ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.959/2564
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.แสงเพ็ชร หอมสมบัติ รอง ผกก.สืบสวน สภ.ยางตลาด (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.959/2564
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.แสงเพ็ชร หอมสมบัติ รอง ผกก.สืบสวน สภ.ยางตลาด
ความสำคัญของคดี
"โตโต้" ปิยรัฐ จงเทพ นักกิจกรรม ถูกดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดทำป้ายไวนิลวิจารณ์การจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล แล้วใส่ข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 และโพสต์เผยแพร่ภาพป้ายดังกล่าวที่ติดตั้งอยู่ข้างทางใน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะปิยรัฐถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อปิยรัฐได้รับการประกันตัวในคดีดังกล่าว กลับถูกอายัดตัวตามหมายจับของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ออกในวันเดียวกันนั้นอีก ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ สภ.ยางตลาด แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำอีกครั้ง และควบคุมตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง แม้ทนายความจะขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ และคัดค้านการฝากขัง แต่ศาลยกคำร้องทั้งหมด รวมทั้งไม่ให้ประกันตัว เนื่องจากเกรงว่าจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นอีก ปิยรัฐถูกฝากขังระหว่างสอบสวนถึง 33 วัน จึงได้รับการประกัน โดยต้องติด EM และศาลกำหนดเงื่อนไข ห้ามมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ รวมทั้งห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะปิยรัฐถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อปิยรัฐได้รับการประกันตัวในคดีดังกล่าว กลับถูกอายัดตัวตามหมายจับของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ออกในวันเดียวกันนั้นอีก ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ สภ.ยางตลาด แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำอีกครั้ง และควบคุมตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง แม้ทนายความจะขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ และคัดค้านการฝากขัง แต่ศาลยกคำร้องทั้งหมด รวมทั้งไม่ให้ประกันตัว เนื่องจากเกรงว่าจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นอีก ปิยรัฐถูกฝากขังระหว่างสอบสวนถึง 33 วัน จึงได้รับการประกัน โดยต้องติด EM และศาลกำหนดเงื่อนไข ห้ามมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ รวมทั้งห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
กิตติกรณ์ บุญโล่ง พนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ บรรยายฟ้องว่า
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ขณะเกิดเหตุรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุขของประเทศ
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 เวลากลางวัน ปิยรัฐกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันจัดทําป้ายไวนิลติดประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การจัดหาวัคซีนไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของรัฐบาล แล้วได้ใส่ข้อความที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ลงในแผ่นป้ายไวนิลจํานวน 7แผ่น
หลังจากนั้นได้ร่วมกันนําเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปติดไว้ที่ต้นไม้และเสาไฟฟ้าส่องสว่างบนเกาะกลางถนน รวมทั้งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ถนนสายยางตลาด – กาฬสินธุ์ และได้นําภาพถ่ายป้ายทั้งเจ็ดที่ถูกติดตั้งไว้ โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ชื่อ โตโต้ ปิยรัฐ – Piyarat chongthep และทวิตเตอร์ ชื่อ We Volunteer ของจําเลย ในลักษณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
ซึ่งบุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวแล้วเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 ผูกขาดการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในลักษณะเสียดสีประชดประชัน สร้างความเสียหายต่อพระเกียรติยศของพระองค์อย่างร้ายแรง อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2564)
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ขณะเกิดเหตุรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุขของประเทศ
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 เวลากลางวัน ปิยรัฐกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันจัดทําป้ายไวนิลติดประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การจัดหาวัคซีนไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของรัฐบาล แล้วได้ใส่ข้อความที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ลงในแผ่นป้ายไวนิลจํานวน 7แผ่น
หลังจากนั้นได้ร่วมกันนําเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปติดไว้ที่ต้นไม้และเสาไฟฟ้าส่องสว่างบนเกาะกลางถนน รวมทั้งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ถนนสายยางตลาด – กาฬสินธุ์ และได้นําภาพถ่ายป้ายทั้งเจ็ดที่ถูกติดตั้งไว้ โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ชื่อ โตโต้ ปิยรัฐ – Piyarat chongthep และทวิตเตอร์ ชื่อ We Volunteer ของจําเลย ในลักษณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
ซึ่งบุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวแล้วเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 ผูกขาดการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในลักษณะเสียดสีประชดประชัน สร้างความเสียหายต่อพระเกียรติยศของพระองค์อย่างร้ายแรง อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 30-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 10.30 น. คณะพนักงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดย พ.ต.อ.สุธน สีหามาตย์ เดินทางไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อแจ้งข้อหา กับ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ แกนนำกลุ่มการ์ดอาสา We Volunteer ที่ถูกจับกุมและคุมขังในคดีอื่นมาตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2564 ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอั้งยี่ โดยมีทนายความเข้าร่วมการสอบสวนผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อปิยรัฐ โดยระบุพฤติการณ์ว่าปิยรัฐได้ร่วมกับพวก จัดทำป้ายไวนิลเพื่อติดประกาศวิพากษ์วิจารณ์การจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล แล้วใส่ข้อความที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท รัชกาลที่ 10 ลงในแผ่นป้ายดังกล่าว
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 เวลาประมาณ 12.00 น. ได้นำไปติดไว้ที่ต้นไม้และเสาไฟ รวมทั้งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบนเกาะกลางถนน บนถนนสาย อำเภอยางตลาด-จังหวัดกาฬสินธุ์ เขตหมู่บ้านโคกศรี ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีทั้งหมดจำนวน 7 แผ่นเรียงกัน ตามข้อความดังนี้
แผ่นที่ 1 มีข้อความว่า หาซีนให้วัง
แผ่นที่ 2 มีข้อความว่า ผูกขาดบริษัทวัคซีน
แผ่นที่ 3 มีข้อความว่า ถ้าเป็นนักการเมืองเราเรียกว่า
แผ่นที่ 4 มีข้อความว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน
แผ่นที่ 5 มีข้อความว่า แต่พอเป็น…
แผ่นที่ 6 มีข้อความว่า เราเรียกว่า
แผ่นที่ 7 มีข้อความว่า น้ำพระทัย, พระราชทาน
ต่อมา มีการถ่ายภาพป้ายทั้งเจ็ด นำไปโพสต์ในเฟซบุ๊กชื่อ “โตโต้ ปิยรัฐ -Piyarat Chongthep” และทวิตเตอร์ชื่อ “We Volunteer” บันทึกแจ้งข้อหาระบุอีกว่า จากการสอบสวนมีพยานยืนยันว่า ข้อความตามแผ่นป้ายดังกล่าว มีข้อความที่มีความหมายสื่อเป็นเชิงดูหมิ่น หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 จริง
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
หลังได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา ปิยรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน โดยไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา
คดีนี้นับเป็นการถูกกล่าวหาในข้อหามาตรา 112 คดีแรกของปิยรัฐ และทำให้เขาถูกกล่าวหาในคดีจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่ปี 2563 รวมแล้วเป็น 11 คดี
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 30 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27768)
-
วันที่: 03-04-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาครั้งที่ 2 และฝากขังครั้งที่ 1หลังจากเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ ระหว่างสอบสวน ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นอั้งยี่และซ่องโจร และปิยรัฐได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขาได้ถูกตำรวจเข้าอายัดตัวตามหมายจับของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ 76/2564 ลงวันที่ 2 เม.ย. 2564 ในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และควบคุมตัวไปที่ สน.ประชาชื่น ก่อนเวลาประมาณ 20.30 น. ปิยรัฐถูกควบคุมตัวขึ้นรถผู้ต้องขังส่งตัวไป สภ.ยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อดำเนินคดีตามหมายจับดังกล่าว
ท่ามกลางความสงสัยว่า ในทางกฎหมายไม่น่าจะมีเหตุให้ตำรวจไปขอออกหมายจับ และไม่มีเหตุผลในทางกฎหมายที่ศาลจะอนุญาตให้ออกหมายจับ เนื่องจากคดีนี้คณะพนักงานสอบสวนเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาปิยรัฐที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้ว อีกทั้งหมายจับดังกล่าวซึ่งมีปวริศ หวังพินิจกุล ผู้พิพากษาเป็นผู้อนุมัติออกหมายจับ ไม่มีการติ๊กระบุสาเหตุของการออกหมายจับใดๆ
เวลาประมาณ 06.00 น. ปิยรัฐถูกควบคุมตัวถึง สภ.ยางตลาด โดยมีเพื่อนนักกิจกรรมในจังหวัดกาฬสินธุ์และขอนแก่นมารอพบ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำรั้วเหล็กกั้นปิดทางเข้า ไม่อนุญาตให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องยกเว้นญาติและทนายความเข้าในบริเวณสถานีตำรวจ โดยมีกำลังตำรวจและ อส. ราว 30 นาย ควบคุมพื้นที่
จากนั้นเวลา 07.30 น. คณะพนักงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดย พ.ต.อ.สุธน สีหามาตย์ ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำปิยรัฐอีกครั้ง อ้างว่า กระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำในวันที่ 30 มี.ค. 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ปิยรัฐไม่ยอมรับและไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ พนักงานสอบสวนเกรงว่ากระบวนการจะไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาอีกครั้ง
ปิยรัฐโต้แย้งว่า เหตุที่ไม่พิมพ์ลายนิ้วมือในวันที่ 30 มี.ค. 2564 เนื่องจากหลังการสอบปากคำผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ เจ้าหน้าที่ไม่ได้นำบันทึกคำให้การมาให้ตนอ่านและเซ็น แต่กลับนำแบบลายพิมพ์นิ้วมือมาและให้ตนพิมพ์ลายนิ้วมือโดยไม่แจ้งใดๆ เมื่อตนแจ้งผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ว่า ขออ่านบันทึกคำให้การก่อน แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่า พนักงานสอบสวนนำเอกสารเดินทางกลับกาฬสินธุ์แล้ว ตนจึงไม่พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารที่ไม่ทราบที่มาที่ไป นอกจากนี้ การที่ตนไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือ ไม่ใช่เหตุในการไปขอออกหมายจับ เนื่องจากพนักงานสอบสวนก็ดำเนินคดีข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเพิ่มได้ พ.ต.อ.สุธน ตอบเพียงว่า เรื่องนั้นให้ไปถามศาล
ในการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำครั้งนี้ ปิยรัฐไม่ตอบคำถามของพนักงานสอบสวน ระบุว่า “ให้การไปแล้วในวันที่ 30 มี.ค. 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กับพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความของข้าฯ” และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การ เขียนแทนว่า ประสงค์อ้างตามบันทึกคำให้การวันที่ 30 มี.ค. 2564
หลังเสร็จกระบวนการประมาณ 09.00 น. พนักงานสอบสวนแจ้งว่า จะฝากขังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จาก สภ.ยางตลาด ไปที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพนักงานสอบสวนส่งคำร้องขอฝากขังต่อศาลแบบออนไลน์ ด้านทนายความได้เดินทางไปที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ คำร้องคัดค้านการขอฝากขัง และขอให้ศาลไต่สวนพนักงานสอบสวน โดยขอให้ศาลเบิกตัวปิยรัฐไปทำการไต่สวนที่ศาล
เบื้องต้นศาลไม่อนุญาตให้เบิกตัวปิยรัฐไปศาล ระบุว่าเป็นระเบียบเรื่องมาตรการป้องกันโควิด จึงให้ไต่สวนผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยให้ปิยรัฐฟังการไต่สวนอยู่ที่ สภ.ยางตลาด แต่ให้พนักงานสอบสวนไปเบิกความที่ศาล อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 10.30 น. ศาลมีคำสั่งให้เบิกตัวปิยรัฐไปร่วมไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนหมายจับและคัดค้านฝากขังที่ศาล
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นวันเสาร์ซึ่งศาลเปิดทำการเพียงครึ่งวันเช้า ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไปพร้อมกัน เพื่อให้ศาลพิจารณาโดยไม่ล่าช้า
คำร้องของปิยรัฐขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับ ระบุเหตุผลว่า คดีนี้ไม่มีเหตุที่จะออกหมายจับผู้ต้องหาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59/1 และมาตรา 66 เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแล้วเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พยานหลักฐานในคดีนี้ก็อยู่ในความดูแลของพนักงานสอบสวนแล้วทั้งสิ้น การไม่จับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหาจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ที่สำคัญเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ศาลอาญา (รัชดา) ก็ได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เนื่องจากไม่มีพฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาจะหลบหนี
ส่วนคำร้องคัดค้านการฝากขัง ปิยรัฐระบุว่า ในวันนี้ผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ผู้ต้องหาจึงไม่ใช่บุคคลที่ถูกจับ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจขอศาลฝากขัง อีกทั้งการขอฝากขังในวันนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำผู้ต้องหาเสร็จสิ้นแล้ว ในวันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หากจะสอบสวนผู้ต้องหาเพิ่มเติม หรือจะส่งตัวและสำนวนคดีให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนก็สามารถออกหมายเรียกในภายหลังได้ ไม่มีเหตุจำเป็นในการออกหมายจับและขอฝากขัง
คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 ในเขตพื้นที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งมีระยะเวลาพอสมควรที่จะสอบสวนเสร็จแล้ว การที่พนักงานสอบสวนกล่าวอ้างในคำร้องขอฝากขังว่า ยังต้องสอบพยานและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ก็ล้วนเป็นเรื่องการดำเนินการของพนักงานสอบสวนกับบุคคลอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ไม่จำต้องร้องขอฝากขังผู้ต้องหา อันเป็นการกระทบต่อหน้าที่การงาน สิทธิเสรีภาพและโอกาสในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาเกินจำเป็น
และหากพนักงานสอบสวนเกรงว่า ผู้ต้องหาจะไปใช้เสรีภาพร่วมหรือทำกิจกรรมใดต่อไปในอนาคตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็สามารถที่จะใช้อำนาจดำเนินการตามกฎหมายได้เป็นคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในคดีนี้ เพราะเป็นเสมือนการใช้ดุลพินิจพิจารณาไว้ในอนาคตแล้วว่าการทำกิจกรรมนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และเป็นการกระทำที่มุ่งจะแทรกแซงยับยั้งการใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองไว้
และคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุเหตุผลว่า คดีนี้ปิยรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และประสงค์จะนำหลักฐาน เพื่อเสนอต่อศาลประกอบการต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำผิดตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา เชื่อว่าศาลจะให้ความเป็นธรรม พฤติการณ์ในคดีก็เป็นการกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียว ยังไม่ผ่านการพิสูจน์โดยศาล ทั้งไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงหรือการก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองแต่อย่างใด อีกทั้งปิยรัฐเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาในความผิดทางอาญา ต้องได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญให้การรับรอง หากศาลใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราว โดยเชื่อว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์กระทำผิดตามพนักงานสอบสวนกล่าวหาจริงแล้วย่อมถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
บรรยากาศการไต่สวนคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนตามที่ปิยรัฐและทนายความยื่นคำร้องที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ามีการปิดประตูทางเข้าศาล มีการวางกำลังชุดควบคุมฝูงชนราว 20 นาย ไม่อนุญาตให้ประชาชน แม้แต่ทนายความที่นั่งร่วมกระบวนการสอบปากคำที่ สภ.ยางตลาด ที่ปิยรัฐยังไม่ได้เซ็นแต่งตั้งทนายความ และ อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ซึ่งเดินทางมาเป็นนายประกัน เข้าไปในบริเวณศาล อ้างว่าผู้ต้องหามีทนายความอยู่แล้ว และยังไม่ถึงขั้นตอนการประกันตัว
เวลา 10.50 น. ศาลเริ่มการไต่สวน โดยมี ยุทธนา แสนจันทร์ ผู้พิพากษา ออกนั่งพิจารณาคดี และมี พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม พนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด เข้าเบิกความเพียง 1 ปาก ระบุว่า เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 มีกลุ่มคนร้ายเอาแผ่นป้ายไวนิลซึ่งมีข้อความหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จำนวน 7 แผ่น ไปติดอยู่บริเวณถนนและซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติริมถนนสายยางตลาด-กาฬสินธุ์ ตำรวจได้รับแจ้งเรื่องป้ายดังกล่าว จึงออกไปตรวจสอบและตรวจยึดป้ายนั้น
ต่อมา ปรากฏภาพป้ายทั้งเจ็ด ถูกนำไปโพสต์ในเฟซบุ๊กชื่อ “โตโต้ ปิยรัฐ -Piyarat Chongthep” และทวิตเตอร์ชื่อ “We Volunteer” ซึ่งเป็นของปิยรัฐ พร้อมทั้งโพสต์ข้อความเชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วมกลุ่มประสานงาน ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และมายื่นขออนุมัติหมายจับที่ศาลในวันที่ 2 เม.ย. 2564
วันเดียวกันทราบข่าวว่าผู้ต้องหาจะถูกปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่ผู้ต้องหาถูกขังในความผิดคดีอั้งยี่และความผิดเกี่ยวกับการชุมนุม จึงประสานตำรวจท้องที่แห่งนั้น นำหมายจับไปจับกุมที่เรือนจำ
พ.ต.ท.ไพศาล เบิกความอีกว่าได้รับตัว ปิยรัฐ ในช่วง 06.15 น. ในวันที่ 3 เม.ย. 2564 จะครบกำหนดควบคุมตัว 48 ชั่วโมง ในวันที่ 5 เมษายน 2564 แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบปากคำพยานอีก 7 ปาก และรอผลการตรวจประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และรวบรวมหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงขออำนาจศาลฝากขัง มีกำหนด 12 วัน
พนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด ยังเบิกความในตอนท้ายว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรซึ่งมีอัตราโทษสูง ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศไทย และผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอื่นหลายคดีนอกจากคดีนี้ จึงขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประการอื่น และเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี
จากนั้น พ.ต.ท.ไพศาล ตอบคำถามที่ทนายความของปิยรัฐถามค้าน โดยรับว่า ตามกระบวนการของกฎหมาย หากผู้ต้องหาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน จะมีการแจ้งสิทธิและสอบปากคำ หากพยานยังรวบรวมพยานหลักฐานไม่แล้วเสร็จ ต้องสอบปากคำผู้ต้องหาเพิ่มก็จะออกหมายเรียกผู้ต้องหามาพบ หากผู้ต้องหาไม่มาตามหมายเรียก จึงจะขอศาลออกหมายจับ
พ.ต.ท.ไพศาล รับอีกว่า เกี่ยวกับคดีนี้ เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 พยานได้ไปพบผู้ต้องหาและแจ้งข้อกล่าวหาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้ว ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ และในช่วงเช้าของวันนี้ พยานก็ได้สอบปากคำผู้ต้องหา โดยมีข้อเท็จจริงเป็นข้อเท็จจริงกับที่สอบปากคำไปเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 ในส่วนพยานบุคคลอีก 7 ปาก ที่พยานจะสอบปากคำ และการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ก็ไม่ต้องสอบถามจากผู้ต้องหา ดังนั้น ในส่วนของผู้ต้องหา พยานได้สอบปากคำเสร็จสิ้นแล้ว
พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม ตอบคำถามค้านของทนายความด้วยว่า ในคดีความผิดของปิยรัฐทุกคดี ยังไม่มีคำพิพากษาว่ามีความผิด อยู่ในชั้นพิจารณาของศาล บางคดีอยู่ในชั้นสอบสวน และพยานไม่ได้รับรายงานว่า ในชั้นจับกุม ผู้ต้องหาขัดขืนการจับกุมของตำรวจ
เสร็จการไต่สวนเวลาประมาณ 11.30 น. ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับ โดยอ้างว่าหมายจับสิ้นผลไปเอง นับแต่วันที่จับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 68 จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอเพิกถอนหมายจับอีก ในส่วนของคำสั่งต่อคำร้องขอฝากขัง ศาลนัดอ่านคำสั่งในช่วงบ่าย
ประมาณ 14.00 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พนักงานสอบสวนขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 โดยยืนยันว่า ผู้ต้องหาเป็นเจ้าของเพจในสื่อออนไลน์ (เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์) และนำข้อความอันมีลักษณะหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ลงเผยแพร่ในสื่อดังกล่าว
จึงมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดทางอาญาร้ายแรง และมีเหตุจำเป็นที่พนักงานสอบสวนต้องสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไป ประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนระบุว่า ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในราชอาณาจักร จนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีอาญาอีกหลายคดี จึงมีหลักฐานตามสมควรว่า ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดทางอาญาร้ายแรง และน่าจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นในทำนองเดียวกันอีก จึงอนุญาตให้ฝากขัง 12 วัน และอนุญาตให้ฝากขังครั้งต่อไปผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ
ส่วนที่ผู้ต้องหาขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน ศาลพิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า คดีที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีอาญาร้ายแรง มีอัตราโทษสูง ประกอบกับปรากฏพฤติการณ์ตามการไต่สวนคำร้องขอฝากขัง ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความแตกแยกในราชอาณาจักร จนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอื่นอีกหลายคดี
ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประกันอื่น หากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นหรือก่อเหตุซ้ำในทำนองเดียวกันอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
หลังศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทำให้ปิยรัฐจะถูกขังระหว่างการสอบสวนไว้ที่เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1, คำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ, คำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 3 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27933)
-
วันที่: 04-04-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน9.00 น. ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์เพื่อคัดค้านคำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์) เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2564 ซึ่งให้เหตุผลว่า “ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเป็นคดีอาญาร้ายแรง มีอัตราโทษสูง ประกอบกับปรากฏพฤติการณ์ตามทางไต่สวนคำร้องขอฝากขังว่า ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความแตกแยกขึ้นในราชอาณาจักร จนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอื่นอีกหลายคดี
ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากเกรงว่าจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่น ดังนั้น หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่น หรือก่อเหตุช้ำในทำนองเดียวกันอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว”
คำร้องอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวว่า
1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญไทย ได้บัญญัติรับรองหลักการสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ส่งผลให้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติถึงสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดี ผู้ต้องหาต้องมีโอกาสพิสูจน์ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่ต้องรับโทษทางอาญา การที่ผู้ต้องหาถูกคุมขังเสมือนว่าได้รับโทษทางอาญา ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงขัดต่อหลักการดังกล่าว
2. คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ปล่อยตัวชั่วคราวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นได้หยิบยกประเด็นนอกจากคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 มาวินิจฉัยในประเด็นว่า “ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความแตกแยกขึ้นในราชอาณาจักร” ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ได้บรรยายในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 อันเป็นการพิจารณาสั่งเกินคำสั่งนอกคำร้อง หรือสั่งเกินคำขอที่ยื่นต่อศาล ผิดหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ว่าห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอ
3. ระหว่างไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 โดยมี พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม เป็นพยานเบิกความ พ.ต.ท.ไพศาล ได้เบิกความว่า “ในส่วนของผู้ต้องหา ข้าฯ สอบปากคำเสร็จสิ้นแล้ว” ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีเหตุผลที่จะฝากขังผู้ต้องหาเพื่อทำการสอบสวน คดีนี้ พ.ต.ท.ไพศาล ได้ดำเนินการสอบปากคำผู้ต้องหารวม 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 64 และ วันที่ 3 เม.ย. 64 ซึ่ง พ.ต.ท.ไพศาล เองก็เบิกความแล้วว่า สอบสวนผู้ต้องหาเสร็จแล้ว จะฝากขังเพื่อจะสอบพยานอีก 7 ปาก ซึ่งพยานทั้ง 7 ปากที่อ้าง ผู้ต้องหาก็ไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใดบ้าง การฝากขังจึงเป็นไปโดยไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม และเป็นเพราะความบกพร่องในการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง ไม่ใช่เพราะการสอบสวนไม่เสร็จสิ้น
4. ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อยู่ในพื้นที่ของพนักงานสอบสวนอยู่แล้ว ซึ่งพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามาพบเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติมหรือส่งตัวพนักงานอัยการตามนัดได้ ในการจับกุมก็ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาต่อสู้หรือขัดขืนการจับกุม ประกอบกับผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.1130/2563 ในความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์นี้ โดยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และมาตามนัดศาลทุกนัด อันเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสัจจะที่ให้ไว้ต่อศาลว่าจะไม่หลบหนี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
แต่จำเลยไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นเหตุดังกล่าวแต่อย่างใด กล่าวคือผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานในคดีนี้ พนักงานสอบสวนก็ได้รวบรวมพยานหลักฐานและอยู่ในความครอบครองของศาลชั้นต้นแล้วทั้งสิ้น
5. ผู้ต้องหาไม่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาชญากรรมใดๆ และไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อนจึงไม่มีพฤติการณ์จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอย่างแน่นอน และไม่อาจไปก่ออุปสรรคหรือความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาลได้
6. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราวย่อมไม่สอดคล้องกับนโยบาย 5 ข้อของประธานศาลฏีกา ข้อที่ 1 ว่า “ยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานผู้ต้องหาและจำเลย…” เป็นความพยายามของประธานศาลฏีกาที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายของศาลที่ดำเนินการอยู่ โดยมีประเด็นที่เป็นหัวใจ คือ “ตราบใดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดมีความผิด ต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ และ “ศาลอาจจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันอะไรเลยก็ได้ หากโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือมีประกันเพียงทำสัญญาไว้แต่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ประกัน”
เมื่อการสอบสวนหรือสอบปากคำผู้ต้องหาเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะคุมขังผู้ต้องหาต่อไป รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ต้องหาเป็นหัวหน้าการ์ด อันเป็นข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่ข้อความที่บรรยายในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นจะนำมาพิจารณาไม่ปล่อยตัวชั่วคราวได้ การพิจารณาไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง การที่ พ.ต.ท.ไพศาล เบิกความวินิจฉัยหรือเข้าใจเองว่าผู้ต้องหาผิด และผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีอื่นอีก ศาลชั้นต้นไม่ควรต้องเชื่อ หรือบันทึกข้อความดังกล่าวไว้สำนวนเพื่อนำมาพิจารณา เพราะในชั้นนี้ผู้ต้องหาเองไม่สามารถอธิบายโต้แย้งคัดค้านชี้แจงข้อเท็จจริงได้ จึงเป็นกระบวนการพิจารณามุ่งร้ายต่อตัวผู้เสียหายเพียงอย่างเดียว
เวลา 14.30 น. ศาลอุทธรณ์ภาค 4 อ่านคำสั่งผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ระบุว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงได้จากการไต่สวนคำร้องฝากขังว่า พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ต้องหาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี แต่ผู้ต้องหามีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องและต่อเนื่องกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ และหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว อาจไปกระทำการเช่นเดิมอีก อันเป็นการก่อเหตุอันตรายประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (3) ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน จึงให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์, รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงวันที่ 4 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27943)
-
วันที่: 09-04-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 2พนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด ยื่นคำร้องขอฝากขัง "โตโต้" เป็นครั้งที่ 2 ก่อนช่วงวันหยุดยาว ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง พร้อมทั้งขอให้ศาลไต่สวนพนักงานสอบสวนถึงเหตุจำเป็นในการขอฝากขัง
10.15 น. ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ศาลต่อสัญญาณวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไปที่เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากจะทำการไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยไม่ได้เบิกตัวโตโต้มาศาล ขณะที่ พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม สารวัตร (สอบสวน) สภ.ยางตลาด พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี และเป็นผู้ยื่นคำร้องขอฝากขังเดินทางมาชี้แจงเหตุจำเป็นในการขอฝากขัง
บรรยากาศที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันดังกล่าว มีเพียงมาตรการคัดกรองโควิด โดยการตรวจวัดอุณหภูมิของผู้ที่มาติดต่อศาลเท่านั้น ในห้องพิจารณาคดีมีทนายความผู้ต้องหา 2 คน ผู้สังเกตการณ์จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ไว้วางใจของโตโต้เข้าร่วมฟังการไต่สวนด้วย แตกต่างจากการไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งแรกในวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการปิดประตูศาล วางกำลังตำรวจควบคุมฝูงชน ราว 20 นาย และไม่อนุญาตให้ประชาชน แม้แต่ทนายความที่ยังไม่ได้เซ็นแต่งตั้งทนายความ และ ส.ส.ซึ่งเดินทางมาเป็นนายประกัน เข้าไปในบริเวณศาล
11.30 น. หลังเจ้าหน้าที่พยายามเชื่อมต่อสัญญาณวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างศาลและเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์จนสำเร็จ ณัชฐปกรณ์ เจริญรัตนวานนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น จึงออกนั่งพิจารณาคดี ก่อนการไต่สวน ศาลได้ถาม พนักงานสอบสวน โตโต้ และทนายความว่า จะคัดค้านวิธีการไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อคุ้มครองทุกฝ่ายจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือไม่ ทั้งหมดไม่คัดค้าน
จากนั้น ศาลได้สรุปคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 2 ของพนักงานสอบสวน อ้างเหตุผลว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จ ต้องสอบพยานอีก 4 ปาก, รอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม, รอผลการตรวจสอบการใช้อินเตอร์เน็ต เว็บเพจ และทวิตเตอร์ของผู้ต้องหา จากปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ และรวบรวมพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบุว่า เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษสูง และเกรงว่า ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่น จึงคัดค้านการประกันตัว
ส่วนคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 2 ที่ทนายผู้ต้องหายื่นต่อศาล ระบุเหตุผลว่า ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องฝากขังผู้ต้องหา เนื่องจากพนักงานสอบสวนทำการสืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ มาเป็นเวลานานแล้ว การสอบสวนที่เหลือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา อีกทั้งผู้ต้องหาไม่เคยหลบหนีกระบวนการทางกฎหมายใดๆ ไปรายงานตัวตามนัดหมายโดยตลอด มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ที่สำคัญคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหาเสร็จแล้ว
การไต่สวนเริ่มโดย พ.ต.ท.ไพศาล สาบานตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะเบิกความตามความเป็นจริง ก่อนเบิกความตอบคำถามของศาลว่า คดีนี้ปิยรัฐได้ให้การกับพยานแล้ว แต่อาจจะมีข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่จะต้องสอบเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า จะมีการแจ้งข้อหาอื่นเพิ่มเติมหรือไม่
ส่วนพยานที่ต้องสอบปากคําอีก 4 ปาก คือ ตำรวจชุดสืบสวนในคดีนี้, ชุดจับกุม, นักกฎหมายและผู้ชํานาญการด้านภาษาไทยที่จะให้ความเห็นทางกฎหมายต่อข้อความในแผ่นป้ายทั้ง 7 แผ่น ซึ่งยังไม่ได้มีหมายเรียก แต่คาดว่าจะสอบพยานทั้ง 4 ปาก เสร็จภายในเดือนนี้
พยานได้ส่งลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาไปตรวจสอบประวัติการต้องโทษที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร สํานักงานตํารวจแห่งชาติ แล้ว คาดว่าไม่เกิน 1 เดือน จะได้รับผลการตรวจสอบดังกล่าว รวมทั้งได้ทําหนังสือถึงปลัดกระทรวงดิจิตอลฯ ขอให้ตรวจสอบการใช้อินเตอร์เน็ท เว็บเพจ และทวิตเตอร์ของผู้ต้องหา ซึ่งสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิตอลฯ ได้รับแล้วเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564
ศาลถามพนักงานสอบสวนว่า พยานหลักฐานอื่นที่จะต้องรวบรวมคืออะไร พ.ต.ท.ไพศาล ตอบว่า หลายอย่าง และรอคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรที่ผู้ต้องหาเคยให้ถ้อยคําว่าจะส่งใน 30 วัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับ
พ.ต.ท.ไพศาล เบิกความตอบศาลด้วยว่า หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป เชื่อว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน โดยเกรงว่าจะหลบหนีและไปก่อเหตุอื่นอีก และจากการสืบสวนผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ถ้ามีประเด็นที่จะสอบเพิ่มจะยากแก่การติดตาม ทั้งนี้ หากพยานทําคดีไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ก็อาจจะถูกดําเนินการทางวินัย แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวในระหว่างการสอบสวน การสอบสวนจะรวดเร็วและจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดตามกฎหมาย
หลังศาลหมดคำถามเกี่ยวกับเหตุจำเป็นที่ขอฝากขัง ได้ให้ทนายผู้ต้องหาซักถาม โดย พ.ต.ท.ไพศาล ตอบทนายว่า นับตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนเศษ ซึ่งชุดสืบสวนได้ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ต้องหามาโดยตลอด ตั้งแต่วันที่ 10 ธ.ค. 2562 เป็นต้นมา ปรากฏตามรายงานการสืบสวนแนบท้ายคําร้อง หากชุดสืบสวนพบข้อเท็จจริงใหม่จะทํารายงานส่งให้พยาน แต่ปัจจุบันยังไม่มี
พยานที่ยังต้องสอบสวนอีก 4 ปาก ล้วนแต่เป็นข้าราชการ มีเพียง 1 ปากที่เป็นทนายความ ซึ่งตั้งแต่เกิดเหตุพยานยังไม่ได้ออกหมายเรียกมาให้ปากคำ ในส่วนของหลักฐานที่พยานส่งให้กระทรวงดิจิตอลฯ ตรวจสอบ หากผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขหลักฐานดังกล่าวได้
พ.ต.ท.ไพศาล ยังรับว่า เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2564 ได้เบิกความไว้ว่า ได้สอบปากคําผู้ต้องหาเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนที่พยานเบิกความว่า ผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี จริงๆ แล้ว ในคดีนี้ผู้ต้องหายังไม่เคยหลบหนี แต่ในคดีอื่นพยานไม่ทราบ ซึ่งจากรายงานการสืบสวน ผู้ต้องหาเป็นแกนนำกลุ่มวีโว่ พยานเชื่อว่าจะติดตามตัวมาดําเนินคดีได้ยาก ทนายถามย้ำว่า เป็นความเชื่อของพยานเองใช่หรือไม่ พนักงานสอบสวนตอบว่า ใช่
ที่พยานเบิกความว่า เกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอื่นอีก เนื่องจากพยานทราบจากสื่อว่า ผู้ต้องหาไปร่วมชุมนุมก่อเหตุหลายที่ ทนายถามว่าการชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ พยานรับว่าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญหากปราศจากอาวุธ แต่ที่ปรากฏในสื่อ ผู้ต้องหามีอาวุธ ทนายถามว่า พยานยืนยันข้อเท็จจริงหรือไม่ว่า ผู้ต้องหามีอาวุธ พยานรับว่า ทราบจากสื่อเท่านั้น และไม่ได้นำข่าวดังกล่าวมาประกอบสำนวน แต่มีรายงานสันติบาลว่า ผู้ต้องหาถูกจับที่รัชโยธิน
ทนายให้พยานดูคำสั่งศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวปิยรัฐ ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของศาลอาญาว่า ในการจับกุมปิยรัฐที่เมเจอร์รัชโยธิน ชุดจับกุมตรวจพบเสื้อคล้ายเสื้อเกราะ พยานรับว่า ชุดจับกุมพบเสื้อคล้ายเสื้อเกราะ ซึ่งไม่ใช่อาวุธ และไม่มีข้อความระบุว่า พบอาวุธ อีกทั้งตามรายงานการสืบสวน กลุ่มวีโว่ยังได้ระดมเงินซื้อเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิตกรณีฉุกเฉิน
พยานตอบทนายผู้ต้องหาว่า เป็นผู้ขอออกหมายจับปิยรัฐในคดีนี้ และไปขออายัดตัวผู้ต้องหาหลังได้รับการประกันตัวในคดีอั้งยี่ ซึ่งเป็นคดีเดียวกันกับที่ทนายให้ดูคำสั่งให้ประกันเมื่อครู่ แต่ปฏิเสธว่า ไม่ทราบก่อนขอออกหมายจับว่า ปิยรัฐได้รับการประกันตัว มาทราบภายหลัง
ทนายถามว่า เหตุใดพยานจึงไปขอออกหมายจับในเมื่อในความเข้าใจของพยานผู้ต้องหาอยู่ในความควบคุมของศาลอาญาอยู่แล้ว พยานตอบว่า เนื่องจากการสอบปากคำเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 ผู้ต้องหาไม่ยินยอมลงลายมือชื่อและโต้แย้ง ไม่ยอมรับการสอบสวนนั้น พยานจึงขอออกหมายจับ เพื่อเอาตัวผู้ต้องหามาสอบสวน หากในวันนั้นปิยรัฐไม่โต้แย้ง พยานก็คงไม่ขอออกหมายจับ เพราะการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ทนายผู้ต้องหาถามว่า การที่ผู้ต้องหาไม่ยอมลงลายมือชื่อทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร พยานตอบว่า ไม่ใช่ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นเพราะผู้ต้องหาโต้แย้ง ซึ่งเท่ากับว่า ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใด ๆ เลย อย่างไรก็ตาม พยานยอมรับว่า ในวันดังกล่าวพยานได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวแล้ว และก่อนหน้าการขอออกหมายจับ พยานยังไม่เคยได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาเลย
หลังทนายผู้ต้องหาหมดคำถาม ได้ขอให้ปิยรัฐเบิกความ ศาลบอกว่า การไต่สวนนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลและพนักงานสอบสวนเท่านั้น
ศาลสอบถามโตโต้ว่า คดีนี้อยู่ในระหว่างสอบสวน ผู้ต้องหามีสิทธิโดยชอบให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบพยานบุคคล และเรียกพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้ โตโต้แถลงว่าขณะนี้ยังไม่มี และเนื่องจากถูกควบคุมตัว ทำให้ไม่สามารถออกไปแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้
15.00 น. ศาลอ่านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังโตโต้อีก 1 ผัด เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่ 15 - 26 เม.ย. 2564 ระบุเหตุผลว่า “เมื่อพนักงานสอบสวนเบิกความยืนยันว่า จําเป็นต้องสอบพยานอีก 4 ปาก ซึ่งล้วนเป็นพยานปากสําคัญ คาดว่าสอบปากคําพยานดังกล่าวแล้วเสร็จไม่เกิน 1 เดือน และอยู่ระหว่างขั้นตอนรอผลตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหาจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ต้องหาจากสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม น่าเชื่อว่าการสอบสวนคงแล้วเสร็จอีกไม่นาน
ประกอบกับผู้ต้องหาแต่งตั้งทนายความปรึกษาคดี อันเป็นสิทธิพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว ผู้ต้องหาชอบที่จะขอให้พนักงานสอบสวนสอบปากคําพยานฝ่ายผู้ต้องหาเพื่อใช้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน เมื่อผู้ต้องหาถูกกล่าวหาอีกหลายคดี หากไม่อยู่ในความควบคุมเกรงว่าเป็นการยากที่จะติดตามมาสอบสวนเพิ่มเติม และอาจทําให้คดีอาจล่าช้า
ดังนั้น การควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อสอบสวนคดีนี้จะทําให้พนักงานสอบสวนสรุปสํานวนมีความเห็นและเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องหาพิสูจน์ความบริสุทธิ์อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าว กรณีจึงมีเหตุจําเป็นที่ต้องควบคุมผู้ต้องหาเพื่อทําการสอบสวนต่อไป กําชับพนักงานสอบสวนให้รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสํานวนการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว”
ก่อนจบกระบวนพิจารณาในวันนี้ ศาลได้เสนอโตโต้ว่า หากให้ศาลออกหมายขังในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1130/2563 ของศาลนี้ (คดีวิ่งไล่ลุงกาฬสินธุ์) ด้วย จะเท่ากับโตโต้ถูกขังทีเดียวใน 2 คดี พร้อมกัน ถ้าคดีนั้นตัดสินลงโทษก็หักวันขังหรือหักค่าปรับวันละ 500 บาท โดยให้โตโต้นำไปคิดดูแล้วมาแถลงต่อศาลในนัดหน้า
หลังศาลให้ฝากขังอีก 12 วัน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันโตโต้เป็นครั้งที่ 2 โดยเสนอหลักประกันเป็นเงินสด 300,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญเพิ่มเติมจากครั้งก่อนว่า
1. ที่พนักงานสอบสวนเคยเบิกความคัดค้านการประกันตัวว่า “เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งมีอัตราโทษสูง ผู้ต้องหาเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอื่นหลายคดีนอกจากคดีนี้ เกรงว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประการอื่นและเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี" นั้นเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์ของผู้ต้องหาในคดีอื่น ซึ่งศาลอาญาก็อนุญาตให้ประกันตัวจากคดีดังกล่าว เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ก่อความรุนแรงหรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น อีกทั้งคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้กล่าวในส่วนหนึ่งของคำสั่งไม่ให้ประกัน เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2564 ว่า "ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี" ย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีอย่างที่พนักงานสอบสวนกล่าวอ้างแต่อย่างใด
2. ผู้ต้องหาเพิ่งเคยถูกดำเนินคดีข้อหาในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก สำหรับคดีอื่น ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนั้น ก็เป็นแต่เพียงการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น และการถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีอื่น ๆ ก็เป็นเพียงการกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่มีคดีใดที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดี และยังไม่มีคดีใดที่ศาลพิพากษาลงโทษ จึงต้องถือว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ หากยึดถือเพียงข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นเหตุผลประกอบว่าผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีในคดีอื่นลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาหลายคดี และมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวนั้น จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคลต่าง ๆ แล้วนำตัวมาฝากขังอ้างเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน โดยไม่มีกลไกการถ่วงดุลตรวจสอบตามหลักนิติรัฐ
อย่างไรก็ตาม เวลา 17.00 น. ศาลมีคำสั่งแจ้งทนายและนายประกันเป็นเอกสาร และจะต้องแจ้งให้โตโต้ทราบที่เรือนจำในภายหลัง คำสั่งดังกล่าว ไม่อนุญาตให้ประกันเช่นเดิม ระบุเหตุผลว่า
“พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ไม่ปรากฏว่า ผู้มีพฤติการณ์หลบหนี แต่ศาลเคยให้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยให้ผู้ต้องหาสาบานตนต่อศาลว่า ผู้ต้องหาจะประพฤติตนเป็นคนดี ไม่ทำผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ก่อเหตุอันตรายประการอื่นไว้ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1130/2563 ของศาลนี้ เมื่อพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบเหตุปัจจัยอื่นๆ ความประพฤติที่ผิดคำสาบานต่อศาลแล้ว หากปล่อยชั่วคราวน่าเชื่อว่า ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก และจะเป็นอุปสรรค หรือก่อความเสียหายต่อการสอบสวนและการดำเนินคดีในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (3) (5) ที่นัดสืบพยานโจทก์จำเลยในวันที่ 28 เม.ย. 64 กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”
ทำให้โตโต้ยังถูกขังที่เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ในระหว่างการสอบสวนต่อไป หลังถูกขังมาแล้ว 7 วัน ในคดีนี้ และอีก 26 วัน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีอั้งยี่
++คดีวิ่งไล่ลุงกาฬสินธุ์: ศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน กฎหมายกำหนดเพียงให้สาบานว่าจะมาตามนัด++
ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1130/2563 หรือคดีวิ่งไล่ลุง จ.กาฬสินธุ์ ที่กล่าวถึงในคำสั่งไม่ให้ประกันของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น โตโต้ถูกฟ้องในฐานความผิด เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10 จากกรณีที่มีการจัดกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” จ.กาฬสินธุ์ ในวันที่ 12 ม.ค. 2563 ซึ่งโตโต้ยืนยันให้การปฏิเสธ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมกีฬา จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ
โดยหลังอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโตโต้ต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2563 ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ระบุเหตุผลว่า ข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อันเป็นความผิดลหุโทษที่มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งศาลสามารถใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยไม่มีหลักประกัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ได้ ในวันดังกล่าวศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการสาบานตนในการที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยไม่มีหลักประกัน โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 111 บัญญัติไว้เพียงว่า “เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียก” เท่านั้น และพบว่า ในคดีดังกล่าวหลังได้รับการประกันตัวโดยไม่มีหลักประกัน โตโต้ได้เดินทางมาศาลตามนัดหมายทุกครั้ง
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 2, คำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 2 และคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 3 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28268) -
วันที่: 21-04-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันเวลา 09.30 น. ที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 คัดค้านคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 ที่ไม่ให้ประกัน “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ
หลังยื่นคำร้อง เจ้าหน้าที่นัดให้ทนายความมาฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในเวลา 13.00 น. กระทั่งเวลา 16.30 น. ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงได้อ่านคำสั่งผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ระบุ “คดีนี้ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวแล้ว พฤติการณ์ตามคำร้องไม่มีเหตุสมควรให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง”
ทำให้ขณะนี้โตโต้ถูกขังระหว่างสอบสวนอยู่ที่เรือนจำกาฬสินธุ์มา 19 วันแล้ว และจะยังคงถูกคุมขังต่อไป ก่อนหน้านี้ทนายความได้คัดค้านการฝากขัง 2 ครั้ง ยื่นประกัน 2 ครั้ง รวมทั้งยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน 1 ครั้ง แต่ศาลยังไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
คำร้องอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ระบุเหตุผลที่แตกต่างไปจากเดิมดังนี้
1. ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาว่าผู้ต้องหาเคยสาบานว่าจะปฏิบัติตัวเป็นคนดีไม่ทำผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ก่ออันตรายประการอื่นอีกนั้น ผู้ร้องขอชี้เจงว่า ภายหลังที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ปิยรัฐได้ช่วยเหลือสังคม โดยร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดซึ่งมีการจ้างพนักงาน 2-3 คน แต่ได้รับผลกระทบหลังจากตนถูกขังและต้องหยุดกิจการลง, เป็นตัวกลางจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรฟาร์มกุ้งซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด
อีกทั้งมีการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุกหัวใจ ยาสามัญประจำบ้านฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในระหว่างชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง รวมทั้งในคดีนี้ที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบงบประมาณวัคซีน เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ
การที่ศาลชั้นต้นนำเรื่องการสาบานตัวในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีหมายเลขดำที่ อ.1130/2564 (คดีวิ่งไล่ลุงกาฬสินธุ์) มาพิจารณาไม่ปล่อยตัวชั่วคราวไม่ชอบด้วยกฎหมายและหลักการ เพราะในคดีดังกล่าวมีโทษปรับเท่านั้น ไม่ใช่คดีร้ายแรง และผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ร้ายแรง คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นก็ไม่ได้มีคำสั่งว่าผู้ต้องหาผิดสัญญาประกัน หากศาลเห็นว่าผู้ต้องหาผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในคดีนั้น หาใช่เหตุในการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้
2. ผู้ร้องไม่เห็นพ้องกับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า “มีเหตุรับฝากขังตัวผู้ต้องหาต่อไป” เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2564 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งว่าการสอบสวนผู้ต้องหาเป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว และผู้ต้องหาก็ไม่ปรากฏว่าจะมีพฤติการณ์หลบหนี แต่ผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะก่อเหตุร้ายขึ้นอีก ซึ่งผู้ร้องขอชี้แจงว่า พฤติการณ์แห่งคดีนี้มีที่มาจากเรื่องของการตรวจสอบวัคซีนป้องกันโควิด ซึ่งเพียงแต่เป็นการแสดงออกตามสิทธิทางการเมืองอันประชาชนพึงมีตามรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ร้ายแรง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุต้องขังผู้ต้องหาไว้
3. ผู้ต้องหาไม่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาชญากรรมใดๆ และไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อน จึงไม่มีพฤติการณ์จะไปก่อเหตุอันตรายอย่างอื่นอย่างแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นนำเหตุการณ์อนาคตมาคาดการณ์จึงไม่ชอบด้วยหลักเหตุผล อีกทั้งที่ผ่านมาผู้ต้องหาไม่เป็นอุปสรรคต่อสอบสอบสวนแต่อย่างใด หากมีความจำเป็นที่จะสอบสวนเพิ่มเติม ตามกฎหมายก็ได้กำหนดให้มีการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามาสอบสวนอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างการสอบสวน
4. การขังผู้ต้องหาไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องหาเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ตามหลักการที่ต้องสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 29 วรรคสอง อีกทั้งมาตรา 29 วรรคสาม ยังบัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” ผู้ร้องจึงขอศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา โดยยึดหลักตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดนี้ด้วย
5. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราวย่อมไม่สอดคล้องกับนโยบายของประธานศาลฎีกาที่ว่า “ตราบใดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดมีความผิด ต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่” เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายดังกล่าวที่ประธานศาลฎีกาได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ต่อภาคประชาชน
รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของคณะอนุกรรมการศึกษา ติดตามและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการคดีภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ฉบับที่ 6 เดือนเมษายน 2564 ข้อ 2.10 ที่ระบุว่า ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกาที่ว่า “การสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกศาล ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2562 และเพื่อมิให้เป็นการเพิ่มความแออัดในเรือนจำอันอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ศาลอาจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของจำเลยหรือเงื่อนไขอื่นใด…” จึงขอศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องหาด้วย
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่งศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 21 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28576)
-
วันที่: 26-04-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 3พนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด เข้ายื่นคำร้องขอฝากขังปิยรัฐระหว่างสอบสวนเป็นครั้งที่ 3 เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. - 8 พ.ค. 2564 ทนายความผู้ต้องหาก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 3 และขอให้เรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวนถึงเหตุจำเป็น
เวลา 10.00 น. ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน โดยปิยรัฐเข้าร่วมกระบวนการผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไปที่เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และได้เริ่มไต่สวนในเวลาประมาณ 11.00 น.
บุณยกาญจน์ อินทรบุตร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นเป็นผู้ไต่สวน ได้สอบถาม พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม พนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด ในฐานะคณะพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า ผ่านไป 12 วัน มีความคืบหน้าในการสอบสวนอย่างไรบ้าง พนักงานสอบสวนตอบว่า สอบพยานเพิ่มได้ 2 ปาก ยังคงเหลือพยานอีก 2 ปาก คือ นักกฎหมายและผู้ชํานาญการด้านภาษาไทยที่จะให้ความเห็นทางกฎหมายต่อข้อความในแผ่นป้ายทั้ง 7 แผ่น เนื่องจากคดีนี้มีประเด็นเรื่องการตีความความหมายของข้อความ ซึ่งยังไม่ได้มีหมายเรียกพยาน แต่ได้ประสานด้วยวาจาไว้แล้ว ไม่แน่ใจว่าจะสอบเสร็จภายใน 1 เดือนตามที่เคยแถลงไว้หรือไม่ แต่จะพยายาม
พ.ต.ท.ไพศาล ตอบศาลอีกว่า ในส่วนการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และการใช้อินเตอร์เน็ท เว็บเพจ และทวิตเตอร์ของผู้ต้องหา ยังคงรอผลอยู่ พยานหลักฐานอื่นที่กำลังรวบรวมเพิ่มเติมคือ รอผลการตรวจสอบกับ ปอท.ว่า มีการดำเนินคดีปิยรัฐจากการโพสต์ทางโซเชียลคดีอื่นอีกหรือไม่
จากนั้น ทนายความของผู้ต้องหา ได้ถามค้านพนักงานสอบสวนในประเด็นที่เคยแถลงต่อศาลว่า หากปล่อยตัวเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นในทำนองเดียวกันอีก ว่า ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาในคดีนี้ ปิยรัฐถูกดำเนินคดีในคดีอื่นหรือไม่ พ.ต.ท.ไพศาล ตอบว่า ทราบว่ามีคดีที่ สน.พหลโยธิน ศาลแย้งว่า ได้ถามค้านไว้ตั้งแต่การฝากขังผู้ต้องหาครั้งแรกแล้ว แต่ทนายความขอให้ศาลจด และถามต่ออีกว่า หากปิยรัฐไปกระทำความผิดอื่น ตำรวจก็สามารถดำเนินคดีเป็นคดีใหม่ได้ใช่หรือไม่ พนักงานสอบสวนรับว่า ใช่
ทนายความผู้ต้องหาหมดคำถามค้านพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม คำร้องคัดค้านการฝากขังที่ได้ยื่นในครั้งนี้มีใจความว่า คดีนี้ไม่มีเหตุหรือความจำเป็นที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาไว้เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้ทำการสืบสวนสอบสวนมาเป็นเวลา 3 เดือน น่าจะเพียงพอแล้ว ในส่วนที่พนักงานสอบสวนอ้างว่ายังสอบสวนไม่เสร็จ ก็เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา และผู้ต้องหาไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนดังกล่าวได้
อีกทั้งที่พนักงานสอบสวนอ้างว่า ปิยรัฐถูกกล่าวหาอีกหลายคดี หากไม่อยู่ในความควบคุมเกรงว่าเป็นการยากที่จะนำตัวมาสอบสวนเพิ่มเติมและอาจทำให้คดีล่าช้า ปิยรัฐก็ไม่เคยหลบหนีกระบวนการทางกฎหมายใดๆ มาก่อน ไปตามหมายเรียกหรือนัดหมายทุกครั้ง
คำร้องคัดค้านการฝากขังยังได้อ้างอิงถึงคำสั่งของศาลอาญาในคดีการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2563 ระหว่างพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม กับนายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ซึ่งศาลอาญาได้มีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน โดยระบุว่า "การจะขังบุคคลใดตามคำร้องขอฝากขังของผู้ร้องนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการยุติธรรม" และอ้างอิงคำสั่งของศาลจังหวัดอุบลราชธานี ในคดีตามมาตรา 116 จากการชุมนุมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 ระหว่างพนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุบลฯ กับปิยรัฐ จงเทพ ซึ่งศาลจังหวัดอุบลฯ ก็มีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังเช่นกัน ซึ่งคดีดังกล่าวมีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันกับคดีนี้
ศาลถาม พ.ต.ท.ไพศาล ผู้ร้องขอฝากขังปิยรัฐว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตฝากขังจะคัดค้านหรือไม่ พ.ต.ท.ไพศาล ตอบว่าไม่คัดค้าน ให้เป็นดุลพินิจของศาล แต่เกรงว่า หากปล่อยตัวผู้ต้องหาไป จะติดตามมาสอบสวนเพิ่มเติมยาก
ก่อนจบการไต่สวนในช่วงเช้า โดยศาลนัดฟังคำสั่งในเวลา 15.00 น. ศาลได้ถามโตโต้ว่า จะคัดค้านการไต่สวนผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ในวันนี้ ซึ่งเป็นไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดแก่ผู้ต้องขังและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ปิยรัฐแถลงว่า ในวันนี้สัญญาณไม่ขัดข้อง จึงยังไม่คัดค้าน แต่หากมีปัญหาเรื่องสัญญาณในครั้งใดก็จะขอคัดค้าน
ทั้งนี้ตลอดการพิจารณาคดีศาลได้แสดงความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด โดยเตือนให้ทนายความ พนักงานสอบสวน รวมทั้งผู้ร่วมฟังการพิจารณาคดี ใส่เฟซชิลด์มาศาลในครั้งหน้า ทั้งยังกล่าวว่า ไม่ควรมีเพื่อนมาร่วมฟังมาการพิจารณาคดีหลายคน อาจจะเกิดการแพร่เชื้อ และได้รับโอกาสเกินกว่าคดีอื่น
ต่อมาในช่วงเย็น ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ฝากขังอีก 12 วัน ตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอ ระบุเหตุผลในคำสั่งว่า “พิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคําคัดค้านการฝากขังแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏจากพยานหลักฐานที่ศาลเคยไต่สวนในชั้นขอฝากขังในสํานวนแล้วว่า กรณีมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทําความผิดอาญาร้ายแรง และมีเหตุจําเป็นที่ผู้ร้องต้องสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไป ทั้งผู้ร้องแสดงให้เห็นว่าการสอบสวนคืบหน้าไปมากพอสมควร เหลือเพียง 2 ปาก และผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรตามที่เคยแถลงในคราวก่อนใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน
น่าเชื่อว่าการสอบสวนคงแล้วเสร็จอีกไม่นาน ประกอบกับผู้ต้องหาแต่งทนายความแล้วซึ่งในชั้นสอบสวนผู้ต้องหามีสิทธิขอให้พนักงานสอบสวนสอบปากคําพยานฝ่ายตนเพื่อให้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ กรณีจึงมีความจําเป็นที่ต้องควบคุมผู้ต้องหาเพื่อทําการสอบสวนต่อไป อนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด 12 วัน ตามขอ กําชับพนักงานสอบสวนให้รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสํานวนการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว”
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ทนายความยังไม่ได้คำร้องขอประกันตัวอีกครั้ง หลังยื่นไปแล้ว 2 ครั้ง และอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 อีก 2 ครั้ง แต่ศาลทั้งสองยังคงไม่ให้ประกัน โดยจากการปรึกษาหารือกับโตโต้ ทนายความจะยื่นคำร้องขอประกันตัวครั้งที่ 3 ภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ในระหว่างก่อนและหลังการออกพิจารณาคดีของศาล ได้เปิดโอกาสให้ทนายความและเพื่อนของโตโต้ได้พูดคุย ทั้งปรึกษาหารือทางคดี และสอบถามสารทุกข์ โดยในช่วงบ่าย เพื่อนสังเกตเห็นว่า โตโต้มีอาการไอ จึงได้ถามว่า มีอาการอื่น ๆ ด้วยมั้ย โตโต้บอกว่า เป็นไข้และมีเสลดบ้างเล็กน้อย วัดไข้ได้ 38 องศา ทำให้เพื่อนๆ เริ่มเป็นกังวล เมื่อสอบถามว่า ได้ทานยาหรือยัง โตโต้แจ้งว่า ยัง ทางเรือนจำน่าจะจ่ายยาในช่วงเย็น
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำต่างๆ โดยธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2564 ว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสิ้น 10 ราย แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ 1 ราย และผู้ต้องขัง 9 ราย และวันที่ 26 เม.ย. 2564 แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อในเรือนจำกลางเชียงใหม่รวมทั้งสิ้น 146 ราย เป็นเจ้าหน้าที่ 2 ราย และผู้ต้องขัง 144 ราย ซึ่งเป็นที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3, คำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 26 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28843)
-
วันที่: 30-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3เวลา 14.00 น. ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวปิยรัฐอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสด 300,000 บาท และมีมารดาเป็นนายประกัน และขอให้ศาลไต่สวนคำร้องประกอบการใช้ดุลพินิจ โดยถึงวันนี้โตโต้ถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้เป็นวันที่ 28 แล้ว
ต่อมา ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอประกันผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ในวันจันทร์ที่ 3 พ.ค. 2564 เวลา 9.30 น. เพื่อประกอบดุลพินิจว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวที่ยื่นต่อศาลครั้งนี้ระบุว่า มีเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหลายประการที่มีเหตุผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้ดังนี้
1. หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะมาตามนัดหมายของศาลโดยเคร่งครัด และโดยภายใต้กรอบของกฎหมายผู้ต้องหาจะไม่ทำกิจกรรมเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และหากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ผู้ต้องหายินดีปฏิบัติตาม
2. การอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาจะเป็นประโยชน์ต่อเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวคือจะลดความแออัดของจำนวนนักโทษ ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ทั้งยังสอดคล้องกับแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ฉบับที่ 6
นอกจากนี้ โดยเป็นที่ปรากฏว่าในขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและเรือนจำจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากสภาพความแออัดในเรือนจำ แม้ในเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์จะยังไม่มีผู้ติดเชื้อ แต่ก็มีสภาพความแออัดไม่แตกต่างกัน ผู้ต้องขังหลายคนมีโรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค เป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากได้รับเชื้อก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะช่วยทำให้ลดความแอดอัดในสถานที่ดังกล่าว ทำให้การบริหารจัดการเรื่องสถานการณ์โควิดได้ดีขึ้น
3. ผู้ต้องหาได้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ของเรือนจำเป็นอย่างดี ไม่เคยทำผิดวินัยและเชื่อฟังให้ความร่วมมือในการควบคุมตัวมาโดยตลอด
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 30 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29228) -
วันที่: 03-05-2021นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันการไต่สวนคำร้องขอประกันครั้งนี้สืบเนื่องจากทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวปิยรัฐอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสด 300,000 บาท และมีมารดาเป็นนายประกัน และขอให้ศาลไต่สวนคำร้องประกอบการใช้ดุลพินิจ หลังเคยยื่นขอประกันมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต จึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 รวม 2 ครั้ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้ประกันเช่นกัน ทำให้ปิยรัฐถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้จนถึงวันที่ไต่สวนคำร้องเป็นวันที่ 31 แล้ว
ในการไต่สวนคำร้องซึ่งปิยรัฐเข้าร่วมกระบวนการผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเรือนจำเช่นเคย ฝ่ายผู้ร้องคือ แม่ของปิยรัฐ ซึ่งเป็นนายประกัน นำพยานเข้าเบิกความรวม 4 ปาก ได้แก่ ปิยรัฐ, แม่, อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และหัวหน้างานควบคุมผู้ต้องขังชาย เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ขณะที่พนักงานสอบสวนเข้าเบิกความคัดค้าน 1 ปาก หลังเสร็จการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 5 พ.ค. 2564 เวลา 13.30 น.
การไต่สวนคำร้องขอประกันเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 10.40 น. โตโต้ ปิยรัฐ เบิกความตอบทนายผู้ต้องหาเป็นปากแรก ความว่า จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ หลังเรียนจบในช่วงปี 2557-2562 ทำงานเป็นนายช่างฝ่ายออกแบบของการไฟฟ้านครหลวง จากนั้นลาออกมาลงสมัครเป็นผู้แทนฯ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลได้ปฏิบัติตามระเบียบของพรรคมาโดยตลอด ปรากฏตามหนังสือรับรองของพรรคก้าวไกลที่ได้อ้างส่งต่อศาล
ในคดีนี้พยานยืนยันตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวลงวันที่ 30 เม.ย. 2564 ซึ่งในคำร้องนี้มีสิ่งที่เพิ่มเติมจากครั้งก่อน คือ พยานสัญญาว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขว่า ตลอดเวลาพิจารณาคดีในคดีนี้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจที่พยานมีต่อประเทศชาติ ประชาชน และสถาบันหลักของชาติ พยานจะของดเว้นกิจกรรมหรือการกระทำไม่ว่าวิถีทางใด ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามกรอบของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
ในคดีอื่นที่พยานได้รับการประกันตัวทั้งในศาลอาญาและศาลอื่น พยานไม่เคยปฏิบัติผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาลใด โดยพยานไม่เคยถูกถอนประกันเลย และในคดีนี้พยานยืนยันว่าจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลอย่างเคร่งครัดเช่นกัน
ที่พนักงานสอบสวนอ้างว่าพยานมีคดีอื่นอีกหลายคดี คดีเหล่านั้นพยานก็ไปตามหมายเรียกหรือกำหนดนัดทุกครั้ง และในคดีนี้ หากพยานได้ประกันตัว เมื่อพนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนหรืออัยการจะยื่นฟ้องต่อศาล พยานยินดีจะมาตามศาลกำหนดนัดทุกครั้ง
โตโต้ยังแถลงเพิ่มเติมต่อศาลว่า พยานยังอยู่ในชั้นที่จะมีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และสามารถพิสูจน์ว่าอาจจะไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งต้องพิจารณาในชั้นศาลต่อไป
ที่พนักงานสอบสวนเบิกความต่อศาลเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 ว่าจะสอบสวนให้แล้วเสร็จใน 30 วัน พยานคาดว่า พนักงานสอบสวนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามที่ได้รับปากกับศาลไว้
พยานปากที่ 2 ที่เข้าเบิกความคือ อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ระบุว่า พยานเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลสัดส่วนภาคอีสาน ตลอดเวลาที่ปิยรัฐเป็นสมาชิกพรรคไม่เคยทำผิดกฎระเบียบของพรรค
อภิชาติยังเบิกความรับรองว่า ในฐานะกรรมการบริหารพรรคซึ่งมีหน้าที่ดูแลสมาชิกพรรค หากปิยรัฐได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พยานจะดูแล กำกับ ให้ปิยรัฐปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของศาลทุกประการ
ต่อมา แม่ของปิยรัฐเข้าเบิกความเป็นปากที่ 3 โดยตอบคำถามทนายความเกี่ยวกับปิยรัฐว่า ปกติเป็นคนที่มีความประพฤติเรียบร้อย สมัยเด็กชอบทำกิจกรรมในโรงเรียน ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มีผลการเรียนดี ได้รับทุนการศึกษาบ่อยครั้ง เนื่องจากเรียนดีและความประพฤติเรียบร้อย แต่ในด้านสุขภาพ โตโต้เป็นคนที่มีภูมิต้านทานน้อย ไม่ค่อยแข็งแรง มีประวัติเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ เนื่องจากเป็นภูมิแพ้อากาศ
ปิยรัฐเป็นบุตรคนโต เมื่อเรียนจบก็ทำงาน นำรายได้มาจุนเจือครอบครัว ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากโควิด และจากการที่ปิยรัฐถูกขัง ไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวตกอยู่ที่แม่เพียงคนเดียว เนื่องจากพ่อไม่มีรายได้ และน้องชายตกงาน
ก่อนถูกดำเนินคดีนี้ ปิยรัฐค้าขายของเบ็ดเตล็ดอยู่ที่บางเสาธง สมุทรปราการ มีสัญญาเช่าอาคารตามที่อ้างส่งศาล เมื่อปิยรัฐถูกจับกุมและไม่ได้ประกันจึงต้องปิดร้านไป เพราะไม่มีคนดูแล
แม่เบิกความต่อศาลว่า หากปิยรัฐได้รับการประกันตัว จะดูแลให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลกำหนดโดยเคร่งครัด
พยานอีกปากของฝ่ายผู้ร้องคือ ศิริ วิชาเถิน หัวหน้างานควบคุมผู้ต้องขังชาย เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เบิกความรับรองว่า ตั้งแต่ปิยรัฐถูกฝากขังเข้ามาในเรือนจำเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2564 ไม่เคยละเมิดกฎระเบียบในเรือนจำ หากทางเรือนจำให้ช่วยงานก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
เจ้าหน้าที่เรือนจำยังเบิกความว่า ปัจจุบันเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์มีผู้ต้องขังกว่า 3,200 คน แต่ละวันมีผู้ต้องขังเข้าใหม่ราว 10-20 คน อย่างไรก็ตาม หัวหน้างานควบคุมผู้ต้องขังยืนยันว่า ทางเรือนจำมีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด มีการคัดกรองและแยกกักโรคผู้ต้องขังใหม่ 16 วัน รวมทั้งมีการตรวจวัดไข้ และมีแพทย์หลายคนที่จะให้รักษาพยาบาลผู้ต้องขังที่ป่วย
เมื่อหมดพยานฝ่ายผู้ร้องแล้ว พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม สารวัตร (สอบสวน) สภ.ยางตลาด ในฐานะพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนคดีนี้ได้เข้าเบิกความคัดค้านการให้ประกัน ระบุเหตุผลเช่นเดิมว่า เนื่องจากเป็นคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไปเกรงว่าผู้ต้องหาอาจหลบหนี หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่น
อีกทั้งเนื่องจากปิยรัฐเป็นแกนนำการ์ดวีโว่ ซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวก่อความไม่สงบในบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ปัจจุบันมีโรคระบาด สังคมไม่ต้องการให้มีการชุมนุม เพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด หากผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวจะไปชุมนุม อาจเป็นเหตุให้มีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้น และก่อเหตุประการอื่น
นอกจากคดีนี้แล้วที่พยานทราบว่าปิยรัฐยังมีคดีอื่นๆ ได้แก่ คดีวิ่งไล่ลุงของศาลนี้, คดีของ สน.นางเลิ้ง, สน.พญาไท, สน.ชนะสงคราม และ สน.พหลโยธิน ในความผิดที่เกี่ยวกับการชุมนุม พยานเกรงว่าหากปล่อยตัวผู้ต้องหาไป อาจนำตัวมาดำเนินคดีได้โดยยาก เนื่องจากมีหลายคดี ทำให้ผู้ต้องหาอาจจะหลบหนีได้
จากนั้น พ.ต.ท.ไพศาล ได้ตอบคำถามค้านของทนายผู้ต้องหาว่า คดีนี้พยานไม่ได้มีการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามาให้การก่อนที่จะขอออกหมายจับ ปัจจุบันการสอบสวนยังเหลือพยานอีก 1 ปาก และรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร ซึ่งหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวก็ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับการสอบสวนหรือพยานหลักฐานได้
พนักงานสอบสวนยังรับว่า คดีนี้มีการสอบสวนก่อนการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งขณะนั้นปิยรัฐยังไม่ถูกควบคุมตัว ก็ไม่ได้ปรากฏว่าปิยรัฐไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานแต่อย่างใด
ส่วนในคดีต่างๆ ที่พยานอ้างถึงว่า ปิยรัฐถูกดำเนินคดีอีกหลายคดี พยานก็ไม่ได้ตรวจสอบ จึงไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า คดีเหล่านั้นมีการส่งฟ้องหรือยัง ซึ่งตามข้อมูลที่พยานมี คดีเหล่านั้นยังไม่มีคำพิพากษาลงโทษปิยรัฐเลยซักคดี
พ.ต.ท.ไพศาล ตอบทนายผู้ต้องหาว่า ที่พยานอ้างคดีของศาลนี้ ก็น่าจะเป็นคดีตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่มีเพียงอัตราโทษปรับเท่านั้น (คดีวิ่งไล่ลุง) และเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนคดีนี้ อีกทั้งพยานไม่ทราบว่าคดีต่างๆ ทั้งหมด ที่ได้อ้างต่อศาลเพื่อคัดค้านการประกันตัวปิยรัฐนั้น ปิยรัฐไม่เคยผิดสัญญาประกันจนเป็นเหตุให้เพิกถอนสัญญาประกันเลย
ที่พยานเบิกความว่าผู้ต้องหาเป็นแกนนำการ์ดวีโว่ ก่อความวุ่นวายนั้น เมื่อได้ดูคำสั่งศาลอาญาที่ให้ประกันในคดีดังกล่าว เนื่องจากพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงโดยชัดเจนว่า ปิยรัฐกับพวกมีพฤติการณ์ร้ายแรง พ.ต.ท.ไพศาล ก็รับว่า น่าจะเป็นไปตามคำสั่งของศาลอาญาดังกล่าว
ส่วนที่เบิกความว่า หากปิยรัฐได้รับการปล่อยตัวจะไปจัดการชุมนุมนั้น พนักงานสอบสวนได้ยอมรับกับทนายผู้ต้องหาว่า ตั้งแต่ปิยรัฐถูกจับกุมและคุมขัง การชุมนุมก็ยังมีอยู่ตามปกติ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด
และที่พยานคัดค้านว่า หากปล่อยตัวผู้ต้องหา ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นนั้น เป็นเรื่องที่พยานเชื่อไปเองว่าจะเกิด อีกทั้งในคดีอื่นพยานก็ไม่ทราบว่าผู้ต้องหาได้ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือไม่
สุดท้าย พ.ต.ท.ไพศาล รับว่า คดีนี้หากปิยรัฐได้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้วไปถูกคุมขังในคดีอื่นอีก พนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนหรืออัยการจะส่งฟ้อง ก็สามารถส่งสำนวนหรือส่งฟ้องได้โดยไม่ต้องมีตัวของผู้ต้องหา หรือหากปิยรัฐได้ประกันแล้วไม่มาตามที่พนักงานสอบสวนเรียกให้มาส่งสำนวนหรือส่งฟ้อง พนักงานสอบสวนก็สามารถเพิกถอนสัญญาประกันได้ ดังนั้น การติดตามตัวผู้ต้องหาจึงทำได้โดยง่าย เพราะมีสัญญาประกันอยู่แล้ว
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานในการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 3 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29228)
-
วันที่: 05-05-2021นัด: ฟังคำสั่งเวลา 13.30 น. บุณยกาญจน์ อินทรบุตร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้น เป็นผู้อ่านคำสั่งระบุว่า
“ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 กำหนดหลักเกณฑ์ว่าการสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประกันอื่น (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยตัวชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนทั้งหมดในสำนวนแล้ว ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะหลบหนี ทั้งได้ความจากพนักงานสอบสวนว่า ได้สอบปากคำผู้ต้องหาและพยานต่างๆ จนเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือเพียงการสอบปากคำพยานบุคคล 1 ปาก คือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย และรอผลตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดที่เคยแถลงต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเป็นการตรวจสอบจากข้อมูลทะเบียน ถึงแม้ผู้ต้องหาจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงส่วนนี้ได้
และพนักงานสอบสวนยังเบิกความต่อไปว่า ระหว่างที่รวบรวมพยานหลักฐานจนถึงก่อนที่จะมาขอศาลนี้ออกหมายจับ ผู้ต้องหาไม่มีพฤติกรรมยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ประกอบกับพนักงานสอบสวนเบิกความตอบทนายผู้ต้องหาว่า หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วพยานเรียกให้มาสอบสวนเพิ่มเติม หรือไม่มาตามหมายเรียกก็เป็นเหตุให้เพิกถอนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้ และในกรณีของผู้ต้องหายังน่าจะอยู่ในกรณีที่จะสามารถติดตามตัวได้ง่าย
ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อถือว่า ผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน และการปล่อยชั่วคราวจะไม่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
สำหรับการจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะคัดค้านการปล่อยชั่วคราวด้วยเหตุดังกล่าว แต่ก็คงได้จากคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแต่เพียงว่าคดีนี้มีอัตราโทษสูง ผู้ต้องหาเป็นแกนนำกลุ่มการ์ดวีโว่ ซึ่งมีพฤติกรรมก่อความไม่สงบอยู่ในบ้านเมืองอยู่อย่างต่อเนื่อง หากปล่อยชั่วคราวแล้วผู้ต้องหาอาจจะฝ่าฝืนไปชุมนุม และอาจไปก่อเหตุกระทำความผิดอื่น แต่พนักงานสอบสวนก็ยังไม่สามารถแสดงเหตุผลให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายอื่นอย่างไรให้เห็นเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวนฉบับวันที่ 30 เมษายน 2564 ของผู้ต้องหาซึ่งอ้างเหตุผลใหม่ว่า หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวน ผู้ต้องหาจะไม่ทำกิจกรรมเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้หากศาลเห็นควรกำหนดเงื่อนไขใดให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ขอศาลได้โปรดกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย โดยผู้ต้องหายินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
นอกจากนี้ในชั้นไต่สวนผู้ต้องหาเบิกความยืนยันเองว่า ตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวฉบับวันที่ 30 เมษายน 2564 พยานขอยืนยันข้อเท็จจริงตามคำร้องทุกประการ และพยานขอยืนยันว่าจะดำรงตนเพื่อพิสูจน์ซึ่งความบริสุทธิ์ใจของพยานที่มีต่อประเทศชาติ ประชาชน และสถาบันหลักของชาติ โดยพยานจะของดเว้นจากการนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย กิจกรรมหรือวิธีการใดซึ่งจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นที่ถูกดำเนินคดีนี้ด้วย โดยพยานยืนยันที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลให้โดยเคร่งครัด และจะมารายงานตัวตามที่เจ้าพนักงานกำหนดนัดทุกครั้ง
ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา พยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า แม้คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวมาก่อน และผู้ร้องคัดค้านการปล่อยตัวก็ตาม แต่เมื่อทางไต่สวนในชั้นขอปล่อยชั่วคราวได้ข้อเท็จจริงข้างต้น ถือได้ว่าพฤติการณ์แห่งคดีได้เปลี่ยนแปลงไป
จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวระหว่างสอบสวน ตีราคาประกัน 200,000 บาท ร่วมกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามตัวโดยความยินยอมของผู้ต้องหา และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงกำหนดเงื่อนไขห้ามผู้ต้องหามีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ รวมทั้งห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามผู้ต้องหาเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นจะได้รับอนุญาตจากศาล ทั้งนี้หากปรากฏต่อมาว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวข้างต้น ศาลจะพิจารณาถอนประกันผู้ต้องหาทันที”
หลังมีคำสั่งให้ประกันตัว แม่ของโตโต้วางเงินประกันตามที่ศาลกำหนดแล้ว ศาลได้ออกหมายปล่อย โดยนัดให้โตโต้มารายงานตัวในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. ซึ่งเป็นการรายงานตัวหลังครบกำหนดฝากขัง จากนั้นญาติและเพื่อนที่มาให้กำลังใจโตโต้ ปิยรัฐ ที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปที่เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อรอรับตัวโตโต้ ที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในเวลาประมาณ 17.30 น.
รวมเวลาที่โตโต้ถูกฝากขังในคดีนี้ 33 วัน และถ้านับตั้งแต่วันถูกจับที่เมเจอร์รัชโยธินในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอั้งยี่ โตโต้ถูกคุมขังทั้งสิ้น 61 วัน ก่อนได้รับอิสรภาพในวันนี้
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลงวันที่ 5 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29302) -
วันที่: 25-06-2021นัด: ยื่นฟ้องครบกำหนดฝากขังปิยรัฐรวม 84 วัน กิตติกรณ์ บุญโล่ง พนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ยื่นฟ้องปิยรัฐต่อศาลในฐานความผิด "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเข้าข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 ศาลรับฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.959/2564
ท้ายคำฟ้องอัยการได้คัดค้านการปล่อยตัวจําเลยชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี อ้างเหตุผลว่า เนื่องจากเป็นคดีที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร และมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะหลบหนี
นอกจากโจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามกฎหมายแล้ว ยังขอให้นับโทษจําคุกของปิยรัฐในคดีนี้ต่อกับโทษจําคุกในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1130/2563 ของศาลนี้ (คดีวิ่งไล่ลุงกาฬสินธุ์) และคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.920/2564 ของศาลอาญา (คดีอั้งยี่-ซ่องโจร การ์ดวีโว่-ปชช. 45 ราย) รวมทั้งขอศาลสั่งริบของกลาง ได้แก่ แผ่นป้ายไวนิล 7 แผ่น และลวดมัดเหล็ก 2 เส้น
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31360)
-
วันที่: 28-06-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลเวลา 09.30 น. "โตโต้" ปิยรัฐ จงเทพ แกนนำมวลชนอาสา We Volunteer หรือวีโว่ เข้ารายงานตัวที่ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ตามนัดหมาย เจ้าหน้าที่ได้มอบสำเนาคำฟ้องของอัยการให้ ขณะที่ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวปิยรัฐไปควบคุมที่ห้องขังด้านหลังศาล เพื่อรอศาลอ่านฟ้องและพิจารณามีคำสั่งเรื่องการประกันตัว
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวปิยรัฐ นอกจากขอให้ศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราวในชั้นพิจารณาคดีต่อไป โดยใช้หลักประกันเดิมคือ เงินสด 200,000 บาทแล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งปลดอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ติดตามตัวหรือ EM ระบุเหตุผลว่า หลังได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนปิยรัฐไม่เคยมีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ซ้ำอีก โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกําหนดอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ศาลอาญาได้เคยให้ประกันผู้ต้องหาและจําเลยซึ่งถูกกล่าวหาในฐานความผิดเดียวกันนี้หลายราย โดยไม่ได้กําหนดให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยต้องติด EM เนื่องจากหลักประกันเป็นเงินจํานวนที่สูง ซึ่งน่าเชื่อถือ
ประกอบกับปิยรัฐมีโรคประจําตัวเป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งการติด EM ก่อความระคายเคืองต่อผิวหนัง ทําให้เกิดบาดแผลบริเวณข้อเท้า ได้รับความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างหนัก อีกทั้งปิยรัฐเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ปัจจุบันอยู่ระหว่างช่วงที่พรรคการเมืองต่าง ๆ กําลังเตรียมการเพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จําเป็นอย่างยิ่งต้องเดินทางไกลในหลายพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและเสนอนโยบายต่อประชาชน การที่จําเลยต้องติด EM ตลอดเวลาทําให้เกิดความยากลําบากเป็นอย่างมากในเรื่องของการชาร์จแบต
เวลาประมาณ 11.30 น. ศาลได้ออกพิจารณาคดีผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากห้องพิจารณามายังห้องขังด้านหลังศาล โดยได้อธิบายฐานความผิดที่อัยการฟ้องให้ปิยรัฐเข้าใจ โดยไม่ได้อ่านคำฟ้องทั้งหมด ก่อนถามคำให้การเบื้องต้น ปิยรัฐให้การปฏิเสธ ศาลนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 7 ก.ย. 2564 และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 ต.ค. 2564
จากนั้นศาลได้พิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณาคดี ก่อนมีคำสั่งอนุญาต ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ทั้งการใช้อุปกรณ์ EM เป็นภาระเกินสมควรแก่จำเลย จึงอนุญาตให้ปลด EM ได้ แต่เงื่อนไขอื่นในการปล่อยชั่วคราวให้คงเดิมและให้จำเลยปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
ทำให้ในเวลาประมาณ 12.00 น. ปิยรัฐได้รับการปล่อยตัวออกจากห้องขังของศาล และถอดอุปกรณ์ EM ด้วย
ในการนำมาตรา 112 มาใช้ดำเนินคดีต่อประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกอีกครั้ง หลังการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในห้วงครึ่งปีหลังของปี 2563 เป็นต้นมา คดีของปิยรัฐนับเป็นคดีที่ 21 ที่ฟ้องขึ้นสู่ศาล โดยยังมีอีกถึง 77 คดีที่ยังอยู่ในการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ
(อ้างอิง: คำฟ้องและคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31360) -
วันที่: 07-09-2021นัด: คุ้มครองสิทธิศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังโดยละเอียด ปิยรัฐแถลงขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกประการ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาอีก 3 คดีของศาลอาญา และอีก 1 คดีของศาลนี้ ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จากนั้นศาลนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 11 ต.ค. 2564 เวลา 09.00 น. ตามที่นัดไว้
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2564)
-
วันที่: 11-10-2021นัด: ตรวจพยานหลักฐานทนายจำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยและทนายจำเลยติดนัดคดีอื่นของศาลอื่นที่ได้นัดไว้แล้ว ศาลอนุญาตเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 29 พ.ย. 2564 เวลา 13.00 น.
-
วันที่: 29-11-2021นัด: ตรวจพยานหลักฐานนัดตรวจพยานหลักฐานของศาล พนักงานอัยการแถลงจะสืบพยานบุคคลรวม 21 ปาก ใช้เวลา 5 นัด ส่วนทนายจำเลยแถลงจะสืบพยานจำเลย 8 ปาก ใช้เวลา 2 นัด เนื่องจากทั้งตัวทนายและปิยรัฐมีนัดพิจารณาคดีในชั้นสืบพยานคดีแสดงออกทางการเมืองเกือบตลอดทั้งปี 2565 จึงได้วันนัดสืบพยานที่ไม่ต่อเนื่อง คือสืบพยานโจทก์ในวันที่ 12 ก.ค., 19, 26 ส.ค., 25-26 ต.ค. 2565 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 27 ต.ค. และ 13 ธ.ค. 2565
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 29 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38499) -
วันที่: 12-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากปิยรัฐติดโควิด ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ ศาลอนุญาตเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 ส.ค. 2565
-
วันที่: 19-08-2022นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยาน 21 ปาก เข้าเบิกความต่อศาล ซึ่งประกอบด้วย ประชาชนที่เห็นป้ายข้อความและที่อยู่ใกล้เคียงจุดติดตั้งป้าย, ตำรวจฝ่ายสืบสวนและปราบปราม สภ.ยางตลาด, พนักงานสอบสวน, ตำรวจ ปอท., สันติบาล, กอ.รมน., ปลัดอำเภอ, อาจารย์ภาษาไทย, อดีตข้าราชการประจำหอสมุดแห่งชาติ, ทนายความ รวมถึงแม่ของปิยรัฐ โดยสรุปประเด็นได้ว่า จากการสืบสวนตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้ติดตั้งป้ายข้อความที่เกาะกลางถนน แต่รถที่บรรทุกป้ายมาติดตั้งลักษณะเหมือนรถที่ปิยรัฐใช้ ทั้งพบว่าเพจเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่โพสต์ภาพป้าย มีความเชื่อมโยงกับปิยรัฐ จึงเชื่อว่าปิยรัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง
สำหรับความเห็นต่อข้อความบนป้ายนั้น พยานโจทก์มีความเห็นแตกต่างกัน ในส่วนประชาชนเห็นว่า เป็นเพียงข้อความไม่เหมาะสม ขณะพยานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีลักษณะหมิ่นประมาทกษัตริย์
โจทก์ยังได้นำพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ซึ่งสอบสวนในคดี 112 กรณีธนาธรไลฟ์สด “วัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย?” มาเบิกความเป็นพยานในคดีนี้ด้วย โดยพยานระบุว่า ข้อความในป้ายมาจากไลฟ์สดของธนาธร แต่ไม่ทราบว่าคนนำป้ายมาติดเกี่ยวข้องกับธนาธรอย่างไร
ฝ่ายจำเลยซึ่งมีข้อต่อสู้ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้อง โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำ ติดตั้ง และโพสต์ภาพป้าย อีกทั้งข้อความในป้ายไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 แต่ไม่สามารถนำพยานเข้าเบิกความได้ อย่างไรก็ตาม ทนายจำเลยได้ถามค้านพยานโจทก์ตามประเด็นดังกล่าวไว้ โดยพยานโจทก์รับว่า ไม่ได้ยึดรถที่อ้างว่าใช้ในวันเกิดเหตุไปตรวจสอบ ทั้งไม่ได้ตรวจสอบว่า มีรถลักษณะเดียวกันคันอื่นอีกหรือไม่ และรถคันดังกล่าวโดยปกติก็มีคนอื่นนำไปใช้ ไม่ใช่จำเลยเพียงคนเดียว
นอกจากนี้ พยานโจทก์ยังรับว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่โพสต์ภาพป้าย และใครเป็นผู้โพสต์ เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ อีกทั้งบัญชีดังกล่าวมีการโพสต์ขณะปิยรัฐถูกคุมขัง
เกี่ยวกับข้อความบนป้าย พยานก็ไม่รู้ข้อเท็จจริงเรื่องการจัดหาวัคซีน ไม่ทราบว่ามีการผูกขาดวัคซีนหรือไม่ หรือข้อความดังกล่าวเป็นการวิจารณ์รัฐบาลหรือไม่ อีกทั้งในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนได้พิมพ์คำให้การที่เป็นความเห็นต่อข้อความไว้ก่อนแล้ว
.
++ประชาชนพบเห็นป้ายข้อความหลายป้ายติดตั้งอยู่เกาะกลางถนน มีข้อความทําให้กษัตริย์เสียหาย จึงแจ้งตำรวจ-อำเภอ
เกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุคือวันที่ 23 ม.ค. 2564 นั้น พงศ์พัชรา สินธุ์ไชย และดาวรุ่ง พงษ์นภิส กำนันตำบลอุ่มเม่า อ.ยางตลาด เบิกความว่า ช่วงเที่ยง ขณะขับรถอยู่บนถนนสายยางตลาด-กาฬสินธุ์ ได้พบเห็นป้ายข้อความหลายป้ายติดตั้งอยู่ที่เกาะกลางถนน พงศ์พัชราจึงได้แจ้งให้ ร.ต.ต.ศุภชัย ภูนกยูง ตำรวจ สภ.ยางตลาด ซึ่งเป็นสามีทราบ จากนั้น ร.ต.ต.ศุภชัย ได้แจ้งให้ชุดสืบสวนทราบเพื่อดําเนินการตรวจสอบ ส่วนดาวรุ่งได้โทรแจ้งป้องกันอำเภอ
โดย พ.ต.ท.แสงเพ็ชร หอมสมบัติ ผู้กล่าวหา ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้กํากับการสืบสวน สภ.ยางตลาด, ร.ต.อ.สำเนียง ภูเป้ว รองสารวัตรป้องกันและปราบปราม สภ.ยางตลาด และ พ.ต.ท.ธนศักดิ์ ปัตตาเน สารวัตรสืบสวน สภ.ยางตลาด เบิกความในทำนองเดียวกันว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 13.30 น. ได้รับแจ้งว่า มีการนําแผ่นป้ายไวนิลจํานวนหลายป้ายไปติดอยู่ที่เกาะกลางถนน ถนนสายยางตลาด-กาฬสินธุ์ บริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ข้อความบนป้ายดังกล่าวมีลักษณะทําให้พระมหากษัตริย์เสียหาย
หลังจากรับแจ้งแล้วพยานกับพวกจึงขับรถไปตรวจที่ถนนตามที่ได้รับแจ้งพบป้ายจํานวน 7 ป้าย ติดตั้งอยู่ที่เกาะกลางถนน โดยป้ายที่ 1 และ 2 มีลวดผูกติดกับต้นไม้ ป้ายที่ 3-6 ผูกอยู่กับเสาไฟฟ้า และป้ายที่ 7 ผูกอยู่กับตอม่อซุ้มเฉลิมพระเกียรติ แต่ละป้ายมีระยะห่างกันประมาณ 30-40 เมตร หันหน้าไปทางอําเภอยางตลาด
พยานกับพวกได้แกะป้ายออกจากบริเวณเกาะกลางถนน นํากลับมาที่ สภ.ยางตลาด ส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวน และรายงานให้ผู้กํากับการ สภ.ยางตลาด ทราบ ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.แสงเพ็ชร กับพวกสืบสวนว่า ใครเป็นผู้ที่นําแผ่นป้ายทั้ง 7 ป้ายดังกล่าวมาติดตั้งไว้
นอกจากนี้ โจทก์ยังนำ นิคม วงษ์เชียงยืน ปลัดอำเภอยางตลาด, พ.ต.ท.ธนัท กฤตย์จิรกร หัวหน้าตำรวจสันติบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และ ร.อ.นิธิสัคค์ จันทร์สว่าง กอ.รมน.จ.กาฬสินธุ์ เข้าเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุได้รับแจ้งจากประชาชน และแหล่งข่าวที่ กอ.รมน.จัดตั้ง เกี่ยวกับป้ายวัคซีนหาซีนให้วัง จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ พ.ต.ท.ธนัท ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์ด้วย แต่ตำรวจ สภ.ยางตลาด นำป้ายไปเก็บแล้ว
++ผลตรวจ DNA ที่แผ่นป้ายไม่สามารถยืนยันตัวบุคคล – ชุดสืบสวนระบุ ไม่ทราบใครติดตั้งป้าย รถที่บรรทุกป้ายมาติดตั้งเห็นเลขทะเบียนไม่ชัด แต่ลักษณะเหมือนรถที่ปิยรัฐใช้
พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ผู้กล่าวหา เบิกความอีกว่า หลังได้รับมอบหมายให้สืบสวนว่า ใครเป็นผู้ที่นําแผ่นป้ายทั้ง 7 ป้ายดังกล่าวมาติดตั้งไว้ก็ได้สืบสวนหาข่าวหลายทาง จากการสอบถามบุคคลที่อยู่ในบริเวณที่มีการติดตั้งป้ายได้ความจากสมพร บุญภึก เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.กาฬสินธุ์ จํากัด ว่า วันเกิดเหตุพบเห็นรถกระบะสีดําขับมาจอดใกล้กับจุดติดตั้งป้าย โดยมีชาย 2 คน ลักษณะผอมสูง ไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใด ยืนอยู่ที่ด้านหลังพร้อมกับป้ายไวนิล แต่สมพรไม่ได้ดูในขณะที่มีการติดตั้งป้าย รถกระบะคันดังกล่าวขับมาจากทางจังหวัดกาฬสินธุ์มุ่งหน้ามาทางอําเภอยางตลาด
หลังจากนั้นพยานก็ได้ทําการตรวจสอบกล้องวงจรปิดตามถนน โดยตัวที่ 1 เป็นกล้องวงจรปิดบริเวณปั๊มน้ำมัน ปตท.โนนตาล พบรถกระบะสีดําขับผ่านบริเวณถนนหน้าปั๊มในเวลา 11.50 น. ทิศทางจากเมืองกาฬสินธุ์มุ่งหน้าอําเภอยางตลาด และพบรถตู้โฟล์คสวาเก้นสีเทาขับตามหลัง ทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4 นาที บนรถกระบะมีป้ายและชาย 2 คน อยู่ที่ท้ายกระบะด้วย
กล้องวงจรปิดตัวที่ 2 เป็นของกรมทางหลวง พบรถทั้ง 2 คัน ขับจากทางจังหวัดกาฬสินธุ์มุ่งหน้าไปอําเภอยางตลาด และขับจากอําเภอยางตลาดกลับไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน
พยานยังได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดตัวอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่คาดว่าจะมีการขับรถขนป้ายผ่าน จัดทำเป็นรายงานการสืบสวน
จากนั้นพยานได้ตรวจสอบข้อมูลของรถยนต์ทั้ง 2 คันดังกล่าว พบว่า รถกระบะวีโก้ มีชื่อแม่ของจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ส่วนรถตู้มีชื่อจําเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยในวันที่ 23 ม.ค. 2564 รถทั้ง 2 คัน มีการใช้ภายในจังหวัดกาฬสินธุ์เท่านั้น ไม่ได้ขับออกไปจังหวัดอื่น
ในวันที่ 26 ม.ค. 2564 พยานให้ชุดทํางานไปตรวจสอบที่บ้านแม่จําเลยในตัวเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีรถตู้ดังกล่าวข้างต้นจอดอยู่ที่บริเวณโรงจอดรถภายในบ้าน แต่ไม่พบรถกระบะสีดํา
จากการตรวจสอบพบด้วยว่า ก่อนหน้านั้นเมื่อประมาณวันที่ 12 และ 13 ม.ค. 2563 จําเลยได้ใช้รถกระบะคันที่มีลักษณะตรงกับรถคันที่พบในภาพวงจรปิด จัดกิจกรรมทางการเมืองชื่อ วิ่งไล่ลุง ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แม้ภาพวงจรปิดจะเห็นหมายเลขทะเบียนของรถคันที่ขนป้ายมาติดตั้งได้ไม่ชัด แต่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นคันเดียวกับที่จำเลยใช้ ตามที่มีการเปรียบเทียบให้เห็นในรายงานการสืบสวน
จากการสืบสวนยังไม่สามารถสืบทราบได้ว่า ชาย 2 คน ที่ยืนอยู่ด้านหลังรถกระบะเป็นบุคคลใด
โดยมี พ.ต.ท.ธนศักดิ์ ชุดสืบสวนอีกรายและ พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล เบิกความเกี่ยวกับการตรวจสอบกล้องวงจรปิด รถกระบะและรถตู้ในทำนองเดียวกันนี้ แต่ พ.ต.ท.ธนศักดิ์ ระบุว่า ด้านหลังรถกระบะมี 3 คน และจากการสืบสวนไม่ทราบว่าใครเป็นคนนำแผ่นป้ายไปติดตั้ง แต่เห็นว่า ปิยรัฐน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากรถที่ใช้เป็นของปิยรัฐและแม่
ด้านณัฐริกา ภูถาดงา และดวงเดือน ดลเจือ พนักงานร้านเสถียรมอเตอร์ซึ่งอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ เบิกความเช่นเดียวกันว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 14.00 น. เห็นตำรวจ 2 นาย มาเก็บป้ายบริเวณเกาะกลางถนนเยื้องกับร้าน แต่ไม่เห็นข้อความบนป้าย จากนั้น เวลา 16.00 น. ตำรวจได้มาขอตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่หน้าร้าน เมื่อเจ้าของร้านอนุญาต ทั้งสองจึงอำนวยความสะดวกให้ตำรวจ โดยไม่ได้เข้าไปดู เมื่อถึงเวลาเลิกงานก็เดินทางกลับ โดยให้ยามอำนวยความสะดวกกับตำรวจต่อไป
อัยการยังนำแม่ของปิยรัฐเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยเบิกความว่า พยานมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถกระบะวีโก้สีดำ ซึ่งซื้อมาในปี 2552 ต่อมาปี 2557-2560 พยานได้ให้จำเลยนำไปใช้ที่สมุทรปราการ หลังจากนั้นพยานนำมาใช้เองจนถึงปัจจุบัน แต่จำไม่ได้ว่า ในชั้นสอบสวนเคยให้การว่า ให้จำเลยนำรถไปใช้ในปี 2558 – ปัจจุบัน
พยานไม่แน่ใจว่า ภาพรถกระบะในรายงานการสืบสวนเป็นรถของพยานหรือไม่ เนื่องจากไม่มีป้ายทะเบียน และจำไม่ได้ว่าเมื่อวันที่ 22-25 ม.ค. 2564 ได้เอารถให้ใครไปใช้ แต่รับว่าชั้นสอบสวนเคยให้การว่า ช่วงดังกล่าวเอาให้จำเลยใช้
ขณะ พ.ต.ท.ไพศาล ใจเกษม พนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า พยานส่งแผ่นป้ายไปตรวจหา DNA ที่พิสูจน์หลักฐานจังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 (รายงานการตรวจพิสูจน์ระบุว่า ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้) พยานยังได้ตรวจสอบทะเบียนรถ พบว่า ผู้ครอบครองรถโฟล์คสวาเกน คือ ปิยรัฐ ส่วนรถกระบะซึ่งไม่ทราบทะเบียน พยานได้นำภาพรถคันดังกล่าวให้แม่จำเลยดู พบว่า เป็นรถของแม่จำเลย ซึ่งมอบให้จำเลยไว้ใช้ตั้งแต่ปี 2558
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469)
-
วันที่: 26-08-2022นัด: สืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องและใบรับรองแพทย์ขอเลื่อนสืบพยานนัดนี้ออกไปก่อน เนื่องจากปิยรัฐติดเชื้อโควิด-19 ต้องรักษาตัวระหว่างวันที่ 20 -29 ส.ค. 2565 ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 25 ต.ค. 2565
-
วันที่: 25-10-2022นัด: สืบพยานโจทก์++พงส. ส่ง ปอท. ตรวจสอบเพจ “โตโต้ ปิยรัฐ” – ทวิตเตอร์ “We Volunteer” ที่โพสต์ภาพป้าย ชี้มีความเชื่อมโยงกับปิยรัฐ เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ยังเบิกความว่า จากการตรวจสอบทางสื่อโซเซียลมีเดียพบว่า ทวิตเตอร์ชื่อ “We Volunteer” ได้เผยแพร่ภาพถ่ายป้ายทั้ง 7 ป้าย พร้อมทั้งข้อความระบุว่ามีการติดตั้งป้ายบริเวณเกาะกลางถนน โดยเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 เวลา 13.00 น. และเพจเฟซบุ๊กชื่อ “โตโต้ ปิยรัฐ” ก็มีการเผยแพร่ภาพถ่ายการติดตั้งป้ายดังกล่าวพร้อมข้อความประกอบในเวลา 16.00 น.
ส่วน พ.ต.ท.ธนศักดิ์ และ พ.ต.ท.ธนัท เบิกความว่า พยานเข้าไปดูเฟซบุ๊ก พบว่าประมาณ 13.00 น. เฟซบุ๊กเพจ WeVo อีสาน โพสต์ว่า มีคนนำป้ายไปติด และเวลา 16.00 น. เพจ โตโต้ ปิยรัฐ โพสต์ว่า ป้ายถูกนำไปเก็บแล้ว และเชิญชวนประชาชนมาร่วมกิจกรรมกับ WeVo โดยเพจ โตโต้ ปิยรัฐ มีรูปโปรไฟล์เป็นรูปปิยรัฐ
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ไพศาล พนักงานสอบสวน เบิกความว่า พยานส่งหนังสือถึง บก.ปอท.ขอให้ตรวจสอบเฟซบุ๊ก โตโต้ ปิยรัฐ และทวิตเตอร์ We Volunteer ปอท.ยืนยันว่า บัญชีทั้งสองเป็นของจำเลย จึงน่าเชื่อว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้อง
ขณะที่ พ.ต.ท.อิสรพงศ์ ทิพย์อาภากุล กองกำกับการ 3 บก.ปอท. เบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบเฟซบุ๊กที่มีการโพสต์ภาพป้ายข้อความเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีน และทวิตเตอร์ที่โพสต์ป้ายและข้อความโจมตีนายกรัฐมนตรี ว่า ข้อความที่โพสต์ยังมีอยู่หรือไม่ เมื่อพบว่ามีอยู่จึงจัดเก็บ (แคป) จัดทำรายงานการตรวจสอบส่งให้พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบนำไปเป็นพยานหลักฐานต่อไป
++จำเลยเป็นแกนนำกลุ่ม WeVo ทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล – เรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
พยานโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ยังเบิกความถึงการตรวจสอบประวัติปิยรัฐ โดย พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล เบิกความว่า จากการตรวจสอบพบว่า จำเลยเป็นนักกิจกรรม เคยลงสมัคร สส. ในพื้นที่เมื่อปี 2562 ในนามพรรคอนาคตใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือก มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ปี 2552 ร่วมกับกลุ่ม นปช. ต่อต้านเผด็จการ จากนั้นตั้งกลุ่ม We Volunteer รับสมัครการ์ดไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่กรุงเทพฯ ทั้งยังมีการทำกิจกรรมทางการเมืองในจังหวัดกาฬสินธุ์หลายครั้ง
ก่อนเกิดเหตุ ปิยรัฐกับพวกเดินทางเข้ามาในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2564 โดยเข้าพักที่บ้าน มีวัยรุ่นอยู่ด้วย 15 คน คาดว่าจะมีการทำกิจกรรมทางการเมืองในช่วงเย็น
ด้านชุดสืบสวน พ.ต.ท.ธนศักดิ์ เบิกความว่า พยานตรวจสอบประวัติปิยรัฐกับสันติบาลและจากประวัติการถูกดำเนินคดี พบว่า เป็นกลุ่มต่อต้านสถาบันกษัตริย์ และมีประวัติถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการชุมนุม ส่วนนิคม ปลัดอำเภอยางตลาด เบิกความว่า พยานสืบทราบทางสื่อโซเชียลว่า จำเลยเป็นแกนนำกลุ่ม WeVo ทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลและเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
++อาจารย์ภาษาไทยชี้ คนอ่านข้อความอาจมีความเห็นแตกต่างกัน ด้านประชาชนเห็นว่า เป็นเพียงข้อความไม่เหมาะสม ขณะพยาน จนท.เห็นว่ามีลักษณะหมิ่นประมาทกษัตริย์
อัยการโจทก์นำพยานหลายปากเข้าเบิกความให้ความเห็นต่อข้อความบนแผ่นป้ายทั้ง 7 แผ่น ได้แก่
บัญญัติ สาลี อาจารย์สอนภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เบิกความว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 ได้มีตํารวจไปพบ นําภาพป้ายข้อความไปให้ดูและสอบถามพยานว่า มีความคิดเห็นอย่างไร พยานได้ให้ความเห็นต่อข้อความแรก “หาซีนให้วัง” ว่า คําว่า ซีน พยานไม่ทราบความหมาย แต่คําว่า วัง มี 2 ความหมายคือ ความหมายแรกเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และความหมายที่ 2 หมายถึงวังหรือเวิ้งน้ำ
ข้อความที่ 5 พยานให้ความเห็นต่อพนักงานสอบสวนว่า โอ เป็นชื่อของใครก็ได้ ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป หรือบุคคลบางคนอาจจะเข้าใจว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แต่พยานก็ไม่ได้ยืนยัน เนื่องจากพยานไม่ได้คิดเห็นดังกล่าว ส่วนข้อความอื่น ๆ พยานไม่ได้ให้ความเห็นต่อพนักงานสอบสวนเนื่องจากมีความหมายตามตัวอักษร
หากนําข้อความที่ 1 ถึง 7 มาเรียบเรียงเข้าด้วยกันแล้ว ผู้อ่านข้อความโดยทั่วไปแล้วอาจมีความเห็นแตกต่างกันได้ว่าเป็นข้อความทั้งที่ดีและไม่ดี
พล.ร.ต.ทองย้อย แสงสินชัย ข้าราชการบํานาญ เคยรับราชการอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เบิกความว่า พนักงานสอบสวนได้นําข้อความมาดูและให้ความเห็น พยานจึงให้ความเห็นไปว่า ข้อความดังกล่าวหากอ่านแล้วสื่อความหมายว่า การกระทําอย่างเดียวกัน ถ้านักการเมืองทำจะมองว่าเป็นความเสียหาย แต่หากเป็นพระมหากษัตริย์จะถูกมองว่าเป็นความดี ซึ่งเป็นคําพูดที่มีการประชดประชัน
พ.ต.อ.พิศิษฎ์ คำชัยภูมิ ทนายความ เบิกความว่า พยานอ่านข้อความแล้วตีความว่า เป็นการร่วมมือของรัฐบาลกับกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ผูกขาดวัคซีนที่นำมารักษาประชาชน กล่าวหาว่า เป็นการหาผลประโยชน์ให้กษัตริย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ข้อความในป้ายพยานเห็นว่า กล่าวถึงรัชกาลที่ 10 การติดตั้งป้ายข้อความดังกล่าวจึงเป็นการกระทําความผิดฐานดูหมิ่นกษัตริย์
พ.ต.ท.ชูชาติ อุทธิสินธุ์ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ให้ความเห็นว่า ข้อความในป้ายไวนิลทั้งหมดอ่านแล้วเข้าใจว่า รัฐบาลนี้ผูกขาดการนำเข้าวัคซีน โดยอ้างว่าเป็นของรัชกาลที่ 10 ทั้งที่ความเป็นจริงมีการนำเข้าหลายบริษัท ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และรู้สึกไม่ดีกับสถาบันกษัตริย์
นอกจากนี้ โจทก์ก็ได้ถามความเห็นต่อข้อความกับพยานปากอื่น ๆ ที่เข้าเบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์การติดตั้งป้ายด้วย โดยพงศ์พัชราและดาวรุ่งให้ความเห็นว่า เป็นข้อความที่ไม่เหมาะสม
นิคม ปลัดอำเภอ ให้ความเห็นว่า พยานอ่านข้อความจากแผ่นป้ายดังกล่าวแล้วเข้าใจได้ว่า รัฐบาลจัดหาวัคซีน โดยมีผลประโยชน์ให้สถาบันกษัตริย์ เป็นการดูถูก ใส่ความสถาบันกษัตริย์ ด้าน ร.อ.นิธิสัคค์ กอ.รมน. และ พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล ก็ให้ความเห็นทำนองเดียวกันว่า เมื่ออ่านข้อความบนป้ายรวมกัน มีลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ โดยข้อความบนป้ายสื่อให้เข้าใจว่ากล่าวถึงรัชกาลที่ 10
และ พ.ต.ท.อธิชย์ ดอนนันชัย พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ตอบโจทก์ว่า พยานเห็นว่า ข้อความทั้งหมดรวมกันคนทั่วไปไม่สมควรพูด
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469) -
วันที่: 26-10-2022นัด: สืบพยานโจทก์++พงส.คดี 112 ธนาธรไลฟ์สด “วัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย?” เป็นพยานระบุ ข้อความในป้ายมาจากไลฟ์สดของธนาธร แต่ไม่ทราบว่าคนนำป้ายมาติดเกี่ยวข้องกับธนาธรอย่างไร
อัยการยังนำ พ.ต.ท.อธิชย์ ดอนนันชัย พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เจ้าของสำนวนคดี 112 ที่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกกล่าวหา เข้าเบิกความเป็นพยานในคดีนี้ด้วย
พ.ต.ท.อธิชย์ เบิกความว่า พยานไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีนี้ แต่ขณะอยู่ สน.นางเลิ้ง เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 อภิวัฒน์ ขันทอง มาแจ้งความกล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 ธนาธรไลฟ์สดในเฟซบุ๊กชื่อ ธนาธร ลักษณะว่า “วัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย?” มีเนื้อหาว่า รัชกาลที่ 10 มีส่วนได้เสีย โดยถือหุ้นสยามไบโอไซเอนซ์ 100% และสยามไบโอไซเอนซ์ได้ทำสัญญากับแอสตราเซเนกาเพื่อนำเข้าวัคซีน รัฐบาลนำวัคซีนฉีดให้ประชาชน ซึ่งทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียเกียรติยศ
พยานได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถอดเทป จากการถอดเทปมีข้อความลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ จึงได้รับคำร้องทุกข์ไว้เป็นคดีอาญา
พยานสอบถามนักวิชาการและพยานคนอื่น ๆ หลายปาก ให้การสอดคล้องกันว่า คำพูดของธนาธรมีลักษณะธนาธรหมิ่นประมาทกษัตริย์ จึงสรุบสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องส่งให้อัยการ แต่อัยการฟ้องหรือยังพยานไม่ทราบ
หลังธนาธรไลฟ์สดได้มีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองนำข้อความไปโพสต์หรือแสดงออก รวมทั้งที่กาฬสินธุ์ซึ่งมีการดำเนินคดี และพนักงานสอบสวนไปสอบปากคำพยานเป็นพยาน โดยนำภาพแผ่นป้ายให้ดู
คนที่นำป้ายมาติดในที่เกิดเหตุจะมีความเกี่ยวข้องหรือร่วมมือกับธนาธรอย่างไร พยานไม่ทราบ
จำเลยเป็นผู้สมัคร สส.พรรคเดียวกับธนาธร พยานเคยพบเห็นจำเลยหลายครั้ง เนื่องจากไปทำกิจกรรมในท้องที่ สน.นางเลิ้ง และถูกดำเนินคดีที่ สน.นางเลิ้ง ด้วย
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ธนัท ยังเบิกความว่า จากการสืบสวนของพยานพบการกระทำในลักษณะใกล้เคียงกันกับคดีนี้ โดยเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 มีการไลฟ์สดกิจกรรมที่อำเภอวังสะพุง ปรากฏป้ายผ้าสีขาวเขียนข้อความลักษณะเดียวกัน
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469) -
วันที่: 13-12-2022นัด: สืบพยานโจทก์ประเด็นที่พยานโจทก์ตอบคำถามค้านของทนายจำเลย
++เจ้าหน้าที่ไม่ทราบใครนำป้ายมาติดตั้ง ไม่ทราบใครขับรถนำป้ายมา
พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ผู้กล่าวหา ตอบทนายจำเลยเกี่ยวกับการสืบหาผู้ติดตั้งป้ายว่า บริเวณที่ติดตั้งแผ่นป้ายนั้น มีกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียงติดตั้งอยู่ 1 ตัว แต่พยานกับพวกไม่ได้ทําการตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่ติดตั้งแผ่นป้าย เนื่องจากเจ้าของอ้างว่า กล้องวงจรปิดเสียไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์ได้ ส่วนรถตู้ที่ขับมาในวันเกิดเหตุก็มีกระจกสีดํา ไม่สามารถมองเห็นภายในได้ จากการตรวจสอบร้านที่รับทําป้ายในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ก็พบว่า ป้ายทั้งเจ็ดไม่ได้จัดทําในจังหวัดกาฬสินธุ์
ด้าน ร.ต.อ.สำเนียง พยานตำรวจอีกราย ก็ตอบว่า ไม่ทราบว่าผู้ใดนําป้ายข้อความมาติดไว้ในที่เกิดเหตุ รวมถึง พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล และนิคม ปลัดอำเภอ ก็ไม่ทราบว่า ชาย 2 คน ดังกล่าว สูงเท่าไหร่ ตลอดจนไม่ทราบว่า ใครเป็นคนขับรถทั้งสองคันในวันเกิดเหตุ ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีการจับกุมดำเนินคดีจำเลยเพียงคนเดียว ยังไม่มีการจับกุมคนอื่นเลย
ส่วนสมพร ซึ่งเห็นรถกระบะในวันเกิดเหตุ ตอบทนายจำเลยเพียงว่า พยานเห็นรถกระบะจอดอยู่ริมถนนในขณะที่ขับรถผ่านเท่านั้น จึงไม่ทราบว่าบุคคล 2 คน ที่นั่งอยู่ท้ายรถกระบะสวมหน้ากากผ้าอนามัยหรือไม่
โดย พ.ต.ท.ไพศาล พนักงานสอบสวนเองก็ระบุกับทนายจำเลยว่า พยานส่งป้ายไปตรวจสอบลายนิ้วมือแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
++ชุดสืบรับ ไม่ได้ยึดรถที่อ้างว่าใช้ในวันเกิดเหตุไปตรวจสอบ ทั้งไม่ได้ตรวจสอบว่า มีรถลักษณะเดียวกันคันอื่นอีกหรือไม่
ประเด็นการตรวจสอบรถกระบะและรถตู้ที่พบจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดนั้น พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ชุดสืบสวน และ พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล ตอบทนายจำเลยทำนองเดียวกันว่า พยานไม่ทราบว่า ในจังหวัดกาฬสินธุ์มีรถกระบะโตโยต้าวีโก้สีดำจํานวนทั้งหมดกี่คัน และรถที่มีลักษณะเดียวกันกับที่ปรากฏในรายงานการสืบสวนหรือที่มีป้ายทะเบียนเป็นตัวเลข 3 ตัว มีจํานวนกี่คัน
พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ยังรับว่า บันไดข้างและคิ้วกันสาดของรถกระบะสีดํา ซึ่งเป็นจุดสังเกตว่า รถที่จําเลยใช้กับรถที่นําแผ่นป้ายมาติดตั้งในวันเกิดเหตุเป็นคันเดียวกันนั้น เป็นส่วนที่มีการติดตั้งเพิ่มเติมภายหลังซื้อรถ แต่พยานไม่ได้ไปสอบถามร้านภายในจังหวัดกาฬสินธุ์ว่า มีบุคคลใดบ้างที่นํารถไปติดตั้งบันไดข้างเพิ่มเติม ทั้งพยานก็ไม่ได้ยึดรถกระบะและรถตู้ที่อ้างว่าใช้ในวันเกิดเหตุไปเป็นของกลาง หรือตรวจสอบด้วย
นอกจากนี้ ตามภาพถ่ายในรายงานการสืบสวน ป้ายที่อยู่หลังรถกระบะนั้นไม่ทราบว่ามีข้อความเขียนว่าอย่างไร เนื่องจากมองเห็นเฉพาะด้านหลังของป้าย
พ.ต.ท.ธนัท ก็รับว่า รถกระบะที่นําแผ่นป้ายมาติดตั้งไม่มีสติกเกอร์เป็นสัญลักษณ์พิเศษใด ๆ ที่แตกต่างจากคันอื่น และภาพจากกล้องวงจรปิดไม่มีเหตุการณ์ขณะติดตั้งป้าย ส่วนรถโฟล์คก็ไม่ได้วิ่งตามหลังรถกระบะในระยะกระชั้นชิด โดยตามภาพจากกล้องวงจรปิดของกรมทางหลวง รถ 2 คัน วิ่งห่างกันประมาณ 11 นาที
++แม่ปิยรัฐระบุ รถกระบะวีโก้ มีคนนำไปใช้หลายคน ด้านสันติบาลรับ มีการนำไปใช้ทำกิจกรรมในหลายท้องที่ แต่ไม่รู้ว่าใครนำไปใช้
ส่วนรถกระบะคันที่มีชื่อแม่ปิยรัฐเป็นเจ้าของ และ พ.ต.ท.ธนัท เบิกความระบุว่า ปิยรัฐใช้ทำกิจกรรมทางการเมืองหลายครั้งนั้น พ.ต.ท.ธนัท รับกับทนายจำเลยว่า จากการสืบสวนทราบว่า มีการนำไปใช้ในหลายท้องที่ด้วย แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำไปใช้ แม่ปิยรัฐเองก็ยืนยันว่า รถกระบะคันดังกล่าวนอกจากจำเลยใช้แล้ว ญาติพี่น้องก็จะนำไปใช้เป็นประจำ โดยจำเลยมีรถตู้ของตนเอง และนำรถกระบะมาคืนพยานเมื่อประมาณปี 2561 – 2562 หลังเสร็จการเลือกตั้ง
ขณะที่ พ.ต.ท.ไพศาล ก็ตอบทนายจำเลยว่า พยานไม่ทราบว่า จำเลยไม่เคยขับรถตู้เองเลย โดยมีคนขับให้ หรือนำไปใช้ในกิจกรรมทางการเมืองอย่างอื่น และไม่ทราบว่า นอกจากรถตู้และรถกระบะของแม่ จำเลยมีรถคันอื่นอีกหรือไม่
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469) -
วันที่: 10-01-2023นัด: สืบพยานโจทก์และพยานจำเลย++เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ที่โพสต์ภาพป้ายไม่ใช่บัญชีส่วนตัว ไม่ทราบใครเป็นแอดมิน – ปอท.ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ จึงบอกไม่ได้ว่าใครเป็นผู้โพสต์ ทั้งบัญชีมีการเคลื่อนไหวขณะปิยรัฐถูกคุมขัง
ในประเด็นการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการโพสต์ภาพป้ายนั้น พ.ต.ท.อิสรพงศ์ เจ้าหน้าที่ ปอท. ตอบทนายจำเลยว่า จำเลยถูกดำเนินคดีจากเพจเฟซบุ๊กไม่ใช่บัญชีส่วนตัว และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าจำเลยเป็นเจ้าของเพจ โตโต้ ปิยรัฐ มีเพียงรูปภาพของจำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวน สภ.ยางตลาด ไม่ได้ให้พยานตรวจสอบ IP Address และ URL ที่โพสต์ภาพป้ายดังกล่าว จึงบอกไม่ได้ว่าใครเป็นผู้โพสต์
สอดคล้องกับ พ.ต.ท.ธนศักดิ์ หนึ่งในชุดสืบสวน, พ.ต.ท.ธนัท สันติบาล และนิคม ที่รับว่า พยานไม่ได้ตรวจสอบว่า เพจเฟซบุ๊ก โตโต้ ปิยรัฐ และทวิตเตอร์ We Volunteer ที่โพสต์ภาพป้ายตามฟ้อง มี URL ว่าอย่างไร ไม่ทราบว่า ใครเป็นแอดมินหรือเป็นเจ้าของ และในการโพสต์ภาพป้าย ผู้โพสต์มี IP Address ว่าอย่างไร โพสต์จากที่ใด ดังนั้น แม้รูปโปรไฟล์ของเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวจะเป็นรูปจำเลย แต่ความจริงจำเลยจะเป็นเจ้าของเพจดังกล่าวหรือไม่ พยานไม่ทราบ
พ.ต.ท.ธนัท ระบุด้วยว่า ไม่มีการยึดโทรศัพท์และอุปกรณ์การสื่อสารของจำเลยไปตรวจสอบว่า จำเลยเป็นผู้โพสต์ภาพป้ายหรือไม่
ด้าน พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ผู้กล่าวหา ก็รับว่า มีการนำภาพป้ายไปโพสต์ในเพจเฟซบุ๊กที่มีชื่อเป็นชื่อของจําเลย และทวิตเตอร์ที่มีชื่อเป็นชื่อกลุ่มของจําเลย พยานจึงเข้าใจว่าจําเลยน่าจะเป็นผู้โพสต์ แต่ความจริงแล้วพยานไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้โพสต์ อีกทั้งพยานตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กชื่อจําเลยเฉพาะในช่วงที่พบภาพป้ายเท่านั้น แต่ไม่ได้ตรวจสอบว่าก่อนและหลังช่วงนั้นเพจดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวหรือไม่
นอกจากนี้ ภาพป้ายในรายงานการสืบสวนนั้น เป็นภาพที่นํามาจากเฟซบุ๊กของกลุ่ม We Volunteer โดยในภาพไม่ปรากฏวันและเวลาที่เผยแพร่ข้อมูล
เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ไพศาล พนักงานสอบสวน ที่ตอบทนายจำเลยว่า พยานไม่ได้ยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ขอให้ศาลออกคำสั่งให้จำเลยอนุญาตให้พยานเข้าถึงข้อมูลโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบว่า จำเลยได้เป็นผู้โพสต์ข้อความและภาพตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่
พยานได้ทำหนังสือถึงกระทรวงดิจิตอลฯ (DE) เพื่อขอให้ตรวจสอบ IP Address ของผู้โพสต์ภาพที่กล่าวหา ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ต่างประเทศ
พยานไม่ทราบว่า พยานหลักฐานที่นำมากล่าวหาจำเลยในคดีนี้ ไม่ปรากฏ URL หรือที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ของโพสต์นั้น
พยานทำหนังสือถึงผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ของจำเลยในวันเกิดเหตุว่าอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์หรือบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่แล้ว แต่ผู้ให้บริการตอบมาภายหลังที่พยานสรุปสำนวนส่งผู้บังคับบัญชา และพยานจำไม่ได้ว่าผู้ให้บริการตอบมาว่าอย่างไร
จำเลยถูกขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2564 – 2 เม.ย. 2564 แต่ตามเอกสารที่ทนายจำเลยให้ดูทวิตเตอร์ We Volunteer มีการโพสต์ในวันที่ 7 มี.ค. – 1 พ.ค. 2564 และเฟซบุ๊ก โตโต้ ปิยรัฐ จงเทพ มีการโพสต์ในวันที่ 11 มี.ค. – 27 เม.ย. 2564 ซึ่งช่วงนั้นจำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469) -
วันที่: 27-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดี เนื่องจากพยานเอกสารสำหรับถามค้านที่ศาลออกหมายเรียกไปยังสถาบันวัคซีนและสำนักเลขานายกฯ ยังไม่ได้มา มีเพียงบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ที่ส่งเอกสารมา แต่ก็ไม่ครบถ้วน โจทก์ไม่ค้านการเลื่อนคดี ศาลเลื่อนไปสืบพยานในวันที่ 23 พ.ค. 2566
-
วันที่: 23-05-2023นัด: สืบพยานโจทก์และพยานจำเลย++พยานเข้าใจข้อความแตกต่างกันไป – ไม่รู้ข้อเท็จจริงเรื่องการจัดหาวัคซีน ไม่ทราบว่ามีการผูกขาดวัคซีนจริงหรือไม่ ไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าววิจารณ์รัฐบาลหรือไม่
เกี่ยวกับความเห็นและความเข้าใจต่อข้อความที่ปรากฏในแผ่นป้ายนั้น พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยแตกต่างกันออกไป โดยพยานหลายปากไม่เข้าใจว่า คำว่า “ซีน” ในข้อความ “หาซีนให้วัง” มีความหมายอย่างไร บางคนเข้าใจว่าหมายถึงยาหรือวัคซีน บางคนไม่ทราบว่า คนที่เป็นผู้หาซีนคือใคร บางคนระบุว่า เป็นการพูดถึงคนจัดหาวัคซีน
นอกจากนี้ เมื่อทนายจำเลยถามพยานโจทก์แต่ละปากว่า ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนตามที่ปรากฏเป็นข้อความบนป้ายหรือไม่ พยานโจทก์หลายปากระบุว่า ไม่ทราบที่มาและบริบทของการนําป้ายทั้งเจ็ดมาติด ไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับการนําเข้าวัคซีนโควิด-19 และการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลว่ามีการผูกขาดหรือไม่ ใครเป็นผู้ผูกขาด หรือบริษัทใดได้รับอนุญาตให้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในประเทศไทย และใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดังกล่าว
พยานที่ให้ความเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก็ตอบทนายจำเลยว่า พยานไม่ทราบรายละเอียดและที่มาของข้อความที่พนักงานสอบสวนนํามาให้ดูและให้ความเห็น โดยพยานให้ความเห็นตามตัวอักษรเท่านั้น
มีเพียง พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ผู้กล่าวหา ที่ตอบว่า พยานทราบว่า อํานาจในการจัดซื้อวัคซีนโควิดนั้นเป็นอํานาจของคณะรัฐมนตรี และทราบข่าวการนําวัคซีนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย แต่ไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน อีกทั้งทราบว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในประเทศไทยคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงคนเดียวคือรัชกาลที่ 10 โดยรัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณ 600 ล้านบาท ให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ใช้ในการผลิตวัคซีน
ด้าน พ.ต.ท.อธิชย์ พนักงานสอบสวนในคดีไลฟ์สดของธนาธร ตอบว่า พยานทราบว่า บริษัทที่มีสิทธินำเข้าวัคซีนคือ สยามไบโอไซเอนซ์ แต่ไม่รู้ว่า เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตบริษัทเดียวหรือไม่ หรือมีการผูกขาดวัคซีนหรือไม่ และทราบว่าสยามไบโอไซเอนซ์มีรัชกาลที่ 10 เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ไม่ทราบว่าจำนวนเท่าไหร่ ส่วนสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับงบอุดหนุนจากรัฐบาล 600 ล้าน เพื่อผลิตวัคซีนหรือไม่ พยานจำไม่ได้
พยานไม่ทราบด้วยว่า รัฐบาลไทยปฏิเสธเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการจัดหาวัคซีนในระดับโลก แต่มาทำสัญญากับสยามไบโอไซเอนซ์
ส่วน พ.ต.ท.ไพศาล พนักงานสอบสวน รับว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 และ 132 กำหนดให้พยานต้องรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดเพื่อพิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ของจำเลย แต่พยานไม่ได้ออกหมายเรียกพยานเอกสารและพยานบุคคลมาเพื่อพิสูจน์ว่า มีการผูกขาดวัคซีนโควิดหรือไม่ พยานจึงไม่ทราบว่า มีการผูกขาดวัคซีนจริงหรือไม่
พยานได้ทำหนังสือไปขอรายงานการสืบสวนจาก สน.นางเลิ้ง ในคดีที่ธนาธรเป็นผู้ต้องหา เพื่อนำมาดูประกอบหาความเชื่อมโยงกับข้อความบนป้ายในคดีนี้ เนื่องจากพยานเห็นว่าข้อความคล้ายกัน แต่พยานไม่ได้พิสูจน์ว่า ข้อความที่ธนาธรพูดเป็นความจริงหรือไม่
และเมื่อทนายจำเลยถามว่า ข้อความบนป้ายรวมถึงไลฟ์สดของธนาธรวิจารณ์ว่า รัฐบาลผูกขาดวัคซีน โดยไม่ได้กล่าวหากษัตริย์ ใช่หรือไม่ ปลัดนิคมตอบว่า ไม่ทราบ ส่วน พ.ต.ท.อธิชย์ ไม่ยืนยัน
++พยานไม่ทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นคนแรกที่พูดคำว่า วัคซีนพระราชทาน
ทนายจำเลยถามพยานโจทก์ด้วยว่า ข้อความ วัคซีนพระราชทาน นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นคนแรกที่พูดใช่หรือไม่ พ.ต.ท.แสงเพ็ชร ตอบว่า พยานเคยได้ยิน พล.อ.ประยุทธ์ พูดข้อความดังกล่าว ส่วนพยานคนอื่นไม่เคยทราบ และบางคนแสดงความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลบอกว่าเป็นวัคซีนพระราชทานแล้ววัคซีนมีคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสียไปด้วย
ทนายจำเลยถามพยานบางคนด้วยว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า เป็นวัคซีนพระราชทานก็เพื่อสร้างความนิยมและความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเอง เพื่อไม่ให้ถูกวิจารณ์หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ
++พยานหลายปากรับ ความเห็นที่ให้ต่อพนักงานสอบสวนเหมือนพยานปากอื่น เหตุพนักงานสอบสวนพิมพ์ไว้ก่อนแล้ว
เกี่ยวกับการให้ความเห็นต่อข้อความที่ปรากฏในแผ่นป้ายนั้น ยังมีประเด็นที่ทนายจำเลยถามพยานโจทก์ถึงบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งมีการให้ความเห็นไว้เหมือนกัน โดยพยานหลายปาก เช่น ร.ต.อ.สำเนียง, ร.ต.ต.ศุภชัย, พ.ต.ท.ชูชาติ, ร.อ.นิธิสัคค์, ดาวรุ่ง รับว่า คําให้การของตนมีข้อความเหมือนกับพยานปากอื่นทุกตัวอักษร เนื่องจากตำรวจได้พิมพ์คำให้การไว้แล้ว และให้พยานตรวจดูก่อนเซ็นชื่อ
.
ก่อนเริ่มสืบพยานในนัดนี้ซึ่งเหลือเพียงทนายจำเลยถามค้านพนักงานสอบสวน พยานโจทก์ปากสุดท้าย ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากเอกสารถามค้านที่ขอให้ศาลออกหมายเรียกจากสยามไบโอไซเอนซ์และสถาบันวัคซีนยังได้มาไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถถามค้านพนักงานสอบสวนได้ โจทก์ไม่ค้าน แต่ศาลเห็นว่า เอกสารดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องและอยู่ในความรู้เห็นของพนักงานสอบสวน จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
ทนายจำเลยจึงถามค้านพนักงานสอบสวนจนจบปาก และขอเลื่อนสืบพยานจำเลยออกไป ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบในวันที่ 29-30 ส.ค. 2566 ในส่วนพยานเอกสารที่ยังได้ไม่ครบ ให้ยื่นคำร้องขอหมายเรียกเข้าไปใหม่
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 และ https://tlhr2014.com/archives/70469) -
วันที่: 29-08-2023นัด: สืบพยานจำเลยทนายความยื่นคำร้องผ่านระบบซีออส ขอเลื่อนการสืบพยานออกไป เนื่องจากจำเลยเป็นผู้แทนราษฎร อยู่ระหว่างสมัยประชุมสภาฯ และจำเลยจะต้องเป็นผู้อภิปรายในญัตติที่ได้เสนอไว้ในการประชุมสภาวันที่ 30 ส.ค. 2566 หัวหน้าศาลออกนั่งพิจารณาคดีเอง และขอดูเอกสารการนัดประชุมสภาฯ ก่อนอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยไปเป็นวันที่ 25 ต.ค. 2566
-
วันที่: 26-10-2023นัด: สืบพยานจำเลยทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยติดประชุมสภาฯ ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 21 ธ.ค. 2566
-
วันที่: 21-12-2023นัด: สืบพยานจำเลยทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยติดสมัยประชุมสภาฯ โจทก์ไม่ค้าน ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 ก.พ. 2567
-
วันที่: 08-02-2024นัด: สืบพยานจำเลยทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยติดสมัยประชุมสภาฯ ศาลอนุญาตให้เลื่อน แต่ให้กำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยใหม่ที่ศูนย์นัดความโดยให้เป็นนัดต่อเนื่อง และให้สืบพยานให้เสร็จภายในกรอบเวลาดังกล่าว หากขอเลื่อนคดีอีกศาลจะพิจารณาโดยเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจำเลยว่างในช่วงวันที่ 17-19 ก.ค. 2567 โดยก่อนหน้านั้นทั้งปิยรัฐและทนายจำเลยติดนัดคดีในศาลอื่น แต่หัวหน้าศาลแย้งว่า นัดนานเกินไป และให้เปลี่ยนจากการนัดต่อเนื่องเป็นกำหนดนัดทีละนัด และให้นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 11 เม.ย. 2567 แม้ว่าทนายจำเลยจะได้แถลงว่า ในวันดังกล่าวติดสืบพยานคดี 112 ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ขอเลื่อนเป็นวันที่ 29 เม.ย. 2567 แต่หัวหน้าศาลไม่อนุญาต ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจึงได้บันทึกคำแถลงของทนายจำเลยไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 8 ก.พ. 2567) -
วันที่: 11-04-2024นัด: สืบพยานจำเลยปิยรัฐเดินทางมาศาลพร้อมแม่ซึ่งเป็นนายประกันที่ได้รับหมายนัดจากศาลด้วย และยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากทนายจำเลยติดนัดสืบพยานที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลออกนั่งพิจารณาเต็มองค์คณะ 3 คน ประกอบด้วย วีระพงษ์ กล่อมมิตร เจ้าของสำนวน สราวุธ ยงใจยุทธ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 และเจตน์ รอดอ่อน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดี แต่ขอให้นัดสืบพยานจำเลยให้เสร็จก่อนเปิดประชุมสภาฯ ครั้งต่อไป ก่อนได้วันนัดที่คู่ความทุกฝ่ายว่างตรงกันเป็นวันที่ 1-2 ก.ค. 2567
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2567)
-
วันที่: 01-07-2024นัด: สืบพยานจำเลยประมาณ 09.40 น. นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายจำเลยเดินทางมาถึงศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ในนัดสืบพยานจำเลย ก่อนยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ด้วยเหตุว่า ปิยรัฐ จำเลย มีเหตุผลจำเป็นอย่างยิ่ง กรณีที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โดยต้องเดินทางไปศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 24 มิ.ย. – 2 ก.ค. 2567 ซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ 17 – 25 มิ.ย. 2567 เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2568 ระหว่างวันที่ 18 – 21 มิ.ย. 2567
อีกทั้งคดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง จำเลยจึงประสงค์เข้าร่วมการพิจารณาคดีด้วยตนเองตามสิทธิที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ราว 11.00 น. องค์คณะผู้พิพากษา 3 คน ออกนั่งพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดี ประกอบด้วย วีระพงษ์ กล่อมมิตร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าของสำนวน, เจตน์ รอดอ่อน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และสราวุธ ยงใจยุทธ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแจ้งว่า ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วยเหตุผลตามคำร้องดังกล่าว ก่อนสอบถามโจทก์ว่า คัดค้านหรือไม่ อัยการโจทก์แถลงไม่คัดค้าน
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี โดยอ่านเหตุผลที่พิมพ์มาในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า นัดที่แล้วเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2567 จําเลยมาศาลและยื่นคําร้องขอเลื่อนคดี อ้างว่าทนายจําเลยติดว่าความอยู่ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้จําเลยเลื่อนคดีโดยกําหนดวันนัดสืบพยานจําเลยใหม่ในวันที่ 1 และ 2 ก.ค. 2567 และกําชับให้จําเลยนําพยานมาสืบภายในกําหนดนัด
แต่ตามคําร้องขอเลื่อนคดีของจําเลยพร้อมเอกสารประกอบคําร้อง ปรากฏว่าการประชุมของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ในวันที่ 9 พ.ค. 2567 ได้มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงวันเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ เป็นระหว่างวันที่ 24 มิ.ย. – 2 ก.ค. 2567 ซึ่งเป็นการกําหนดภายหลังจากที่จําเลยทราบวันนัดสืบพยานดีอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าจําเลยก็ไม่ได้โต้แย้งกําหนดเวลาไปศึกษาดูงานว่ามีเหตุขัดข้องเนื่องจากจําเลยมีนัดสืบพยานคดีของจําเลย พฤติการณ์มีลักษณะเป็นการประวิงคดี จึงไม่อนุญาตให้จําเลยเลื่อนคดี และให้งดสืบพยานจําเลย คดีเสร็จการพิจารณา
จากนั้น ศาลถามทนายจำเลยว่า จะส่งแถลงการณ์ปิดคดีหรือไม่ โดยไม่ได้สอบถามว่า คัดค้านคำสั่งงดสืบพยานจำเลยมั้ย ทนายจำเลยจึงแถลงสั้น ๆ ว่า ขอส่งแถลงการณ์ปิดคดีภายใน 30 วัน ศาลอนุญาตตามที่ขอ ก่อนนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 11 ต.ค. 2567 เวลา 09.30 น.
.
ก่อนหน้านี้ ปิยรัฐและทนายจำเลยขอเลื่อนสืบพยานจำเลยมาแล้ว 5 ครั้ง โดย 4 ครั้ง มีเหตุมาจากปิยรัฐติดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญ และอีก 1 ครั้ง จากเหตุทนายจำเลยติดสืบพยานในคดีอื่นที่นัดไว้ก่อนและได้แถลงให้ศาลทราบก่อนกำหนดวันนัดแล้ว ซึ่งเป็นเหตุจำเป็นที่ทำให้ปิยรัฐหรือทนายจำเลยไม่สามารถมาศาลได้ทั้งสิ้น รวมถึงในนัดนี้
เมื่อปิยรัฐซึ่งยังอยู่ระหว่างการดูงานที่โปแลนด์ ทราบคำสั่งงดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจากทนายจำเลยแล้ว ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้สอบถามความเห็นเบื้องต้นของเขาต่อกรณีดังกล่าว ปิยรัฐได้ให้ความเห็นไว้ว่า
“ปกติผมไปศาลทุกนัด จะมีการเลื่อนก็ด้วยเหตุที่ผมไม่อาจจะก้าวล่วงได้เช่นในครั้งนี้ เดิมกำหนดการไปต่างประเทศในฐานะกรรมาธิการเป็นช่วงกลางเดือนมิถุนายน แต่เมื่อมี พ.ร.ฎ.เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญฯ เพื่อพิจารณางบปี 68 ในช่วงนั้นออกมาภายหลัง จึงจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการไปต่างประเทศไปหลังการประชุมสภาสมัยวิสามัญฯ ครั้งนี้ และทำให้ไปตรงกับนัดสืบพยานในคดีนี้
“การเดินทางไปต่างประเทศในครั้งนี้ เป็นมติของ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ที่มี สส. จากหลายพรรคการเมืองร่วมกันลงมติเพื่อกำหนดการเดินทางในครั้งนี้ และเจ้าหน้าที่ได้ทำการขออนุญาตประธานสภาฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ ร่วมถึงการประสานการต่างประเทศ และประสานหน่วยงานทางการของประเทศปลายทางอย่างโปแลนด์ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานความมั่นคงทางการทหารของโปแลนด์ด้วย
“ดังนั้น เมื่อมีการอนุมัติรายชื่อผู้เดินทางไปแล้ว จึงไม่อาจจะยกเลิกได้ หากคนใดยกเลิกก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และเรื่องใหญ่กว่านั้นคือ ต้องมีการทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณกันใหม่ ซึ่งด้วยระยะเวลาในช่วงนั้นไม่อาจจะทำได้ทัน จึงเป็นเหตุผลที่ผมได้ทำคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานในครั้งนี้และได้อธิบายเหตุผลไปในคำร้องอย่างชัดเจนแล้ว ไม่ได้มีเจตนาประวิงคดีอย่างที่ศาลเข้าใจ
“ผมคงไม่อาจจะยอมรับว่านี่คือความยุติธรรมสำหรับผม”
.
กรณีนี้ ศูนย์ทนายความฯ มีข้อสังเกตต่อกระบวนการยุติธรรมในการให้โอกาสจำเลยในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนได้ต่อสู้คดีเต็มที่และเป็นธรรม รวมถึงความเป็นอิสระในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทางคดีของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน เนื่องจากเห็นได้ว่า มีทั้งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 มานั่งเป็นองค์คณะร่วมพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีด้วยใน 2 นัดหลัง โดยไม่ได้เป็นองค์คณะที่นั่งพิจารณาคดีแต่อย่างใด
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 1 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68334)
-
วันที่: 08-07-2024นัด: ยื่นขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาปิยรัฐยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ผ่านระบบซีออส ขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2567 ศาลมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลย และนัดฟังคำพิพากษา ในคดีนี้
คำร้องดังกล่าวระบุว่า การนั่งพิจารณาคดีของศาลและคําสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 ที่จะต้องพิจารณาคดีโดยเป็นธรรม จึงขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งที่ให้งดสืบพยานจําเลย และเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ รวมทั้งกําหนดนัดพิจารณาสืบพยานจําเลยใหม่ต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณาคดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี… เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ศาลเห็นสมควร
รายละเอียดของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ปิยรัฐหยิบยกมาเป็นเหตุผลในคำร้องมีดังนี้
1. ศาลต้องรับฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนจะมีคําพิพากษา ตาม “หลักฟังความสองฝ่าย”
คดีนี้จําเลยถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูงถึง 15 ปี การพิจารณาคดีจึงควรให้โอกาสจําเลยได้นําพยานหลักฐานเข้ามาสืบต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจําเลย โดยใช้หลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม อันเป็นสิทธิของจําเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 อันได้แก่ หลักฟังความสองฝ่าย (the principle of bilateral hearing) คือ การเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้ง คัดค้าน การนําเสนอหรือการกล่าวอ้างของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "หลักโต้แย้งคัดค้านต่อสู้คดี" (le principe de la contradiction) ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความในคดีทุกประเภท โดยเป็นแนวความคิดที่มีมาตั้งแต่กฎหมายโรมันตามหลักที่ว่า "audi alteram partem" ซึ่งหมายถึง ศาลจะต้องรับฟังคู่ความทุกฝ่ายก่อนจะมีคําพิพากษา
คําพิพากษาที่ดีจะต้องเกิดจากการที่คู่ความในคดีได้มีโอกาสเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมด มีโอกาสเสนอข้อกล่าวอ้างหรือข้อต่อสู้ และนําพยานหลักฐานต่าง ๆ เข้าสืบสนับสนุนข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวอ้างของตน รวมทั้งความเห็นที่ตนเห็นว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายมีโอกาสได้ทราบข้ออ้าง ข้อต่อสู้ ตลอดจนพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง และมีโอกาสนําพยานหลักฐานของตนมาโต้แย้ง คัดค้าน ต่อสู้คดี ภายในระยะเวลาอันสมควร ซึ่งจะช่วยให้ศาลสามารถพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
หลักฟังความสองฝ่ายจึงเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง จนถือได้ว่าเป็นหลักทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความ หรือแม้กระทั่งเป็นหลักตามรัฐธรรมนูญ
2. จำเลยไม่ได้ประวิงคดี เหตุเลื่อนคดีเนื่องจากติดประชุมสภา อันเป็นเหตุจําเป็นและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กำหนดศึกษาดูงานก็เป็นมติ กมธ.
ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ การเลื่อนนัดสืบพยานในแต่ละครั้งล้วนแล้วแต่มีเหตุผลจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เพราะจําเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมสภา ซึ่งเป็นหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด และเป็นเอกสิทธิ์ที่จําเลยได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 125 ซึ่งบัญญัติคุ้มครองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
และการขอเลื่อนคดีเกี่ยวกับเหตุในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจําเลยมีพยานเอกสารแนบมาในคําร้องขอเลื่อนคดีโดยตลอด อันถือเป็นเหตุจําเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้ เพราะจําเลยต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎร ตามที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชน การขอเลื่อนคดีในแต่ละครั้งที่มีการประชุมจึงเป็นการขอเลื่อนคดีด้วยเหตุผลความจําเป็นและเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มิได้มีลักษณะเป็นการประวิงคดีแต่อย่างใด
อีกทั้งเหตุผลบางส่วนในการขอเลื่อนนัดสืบพยานจําเลย ก็สืบเนื่องมาจากผู้ครอบครองพยานเอกสารที่จําเลยขอให้ศาลออกหมายเรียกมาให้ ไม่ยอมส่งพยานเอกสารมายังศาล ทําให้จําเลยไม่สามารถที่จะสืบพยานจําเลยได้ ซึ่งกรณีก็มิใช่ความผิดของจําเลย และปัจจุบันบุคคลภายนอกผู้ครอบครองเอกสารก็ยังไม่ได้ส่งพยานเอกสารมายังศาลแต่อย่างใด
สําหรับนัดพิจารณาคดีในวันที่ 11 เม.ย. 2567 นั้น จําเลยได้ขอเลื่อนคดีก็เนื่องจากว่ากําหนดนัดพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ศาลเป็นผู้กําหนดนัดเอง ไม่ใช่คู่ความกําหนด เพราะทนายความจําเลยได้แถลงเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ในวันดังกล่าวทนายความจําเลยติดนัดพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งศาลก็ทราบก่อนแล้ว เมื่อถึงวันนัดพิจารณาจําเลยจึงยื่นคําร้องขอเลื่อนนัดสืบพยาน ซึ่งไม่ใช่ความผิดของจําเลยแต่อย่างใด เพราะจําเลยไม่สามารถสืบพยานหรือเบิกความได้โดยไม่มีทนายความซึ่งเป็นสิทธิของจําเลยตามที่กฎหมายกําหนด กรณีจะถือเป็นเหตุว่าจําเลยมีลักษณะในการประวิงคดีหาได้ไม่
สําหรับนัดพิจารณาคดีในวันที่ 1 ก.ค. 2567 จําเลยก็มีกําหนดการเดินทางไปศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐโปแลนด์ อันสืบเนื่องมาจากมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2568 ในระหว่างวันที่ 19-20 มิ.ย. 2567 ทําให้คณะกรรมาธิการมีมติเห็นชอบให้เดินทางไปศึกษาดูงานในวันดังกล่าว เพราะกําหนดการถูกเลื่อนออกมาจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญ ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของจําเลย
ถึงแม้ว่าจําเลยจะทักท้วงก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกําหนดการเดินทางแต่อย่างใด เพราะต้องถือตามมติของคณะทํางานซึ่งมีบุคคลเป็นจํานวนมาก และหากจําเลยไม่เดินทางไปศึกษาดูงานก็อาจจะเกิดผลเสียต่อหน้าที่การงานของจําเลย ประการสําคัญน่าจะเกิดผลเสียต่อสภาผู้แทนราษฎรในหลายมิติ การขอเลื่อนนัดพิจารณาคดีในวันดังกล่าวจึงมีเหตุผลความจําเป็น ซึ่งศาลเองก็วินิจฉัยเอาไว้ว่าจําเลยไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีแต่อย่างใด
3. โจทก์ไม่ได้ค้านการเลื่อนคดี
ในวันพิจารณาคดีดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่ได้คัดค้านการขอเลื่อนคดีของจําเลย จําเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อฝ่ายโจทก์ก็ไม่ได้คัดค้านการขอเลื่อน ก็ไม่มีเหตุผลความจําเป็นใดที่จะต้องเร่งรัดการพิจารณาคดีถึงขนาดสั่งงดสืบพยานฝ่ายจําเลยในลักษณะเช่นนี้ เพราะการงดสืบพยานฝ่ายจําเลยทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นอย่างยิ่ง
4. จำเลยมีพยานบุคคลที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ การงดสืบพยานจำเลยจึงทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นอย่างยิ่ง
จากแนวทางการถามค้านของทนายความจําเลยจะเห็นได้ว่า จําเลยได้ต่อสู้มาโดยตลอดว่ามิได้กระทําความผิดตามคําฟ้อง มิได้อยู่ในที่เกิดเหตุในขณะที่อ้างว่ามีการนําป้ายต่าง ๆ ไปติดตั้ง หากฝ่ายจําเลยได้มีโอกาสนําพยานเข้าเบิกความ ทั้งตัวจําเลยเองและพยานบุคคลภายนอกที่สามารถยืนยันถิ่นที่อยู่ได้ว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยอยู่ที่อื่น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด ย่อมจะเป็นข้อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจําเลยและเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง
แต่การงดสืบพยานไม่ให้โอกาสจําเลยนําพยานเข้าไปสืบ ทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ให้สิทธิจําเลยในการเบิกความ แสดงพยานหลักฐาน และนําพยานบุคคลไปเบิกความยืนยันว่า มิได้กระทําความผิดตามคําฟ้อง การดําเนินกระบวนพิจารณาในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นการฟังพยานหลักฐานโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่จําเลยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ชอบด้วยหลักการพิจารณาคดีโดยเป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5. กระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมเป็นหลักประกันถึงความยุติธรรมของคําพิพากษา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรรม
จําเลยยังมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการสั่งงดสืบพยาน รวมถึงการพิพากษาคดีต่อไปในอนาคตว่า การใช้ดุลพินิจสั่งงดสืบพยานได้เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนอย่างอิสระหรือไม่ และคําพิพากษาของศาลจะเป็นไปอย่างอิสระตามดุลพินิจของเจ้าของสํานวนหรือไม่ เพราะปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ 1 ก.ค. 2567 ได้มี สราวุธ ยงใจยุทธ ตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 ซึ่งเป็นผู้พิพากษาระดับสูงมานั่งในการพิจารณาคดีด้วย โดยไม่ใช่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตั้งแต่ต้น และไม่ใช่ผู้พิพากษาในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์แต่อย่างใด รวมทั้งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมก็ไม่ปรากฏว่า มีกฎหมายข้อใดให้อํานาจในการนั่งพิจารณาคดีเช่นนี้
อนึ่ง คดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ จําเลยเป็นบุคคลสาธารณะ และเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน การพิจารณาพิพากษาคดีไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ย่อมจะต้องถูกนําเสนอต่อสื่อสาธารณะ กระบวนการพิจารณาคดีจึงเป็นเสาหลักสําคัญที่จะเป็นหลักประกันได้ว่าคําพิพากษาของศาลได้พิพากษาไปด้วยความยุติธรรม โดยเฉพาะเรื่องของหลักการรับฟังความทั้งสองฝ่าย
หากศาลให้โอกาสจําเลยได้นําพยานเข้ามาสืบหรือเบิกความย่อมจะทําให้กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสง่างามและเป็นธรรม ไม่ว่าผลการพิจารณาพิพากษาคดีจะออกมาเป็นเช่นไร กระบวนการยุติธรรมก็จะมีความสง่างาม เพราะได้เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเบิกความนําพยานหลักฐานมาหักล้างแสดงต่อศาล
แต่ในทางกลับกันกรณีที่ศาลมีคําสั่งงดสืบพยานจําเลยและกําหนดนัดฟังคําพิพากษาในทันที โดยไม่ให้ จําเลยมีโอกาสได้เบิกความแก้ข้อกล่าวหาเลย เมื่อมีคําพิพากษาออกมาอาจจะทําให้เกิดข้อกังขา เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนในวงกว้าง หรือกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรรมของประชาชนในภาพรวม
ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น การนั่งพิจารณาคดีของศาลและคําสั่งของศาลที่สั่งให้งดสืบพยานจําเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 ที่จะต้องพิจารณาคดีโดยเป็นธรรม เป็นการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งที่ให้งดสืบพยานจําเลย และมีคําสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2567 เป็นต้นไป รวมทั้งกําหนดนัดพิจารณาสืบพยานจําเลยใหม่ต่อไปด้วย
.
ต่อมา วันที่ 11 ก.ค. 2567 วีระพงษ์ กล่อมมิตร ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว มีรายละเอียดว่า
ที่จําเลยยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลกําหนดนัดสืบพยานจําเลยในวันที่ 23 พ.ค., 29 และ 30 ส.ค., 26 ต.ค., 21 ธ.ค. 2566, วันที่ 8 ก.พ. และ 11 เม.ย. 2567 โดยจําเลยได้ยื่นคําร้องขอเลื่อนคดีมาโดยตลอด และในวันที่ 11 เม.ย. 2567 ศาลได้ใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้จําเลยเลื่อนคดีไปสืบพยานจําเลยในวันที่ 1 และ 2 ก.ค. 2567 โดยกําชับให้จําเลยเตรียมพยานมาสืบภายในกําหนดนัด มิเช่นนั้นแล้วศาลจะใช้ดุลยพินิจในการเลื่อนคดีโดยเคร่งครัด
แต่เมื่อถึงกําหนดนัดในวันที่ 1 ก.ค. 2567 มีเพียงทนายจําเลยมาศาลและยื่นคําร้องขอเลื่อนการสืบพยานจําเลย ศาลจึงมีคําสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและมีคําสั่งให้งดสืบพยานจําเลย เนื่องจากเห็นว่าจําเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ศาลย่อมมีอํานาจงดการสืบพยานจําเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงไม่ใช่การดําเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด
ส่วนที่จําเลยอ้างว่า สราวุธ ยงใจยุทธ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 4 ซึ่งเป็นผู้พิพากษาระดับสูงมานั่งพิจารณาคดีด้วย โดยไม่ใช่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตั้งแต่ต้นและไม่ใช่ผู้พิพากษาในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ การนั่งพิจารณาคดีจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมนั้น
เห็นว่า อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ได้มีคําสั่งลงวันที่ 13 มี.ค. 2567 มอบหมายให้ สราวุธ ยงใจยุทธ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เข้าร่วมนั่งพิจารณา ดังนั้น สราวุธ ยงใจยุทธ จึงมีอํานาจร่วมนั่งพิจารณาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 11 วรรคสอง จึงไม่ได้เป็นการผิดระเบียบต่อกฎหมายแต่อย่างใด จึงมีคําสั่งให้ยกคําร้อง
(อ้างอิง: คำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 8 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68483)
-
วันที่: 11-10-2024นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.15 น. ปิยรัฐ, แม่, ทนายจำเลย ประชาชนที่มาให้กำลังใจ รวมถึง ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ทยอยเดินทางมาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 7
ราว 09.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดี ขณะที่ตำรวจศาลและตำรวจประจำศาลซึ่งมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินเข้ามานั่งในห้องพิจารณาเช่นกัน จากนั้นไม่นานศาลเริ่มอ่านคำพิพากษามีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยเป็นคนนำป้ายไปติดตั้งบริเวณที่เกิดเหตุตามฟ้องจริงหรือไม่
เห็นว่า พยานโจทก์ที่พบเห็นแผ่นป้ายติดตั้งบริเวณที่เกิดเหตุต่างเบิกความเพียงว่า มีคนนำแผ่นป้ายไปติดตั้งที่บริเวณที่เกิดเหตุจำนวน 7 แผ่น และเห็นรถที่บรรทุกป้าย แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเลยยืนยันว่า เห็นจำเลยในที่เกิดเหตุหรือยืนยันว่าเห็นจำเลยเป็นคนติดตั้งแผ่นป้ายดังกล่าว
ส่วนที่ตำรวจชุดสืบอ้างว่ารถที่บรรทุกแผ่นป้ายไปติดตั้งเป็นรถของแม่จำเลย และรถตู้ของจำเลยขับตามรถที่บรรทุกแผ่นป้ายในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดตั้งแผ่นป้ายในบริเวณที่เกิดเหตุนั้น
แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ได้ความเพียงว่า จำเลยเคยใช้รถดังกล่าวในการทำกิจกรรมทางการเมือง และรถตู้ที่ขับติดตามมาเป็นรถของจำเลย ไม่พบว่าพยานโจทก์ปากใดทราบว่า จำเลยเดินทางมาร่วมติดตั้งป้ายในบริเวณที่เกิดเหตุด้วย การจะรับฟังพยานหลักฐานที่มีเพียงว่า รถที่บรรทุกป้ายมาติดตั้งเป็นรถที่จำเลยเคยใช้ โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า จำเลยเดินทางมาร่วมติดตั้งป้ายในบริเวณที่เกิดเหตุ มาพิจารณาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้ ร.อ.นิธิสัคค์ จะเบิกความว่า แหล่งข่าวรายงานว่า ผู้ติดตั้งป้ายคือจำเลย ก็เป็นเพียงการที่พยานทราบข้อมูลจากแหล่งข่าว โดยไม่ปรากฏว่าแหล่งข่าวเป็นใคร หรือมีพยานหลักฐานอย่างไร พยานหลักฐานโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นผู้นำป้ายไปติดตั้งในที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปว่า จำเลยเป็นคนนำภาพป้ายไปโพสต์ในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ตามฟ้องหรือไม่
ได้ความจาก พ.ต.ท.แสงเพ็ชร, พ.ต.ท.ธนศักดิ์ และ พ.ต.ท.อิสรพงศ์ ว่า หลังเกิดเหตุมีผู้นำภาพป้ายไปโพสต์และหลังจากเจ้าหน้าที่เก็บป้ายแล้ว เฟซบุ๊ก โตโต้ ปิยรัฐ ได้โพสต์ทวงถามหาป้ายที่เจ้าหน้าที่เก็บไป จากการสืบสวนทราบเพียงว่า มีการนำภาพไปโพสต์โดยอ้างว่าทวิตเตอร์ We Volunteer เป็นบัญชีกลุ่มที่จำเลยเป็นสมาชิก และเพซบุ๊ก โตโต้ ปิยรัฐ เป็นบัญชีที่ระบุชื่อของจำเลย โดยไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันว่า เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ดังกล่าวเป็นของจำเลย และจำเลยเป็นผู้โพสต์ภาพดังกล่าวเอง
ทั้งพยานโจทก์ปาก พ.ต.ท.อิสรพงศ์ เบิกความว่า เฟซบุ๊กที่โพสต์ภาพป้ายเป็นเพจไม่ใช่เฟซบุ๊กส่วนตัว และไม่ทราบว่าเจ้าของเพจและคนโพสต์ภาพป้ายตามฟ้องเป็นใคร กับมี พ.ต.ท.ไพศาล พนักงานสอบสวน เบิกความว่า ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. – 7 เม.ย. 2564 จำเลยถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งระหว่างนั้นเฟซบุ๊กดังกล่าวยังมีการโพสต์อยู่ แสดงว่าคนที่โพสต์ในเพจดังกล่าวอาจเป็นคนอื่นก็เป็นได้
พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ภาพป้ายตามฟ้องเองหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
พิพากษายกฟ้อง แต่ป้ายไวนิลข้อความทั้ง 7 ป้าย และลวด 2 เส้น ของกลางในคดี เป็นวัตถุในการกระทำความผิดจึงให้ริบ
.
หลังศาลอ่านรายงานกระบวนพิจารณาของวันนี้เสร็จ ผู้ที่มาร่วมฟังคำพิพากษาและให้กำลังใจโตโต้ต่างเดินออกจากห้องพิจารณาคดีด้วยสีหน้าดีใจและโล่งใจ โดยเฉพาะโตโต้และแม่ โดยทนายความได้พาแม่ซึ่งเป็นนายประกันในคดีนี้ไปยื่นคำร้องขอคืนเงินประกันของกองทุนราษฎรประสงค์จำนวน 200,000 บาท ที่วางประกันไว้กับศาลในชั้นพิจารณาคดี
เมื่อถามความรู้สึกของแม่หลังฟังคำพิพากษา เธอกล่าวสั้น ๆ ว่า ตั้งแต่ได้รับหมายนัดของศาลเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา แม่ก็นับวันในปฏิทินทีละวัน เพิ่งมีวันนี้วันแรกที่รู้สึกโล่งอก
.
ปิยรัฐถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีแรกในจำนวนทั้งหมด 3 คดี รวมถึงเป็นคดีแรกที่ศาลมีคำพิพากษา โดยอีก 2 คดี คือ คดีจากการปราศรัยในการชุมนุม #เด็กพูดผู้ใหญ่ฟัง เมื่อ 22 ส.ค. 2563 ที่ จ.อุบลฯ และคดีจากการโพสต์วิจารณ์ตำรวจสลายวีโว่ขายกุ้ง พาดพิงการใช้ภาษีของสถาบันกษัตริย์ ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดอุบลฯ และศาลอาญาตามลำดับ
ในชั้นสอบสวนของคดีนี้ ปิยรัฐถูกออกหมายจับ แม้ก่อนหน้านั้นตำรวจจะได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาแล้วขณะเขาถูกขังในคดีอั้งยี่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อนถูกควบคุมตัวมาฝากขังต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว จนกระทั่งในการยื่นประกันครั้งที่ 3 ศาลจึงอนุญาตให้ประกันโดยติด EM ต่อมา หลังอัยการยื่นฟ้อง ศาลจึงอนุญาตให้ปลด EM ตามที่ปิยรัฐยื่นคำร้อง รวมเวลาที่ปิยรัฐถูกคุมขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ 33 วัน และต้องติด EM อีกเกือบ 2 เดือน ก่อนศาลพิพากษายกฟ้องในวันนี้
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.959/2564 ลงวันที่ 11 ต.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/70527)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปิยรัฐ จงเทพ
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- วีระพงษ์ กล่อมมิตร
ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
11-10-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์