนเฝ้าระวังโควิดในแดนสอง ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ห้องขังชั้นที่ 1 สำหรับนักโทษที่ออกไปทำงาน มีห้องสมุด ที่รับประทานอาหาร ชั้นที่ 2 สำหรับนักโทษออกศาลหรือผู้ต้องขังใหม่ สำหรับระบบรักษาความปลอดภัยมีกล้องวงจรปิด ติดหน้าห้องและบริเวณทางเดิน

    ขั้นตอนการรับตัวเข้าเรือนจำ หลังจากรับตัว สอบประวัติ วัดไข้ จะให้ผู้ต้องขังรับประทานอาหารและอาบน้ำ โดยห้องขังทุกห้องจะเปิดไฟถึงเช้า เมื่อเข้ามาในแดน 2 แล้วจะถูกขังอยู่ 14 วัน ออกมาไม่ได้ ตลอด 14 วัน ในห้องขังนั้นมีส้วมและที่อาบน้ำ อาหารมีคนจัดขึ้นไปให้ จะออกมาจากห้องได้คือตอนป่วย หากป่วยหนักจะต้องเอาออกมารักษาที่เรือนพยาบาล และเมื่อออกศาลแล้วต้องกลับเข้าไปเริ่มกักตัวใหม่

    ในวันเกิดเหตุ ตนทราบจากรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.40 น. มีผู้ต้องขังมาจากเรือนจำพิเศษธนบุรี 3 ราย มีการรับตัว ตรวจร่างกาย ตรวจสอบทะเบียนทำประวัติ จากนั้นเจ้าหน้าที่พาไปกักตัวที่แดน 2 โดยนำไปขังรวมกับผู้ต้องขังที่ออกศาลในวันนี้ ผู้ต้องขังในห้องดังกล่าวมีจำนวนรวม 16 คน

    หลังจากเจ้าหน้าที่รายงานให้ตนทราบ ตนจึงรายงานไปยังรองอธิบดี (นายแพทย์วีระกิตติ์) ว่า มีผู้ต้องขัง 3 คน มาจากพื้นที่เสี่ยงธนบุรีซึ่งติดกับย่านตลาดบางแค บางบอน นายแพทย์วีระกิตติ์จึงนำทีมแพทย์ พยาบาล จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 6-7 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงไปที่แดน 2 โดยเห็นว่าหากไม่ตรวจคัดกรอง 3 คนจากพื้นที่เสี่ยง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้อื่นทั้งนักโทษและเจ้าหน้าที่ ตนเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับคณะแพทย์ โดยนายแพทย์วีระกิตติ์ดูความเรียบร้อยอยู่ด้านล่าง

    ศาลได้ขอตารางการเข้าเวรของคืนวันที่ 15 มี.ค. 64 เพื่อประกอบการไต่สวนด้วย โดยศาลอยากทราบว่ามีเจ้าหน้าที่กี่คนและเป็นใครบ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาดังกล่าว นายอโนทัยกล่าวว่า ในวันดังกล่าวมีผู้ปฎิบัติหน้าที่หลายหน้าที่

    นายอโนทัยเบิกความต่อว่า เวลาประมาณ 3 ทุ่ม เจ้าหน้าที่เดินทางไปแจ้งว่า จะนำตัว 3 คน ไปกักโรคที่สถานพยาบาล แต่ทั้งสามปฏิเสธ ตนและเจ้าหน้าที่ทีมแพทย์จึงลงมาหารือกันและกลับขึ้นไปอีกครั้งเพื่อตรวจทั้งห้อง เนื่องจากกลัวว่าทั้ง 3 คน จะนำเชื้อมาติดคนอื่นหากมีอาการป่วย การเข้าไปในห้องขังครั้งที่ 2 สามารถนำตัวผู้ต้องขังมาตรวจ Swab (ใช้สำลีพันที่ก้านไม้แหย่เข้าไปในโพรงจมูก) ได้ 9 คน ส่วนอีก 7 คน คืออานนท์และพวกไม่ยอมไปตรวจ

    เมื่อพยาบาลนำ 9 คน ไปตรวจแล้ว จึงต้องการจะแยก 7 คน ที่ไม่ยอมตรวจไปกักตัวที่สถานพยาบาล แต่ทั้งหมดไม่ยอมไป จึงต้องนำตัว 9 คน แยกออกไปแทน แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีกำลังไม่พอ โดยมีอยู่ไม่เกิน 10 คน จึงต้องนำเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ลาดยาวมาด้วย โดยเป็นเจ้าหน้าที่นอกเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่เป็นเจ้าหน้าที่ในกลุ่มเรือนจำลาดยาว ตนไม่ทราบว่ามาจากเรือนจำอะไรบ้าง แต่แต่งกายเหมือนกัน เป็นชุดปฏิบัติการพิเศษราชทัณฑ์ซึ่งมีสีกรมท่า ซึ่งในช่วงเวลาตี 2 ทีมแพทย์ไม่ได้มาด้วย

    ตนเดินทางขึ้นไปกับทีมเจ้าหน้าที่ในช่วง 3-5 ทุ่ม หลังจากนั้นไม่ได้ขึ้นไปด้วย โดยยืนอำนวยการอยู่ด้านล่างที่ประตูแดน เมื่อคณะเจ้าหน้าที่แยกทั้ง 9 คน ไปอยู่อีกห้องหนึ่งแล้ว ตนก็เดินทางกลับ

    รักษาการ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เบิกความอีกว่า เรือนจำให้ความสำคัญกับการคัดกรองการแพร่เชื้อโควิด-19 ในฐานะรักษาการ ผบ.เรือนจำ ไม่สามารถรับผิดชอบหากเกิดการแพร่เชื้อ จึงต้องเข้มงวดและเป็นนโยบายรัฐบาลด้วย หากปล่อยปละละเลยให้มีคนติดเชื้อ 1 ราย จะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ ซึ่งมีนักโทษ 3,000 กว่าคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วย เมื่อช่วงวันที่ 10 มี.ค. มีผู้ต้องขังมาจากศาลแขวงพระนครใต้ เพื่อรอส่งตัวไปสถานกักขังกลางปทุมธานี แต่ 2 วันถัดมา ได้รับรายงานว่าผลตรวจเป็นบวก เจ้าหน้าที่ 8 นาย จึงต้องกักตัว ผู้ต้องขังช่วยงาน 30 กว่าคนก็ต้องกักตัวที่แดน 2 เช่นกัน เพราะเหตุนี้ทีมแพทย์และพยาบาลจึงต้องเข้ามาตรวจเชื้อโควิดทันที จะปล่อยช้าไม่ได้โดยเด็ดขาด

    ศาลถามว่า ในการจับนักโทษแยกกันเป็นระเบียบหรือเป็นดุลยพินิจ เหตุใดไม่แยกตั้งแต่เข้าเรือนจำ

    นายอโนทัยเบิกความตอบว่า ตนและรองอธิบดีไม่ได้สั่งให้แยกตั้งแต่แรก เมื่อได้รับรายงานว่าทั้งสามถูกส่งตัวไปแดน 2 จึงสั่งให้แยกไปสถานพยาบาล ตนไม่ทราบว่าทำไมไม่แยกในทันที ทั้งนี้ ในการแยกผู้ต้องขังไปกักตัวมีกรอบมาตรการกำหนดไว้ แต่ไม่ได้มีระเบียบบังคับ การสั่งแยกเป็นความเห็นและการหารือของคณะแพทย์ พยาบาล โดยตนเป็นผู้สั่งตามอำนาจหน้าที่รักษาการ

    ศาลถามอีกว่า วันที่ 15 มี.ค. 64 นอกจากไผ่ ไมค์ โตโต้ มีผู้ต้องขังเข้าใหม่มาจากฝั่งธนฯ เช่นกัน ทำไมไม่แยกคนเหล่านั้นด้วย นายอโนทัยตอบว่า เนื่องจากเขามีอุณภูมิปกติ โดยก่อนหน้านั้น นายอโนทัยก็เบิกความตอบศาลว่า ไมค์ ไผ่ โตโต้ ผ่านการตรวจอุณหภูมิเบื้องต้นโดยไม่พบว่าผิดปกติ

    สุดท้าย รักษาการ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตอบคำถามศาลว่า เหตุที่เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วงตีสองไม่มีป้ายชื่อติด เนื่องจากป้ายชื่อซึ่งเป็นตีนตุ๊กแกอาจจะหลุด หรือเจ้าหน้าที่อาจจะลืมติด

    เวลา 16.30 น. การไต่สวนยังไม่เสร็จ ศาลนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 22 มี.ค. 2564 โดยให้เบิกตัวจตุภัทร์และภาณุพงศ์ รวมทั้งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์มาทำการไต่สวนต่อ พร้อมทั้งมีคำสั่งเรียกให้เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่งภาพและคลิปวีดีโอจากกล้องวงจรปิดเข้ามาในสำนวนคดีเพื่อประกอบการไต่สวนด้วย

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 17 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27607)
  • ศาลนัดไต่สวนพยานอีก 3 ปาก ประกอบด้วย ไมค์, ไผ่ ซึ่งเข้าเบิกความในช่วงเช้า และนายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เบิกความในช่วงบ่าย วันดังกล่าวยังคงมีการเก็บโทรศัพท์ทุกคนในห้องพิจารณา และมีตำรวจศาลถือเครื่องตรวจจับโลหะ พร้อมทั้งยืนเฝ้าอยู่บริเวณห้องพิจารณาราว 10 คน มีการจำกัดให้เฉพาะญาติของไผ่และไมค์เข้าร่วมฟังการไต่สวน แต่อนุญาตให้นักข่าวเข้าได้ 4 คน

    ไมค์ เบิกความเป็นคนแรก หลังจากไมค์เบิกความเสร็จแล้ว ไผ่จึงถูกตัวมาที่ห้องพิจารณา อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเบิกความสอดคล้องกันว่า หลังถูกฟ้องในวันที่ 8 มี.ค. 64 จากคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ได้ถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรีระหว่างวันที่ 8 – 15 มี.ค. 64 เป็นเวลา 8 วัน โดยวันที่ 8 มี.ค. มีการซักประวัติ 2 รอบ มีการนำตัวไปแดนกักโรค มีการวัดไข้ แต่ยังไม่มีการตรวจหาโควิด อุณหภูมิของพวกตนเป็นปกติ

    หลังจากนั้นมีการแยกพวกตนให้อยู่คนละห้องกัน ไมค์เบิกความว่าตนอยู่ในห้องที่มีทั้งหมด 10 คน แต่จำเลขห้องไม่ได้ ส่วนไผ่อยู่ในห้องหมายเลข 9 ซึ่งมีผู้ถูกคุมขัง 9 คน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะมีการตรวจโควิดในวันที่ 9 มี.ค. 64 ต่อมา เช้าวันที่ 9 มี.ค. มีเจ้าหน้าที่มาตรวจโควิดที่หน้าห้องขัง มีเก้าอี้นั่ง เจ้าหน้าที่ใช้สำลีแหย่จมูก นำสารคัดหลั่งไปตรวจ และแจ้งให้รอผลตรวจ 2 วัน แต่ตนก็ไม่ได้ทราบผลตรวจ ทุกวันผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จะมาตรวจวัดไข้ ตลอดช่วงกักตัวเพื่อควบคุมโควิด ไผ่เล่าว่าไม่ได้ออกจากห้องขังเลย ยกเว้นการไปรับของที่มีคนซื้อให้ 1 ครั้ง

    เมื่อถึงวันที่ 15 มี.ค. ทั้งสอง รวมทั้งโตโต้ ได้ถูกเบิกตัวมาศาล ช่วงเย็นจึงถูกนำตัวกลับไปเรือนจำพิเศษธนบุรีด้วยรถตู้ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อปั๊มลายนิ้วมือและเซ็นเอกสารฝากเอาเงินออก ก่อนทั้งสามถูกย้ายไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามที่ศาลอนุญาต โดยขณะนั้นยังไม่ค่ำ ไมค์สังเกตว่าท้องฟ้ายังสว่างอยู่

    เมื่อถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทุกคนต้องล้างมือและได้รับการวัดไข้ ก่อนถูกตรวจค้นถุงผ้าที่นำมาจากเรือนจำพิเศษธนบุรีและตรวจร่างกาย เมื่อตรวจร่างกายเสร็จ จึงถูกส่งไปที่เรือนพยาบาล มีการตรวจวัดไข้ที่เรือนพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าปกติ หลังจากนั้นมีการนั่งรอถ่ายรูป ทำประวัติ ตรวจสุขภาพ สอบถามเรื่องการแพ้ยา แพ้อาหารเบื้องต้น หลังทำประวัติเสร็จแล้ว ก็ถูกนำตัวไปที่แดน 2 ซึ่งเป็นแดนกักโรค

    เมื่อเข้าไปถึงแดน 2 มีการรายงานตัวว่าพวกตนมาถึง 3 คน จากนั้นมีเจ้าหน้าที่มาวัดไข้และให้ล้างมืออีกครั้ง ซึ่งเป็นการวัดไข้ครั้งที่ 3 ผลการตรวจพบว่าปกติ พวกตนถูกพาไปห้องควบคุมที่ 7 ชั้น 2 ในห้องมีประมาณ 18 คน จำเวลาไม่ได้ว่าเข้าไปกี่โมง แต่ไปถึงก็ต้องปูที่นอน นอนดูหนัง เวลา 21.30 น. เจ้าหน้าที่ปิดทีวี ไมค์นอนอยู่ใกล้นาฬิกา จึงทราบเวลาตอนนั้น หลังจากปิดทีวีแล้วราว 21.35 น. มีเจ้าหน้าแต่งชุดสีกากีเดินเข้ามาที่ห้อง 7 หลายคน แต่จำไม่ได้ว่ากี่คน แจ้งว่าจะแยกไมค์ ไผ่ โตโต้ไปที่เรือนพยาบาล พวกตนทั้งสามปฏิเสธ เพราะดึกแล้วและง่วง ต้องการพักผ่อน จึงบอกเจ้าหน้าที่ว่า ให้ย้ายในเวลาปกติของวันพรุ่งนี้

    หลังเจ้าหน้าที่ไป ทั้งหมดก็เข้านอน เวลา 5 ทุ่มกว่าๆ มีเจ้าหน้าที่ใส่ชุดกากีและชุดดำ รวมถึงพยาบาลมา ตนเห็นพยาบาลใส่ชุดขาว หญิง 1 ชาย 1 และเจ้าหน้าที่เรือนจำซึ่งจำไม่ได้ว่ามากี่คน เจ้าหน้าที่พยาบาลจะมาขอตรวจโควิดด้วยการใช้สำลีแหย่ในโพรงจมูก ตนปฏิเสธอีกครั้งเนื่องจากดึกแล้ว และตรวจวัดไข้มา 3 รอบแล้ว อีกทั้งกลัวสำลีที่จะแหย่เข้ามาว่าจะมีอะไรหรือไม่ โดยได้ขอให้มาตรวจวันรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่และพยาบาลจึงออกจากห้องควบคุมอีกครั้ง

    ประมาณไม่เกิน 00.15 น. เจ้าหน้าที่และพยาบาลมาอีกรอบ จำนวนมากกว่าเดิม และสั่งให้ทุกคนในห้องออกไปตรวจโควิดโดยการใช้สำลีแหย่โพรงจมูก พวกตน 7 คน ไม่ยินยอม แต่คนอื่นที่เหลือยอมให้ตรวจ เมื่อตรวจเสร็จ ทุกคนที่ตรวจก็กลับเข้ามาห้อง 7 พวกตนคิดว่าเรื่องจบแล้วจึงพักผ่อน แต่แล้วประมาณตี 2 กว่าๆ ผู้คุมชุดดำและชุดกากีมากกว่า 15 นาย ซึ่งรอบนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่พยาบาล เจ้าหน้าที่ถือกล้องวีดิโอ 2 ตัว และกล้องภาพนิ่ง 1 ตัว ไผ่พยายามเดินเข้าไปจดชื่อเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาในห้อง แต่เจ้าหน้าที่ที่ใส่ชุดสีดำไม่มีป้ายชื่อและไม่ยอมแจ้งชื่อให้ทราบ

    ไผ่เบิกความว่า รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิดวิสัย เนื่องจากหากทบทวนดูจะพบว่าเจ้าหน้าที่พยายามที่จะเอาพวกตนแยกออกจากกันให้ได้ตลอด 6 ชั่วโมง จึงรู้สึกว่าการตรวจโควิดเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อจะเอาพวกตนออกจากห้องขัง ทำให้ตนกังวล ตนพยายามถามว่าทำไมย้ายเวลานี้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ตอบ

    ไผ่ยังกล่าวต่อว่า เพื่อนในเรือนจำเคยเล่าให้ฟังว่ามีคนโดนซ้อม โดยเบิกตัวไปตอนดึก บางคนไม่ได้กลับมา บางคนกลับมาแล้วบาดเจ็บ เพื่อนไม่ได้เห็นคนเหล่านั้น แต่ได้ยินเสียงร้อง ตนเชื่อว่ามีเพียงเหตุผลเดียวที่จะนำพวกคนออกไปในยามวิกาล ซึ่งเรือนจำพิเศษธนบุรีเองก็ไม่ได้ทำเช่นนี้เพราะตรวจตอนกลางวัน

    ขณะที่ไมค์ระบุว่า เจ้าหน้าที่มาแจ้งว่าจะแยกทั้ง 7 คนไปเรือนพยาบาล ซึ่งตอนแรกจะแยกแค่ 3 คน แต่ตี 2 กว่ามาแจ้งว่าจะแยกไป 7 คน พวกตนจึงปฏิเสธเพราะเคยได้ข่าวการทำร้ายผู้ต้องขัง โดยการนำออกจากห้องขังยามวิกาลและข่าวหมอหยอง ปรากรม ซึ่งทั้ง 2 คนเสียชีวิตภายในเรือนจำ

    หลังตี 2 โตโต้ เป็นผู้อาสาอยู่เวรเฝ้าจนเช้า ซึ่งตอนเช้าพวกตนก็ไม่ได้ถูกจับแยกกัน ชีวิตหลังจากนั้นปกติดี โดยมีการตรวจโควิดอีกครั้งวันที่ 19 มี.ค. พร้อมทั้งเอ็กซเรย์ปอด

    ไมค์ยังกล่าวถึงความกังวลกับศาลว่า เมื่อมาทราบภายหลังว่าผู้ที่จะให้นำตัวพวกตนไปคือ นพ.วีระกิตติ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งตอนที่หมอหยองเสียชีวิต ท่านดำรงตำแหน่ง ผอ.โรงพยาบาลราชทัณฑ์ จึงกังวลเรื่องความปลอดภัย

    ช่วงบ่ายนายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เข้าเบิกความเป็นปากสุดท้าย ระบุว่า ปัจจุบันรับผิดชอบด้านการแพทย์ กองบริการทางการแพทย์ กองทัณฑวิทยา กองตรวจพิสูจน์ และยังดูแลทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ บังคับบัญชาเรือนจำภาคเหนือและภาคตะวันตกบางจังหวัด เรือนจำนนทบุรี ทัณฑสถานหญิงกลาง และรับหน้าที่ในเหตุการณ์พิเศษ หลังมีเรื่องเผารูปก่อให้เกิดความเสียหายหน้าคลองเปรม จึงมีการตั้งคณะทำงานรักษาความปลอดภัย การเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุการณ์ในเรือนจำกลุ่มลาดยาว เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 64 โดยมีตนเป็นประธานคณะทำงาน

    เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้แม้ตนไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่ด้วยอำนาจของคำสั่งเรื่องคณะทำงานรักษาความปลอดภัยข้างต้น ตนจึงมีอำนาจดูแลเรือนจำ ประกอบกับช่วงวันที่ 15-16 มี.ค. ไม่มีผู้บังคับบัญชาระดับ ผบ.เรือนจำที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ เวลานั้น

    วันที่ 15 มี.ค. 64 ขณะปฏิบัติหน้าที่ตรวจแถวรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เรือนจำลาดยาวและชุดปฏิบัติการพิเศษ ในเวลา 19.00 น. ทราบว่ารถเรือนจำพิเศษธนบุรีมาถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้ว โดยเป็นการทราบด้วยวาจาจากผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อทราบแล้วจึงได้โทรศัพท์ประสานไปยังเรือนจำ ผอ.ส่วนทัณฑปฏิบัติ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า อย่าลืมจัดพื้นที่ให้เหมาะสมและแจ้งให้ทราบถึงแนวทางที่ได้กำหนดไว้เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 โดยได้ถามกำชับว่า เรือนจำพิเศษธนบุรีอยู่ใกล้พื้นที่ตลาดบางแคและกลุ่มผู้ต้องหาเหล่านี้เข้าข่ายเป็นกลุ่มผู้ต้องหาที่ต้องแยกกักโรคที่สถานพยาบาลชั้น 2

    นายแพทย์วีระกิตติ์เบิกความอีกว่า ผู้ที่จะถูกนำไปกักโรคที่สถานพยาบาลมี 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 ผู้ที่มีอาการไข้ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจติดขัดไว้ กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดบางแค ซึ่งมีข่าวว่ากลายเป็นพื้นที่ระบาด โดยข้อกำหนดนี้เป็นที่ทราบโดยทั่วไป มีหนังสือออกมาตั้งแต่ 15 ม.ค. 64 รายละเอียดอยู่ในเอกสารที่อ้างส่งศาล ส่วนมาตราการป้องกันโควิดโดยทั่วไปของเรือนจำในช่วงเวลานี้ คือการงดเยี่ยมญาติ

    หลังจากตนตรวจแถวเสร็จก็เดินทางกลับบ้านพัก ขณะอยู่ที่บ้านได้รับรายงานจาก รักษาการ ผบ.เรือนจำฯ นายอโนทัย ว่า การจะแยกผู้ต้องขังใหม่ 3 คนนั้น ได้รับการปฏิเสธว่าจะไม่ย้าย ตนสอบถามรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร นายอโนทัยแจ้งว่า กังวลว่าหากใช้กำลังบังคับจะเป็นประเด็นอ่อนไหวในอนาคต ตนจึงจะใช้แนวทางทางการแพทย์ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติ โดยประสานไปยังโรงพยาบาลราชทัณฑ์ให้จัดชุดทีมแพทย์และสหวิชาชีพ พร้อมทั้งชุดตรวจสารคัดหลั่งในช่วงเวลาใกล้ 4 ทุ่ม ซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษ ตนเคยทำการตรวจช่วงกลางคืนหลายครั้ง เช่น วันที่ 14-15 ต.ค. 63 เคยตรวจหาเชื้อในเวลากลางคืน 27 ราย ซึ่ง 1 รายเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย โดยตรวจถึงตี 1 ครึ่ง

    ในวันที่ 15 มี.ค. 64 มีการเตรียมอุปกรณ์โดยต้องใช้เวลาพอสมควร การดำเนินการนี้เพื่อประโยชน์ต่อผู้ต้องขังทุกราย โดยผู้ต้องขังกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยง ตนได้ออกจากบ้านพักมาเรือนจำอีกครั้งในเวลาเกือบ 23.00 น. มีผู้รายงานว่า ทีมแพทย์เข้าไปที่อาคารกักโรคแดน 2 แล้ว โดยได้มีการเจรจาเพื่อให้มีการตรวจกลุ่มผู้ต้องขังทั้งสิ้น 16 ราย ปรากฏว่า ผู้ต้องขัง 7 รายยืนกรานปฏิเสธ ไม่ขอรับการตรวจ ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงรายงานตนซึ่งอยู่ในห้องอำนวยการควบคุมแดน 2 (ห้อง CCTV) ตามหลักการแพทย์ ตนเห็นว่าต้องสร้างความผาสุกในเรือนจำ จึงมีการเจราจาให้ตรวจอีกครั้ง 9 คน ยินยอมตรวจ ภารกิจจึงจบคณะแพทย์จึงออกจากเรือนจำราว 24.45 น.

    ทั้งนี้ ตนยังอยู่บัญชาการต่อไป เนื่องจากเป็นผู้บริหาร นโยบายด้านโควิดในเรือนจำ ตนได้แจ้งแก่ส่วนควบคุมในเวลาดังกล่าวว่าเป็นความถูกต้องเหมาะสมทางสาธารณสุขที่จะแยกผู้ต้องขัง 9 ราย ออกจาก 7 ราย การควบคุมผู้ต้องขัง 9 รายต้องมีการรักษาความปลอดภัย จึงต้องมีการสนธิกำลัง โดยมีเจ้าหน้าที่ราว 9 คน ทั้งเรือนจำ ตนเห็นว่ามีกำลังน้อยจึงต้องสนธิกำลังกับเวรรักษาความปลอดภัย เป็นการสนธิกำลังมา 2 นาย เพื่อให้มีกำลังทั้งสิ้น 10 นาย

    ชุดเครื่องแบบปฏิบัติการพิเศษ (เครื่องแบบแขนยาวสีดำ) ไม่ได้กำหนดให้ใส่ชื่อเป็นเหตุผลทางทัณฑวิทยา ยกเว้นเพียงหัวหน้าชุดต้องติดชื่อ เวลาตี 1 เศษ มีการเข้าไปในเรือนจำอีกครั้งเพื่อย้ายทั้ง 9 คน ที่ตรวจเชื้อแล้วออกไปอีกห้อง ตนอยู่ที่ห้อง CCTV เป็นห้องอำนวยการข้างล่างเห็นการดำเนินการทั้งหมด การพกกระบองของเจ้าหน้าที่เอาไว้คุ้มกันตนเอง ในการย้ายผู้ต้องขัง 9 คน ต้องควบคุมผู้ต้องขังไปยังห้องขังและควบคุมโรคที่ได้เตรียมไว้อีกห้องหนึ่งทีละคนจนครบทั้ง 9 คน ซึ่งไม่มีใครขัดขืน ส่วนอีก 7 คน ยังยืนกรานจะอยู่ด้วยกันและไม่ยอมให้ตรวจโควิด ตนจึงให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่และกำชับไม่ให้ใช้กำลังใดใด เนื่องจากทราบอยู่แล้วว่าอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์

    ภารกิจดังกล่าวเสร็จในเวลา 02.00 น.เศษจึงถอนกำลังออกมาจากพื้นที่ห้องกักโรค นพ.วีระกิตติ์ยังกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจโควิดจะทำการตรวจโดยเปิดเผยตรงทางเดินห้องโถงหน้าห้องกักโรค ผู้ต้องขังอื่นมองเห็นการตรวจได้ทั้งหมดมิได้จะพาไปตรวจยังสถานที่อื่น ตามหลักหากไม่ยอมตรวจต้องแยกผู้ต้องขังเข้าใหม่ 3 คน ออกจาก 4 คนเดิม ไปกักตัวที่สถานพยาบาลชั้น 2 เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนผู้อื่น แต่ในคืนดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการอะไรได้มากกว่านั้น

    นายแพทย์วีระกิตติ์กล่าวในช่วงท้ายของการเบิกความว่า เหตุการณ์ในอดีตไม่เคยมีการปฏิเสธการตรวจคัดกรอง กรมราชทัณฑ์ได้ประชุมกันว่าหากมีการปฏิเสธเช่นนี้อีกคงต้องกักนานขึ้นเป็น 21 วันหรือ 28 วัน แต่คงขังเดี่ยวไม่ได้ เนื่องจากอาจกดดันผู้ต้องขัง

    ในห้องพิจารณายังมีการเปิดวิดีโอจากกล้องวงจรปิดซึ่งศาลได้ขอให้ราชทัณฑ์นำมาประกอบการไต่สวน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ เวลา 21.30 น., 23.00 น., 00.05 น. และ 02.00-03.00 น. รองอธิบดียังให้การเพิ่มเติมว่าการตรวจโควิดตอนกลางคืนไม่ใช่เรื่องผิดปกติ การตรวจโควิดเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก สามารถตรวจตอนกลางคืนได้และทำอยู่เสมอ เพื่อคัดกรองผู้มาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ

    ล่าสุดมีการตรวจในเรือนจำจังหวัดสมุทรสาครกว่า 600 ราย โดยประสานกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจเสร็จ 3 ทุ่มเศษ ในเรือนจำพิเศษธนบุรีก็มีการประสานมหาวิทยาลัยมหิดลไปตรวจ วันจันทร์ อังคาร หรือพฤหัสบดี แล้วแต่วันและเวลา แต่กรณี 15 มี.ค. 63 มีการใช้เวลาเจรจานานมาก เวลาจึงล่วงเลยมา โรคนี้ผู้ที่แสดงอาการ 10% เท่านั้น การคัดกรองเพื่อทราบล่วงหน้าจึงสำคัญมาก

    ศาลกล่าวกับรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า เหตุการณ์ทำนองนี้ ศาลเคยไต่สวนมาหลายครั้ง เพื่อที่คนจะได้ไม่ครหาว่าเข้าไปแล้วกลายเป็นแดนสนธยา พร้อมย้ำว่ายามวิกาลอย่าไปทำอะไรที่เกินเลยไป นพ.วีระกิตติ์ยืนยันว่า เนื่องจากมาจากเรือนจำพิเศษธนบุรีจึงต้องตรวจในคืนนั้น

    ภายหลังเสร็จการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 29 มี.ค. 64 เวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 22 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27607)
  • จำเลยซึ่งถูกฟ้องในความผิดยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จำนวน 13 คน ที่ได้รับการประกันตัวมาศาล ในส่วนจำเลยที่ถูกขังจำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เบิกตัวมา ประกอบด้วย “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ จากเรือนจำพิเศษธนบุรี, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จากทัณฑสถานหญิงกลาง และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม , สมยศ พฤกษาเกษมสุข, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    บรรยากาศภายในห้องพิจารณา 704 เต็มไปด้วยความเข้มงวด โดยในช่วงเช้ามีตำรวจควบคุมฝูงชนประจำการอยู่บริเวณศาลอาญาอย่างน้อย 100 นาย มีการกั้นรั้ว ตั้งโต๊ะตรวจบัตรประชาชนทุกคนที่ไม่มีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ศาล บริเวณตรงข้ามธนาคารกรุงไทย สำหรับผู้ที่แจ้งว่าจะเดินทางมาฟังการพิจารณาคดีของพริษฐ์หรืออานนท์ จะถูกแยกออกมาลงชื่ออีกแถวหนึ่ง และสำหรับผู้ที่เป็นญาติจะได้รับบัตรชั่วคราวซึ่งระบุเลขที่บัตรประชาชน ชื่อ นามสกุลของตนเอง โดยต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่หน้าห้องพิจารณา 704 บริเวณทางเดินขึ้นบันไดศาลยังมีการตั้งโต๊ะตรวจอีกจุดหนึ่ง และเมื่อขึ้นมายังชั้น 7 หน้าทางเดินห้อง 704 มีการปิดกั้นด้วยรั้วไม่ให้ประชาชนเข้าไปได้ แม้จะมีที่นั่งหน้าห้องที่สามารถนั่งได้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงมีการปิดไม่ให้คนทั่วไปเข้าห้องน้ำหญิงของชั้น 7 ซึ่งอยู่ใกล้กับทางเดินเข้าห้องพิจารณา 704 ด้วย

    ในวันนี้ศาลได้เปิดห้องพิจารณา 3 ห้อง แบ่งเป็นห้อง conference 2 ห้อง ซึ่งถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงในห้องพิจารณา 704 ออกมา มีเพียงทนายความ ตัวจำเลย และญาติของผู้ต้องขัง ซึ่งจำกัดจำนวนญาติ 2 คนต่อผู้ต้องขัง 1 คน ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณาในห้องได้ เมื่อจะเข้าพิจารณาจะถูกค้นกระเป๋าอย่างละเอียดและให้ทุกคนรวมถึงทนายความเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ในถุงซิปล็อคฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจศาล นอกจากนี้ยังมีการปิดทางเข้าออกใต้ถุนศาลซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษหรือผู้ต้องหาที่มาขึ้นศาลและปิดป้ายงดการเยี่ยมนักโทษเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ศาลจะรับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารของผู้ต้องขังในวันนี้เอง

    เวลาประมาณ 11.00 น. อานนท์ถูกนำตัวไปคำสั่งต่อคำร้องกรณีผู้คุมและเจ้าหน้าที่พยายามจะเอาตัวจตุภัทร์และภาณุพงศ์ออกไปควบคุมนอกแดน

    เนื่องจากจำเลยบางคนเดินทางมาจากต่างจังหวัด ทำให้การตรวจพยานหลักฐานเริ่มขึ้นในเวลา 12.00 น. จำเลยและญาติที่เดินทางมาตั้งแต่ช่วงเช้าต้องนั่งรอถึงเกือบ 3 ชั่วโมง โดยไม่มีการเบิกตัวผู้ที่ถูกคุมขังขึ้นมาจนกว่าจำเลยทั้งหมดจะมาพร้อมกัน ผู้ที่ถูกนำตัวเข้ามาเป็นคนแรกๆ คือ “เพนกวิน” เขาถูกพาตัวใส่รถเข็นวีลแชร์พร้อมราวแขวนสายน้ำเกลือที่ลากตามมา โดยมีเจ้าหน้าที่พยาบาล 2 คนควบคุมอยู่ หน้าตาของเขาดูอิดโรยมาก เนื่องจากอดอาหารเป็นวันที่ 15 แล้ว จากนั้นผู้คุมทยอยนำตัวผู้ต้องขังเข้ามาโดยเป็นการเดินประกบแทบจะหิ้วปีกคล้ายพยายามจับมือทั้งสองข้างไว้ ไม่ให้พวกเขาใช้มือแสดงสัญลักษณ์ มีบางคนพยายามจะชูนิ้วแต่ก็ถูกจับมือให้เก็บนิ้วลงไป

    แม่ของเพนกวินสะอื้นแทบจะทันทีที่เห็นลูกและพยายามจะลุกเดินไปหา แต่ถูกตำรวจศาลกัน เนื่องจากห้อง 704 มีการจัด “ที่นั่งโซนญาติ” ให้ห่างไกลจากผู้ต้องขังมาก การจะลุกเดินไปคุยจำต้องขอให้ทนายขออนุญาตศาลเป็นรายครั้ง สร้างความยุ่งยากให้แก่ญาติที่อยากจะพูดคุยถามไถ่ความเป็นไปของผู้ที่ถูกคุมขังอยู่

    สมยศแถลงต่อศาลว่าตนอายุมากกว่าคนอื่นและคิดว่ากระบวนพิจารณาของคดีนี้คงยาวนาน นี่คือการสู้กันของอำนาจรัฐและราษฎรที่แสวงหาเสรีภาพ ตนต้องการให้ศาลบันทึกว่าพวกตนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะสู้คดีได้อย่างเพียงพอ “ผมคงมีชีวิตได้ไม่ยืนยาวเท่าไหร่เพราะสภาพเรือนจำไม่ได้เอื้อต่อการมีชีวิต” เขายังกล่าวต่อว่า อัยการมีทรัพยากร มีคน มากมายที่จะมาปรักปรำพวกตน การติดคุกระหว่างพิจารณาเท่ากับศาลได้ตัดสินไปแล้วว่าตนผิด ผลของคดีไม่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรตนก็ติดคุกไปแล้วอยู่ดี และตนคงไม่สามารถทนอยู่ได้จนถึงชั้นศาลฎีกา พร้อมทิ้งท้ายว่าไม่อยากเห็นประชาชนโดนกระสุนยาง แก๊สน้ำตา โดนสลายการชุมนุมหรือบาดเจ็บล้มตาย เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกตน จึงอยากให้ศาลมอบโทษประหารให้ตนเสียเพื่อจะได้ยุติเรื่องเหล่านี้

    ด้านรุ้ง ปนัสยา แถลงด้วยน้ำตาว่า “หนูเป็นเพียงแค่นักศึกษา อายุแค่ 22 ปี หนูฝันถึงสังคมและอนาคตที่ดีกว่า การที่หนูออกมาใช้สิทธิเสรีภาพเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหนูผิดอะไร หนูกับเพื่อนอีกหลายคนไม่ได้ประกันตัว พวกเราถูกบังคับไม่ให้มีโอกาสนั้น หนูกลัวค่ะ หนูกลัวว่าเพื่อนหนูจะเป็นอะไรไป หนูบอกเพนกวินว่า หนูกลัวมันตาย แต่เพนกวินตอบว่า ถ้าจะตายก็ให้ตายไป หนูคิดมาตลอดว่า เราสู้เพื่ออยู่ ไม่ได้สู้เพื่อตาย แต่ถ้าจะมีใครตาย ก็ขอให้ตายเพื่อคนที่ยังอยู่ และวันนี้หากไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอีก จะขอประกาศอดอาหารด้วย โดยจะเริ่มจากการรับประทานวันละมื้อ และลดลงเหลือรับประทานแค่น้ำ นม และสารอาหาร ขอให้การตายของเราเป็นสายธารนำความหวังสู่สังคม"

    ในระหว่างการพิจารณาคดีช่วงบ่าย ไมค์ร้องไห้พักใหญ่จนผู้ต้องขังข้างๆ ทนายความและแม่เข้ามาปลอบ เขารู้สึกคับแค้น ถึงความไม่ยุติธรรม “มันไม่เป็นธรรมกับเราเลยนะพี่ ไมค์ไม่ได้กลัว จะติดก็ติดไป แต่อยากได้เพียงความยุติธรรม แค่สิทธิในการประกันตัวเรายังไม่ได้ เราจะได้ความยุติธรรมจริง ๆ หรอพี่” เขากล่าวกับทนายความ

    ปนัสยาแถลงว่า ขณะนี้กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ การถูกคุมขังในระหว่างพิจารณา โดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นอุปสรรคต่อการเรียนและสอบ ทําให้ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ทั้งเป็นเหตุให้ไม่อาจตรวจดูพยานหลักฐานของโจทก์ และหาพยานหลักฐานยืนยันความบริสุทธิ์ทั้งขาดโอกาสในการปรึกษาทนายความเพื่อจะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ขอศาลพิจารณาเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อให้ตนมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และขอยื่นเอกสารประกอบคําแถลง

    ด้านปติวัฒน์แถลงว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะไปประกอบอาชีพร้องหมอลําเพื่อหาเลี้ยงชีพต่อไป ทั้งยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่เครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) การวางเงื่อนไขห้ามออกนอกเขตกําหนด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่มาศาลนัดหนึ่งนัดใด ก็ยินดีที่จะให้ศาลถอนประกัน

    จากนั้น ศาลมีคำสั่งเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยาน ไปเป็นวันที่ 8 เม.ย. 2564 เวลา 9.00 น. นอกจากนี้ยังศาลให้โอกาสจำเลยที่ถูกคุมขังตรวจสอบวัตถุพยานและต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ตามที่ทนายจำเลยที่ถูกคุมขังได้ร้องขอ จึงให้นัดพร้อมตรวจสอบวัตถุพยานในวันที่ 7 เม.ย. 2564 เวลา 9.00 น.

    ในส่วนคำสั่งศาลต่อคำร้องกรณีผู้คุมและเจ้าหน้าที่พยายามจะเอาตัวจตุภัทร์และภาณุพงศ์ออกไปควบคุมนอกแดน มีเนื้อหาดังนี้

    ก่อนวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า อานนท์ถูกข่มขู่ คุกคาม อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายตามที่ยื่นคำร้องหรือไม่ ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นว่า ศาลมีอํานาจรับคําร้องและไต่สวนตามคําร้องได้หรือไม่ ก่อนเป็นประเด็นแรก โดยศาลเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายของบุคคลไว้และมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่าการคุมขังชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคล การดําเนินการของรัฐจึงต้องคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกควบคุมหรือขังเป็นสําคัญ

    เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดถูกคุมขังในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดําเนินการรับคําร้องและดําเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวได้ และศาลสามารถพิจารณาเหตุในการคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างสมบูรณ์สมเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว

    นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 25 ยังบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของรัฐธรรมนูญขึ้นอ้างในศาลได้ จึงเห็นว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลตรวจสอบคุ้มครองให้การคุมขังเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

    เมื่ออานนท์อยู่ในฐานะจําเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.287/2564 ซึ่งถูกคุมขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาเลขที่ 256/2564 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว การขังระหว่างพิจารณาเป็นขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89

    แม้อานนท์กับพวกจะอยู่ภายใต้การคุมขังของเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 มาตรา 4 กําหนดให้เรือนจําเป็นสถานที่ใช้ในการควบคุม ขัง หรือจําคุกผู้ต้องขัง เมื่ออานนท์เป็นจําเลยที่ขังตามหมายของศาล เจ้าพนักงานเรือนจําสามารถใช้อํานาจควบคุมผู้ต้องขังได้เพียงเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับพฤติการณ์เพื่อจัดการบังคับให้เป็นไปตามหมายขังให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

    ศาลจึงมีหน้าที่ประการหนึ่งที่จะต้องดูแลผู้ต้องขังให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดูแลผู้ต้องขังตามหมายของศาลให้ได้รับการรับรอง คุ้มครอง สิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากศาลละทิ้งหน้าที่นี้ย่อมจะทําให้ขาดองค์กรที่ทําหน้าที่ตรวจสอบคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติธรรม

    ดังนั้น เมื่ออานนท์ยื่นคําร้องอ้างว่า อานนท์อาจจะได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกาย ศาลอาญาซึ่งเป็นผู้ออกหมายขังจําเลยไว้ระหว่างพิจารณา จึงสามารถรับคําร้องและดําเนินการไต่สวน รวมทั้งมีอํานาจเบิกตัวผู้ร้องและหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องอื่น มาดําเนินการไต่สวนให้ทราบถึงพฤติการณ์และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามคําร้องได้

    จากนั้น ศาลได้สรุปข้อเท็จจริงจากการไต่สวนอานนท์, ภาณุพงศ์, จตุภัทร์, อโนทัย ทั้งรักษ์ รักษาการผู้บัญชาการเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร และนายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ประกอบการเปิดคลิปจากกล้องวงจรปิดบริเวณห้องขังสุดท้าย ก่อนจะมีคำวินิจฉัยในประเด็นที่อานนท์ยื่นคำร้องว่า

    เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 21.30 น. ถึงเวลา 02.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 2564 เจ้าพนักงานเรือนจําเข้าพูดคุยกับอานนท์และพวกอยู่หลายครั้ง ทุกครั้งต่างกระทําโดยมิได้มีท่าที ข่มขู่ คุกคาม หรือใช้ความรุนแรง ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ 5 คน ที่เดินทางไปพร้อมกับนายแพทย์วีระกิตติ์ล้วนแต่งกายด้วยเครื่องแบบบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นเพศหญิงถึง 4 คน มีการจัดเตรียมชุดเก็บสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก และชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) อันเป็นอุปกรณ์สําหรับใช้ตรวจหาเชื้อโควิด 19 เข้าไปภายในเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ เชื่อว่า การอํานวยการปฏิบัติงานของนายแพทย์วีระกิตติ์เป็นการดําเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด และต้องการแยกตัวภาณุพงศ์ จตุภัทร์ และปิยรัฐ ไปคุมขังในสถานที่อื่น โดยมิได้มีความมุ่งหมายที่จะข่มขู่ คุกคาม หรือทําอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของอานนท์กับพวก

    อย่างไรก็ตาม อานนท์กับพวกเป็นบุคคลที่ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งถูกจํากัดเสรีภาพในร่างกายบางประการ โดยวัตถุประสงค์เพียงเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องขังหลบหนี ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่ออันตรายประการอื่น อานนท์กับพวกและผู้ต้องขังอื่นยังคงเป็นพลเมืองไทย ย่อมได้ความรับรอง คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเป็นสิทธิที่ถือติดตัวมาตั้งแต่กําเนิด ครบถ้วน สมบูรณ์ ทุกประการ อย่างเท่าเทียมกันเฉกเช่นเดียวกับปวงชนชาวไทยทั้งปวง

    การนอนหลับพักผ่อนซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญประการหนึ่งในการดํารงชีพและดําเนินชีวิตอันเป็นปกติของบุคคลทั่วไป เมื่อเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ มีมาตรการปิดโทรทัศน์ในช่วงเวลา 21.30 น. อันเป็นสัญลักษณ์แสดงนัยยะว่าถึงช่วงเวลาในการพักผ่อน เรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ จึงต้องยึดถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่ดําเนินมา โดยจัดให้ผู้ต้องขังได้มีช่วงเวลาพักผ่อนที่เหมาะสมเพียงพอ ไม่ถูกล่วงละเมิดเกินสมควร

    อานนท์กับพวกในฐานะเป็นผู้ต้องขังคนหนึ่งย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับผู้ต้องขังอื่น การเข้าตรวจหาเชื้อโควิด 19 ก็ดี การเปลี่ยนสถานที่คุมขังของผู้ต้องขังก็ดี พึงกระทําในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม การดําเนินการใด ๆ หลังช่วงระยะเวลาดังกล่าวพึงกระทําได้แต่เฉพาะปรากฏเหตุจําเป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าอานนท์กับพวกได้รับการคัดกรองโรคเบื้องต้นโดยตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายถึง 3 ครั้ง จนผ่านเกณฑ์แล้วก่อนเข้ารับการคุมขังภายในเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ภาณุพงศ์, จตุภัทร์ และนายปิยรัฐ แม้จะถูกย้ายตัวมาจากเรือนจําพิเศษธนบุรีซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิดก็ตาม แต่ก็เป็นการเคลื่อนย้ายนักโทษระหว่างเรือนจํากับเรือนจํา ซึ่งต่างล้วนแต่มีมาตรการคัดกรองโควิดในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอานนท์กับพวกถูกคุมขังอยู่ที่แดน 2 ของเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแดนกักโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดอยู่แล้ว

    กรณีจึงยังไม่ปรากฏเหตุจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรีบหรือเร่งด่วนถึงขนาดต้องดําเนินการแยกตัวอานนท์กับพวกออกจากผู้ต้องขังอื่น หรือเร่งตรวจหาเชื้อโควิดอานนท์กับพวกให้แล้วเสร็จภายในคืนนั้น หากปล่อยให้ระยะเวลาผ่านพ้นไปอีก 3 ชั่วโมง ก็จะถึงรุ่งเช้า ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาปกติที่สามารถดําเนินการได้โดยไม่กระทบต่อการพักผ่อนของผู้ต้องขัง การกระทําของเจ้าพนักงานเรือนจํา แม้จะไม่ถึงขนาดเป็นการล่วงละเมิดต่อกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นการกระทําโดยไม่คํานึงถึงสิทธิของผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนที่นานาอารยประเทศให้การรับรองและคุ้มครอง

    การดําเนินการตรวจร่างกายผู้ต้องขัง หรือย้ายสถานที่คุมขังหรือกระทําการใด ๆ กรมราชทัณฑ์จึงต้องดําเนินการในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม สมควร และเป็นไปตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในฐานะผู้ต้องขัง

    กล่าวโดยสรุปศาลเห็นว่า การดําเนินการของเจ้าพนักงาน เรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอันกระทบต่อสิทธิของอานนท์กับพวกเท่าที่ควร และเห็นควรให้เจ้าพนักงานเรือนจําที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่โดยใช้ความระมัดระวังเพื่อให้อานนท์กับพวกได้รับการคุ้มครองตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 29 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27673)
  • เวลา 10.30 น. ทนายความพร้อมนายประกัน ได้เดินทางมายังศาลอาญา รัชดา เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ไผ่, สมยศ และ “หมอลำแบงค์” ซึ่งถูกขังระหว่างพิจารณาคดีมาเป็นเวลา 56 วันแล้ว สำหรับสมยศและปติวัฒน์ ส่วนจตุภัทร์ถูกขังมา 29 วัน โดยศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หลังการยื่นคำร้องศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนในเวลา 15.30 น.

    การยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ นับเป็นการยื่นครั้งที่ 6 ของสมยศและปติวัฒน์ และครั้งที่ 4 ของจตุภัทร์ โดยใช้เงินสดเป็นหลักทรัพย์ประกันคนละ 100,000 บาท และมีประเด็นสำคัญในคำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราว กล่าวคือ

    เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานของคู่ความในคดีนี้ โดยในวันดังกล่าว จำเลยทั้งสามได้แถลงว่า หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว จำเลยทั้งสามจะยอมรับเงื่อนไขที่ศาลกำหนด โดยศาลได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 29 มี.ค. 2564 และศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะแจ้งเงื่อนไขดังกล่าวให้กับศาลที่มีอำนาจในการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทราบว่าเป็นเหตุสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราวได้หรือไม่

    กรณีดังกล่าวจำเลยเห็นว่าเป็นกรณีสำคัญที่อาจทำให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยได้ หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามกฎหมายให้จำเลยปฏิบัติตาม จำเลยยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจศาลไว้

    คำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวของจตุภัทร์ ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า
    1. การใช้เงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 100,000 บาท เป็นเงินจำนวนที่สูงอันเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะไม่หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาคดี
    2. คดีนี้ทนายความจำเลยได้ตรวจสำนวนคดีแล้วพบว่ามีพยานเอกสารเป็นจำนวนมาก การที่จำเลยถูกขังไว้ระหว่างพิจารณาคดีทำให้จำเลยไม่สามารถอ่านเอกสารซึ่งเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ อันเป็นอุปสรรคในการต่อสู้คดีของจำเลยทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ตามที่กฎหมายคุ้มครองไว้
    3. จำเลยเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกมาโดยตลอด ไม่เคยหลบหนี และเดินทางมาพบพนักงานอัยการตามกำหนดนัดทุกนัด จำเลยยืนยันความในความบริสุทธิ์พร้อมจะต่อสู้คดีตามกฎหมายไม่เคยคิดจะหลบหนี
    4. จำเลยถูกคุมขังไว้ตามหมายขังของศาลมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทว่าก็ไม่ปรากฏว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะแตกต่างไปจากก่อนหน้าที่จำเลยถูกคุมขังไว้ กรณีจึงเชื่อได้ว่าการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยไปก็ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    5. จำเลยเป็นนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล การคุมขังจำเลยไว้ย่อมส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของจำเลย ซึ่งยังไม่ได้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด โดยไม่อาจเยียวยาด้วยหนทางอื่นได้
    6. หลักประกันสิทธิอันสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ การที่ศาลต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้ถูกรับรองไว้อย่างชัดเจนในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญไทย ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยในมาตรา 107 และ 108/1 ระบุไว้ว่า "จำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว" แสดงให้เห็นว่าการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นโดยหลักทำไม่ได้
    7. จำเลยเป็นเพียงบุคคลที่ถูกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่ากระทำความผิดเท่านั้นยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้กระทำผิด การถูกฟ้องกล่าวหาว่ากระทำความผิดเพียงอย่างเดียวไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี เพราะจำเลยเชื่อมั่นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ทั้งนี้ ในคดีข้อหาทางการเมืองคดีอื่น แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดลงโทษจำคุกจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็ได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อันถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา
    8. การใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือการใช้เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นเครื่องมือแสดงออกซึ่งเจตจำนงอย่างเสรีของพลเมือง ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย
    9. ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเดือดร้อน ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบากทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ระบบกฎหมายพังทลายลง ไร้ซึ่งหลักนิติรัฐ นิติธรรม คงมีเพียงอำนาจศาลเท่านั้นที่จะเป็นเสาหลักอันสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ช่วยสร้างหลักประกันสิทธิและฟื้นฟูให้ระบบกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว

    สำหรับคำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวของสมยศ ระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
    1. จำเลยมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และยังมีอายุมากแล้ว หากไม่ได้รับการประกันตัวย่อมทำให้จำเลยและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง
    2. แม้ว่าเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 64 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำร้องโดยมีการให้เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยว่า “การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 3 ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน”
    การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่ามีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะเท่ากับศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า 1. จำเลยทำจริงหรือไม่ 2. การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ และ 3.จำเลยมีอำนาจกระทำตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย การวินิจฉัยการกระทำของจำเลยไปล่วงหน้าและนำมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อนานาประเทศ รัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันล้วนแต่เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

    ในการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์, สมยศ และหมอลำแบงค์ แถลงยืนยันว่า จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล โดยนายประกันของทั้งสาม ได้แก่ พริ้ม บุญภัทรรักษา และชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถลงรับรองว่า จะดูแลจำเลยทั้งสามให้ปฏิบัติเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล หากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

    อัยการแถลงว่า เนื่องจากมีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นใหม่ จำเลยทั้งสามมีผู้รับรองคอยดูแลให้ปฏิบัติตามสัญญาที่แถลงไว้ต่อศาล โจทก์จึงไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้เป็นดุลยพินิจของศาล

    ศาลนัดฟังคําสั่งว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสามหรือไม่ในวันที่ 9 เม.ย. 64 เวลา 11.00 น.

    ในคดีนี้นอกจากสมยศและปติวัฒน์ อานนท์ นำภา และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ก็ถูกขังมาเกือบ 2 เดือนแล้ว ขณะที่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก ถูกขังมาเกือบ 1 เดือน ปัจจุบันพริษฐ์ อดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวมากว่า 20 วัน และปนัสยาอดอาหารมาแล้ว 1 สัปดาห์

    วันเดียวกัน มารดาแอมมี่และทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอประกันในคดีนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 35,000 บาท พร้อมกับยื่นประกันในคดีมาตรา 112 กรณีวางเพลิงรูป ร.10 หน้าเรือนจำคลองเปรม

    พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบข้อคัดค้านพนักงานอัยการแล้วเห็นว่า จำเลยได้ประทำผิดหลายกรรมต่างกัน หลายครั้งหลายคราว หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนีหรืออาจจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและรายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 5 เม.ย. 2564, https://tlhr2014.com/archives/28005 และ https://tlhr2014.com/archives/27975)
  • เป็นนัดที่ศาลให้จำเลยซึ่งถูกคุมขังมาตรวจพยานหลักฐานที่เป็นวิดิโอร่วมกับทนายความในห้องพิจารณา จึงมีเพียงจำเลยที่ถูกคุมขังรวม 9 คน ถูกเบิกตัวมาศาล โดยมีการเปิดวิดิโอผ่านโปรเจคเตอร์ จำนวน 22 ไฟล์

    บรรยากาศในการพิจารณาคดีนั้น ช่วงเช้า บริเวณตรงข้ามธนาคารกรุงไทยมีการตั้งโต๊ะลงทะเบียนเหมือนเช่นทุกวันที่มีการพิจารณาคดีนี้ โดยผู้ที่จะมาฟังการพิจารณาคดีจะถูกแยกโต๊ะลงทะเบียนต่างหาก มีการจดชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน แล้วเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงบัตรให้คล้องคอไว้ แต่วันนี้ตำรวจศาลที่ประจำอยู่ที่โต๊ะลงทะเบียนแจ้งว่า ญาติต้องไปอยู่ห้องเวรชี้ ไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดี เนื่องจากศาลเจ้าของสำนวนสั่งเช่นนั้น ทำให้ญาติเกิดความสับสนและโกรธ แม่ของบางคนถึงกับร้องไห้ เนื่องจากเกรงว่าหากวันนี้ตนไม่ได้เข้าฟังการพิจารณาสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป แม่ของหลายๆ คน ไม่ได้ไปที่ห้องเวรชี้ตามที่ถูกบอกให้ไป แต่ขึ้นลิฟต์ไปยังห้องพิจารณา 704

    อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อนุญาตให้ญาติเข้าไปในห้องพิจารณา ทำให้ญาตินั่งรอที่พื้นบริเวณหน้าลิฟต์ชั้น 7 เพื่อจะได้เห็นผู้ถูกคุมขัง ห้องน้ำหญิงถูกปิด อนุญาตให้เดินเข้าเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในศาล รั้วสีเหลือง 3 แผง ถูกนำมากั้นตั้งแต่ลิฟต์เป็นต้นมา รปภ.กล่าวว่า “นี่เป็นรั้วที่หนาที่สุดแล้วที่เอามากั้น” ตำรวจศาล เจ้าหน้าที่ศาล และ รปภ. จำนวนหนึ่ง คอยตรวจตราความเรียบร้อยภายในและภายนอกห้องพิจารณา บริเวณทางเดินทั้งอับทั้งร้อน ไม่มีลมพัดผ่าน ทั้งที่ห้องรับรองพยานอยู่ตรงข้ามกับที่ที่พวกเขายืนอยู่ เป็นห้องที่มีที่นั่งอย่างดีและมีแอร์ แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปนั่ง เนื่องจากห้องดังกล่าวอยู่ติดกับทางเดินห้อง 704

    หลังจากเห็นว่าญาติและเพื่อนๆ ยังคงรอที่พื้นไม่ไปไหน รปภ.และตำรวจศาลพยายามเกลี้ยกล่อมให้ญาติทั้งหมดออกไปจากหน้าลิฟต์ชั้น 7 และไปนั่งฟังการพิจารณาคดีอย่างเรียบร้อยที่ห้องเวรชี้ซึ่งจุคนได้ 30 คน

    อย่างไรก็ตาม ที่ห้องเวรชี้ การถ่ายทอดบรรยากาศการพิจารณาคดีในห้องพิจารณา 704 ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไม่มีการเปิดเสียงแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่อ้างว่า ในห้องพิจารณามีการเปิดดูคลิปที่ถูกฟ้อง ซึ่งอาจจะมีเนื้อหายุยงปลุกปั่น

    เวลา 11.00 น. ทั้งเก้าคนซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแต่ละที่จึงถูกนำตัวขึ้นมา ญาติและเพื่อนๆ ต่างตะโกนเรียกชื่อ แต่ทั้งหมดไม่ได้รับโอกาสให้หยุดพูดคุยกับใครเลย ทำได้เพียงชะเง้อมอง แอมมี่ยังพยายามชูสามนิ้วแต่ถูกเก็บนิ้วลงไป ส่วนเพนกวินถูกเข็นมาพร้อมสายน้ำเกลือเช่นเดิม ขาข้างหนึ่งของเขาห้อยออกมาจากที่วางเท้า รุ้งซึ่งเดินเข้ามาหลังสุดตะโกนถามว่าทำไมแม่ยังอยู่ตรงนี้ แม่บอกว่าเขาไม่ให้เข้าไป ทำให้รุ้งหน้าเสียอย่างเห็นได้ชัด

    ภายหลังผู้ต้องขังถูกนำตัวเข้ามาในห้องพิจารณา ผู้พิพากษาได้อนุญาตให้แม่ของผู้ต้องขังบางคนซึ่งยังไม่ได้ยื่นประกันเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 64 เข้าไปพูดคุยกับลูกได้ครั้งละ 2 คน โดยให้เวลาคนละ 10 นาที ขณะพวกเขากำลังปรึกษากันเกี่ยวกับเรื่องการประกันตัว

    แม่เพนกวินเล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวกับเธอว่า “วินาทีนี้คุณไม่ต้องมาเรียกร้องอะไรแล้ว รู้ว่าคุณถูกลิดรอนสิทธิ แต่ไม่ต้องมาเรียกร้องสิทธิแล้ว คุณต้องรออย่างเดียว” เป็นคำพูดที่ทำให้เธอรู้สึกแย่ เพราะเธอต้องการเพียงแค่ถามไถ่ความเป็นอยู่ของลูก

    นอกจากนี้ยังมีการปิดใต้ถุนศาลไม่ให้ซื้อข้าวและไม่ให้จำเลยเดินลงไปกินข้าวใต้ถุนศาล แต่เจ้าหน้าที่ซื้ออาหารขึ้นมาให้กินในห้องพิจารณา โดยอ้างว่าเพราะมีโควิดและมีการพิจารณาคดีต่อเนื่อง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 7 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28234)
  • เป็นนัดตรวจพยานหลักฐานซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ 29 มี.ค. 2564 นอกจากแกนนำทึ่ถูกคุมขัง จำเลยซึ่งถูกฟ้องในข้อหาตามมาตรา 116 และได้รับการประกันตัว จำนวน 13 คน เดินทางมาศาลด้วย

    บรรยากาศในช่วงเช้า หลังผ่านโต๊ะลงทะเบียน แม่ๆ ถูกห้ามไม่ให้เดินเข้าศาลโดยมีตำรวจศาลคอยเฝ้าอยู่ที่บันได คอยเจรจาถึงเหตุผลที่ญาติไม่ควรขึ้นไปที่ชั้น 7 เพราะอย่างไรก็เสียเวลาเปล่า ญาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องพิจารณาอยู่ดี และให้ไปที่ห้องเวรชี้ในทันที ทำให้แม่ส่วนหนึ่งนั่งคอยอยู่ตรงบันไดศาลเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยกับการขอความร่วมมือเช่นนี้

    เมื่อผ่านไปพักใหญ่แม่ๆ จึงได้เดินผ่านประตูศาลและขึ้นมาที่ห้องพิจารณาชั้น 7 แม่ของ “ไมค์” ภาณุพงศ์มาในเวลา 10.45 น. ทำให้ต้องรออยู่ที่บันไดศาล รปภ.ต้องใช้วิทยุสื่อสารเพื่อขออนุญาตให้แม่ของไมค์ได้ขึ้นลิฟต์มายังชั้น 7 แม่ไมค์ได้นำแว่นตามาให้ไมค์ด้วย แต่ตำรวจศาลแจ้งว่าจะต้องนำไปฝากที่เรือนจำผ่านเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เท่านั้น วันนี้เก้าอี้บริเวณทางเดินถูกเก็บออกไป เจ้าหน้าที่แจ้งว่าศาลให้เก็บเพื่อไม่ให้มีใครมานั่งแล้วดูวุ่นวาย

    ในห้องเวรชี้ มีเพียงผู้สังเกตการณ์จาก iLaw และสื่อมวลชนไม่กี่คนเข้าไปนั่งฟังการพิจารณาคดี โดยมีตำรวจศาลถึง 3 คนและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 1 คน เฝ้าอยู่ ทั้งยังมีการสอบถามชื่อ นามสกุล และหน้าที่การงานของผู้มาเข้าฟังการพิจารณาคดี แม้ว่าทุกคนได้ลงทะเบียนก่อนเข้ามาในศาลแล้วก็ตาม

    ส่วนในห้องพิจารณามีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ถึง 20 คน และตำรวจศาล 14 คน ยังไม่รวมบุรุษพยาบาลที่ดูแลเพนกวินอีก 2 คน ตำรวจในและนอกเครื่องแบบ 2 นาย ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณาคดี ขณะที่ทนายจำเลยต้องนำโทรศัพท์ใส่ซองวางไว้นอกห้องพิจารณา

    การพิจารณาคดีเริ่มโดยอัยการโจทก์แถลงว่า มีพยานบุคคล 81 ปาก หากฝ่ายจำเลยรับข้อเท็จจริงตามบันทึกคำให้การของตำรวจชุดจับกุม จำนวน 4 ปาก ที่โจทก์อ้างส่งศาล โจทก์ก็จะไม่ต้องนำพยานทั้งสี่เข้าเบิกความ ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเหลือพยานที่โจทก์จะนำเข้าสืบรวม 77 ปาก แบ่งเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่

    กลุ่มที่ 1 ผู้สังเกตการณ์การชุมนุม เบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันชุมนุม จํานวน 25 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 8 นัด

    กลุ่มที่ 2 สํานักงานเขตกรุงเทพมหานครและกรมศิลปากร เบิกความเกี่ยวกับการทําลายทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร และทําให้สนามหลวงเสียหาย จํานวน 2 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 1 นัด

    กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จํานวน 6 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 2 นัด

    กลุ่มที่ 4 เจ้าหน้าที่ตํารวจผู้ถอดเทปและบันทึกภาพ เบิกความเกี่ยวกับการถอดเทปคําปราศรัย จํานวน 9 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 2 นัด

    กลุ่มที่ 5 ผู้ให้ถ้อยคําความเห็น เบิกความเกี่ยวกับการให้ความเห็นในการปราศรัย จํานวน 16 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 5 นัด

    กลุ่มที่ 5 ตํารวจชุดจับกุม และพนักงานสอบสวน จํานวน 6 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 2 นัด

    กลุ่มที่ 7 ตํารวจชุดตรวจสถานที่เกิดเหตุและรับรองว่าเทปไม่ได้ตัดต่อ จํานวน 3 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 1 นัด

    กลุ่มที่ 8 ตํารวจตรวจสอบการใช้สื่อออนไลน์ จํานวน 10 ปาก ใช้เวลาสืบ 3 นัด

    รวมใช้เวลาสืบพยานโจทก์ 24 นัด

    ในส่วนของพยานจำเลย จําเลยทั้ง 22 และทนายจําเลยแถลงข้อต่อสู้ว่าไม่ได้กระทําความผิด โดยจําเลยทั้ง 22 อ้างตนเองเป็นพยาน นอกจากนี้ ได้อ้างอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพยานจำเลยอีก 1 ปาก และจะอ้างพยานเพิ่มเติมอีก 5 ปาก ใช้เวลาสืบ 19 นัด ด้านปติวัฒน์ จําเลยที่ 3 นอกจากอ้างตนเองเป็นพยาน จะอ้างพยานอื่นที่ไม่ซ้ำกับจําเลยอื่นอีก 4 ปาก ใช้เวลาสืบรวม 2 นัด รวมสืบพยานจำเลย 21 นัด

    จําเลยที่ 1 ถึง 22 แถลงว่า หากโจทก์ยอมรับว่าพยานที่จะเพิ่มเติมภายหลังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และผู้เผยแพร่พยานเอกสารจะไม่ติดใจสืบพยานดังกล่าว โจทก์แถลงไม่รับข้อเท็จจริงตามที่จําเลยทั้งหมดแถลง และขอให้จําเลยนําพยานเข้าสืบเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จําเลยทั้งยี่สิบสองจึงขอนําพยานทั้งหมดเข้าสืบตามที่แจ้งในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในภายหลัง

    ทั้งนี้ โจทก์และจำเลยกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-21, 25, 27 พ.ค., 8, 15, 22 มิ.ย., 8-9, 13-16, 23, 29, 30 ก.ค., 7, 14, 21-23, 28-29 ก.ย. 64 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 5, 7-8, 12, 15 ต.ค., 2-5, 9-12 พ.ย. และ 1-3, 7-9, 14-16 ธ.ค. 64

    แม้ญาติผู้ต้องขังทั้งหมดไม่สามารถเข้าห้องพิจารณาได้เลย แต่ลูกสาวของอานนท์ได้เดินตามทนายที่เธอคุ้นเคยเข้าไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวาง เธอไปนั่งวาดรูประบายสีอยู่ใต้โต๊ะทนายความอย่างเงียบๆ เมื่ออานนท์ถูกนำตัวเข้ามาในห้องพิจารณา เธอจึงคลานออกจากใต้โต๊ะทนายความและวิ่งมากอดขาของเขา จากนั้นกางมือออกขอให้อานนท์อุ้ม อานนท์ได้อุ้มลูกสาวขึ้นมาและเอามานั่งบนตัก ทั้งคู่กอดหอมกันจนพอใจ ขณะที่บรรยากาศโดยรวมของห้องพิจารณาเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่แอร์ที่เย็นทำให้ลูกสาวที่นั่งอยู่กับอานนท์ตลอดกระบวนการพิจารณาคดี หลับไปบนตักของเขาในบางจังหวะ

    ทนายจำเลยถ่ายทอดบรรยากาศในห้องพิจารณาที่เต็มไปด้วยความน่าอึดอัดว่า เรื่องแรกสุดที่ทีมทนายจำเลยแถลงต่อศาลคือ ขอให้ญาติที่มารอได้เข้าฟังการพิจารณาและได้พบกับจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ เนื่องจากทางเรือนจำตัดสิทธิไม่ให้ญาติเข้าเยี่ยมมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว มีการแถลงถึง 2 รอบ ในช่วงเช้า โดยศาลตอบว่าจะพิจารณาปรึกษากับผู้บริหาร แต่จนถึงบ่าย ญาติยังคงไม่ได้เข้า ทนายจำเลยจึงแถลงต่อศาลอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 ทวงถามเรื่องที่ศาลจะพิจารณาให้ญาติได้เข้าฟังการพิจารณาในห้องได้ อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งสองวันไม่มีการอนุญาตให้ญาติเข้าฟังการพิจารณาแต่อย่างใด ศาลเพียงแต่เอ่ยหลายครั้งว่า “จะอำนวยความยุติธรรม ไม่กีดกันวิธีการสู้ของจำเลย”

    ความเคร่งเครียดในห้องพิจารณาเป็นผลมาจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้มงวดกับผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก แม้ไม่อนุญาตให้ญาติเข้าฟังการพิจารณา การพูดคุยกับทนายความก็ไม่ได้เป็นไปอย่างสะดวก ทุกๆ ครั้งที่ทนายความเข้าพูดคุยกับจำเลย เจ้าหน้าที่จะต้องขยับตัวเข้ามาจนชิดทนายความและจำเลย และไม่อนุญาตให้จำเลยที่ถูกคุมขังกับจำเลยที่ไม่ถูกคุมขังพูดคุยกัน

    อัยการแถลงถึงรายชื่อพยานโจทก์ที่จะนำเข้าสืบ โดยส่วนหนึ่งเป็นพยานที่จะเข้าให้ความเห็น อาทิ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ไชยยันต์ ไชยพร ทำให้จำเลยหัวเราะเสียงดังในห้องพิจารณาเนื่องจากเห็นว่าการเอาพยานโจทก์ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับจำเลยมาให้ความเห็น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะปรักปรำจำเลยอย่างยิ่ง

    เมื่อฝ่ายจำเลยซึ่งมีอานนท์เป็นตัวแทน แถลงถึงพยานบุคคลและพยานเอกสารของจำเลย และได้ขอให้อัยการรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวของพระพันปีหลวง เพื่อจะได้ไม่ต้องสืบพยานในเรื่องดังกล่าว แต่อัยการไม่รับและขอให้นำพยานมาสืบ

    ช่วงพักเที่ยงจำเลยถูกนำตัวไปกินอาหารด้านล่าง แต่ไม่อนุญาตให้ญาติไปซื้ออาหารเช่นเดิม

    ช่วงบ่ายขณะที่บุรุษพยาบาลเข็นเพนกวินขึ้นมา โดยมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2 นาย ควบคุมตัว แม่ได้เรียกให้หยุดรถและขอจับเท้าของเพนกวินว่าเท้าเย็นหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พูดเสียงดังว่า เอาตัวเข้าไปเลย ไม่ต้องหยุดคุย แม่เพนกวินยังคงพยายามขอจับเท้าลูก โดยนั่งลงกับพื้นและยื่นแขนเข้าไปในรั้วเพื่อที่จะเอื้อมจับเท้าของลูกที่ห้อยออกจากรถเข็น แต่เพนกวินอยู่ห่างไปกว่าสองช่วงแขน เกินกว่ามือแม่จะเอื้อมถึง ตำรวจศาลกล่าวกับญาติว่า “อย่าทำให้ราชทัณฑ์ลำบากใจ” ญาติๆ ตอบโต้ว่า “ทุกคนในที่นี้ลำบากใจเช่นเดียวกัน ไม่มีใครไม่ลำบาก แค่ขอจับเท้าเท่านั้น” ราชทัณฑ์และตำรวจศาลยังอ้างเรื่องโควิด โดยบอกว่าจะต้องไม่มีการแตะต้องตัวกัน

    การตรวจพยานหลักฐานในช่วงบ่าย อานนท์ขอให้ศาลบันทึกในประเด็นที่จำเลยจะอ้างรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกับกงศุลใหญ่ ณ นครมิวนิก เข้ามาเป็นพยานจำเลย โดยกล่าวว่าหากโจทก์รับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จำเลยก็จะไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ พร้อมทั้งแถลงถึงประเด็นที่จะนำสืบพยานจำเลยปากดังกล่าวใน 3 ประเด็น คือ 1. ระหว่างเกิดเหตุคดีนี้รัชกาลที่ 10 อยู่ที่ประเทศเยอรมันหรือไม่ 2. มีการเช่าเหมาโรงแรมที่แคว้นบาบาเรียของเยอรมันหรือไม่ 3. รัชกาลที่ 10 ได้แต่งตัวเหมือนจัสตินบีเบอร์หรือไม่ แต่ศาลกล่าวว่า จะบันทึกเท่าที่บันทึกได้ อานนท์จึงแย้งว่า ผมเข้าใจว่าประเด็นเช่นนี้ละเอียดอ่อน แต่หากศาลไม่บันทึกเรื่องนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้คดีต่อไป หากท่านไม่ได้เป็นผู้พิพากษาในคดีนี้ต่อ

    อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงไม่บันทึกประเด็นดังกล่าวลงในรายงานกระบวนพิจารณา หลังการโต้แย้งกันซักพัก อานนท์กล่าวว่า “แม้แต่เรื่องบางเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่ ท่านก็ยังไม่บันทึกเลย แค่นี้เราก็ยังพูดไม่ได้ แม้ถึงเวลาเบิกความผมก็ทราบดีว่า พวกท่านจะกล่าวว่าไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่รับรอง” และกล่าวว่า “ถ้าศาลมาติดคุกเหมือนผม ศาลจะรู้ว่ามันเป็นยังไง” ระหว่างการโต้แย้งกันในประเด็นดังกล่าว ด้านหน้าห้องพิจารณาคดีก็มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้ามายืนกันมากขึ้น

    ประมาณบ่ายสองโมง ตำรวจศาลรายงานผ่านวิทยุสื่อสารว่า อะดิศักดิ์ หนึ่งในจำเลย ตบหลังเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ด้วยน้ำหนักที่แรง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแถลงต่อศาลถึงพฤติกรรมของอะดิศักดิ์และขอให้ศาลตั้งสำนวนละเมิดอำนาจศาล ศาลจึงให้ตำรวจศาลเรียกดูกล้องวงจรปิด เกิดการโต้เถียงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์กับอะดิศักดิ์และจำเลยที่เหลือ โดยอะดิศักดิ์ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ยืนบังผู้พิพากษา เขาแค่ไปสะกิดให้ขยับออก เพราะพวกจำเลยต้องการจะมองเห็นและได้ยินว่าผู้พิพากษาพูดอะไร

    ระหว่างนั้นไผ่ จตุภัทร์ ได้แถลงต่อศาลเรื่องความยุ่งยากในกระบวนการพิจารณาคดี โดยกล่าวว่า “มันเกินไปที่ท่านทำกับพวกเราอย่างจำกัด จะคุยกับทนายยังลำบาก ในส่วนของราชทัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมนั้นจะควบคุมก็ได้ แต่ปัจจุบันมีลักษณะควบคุมจนรุ่มร่าม”

    ทนายเยาวลักษ์กล่าวขึ้นว่า “บรรยากาศในศาลตอนนี้เหมือนเรือนจำในค่ายทหาร เหมือนคุกกวนตานาโม ทนายที่ว่าความให้จำเลยในคุกกวนตานาโมยังมีสิทธิมากกว่านี้” อานนท์จึงพูดเสริมว่า “ท่านรู้สึกมั้ยว่าบรรยากาศในห้องพิจารณามันเหมือนคุกและท่านทำตัวเหมือนหัวหน้าผู้คุม เราจะขออะไรก็ต้องถามฝ่ายบริหารก่อน” ศาลบอกว่า “ถ้าท่านพูดแบบนี้ ศาลรับไม่ได้” และให้อานนท์กลับไปนั่ง ก่อนที่อานนท์จะกล่าวว่า “หากผมทำให้ท่านโกรธผมก็ขอโทษ”

    หลังการแถลงของไผ่ ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ถูกคุมขังพูดคุยปรึกษากันในเรื่องคดีความ โดยให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ถอยออกไป ขณะที่ศาลทำการบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ตำแหน่งผู้ชำนาญการเดินเข้าไปแจ้งเรื่องกับศาล จากนั้นศาลกล่าวขึ้นว่า หากมีเรื่องดังกล่าวจริงศาลจะตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลและเรียกไต่สวน คาดว่าหมายถึงเรื่องที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อ้างว่า อะดิศักดิ์ หนึ่งในจำเลยที่ไม่ได้ถูกคุมขังได้ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์

    ระหว่างที่การพิจารณาคดีในวันนี้กำลังจะจบลง ศาลได้กล่าวถึงเรื่องการที่มีคนกล่าวหาว่า ศาลบังคับให้จำเลยรับเงื่อนไขในการประกันตัว ก่อนสอบถามแบงค์ ไผ่ และสมยศ ถึงความสมัครใจในการแถลงเงื่อนไขขอประกันตัวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 64 ทำให้หมอลำแบงค์ต้องเอ่ยปากอีกครั้งว่า “จำเลยแถลงด้วยความสมัครใจ” ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทุกที่ และจะไม่กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ กลับไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน รวมทั้งจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทําให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียโดยเด็ดขาด ยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขอปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ โดยได้กล่าวย้ำถึง 2 ครั้ง

    ส่วนไผ่และสมยศแถลงว่า ตนยืนยันตามที่ได้แถลงไปแล้วในวันที่ 29 มี.ค. 64 เป็นการแถลงด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับ ขู่เข็ญ เพื่อให้แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าว ในส่วนของสมยศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้จะทำให้ศาลเสื่อมเสียเองเพราะตนควรได้รับสิทธิในการประกันตัวตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

    ในเวลาประมาณ 15.20 น. ภายหลังทั้ง 3 คนแถลงตอบศาล อานนท์ได้ขอแถลงอีกครั้งโดยกล่าวว่า “ให้ผมพูดเถอะ นี่น่าจะเป็นวันสุดท้ายที่ผมจะได้พูดแล้ว ที่ท่านถามแบบนี้ ท่านกำลังพยายามบีบให้ผมรับเงื่อนไขใช่หรือไม่ กระบวนการยุติธรรมเช่นนี้ โบยตีและทำให้ผมสูญเสียความเป็นมนุษย์ ถ้าหากห้ามไม่ให้ผมพูดในสิ่งที่เชื่อ” อานนท์พยายามจะแถลงต่อศาลหลายช่วงหลายตอน แต่ศาลไม่ได้อนุญาตให้เขาพูดมากนัก สุดท้ายอานนท์จึงเขียน "คำแถลงปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรม” ยื่นต่อศาล มีข้อความดังนี้

    จำเลยประสงค์ขอถอนทนายความทั้งหมด เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดีด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

    1. นับแต่จำเลยถูกฟ้อง จำเลยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวต่อสู้คดี ถูกกระทำด้วยการบั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่างๆ นานา ทั้งที่จำเลยยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมาย เพียงเพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 อันเป็นเรื่องที่กระบวนการยุติธรรมปฏิเสธจะให้ได้รับความเป็นธรรมตั้งแต่ต้น ด้วยการขังเยี่ยงสัตว์ระหว่างพิจารณา ไม่ให้มีโอกาสในการประกันตัว อันเสมือนการพิพากษาไปล่วงหน้าแล้ว

    กระบวนการยุติธรรมที่เคยดำรงความเป็นธรรม เป็นหลักให้สังคม พอเจอเรื่องมาตรา 112 ก็พากันเสียสติกันไปเสียหมด ปล่อยให้คนที่มีอำนาจนอกกระบวนการยุติธรรมชี้นำ และดำเนินกระบวนการยุติธรรมไปด้วยความกลัว ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากจำเลยยังคงร่วมกระบวนการเช่นนี้ ก็เสมือนสนับสนุนกระบวนการอันวิปริต ซึ่งจำเลยมิอาจยอมรับได้

    2. การขังเพื่อบังคับให้จำยอมต่อมโนธรรมสำนึกผิดชอบชั่วดี ใช้การจำขังขึงพืดจำเลยในนามกฎหมาย เพื่อให้การต่อสู้เพื่อความถูกต้องถูกทำลาย อันเป็นผลให้สังคมแช่แข็งตัวเองไว้ในความมืดมิดและความกลัว ไม่กล้าที่จะพูดความจริงกันอย่างตรงไปตรงมาเพื่อหาทางออกให้สังคม ทุกอย่างถูกทำไปในนามของกฎหมาย จำเลยในนามของคนเรียนกฎหมายไม่อาจจะยอมรับความอัปยศนี้ได้อีกต่อไป

    3. ข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ในนามราษฎรถูกหยิบยกและหล่อหลอมเป็นกระบวนทัศน์อันแหลมคม จนทำให้แสบแก้วหูของคนในสังคมเก่า แต่นั่นคือความจริง และต้องการความกล้าหาญของคนรุ่นเก่าที่ต้องยอมรับ เปิดใจ และพูดคุยอย่างอารยะ แต่จากที่ผ่านมา คนรุ่นเก่ากลับให้กฎหมายปิดปาก แจ้งความดำเนินคดีลูกหลานตนเอง ซ้ำร้ายยังใช้กำลังเข้าปราบปรามด้วยความรุนแรง เช่น การทุบตี ใช้สารพิษฉีดทำร้ายเยาวชนของชาติอย่างเลือดเย็น นี่หรือคือคำว่า “สามัคคี” คำว่า ปรองดอง และคำว่า คนในชาติเดียวกัน

    4.ในการดำเนินคดี พวกเราถูกตัดสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ถูกทำให้ห้องพิจารณาเป็นเสมือนคุก ทนายความถูกกดดัน และจำกัดการทำหน้าที่ อันมิใช่กระบวนพิจารณาอันชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อจำเลยและทนายความได้ประชุมและเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า หากร่วมกระบวนพิจารณาต่อไปรังแต่จะสร้างบรรทัดฐานอันบิดเบี้ยว และส่งเสริมกระบวนการอยุติธรรมต่อไป

    5. ในการพิจารณาประกันตัว จำเลยทราบข่าวว่ามีการแทรกแซงจากศาลฎีกา ซึ่งจำเลยอยากขอให้ศาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) พิจารณาว่ามีมูลหรือไม่ ที่สำคัญที่มีข่าวว่ามีบุคคลภายนอกสั่งศาลได้ จริงหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของศาลเอง

    6. การทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การใช้กฎหมายปิดปาก และทั้งหมดทั้งมวลของความอยุติธรรมในคดีนี้ จำเลยในฐานะคนเรียนกฎหมาย อาชีพทนายความ และในฐานะหนึ่งในราษฎรที่มีจุดยืนให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จึงมิอาจร่วมกระบวนการทั้งหมดต่อไปได้ จำเลยที่มีรายชื่อท้ายคำร้องนี้จึงขอถอนทนายความ และปฏิเสธขบวนการนี้

    นอกจากนี้ จําเลยทั้งหมด ยกเว้นปติวัฒน์ ยังได้แถลงต่อศาลขอถอนทนายความ เพื่อประท้วงกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม โดยมีเหตุผลใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ

    1. จำเลยไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดีอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นความลับ ระหว่างทนายความและลูกความ เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมจนสิทธิของจําเลยและทนายความถูกละเมิดแม้อยู่ในห้องพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการออกมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายส่วน มีทั้งการตรวจเช็ครายชื่อทนายจําเลยและจําเลยที่เข้าร่วมการพิจารณาคดีอย่างเข้มงวด การทําร้ายร่างกายทนายความที่กําลังใช้สิทธิปรึกษากับจําเลยเป็นการเฉพาะตัว การยึดโทรศัพท์ของทนายจําเลย

    2. จําเลยที่ต้องขังและจําเลยที่ได้รับการประกันตัวไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดี ไม่อนุญาตให้พูดคุยหารือกันอย่างเพียงพอ

    3. คดีนี้ศาลไม่ได้สั่งให้พิจารณาคดีลับ แต่กลับมีคําสั่งหรือมาตรการต่างๆ ในการไม่อนุญาตให้ครอบครัว และ/หรือ ญาติของจําเลย รวมทั้งบุคคลภายนอกเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้ ตามหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยและโปร่งใส จําเลยและทนายความได้แถลงต่อศาลหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา โดยอ้างถึงพฤติการณ์เดิม

    ด้านทนายจําเลยทั้ง 21 ก็แถลงขอถอนตัวจากการปฏิบัติหน้าที่ทนายจำเลย เพราะไม่สามารถยอมรับกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่คํานึงสิทธิของจําเลยนี้ได้ แต่ศาลยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอถอนทนายดังกล่าว

    หลังเซ็นคำร้องขอถอนทนายเพื่อปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรมไมค์ขอให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พาตัวตนลงไปที่คุมขังใต้ถุนศาลทันที “ไมค์ไม่โอเค” ไมค์พูดเสียงสั่น แล้วหันหลังเดินไปอย่างรวดเร็ว เขารู้สึกว่าวันนี้เขาถูกปฏิบัติเสมือนขอทานที่ต้องอ้อนวอนร้องขอเรื่องที่เป็นธรรมดาที่พึงได้ เขาจึงไม่ต้องการมีส่วนร่วมใดๆ กับกระบวนการนี้อีกแล้ว ไมค์เดินมาพูดกับแม่ของตนเองอีกครั้งในเวลา 16.30 น. ว่า “ผมจะไม่ร่วมกระบวนพิจารณานี้อีก เพราะมันไม่เป็นธรรม ไม่ยอมรับ”

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 8 เม.ย. 2564, https://tlhr2014.com/archives/28118 และ https://tlhr2014.com/archives/28234)
  • กรณีที่ทนายความได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวแบงค์, สมยศ และไผ่ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 100,000 บาท ศาลนัดฟังคำสั่งวันนี้ เวลา 11.00 น. แต่แล้วศาลก็เลื่อนฟังคำสั่งถึง 2 ครั้ง

    กระทั่งเวลา 15.20 น. พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเฉพาะปติวัฒน์เพียงคนเดียว โดยระบุในคำสั่งว่า "พิเคราะห์จากคำแถลงและการไต่สวนตามคำร้องของปติวัฒน์ ประกอบกับคำรับรองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับจำเลย น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่ไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นได้อีก จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตีราคาประกัน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามมิให้จำเลยที่ 3 กระทำการในสักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ซ้ำอีก หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จำเลยมาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด ก่อนปล่อยตัวจำเลยแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบ

    ในส่วนสมยศ และจตุภัทร์ แม้จำเลยทั้งสองจะให้ถ้อยคำในชั้นไต่สวนขอปล่อยชั่วคราวเช่นเตียวกับจำเลยที่ 3 แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 64 ศาลนัดสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยาน จำเลยและทนายของทั้งสองไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีเพียงจำเลยที่ 3 และทนายความจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา

    อีกทั้ง ทนายจำเลยทั้งสองนำรายงานกระบวนพิจารณาไปเขียนข้อความเพิ่มเติมโดยไม่ใด้รับอนุญาตจากศาล ระบุว่า “ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 22 ไม่ขอลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา เนื่องจากไม่ยอมรับกระบวนพิจารณา” กับมีพฤติการณ์จะไม่ยอมไปกำหนดวันนัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความ และยื่นคำร้องขอถอนทนายความ ทำให้การกำหนดวันนัดสืบพยานเป็นด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นอุปสรรคและก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดีในศาล ข้อความและคำแถลงของจำเลยทั้งสองว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แถลงไว้ต่อศาล จึงไม่น่าเชื่อถือว่าสามารถปฏิบัติตามที่แถลงไว้ต่อศาลได้ ในชั้นนี้ จึงยังไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสอง"

    ทำให้แบงค์ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงเย็น หลังถูกขังเป็นเวลา 60 วัน ส่วนสมยศซึ่งถูกคุมขังมาแล้ว 60 วันเช่นกัน และจตุภัทร์ถูกคุมขังมา 33 วัน ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว

    ส่วนนักกิจกรรมคนอื่นที่ยังถูกคุมขังในคดีนี้ ได้แก่ อานนท์, เพนกวิน, รุ้ง, ไมค์ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในช่วงบ่าย ด้วยเงินสดคนละ 200,000 บาท และมารดาแอมมี่ได้ยื่นประกันในช่วงเช้าโดยใช้เงินสด 35,000 บาท เสนอเงื่อนไขขอติดกำไลข้อเท้าอิเล็คทรอนิกส์ (EM)

    ในส่วนของแอมมี่ยังได้ระบุเหตุผลเพิ่มเติมว่า ศาลได้ตรวจพยานหลักฐานของทั้งโจทก์และจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ร้ายแรง การคุมขังจำเลยจนกว่าจะถึงชั้นของการสืบพยานทำให้เขาอยู่ในเรือนจำนานเกินไป นอกจากนี้ ในวันที่ 7 เม.ย. 2564 ไชยอมรได้แถลงต่อศาลแล้วว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขสำหรับการปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ

    อย่างไรก็ตาม สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดของศาลอาญา ยังคงไม่อนุญาตให้ประกันนักกิจกรรมทั้งหมด โดยระบุเหตุผลว่า ศาลนี้เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    การยื่นประกันครั้งนี้นับเป็นการยื่นประกันครั้งที่ 6 สำหรับอานนท์ และครั้งที่ 7 สำหรับเพนกวิน และครั้งที่ 4 สำหรับรุ้ง ส่วนไมค์และแอมมี่นับเป็นครั้งที่ 3 โดยอานนท์และเพนกวินถูกขังมาแล้ว 60 วัน ขณะที่รุ้งและไมค์ถูกขังมา 33 วัน อีกทั้งเพนกวินยังคงอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวเป็นวันที่ 26 และปนัสยาอดอาหารมากว่า 1 สัปดาห์

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564, https://tlhr2014.com/archives/28187 และ https://tlhr2014.com/archives/28209)
  • พริษฐ์ถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาที่ศาล ในนัดตรวจพยานหลักฐานคดี MobFest จากนั้นในช่วงบ่าย สุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของเพนกวิน ได้ยื่นขอประกันตัวลูกชายอีกครั้งทั้งในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และคดีชุมนุม MobFest โดยได้ยืนยันในคำร้องว่าจากการได้พบลูกชายที่ศาลในวันนี้ พบว่าสุขภาพของเพนกวินมีอาการทรุดโทรมลงอย่างมาก มีอาการหน้ามืด วิงเวียน อ่อนเพลีย ไม่อาจลุกยืนเดินได้ ในฐานะมารดา เชื่อว่าสุขภาพของจำเลยอยู่ในขั้นอันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเพนกวินมีโรคประจำตัว คือโรคหอบหืด อันอาจทำให้หยุดหายใจได้ 

    นางสุรีย์รัตน์ระบุว่า หากศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว สามารถกำหนดให้ไปนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยห้ามออกไปนอกเขตโรงพยาบาลได้ ภายในกำหนดเวลาที่เพียงพอที่จะฟื้นฟูร่างกาย และเมื่อฟื้นตัวแล้ว ให้มารายงานตัวต่อศาล เพื่อฟังคำสั่งที่จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ต่อไป

    ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ในทั้งสองคดี โดยระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลนี้และศาลอุทธรณ์เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว” ลงนามคำสั่งโดยนายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ 

    ทั้งนี้การยื่นประกันตัวดังกล่าว นับเป็นครั้งที่ 8 แล้ว ทั้งในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และคดีชุมนุม MobFest โดยทุกครั้งศาลยังคงยืนยันไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำร้องของจำเลย ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 19 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28457)
  • ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และทนายความเครือข่ายที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่นักกิจกรรม “ราษฎร” รวม 21 ราย ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีจากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กรณีที่ทนายความประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความในคดี ในนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 15 และ 29 มีนาคม, 7 และ 8 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา

    หนังสือร้องเรียนดังกล่าวขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทำการไต่สวนและทบทวนมาตรการต่างๆ อย่างสมเหตุสมผลและเป็นการทั่วไป มิใช่การดำเนินการใดๆ เพียงเฉพาะคดี โดยยึดถือหลักการพิจารณาคดีที่เปิดเผยและเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมตามปกติ

    ทีมทนายความได้ระบุถึงปัญหาอุปสรรคหลายประการ ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ส่งผลต่อสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial Right) อาทิ การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย 8 ราย, การคัดกรองบุคคล, การควบคุมจำเลยโดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่ศาลอย่างเข้มงวด, การที่ทนายความไม่สามารถพูดคุยกับลูกความได้เป็นการส่วนตัว, การยึดโทรศัพท์มือถือระหว่างการพิจารณา ตลอดจนการดำเนินการตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาล

    หนังสือร้องเรียนยังระบุด้วยว่า ผู้แทนทนายความได้แจ้งสภาพปัญหานี้ต่อเลขานุการศาลอาญาแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 และเลขานุการศาลแจ้งว่าจะดำเนินการปรับปรุง แต่ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่ง “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 1, อานนท์ นำภา จำเลยที่ 2 และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรม และจำเลยรวม 21 ราย ยื่นคำร้องขอถอนทนายความ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564

    พร้อมกันนี้ “ทนายจูน” ศิริกาญจน์ เจริญศิริ หนึ่งในทนายจำเลยในคดีนี้ ยังได้ยื่นหนังสือร้องเรียนเฉพาะของตนถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ขอให้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและทบทวนการดำเนินการเพื่อประกันสิทธิจำเลย กรณีการละเมิดสิทธิของจำเลยและทนายความประสบอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ในศาล

    ศิริกาญจน์ ได้ระบุในหนังสือร้องเรียนว่า ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นทนายความจำเลยในนัดพร้อมและสอบคำให้การจำเลยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ได้ถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2 นาย คุกคามและขัดขวางการให้การปรึกษาทางกฎหมายแก่ลูกความ ทั้งโดยการจับแขนและดึงตัวทนายออกจากจำเลย, ใช้ท่าทีแข็งกร้าวเข้าตรวจสอบข้อความในสมุดบันทึกของทนายที่ให้ “รุ้ง” ปนัสยา เขียนเรียบเรียงประกอบการแถลงต่อศาล ตลอดจนยึดสมุดบันทึกดังกล่าว ไม่ให้นำสมุดออกไปนอกห้องพิจารณาคดี โดยไม่มีอำนาจและฐานทางกฎหมาย

    หนังสือร้องเรียนของทนายศิริกาญจน์ยังชี้ด้วยว่า มาตรการที่ศาลอาญาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เกินกว่าเหตุ และเกินความได้สัดส่วน โดยเจ้าหน้าที่ทั้งในสังกัดศาลอาญาและกรมราชทัณฑ์บังคับใช้มาตรการเข้มงวดแต่กับเฉพาะฝ่ายจำเลย ญาติ ประชาชนที่มาติดตามคดีของจำเลย และทนายความจำเลย เป็นการสร้างสภาวะกดดัน และไม่เอื้อต่อการร่วมกระบวนการพิจารณาคดีของศาลในคดีนี้อย่างรู้สึกปลอดภัยและได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม

    ++ทีมทนายความร้อง ไม่สามารถประกันสิทธิจำเลย ทั้งทนายและจำเลยถูกละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม++

    หนังสือร้องเรียนของคณะทนายความในคดีที่ยื่นต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีรายละเอียดดังนี้

    เนื่องจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ภายใต้มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง และได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 22 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 287/2564 ของศาลอาญา และศาลได้นัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 15 มีนาคม, 29 มีนาคม, 7 เมษายน และ 8 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา

    ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและทนายความที่ลงชื่อด้านท้าย พบอุปสรรคในการทำหน้าที่ทนายความจนยากแก่การทำหน้าที่ เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพของจำเลยในคดีนี้ ส่งผลต่อสิทธิของจำเลยในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial Right)

    1. คดีนี้จำเลย 8 รายได้แก่ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 1 นายอานนท์ นำภา จำเลยที่ 2 นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยที่ 4 นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 5 นายภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 6 และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ที่ 7 ซึ่งถูกฟ้องในฐานความผิดมาตรา 112 และนายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ จำเลยที่ 17 ถูกฟ้องในฐานความผิดมาตรา 116​ ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณาในคดีนี้ และนายชูเกียรติ แสงวงศ์ จำเลยที่ 12 ซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่นโดยจำเลยทั้งหมดมิได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ก่อเหตุอันตรายประการอื่น หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นอุปสรรคในการสอบสวนแต่อย่างใด

    อีกทั้งคดีดังกล่าวก็ยังมิได้เริ่มสืบพยานและยังมิได้มีคำพิพากษา จำเลยทั้งแปดรายซึ่งไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวจึงยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (presumption of innocence) การที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นทำให้จำเลยไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ส่งผลต่อโอกาสของจำเลยในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง และหากในอนาคตจำเลยต่อสู้จนชนะคดี แต่หากจำเลยยังมิได้ปล่อยตัวชั่วคราวก็เสมือนหนึ่งว่าศาลได้ตัดสินลงโทษจำเลยไปแล้ว

    2. จากการที่จำเลยที่ 1​ ถึงจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 12 และจำเลยที่ 17 ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวนั้นทำให้ในวันที่ 15 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐาน นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 1 ประสงค์จะแถลงต่อศาลถึงการอดข้าวเพื่อแสดงออกว่าตนไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยแถลงเหตุคับข้องดังกล่าว อันนำมาสู่เหตุซึ่งต่อมาศาลได้ไต่สวนและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานละเมิดอำนาจศาลโดยการกักขังเป็นเวลา 15 วัน

    3. ในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ศาลอาญาได้กำหนดมาตรการในการพิจารณาคดีโดยอนุญาตเพียงจำเลย ทนายความ และญาติจำเลยที่ไม่ได้ประกันตัวรายละสองคนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าห้องพิจารณาหลัก และได้เปิดห้องซึ่งถ่ายทอดวงจรปิดให้ผู้สังเกตการณ์บางส่วนร่วมรับฟังในอีกห้องแทน แต่ในวันที่ 7 และ 8 เมษายน 2564 ศาลไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้ารับฟังการพิจารณาเลย ทั้งที่คดีดังกล่าวศาลมิได้สั่งให้พิจารณาคดีลับแต่อย่างใด

    และแม้จะเปิดห้องถ่ายทอดการพิจารณา แต่ก็มีการคัดเลือกบุคคลในการเข้าห้องพิจารณาโดยผู้สื่อข่าวรายหนึ่งยืนยันว่าไม่สามารถเข้าห้องพิจารณาได้ เนื่องจากศาลอนุญาตเฉพาะนักข่าวที่ผ่านการอบรมจากศาลอาญาเท่านั้น โดยภายในห้องถ่ายทอดได้ยินเสียงจากห้องพิจารณาเป็นบางช่วงในวันที่ 29 มีนาคม และวันที่ 8 เมษายน เท่านั้น

    ส่วนวันที่ 7 เมษายน นั้น ผู้สังเกตการณ์ไม่สามารถฟังเสียงการถ่ายทอดการพิจารณาได้เลย คงเห็นแต่ภาพเท่านั้น ซึ่งการกำหนดมาตรการดังกล่าวย่อมขัดต่อหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปมีสิทธิในการเข้าร่วมการพิจารณาไม่ว่ามีความเกี่ยวข้องในคดีหรือไม่ก็ตาม

    4. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอเรียนต่อศาลว่าเหตุในการจำกัดบุคคลเข้าฟังการพิจารณานั้นไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากห้องพิจารณา 704 นั้นเป็นห้องขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับบุคคลได้พอสมควรแม้จะต้องรักษาระยะห่าง (social distancing)

    ภายในห้องพิจารณาในวันที่ 7 และ 8 เมษายน 2564 ศาลไม่อนุญาตให้ญาติของจำเลยเข้าฟังการพิจารณาคดีในห้องพิจารณา 704 โดยอ้างเหตุเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ทั้งที่ห้องพิจารณา 704 เป็นห้องพิจารณาขนาดใหญ่ และได้มีการจัดที่นั่งสำหรับญาติและบุคคลอื่นที่จะเข้ารับฟังการพิจารณาคดีไว้อย่างเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งศาลสามารถวางมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสมและไม่กระทบต่อหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยได้ โดยไม่ต้องจำกัดสิทธิญาติของจำเลยไม่ให้เข้ารับฟังการพิจารณาคดีในห้องพิจารณา 704

    ในทางกลับกัน ศาลได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และตำรวจศาล (Court Marshall) เข้ามาควบคุมในห้องพิจารณา รวมกันมากกว่า 30 คน และนั่งประกบจำเลยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตลอดเวลาโดยไม่มีระยะห่าง

    5. ในระหว่างการพิจารณาคดี บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปพูดคุย ญาติซึ่งได้เข้าร่วมพิจารณาในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ต้องขออนุญาตเป็นคราวๆ เพื่อพูดคุย และจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ก็ไม่สามารถพูดคุยปรึกษาคดีกับจำเลยที่ได้รับปล่อยตัวชั่วคราวได้หากประสงค์จะพูดคุย ศาลต้องอนุญาตเป็นคราวๆ ไปเช่นเดียวกัน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทนายความต้องการพูดคุยเพื่อปรึกษาคดีกับจำเลย ก็ไม่สามารถพูดคุยกับจำเลยเป็นการส่วนตัวได้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะยืนหรือนั่งประกบในระยะประชิด และเมื่อทนายความนำเอกสารไปให้ลูกความลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะต้องตรวจสอบเอกสารก่อน ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการพิจารณาทั้งสามวัน

    ทั้งในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ยังเกิดกรณีของทนายความศิริกาญจน์ เจริญศิริ เข้าไปพูดคุยกับจำเลยที่ 12 แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ชายได้ดึงแขนและแทรกตัวมาฟังบทสนทนาระหว่างทนายความและลูกความ รายละเอียดปรากฎตามหนังสือร้องเรียนของนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ลงวันที่ 21 เมษายน 2564 เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1

    6. การกำหนดมาตรการในการยึดโทรศัพท์ทนายความ อัยการ และจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยอ้างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 เหตุการณ์ดังกล่าว ทนายความจำเลย อัยการ และจำเลยอื่น มิได้เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งกรณีที่มีบุคคลใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกภาพเหตุการณ์ในห้องพิจารณา ก็มีภาพจากกล้องวงจรปิดในห้องพิจารณาบันทึกไว้ชัดเจน ซึ่งทนายความจำเลย อัยการ และจำเลยอื่นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด

    มาตรการที่ศาลกำหนดดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่เกินจำเป็น และเป็นการลิดรอนสิทธิของทนายความจำเลย อัยการ และจำเลยเกินสมควร ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีในศาลอาญานั้นจะไม่มีการยึดโทรศัพท์มือถือของผู้เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด

    7. นอกจากนี้ในวันที่ 8 เมษายน 2564 ยังเกิดกรณีที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เดินไปแจ้งผู้พิพากษาองค์คณะ ซึ่งคณะทนายความไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้พูดคุยกับผู้พิพากษาในเรื่องใด ทราบเพียงว่าศาลจะตรวจสอบกล้องวงจรปิดและตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาล ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 18 แถลงต่อศาลว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ยืนบังการพิจารณาทำให้ไม่ทราบว่ามีการพูดคุยอะไรกันระหว่างพิจารณา จึงเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันขึ้น

    8. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนขอเรียนต่อท่านว่า การตั้งจุดคัดกรองบุคคลตั้งแต่บริเวณหน้าธนาคารกรุงไทย, หน้าบันไดศาลอาญา, หน้าลิฟท์ทางเดินไปห้องพิจารณาชั้น 7 และด้านในห้องพิจารณา รวม 4 จุด ที่เพิ่มมาจากการตรวจตราปกติบริเวณชั้น 2 ประตูทางเข้าศาลอาญา และการนำกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนมาควบคุมพื้นที่ การปิดกั้นทางเดินหน้าห้องควบคุม และร้านอาหารด้านล่างของศาลอาญาไม่ให้บุคคลอื่นเข้า นอกจากจะเป็นการลิดรอนเสรีภาพเกินจำเป็นและกระทบสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยของจำเลยในคดีนี้แล้ว มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิผู้ต้องขังและประชาชนคนอื่นๆซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับคดีนี้ไปด้วย

    ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนขอเรียนต่อท่านว่า การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และบรรยากาศในการพิจารณาตลอดระยะเวลา 4 วัน ตั้งแต่การคัดกรองบุคคล, การควบคุมจำเลยโดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่ศาลอย่างเข้มงวด, การดำเนินการตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาล รวมถึงการที่ทนายความไม่สามารถพูดคุยกับลูกความได้เป็นการส่วนตัว, การยึดโทรศัพท์มือถือระหว่างการพิจารณา นอกจากจำเลย 7 ใน 22 ราย จะไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว มาตรการที่กำหนดขึ้นและได้รับการปฏิบัติเพียงเฉพาะคดีนี้ เพื่อควบคุมการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาลหรือสถานการณ์โควิด ส่งผลให้จำเลยทุกคนไม่ได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และทนายความไม่สามารถทำหน้าที่เพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของจำเลย หากกระบวนการพิจารณาคดียังเป็นเช่นนี้ต่อไป

    อย่างไรก็ตามในวันที่ 7 เมษายน 2564 ผู้แทนทนายความได้แจ้งสภาพปัญหานี้ต่อเลขานุการศาลอาญาแล้ว และเลขานุการศาลแจ้งว่าจะดำเนินการปรับปรุง แต่ปรากฏว่าในวันต่อมายังมิได้มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรม ฉบับลงวันที่ 8 เมษายน 2564 และคำร้องขอถอนทนายความลงวันที่ 8 เมษายน 2564 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 2 และหมายเลข 3 ตามลำดับ

    ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และทนายความที่ลงชื่อข้างท้าย ในฐานะคณะทนายความที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีนี้ จึงขอร้องเรียนมายังท่าน เพื่อทำการไต่สวนและทบทวนมาตรการต่างๆ อย่างสมเหตุสมผลและเป็นการทั่วไป มิใช่การดำเนินการใดๆ เพียงเฉพาะคดี โดยยึดถือหลักการพิจารณาคดีที่เปิดเผยและเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมตามปกติ

    ในภาวะที่บ้านเมืองเกิดช่องว่างแห่งความสมดุลของอำนาจ ประชาชนถูกจำกัด ลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยไม่ชอบธรรม สถาบันตุลาการย่อมอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันเหมาะสมที่สุดที่จะทำหน้าที่กลั่นกรอง ตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อำนาจดังกล่าวอย่างเป็นอิสระ ปราศจากอคติทั้งปวง ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ อันเป็นบทบาทสำคัญของสถาบันตุลาการตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม (rule of law) ในการสร้างสมดุลระหว่างการใช้อำนาจรัฐจำกัดสิทธิประชาชน กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นบทบาทที่ศาลพึงกระทำเพื่อให้สมกับเจตนารมณ์แห่งสถาบันตุลาการที่สังคมและประชาชนเชื่อถือไว้วางใจ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างสง่างามและเป็นธรรม

    ++“ทนายจูน” ร้อง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุกคาม จนท.ศาล-ราชทัณฑ์ ละเมิดสิทธิฝ่ายจำเลยตั้งแต่ทนายยันประชาชน++

    หนังสือร้องเรียนของ “ทนายจูน” ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ที่ยื่นต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีรายละเอียดดังนี้

    สืบเนื่องจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาลนี้ คดีระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7) กับ พริษฐ์หรือเพนกวิน ชิวารักษ์ กับพวกรวม 22 คน คดีอาญาหมายเลขดำที่ 287/2654 ซึ่งศาลได้นัดพร้อมสอบคำให้การจำเลยครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 และนัดพร้อมอีกในวันที่ 29 มีนาคม 2564 และนัดตรวจพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 7 และ 8 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา จากการที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทนายความจำเลยที่ 13 นางสาวสุวรรณา ตาลเหล็ก และเป็นหนึ่งในคณะทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวก

    ในคดีนี้ ข้าพเจ้าประสบอุปสรรคปัญหาในการทำหน้าที่ทนายความจำเลยและถูกขัดขวางการให้การปรึกษาทางกฎหมายแก่ลูกความในระหว่างการพิจารณาคดี อันเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิจำเลยในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยเปิดเผยและโดยตุลาการที่เป็นอิสระ รวมทั้งละเมิดสิทธิและหน้าที่ของทนายความที่มีต่อลูกความอย่างร้ายแรง ตามเหตุการณ์และรายละเอียดต่อไปนี้

    เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ระหว่างกระบวนการที่ศาลนัดพร้อมและสอบคำให้การจำเลยทั้ง 22 คน ในห้องพิจารณาคดีที่ 704 ข้าฯ ได้นำเอาเอกสารใบแต่งทนายความไปให้นายชูเกียรติ แสงวงค์ จำเลยที่ 12 ลงชื่อในใบแต่งตั้งทนายความ ซึ่งนายชูเกียรติ จำเลยที่ 12 นั่งบนเก้าอี้ม้านั่ง โดยมีเจ้าหน้าที่เรือนจำผู้ชายสองคนนั่งควบคุมข้างซ้ายและขวาของจำเลยที่ 12 เมื่อข้าฯ ได้เอาเอกสารให้จำเลยที่ 12 ลงชื่อแล้ว จำเลยต้องการคุยกับข้าฯ เป็นการส่วนตัวโดยไม่ประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ยิน ข้าฯ จึงขยับเข้าใกล้จำเลยโดยโน้มตัวเพื่อให้จำเลยสามารถพูดใกล้ๆ เพื่อให้ข้าฯ ได้ยิน

    แต่ข้าฯ กลับถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ผู้ชาย ชื่อ นายทวีชัย มากสำราญกุล ซึ่งนั่งประกบด้านขวามือของจำเลย แตะต้องตัวข้าฯ โดยการจับแขนและดึงข้าฯ ออกจากจำเลย เพื่อแทรกตัวเองเข้ามาระหว่างข้าฯและจำเลย โดยพูดทำนองว่าจะสนทนาอะไรกัน ข้าฯ ได้โต้แย้งว่าเจ้าหน้าที่นายนั้นไม่มีสิทธิมาจับแขนข้าฯ และข้าฯ ในฐานะทนายความจะพูดคุยอะไรกับลูกความก็ย่อมทำได้

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่นายนั้นไม่ได้แสดงการขอโทษต่อการกระทำดังกล่าว ทั้งที่เป็นการใช้อำนาจหน้าที่และใช้กำลังในการละเมิดทั้งสิทธิในการปรึกษาหารือและสื่อสารระหว่างทนายความและลูกความ และกระทำการให้ข้าฯ ตกใจและกังวลจากการถูกจับเนื้อต้องตัว ซึ่งเป็นการคุกคามข้าฯ ขณะทำหน้าที่ทนายความเพื่อรักษาประโยชน์ลูกความในห้องพิจารณาคดี

    ต่อมา ก่อนศาลพักการพิจารณาคดี เวลาเที่ยงวัน ภายหลังที่ผู้พิพากษาได้พูดคุยกับนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 5 โดยบอกให้จำเลยเรียบเรียงและร่างข้อความที่ต้องการสื่อสารกับศาลก่อนแล้วจึงมาแถลงต่อศาล จำเลยที่ 5 จึงยืมสมุดบันทึกส่วนตัวและปากกาของข้าฯ เพื่อร่างถ้อยคำเพื่อประกอบการแถลงต่อศาล

    ข้าฯ ได้อธิบายเหตุผลให้เจ้าหน้าที่หญิงสองคนจากทัณฑสถานหญิงกลางซึ่งควบคุมจำเลยที่ 5 โดยการนั่งประกบทั้งสองข้างของจำเลย จนเจ้าหน้าที่ทั้งสองยอมให้จำเลยที่ 5 ใช้ปากกาเขียนข้อความลงในสมุดบันทึกของข้าฯ แต่ได้มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ผู้ชายนายหนึ่ง ชื่อ นายวิชาญ สาระตา ตำแหน่ง นักทัณฑวิทยา เข้ามาตรวจสอบด้วยท่าทีแข็งกร้าวไม่ต้องการให้จำเลยที่ 5 เขียนข้อความใดๆ ข้าฯ ต้องยืนยันว่าศาลสั่งให้จำเลยเขียนเรียบเรียงข้อความเพื่อแถลงต่อศาล เจ้าหน้าที่จึงให้จำเลยที่ 5 เขียนข้อความในสมุดข้าฯ

    อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลลงจากบัลลังก์เพื่อพักการพิจารณาคดีในช่วงกลางวัน โดยนัดหมายอีกครั้งเวลา 13.30 น. ปรากฏว่า นายวิชาญ สาระตา ได้นำเอาสมุดบันทึกของข้าฯ ไปยึดถือไว้ ข้าฯ สอบถามเพื่อขอคืนสมุดของข้าฯ แต่ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่าไม่ให้นำสมุดออกไปนอกห้องพิจารณาคดี ข้าฯ และเพื่อนทนายความโต้แย้งว่าสมุดเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของข้าฯ เหตุใดจะเอาออกไปข้างนอกไม่ได้ นายวิชาญ สาระตา ยังยืนยันว่าให้ข้าฯ วางสมุดไว้ในห้องพิจารณาคดี แต่ข้าฯ ไม่ยินยอมตามคำสั่งของนายวิชาญ สาระตา อันไม่มีอำนาจและฐานทางกฎหมายใดมายึดเอาสมุดส่วนตัวของข้าฯ ซึ่งเป็นสมุดที่มีข้อความส่วนตัวและข้อมูลทางคดีอันถือเป็นหนึ่งในข้อมูลและเอกสารระหว่างทนายความและลูกความที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

    เมื่อศาลเริ่มการพิจารณาคดีในช่วงบ่าย ข้าฯ ให้จำเลยที่ 5 ใช้ปากกาเขียนสมุดบันทึกของข้าฯ เล่มเดิม เพื่อเขียนข้อความที่จำเลยประสงค์ให้เรียบเรียงก่อนแถลงต่อศาล หลังจากจำเลยเขียนเสร็จ จึงได้เรียกข้าฯ ไปพบ ปรากฏว่านายวิชาญ สาระตา ขอตรวจข้อความที่จำเลยที่ 5 เขียนก่อน โดยยึดเอาสมุดข้าฯ ไปอ่านข้อความของจำเลย ก่อนอนุญาตคืนสมุดให้ข้าฯ และจำเลยที่ 5 ซึ่งกระดาษข้อความดังกล่าวปรากฏตามเอกสารแนบท้ายรายงานกระบวนพิจารณาคดีวันที่ 29 มีนาคม 2564

    การกระทำของนายวิชาญ สาระตา และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในห้องพิจารณาคดีในวันที่ 29 มีนาคม 2564 นั้น เป็นการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ทนายความจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีและเกิดเหตุขึ้นในห้องพิจารณาคดีภายในพื้นที่ภายใต้อำนาจศาลอาญาแห่งนี้

    ทั้งนี้ มาตรการที่ศาลอาญาบังคับใช้อย่างเข้มงวด เกินกว่าเหตุ และเกินความได้สัดส่วน กลายเป็นการจำกัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลย สิทธิในการเข้าถึงทนายความ สิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีความอย่างเท่าเทียม รวมทั้งมาตรการละเมิดสิทธิอื่นๆ เช่น การจำกัดสิทธิและขัดขวางญาติ ครอบครัว เพื่อนของจำเลย สื่อ ผู้สังเกตการณ์ และประชาชนทั่วไป ไม่ให้เข้าห้องพิจารณาคดีที่ต้องดำเนินอย่างเปิดเผยและโปร่งใส หรือการยึดโทรศัพท์มือถือของทนายความจำเลย และญาติจำเลยที่ได้รับอนุญาตให้เข้าจำนวนจำกัด โดยเจ้าหน้าที่ทั้งในสังกัดศาลอาญาและกรมราชทัณฑ์บังคับใช้มาตรการเข้มงวดแต่กับเฉพาะฝ่ายจำเลย ญาติ ประชาชนที่มาติดตามคดีของจำเลย และทนายความจำเลย เป็นการสร้างสภาวะกดดัน ควบคุมจำกัดสิทธิเกินกว่าเหตุ และไม่เอื้อต่อการร่วมกระบวนการพิจารณาคดีของศาลในคดีนี้อย่างรู้สึกปลอดภัยและได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม

    จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและทบทวนการดำเนินการเพื่อประกันสิทธิจำเลยในการพิจารณาคดีของศาลอาญาต่อไป

    (อ้างอิง: หนังสือร้องเรียนอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ลงวันที่ 21 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28632)
  • นายประกันของไผ่และสมยศได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวครั้งที่ 5 และ 7 ตามลำดับ ระบุว่าจำเลยทั้งสองมีความประสงค์ที่จะขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว โดยจำเลยทั้งสองยืนยันว่าหากได้รับการปล่อยตัว จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ได้แถลงต่อศาลไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาคดี และหากศาลมีข้อกำหนดอื่นใดตามกฎหมายเพื่อให้ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองก็จะปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

    ในคำร้องยังกล่าวถึงเหตุที่จำเลยถอนทนายความ เนื่องจากจำเลยได้รับความกดดันและรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตลอดจนไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาทนายความอย่างเต็มที่ในห้องพิจารณาคดี

    อนึ่ง จำเลยมีความประสงค์จะแต่งตั้งทนายความเพื่อปรึกษาและว่าความคดีของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป

    ในคำร้องยังระบุเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งได้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ฉบับที่ 6 ในเดือนเมษายน 2564 ของสำนักงานศาลยุติธรรม ระบุว่าการพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในทุกชั้นศาล ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ฉบับที่ 3 ข้อ 7 ซึ่งกำหนดว่า “การพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในทุกชั้นศาล ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2562 และเพื่อมิให้เป็นการเพิ่มความแออัดในเรือนจำอันอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

    ผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือจำเลยที่เคยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน หรือจำเลยซึ่งมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของจำเลยหรือเงื่อนไขอื่นใด เช่น การให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถตรวจสอบ หรือจำกัดการเดินทางของจำเลย หรืออาจมีคำสั่งแต่งตั้งผู้กำกับดูแลจำเลย ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 การรายงานตัวต่อศาล ศาลควรกำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายงานตัวทางโทรศัพท์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด แทนการเดินทางมาศาล”

    ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เบิกตัวจำเลยทั้งสองคนมาเพื่อไต่สวนและสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าว

    ศาลมีคำสั่งให้เบิกตัวจำเลยและพยานมาไต่สวนในวันที่ 23 เม.ย. 2564

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 22 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28695)
  • ที่ห้องพิจารณา 914 ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายประกันในคดี และ พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ของไผ่ จตุภัทร์ เดินทางมาเป็นพยานในการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และยังมีน้องสาวของไผ่เดินทางมาฟังการไต่สวนด้วย

    บรรยากาศในห้องพิจารณาไม่ได้มีการจัดเก็บมือถือหรือต้องฝากมือไว้หน้าบัลลังก์เหมือนนัดพิจารณาคดีในวันที่ผ่านมาและไม่ได้การจดชื่อผู้เข้าฟัง

    09.55 น. จตุภัทร์และสมยศถูกนำตัวเข้ามาพร้อมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 8 นาย ทางราชทัณฑ์ได้มีการนำบุคลากรในชุดแพทย์มา แต่ไม่ได้ขึ้นเบิกความในวันนี้ ศาลได้กล่าวกับคู่ความว่า การไต่สวนวันนี้มีประเด็นซึ่งจำเลยทั้งสองขอประกันตัว โดยศาลเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการขอปล่อยตัวชั่วคราวไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาในคดีหลัก

    10.05 น. สมยศขึ้นเบิกความ ระบุถึงอาการป่วยข้อเข่าเสื่อมของตน เนื่องจากเคยเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ใช้ชีวิตในเรือนจำได้ลำบาก เนื่องจากห้องคุมขังอยู่บริเวณชั้น 2 ต้องเดินขึ้นลง อีกทั้งในห้องขังไม่มีเก้าอี้ ต้องนั่งในท่าที่ทําให้ข้อเข่าเสื่อมโดยตลอด และต้องกินยาแก้ปวดทุกวันมาประมาณเดือนครึ่งแล้ว

    ศาลถามสมยศเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในเรือนจำ สมยศกล่าวว่า ตนถูกกักตัวเพื่อคัดกรองโควิดเนื่องจากการออกศาลมาแล้ว 3 รอบ รอบละ 14 วัน โดยต้องกินข้าว ขับถ่าย อาบน้ำ ใช้ชีวิตในห้องเพียงอย่างเดียว ตลอดเวลาที่ต้องกักตัวในแดน 2 ปัจจุบันทราบว่าแดนนี้เหมือนโรงพยาบาล พบว่ามีนักโทษติดเชื้อโควิด 3 คน และผู้คุมอีก 1 คน สภาพความเป็นอยู่ในห้องขังของตนนั้น ต้องอยู่รวมกัน 20 กว่าคน และใส่หน้ากากตลอด 24 ชั่วโมง

    สำหรับคำแถลงว่าจะไม่ออกไปพูดพาดพิงสถาบันกษัตริย์นั้น สมยศยืนยันตามรายงานกระบวนพิจารณาคดีวันที่ 5 เม.ย. โดยในวันนี้ตนได้แต่งตั้งทนายกลับเข้ามา หากได้รับการปล่อยตัวจะกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลอย่างเคร่งครัด

    พนักงานอัยการได้ถามสมยศเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกันตัวว่าเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาเองหรือไม่ โดยสมยศตอบว่าเป็นเงื่อนไขที่ตนสมัครใจ

    เวลา 10.15 น. จตุภัทร์ขึ้นเบิกความ โดยแถลงว่าขณะนี้ ตนกำลังเรียนระดับปริญญาโทอยู่ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันอยู่ในช่วงใกล้สอบ โดยตนขอยืนยันที่เคยแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 5 เม.ย. ซึ่งระบุว่าจะไม่กล่าวพาดพิงสถาบันกษัตริย์หรือทำอะไรให้สถาบันเสื่อมเสียโดยไม่มีใครบังคับขู่เข็ญ

    ปัจจุบันตนได้แต่งตั้งทนายความกลับเข้ามาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณา หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล โดยศาลได้ถามจตุภัทร์ว่ามีคดีมาตรา 112 ที่อื่นอีกหรือไม่ หลังถูกดำเนินคดีนี้ จตุภัทร์ตอบว่าไม่มี มีเพียงคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคฯ

    อัยการได้ถามจตุภัทร์ เกี่ยวกับการถอนทนายความ จตุภัทร์ระบุว่าเพราะมีบรรยากาศอึดอัดในการพิจารณาคดี เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้ามาควบคุมการพูดคุยระหว่างตนกับทนายอย่างมาก จนรู้สึกไม่ปลอดภัย

    อัยการได้ถามเน้นย้ำเรื่องการลงนามในเอกสารไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของพวกจำเลยในวันที่ 8 เม.ย. จตุภัทร์ตอบว่าตนไม่ได้เซ็นเอกสารซึ่งเป็นคำแถลงด้วยลายมือ เซ็นเพียงเอกสารถอนทนายความ

    อัยการถามต่อไปว่า ตอนที่ท่านเซ็นเอกสารมีคำว่า “ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมหรือไม่” จตุภัทร์ตอบว่าไม่แน่ใจ อัยการจึงถามต่อว่าแล้วในความรู้สึกของท่านคิดอย่างไร จตุภัทร์ยืนยันว่าหากได้รับการประกันตัวก็จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและสมัครใจจะรับเงื่อนไข

    ทนายความได้เปิดเอกสารให้ดูจตุภัทร์อ่านว่าคำร้องขอถอนทนายในวันดังกล่าวนั้น เป็นการถอนทนายคนละคนกันกับวันนี้ ทั้งคำร้องขอถอนทนายในวันที่ 8 เม.ย. ไม่มีข้อความที่เขียนว่าไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด เพียงบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดี ส่วนการถอนทนายวันนั้นเป็นการถอนทนายเมื่อการสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว และคดีนี้มีการกำหนดวันนัดสืบแล้วไม่ได้กระทบต่อการพิจารณาคดีแต่อย่างใด

    10.30 น. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ ขึ้นเบิกความว่า ปัจจุบันเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเกี่ยวข้องกับจตุภัทร์ในฐานะผู้สอนใน 2 รายวิชาที่จะต้องสอบภายในเทอมนี้ หากจตุภัทร์ไม่ได้มาสอบจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะหลักสูตรที่เรียนให้จบภายใน 1 ปีครึ่ง จึงต้องสอบจบวิชาหลักในเทอมนี้ให้ได้ พัทธ์ธีรารับว่าจะพยายามควบคุมดูแลให้จตุภัทร์ปฎิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด

    พัทธ์ธีราได้ตอบอัยการ ซึ่งสอบถามว่าท่านจะกำกับจำเลยด้วยวิธีใด ว่าโดยปกติในการเรียนอาจารย์จะต้องติดตามพูดคุยกับนักศึกษา จตุภัทร์จะต้องมาพบอาจารย์หลายสิบครั้งอยู่แล้ว และด้วยปริมาณงานที่ต้องทำส่งในช่วงเวลานี้ อาจารย์เชื่อว่าจตุภัทร์คงต้องใช้เวลากับการเรียนและติดตามงานเพื่อให้สามารถเรียนจบตามหลักสูตร

    เวลา 10.40 น. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ขึ้นเบิกความระบุว่า ตนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้รู้จักคุ้นเคยกับสมยศและจตุภัทร์ เนื่องจากเคยร่วมงานในการรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยตนรับปากจะช่วยกำกับดูแลสมยศให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แถลงไว้ โดยจะใช้การพูดคุยกันด้วยเหตุผล

    อัยการยังถามชลิตา เกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 8 เม.ย. ในห้องพิจารณา ซึ่งมีการขอถอนทนายความว่าทราบเรื่องหรือไม่ ชลิตาระบุว่าทราบว่าเนื่องจากมีบรรยากาศในห้องพิจารณาที่ไม่สามารถคุยกับทนายความได้สะดวก

    นอกจากนี้อัยการยังถามชลิตา เกี่ยวกับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งได้อ้างเอกสารของวันที่ 8 เม.ย. ว่าพยานเข้าใจคำร้องอย่างไร ชลิตาตอบว่าจตุภัทร์และสมยศรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในวันนั้น เวลานั้นจึงมีการถอนทนายความ แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ยอมรับกระบวนยุติธรรม

    10.55 น. ผู้แทนผู้บัญชาการเรือนจำ ธีระศักดิ์ พยัคฆ์รังสี หัวหน้าฝ่ายควบคุมผู้ต้องขังแดน 2 ขึ้นเบิกความ โดยศาลถามถึงพฤติกรรมของจตุภัทร์และสมยศในเรือนจำ โดยอธิบายว่าการสอบถามนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการควบคุมจำเลยในห้องพิจารณา แต่เป็นช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือไม่ นายธีรศักดิ์ตอบว่าพวกจำเลยไม่เคยทำผิดวินัยและเชื่อฟังให้ความร่วมมือในการควบคุม

    ศาลยังถามถึงสถานการณ์โรคระบาดโควิดในเรือนจำ โดยธีรศักดิ์กล่าวว่า แดน 2 เป็นแดนกักตัวเพื่อคัดกรองโควิด ปัจจุบันมีนักโทษแดน 2 ติดเชื้อ 3 คน และถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว

    ธีรศักดิ์อธิบายกับศาลเพิ่มเติมว่าปัจจุบันเรือนจำยังสามารถดูแลและยังพอสร้างกฎการเว้นระยะห่างให้นักโทษได้ แต่รับว่าหากจำเลยได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ จะช่วยลดความแออัด และทำให้เรือนจำบริหารจัดการได้ง่ายขึ้นในช่วงนี้

    เวลา 15.00 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา ได้อ่านคำสั่ง โดยท้าวความถึงคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง ว่าสมยศมีอาการข้อเข่าเสื่อม ใช้ชีวิตในเรือนจำอย่างยากลำบาก ส่วนไผ่มีสถานะเป็นนักศึกษาที่หากไม่ได้รับการประกันตัวจะกระทบต่อการเรียน

    ศาลพิเคราะห์เห็นว่าเหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจะต้องเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 คือ 1) จำเลยจะหลบหนี 2) จำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน 3) จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น 4) หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ 5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่ากรณีนี้ จำเลยเดินทางมาศาลตามนัดโดยตลอด จึงเชื่อว่าจะไม่หลบหนี ส่วนกรณีพยานหลักฐานนั้น ส่วนใหญ่เป็นเจ้าพนักงาน และส่วนใหญ่อยู่ในครอบครองของโจทก์ จึงเชื่อว่าจำเลยจะไปยุ่งเหยิงไม่ได้ สำหรับกรณีการก่อเหตุร้ายประการอื่นนั้น พนักงานสอบสวนและโจทก์ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยจะไปก่อเหตุร้ายหรือภยันตรายประการอื่นแต่อย่างใด

    หลักประกันในวันนี้ ผู้ขอประกันไม่เคยทำผิดสัญญาประกัน และมีเงินสดจำนวน 200,000 บาท จึงเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ และในวันนี้จำเลยทั้ง 2 ได้แต่งทนายความเข้ามาร่วมต่อสู้คดีแล้ว การปล่อยชั่วคราวไปจะไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อการพิจารณาคดี

    กรณีจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอว่าจะเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 4 โดยกำหนดเงื่อนไข ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองทำกิจกรรมที่จะกระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้จำเลยมาศาลตามนัด หากผิดสัญญาปรับคนละ 200,000 บาท

    ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้สมยศและจตุภัทร์จะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานาครในช่วงค่ำนี้ โดยสมยศถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 64 รวมระยะเวลาทั้งหมด 74 วัน ส่วนไผ่ จตุภัทร์ถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 64 รวมระยะเวลาทั้งหมด 47 วัน

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 23 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28695)
  • เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 7 นักกิจกรรมทางการเมืองซึ่งถูกคุมขังจากคดีความข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบ่งเป็นกลุ่มแกนนำ #ราษฎร 4 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ โดยวางเงินสดเป็นหลักประกันรายละ 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมยอมรับหากศาลกำหนดเงื่อนไขในการประกันตัว

    อีก 3 รายได้ แก่ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวทั้งในคดีนี้ โดยมารดาของแอมมี่วางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 35,000 บาท และคดีสืบเนื่องจากการเผารูปกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ที่ด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม

    อีก 2 ราย ที่ยื่นประกันในคดีอื่น ได้แก่ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ ถูกคุมขังในชั้นสอบสวนจากการแปะสติ๊กเกอร์ข้อความบนรูปของกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ในการชุมนุมของกลุ่ม #REDEM เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 และ “พอร์ท ไฟเย็น” ปริญญา ชีวินกุลปฐม ถูกคุมขังในชั้นสอบสวนเช่นเดียวกันจากกรณีโพสต์เพลงและข้อความ ตั้งแต่ปี 2559

    บรรยากาศการยื่นประกันตัวเกิดขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่มาติดตามสถานการณ์ที่ศาลอาญาเป็นจำนวนมาก มีการปราศรัยเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และการพยายามยื่นรายชื่อผู้ลงชื่อถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง กว่า 11,035 รายชื่อ โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนอย่างน้อย 2 คันรถเข้ามาที่ศาลอาญา

    เวลา 16.00 น. ศาลแจ้งว่าจะยังไม่อ่านคำสั่งเรื่องการขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ โดยจะอ่านคำสั่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลในวันพรุ่งนี้แทน หากยังมีการชุมนุมรวมตัวอยู่ในพื้นที่ศาล แต่ครอบครัวของผู้ต้องขังและประชาชนที่มารวมตัว ยืนยันว่าจะปักหลักรอคำสั่งศาลต่อไป

    จนเวลา 18.00 น. ศาลได้อ่านคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องขังในคดีการเมืองทั้ง 7 คนในทุกคดี โดยระบุเหตุในลักษณะเดียวกันว่า ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง

    ทุกคำสั่งยกคำร้องถูกลงนามโดย นาย เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

    การยื่นประกันครั้งนี้นับเป็นการยื่นประกันในคดีนี้เป็นครั้งที่ 7 สำหรับอานนท์, ครั้งที่ 9 สำหรับเพนกวิน ซึ่งนับว่ามากครั้งที่สุดกว่าผู้ถูกคุมขังคนอื่นๆ และครั้งที่ 5 สำหรับรุ้ง ส่วนไมค์และแอมมี่นับเป็นครั้งที่ 4 โดยอานนท์และเพนกวินถูกขังมาเป็นระยะเวลานานกว่าคนอื่น คือรวมถูกคุมขังมาแล้ว 80 วัน ขณะที่รุ้งและไมค์ถูกขังมา 53 วัน อีกทั้งเพนกวินยังคงอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวเป็นวันที่ 45 และปนัสยาอดอาหารมา 29 วัน

    *******************
    คำร้องขอประกันตัวโดยสรุประบุว่า

    1. คดีนี้ศาลได้ทำการตรวจพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้นแล้ว จากการตรวจพยานหลักฐานก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีพฤติการณ์ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
    2. ศาลนี้ได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 3 (หมอลำแบงค์ – ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม) จำเลยที่ 4 (สมยศ พฤกษาเกษมสุข) และจำเลยที่ 7 (ไผ่ – จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา) ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานความผิดเดียวกันกับจำเลยในคดีนี้ พฤติการณ์และรายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวก็ไม่มีความแตกต่างกัน
    3. ศาลได้ทำการนัดตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงการสืบพยานเท่านั้น จำเลยก็ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาร่วมการพิจารณาคดีต่อสู้คดีตามกฎหมาย หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ขอโปรดกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย จำเลยยินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาล โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้รับรองและดูแลให้จำเลยปฏิบัติตาม
    4. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคดีในสถานการณ์แพร่ระบาด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา โดยกำหนดให้ขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มความแออัดในเรือนจำ ผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือจำเลยที่เคยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน หรือจำเลยซึ่งมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
    5. ในขณะนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งนายชูเกียรติ แสงวงค์ จำเลยในคดีนี้เองก็ติดเชื้อไวรัส และผู้ต้องขังอีกจำนวนหลายคนก็ติดเชื้อเช่นเดียวกัน ทำให้จำเลยมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากต้องถูกคุมขังในสถานที่แออัด จึงขอศาลใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวชั่วคราวตามแนวปฏิบัติข้างต้น หากต้องการข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ศาลอาจออกหมายเรียกผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาไต่สวนประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจ
    6. พริษฐ์และปนัสยาเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ ปัจจุบันทั้งคู่อยู่ระหว่างช่วงการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน หากจำเลยต้องถูกคุมขังต่อ จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาอย่างร้ายแรง ประกอบกับพริษฐ์มีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคหอบหืด การถูกขังไว้ในเรือนจำซึ่งแออัดย่อมทำให้เกิดปัญหาใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก หากเกิดอาการของโรคกำเริบขึ้น
    ที่มากไปกว่านั้น ปัจจุบันพริษฐ์มีอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง เกิดภาวะขับถ่ายเป็นเลือดและมีเศษบางอย่างคล้ายเนื้อเยื่อออกมาด้วย คาดว่าน่าจะเกิดจากร่างกายเริ่มย่อยกระเพาะอาหาร ถือเป็นความเจ็บป่วยรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
    7. จำเลยที่ 2 (อานนท์) ประกอบวิชาชีพทนายความ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องเดินทางมาศาลเป็นประจำ มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบว่าความในคดีสิทธิมนุษยชนหลายคดี และตลอดทั้งเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นทำหน้าที่ทนายความในคดีแกนนำคนอยากเลือกตั้ง (UN62)
    จำเลยยังเป็นสมาชิกของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Lawyers Association) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดการเป็นสมาชิกของสมาคมฯ จำเลยได้รับผิดชอบว่าความ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีสิทธิฯ ทั้งนี้ มีทนายความจำนวนถึง 187 คน ร่วมลงชื่อเพื่อยืนยันสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ
    8. แม้ว่าเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำร้องที่ ปอ 61/2564 โดยให้เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวส่วนหนึ่งว่า “การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 3 (หมอลำแบงค์) ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน” ซึ่งถ้อยคำลักษณะเดียวกันนั้นยังปรากฏในคำสั่งคำร้องที่ ปอ 62/2564 และ ปอ 63/2564 ที่ศาลได้อ่านในวันเดียวกันด้วย

    การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่ามีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่าศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า จำเลยทำจริงหรือไม่? การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่? และ จำเลยมีอำนาจกระทำตามกฎหมายหรือไม่?

    เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย การวินิจฉัยการกระทำของจำเลยและหยิบข้อวินิจฉัยมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อนานาประเทศ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันล้วนแต่เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 29 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29035)
  • ช่วงบ่าย ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวเพนกวินและรุ้งอีกครั้ง เพื่อให้เพนกวินเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูร่างกายในโรงพยาบาล หลังเพนกวินอดอาหารประท้วงมาเป็นเวลา 46 วันแล้ว นับเป็นการยื่นประกันครั้งที่ 10 ของเพนกวิน และครั้งที่ 6 ของรุ้ง

    ต่อมา พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 6 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น.

    ขณะเดียวกันมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้นำตัวเพนกวินออกจากเรือนจำไปยัง รพ.รามาธิบดี เพื่อให้สารอาหารทางหลอดเลือด และส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื่องจากเพนกวินแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าถ่ายเป็นเลือด

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2564)
  • เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแอมมี่ ทั้งในคดีนี้ และคดี ม.112 กรณีเพลิงไหม้รูป ร.10 หน้าเรือนจำคลองเปรม โดยมีมารดาเป็นนายประกัน คดีนี้วางหลักประกันเป็นเงินสด 50,000 บาท เป็นการยื่นประกันครั้งที่ 5

    ต่อมา เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 6 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. และมีคำสั่งให้เบิกตัวจำเลยมาศาล

    สำหรับคำร้องที่ยื่นมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

    1. คดีนี้ศาลได้ทำการตรวจพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้นแล้ว จากการตรวจพยานหลักฐานก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีพฤติการณ์ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
    2. แม้ก่อนหน้านี้จำเลยจะเคยถูกจับกุมตามหมายจับมาก่อนแต่ก็เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการออกหมายจับโดยไม่เคยออกหมายเรียกจำเลยมาก่อนและเป็นการจับกุมในความผิดอื่นไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และที่ผ่านมาจำเลยได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและปฏิบัติตามนัดของพนักงานสอบสวนมาโดยตลอด ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือก่อความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองแต่ประการใด และคดีนี้โจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัวแต่อย่างใด
    3. ศาลนี้ได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 7, จำเลยที่ 7-16 และจำเลยที่ 18-22 ในคดีนี้ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานความผิดเดียวกันกับจำเลยในคดีนี้ พฤติการณ์และรายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวก็ไม่มีความแตกต่างกัน
    4. ศาลได้ทำการนัดตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงการสืบพยานเท่านั้น จำเลยก็ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาร่วมการพิจารณาคดีต่อสู้คดีตามกฎหมาย หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ขอโปรดกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย จำเลยยินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ศาลกำหนดทุกประการ และจำเลยยินดีติดกำไลข้อเท้า (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM) เพื่อเป็นการประกันต่อศาลว่าจะไม่หลบหนี ศาลสามารถเรียกหรือติดตามจำเลยเพื่อมาพบได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้ จำเลยขอให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อดิศร จันทรสุข รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ และมารดาของจำเลย เป็นผู้รับรองและดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของศาล

    ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หากศาลเห็นสมควรจะทำการไต่สวนผู้ต้องหาก็ขอให้ศาลออกหมายเบิกตัวผู้ต้องหามาไต่สวนหรือทำการไต่สวนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 1 พ.ค. 2564)

  • เวลา 10.05 น. ที่ห้องพิจารณา 902 “รุ้ง” ปนัสยา ถูกนำตัวจากทัณฑสถานหญิงกลางเข้ามาในห้องพิจารณา แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่อนุญาตให้ทนายความนั่งข้างๆ เธอ ทนายจึงต้องนำเก้าอี้มานั่งฝั่งตรงกันข้าม

    ภายในห้องพิจารณาคดี มีผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณา ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ชายสามคนและหญิงสองคน ในส่วนของญาติมีแม่ของเพนกวิน, พ่อแม่ของรุ้ง และ ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยยังคงมีการเก็บโทรศัพท์ผู้เข้าฟังการไต่สวนเช่นเดิม

    จากนั้น ได้มีการปรึกษาหารือถึงเรื่องที่ศาลจะไม่เบิกตัว “เพนกวิน” พริษฐ์ และ “แอมมี่” ไชยอมร มาในวันนี้ เนื่องจากมีหนังสือของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แจ้งศาลถึงเรื่องการกักตัวเพนกวินและแอมมี่ เพื่อดูอาการภายหลังสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด “จัสติน” ชูเกียรติ ซึ่งจะครบกำหนด 14 วัน ในวันที่ 7 พ.ค. โดยทนายจำเลยเพิ่งทราบเรื่องเช้าวันนี้ ทำให้ทนายและญาติพยายามจะเจรจากับทางราชทัณฑ์ ขอให้ทำการเบิกตัวทั้งคู่ มาไต่สวนพร้อมกับรุ้งในวันนี้

    ในวันนี้มีการเปิดห้องถ่ายทอดการไต่สวนผ่านจอดภาพ โดยมีสื่อมวลชน, ส.ส.จากพรรคก้าวไกล และตัวแทนสถานทูต เข้าฟังด้วย

    เวลา 10.15 น. เริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันปนัสยา มีรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์, เทวัญ รอดเจริญ และผู้พิพากษาอีก 2 คน ออกพิจารณาคดี โดยสองคน ได้แก่ การไต่สวน มีพยานจำนวน 5 ปาก เข้าเบิกความ โดยมีรุ้งเป็นผู้เบิกความคนแรก

    ปนัสยาเบิกความว่าปัจจุบัน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับครอบครัว มีพ่อแม่และพี่สาว ตนไปรับทราบนัดที่อัยการด้วยตนเองมาโดยตลอดและมาตามนัดในวันที่มีการฟ้องคดีนี้ สำหรับข้อกล่าวหาในคดีนี้ ตนให้การปฎิเสธทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล

    ปนัสยายังตอบทนายจำเลยว่า ในคดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาเดียวกันได้รับการอนุญาตประกันตัวแล้ว 3 คน ภายใต้เงื่อนไขว่า 1. จะไม่กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ 2. ห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่ศาลอนุญาต 3. จะแต่งตั้งทนายความเพื่อกลับเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดี

    ศาลได้ขอให้ปนัสยาแถลงเงื่อนไขดังกล่าวอีกครั้ง โดยปนัสยาได้กล่าวย้ำและตอบศาลถามเกี่ยวกับความสมัครใจในการแถลงเงื่อนไข ว่าการแถลงเงื่อนไขนี้เป็นการแถลงอย่างสมัครใจ นอกจากนี้ยังรับว่าตนยินดีจะอยู่ในการกำกับดูแลของรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา ของมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

    ฝ่ายอัยการได้ถามว่า ปนัสยาสาบานว่าจะปฎิบัติตามที่ได้กล่าวไว้ใช่หรือไม่ ปนัสยาตอบว่าใช่ นอกจากนี้ยังได้แถลงเพิ่มเติมว่าหากศาลจะยินยอมให้ติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ EM ตนก็ยินยอม

    เวลา 10.40 น. ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รองอธิบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เข้าเบิกความว่าปนัสยาไม่เคยทำผิดวินัยในฐานะนักศึกษา และหากศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีเงื่อนไข ตนรับว่าจะช่วยกำกับดูแล โดยอัยการถามว่าจะมีวิธีควบคุมอย่างไร อาจารย์ตอบว่า จะสื่อสารกับนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอและทำงานร่วมกับอาจารย์ในคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการช่วยกำกับดูแล

    10.45 และ 11.00 น. แม่และพ่อของปนัสยา เบิกความ ตามลำดับโดยกล่าวว่า ปนัสยาพักอาศัยอยู่กับพ่อแม่และพ่อแม่เป็นผู้ส่งเสียเลี้ยงดู ก่อนเกิดเหตุในคดี ปนัสยาไม่เคยต้องโทษที่มีคำพิพากษาจำคุกมาก่อน และมีความประพฤติเรียบร้อย หากได้รับการอนุญาตปล่อยตัวจะช่วยกำกับดูแลให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขของศาลและมั่นใจว่าปนัสยาจะสามารถปฏิบัติตามได้

    11.50 น. เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานหญิงกลางเข้าเบิกความ โดยเบิกความว่าปนัสยาไม่เคยกระทำความผิดวินัยในเรือนจำ โดยระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี

    ภายหลังจบการไต่สวน ศาลได้นัดอ่านคำสั่งในเวลา 14.00 น. แต่ต่อมาเลื่อนเวลาออกไป

    เวลา 16.40 น. ศาลได้เบิกตัวปนัสยาขึ้นมายังห้องพิจารณา จนเวลา 17.00 น. นายพิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ มีคำสั่งให้ประกันตัวปนัสยา โดยเห็นว่าปนัสยายังเป็นนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา จำเลยได้แถลงว่าจะไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์แถลงว่าจำเลยมีความประพฤติดี ประกอบกับได้มีการแต่งตั้งทนายความ เข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีของศาล

    ศาลพิเคราะห์เห็นว่าเหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจะต้องเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 คือ 1) จำเลยจะหลบหนี 2) จำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน 3) จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น 4) หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ 5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

    ศาลเห็นว่ากรณีนี้ จำเลยเดินทางมาศาลตามนัดโดยตลอด จึงเชื่อว่าจะไม่หลบหนี ส่วนกรณีพยานหลักฐานนั้น จำเลยเป็นเพียงนักศึกษาจึงเชื่อว่าจำเลยไม่สามารถไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐานได้ นอกจากนั้นหลักประกันในวันนี้ ผู้ขอประกันไม่เคยทำผิดสัญญาประกัน และมีเงินสดจำนวน 200,000 บาท จึงเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ

    กรณีจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอว่าจะเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย โดยกำหนด ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จำเลยมาศาลตามนัดโดยเคร่งครัด

    ศาลอาญากำหนดวันนัดพร้อมคดีอีกครั้งในวันที่ 12 พ.ค. 2564

    ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้ปนัสยาจะได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง โดยเธอถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 2564 รวมระยะเวลาทั้งหมด 60 วัน โดยมีการยื่นขอประกันตัวมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง (รวมครั้งนี้) และอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวรวม 38 วัน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/29349)
  • เวลาประมาณ 10.00 น. ครอบครัวของ ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ ‘แอมมี่’ ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ เดินทางมายังศาลอาญารัชดา เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลเบิกตัวทั้งสองมาไต่สวนคำร้องขอประกันตัว หลังเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนออกไปก่อน เนื่องจากทั้งสองยังกักตัวโควิดไม่ครบ 14 วัน ขณะที่ครอบครัวของ ‘ไมค์’ ภาณุพงศ์ จาดนอก เดินทางมายื่นคำร้องขอประกันตัวและขอให้ศาลไต่สวนจำเลย 

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของทั้งสามในวันที่ 11 พ.ค. 2564 โดยอ้างว่าผลการตรวจโควิด-19 ของพวกเขาเกิดขึ้นก่อนครบกำหนดกักตัว 14 วัน จึงยังไม่เบิกตัวมาศาลเพื่อทำการไต่สวนในวันนี้

    การขอให้ศาลเบิกตัวเพนกวินและแอมมี่มาไต่สวนในครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวเพนกวินเป็นครั้งที่ 10 ในคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และ #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ MobFest ต่อมาวันที่ 1 พ.ค. 2564 ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวแอมมี่ ทั้งในคดีตามมาตรา 116 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และคดีตามมาตรา 112 กรณีเพลิงไหม้รูป ร.10 หน้าเรือนจำคลองเปรม ซึ่งเป็นการยื่นประกันครั้งที่ 5 และครั้งที่ 8 ตามลำดับ โดยมีมารดาเป็นนายประกัน โดย เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องทั้งสี่ในวันที่ 6 พ.ค. 2564 แต่ก็มีการเลื่อนการไต่สวนออกไปดังกล่าวข้างต้น  

    คำร้องขอให้เบิกตัวทั้งสองมาไต่สวนในวันที่ 7 พ.ค. 2564 ระบุถึงเหตุการณ์วานนี้ว่า

    “เนื่องจากเดิมคดีนี้ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 1 (เพนกวิน) และจำเลยที่ 17 (แอมมี่) ในวันที่ 6 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. แต่ปรากฏว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ได้ทำหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องมายังศาลว่า ไม่สามารถพาตัวจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 17 มาศาลได้ เพราะอยู่ในระหว่างช่วงกักตัวตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนนัดไต่สวนออกไปก่อน และมีคำสั่งให้เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครทำหนังสือแจ้งมายังศาลว่า จะสามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ในวันที่เท่าใด”

    นอกจากนี้ยังอ้างถึงผลการตรวจโควิด-19 ของทั้งคู่ ซึ่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้ทำหนังสือมาแจ้งศาลในวันนี้แล้วว่า ไม่พบเชื้อ และสามารถพาตัวจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 17 มาศาลเพื่อประกอบการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ในวันนี้ โดยระบุว่า ฝ่ายจำเลยได้เตรียมพยานบุคคลมาพร้อมแล้วเพื่อประกอบการไต่สวนคำร้องของศาล และพยานดังกล่าวพร้อมทนายจำเลยได้รออยู่ที่ศาลในขณะนี้

    อย่างไรก็ตาม ในเวลา 11.30 น. เทวัญ รอดเจริญ ผู้พิพากษาคนเดียวกัน มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องประกันตัว ในวันที่ 11 พ.ค. 2564 ระบุว่า

    “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 17 ได้ถูกแยกการคุมขังเพื่อสังเกตอาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 14 วัน ครบกำหนดวันที่ 7 พ.ค. 2564, เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 7 พ.ค. 2564 รายงานผลการตรวจจำเลยที่ 1 โดยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 ก่อนครบกำหนดระยะเวลาเฝ้าสังเกตอาการว่าจำเลยที่ 1 ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 1 และที่ 17 ในวันที่ 11 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. หมายเบิกจำเลยที่ 1 และที่ 17 มาศาลในวันนัด แจ้งกำหนดนัดให้พนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนทราบ และมีหนังสือแจ้งเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ให้ดำเนินการตรวจเชื้อไวรัสดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้ที่ 17 ภายหลังครบกำหนดระยะเวลาเฝ้าสังเกตอาการ 14 วันอีกครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลให้ทราบก่อนวันนัด ยกเลิกวันนัดพร้อมวันที่ 12 พ.ค. 2564”

    ในส่วนคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 5 ของไมค์ และขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยมาไต่สวนประกอบการใช้ดุลพินิจให้ประกัน รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนเดิมมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันในวันที่ 11 พ.ค. 2564 เช่นเดียวกับ แอมมี่และเพนกวิน 

    ทั้งนี้ มีข้อสังเกตต่อการไม่เบิกตัวจำเลยหรือผู้ต้องหามาไต่สวนตำร้องขอประกันของศาลอาญา แม้กรณีที่เป็นเหตุเร่งด่วน เช่น การเจ็บป่วยของชูเกียรติ แสงวงค์ และเพนกวิน ทั้งที่หากศาลเกรงว่าจะเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ศาลก็สามารถสั่งให้ไต่สวนผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขัง ดังเช่นกรณีการไต่สวนคำร้องขอฝากขัง และคำร้องขอประกันตัว ‘โตโต้’ ปิยรัฐ จงเทพ ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งล่าสุด กรณีการไต่สวนคำร้องขอประกันตัว ‘ตี้’ วรรณวลี ธรรมสัตยา ของศาลอาญาธนบุรีในวันนี้ 

    ปัจจุบัน ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ รักษาตัวจากอาการป่วยที่สืบเนื่องจากการอดอาหารอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลังถูกส่งตัวกลับจากโรงพยาบาลรามาฯ เมื่อเช้าวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเพนกวินอดอาหารเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวมาแล้ว 53 วัน และถูกขังระหว่างพิจารณาคดีมาแล้ว 88 วัน ส่วน ‘แอมมี่’ ไชยอมร และ ‘ไมค์’ ภาณุพงศ์ ถูกขังมาแล้ว 65 และ 61 วัน ตามลำดับ 

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำร้องขอให้เบิกตัวจำเลยมาไต่สวน ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 7 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29401)
  • เวลาประมาณ 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ 3 นักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” ถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อไต่สวนคำร้องขอประกัน

    ++เพนกวิน-แอมมี่ ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขศาล “ห้ามร่วมกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์”++

    บรรยากาศที่ศาลอาญา มีการวางลวดหนามบริเวณรั้วหน้าศาล ทางเข้าตั้งจุดคัดกรอง ผู้ที่มาติดต่อเรื่องคดี เจ้าหน้าที่จะให้จดชื่อและถ่ายรูปพร้อมถือบัตรประชาชนไว้ด้วย สำหรับนักข่าวเจ้าหน้าที่จะให้แยกไปลงชื่อในอีกช่อง โดยมีรถฉีดน้ำแรงดันสูงและรถกระจายเสียงของตำรวจจอดประจำการอยู่ด้านในรั้วศาล

    ภายในห้องพิจารณาคดี อนุญาตให้เข้าเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยจำเลยหรือผู้ต้องหา ทนายความ อัยการ และพยานที่มาเบิกความ โดยเจ้าหน้าที่ให้ทยอยเข้าเมื่อศาลให้เบิกตัวเข้าเบิกความ

    ส่วนผู้ที่สนใจเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปที่ห้อง conference ซึ่งวันนี้จำกัดคนให้เข้าได้เพียง 15 คน คนที่เข้าห้องได้ต้องมีบัตรชั่วคราวระบุว่า “ห้อง conference” โดยมีตัวแทนสถานทูตฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สเปน และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งผู้สื่อข่าวอีก 3 คน เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลในห้องประกอบด้วยตำรวจศาล 3 นาย มีการชี้แจงถึงระเบียบการปฏิบัติตัวขณะอยู่ในห้องด้วย

    เวลา 10.25 น. เทวัญ รอดเจริญ และพิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกพิจารณาคดี และเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันของแอมมี่ในช่วงเช้า ตามด้วยเพนกวินจนเสร็จในเวลา 14.30 น.

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันของแอมมี่++

    แอมมี่ถูกเบิกตัวมาที่ห้องพิจารณาในชุดนักโทษชายพร้อมสวมใส่หน้ากากอนามัย โดยเบิกความตอบทนายความว่า พยานประกอบอาชีพเป็นศิลปิน มีผลงานเพลงมาแล้ว 3 อัมบั้ม รวม 70 เพลง, มีงานแสดงศิลปะ 1 ครั้ง, ร่วมเทศกาลดนตรีจัดโดยลิโด้ 1 ครั้ง, เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปิน 1 ครั้ง, แต่งเพลงให้ศิลปินอื่น ๆ พร้อมเป็นโปรดิวเซอร์เกิน 10 ครั้ง

    พยานมีครอบครัวแล้ว มีลูก 1 คน ซึ่งพยานต้องดูแลส่งเสีย ก่อนหน้าถูกจับ พยานกำลังหัดให้ลูกสาวว่ายน้ำ สิ่งที่พยานเป็นห่วงที่สุดก็คือ ลูกสาว ปัจจุบันพยานอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่เกษียณแล้ว โดยมีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก

    ตั้งแต่พยานถูกขังอยู่ในเรือนจำ มีอาการความดันโลหิตสูง โดยที่ปกติพยานเป็นโรคกระจกตาโป่งพองและย้วย ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเท่านั้น รักษาแบบทำเลสิคไม่ได้ ตอนนี้ค่าสายตาจะเปลี่ยนและรับแสงได้น้อยลงทุกวัน มีโอกาสที่จะตาบอดได้ หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน ซึ่งโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็ไม่มีหมอเฉพาะทางด้านนี้

    เกี่ยวกับคดีนี้ พยานไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี เนื่องจากพยานเดินทางไปอยุธยาเป็นประจำอยู่แล้ว เฉลี่ยเดือนละ 2-3 ครั้ง เพื่อไปพักผ่อน รวมทั้งมีธุรกิจอยู่ที่นั่น ชื่อร้าน Stockholm บางครั้งพักอยู่ที่อยุธยาเป็นเดือนเพื่อแต่งเพลง ซึ่งตอนที่ถูกจับพยานก็กำลังไปพักผ่อน

    หากศาลให้ประกันโดยกำหนดเงื่อนไข ไม่พูดพาดพิงและไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์, ไม่เดินทางออกนอกประเทศระหว่างการพิจารณาคดี, ไม่เข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความยั่วยุ รุนแรง และจะมารายงานตัวตามนัดของศาลทุกนัด พยานก็พร้อมจะปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมด

    รวมถึงหากศาลกำหนดให้ใส่ EM พยานก็ยินดีใส่เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่กังวลว่าหากไปทัวร์คอนเสิร์ตที่ต่างจังหวัด กำไล EM จะไม่มีสัญญาณ รวมถึงจะไปรบกวนเครื่องดนตรีขณะทำการแสดงดนตรีอีกด้วย

    ด้านพ่อและแม่ของแอมมี่ซึ่งเข้าเบิกความลำดับถัดมา ยืนยันว่า แอมมี่เป็นคนมีนิสัยและจิตใจดี รักเพื่อน มีบุตรสาว 1 คน ซึ่งที่ผ่านมาให้การเลี้ยงดูอย่างดี แอมมี่พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่ และเป็นหุ้นส่วนทำธุรกิจเกสต์เฮาส์กึ่งผับกับเพื่อนที่จังหวัดอยุธยา แอมมี่จึงเดินทางไปอยุธยาเป็นปกติเพื่อดูแลธุรกิจ

    พ่อและแม่ของแอมมี่ยังรับรองว่า จะกำกับดูแลให้แอมมี่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกันของเพนกวิน++

    ในการไต่สวนคำร้องขอประกันของเพนกวิน มีพยานเข้าเบิกความรวมทั้งสิ้น 5 ปาก ได้แก่ เพนกวิน, พ่อ, แม่, ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    เวลา 12.10 น. ศาลให้เบิกตัวเพนกวินมายังห้องพิจารณาคดีหมายเลข 711 เพื่อไต่สวนคำร้องของประกัน โดยเพนกวินนั่งรถวีลแชร์ ใส่เสื้อผู้ต้องขังสีน้ำตาลเข้มเข้ามาในห้องพิจารณา ศาลให้เพนกวินเบิกความอยู่ที่ม้านั่งด้านหลัง

    เพนกวินเบิกความตอบทนายจำเลยความว่า ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นมัธยมปลายเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดม เคยได้รับรางวัลเพชรยอดมงกุฎด้านประวัติศาสตร์ และชนะเลิศตอบปัญหารัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพทั้ง 2 ครั้ง

    ก่อนหน้าที่จะถูกดำเนินคดีในคดีนี้พยานไม่เคยต้องจำคุกในคดีอาญาใดๆ ปัจจุบันพยานพักอาศัยกับบิดามารดาซึ่งประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว โดยมีบิดามารดาเป็นผู้อบรมดูแลตลอดมา

    หากศาลให้ประกันตัวพยานโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ไม่ทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ไม่เดินทางออกนอกประเทศ และมาตามกำหนดนัดของศาลในการพิจารณาคดีทุกครั้ง พยานยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว โดยปัจจุบันนี้พยานได้แต่งตั้งทนายความในคดีนี้เข้ามาแล้ว

    นอกจากนี้ หากได้รับการประกันตัว พยานจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยจะเข้าร่วมเฉพาะกิจกรรมที่สงบ สันติ และปราศจากอาวุธ อีกทั้งพยานยินดีที่จะใส่ EM แต่ก็มีความกังวลว่าจะกระทบต่อการเดินทางไปเข้าเรียน

    พยานมีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทางก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

    เพนกวินเบิกความอีกว่า หากได้รับการประกันตัว ยินดีที่จะปฏิบัติตามที่ ดร.อดิศร จันทรสุข และบิดามารดาให้คำแนะนำ

    ต่อมาอัยการถามค้านว่า การที่จำเลยยอมรับเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวว่า จะไม่กระทำการใดๆ เป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ หมายรวมถึงในพื้นที่โซเชียลด้วยใช่หรือไม่ เพนกวินตอบว่า ผมไม่เคยใช้โซเชียลมีเดียทำให้สถาบันฯ เสื่อมเสียเลย

    แม่และพ่อของเพนกวินเข้าเบิกความต่อจากเพนกวินตามลำดับ ระบุว่า ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีบุตร 2 คน ก่อนหน้าที่เพนกวินจะถูกขังในคดีนี้เพนกวินอยู่กับพ่อแม่โดยพ่อแม่เป็นผู้เลี้ยงดู

    เพนกวินเป็นคนที่เรียนดีมาตั้งแต่เล็ก ได้ทุนการศึกษาทุกปี เป็นคนมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่น และให้ความร่วมมือเวลาครูให้ทำสิ่งใดหรือไปแข่งขันในที่ต่างๆ ที่จะสร้างชื่อเสียงให้สถาบันการศึกษา ถ้าไม่ถูกขังในคดีนี้ ปีนี้เพนกวินจะเรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยเกียรตินิยม แม่เพนกวินกล่าวว่า นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่มาขอให้ศาลให้ประกันตัวเพื่อให้เพนกวินได้กลับไปเรียนให้จบ

    ในฐานะของพ่อและแม่ยืนยันว่า หากศาลให้ประกันตัว จะดูแลให้เพนกวินปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันของศาล และยืนยันว่า เพนกวินจะเชื่อฟังพ่อและแม่อย่างแน่นอน

    ด้าน ดร.อดิศร จันทรสุข เบิกความว่า พยานเป็นรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหน้าที่ดูแลความประพฤติของนักศึกษา สำหรับเพนกวินเป็นนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีมาก มีความประพฤติที่ดี ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย สำหรับผลกระทบที่เกิดจากการไม่ได้ประกันตัว ทำให้ต้องหยุดพักการเรียนในภาคเรียนที่ผ่านมา จึงเหลืออีก 2 เทอมในปีหน้า ถึงจะจบการศึกษา พยานเชื่อว่าเพนกวินจะปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันตัวของศาล และในฐานะรองอธิการบดี พยานจะช่วยดูแลความประพฤติของเพนกวินให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

    เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้าเบิกความเป็นปากสุดท้าย ระบุว่า พยานมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำและระหว่างเดินทางมาศาล ระหว่างที่เพนกวินถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพนกวินมีความประพฤติเรียบร้อย ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี ไม่เคยฝ่าฝืนข้อกำหนดของเรือนจำ

    ทั้งนี้ อัยการและพนักงานสอบสวน สน.ประชาชื่น (คดีวางเพลิงรูป ร.10 ของแอมมี่) ไม่ได้เบิกความค้านการประกันตัวของทั้งสอง

    ++เลื่อนไต่สวนไมค์ อ้างเสี่ยงติดโควิด++

    ก่อนพักเจ้าหน้าที่แจ้งว่า จะเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันของไมค์เวลา 15.00 น.

    ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำความสะอาดและฉีดยาฆ่าเชื้อในห้องพิจารณาคดีถึงสองครั้ง และหลังจากที่ไมค์ แม่ และคนอื่นๆ รอการไต่สวนไมค์อยู่กว่า 3 ชั่วโมง เวลาประมาณ 18.00 น. ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนไมค์ออกไป ระบุว่า เนื่องจากไมค์ตรวจโควิดครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 64 แม้ไม่พบว่าติดเชื้อ แต่ไม่ใช่ระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งไมค์ยังคลุกคลีใกล้ชิดกับอานนท์ นำภา ซึ่งยืนยันแล้วว่าติดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงให้เลื่อนการไต่สวนออกไปก่อน และให้ทางเรือนจำตรวจโควิดไมค์อีกครั้ง จากนั้นรายงานให้ศาลทราบ ศาลจึงจะนัดไต่สวนคำร้องขอประกันต่อไป

    ++ศาลมีคำสั่งให้ประกันเพนกวิน-แอมมี่++

    ต่อมา เวลา 18.27 น. เทวัญ รอดเจริญ และพิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ มีคำสั่งให้ประกันเพนกวินและแอมมี่ในคดีนี้ และในคดีอื่นที่ยื่นประกันด้วย กรณีของเพนกวิน มีประชาชนเขียนคำร้องคัดค้านการให้ประกันตัว แต่ศาลไม่ได้นำมาพิจารณา คำสั่งให้ประกันมีรายละเอียดดังนี้

    “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นให้พิจารณาแต่เพียงว่ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 อันจะทําให้ศาลต้องสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ กล่าวคือ (1) จําเลยจะหลบหนี (2) จําเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) จําเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (4) ผู้ร้องขอ ประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดําเนินคดีในศาล

    ในส่วนของจําเลยที่ 1 (เพนกวิน) ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า จําเลยที่ 1 เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ใกล้สําเร็จการศึกษา และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน จึงไม่น่าเชื่อว่าจําเลยที่ 1 จะหลบหนี ในส่วนพยานหลักฐานในคดีนี้ พนักงานสอบสวนได้รวบรวมเสร็จแล้วและส่วนใหญ่เป็นเจ้าพนักงานหรืออยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน ประกอบกับจําเลยที่ 1 เป็นเพียงนักศึกษา ไม่ปรากฏว่ามีอิทธิพลหรือความสามารถอย่างไรที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ จึงเชื่อว่าจําเลยที่ 1 จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน

    อีกทั้งพนักงานราชทัณฑ์ได้ชี้แจงว่า จําเลยที่ 1 มีความประพฤติดี ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทัณฑสถาน ประกอบกับจําเลยที่ 1 แถลงด้วยความสมัครใจว่า จะไม่กระทําการใด ๆ อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่กระทําการใด ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรและมาศาลตามกําหนดนัด โดยบิดา มารดา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อดิศร จันทรสุข อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จําเลยที่ 1 ศึกษาเล่าเรียนอยู่รับรองว่าจะเป็นผู้กํากับและดูแลให้จําเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้แถลงไว้ต่อศาล

    นอกจากนี้จําเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาดําเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันนี้ ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 ยอมรับกระบวนพิจารณาของศาล อีกทั้งพนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้านการยื่นคําร้องขอปล่อยชั่วคราว จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอให้รับฟังว่า การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินกระบวนพิจารณาของศาล หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

    ผู้ขอประกันเป็นมารดาจําเลยที่ 1 ไม่เคยผิดสัญญาหรือมีข้อบกพร่องประการอื่น ประกอบกับหลักทรัพย์ที่ยื่นเป็นเงินสดมีมูลค่าถึง 200,000 บาท พอสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี พยานหลักฐานที่ปรากฏจึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะยกขึ้นอ้างมิให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ได้ อนึ่ง แม้ศาลเคยมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยที่ 1 มาก่อน แต่เมื่อทางไต่สวนในชั้นขอปล่อยชั่วคราวได้ข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าพฤติการณ์แห่งคดีได้เปลี่ยนแปลงไป

    ในส่วนของจําเลยที่ 17 (แอมมี่) ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า จําเลยที่ 17 มีอาชีพ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และมีบุคคลในครอบครัวต้องอุปการะเลี้ยงดู จึงไม่น่าเชื่อว่าจําเลยที่ 17 จะหลบหนี ในส่วนพยานหลักฐานในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมเสร็จแล้ว และส่วนใหญ่เป็นเจ้าพนักงานหรืออยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน จําเลยที่ 17 เป็นเพียงศิลปินและนักแต่งเพลง ไม่ปรากฏว่ามีอิทธิพลหรือ ความสามารถอย่างไรที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ จึงเชื่อว่าจําเลยที่ 17 จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน

    ประกอบกับจําเลยที่ 17 แถลงด้วยความสมัครใจว่า จะไม่กระทําการใด ๆ อันเป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ในบ้านเมือง และจะไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล กับทั้งจะมาศาลตามกําหนดนัด โดยบิดามารดาจําเลยที่ 17 ร่วมกันแถลงต่อศาลว่า จะเป็นผู้กํากับและดูแลให้จําเลยที่ 17 ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้แถลงไว้ต่อศาล

    นอกจากนี้ จําเลยที่ 17 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาดําเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันนี้ ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจําเลยที่ 17 ยอมรับกระบวนพิจารณาของศาล อีกทั้งพนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้านการยื่นคําร้องขอปล่อยชั่วคราว จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอให้รับฟังว่า การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินกระบวนพิจารณาของศาลหรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

    ผู้ขอประกันเป็นมารดาจําเลยที่ 17 ไม่เคยผิดสัญญาหรือมีข้อบกพร่องประการอื่น ประกอบกับหลักทรัพย์ที่ยืนเป็นเงินสดมีมูลค่าถึง 50,000 บาท พอสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี พยานหลักฐานที่ปรากฏจึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะยกขึ้นอ้างมิให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ได้ อนึ่ง แม้ศาลเคยมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยที่ 17 มาก่อน แต่เมื่อทางไต่สวนในชั้นขอปล่อยชั่วคราวได้ข้อเท็จจริงตามที่กล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าพฤติการณ์แห่งคดีได้เปลี่ยนแปลงไป

    จึงมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยที่ 1 และที่ 17 ระหว่างพิจารณา ตีราคาหลักประกันสําหรับจําเลยที่ 1 จํานวน 200,000 บาท สําหรับจําเลยที่ 17 จํานวน 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามจําเลยที่ 1 และที่ 17 กระทําการใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่จําเลยที่ 1 และที่ 17 ถูกกล่าวหาตามฟ้อง อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ในบ้านเมือง ห้ามจําเลยที่ 1 และที่ 17 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จําเลยที่ 1 และที่ 17 มาศาลตามกําหนดนัดโดยเคร่งครัด”

    คำสั่งให้ประกันเพนกวินและแอมมี่มีขึ้นหลังเพนกวินยื่นประกันเป็นครั้งที่ 10 ส่วนแอมมี่เป็นการยื่นประกันตัวครั้งที่ 5 โดยเพนกวินถูกขังระหว่างพิจารณาคดีมาแล้ว 92 วัน อดอาหารเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวรวม 57 วัน ส่วนแอมมี่ถูกขังมาแล้ว 69 วัน

    ในคดีนี้ยังเหลืออานนท์และไมค์ที่ยังไม่ได้ประกันตัว โดยอานนท์ถูกขังมาแล้ว 92 วันเช่นเดียวกับเพนกวิน และอยู่ระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล โดยศาลจะไม่พิจารณาคำร้องขอประกัน หากไม่สามารถเบิกตัวมาไต่สวนได้ ส่วนไมค์สูญเสียอิสรภาพมา 65 วันแล้ว

    (อ้างอิง: คำสั่งและรายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 11 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29555)
  • ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอให้ไต่สวนไมค์ผ่านคอนเฟอเรนซ์ หลังจากศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนคำร้องขอประกันของไมค์เมื่อวันก่อน และให้เรือนจำดำเนินการตรวจโควิดให้ไมค์ก่อน โดยเช้าวันนี้ทราบผลตรวจแล้วว่าไมค์ติดโควิด และถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว เนื้อหาคำร้องระบุว่า

    เนื่องจากเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ได้ดําเนินการตรวจหาเชื้อโควิดของไมค์แล้วเสร็จ และได้แจ้งว่า ไมค์ติดเชื้อโควิดจึงไม่สามารถมาศาลได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของคู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ขอให้ศาลมีคําสั่งให้ไต่สวนไมค์ด้วยวิธีการวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยในวันนี้จําเลยได้นํามารดาซึ่งเป็นผู้ขอประกัน และเป็นผู้รับรองว่าจําเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลมาพร้อมให้ไต่สวนแล้วในวันนี้ เนื่องจากขณะนี้เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อโควิดรวม 1,795 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่สูงมาก ประกอบกับเชื้อไวรัสมีอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง หากไม่ได้รับการไต่สวนโดยด่วนอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ของจําเลยที่ 6 ทั้งนี้ ท้ายคำร้องได้แนบข่าวกรมราชทัณฑ์ ที่ระบุจำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาด้วย

    อย่างไรก็ตาม ช่วงเย็น สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ระบุว่า เนื่องจากกรมราชทัณฑ์โดยเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ มีหนังสือที่ ยธ.0768/57 ลงวันที่ 28 เม.ย. 2564 และสำนักงานศาลมีหนังสือที่ ศย.016/ว486 ลงวันที่ 12 พ.ค 2564 ขอให้ศาลอาญางดการเบิกตัวจำเลยหรือผู้ต้องขังเพื่อมาศาลและเพื่อพิจารณาคดีผ่านทางระบบจอภาพไว้ก่อนจนถึงวันที่ 27 พ.ค. 2564 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในพื้นที่ที่เรือนจำกำหนด ในชั้นนี้จึงให้งดการไต่สวนไว้ก่อน

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ไต่สวนจำเลยที่ 6 ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยวิธีการวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 13 พ.ค. 2564)


  • ทนายความของภาณุพงศ์เข้ายื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานที่นัดไว้ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนออกไป เนื่องจากอานนท์, ปนัสยา และภาณุพงศ์ รวมทั้งทนายจำเลยที่ 1-6 คือ นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ติดโควิด ต้องรักษาตัว และภายหลังหายแล้วยังต้องกักตัวอีก 14 วัน รวมทั้งอานนท์ และนรเศรษฐ์ยังติดว่าความในคดีอื่นของศาลอาญาตลอดเดือนมิถุนายน 2564

    ต่อมา วันที่ 17 พ.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ศาลได้โทรศัพท์แจ้งว่า ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดสืบพยานในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนคดีทั้งหมดตามที่ทนายจำเลยยื่นคำร้อง แต่เย็นวันที่ 18 พ.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ศาลได้แจ้งทนายจำเลยให้ประสานจำเลยมาศาลตามกำหนดนัดเดิมวันที่ 19 พ.ค. 2564 เพื่อมีคำสั่งทางคดีต่อหน้าคู่ความ

    (อ้างอิง: คำร้องขอเลื่อนคดี ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 14 พ.ค. 2564)
  • ห้องพิจารณาคดีมีเจ้าหน้าที่ศาลและตำรวจคอยรักษาความสงบเรียบร้อย 3-4 นาย มีการตั้งจุดเรียกเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือของผู้เข้าห้องพิจารณาทุกคน จำเลยเดินทางมาศาล 6 คน จำเลยอีก 14 คน ไม่ได้เดินทางมาศาล ส่วนชูเกียรติและไชยอมรเป็นผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเรือนจำงดการเบิกตัวผู้ต้องขังมาศาล

    ทนายจำเลยแต่ละรายที่ไม่ได้มาศาล แถลงถึงเหตุจำเป็นในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 นี้ โดยระบุว่า เนื่องจากเป็นผู้ที่ติดเชื้อโควิด 4 คน ทั้งหมดอยู่ในระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล อีก 7 คน ที่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะต้องทำการกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน และ 3 คน ไม่สามารถเดินทางมาจากต่างจังหวัดได้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้งดเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งได้รับแจ้งว่ายกเลิกวันนัด

    นอกจากนี้ ทนายจำเลยยังแถลงขอเลื่อนคดี ระบุเหตุผลตามคำร้องที่ได้ยื่นต่อศาลแล้วเมื่อ 14 พ.ค. 2564

    ทางฝ่ายอัยการโจทก์แถลงไม่คัดค้านการเลื่อนคดี แต่ต้องยกเลิกการส่งหมายเรียกพยานที่นัดไว้เดิม และต้องขอหมายเรียกพยานพร้อมแจ้งวันนัดใหม่ และขอให้ศาลกําหนดวันนัดพร้อมก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์อีกครั้ง เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการคดี

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจําเลย 4 ราย และทนายจําเลย 1 ราย ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และอยู่ในระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จำเลยอีก 7 ราย อยู่ในระหว่างกักตัว กรณีมีเหตุสมควรจึงต้องเลื่อนคดีไป

    ศาลได้กำหนดวันนัดพร้อมเพื่อกําหนดแนวทางการบริหารจัดการคดีในวันที่ 22 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00 น. และให้ยกเลิกวันนัดสืบพยานโจทก์ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2564 ที่นัดไว้เดิม ยกเว้นวันที่ 22 มิ.ย. 2564 ส่วนนัดอื่นให้คงไว้เดิม

    ทั้งนี้ คดีนี้ได้มีการนัดสืบพยานล่วงหน้าไว้ โดยหลังจากวันที่ 22 มิถุนายน จะมีวันนัดสืบพยานที่กำหนดไว้ คือวันที่ 8-9 ก.ค.เป็นต้นไป

    ++พนักงานสอบสวนยื่นขอถอนประกัน 4 จำเลย เหตุถูกกล่าวหา “ดูหมิ่นศาล”++

    ในวันเดียวกันนี้ ศาลยังได้นัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันตัวจำเลย 4 ราย ในคดีนี้ ได้แก่ สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ณัฐชนน ไพโรจน์ และ ภัทรพงศ์ น้อยผาง เนื่องจากพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้มายื่นคำร้องไว้

    พนักงานสอบสวนอ้างเหตุจากการที่จำเลยทั้งสี่ได้กระทำการละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว โดยต่างไปถูกกล่าวหาดำเนินคดีสืบเนื่องจากเหตุชุมนุมหน้าศาลอาญา รัชดา เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีทางการเมือง เมื่อวันที่ 29-30 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยทั้งสี่ได้ถูกศาลอาญาออกหมายจับในข้อหา “ดูหมิ่นศาล” และข้อหาอื่นๆ จากการเข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว

    ในการไต่สวนคำร้องขอถอนประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้แถลงว่าเนื่องจากวันนี้เพิ่งได้รับหมายนัด ทั้งยังไม่ได้รับสําเนาคําร้อง และทนายความติดเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถมาศาลได้ จึงขออนุญาตศาลเลื่อนคดีออกไปก่อน

    ขณะที่ทนายความได้แถลงว่าณัฐชนนเองก็ป่วย และกำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยยื่นสำเนาใบรับรองแพทย์ประกอบต่อศาล ส่วนชินวัตรและภัทรพงศ์ก็ต้องกักตัวเนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด ทั้งสามคนจึงไม่อาจมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการไต่สวนคดีออกไปก่อน

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่ากรณีมีเหตุจําเป็น จึงให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคําร้องขอเพิกถอนคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวของทั้งสี่คน ไปเป็นวันที่ 22 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 19 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29948)
  • ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว อานนท์ นำภา และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก อีกครั้ง หลังจากได้มีการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้กับอานนท์มาแล้ว 7 ครั้ง พร้อมกับการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ให้ประกัน 2 ครั้ง สำหรับภาณุพงศ์ ครั้งนี้เป็นยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งที่ 6

    การยื่นประกันครั้งนี้ เสนอหลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท เท่ากับที่ศาลอนุญาตให้ประกัน “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และจำเลย 112 คนอื่นในคดีการชุมนุม “19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” เช่นเดียวกันนี้ โดยมีชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนายประกัน พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญคือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยหากการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไม่เกิดขึ้นภายในสิ้นเดือน พ.ค. 64 อานนท์และภาณุพงศ์อาจต้องกลับเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีก จนอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยตามรัฐธรรมนูญ

    อย่างไรก็ตาม มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และภาณุพงศ์ในวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เวลา 10.30 น. ซึ่งเป็นวันเดียวกับนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของชูเกียรติ แสงวงค์ หรือ “จัสติน” ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ซึ่งถูกฝากขังในชั้นสอบสวนของคดี แปะกระดาษบนรูปรัชกาลที่ 10 หน้าศาลฎีกา อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. 2564

    อนึ่ง ผู้พิพากษาไม่ได้ระบุว่าการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวครั้งนี้จะทำผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์หรือเบิกตัวทั้งสองมาที่ศาล

    หลังจากอัยการยื่นฟ้องคดี “19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” อานนท์ถูกขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2564 รวม 102 วันแล้ว ส่วนภาณุพงศ์ถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรีก่อนย้ายมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นับถึงวันนี้ 75 วันแล้ว ปัจจุบันทั้งคู่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระหว่างการถูกขังที่เรือนจำ และกำลังเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

    ++เปิดคำร้อง “อานนท์-ไมค์” ระบุต้องปล่อยตัว เหตุทั้งสองติดโควิด อาจเสี่ยงต่อชีวิต ย้ำเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีสิทธิสู้คดีนอกเรือนจำอย่างเป็นธรรม++

    สำหรับเนื้อหาในคำร้องขอประกันตัวของอานนท์และภาณุพงศ์ มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

    1. จำเลยทั้งสองทราบจากทนายความว่าศาลอาญาได้วางแนวทางกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำในทุกคดีไม่ว่าจะเป็นคดีการเมืองหรือไม่ ได้แก่

    1) จำเลยต้องมีผู้กำกับดูแลที่ไม่ใช่ญาติ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน หรือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อื่นในลักษณะดังกล่าว ที่ศาลเห็นว่าสามารถกำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้

    2) จำเลยจะต้องมีพยานบุคคลและ/หรือใบรองรับจากโรงพยาบาลที่จะรับตัวจำเลยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปรักษาพยาบาลต่อจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยต่อไป

    ซึ่งทั้งอานนท์และภาณุพงศ์ยินดีนำพยานบุคคลและพยานเอกสารตามเงื่อนไขดังกล่าวมาแสดงต่อศาล แต่ปรากฏว่า ศาลจะไม่สามารถนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในคดีที่จำเลยต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ โดยอ้างว่าทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แจ้งว่า การจัดระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์สำหรับการไต่สวนจะทำให้เจ้าหน้าที่เรือนจำเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงขอให้ระงับการไต่สวนผู้ต้องขังทุกคดีจนกว่าจะสิ้นเดือน พ.ค. 2564 ซึ่งกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลยทั้งสองคนอย่างมาก ทั้งที่เรือนจำสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยการจัดให้มีชุดป้องกันการติดเชื้อ หรือมาตรการอื่นใดตามสมควร หรืออาจจัดการไต่สวนผ่านคอนเฟอเรนซ์เฉพาะตัวจำเลย ส่วนพยานปากอื่น ๆ ให้ไต่สวนโดยไม่ต้องผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ก็จะทำให้การไต่สวนจะใช้ระยะเวลาน้อยลงอย่างมาก และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีความเสี่ยงน้อยลง

    ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกินกำลังการดูแลควบคุมของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หากการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไม่เกิดขึ้นภายในสิ้นเดือน พ.ค. 2564 อานนท์และภาณุพงศ์อาจต้องกลับเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีก จนอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 29 วรรค 2

    2. หากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่สามารถจัดให้มีการไต่สวนอานนท์และภาณุพงศ์ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้ ขอให้ศาลเรียกไต่สวน สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาสมาคมนักกฎหมาย และอดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในฐานะผู้กำกับดูแลอานนท์ และธนินท์ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาประจําภาคตะวันออก โครงการภูมิชุมชนสํานักวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้กํากับดูแลภาณุพงศ์

    ในส่วนของตัวจำเลยทั้งสองได้จัดทำบันทึกถ้อยคำเพื่อยืนยันว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะไม่หลบหนี เนื่องจากพวกเขาไม่เคยแสดงพฤติการณ์หลบหนี และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในชั้นสอบสวนและอัยการโดยตลอด นอกจากนี้ อานนท์และภาณุพงศ์ไม่อาจยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ เนื่องจากอานนท์เป็นทนาย และภาณุพงศ์เป็นเยาวชน ไม่ใช่บุคคลที่มีอิทธิพลหรือเป็นอันธพาล อีกทั้งพยานหลักฐานยังถูกรวบรวมโดยพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการครบถ้วนแล้ว ทั้งยังยืนยันว่า ทั้งสองคนจะไม่ไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพิจารณาคดีของศาล

    นอกจากนี้ มีข้อเท็จจริงปรากฏชัดแล้วว่า อานนท์และภาณุพงศ์ติดเชื้อโควิด-19 ขณะถูกคุมขังในเรือนจำ และปัจจุบันถูกควบคุมตัวเพื่อรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะนี้ภายในเรือนจำยังมีผู้ต้องขังติดเชื้อจำนวนมาก และมีบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ต้องขังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพของจำเลยทั้งสองและผู้ต้องขังอื่นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคสาม ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากผู้ต้องหาหรือจำเลยเจ็บป่วยซึ่งถ้าต้องขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิต ศาลจะไม่ออกหมายขัง หรือออกหมายปล่อยก็ได้ แต่ก็ไม่ห้ามศาลให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานหรือบุคคลที่จะยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันการหลบหนีได้

    จึงขอให้ศาลพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และภาณุพงศ์บนพื้นฐานเหตุผล ข้อเท็จจริง และภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบต้องหันมาร่วมมือกันภายใต้มาตรการต่าง ๆ ที่ลดการสร้างภาระ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น

    3. อานนท์และภาณุพงศ์ไม่มีพฤติการณ์เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 ที่ศาลจะไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวได้ อีกทั้ง เมื่อพิจารณาหลักสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (International Convenant on Civil and Political Rights – ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ จำเลยทั้งสองยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ จำเลยเพียงแต่ถูกฟ้องด้วยคดีกล่าวหาว่ากระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา ยังมิได้ผ่านการพิจารณาพิพากษา และการถูกกล่าวหาในฐานความผิดที่มีอัตราโทษทางอาญา มิได้เป็นเหตุผลเพียงพอว่าจำเลยทั้งสองจะหลบหนี หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพิจารณาคดีของศาลได้ จึงมีเหตุผลที่จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสองได้

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 เฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์เผย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ต้องขังทั้งหมด (มีผู้ติดเชื้อสะสม 2,864 ราย จากผู้ต้องขังทั้งหมด 3,012 ราย) ขณะจำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำทั่วประเทศยังคงพุ่งสูงถึง 13,534 ราย

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 21 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29974)
  • ทนายจำเลยเข้ายื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้ไต่สวนอานนท์และภาณุพงศ์ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ มีเนื้อหาดังนี้

    คดีนี้ศาลนัดไต่สวนคําร้องขอปล่อยชั่วคราวอานนท์และภาณุพงศ์ ในวันที่ 1 มิ.ย. 2564 แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสองติดเชื้อโควิด-19 ปัจจุบันรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ อาจเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะไม่สามารถเบิกตัวจําเลยทั้งสองมาศาลในวันนัดไต่สวนได้ อย่างไรก็ตาม ทนายจําเลยขอให้ศาลไต่สวนอานนท์และภาณุพงศ์ผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เนื่องจากการปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม

    หากศาลยกเลิกนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของจําเลยทั้งสอง โดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการจัดการไต่สวนโดยวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้ โดยการจัดให้มีชุดป้องกันการติดเชื้อและการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่จําเป็น หรือโดยมีมาตรการอื่นใดตามสมควรในการที่จะปฏิบัติตามคําสั่งศาล อันจะกระทบต่อสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของจําเลยทั้งสองให้น้อยที่สุดภายใต้หลักความได้สัดส่วนในการปฏิบัติราชการทางปกครอง

    ประกอบกับอาการป่วยของอานนท์และภาณุพงศ์ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์สามารถบริหารจัดการได้ นอกจากนี้ศาลได้เคยใช้วิธีการไต่สวนคําร้องขอฝากขัง และขอปล่อยชั่วคราวจากกองบังคับการตํารวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี, สถานีตํารวจนครบาลหลายแห่ง และเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ มาก่อน

    ในการไต่สวนจําเลยทั้งสองผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์นั้น อาจใช้ระยะเวลาน้อยลงได้ หากศาลไต่สวนเฉพาะตัวจําเลยทั้งสอง และอ่านคําเบิกความของทั้งสองปากให้เสร็จ แล้วให้การไต่สวนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ยุติลง ส่วนพยานปากอื่นๆ ที่ทนายความจําเลยประสงค์จะนําเข้าไต่สวนสามารถทําได้โดยไม่ต้องผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ จะทําให้ระยะเวลาในการไต่สวนด้วยวีดีโอคอนเฟอเรนซ์สั้นลงอย่างมาก และทําให้เจ้าหน้าที่พยาบาลและราชทัณฑ์ที่จัดการระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์มีความเสี่ยงน้อยลงอย่างมากเช่นกัน

    จึงขอให้ศาลและฝ่ายบริหารศาลมีคําสั่งให้ไต่สวนจําเลยที่ 2 และที่ 6 ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการในการลดความเสี่ยงของจําเลยทั้งสองในการเสี่ยงที่จะกลับไปติดเชื้อโควิดในเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เกินกําลังการดูแลควบคุมที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ จะรับผิดชอบได้แต่เพียงหน่วยงานเดียว หากศาลไม่มีคําสั่งให้ไต่สวนคําร้องขอปล่อยชั่วคราวจําเลยทั้งสองโดยระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ในวันที่ 1 มิ.ย. 2564 อาจจะทําให้จําเลยที่ 2 และที่ 6 ต้องกลับเข้าเรือนจําพิเศษกรุงเทพและเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีก จนอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของจําเลยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 วรรคสองได้

    ในส่วนของเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวนั้น จําเลยทั้งสองได้ยืนยันต่อศาลมาในคําร้องขอปล่อยชั่วคราวแล้วว่ายินดีจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลทุกประการ รวมทั้งได้ยื่นบันทึกถ้อยคําของจําเลยทั้งสองที่ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลประกอบคําร้องขอปล่อยชั่วคราวในครั้งนี้ด้วย

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และนายแพทย์ผู้รักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ว่าสามารถดำเนินการตามคำร้องนี้ได้หรือไม่

    ทั้งนี้ ก่อนวันนัด เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งทนายจำเลยว่า ราชทัณฑ์และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์สามารถจัดวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ไต่สวนจำเลยที่ 2 และที่ 6 ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2564)
  • สุรีรัตน์และไพรัช ชิวารักษ์ มารดา-บิดาของพริษฐ์ และ ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข ผู้ช่วยอธิการบดี​ฝ่ายการนักศึกษา​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้กำกับดูแลของพริษฐ์ได้รับหมายเรียกจากศาลอาญา ลงวันที่ 20 พ.ค. 2564 นัดพร้อมในวันนี้

    ศาลชี้แจงว่า นัดพร้อมในวันนี้เพื่อไต่สวนผู้กำกับดูแลทั้งสาม เนื่องมาจากกรณีที่นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ยื่นเรื่องให้อธิบดีศาลอาญาพิจารณาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 กรณีที่พริษฐ์โพสต์เฟซบุ๊ก ‘สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ’ หลังจากที่ศาลได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมาสู้คดี โดยขอให้พิจารณาว่าโพสต์ดังกล่าวเป็นการผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาลหรือไม่

    ทนายความได้แถลงขอเลื่อนนัดไต่สวนออกไปก่อน เนื่องจากผู้กำกับดูแลทั้งสามคน มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิดและต้องทำการกักตัวดูอาการ ศาลอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนไปเป็นวันที่ 7 มิ.ย. 2564 เวลา 13.00 น.
  • ศาลอาญานัดไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล 3 นักกิจกรรม กรณีถ่ายภาพในห้องพิจารณาระหว่างรอศาลออกพิจารณาคดีหลังอัยการยื่นฟ้องคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 โดยในวันนี้มีเพียง 2 นักกิจกรรม ‘ไบรท์’ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง และ ‘ฟอร์ด เส้นทางสีแดง’ อนุรักษ์ เจนตวนิช ที่มาตามนัด ส่วน ‘ครูใหญ่’ อรรถพล บัวพัฒน์ ทนายได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากอยู่ในระหว่างกักตัว ก่อนศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของอรรถพล และให้จำคุกชินวัตรและอนุรักษ์คนละ 15 วัน ปรับคนละ 500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี

    หลังเสร็จการไต่สวนคดีละเมิดศาลดังกล่าวแล้ว ตำรวจศาลพยายามจะควบคุมตัวชินวัตรไว้และขอให้ไปที่ห้องพิจารณา 807 โดยเมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้ทนายซื้อข้าวให้กิน โดยจะขอให้ชินวัตรนั่งรออยู่ในศาล แต่ทนายโต้แย้งว่าขณะนี้ชินวัตรไม่ได้ถูกควบคุมตัว ก่อนเจ้าหน้าที่จะปล่อยให้ไปทานข้าว ไม่ควบคุมตัวไว้ในห้อง และแจ้งว่าศาลนัดให้มาที่ห้องพิจารณา 807 ในเวลา 13.30 น.

    เวลา 13.30 น. ศาลมีคำสั่งไต่สวนคำร้องขอถอนประกันชินวัตรในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ยื่นคำร้องไว้ เนื่องจากชินวัตรเข้าร่วมการชุมนุมหน้าศาลอาญาเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีทางการเมือง เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 ซึ่งต่อมาถูกศาลอาญาได้ออกหมายจับในข้อหา “ดูหมิ่นศาล” อย่างไรก็ตาม ชินวัตรแถลงขอเลื่อนการไต่สวนในวันนี้ เนื่องจากไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน และยังมิได้แต่งทนายเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ศาลจึงให้เลื่อนนัดไต่สวนไปเป็นวันที่ 8 มิ.ย. 2564 เวลา 13.00 น.

    โดยที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 ศาลได้นัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันชินวัตร, สมยศ, ณัฐชนน และภัทรพงศ์ ในคดีดังกล่าว แต่เนื่องจากสมยศเพิ่งได้รับหมายนัดในวันนั้น ส่วนณัฐชนนป่วย กำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ชินวัตรและภัทรพงศ์ก็ต้องกักตัวเนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด ทั้งสามคนจึงไม่ได้มาศาล โดยศาลให้เลื่อนนัดไต่สวนคําร้องขอถอนประกันดังกล่าวไปเป็นวันที่ 22 มิ.ย. 2564 มาแล้ว แต่ในวันนี้ศาลกลับเรียกชินวัตรมาไต่สวน ก่อนเลื่อนการไต่สวนเป็นวันที่ 8 มิ.ย. 2564

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/30327)
  • ที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดไต่สวนคำร้องขอประกันอานนท์ นำภา, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก โดยมี “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์, แม่แอมมี่ รวมถึงแม่ของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ มาร่วมฟังการไต่สวนด้วย

    เจ้าหน้าที่ศาลมีการต่อสัญญาณไปที่ห้องพิจารณา 703 เพื่อป้องกันโควิด-19 ในวันนี้มาตรการควบคุมในห้องพิจารณาดูค่อนข้างผ่อนคลาย โดยไม่มีการเก็บโทรศัพท์มือถือของผู้เข้าฟังการพิจารณา

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกัน “อานนท์ นำภา”++

    เวลา 11.10 น. เจ้าหน้าที่ต่อสัญญาณวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ปรากฏภาพเจ้าหน้าที่ใส่ชุด PPE เต็มชุด 2 คน ส่วนอานนท์ใส่ชุดผู้ป่วยสีน้ำเงินนั่งอยู่ในห้องพักบนเตียงของโรงพยาบาล โดยมีภาณุพงศ์นั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างเตียงในห้องเดียวกัน 

    ศาลเริ่มการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ก่อน โดยสอบถามอัยการว่า จะคัดค้านการให้ประกันอานนท์หรือไม่ อัยการแถลงตอบว่า ให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    จากนั้นอานนท์เบิกความตอบคำถามทนายจำเลยว่า พยานเป็นทนายความตั้งแต่ปี 2550 ทางคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและทำงานกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้พยานมาตามนัดโดยตลอด พยานหลักฐานในคดีก็อยู่ในการครอบครองของโจทก์ และมีการตรวจพยานหลักฐานไปแล้ว อีกทั้งจำเลยให้การปฏิเสธและแต่งตั้งทนายเข้าต่อสู้คดีแล้ว 

    ส่วนอาการติดเชื้อโควิดของพยาน พยานได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โดยแพทย์แจ้งว่าหายแล้ว อยู่ในช่วงกักตัว หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว พยานจะกักตัวเพื่อดูอาการ หากไม่ได้รับการปล่อยตัวและต้องกลับไปเรือนจำก็จะเสี่ยงที่จะติดเชื้ออีกครั้ง 

    นอกจากนี้ พยานได้เซ็นเอกสารบันทึกถ้อยคำ ซึ่งทนายความเป็นผู้จัดทำเอกสารบันทึกถ้อยคำไปให้ พยานได้อ่านข้อความทั้งหมดแล้ วและสมัครใจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ได้แก่ ไม่กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางเสื่อมเสีย ไม่ร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หากศาลแต่งตั้งผู้กำกับดูแล พยานยินดีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมารดา และนายสมชาย หอมลออ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสมาคมนักกฎหมายสิทธิที่พยานเป็นสมาชิก และร่วมงานกันมาโดยตลอด หากศาลกำหนดเงื่อนไขใดเพิ่มเติม พยานก็ยอมรับที่จะปฏิบัติตาม 

    อัยการแถลงเพิ่มเติมว่า เชื่อว่าอานนท์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด

    ต่อมา สมชาย หอมลออ เข้าเบิกความในฐานะผู้กำกับดูแล โดยเบิกความตอบศาลว่า พยานอายุ 71 ปี อาชีพทนายความประวัติการทำงานโดยสังเขป เป็นทนายความในปี 2518 เป็นกรรมการบริหารสภาทนายความ ปี 2545 - 2547 หลังเหตุการณ์สลายชุมนุมในปี 2553 ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ในปี 2554 - 2557 ได้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและเป็นผู้สนับสนุนการจัดตั้งสมาคมนักกฎหมายสิทธิ ปัจจุบันเป็นกรรมการสรรหาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

    พยานรู้จักกับอานนท์มาแล้วเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากอานนท์ได้มาร่วมทำงานกับมูลนิธิทนายที่ทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และอานนท์ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมนักกฎหมายสิทธิ ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและให้คำปรึกษาทางด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านคดีแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ 

    เท่าที่พยานรู้จักอานนท์ เห็นว่าอานนท์เป็นคนเรียบร้อย มีอัธยาศัยดี ในแง่ส่วนรวม สนใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชน มีความเปิดเผย มุ่งมั่นในการทำงาน ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ประชาชนให้การยอมรับอานนท์เป็นอย่างมาก การทำงานของเขาเป็นที่รับทราบในต่างประเทศ โดยได้รับรางวัล “กวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2564 จากมูลนิธิ 18 May ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชน 

    สมชายกล่าวยืนยันกับศาลว่า อานนท์เป็นคนซื่อตรง เปิดเผย เชื่อว่าจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ทั้งนี้ ตนกับอานนท์มีอายุห่างกันหลายปี อานนท์มีความเคารพนับถือตนในฐานะที่ปรึกษาสมาคมนักกฎหมายสิทธิ ตนจะคอยติดตามให้คำแนะนำอานนท์อย่างใกล้ชิด 

    ++ไต่สวนคำร้องขอประกัน “ไมค์” ภาณุพงศ์++ 

    เวลา 11.45 น. ศาลเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันของภาณุพงศ์เป็นคนสุดท้าย โดยมีพยาน 2 ปาก ประกอบด้วย อ.ธนินทร์ สิริวรรณ อาจารย์ของไมค์ และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก 

    ภาณุพงศ์ เข้าเบิกความเป็นพยานปากแรก ระบุว่า ปัจจุบันพยานอายุ 25 ปี และเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์ เอกการปกครอง พยานเคยทำกิจกรรมจิตอาสา เป็นอดีตคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย คดีนี้พยานได้เดินทางมารายงานตัวที่อัยการ ไม่ได้มีการหลบหนี หรือผิดนัด โดยมาตามนัดทุกนัด ปัจจุบัน คดีนี้มีการตรวจพยานหลักฐานแล้ว พยานยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานไม่ได้ 

    ปัจจุบัน พยานติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันไม่มีอาการแล้ว ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดแล้ว หากต้องกลับไปเรือนจำ จะทำให้พยานมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสอีกครั้ง เนื่องจากผู้ต้องขังยังไม่ได้รับวัคซีน เรือนจำมีสภาพแออัด 

    คดีนี้พยานได้ให้การปฏิเสธ และอยู่ระหว่างการนัดสืบพยาน ในคดีนี้จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกถ้อยคำ โดยมีรายละเอียดว่า จะไม่ยุ่งเกี่ยวพยาน จะไม่ไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ไม่ร่วมกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์  พร้อมกับมารายงานตัวต่อศาลทุกนัด 

    ปกติพยานพักอาศัยอยู่กับมารดา หากศาลกำหนดให้มีผู้กำกับดูแล จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อ.ธนินทร์ ศิริวรรณ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำกิจกรรม และมารดาของพยานยังเคยร่วมกับอาจารย์ในปี 2561-63 

    อัยการถามค้านว่า ภาณุพงศ์ยืนยันกับศาลว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลใช่หรือไม่ และจะศึกษาต่อให้จบตามหลักสูตร 4 ปี และทำหน้าที่ของตัวเองให้สำเร็จหรือไม่ พยานตอบตกลง

    เวลา 12.00 น. ธนินทร์ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระ เข้าเบิกความว่า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิสาหกิจชุมชน ในอดีตเคยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาในโครงการวิจัยศาสตร์พระราชา พื้นที่ตะวันออก 

    ตนรู้จักกับไมค์ปี 2559 โดยตอนนั้นตนเป็นที่ปรึกษาสมาคมเพื่อนชุมชน ตนได้เคยสืบประวัติไมค์ก่อนร่วมงานกัน โดยพบว่าไมค์ได้ทำงานในสภาเยาวชน จ.ระยอง เคยช่วยโครงการน้องท้องก่อนวัย, ช่วยเหลือน้องที่ติดยาเสพติด, ทำโครงการรวมตัวกันเก็บขยะที่ชายหาด ตนยังทราบว่าไมค์ได้รับรางวัลหลายรางวัล เป็นเยาวชนดีเด่นของจังหวัด นอกจากนี้ไมค์ยังได้ทำโครงการช่วยเหลือชาวประมงให้ขายปลาได้ในช่วงโควิด ผลงานของไมค์ทำให้ชาวประมงสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไมค์เป็นคนมีนิสัยเรียบร้อย ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และตนเห็นว่าไมค์จะเป็นคนที่มีคุณภาพหากได้รับการพัฒนา ตนจะกำกับดูแลไมค์โดยการพาไปทำงานพัฒนาสังคมที่ไมค์รัก และจะชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาสังคมสามารถทำได้หลายทางโดยไม่ต้องก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง 

    ++ศาลให้ประกัน “ไมค์-อานนท์” กำหนดเงื่อนไข ห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย++

    หลังการรอคอยราว 2 ชั่วโมง เวลา 14.30 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ อ่านคำสั่งให้อนุญาตประกันตัวอานนท์ และภาณุพงศ์ โดยไม่ได้เบิกตัวทั้งสองมาฟังคำสั่งผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่อ่านคำสั่งให้ทนายจำเลยรับทราบ โดยมีแม่และน้องสาวของอานนท์ รวมถึงแม่และพี่สาวของไมค์ เขาร่วมฟังคำสั่งด้วย

    ศาลอ่านคำสั่งระบุว่า จากการไต่สวนจำเลยทั้งสอง และผู้กำกับดูแล พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานอยู่ในการกำกับของเจ้าพนักงานแล้ว ผู้กำกับดูแลของทั้งสองมีความน่าเชื่อถือ ประกอบกับพยานให้ถ้อยคำว่าจะไม่ร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอีกทั้งพนักงานสอบสวนไม่คัดค้านการให้ประกันตัว

    จึงมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวทั้งสอง ตีราคาหลักประกันจํานวนคนละ 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทําการใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหา อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ในบ้านเมือง ห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จำเลยมาศาลตามกําหนดนัดโดยเคร่งครัด  

    อานนท์ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหลังสูญเสียอิสรภาพ 113 วัน (ราว 4 เดือน) ยื่นประกันรวม 8 ครั้ง ภาณุพงศ์ถูกขัง 86 วัน ยื่นประกันรวม 6 ครั้ง และทั้งสองรวมทั้งชูเกียรติติดโควิดในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนกระทั่งได้รับการรักษาจนหาย โดยเป็น 2 คนสุดท้ายของจำเลยในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหลังอัยการยื่นฟ้อง

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/30348)
  • ศาลนัดไต่สวนผู้กำกับดูแลพริษฐ์จากกรณีที่นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมายฯ และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ยื่นเรื่องให้อธิบดีศาลอาญาพิจารณากรณีที่พริษฐ์โพสต์เฟซบุ๊กหลังได้รับการประกันตัวว่าโพสต์ดังกล่าวเป็นการผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาลหรือไม่ โดยเป็นนัดที่เลื่อนมาจากวันที่ 27 พ.ค. 2564

    วันนี้ในห้องพิจารณามีเจ้าหน้าที่ตำรวจศาลควบคุมความเรียบร้อยจำนวน 3 คน และมีตำรวจรวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลนั่งอยู่หน้าห้องพิจารณาอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการขอเก็บโทรศัพท์มือถือทุกคนที่เข้าฟังการไต่สวน รวมถึงทนายความด้วย

    เวลา 13.35 น. ศาลออกนั่งพิจารณาจำนวน 4 คน โดยมีรองอธิบดีศาลอาญา 2 คน คือ นายพิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ และนายเทวัญ รอดเจริญ ร่วมไต่สวนด้วย

    ศาลได้ชี้แจง 2 ประเด็นก่อนการไต่สวนว่า ศาลจะพิจารณาว่าเฟซบุ๊กนี้เป็นของพริษฐ์หรือไม่ และโพสต์ดังกล่าวข้อความเข้าข่ายผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ โดยศาลแจ้งว่าทั้งสามคนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ จึงอยากให้ช่วยกันกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ต้องมาเรียกมาไต่สวนในลักษณะเช่นนี้อีก

    ศาลได้สอบถาม ผศ.ดร.อดิศร รวมถึงพ่อและแม่ของพริษฐ์ว่าได้อ่านข้อความที่ถูกร้องเอาไว้แล้วหรือไม่

    ผศ.ดร.อดิศร แถลงว่า จากข้อความที่ปรากฏในเฟซบุ๊กดังกล่าวนั้นอาจมีข้อถกเถียงในเรื่องของการตีความ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ภายในขอบเขตเงื่อนไข ตามที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

    ขณะที่พ่อและแม่ของพริษฐ์แถลงว่า ตามเนื้อความที่ปรากฏในเฟซบุ๊กนั้นยังอยู่ในเงื่อนไขที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และยังไม่มีข้อความใดนอกเหนือไปจากเงื่อนไขที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ภายหลังศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์โดยมีเงื่อนไขก็ได้พยายามดูแลและกำชับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัดมาโดยตลอด

    ศาลยังได้สอบถามนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ ว่าจะช่วยกำกับดูแลพริษฐ์โดยวิธีใดได้อีกบ้าง ซึ่งทนายความแถลงตอบศาลว่า ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2564 เป็นต้นมา ซึ่งศาลได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ฯ ให้ทนายจำเลยทราบ ทนายก็ได้พูดคุยกำชับกับพริษฐ์แล้ว และจะเห็นได้ว่าหลังจากวันดังกล่าว พริษฐ์ก็มิได้มีการโพสต์ข้อความในลักษณะทำนองเดียวกันตามที่มีการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์อีก

    นอกจากนี้ทนายความยังกล่าวว่ากรณีกลุ่มบุคคลมาร้องเรียนกรณีการผิดเงื่อนไขของนายพริษฐ์นั้นมักเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหรือกลุ่มเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งแม้บางครั้งอาจไม่ได้มีข้อความล่อแหลม แต่หากพริษฐ์โพสต์สิ่งใดก็ตาม พวกเขาก็อาจนำเรื่องมาเรียนต่อศาลได้เช่นกัน

    ศาลได้กำชับผู้กำกับดูแลให้ดูแลพริษฐ์ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวที่ศาลกำหนดโดยเคร่งครัด หากปรากฏมีการกระทำหรือมีการโพสต์ข้อความในลักษณะเดียวกันนี้อีก ซึ่งอาจจะเป็นการผิดเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราว ศาลจะใช้ดุลยพินิจตามที่เห็นสมควร โดยเรียกมาไต่สวนเกี่ยวกับการผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว และจะพิจารณามีคำสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวตามที่เห็นสมควรต่อไป

    ระหว่างรอรายงานกระบวนพิจารณา ศาลยังได้สอบถาม ผศ.ดร.อดิศร เกี่ยวกับสถานะทางการเรียนของพริษฐ์ ว่าใกล้จะเรียนจบหรือยัง โดยอาจารย์ตอบว่าเนื่องจากพริษฐ์จำเป็นต้องดรอปเรียนในปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่สามารถเรียนจบได้ตามกำหนดที่ควรจะเป็น โดยเหลือระยะเวลาในการเรียนอีกกว่า 1 ปีครึ่ง

    ในวันนี้ศาลไม่มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องการถอนประกัน โดยเป็นเพียงการเรียกผู้กำกับดูแลมาพูดคุยทำความเข้าใจและกำชับให้กำกับดูแลพริษฐ์อย่างเคร่งครัด

    ทั้งนี้ “สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ” เป็นโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak” เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2564 หลังพริษฐ์ได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 64 มีเนื้อหายืนยันว่าเงื่อนไขที่ศาลอาญาตั้งขึ้นนั้นเป็นเงื่อนไขทางการเมืองและเป็นไปเพื่อสกัดกั้นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ตัวเขายังยืนยันที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อไป ก่อนที่นายสนธิญาจะไปยื่นร้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30577)
  • ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ศาลอนุญาตให้เพียงญาติของชินวัตร ได้แก่ ภรรยา และลูกชายวัยเตาะแตะ ทนาย รวมถึงผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีเท่านั้น ภายในห้องมีตำรวจศาล 4 นาย และ รปภ.ศาลอีก 1 นาย

    ศาลออกพิจารณาคดีเวลา 15.23 น. ทนายความชี้แจงต่อศาลว่า คดีละเมิดอำนาจศาล ศาลมีคำสั่งลงโทษจำคุก 4 เดือน และจะยื่นอุทธรณ์คดีในประเด็นว่า มีการฟ้องคดีซ้ำซ้อนในส่วนของคดีดูหมิ่นศาล อีกทั้งชินวัตรแจ้งว่ายังไม่ได้กระทำผิดเงื่อนไขประกันในคดีนี้แต่อย่างใด เนื่องจากคดีนี้วางเงินประกัน 35,000 บาท ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับคดีละเมิดอำนาจศาล

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งไม่เพิกถอนประกันตัวชินวัตร โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่การจะสั่งมิให้ปล่อยชั่วคราว ต้องอาศัยตามเหตุผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 จึงเห็นว่าการที่จำเลยกระทำละเมิดอำนาจศาลนั้น ไม่ใช่เป็นการกระทำต่อกระบวนพิจารณาของศาลนี้ จึงถือมิได้ว่าเป็นการขัดขวางการดำเนินการของศาล และไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้องร้อง อันมีลักษณะเป็นการก่อเหตุร้ายอื่น กรณีจึงยังไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม 1 ข้อ กล่าวคือ ห้ามจำเลยเข้าร่วมการชุมนุมในลักษณะที่เป็นการก่อความวุ่นวายและความไม่สงบในบ้านเมือง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30617)
  • ตั้งแต่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ศาลอาญาและตำรวจศาลได้ตั้งจุดคัดกรองสำหรับผู้เข้าร่วมการพิจารณาคดีนี้ มีการขอดูบัตรประชาชนพร้อมจดบันทึกข้อมูลในบัตร และอนุญาตให้จำเลยแต่ละคนนำญาติเข้าฟังการพิจารณาได้เพียง 2 คนเท่านั้น บริเวณหน้าห้องพักพยานและห้องน้ำหญิงยังมีการติดตั้งแผงเหล็กสีเหลืองไว้ควบคุมการเข้าออกของประชาชน ทางเข้าห้องพิจารณา 704 เจ้าหน้าที่และตำรวจศาลทั้งหญิงและชาย 5 – 6 นาย คอยตรวจค้นร่างกายและสัมภาระของผู้ที่จะเข้าไปในห้อง

    ภายในห้องพิจารณา จำเลยและผู้เข้าร่วมพิจารณาคดีต้องมอบโทรศัพท์ให้เจ้าหน้าที่ศาลเก็บไว้ มีเพียงอัยการและทนายจำเลยที่ได้รับอนุญาตให้พกโทรศัพท์ แต่ถูกกำชับให้ปิดเสียง รองอธิบดีผู้พิพากษา, เลขาศาล และผู้อำนวยการศาล มาเดินตรวจดูความเรียบร้อยด้วยตนเองก่อนเริ่มพิจารณาคดี และตลอดการพิจารณาคดียังมีเจ้าหน้าที่และตำรวจศาลเฝ้าอยู่ที่ด้านหลังห้องอย่างน้อย 5-6 นาย

    จำเลยในคดีทยอยเดินทางมาถึงศาลและเข้ามาในห้องพิจารณา โดยมีจำเลยมาศาลรวม 18 คน อีก 4 คนที่ไม่ได้เดินทางมาศาลในนัดนี้ ได้แก่ อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ และธานี สะสม ซึ่งติดนัดพร้อมในคดีชุมนุมรำลึก 10 ปีเสธแดง ของศาลแขวงปทุมวัน ขณะที่ภัทรพงศ์ น้อยผาง ยังคงรักษาตัวจากอาการป่วยโควิด -19 และสิทธิทัศน์ จินดารัตน์ ซึ่งมีธุระที่ต้องจัดการที่ต่างจังหวัด จึงไม่สามารถเดินทางมาศาลได้

    ก่อนศาลออกนั่งพิจารณา ผู้สังเกตการณ์รายหนึ่งได้เข้าไปพูดคุยกับจำเลยและจดบันทึกการสนทนาลงสมุด เจ้าหน้าที่ศาลซึ่งเฝ้าจับตาดูอยู่ได้เข้าสอบถามทันทีว่าเป็นญาติจำเลยคนไหน พร้อมทั้งแจ้งไม่ให้บันทึกเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดี เนื่องจากอาจมีการนำไปเผยแพร่เป็นข่าวที่สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับผู้พิพากษา นอกจากนี้ สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด ยังเดินมาพูดคุยกับทนายความให้ตักเตือนเพนกวินเรื่องการปฏิบัติตัวในศาล เนื่องจากเพนกวินใส่เสื้อคอกลมสีขาว มีลวดลายเป็นใบหน้าสีแดงของผู้ชาย 3 คน ซึ่งหากมองระยะไกลอาจเห็นเป็นตัวอักษร “ค ว ย”

    เนื่องจากคดีนี้มีจำเลยจำนวนมาก ระหว่างรอจำเลยบางคนที่ยังเดินทางมาถึง ศาลจึงสั่งให้เริ่มการไต่สวนกรณีที่พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ยื่นคำร้องขอเพิกถอนประกันสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยในคดีนี้ก่อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ผู้ยื่นคำร้องยังเดินทางมาไม่ถึง ศาลจึงสั่งพักการพิจารณา โดยให้เริ่มพิจารณาคดีอีกครั้งในช่วงบ่าย


    ++ข้อถกเถียงศาล-จำเลย เรื่องมาตรการศาล ก่อนเลื่อนการสืบพยาน เหตุทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น++

    เวลา 13.35 น. ก่อนการเริ่มต้นการพิจารณาคดีได้มีการถกเถียงระหว่างจำเลยกับผู้พิพากษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในศาลและการรักษาความปลอดภัยในการพิจารณาคดีที่เข้มงวด

    ในตอนต้น ศาลได้ขอให้เพนกวินนั่งให้เรียบร้อยหลายครั้ง เนื่องจากเพนกวินนำขาข้างหนึ่งขึ้นมาไขว้ไว้บนตัก ศาลยังกล่าวว่า ผู้ติดตามจำเลยไม่ต้องเข้าร่วมการพิจารณาคดีก็ได้เพื่อลดความแอดอัดในห้อง และนัดนี้ยังไม่ใช่การพิจารณาคดีในเนื้อคดี จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าสังเกตการณ์

    ณัฐชนนจึงยกมือถามว่า ห้องพิจารณาคดีกว้างขวางเช่นนี้ยังสามารถเรียกว่าแออัดได้อีกหรือ เพนกวินได้ยกมือแสดงความคิดเห็นสนับสนุนณัฐชนน และเสนอว่าหากจะลดความแออัดให้ลดจำนวนตำรวจศาลลงครึ่งหนึ่ง ศาลกล่าวตอบว่า การมีตำรวจศาลในห้องพิจารณาคดีเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากผู้พิพากษาต้องมีคนดูแลรักษาความปลอดภัยให้ สำหรับคดีอื่นที่ไม่มีความผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจศาลมากเช่นนี้ ทำให้ณัฐชนนถามผู้พิพากษาต่อว่าคดีนี้มีความผิดปกติอย่างไร

    ต่อมาผู้พิพากษาได้หันไปพูดกับเพนกวินในทำนองว่า ถ้าจะโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควร เพนกวินกล่าวตอบว่า ตนทราบดีว่าอะไรควรไม่ควร ก่อนถามศาลต่อว่านัดพร้อมวันนี้เป็นการพิจารณาคดีลับหรือไม่ ศาลกล่าวว่าไม่ได้พิจารณาลับ แต่การห้ามคนเข้ามาในห้องพิจารณาคดีนั้นตั้งอยู่บนฐานของการรักษาความปลอดภัยในศาล เพนกวินได้สอบถามเพิ่มเติมว่า วันนี้มีการถ่ายทอดไปยังห้องคอนเฟอเรนซ์ด้วยหรือไม่ ผู้พิพากษายืนยันว่ามี

    จากนั้นศาลเริ่มพิจารณาคดี ทนายจำเลยได้แถลงถึงเหตุจำเป็นที่อนุรักษ์, ธานี, ภัทรพงศ์ และสิทธิทัศน์ ไม่สามารถศาลตามนัดได้ และได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาล ประกอบกับจำเลยและทนายจำเลยหลายคนติดนัดในคดีอื่นที่ได้นัดไว้ก่อนแล้ว ทนายจำเลยทั้งหมดจึงขอเลื่อนนัดการสืบพยานโจทก์ที่กำหนดนัดไว้เดิมในวันที่ 8, 9, 13-16 ก.ค. 64

    อัยการไม่คัดค้านการเลื่อนคดีตามที่ทนายจำเลยแถลง แต่ขอให้ศาลกำชับจำเลยทุกคนมาศาลตามกำหนดนัดทุกนัด โดยจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก เพราะทำให้โจทก์มีความไม่สะดวกในการติดตามพยานมาเบิกความ และหากจำเลยคนใดไม่มาศาลหรือมาศาลไม่ได้ให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ทวิ

    ทนายจำเลยที่มาศาลทั้งหมดแถลงว่า ไม่ขัดข้องที่จะให้มีการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย ศาลกล่าวกับทนายจำเลยว่า คดีนี้ควรพิจารณาลับหลังจำเลยเพื่อความสงบเรียบร้อย รวดเร็ว เป็นผลดีกับจำเลย เนื่องจากจำเลยมีจำนวนมาก และคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีไม่สมควรที่จะมาเข้าร่วมการพิจารณาคดี ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของศาลว่าจะสั่งให้พิจารณาลับหลังหรือไม่

    ทนายจำเลยยืนยันกับศาลว่าหลังจากนี้คงไม่มีเหตุให้ต้องเลื่อนนัดพร้อมอีก แต่จำเป็นต้องถามอัยการโจทก์ว่ามีนโยบายจะยื่นขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหรือไม่ อัยการแถลงว่าการพิจารณาลับอยู่ภายใต้ดุลพินิจของศาล ไม่ใช่อัยการ โดยปกติไม่มีนโยบายให้พิจารณาคดีลับ

    ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาคดีตามที่ทนายจำเลยยื่นคำร้อง และกำหนดวันนัดพร้อมอีกครั้งจากนัดเดิมที่มีอยู่แล้วในวันที่ 23 ก.ค. 2564 โดยกำชับให้จำเลยแต่งตั้งทนายความมาให้พร้อมในวันนัดดังกล่าว

    ++ไต่สวนคำร้องขอถอนประกันสมยศ ก่อนสั่งไม่ถอนประกัน แต่เพิ่มเงื่อนไข++

    จากนั้น ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอถอนประกันสมยศ โดยทำการไต่สวนพยาน 2 ปาก คือ พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ผู้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ประกันสมยศ จากเหตุที่สมยศไปเข้าร่วมชุนนุมและปราศรัยที่หน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 เนื่องจากผู้ยื่นคำร้องเห็นว่าการชุมนุมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ เป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการให้ประกันตัวที่ศาลกำหนด พยานอีกปากที่เข้าเบิกความคือตัวสมยศเอง

    ศาลได้อนุญาตให้ทนายจำเลยถามพยานผู้ร้อง พ.ต.ท.พิษณุ ตอบคำถามของทนายจำเลยโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 พยานไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ แต่เข้าเวรอยู่ที่ สน.ชนะสงคราม หลักฐานเกี่ยวกับพฤติการณ์ของสมยศที่พยานยื่นขอถอนประกันต่อศาลมีเพียงเอกสารถอดเทปคำปราศรัย ซึ่งตำรวจ สน.พหลโยธิน เป็นผู้ส่งให้พยาน ไม่มีบันทึกเทปการปราศรัย พยานไม่ทราบว่าเอกสารที่ถอดเทปมาจะตรงกับคลิปคำปราศรัยหรือไม่

    พ.ต.ท.พิษณุ ยอมรับกับทนายจำเลยว่า คำปราศรัยของสมยศที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ ทนายจำเลยได้ถาม พ.ต.ท.พิษณุ อีกว่า ทราบหรือไม่ว่าจำเลยถูกดำเนินคดีอาญาจากเหตุเดียวกันนี้ที่ สน.พหลโยธิน แล้ว แต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 พ.ต.ท.พิษณุ ตอบว่า พยานทราบว่าสมยศถูกดำเนินคดีข้อหาดูหมิ่นศาล รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ยังตอบคำถามของทนายจำเลยว่า ตนไม่ทราบว่าจำเลยจะเป็นผู้นัดหมายทำกิจกรรมหรือไม่ และไม่ทราบใครเป็นผู้จัดกิจกรรม ทั้งนี้ยังรับว่า ภาพจำเลยที่อยู่ในสำนวนถูกถ่ายในเวลา 19.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ศาลปิดทำการแล้ว

    ทนายแสดงภาพในเอกสารคำร้องให้ พ.ต.ท.พิษณุ ดู เป็นภาพกิจกรรมโกนหัวให้กำลังใจ สุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของเพนกวิน ซึ่งโกนหัวเรียกร้องสิทธิประกันตัวของลูกชาย ในวันที่ 30 เม.ย. 2564 จากเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และถามว่า ข้อความประกาศเชิญชวนให้คนเข้าร่วมกิจกรรมในเพจดังกล่าวไม่มีเรื่องข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.พิษณุ รับว่า ใช่

    ทนายจำเลยยังถามอีกว่า พยานรักสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ พ.ต.ท.พิษณุ ตอบว่า รัก ทนายจำเลยถามต่อว่า การปฏิรูปสถาบันให้เจริญยิ่งขึ้น สง่างามยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการดีกว่าหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบว่า ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ดีมากพออยู่แล้ว แต่ก่อนที่ทนายจำเลยจะซักถามพยานต่อ ศาลได้กล่าวกับทนายว่า ขอให้ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับจำเลยเท่านั้น

    จากนั้นสมยศได้เบิกความยืนยันว่า ตนอยู่ในเหตุการณ์จริงตามภาพที่หลักฐานของผู้ร้อง ศาลตั้งคำถามว่า ถ้อยคำที่กล่าวในวันนั้นไม่มีการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ใช่หรือไม่ สมยศยืนยันว่าเนื้อหาในการปราศรัยของตนไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และกล่าวต่อว่า มีคนรู้จักชวนตนไปร่วมโกนหัวเชิงสัญลักษณ์จริง แต่ตนมาที่ศาลโดยตั้งใจว่าจะมาเยี่ยมคนที่อดอาหารประท้วงการไม่ได้รับสิทธิประกันตัวของนักกิจกรรมที่ยังถูกคุมขังอยู่ จากนั้นได้ร่วมปราศรัยด้วยความเห็นอกเห็นใจ เนื่องจากสิ่งที่ผู้ชุมนุมในวันนั้นเรียกร้องคือสิทธิในการประกันของผู้ต้องคดีทางการเมือง อันเป็นหลักการทั่วไปที่พึงมี

    ศาลถามสมยศต่อว่า การปราศรัยใช้เวลานานหรือไม่ สมยศตอบว่า ตนไม่แน่ใจ เมื่อกล่าวปราศรัยเสร็จก็เดินทางกลับทันที การชุมนุมในวันดังกล่าวไม่มีความวุ่นวาย และแม้ว่า สน.พหลโยธิน จะดำเนินคดีกับตน แต่คดีดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 โดยเงื่อนไขการประกันตัวของตนเองมีเพียงการห้ามกระทำผิดซ้ำตามที่ถูกกล่าวหา

    สมยศยังถามต่อศาลว่า ตนจะเรียกร้องอย่างไรกับอัยการที่ทำเรื่องถอนประกัน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับตน ศาลกล่าวว่า อัยการต้องทำหน้าที่ของตัวเอง นั่นคือการดูแลกฎหมายบ้านเมือง สมยศจึงถามผู้พิพากษาต่อว่า การร้องให้ถอนประกันถือเป็นการกลั่นแกล้งตนหรือไม่ ศาลกล่าวว่าคงไม่ใช่การกลั่นแกล้ง การไต่สวนเสร็จสิ้นในเวลา 13.30 น.

    ต่อมา เวลา 15.30 น. ศาลอ่านคำสั่งต่อคำร้องขอถอนประกันสมยศ ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่าแม้จำเลยเข้าร่วมปราศรัย แต่ไม่ปรากฏว่าได้กระทำการใดใดที่ผิดเงื่อนไข แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายเห็นสมควรให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ห้ามไปเข้าร่วมการชุมนุมในลักษณะที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย

    ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขเดียวกับที่ศาลกำหนดในการให้ประกันจำเลยหรือผู้ต้องหาคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา

    ++งดการไต่สวนถอนประกันณัฐชนนและภัทรพงศ์ โดยให้เพิ่มเงื่อนไข ไม่ร่วมชุมนุมที่ก่อความวุ่นวายเหมือนชินวัตร++

    วันเดียวกันนี้ ศาลยังได้นัดไต่สวนคำร้องเพิกถอนประกันณัฐชนนและภัทรพงศ์ จำเลยตามมาตรา 116 ในคดีนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เป็นผู้ยื่นคำร้อง อ้างเหตุว่าทั้งสองละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว โดยเข้าร่วมชุมนุมหน้าศาลอาญา เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีทางการเมือง เมื่อวันที่ 29-30 เม.ย. 2564 เช่นเดียวกับชินวัตร จันทร์กระจ่าง และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ศาลได้ทำการไต่สวนไปแล้ว

    เวลา 14.30 น. ศาลเริ่มการไต่สวนกรณีนี้ ทนายความของภัทรพงษ์ ได้แถลงต่อศาลว่า ภัทรพงษ์อยู่ในระหว่างรักษาอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 จึงมาศาลไม่ได้ ศาลเห็นว่า มีการแจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ถือว่าจําเลยผิดสัญญาประกัน

    และเนื่องจากคดีนี้ศาลได้มีคําสั่งสําหรับชินวัตรในวันที่ 8 มิ.ย. 2564 และได้มีคําสั่งให้งดการไต่สวนณัฐชนนและภัทรพงศ์ในวันดังกล่าวแล้ว โดยศาลเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าร่วมชุมนุมในลักษณะก่อให้เกิดความวุ่นวายและความไม่สงบในบ้านเมืองอีกเงื่อนไขหนึ่ง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ลงวันที่ 22 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31155)
  • ศาลนัดพร้อมและไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา (ตามหมายนัดลงวันที่ 7 ก.ค. 2564) ในวันเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงวันนัดเจ้าหน้าที่ศาลได้แจ้งยกเลิกนัดคดีในเดือน ก.ค. 2564 ทั้งหมด และให้นัดพร้อม รวมทั้งไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา ในวันที่ 7 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น. ตามที่มีวันนัดเดิม

  • ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งเพิกถอนประกันพริษฐ์ ตามที่พนักงานอัยการยื่นคำร้อง

    (อ้างอิง: คำสั่งเพิกถอนประกัน ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 9 ส.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/33241)
  • พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนการประกันจตุภัทร์ ระบุว่า จากการชุมนุมระหว่างวันที่ 20 ก.ค. - 1 ส.ค. 2564 ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนประกันของจตุภัทร์ตามที่อัยการร้อง
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์หลังศาลเพิกถอนประกันในคดีนี้ รวมทั้งยื่นประกันอีก 2 คดี ที่ศาลอาญาเพิ่งไม่ให้ประกันชั้นฝากขังเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ศาลนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 16 ส.ค. 2564 เวลา 10.00 น.

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 7 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 13 ส.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/33447)
  • ศาลไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยติดต่อทนายความและตำรวจผู้เป็นพยานจากห้องของศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ และติดต่อจตุภัทร์จากทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ในการไต่สวน จตุภัทร์แถลงยืนยันไม่เคยทำผิดเงื่อนไขให้ประกันที่มี 2 ข้อ เป้าหมายกิจกรรมคือ ไล่ประยุทธ์ ไม่ได้ทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 17 ส.ค. 2564

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/33541)
  • ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันจตุภัทร์ ยืนยันว่าการเพิกถอนประกันชอบด้วยกฎหมายแล้ว

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/33581)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันจตุภัทร์อีกครั้ง ทั้งในคดีนี้ และอีก 2 คดีที่ไม่ได้ประกันในชั้นฝากขัง ต่อมา ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจตุภัทร์ โดยได้ระบุเหตุผลแต่เพียงว่า “ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 7 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 25 ส.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34043)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องแถลงอาการของพริษฐ์ ระบุอาการน่าห่วงอาจอันตรายถึงชีวิต หลังจากเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา มารดาของพริษฐ์ได้ยื่นคำร้องขอย้ายพริษฐ์ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ หลังพบว่าปอดของพริษฐ์มีฝ้าขาวขึ้น ต้องให้ออกซิเจน

    ต่อมา ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า จากหนังสือรายงานผลการตรวจรักษา จำเลยมีอาการน้อย ประกอบกับโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีความพร้อมในการรักษาผู้ป่วย

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/34290)
  • ยกเลิกวันนัดเดิมและมีการกำหนดวันนัดสืบพยานเพิ่มเติมอีก 42 นัด ซึ่งเลื่อนมาเนื่องจากสถานการณ์โควิดและวันว่างที่ไม่ตรงกันของทนายความ โดยนัดที่เพิ่มเข้ามาได้แก่ วันที่ 29 มี.ค., 24-27 พ.ค., 7-10 มิ.ย., 8, 15, 22, 26, 27 ก.ค. 5, 9-11, 23-25 ส.ค., 20-23 ก.ย., 21,28 ต.ค., 9-11, 15-18, 23-25, 29-30 พ.ย. และ 1, 2, 7 ธ.ค. 2565 เวลา 09.00-16.00 น. และเลื่อนนัดไต่สวนคําร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์, ภาณุพงศ์, ปนัสยา และไชยอมร ไปเป็นวันที่ 3 พ.ย. 2564 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34738)


  • ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันจตุภัทร์ เป็นครั้งที่ 3 หลังถูกถอนประกันในคดีนี้ รวมถึงอีก 2 คดี เช่นเดียวกับที่ผ่านมา ต่อมา มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจตุภัทร์ทั้ง 3 คดี ระบุว่า ศาลนี้ โดยที่ประชุมผู้บริหารศาลทุกคนมีมติ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่น ลำพังการที่ผู้ต้องหานี้ติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่ปรากฏว่ามีอาการร้ายแรงอย่างไร ไม่ถือว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้ ยกคำร้อง

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 10 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34840)
  • ทนายความและสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ต่อศาล หลังศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกันในคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ต่อมา เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่ให้ประกัน ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้วศาลเคยอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 1 มาก่อน แต่หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกดำเนินคดีอาญาอีก อันเป็นการก่อให้เกิดสภาวะไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง กรณีเช่นนี้ถือเป็นการก่อเหตุอันตรายประการอื่นตามความใน ป.วิ.อาญา ม. 108/1 (3) กรณียังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1”

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 1 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 24 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35616)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์และจตุภัทร์ในคดีนี้ รวมถึงคดีอื่นๆ ที่มีหมายขัง โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส.พรรคก้าวไกล เป็นหลักประกัน

    เวลา 15.10 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งยกคำร้องทุกฉบับ โดยในคดีให้เหตุผลว่า ศาลนี้เคยมีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีเหตุผลชัดแจ้งตามคำสั่งศาลฉบับลงวันที่ 9 ส.ค. 2564 ในกรณีพริษฐ์ และคำสั่งลงวันที่ 11 ส.ค. 2564 ในกรณีจตุภัทร์ กรณีไม่มีเหตุใหม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    จากคำสั่งดังกล่าวทำให้ทั้งสองยังคงถูกคุมขังในเรือนจำต่อไป หลังถูกคุมขังมาแล้ว 79 วัน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 26 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36989)
  • นัดไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการในการขอเพิกถอนประกัน 4 แกนนำ ได้แก่ อานนท์, ภาณุพงศ์, ปนัสยา และไชยอมร ขณะที่ก่อนหน้านี้จตุภัทร์และพริษฐ์ถูกถอนประกันไปโดยไม่มีการไต่สวน

    การไต่สวนทั้งวัน พยานฝ่ายผู้ร้องถอนประกันอานนท์เบิกความและตอบคำถามค้านได้เพียง 1 ปาก ศาลเลื่อนไปไต่สวนต่อในวันที่ 4 พ.ย. 2564 เวลา 10.00 น. (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/37487)

    วันเดียวกันนี้ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 15 นักกิจกรรมและประชาชน ในคดีทางการเมือง รวมทั้งพริษฐ์และจตุภัทร์ในคดีนี้ด้วย

    เวลา 16.50 น. อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งยกคำร้องทุกฉบับ ให้เหตุผลคล้ายกัน โดยในคดีนี้ระบุว่า “ไม่ปรากฏพยานหลักฐาน และเหตุผลอันควรเชื่อว่าจำเลยจะไม่ไปก่อเหตุอันตรายอีก”

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 287/2564 ลงวันที่ 3 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37463)

  • ศาลไต่สวนคำร้องถอนประกันอานนท์ นำภา ต่อเป็นวันที่ 2 จนกระทั่งเสร็จสิ้นในเวลา 15.40 น. ก่อนนัดฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ย. 2564 เวลา 13.30 น.

    ในส่วนการไต่สวน ‘ไมค์’ ภาณุพงศ์ จาดนอก, ‘รุ้ง’ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ ‘แอมมี่’ ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ศาลอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัวออกไปเป็นวันที่ 18 พ.ย. 2564 เวลา 9.00 น.

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/37487)
  • ศาลมีคำสั่งไม่ถอนประกันอานนท์ ระบุว่า ในชั้นนี้ยังไม่เห็นสมควรที่จะเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเสียทีเดียว แต่เห็นสมควรให้กำชับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้โดยเคร่งครัด กำชับให้ผู้กำกับดูแลจำเลยที่ 2 ดูแลจำเลยที่ 2 ให้เข้มงวดกว่านี้
    และเพื่อให้แน่ใจว่าจำเลยที่ 2 จะไม่กระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย เห็นควรกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยให้จำเลยที่ 2 อยู่ในเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาลหรือเหตุอื่นเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล โดยให้จําเลยที่ 2 ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หากจําเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ถอนประกันและขังจำเลยที่ 2 ไว้ในคดีนี้

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/37513)
  • นัดไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการ ที่ยื่นขอเพิกถอนการประกันตัว ‘ไมค์’ ภาณุพงศ์, ‘รุ้ง’ ปนัสยา และ ‘แอมมี่’ ไชยอมร การไต่สวนเริ่มขึ้น โดยมีพยานจำนวน 1 ปาก คือ พ.ต.ท.โชคอำนวย วงษ์บุญฤทธิ์ รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ในฐานะผู้รวบรวมพยานหลักฐานและยื่นต่อพนักงานอัยการเพื่อให้มีการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำทั้งสามราย

    หลังถามค้านพยานแล้วเสร็จ ทนายจำเลยทั้งสามได้แถลงยืนยันต่อศาลว่า การที่จำเลยทั้งสามเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมที่สี่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ไม่ได้เป็นการกระทำผิดเงื่อนไขการให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ของศาลอาญา

    จากนั้นศาลอาญาได้นัดหมายฟังคำสั่งต่อคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสามคน เป็นวันที่ 22 พ.ย. 2564 เวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38018)
  • ในวันนี้ ศาลอาญากำหนดให้ประชาชนทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้ไม่เกิน 30 คน และต้องลงชื่อด้วย แต่ไม่มีการเก็บเครื่องมือสื่อสาร มีผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมทั้งผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว The Reporters และสำนักข่าวราษฎร ร่วมฟังคำสั่ง

    ก่อนการเริ่มพิจารณา แม่และหลานสาวของภาณุพงศ์ได้พูดคุยกันเพียงสั้นๆ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคทำให้ได้แค่เพียงส่งภาษากายผ่านจอภาพ ซึ่งตลอดการพูดคุย “ยิหวา” หลานสาวของภาณุพงศ์กระโดดโลดเต้นและโบกมือทักทายน้าชายตลอดเวลา ขณะเดียวกันปนัสยาได้เดินเข้าห้องพิจารณาและได้โบกมือทักทายภาณุพงศ์ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

    เวลา 13.50 น. ก่อนการอ่านคำสั่ง ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสามคนว่า มีสิ่งใดจะแถลงเพิ่มเติมก่อนศาลอ่านคำสั่งหรือไม่

    ภาณุพงศ์ได้แถลงต่อศาลว่า “ขอบคุณศาล ที่เปิดโอกาสให้พูด ให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยไม่ด่วนสรุป” ส่วนปนัสยาได้แถลงขอบคุณเช่นเดียวกันโดยระบุว่า “ขอบคุณที่รับฟังพวกเรา ไม่เหมือนศาลรัฐธรรมนูญ” ด้านไชยอมร ไม่ได้แถลงเพิ่มเติมต่อศาลแต่อย่างใด

    ก่อนที่ทนายความจำเลยได้ขอแถลงต่อศาลเช่นเดียวกัน โดยยกส่วนหนึ่งในพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 10 ที่ตรัสกับคณะผู้พิพากษาประจำศาลในวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า “คนเราเมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นประเทศ ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้างเป็นปรกติ ความสงบสุขของประเทศจึงมิได้เกิดจากการที่ไม่มีความขัดแย้ง แต่อยู่ที่เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นคราวใด ก็จะสามารถคลี่คลายลงได้ด้วยความยุติธรรม”
    พร้อมทิ้งท้ายว่า “ขอให้ศาลท่านได้ประสาทความยุติธรรมให้กับประชาชน”

    เวลา 14.34 น. ศาลอ่านคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา โดยระบุว่าพฤติการณ์โพสต์เชิญชวนให้ประชาชนไปร่วมชุมนุม และการขึ้นกล่าวปราศรัยในที่ชุมนุม รวมทั้งโพสต์รูปตัวเองแต่งกายชุดดำ พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนแต่งกายเช่นเดียวกันในวันที่ 28 ก.ค. 2564 เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวที่ศาลตั้งไว้ก่อนหน้านี้

    ด้านไชยอมรและภาณุพงศ์ แม้จะเข้าร่วมการชุมนุมและมีการขึ้นกล่าวปราศรัย แต่ไม่มีพฤติการณ์ร้ายแรงจนถึงขนาดต้องเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว แต่เห็นสมควรว่าให้กำชับจำเลยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการปล่อยตัวอย่างเคร่งครัด และเพื่อให้แน่ใจว่าจำเลยจะไม่ฝ่าฝืน จึงเห็นควรให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ห้ามออกจากเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 16.00 – 05.00 น. เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาลหรือเหตุอื่นเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล พร้อมทั้งเงื่อนไขให้ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ด้วย

    ส่วนภาณุพงศ์หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากคดีอื่นให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขเช่นเดียวกับไชยอมร หากไม่ปฏิบัติตามให้เพิกถอนการประกันตัวต่อไป

    คำสั่งดังกล่าวลงนามโดย พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

    หลังการอ่านคำสั่ง ครอบครัวของปนัสยาและเพื่อนนักกิจกรรมได้เข้ามาพูดคุยและปลอบใจเธอครู่หนึ่ง ก่อนที่เธอจะต้องถูกคุมตัวกลับไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง ซึ่งเธอถูกคุมขังมาเป็นระยะเวลา 8 วันแล้ว

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38074)

    หลังรับทราบคำสั่ง กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของปนัสยา ให้ความเห็นถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งศาลอาญา ต่อการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของปนัสยา ไว้ 2 ประเด็น ดังนี้

    1. คำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาไม่ได้ระบุถึงเหตุการณ์โพสต์รูปปนัสยาแต่งกายด้วยชุดสีดำ พร้อมข้อความชวนให้แต่งกายแบบเดียวกันไว้ และในการไต่สวนเพิกถอนประกัน เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา การถามความของอัยการและการถามค้านของทนายความปนัสยา ก็มุ่งถามในประเด็นที่อยู่ในคำร้องของพนักงานอัยการเป็นหลัก

    ข้อเท็จจริงเรื่องโพสต์ชวนใส่เสื้อสีดำนี้ จึงไม่ถูกบันทึกในเอกสารคดีของศาลอาญา ว่าเป็นการกระทำของปนัสยาที่จะนำมาเป็นเหตุพิจารณาเพื่อเพิกถอนประกันชั่วคราวได้ กฤษฎางค์ย้ำว่าข้อเท็จจริงนี้ไม่แม้แต่จะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและบันทึกคำเบิกความพยาน เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา

    2. การออกคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวที่จัดทำโดยที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญา แทนที่จะเป็นผู้พิพากษาที่ทำการไต่สวนในห้องพิจารณา ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย

    โดยผู้พิพากษาที่ทำการไต่สวนในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้พิพากษาที่ลงนามในคำสั่งให้เพิกถอนประกัน คือ พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และมีการระบุไว้ในคำสั่งว่า “ศาลพิเคราะห์แล้วที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญา เห็นว่า… ”

    กฤษฎางค์ได้แสดงความเป็นห่วงต่อการพิจารณาคดีในลักษณะนี้เพิ่มเติมว่า เป็นไปได้ว่าจะมีผลต่อการพิจารณาการไต่สวนเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของกลุ่มนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นๆ อีกแน่นอน โดยบุคคลเหล่านั้นจะพบกับความไม่แน่นอนของข้อกล่าวหา ว่าตนจะถูกถอนประกันตัวหรือไม่ และด้วยพฤติการณ์ใด

    แม้ว่าตนจะถูกร้องขอให้เพิกถอนด้วยข้อเท็จจริงหนึ่ง ที่ไม่เข้าข่ายการสามารถเพิกถอนได้ แต่สุดท้ายก็ต้องพบกับความไม่แน่นอนว่าศาลจะยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนและนอกการไต่สวน มาอ้างเป็นเหตุในการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่

    กฤษฎางค์เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สมมติว่าอัยการกล่าวหาว่าเราขโมยรถยนต์ สืบพยานเสร็จว่าเราไม่ได้ขโมยรถยนต์แล้ว แต่ศาลกลับพิพากษาว่าเราขโมยปืนมาและพิพากษาให้เราจำคุกแทน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38121)
  • ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาในคดีนี้ พร้อมทั้งคดีชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 เช่นกัน ต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องดังกล่าว

    เวลา 13.30 น. ศาลได้ไต่สวนปนัสยา โดยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาจากทัณฑสถานหญิงกลาง มีบิดามารดาของปนัสยา และ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาร่วมไต่สวน

    หลังไต่สวนศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอย่างจำกัด โดยให้มีผลเฉพาะตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 กำหนดเงื่อนไข

    1. ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    2. ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล
    4. ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร
    5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

    ศาลได้สั่งให้ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา เป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาล โดยหากผิดสัญญาประกัน ให้ปรับเป็นเงิน 90,000 บาท โดยไม่เรียกหลักประกัน ลงนามโดยมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 30 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38433)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา ซึ่งมีกำหนดอนุญาตจนถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 โดยศาลมีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่งต่อคำร้องดังกล่าวในวันที่ 13 ม.ค. 2565 เวลา 13.30 น.

    คำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลย ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2564 จำนวน 6 วิชา โดยแต่ละวิชาจำเป็นต้องเข้าเรียน เข้าสอบ และจัดทำรายการส่งตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    ทั้งมีรายวิชาการวิจัยรายบุคคล ที่ต้องเก็บข้อมูลภาคสนาม ต้องค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ รวมถึงพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ หากจำเลยไม่สามารถทำการศึกษาวิจัยตามกระบวนการ และไม่ผ่านรายวิชาดังกล่าวซึ่งเป็นวิชาบังคับของหลักสูตร จะไม่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตรได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษา และอนาคตของจำเลย

    อีกทั้ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จำเลยได้พิสูจน์ตนด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโดยเคร่งครัด ไม่เคยกระทำการใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงจะผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะไม่ได้ไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นแต่อย่างใด

    คำร้องได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยจำเลยยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขของศาลเช่นเดิมทุกประการ

    (อ้างอิง: คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 10 ม.ค. 2565)
  • เวลา 11.00 น. อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาโดยระบุว่า หลังครบกำหนดเวลาคำสั่งให้ประกันตัว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ละเมิดเงื่อนไขและข้อห้ามที่ศาลกําหนด ซึ่งน่าเชื่อถือว่าจําเลยจะไม่หลบหนีหรือจะไปก่อภยันอันตรายอื่นในช่วงเวลานี้แต่อย่างใด

    ประกอบกับจําเลยมีความตั้งใจที่จะเรียนให้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยในระยะเวลาจํากัดต่อไป นับแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการส่งเกรดของภาคการศึกษานี้ โดยศาลกำหนดประกันในวงเงินคดีละ 200,000 บาท พร้อมคงเงื่อนไขเดิม แต่ให้ยกเลิกเงื่อนไขที่ให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหสถานตลอดเวลา แต่ได้เพิ่มรายละเอียดในเงื่อนไข ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน

    ศาลยังได้กำหนดให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวอันจำกัดนี้ และให้จำเลยมารายงานตัวและส่งตัวต่อศาลในวันที่ 16 มิ.ย. 2565 เวลา 10.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 13 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39550)
  • หลังทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์และภาณุพงศ์ ศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองในทุกคดีที่มีหมายขังของศาลนี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไข 5 ประการ ทั้งเรื่องการห้ามกระทำการกระทบต่อสถาบันกษัตริย์และศาลในทุกด้าน, ให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงกลางคืน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40352)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุวรรณา ตาลเหล็ก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนชัย เอื้อฤาชา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธานี สะสม

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัทรพงศ์ น้อยผาง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อะดิศักดิ์ สมบัติคำ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สิทธิทัศน์ จินดารัตน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัชพัท อัคฮาด

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนพ อัมพะวัต

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมยศ พฤกษาเกษมสุข

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐชนน ไพโรจน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุวรรณา ตาลเหล็ก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนชัย เอื้อฤาชา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธานี สะสม

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัทรพงศ์ น้อยผาง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อะดิศักดิ์ สมบัติคำ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สิทธิทัศน์ จินดารัตน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัชพัท อัคฮาด

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนพ อัมพะวัต

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐชนน ไพโรจน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์