ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.1366/2564
แดง อ.1576/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.สุธิศักดิ์ พิริยะภิญโญ รอง ผกก.สส.สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
- ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานจนเกิดอันตราย (มาตรา 296)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1366/2564
แดง อ.1576/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.สุธิศักดิ์ พิริยะภิญโญ รอง ผกก.สส.สน.ชนะสงคราม
ความสำคัญของคดี
"จัสติน" หรือชูเกียรติ แสงวงค์ นักกิจกรรม "ราษฎร" ถูกออกหมายจับและจับกุมดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาอื่นๆ รวม 7 ข้อหา โดยถูกกล่าวหาว่า ชูเกียรติร่วมชุมนุมทำร้ายเจ้าหน้าที่ และนำกระดาษที่เขียนข้อความ "ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!" ไปแปะบนรูปรัชกาลที่ 10 ที่ติดตั้งอยู่หน้าศาลฎีกา ระหว่าง #ม็อบ20มีนา ของกลุ่ม REDEM ซึ่งถูกสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ใช้ทั้งน้ำ แก็สน้ำตา และกระสุนยาง
หลังถูกจับกุม ชูเกียรติถูกยึดโทรศัพท์ ทำให้ไม่สามารถติดต่อทนายความและญาติได้ ก่อนเจ้าหน้าที่ ปอท.ขอคำสั่งศาลเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ ทั้งที่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมทั้งไม่ได้การประกันตัวในชั้นสอบสวน แม้ยื่นประกันหลายครั้ง จนกระทั่งเขาติดเชื้อโควิดอยู่ในเรือนจำ แม้กระนั้นระหว่างที่เขายังไม่หาย ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก่อนศาลอนุญาตให้ประกันโดยมีเงื่อนไขไม่ให้ทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ หลังถูกขังถึง 71 วัน
หลังถูกจับกุม ชูเกียรติถูกยึดโทรศัพท์ ทำให้ไม่สามารถติดต่อทนายความและญาติได้ ก่อนเจ้าหน้าที่ ปอท.ขอคำสั่งศาลเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ ทั้งที่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมทั้งไม่ได้การประกันตัวในชั้นสอบสวน แม้ยื่นประกันหลายครั้ง จนกระทั่งเขาติดเชื้อโควิดอยู่ในเรือนจำ แม้กระนั้นระหว่างที่เขายังไม่หาย ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก่อนศาลอนุญาตให้ประกันโดยมีเงื่อนไขไม่ให้ทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ หลังถูกขังถึง 71 วัน
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พนักงานอัยการบรรยายฟ้องรวม 22 หน้า ระบุว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันกระทำความผิด 2 กรรม ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 20 - 21 มี.ค. 64 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง มีผู้ชุมนุมประมาณ 500 คน เดินทางมาร่วมชุมนุมที่บริเวณถนนราชดำเนินใน เพื่อขับไล่รัฐบาลตามที่ “กลุ่มรีเดม” ได้นัดหมายเอาไว้ อันเป็นการทำกิจกรรมหรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัด ซึ่งมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค โดยจำเลยและพวกไม่ได้จำกัดทางเข้า - ออก และไม่ได้จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร ทั้งไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 อาทิ ไม่มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์, ตรวจวัดอุณหภูมิ หรือการคัดกรองผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอาการไข้ ไอ จาม
จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยระหว่างการชุมนุมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามมาตั้งตลอดแนว พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน เพื่อกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในเขตสนามหลวงและเขตพระราชฐาน จำเลยและพวกได้ร่วมกันด่าทอ ตำหนิ โห่ไล่ รื้อรั้วลวดหนามตาข่ายบนตู้คอนเทนเนอร์ ใช้แก๊สตัดเหล็กรื้อโครงออก เพื่อทำกิจกรรมร่อนจรวดกระดาษ ฉีดสเปรย์ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ และใช้เชือกดึงตู้คอนเทนเนอร์ลงมาเพื่อเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในเขตหวงห้าม การใช้หนังยางด้ามจับยิง หรือขว้างปา ลูกแก้วทรงกลม พลุควัน ฝาโลหะ อุปกรณ์โลหะ พลาสติกทรงกลม ประทัดยักษ์ก้อนหิน ขวดแก้ว และของแข็งต่าง ๆ ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน อันเป็นการกระทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
หลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้สั่งให้กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยและพวกไม่เลิกกระทำการดังกล่าว และได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยเมื่อเคลื่อนขบวนไปถึงแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้ใช้หนังยางด้ามจับยิงหรือขว้างของแข็งต่าง ๆ ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเหตุให้ พ.ต.ต. สมบัติ ดำกำเนิด, ร.ต.อ. เฉลิมพงษ์ ตระกูลชาวท่าโขลง, ส.ต.อ. อานนท์ แสงกุล เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้รับบาดเจ็บ
2. ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดไม่ได้”
ต่อมาในวันที่ 20 มี.ค. 64 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้ใช้เท้าเหยียบบนฐานที่วางติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และนำกระดาษที่มีคำว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ไปติดบริเวณพระศอของพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจได้ว่า พระองค์เป็นถังขยะสำหรับทิ้งสิ่งปฏิกูล ของเสีย ของเน่าเหม็น อันเป็นของสกปรก เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นตัวแทนของความไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
โดยจำเลยมีเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อกษัตริย์ และเจตนายุยงปลุกปั่นให้ผู้ร่วมชุมนุมล้มล้างหรือต่อต้านสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน จนประชาชนที่มาร่วมชุมนุมได้ทิ้งขยะ และฉีดสีสเปรย์ที่บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ทั้งยังมีการเผาทำลายฐานที่วางพระบรมฉายาลักษณ์ อันเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ และต่อกษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2564)
1. เมื่อวันที่ 20 - 21 มี.ค. 64 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง มีผู้ชุมนุมประมาณ 500 คน เดินทางมาร่วมชุมนุมที่บริเวณถนนราชดำเนินใน เพื่อขับไล่รัฐบาลตามที่ “กลุ่มรีเดม” ได้นัดหมายเอาไว้ อันเป็นการทำกิจกรรมหรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัด ซึ่งมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค โดยจำเลยและพวกไม่ได้จำกัดทางเข้า - ออก และไม่ได้จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร ทั้งไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 อาทิ ไม่มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์, ตรวจวัดอุณหภูมิ หรือการคัดกรองผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีอาการไข้ ไอ จาม
จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยระหว่างการชุมนุมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามมาตั้งตลอดแนว พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน เพื่อกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในเขตสนามหลวงและเขตพระราชฐาน จำเลยและพวกได้ร่วมกันด่าทอ ตำหนิ โห่ไล่ รื้อรั้วลวดหนามตาข่ายบนตู้คอนเทนเนอร์ ใช้แก๊สตัดเหล็กรื้อโครงออก เพื่อทำกิจกรรมร่อนจรวดกระดาษ ฉีดสเปรย์ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ และใช้เชือกดึงตู้คอนเทนเนอร์ลงมาเพื่อเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในเขตหวงห้าม การใช้หนังยางด้ามจับยิง หรือขว้างปา ลูกแก้วทรงกลม พลุควัน ฝาโลหะ อุปกรณ์โลหะ พลาสติกทรงกลม ประทัดยักษ์ก้อนหิน ขวดแก้ว และของแข็งต่าง ๆ ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน อันเป็นการกระทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
หลังจากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้สั่งให้กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยและพวกไม่เลิกกระทำการดังกล่าว และได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยเมื่อเคลื่อนขบวนไปถึงแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้ใช้หนังยางด้ามจับยิงหรือขว้างของแข็งต่าง ๆ ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเหตุให้ พ.ต.ต. สมบัติ ดำกำเนิด, ร.ต.อ. เฉลิมพงษ์ ตระกูลชาวท่าโขลง, ส.ต.อ. อานนท์ แสงกุล เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้รับบาดเจ็บ
2. ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดไม่ได้”
ต่อมาในวันที่ 20 มี.ค. 64 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้ใช้เท้าเหยียบบนฐานที่วางติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และนำกระดาษที่มีคำว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ไปติดบริเวณพระศอของพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจได้ว่า พระองค์เป็นถังขยะสำหรับทิ้งสิ่งปฏิกูล ของเสีย ของเน่าเหม็น อันเป็นของสกปรก เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นตัวแทนของความไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
โดยจำเลยมีเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อกษัตริย์ และเจตนายุยงปลุกปั่นให้ผู้ร่วมชุมนุมล้มล้างหรือต่อต้านสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน จนประชาชนที่มาร่วมชุมนุมได้ทิ้งขยะ และฉีดสีสเปรย์ที่บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ทั้งยังมีการเผาทำลายฐานที่วางพระบรมฉายาลักษณ์ อันเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ และต่อกษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 23-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาและฝากขังหลังชูเกียรติถูกจับกุมจากที่พักใน จ.สมุทรปราการ ในช่วงค่ำวันที่ 22 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 20.00 น. โดยตำรวจแสดงหมายจับศาลอาญาที่ 514/2564 ลงวันที่ 22 มี.ค. 2564 ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 และควบคุมตัวชูเกียรติไป สน.ห้วยขวาง เพื่อทำบันทึกจับกุม อ้างเหตุว่า สน.ชนะสงคราม ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุอยู่ระหว่างการปรับปรุงห้องขัง ทำให้ไม่มีที่คุมขังผู้ต้องหา ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ได้ยึดโทรศัพท์มือถือของชูเกียรติ ทำให้เขาไม่สามารถติดต่อทนายความและเพื่อนได้
บันทึกจับกุมระบุว่า หลังการจับกุมเจ้าหน้าที่ได้ค้นตัวและตรวจยึดโทรศัพท์มือถือจำนวน 2 เครื่อง ไว้เป็นของกลาง ระบุว่าเป็นโทรศัพท์ที่ผู้ต้องหาใช้กระทำความผิด แม้ว่าตามหมายจับจะไม่มีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และไม่มีหมายศาลในการตรวจยึดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์โดยเฉพาะก็ตาม
หลังทำบันทึกจับกุม พนักงานสอบสวนพยายามดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำชูเกียรติ โดยให้ทนายความที่ตำรวจจัดหามาเข้าร่วมกระบวนการ แต่ชูเกียรติไม่ยินยอม พนักงานสอบสวนจึงยังไม่สามารถสอบปากคำได้ จึงใส่กุญแจมือชูเกียรติและนำตัวไปควบคุมไว้ในห้องขัง
กระทั่งเวลา 00.54 น. ของวันที่ 23 มี.ค. 2564 ชูเกียรติจึงได้พบกับทนายความที่ติดตามไปพบ หลังทนายความไปที่ สน.ชนะสงคราม แต่ไม่พบตัว ก่อนได้รับแจ้งในเวลา 23.30 น. ว่า ชูเกียรติถูกนำตัวไปที่ สน.ห้วยขวาง เมื่อชูเกียรติได้พบทนายความ ตำรวจจึงแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำชูเกียรติในช่วงกลางดึก
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 18.00 น. ชูเกียรติกับพวกได้มารวมตัวกันที่บริเวณหน้าพระแม่ธรณีบีบมวยผม ข้างศาลฎีกา มีการปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศให้เลิกการชุมนุมเนื่องจากเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย แต่กลุ่มผู้ชุมนุมตะโกนโห่ร้องและไม่ยอมเลิกการชุมนุมแต่อย่างใด และยังมีการรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณหน้าตู้คอนเทนเนอร์ ที่ตำรวจได้ตั้งไว้เป็นแนวกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมรุกล้ำหรือเข้าไปในบริเวณเขตพระราชฐาน มีการใช้เชือกผูกตู้คอนเทนเนอร์และดึงลงเพื่อเปิดทาง
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศห้าม กลุ่มผู้ชุมนุมได้ขว้างปาสิ่งของและขว้างประทัดยักษ์เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับมีการใช้หนังสติ๊กยิงลูกเหล็กและลูกแก้วใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ทั้งยังมีการใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้ได้ส่วนหนึ่ง
หลังเกิดเหตุตำรวจได้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด พบชูเกียรตินำกระดาษที่เขียนข้อความว่า "ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!" ปีนขึ้นไปติดไว้ที่บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 บริเวณด้านหน้ารั้วของศาลฎีกา
พนักงานสอบสวนระบุว่า การกระทำดังกล่าวของชูเกียรติมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ โดยเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องถึงขนาดจะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยเป็นการกระทำโดยเจตนา ประสงค์ต่อผล และเล็งเห็นผลว่าการกระทำดังกล่าวข้างต้น จะมีผู้อื่นกระทำความผิดล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยพบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้นำขยะต่างๆ ไปทิ้งไว้ที่บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์ รวมทั้งฉีดสีสเปรย์และสาดน้ำที่พระบรมฉายาลักษณ์จนได้รับความเสียหาย
จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหารวม 7 ข้อหา ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน โดยใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตาม มาตรา 215, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามมาตรา 216, ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ โดย 6 ข้อหาหลังเป็นข้อกล่าวหาเดียวกันกับผู้ถูกจับกุมในการชุมนุม #ม็อบ20มีนา
ชูเกียรติได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมต่อไป ชูเกียรติยังขอให้ระบุในบันทึกจับกุมด้วยว่า ตนไม่ได้รับการแจ้งสิทธิตามกฎหมายและไม่รับโอกาสในการติดต่อทนายความหรือผู้ไว้วางใจโดยทันที ทำให้เขาถูกควบคุมตัวใส่กุญแจมือไว้ในห้องขังตั้งแต่เวลา 20.00 น. จนกระทั่งทนายมาพบ แต่พนักงานสอบสวนปฏิเสธที่จะบันทึกถ้อยความดังกล่าว ทนายความจึงขอให้บันทึกไว้ในบันทึกสอบปากคำ ตำรวจยังบ่ายเบี่ยงก่อนจะยินยอมบันทึกให้ในที่สุด คืนนั้นชูเกียรติถูกควบคุมตัวไว้ที่ห้องขังของ สน.ห้วยขวาง
ทั้งนี้ ทางพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ต่อชูเกียรติ แม้จะมีการระบุในหมายจับ และบรรยายพฤติการณ์ของข้อกล่าวหานี้ไว้
ในช่วงบ่าย พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง รองผู้กำกับสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังชูเกียรติผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ต่อศาลอาญารัชดา โดยให้เหตุผลว่าต้องสอบพยานอีก 11 ปาก, รอผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของเจ้าพนักงานตำรวจและพยานที่ได้รับบาดเจ็บ, รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ และประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา
นอกจากนั้นพนักงานสอบสวนยังคัดค้านการปล่อยชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่ามีพฤติการณ์ร่วมกันชุมนุมแล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปจะเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันอีก ประกอบกับผู้ต้องหาเคยกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้วหลายครั้ง โดยมีการระบุถึงคดีมาตรา 112 ของชูเกียรติอีก 3 คดี ที่สถานีตำรวจอื่น รวมทั้งคดีตามมาตรา 116 จากการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน 2563 และอ้างว่าแสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายแต่อย่างใด หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปจะเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันอีก
ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังมีกำหนด 12 วัน ทนายความจึงยื่นขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคก้าวไกล ตีเป็นวงเงินประกัน 100,000 บาท
เวลา 17.12 น. สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งยกคำร้องขอประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีความร้ายแรงและมีอัตราโทษสูง ประกอบผู้ต้องหาเคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในลักษณะความผิดทำนองเดียวกันนี้มาแล้ว แต่ผู้ต้องหาก็ยังมากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้อีก เห็นว่าหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะไปกระทำการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองซ้ำอีก ตลอดจนพนักงานสอบสวนคัดค้านจึงให้ยกคำร้อง”
ขณะเดียวกัน พ.ต.ต.สุรชัย เหมจุไร สารวัตรกองกำกับการกลุ่มงานสนับสนุน ของ บก.ปอท. ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ของชูเกียรติ โดยระบุว่าได้รับการประสานงานและร้องขอ จาก พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง รอง ผกก. (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทางเทคโนโลยี จึงเป็นเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 18 (4) ถึง (7)
โดยศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้เข้าถึงหรือทำสำเนาข้อมูลโทรศัพท์มือถือของชูเกียรติและสั่งให้ส่งรหัสผ่านให้เจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้แสดงคำสั่งดังกล่าวให้ชูเกียรติดูในระหว่างการรอผลการประกันตัว ชูเกียรติได้ปฏิเสธไม่ให้รหัสเข้าเครื่องโทรศัพท์มือถือ และไม่ยินยอมให้สำเนาข้อมูลโทรศัพท์ รวมทั้งไม่ลงชื่อในเอกสารด้วย
เวลา 17.20 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวชูเกียรติจาก สน.ห้วยขวาง ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1, คำสั่งอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ ศาลอาญา ลงวันที่ 23 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27422) -
วันที่: 05-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายความและพี่สาวของชูเกียรติเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวนเป็นครั้งที่ 2 โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท เป็นหลักประกัน และมีพี่สาวเป็นนายประกัน
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุเหตุผลว่า พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีตามที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ระบุเพียงผู้ต้องหาเข้าร่วมชุมนุม ซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พฤติการณ์แห่งคดีนี้ เป็นเพียงการกล่าวหาโดยฝ่ายเดียว ยังไม่ผ่านการพิสูจน์โดยศาล อีกทั้งพฤติการณ์ไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงหรือการก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ต้องหาเป็นผู้มีภูมิลำเนาถิ่นฐานที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ประกอบสัมมาชีพสุจริต รับจ้างเป็นช่างสัก ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้
อย่างไรก็ตาม พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่ให้ประกัน ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์ว่า ศาลอาญาเคยไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดเจนแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 5 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27975)
-
วันที่: 09-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3ทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวชูเกียรติเป็นครั้งที่ 3 หลังชูเกียรติถูกขังระหว่างสอบสวนเป็นวันที่ 18 โดยใช้เงินสด 200,000 บาท เป็นหลักประกัน
สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ระบุเหตุผลว่า ศาลนี้เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
ทำให้ชูเกียรติยังคงถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28209)
-
วันที่: 29-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 4เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวชูเกียรติ พร้อมทั้งแกนนำ "ราษฎร" รวม 7 ราย ซึ่งถูกคุมขังจากคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกรณีของชูเกียรติ มีพี่สาวเป็นนายประกัน วางหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท นับเป็นการยื่นประกันเป็นครั้งที่ 4 โดยชูเกียรติถูกขังมาแล้ว 38 วัน ทั้งยังติดโรคโควิดในเรือนจำ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์มาตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. 2564
บรรยากาศการยื่นประกันตัว มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชนมาติดตามสถานการณ์เป็นจำนวนมาก มีการปราศรัยเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง และพยายามยื่นรายชื่อผู้ลงชื่อถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง กว่า 11,035 รายชื่อ ขณะที่มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนอย่างน้อย 2 คันรถเข้ามาที่ศาลอาญา
จนเวลา 18.00 น. เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องขังทั้งหมด รวมทั้งชูเกียรติ ระบุเหตุผลว่า ศาลอาญาเคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
คำร้องขอปล่อยตัวขั่วคราวชูเกียรติระบุเหตุผลว่า
1. ศาลนี้ได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 3 (หมอลำแบงค์ – ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม) จำเลยที่ 4 (สมยศ พฤกษาเกษมสุข) และจำเลยที่ 7 (ไผ่ – จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา) ในคดีหมายเลขดำที่ 287/2564 ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานความผิดเดียวกันกับผู้ต้องหาในคดีนี้ โดยศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย ทั้งนี้ หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีของผู้ต้องหา ขอศาลโปรดกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย โดยผู้ต้องหายินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลทุกประการ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อดิศร จันทรสุข รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นผู้รับรองและดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
2. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคดีในสถานการณ์แพร่ระบาด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา โดยกำหนดให้ขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มความแออัดในเรือนจำ ผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือจำเลยที่เคยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน หรือจำเลยซึ่งมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
โดยเป็นที่ปรากฏว่าในขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ผู้ต้องหาก็ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการถูกคุมขังในเรือนจำ เนื่องจากต้องถูกคุมขังในสถานที่แออัด สภาพอาการป่วยของผู้ต้องหาควรจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะช่วยทำให้ลดความแอดอัดในสถานที่ดังกล่าวได้ ทำให้การบริหารจัดการเรื่องสถานการณ์โควิดได้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อสำหรับผู้ต้องหาขังรายอื่น ๆ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำของผู้ต้องหาด้วย ในประเด็นดังกล่าวนี้หากต้องการข้อเท็จจริงเพิ่มเติมศาลอาจออกหมายเรียกผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาไต่สวนประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจได้
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 29 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29035) -
วันที่: 03-05-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 5พี่สาวของ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ เดินทางไปยังศาลอาญา รัชดาฯ เพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวชูเกียรติเป็นครั้งที่ 5 โดยวางหลักทรัพย์ประกันเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยระบุเหตุผลสำคัญว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะไม่กล่าวพาดพิงถึงและไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด พร้อมทั้งเหตุผลว่า ชูเกียรติซึ่งปัจจุบันป่วยด้วยเชื้อไวรัสโควิด 19 จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากศาลเห็นสมควรจะไต่สวนผู้ต้องหาเพื่อยืนยันข้อเท็จจริง ก็ขอให้ไต่สวนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
ต่อมาในช่วงเย็นของวันเดียวกันนั้นเอง พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งยกคำร้อง ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะผู้ขอประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหารายนี้ ผู้ต้องหาป่วยด้วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส โควิด-19 การขอไต่สวนตามคำร้องขอผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ของผู้ขอประกันในขณะนี้ย่อมอาจมีผลกระทบต่อบุคคลผู้เกี่ยวข้องและไม่ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงมากนัก เท่าที่ควรที่จะนำมาพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในชั้นนี้ จึงให้ยกคำร้องไปก่อน”
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตประการหนึ่งต่อกรณีที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงในวันนี้ (6 พฤษภาคม 2564) ว่า ทนายอานนท์ นำภา เองก็เป็นผู้ต้องขังอีกรายที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แม้จะมีการยื่นขอประกันตัวจำเลยหลายครั้ง และในทุกครั้งก็ได้ให้เหตุผลในเรื่องความสุ่มเสี่ยงของการที่ผู้ต้องขัง ซึ่งศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดจริง อาจจะต้องเผชิญกับความแออัดในเรือนจำ จนเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อตามมา
ขณะเดียวกัน หลังชูเกียรติติดเชื้อโควิดในเรือนจำก็ได้ยื่นคำร้องขอประกันมาแล้ว 2 ครั้ง (รวมครั้งนี้) ระบุเหตุผลสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจให้ประกันของศาลว่า “ผู้ต้องหาติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการถูกคุมขังในเรือนจำ เนื่องจากต้องถูกคุมขังในสถานที่แออัด สภาพอาการป่วยของผู้ต้องหาควรจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะช่วยทำให้ลดความแออัดในสถานที่ดังกล่าวได้ และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อสำหรับผู้ต้องหาขังรายอื่น ๆ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำของผู้ต้องหาเองด้วย” แต่ศาลกลับยกคำร้องระบุว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง รวมทั้งยกคำร้องครั้งล่าสุด ด้วยเหตุเพียงว่า ไม่สามารถไต่สวนผู้ต้องหาได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลด้านการลดการแพร่ระบาดของโรค หรือคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขัง แม้ว่าจะมีแนวคำแนะนำของประธานศาลฎีกา จนกระทั่งมีการติดเชื้อของผู้ต้องขังรายอื่นอีก รวมทั้งทนายอานนท์
ทำให้ชูเกียรติถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในระหว่างสอบสวน เป็นวันที่ 42 แล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุจากการเผชิญกับความแออัดในเรือนจำ ทำให้ชูเกียรติกลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ก่อนจะถูกนำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564
+++ เปิดคำร้องยื่นประกันชูเกียรติครั้งที่ 5 ชี้ ผู้ต้องหาติดโควิด จำเป็นต้องได้รับการประกันตัวเพื่อลดความแออัดในคุก +++
คำร้องขอปล่อยตัวที่ยื่นต่อศาลอาญาฯ ล่าสุดนี้ ระบุเหตุผลข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปที่อาจจะทำให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาได้ กล่าวคือ
1. ผู้ต้องหาขอแถลงต่อศาลว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะไม่กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ หากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีของผู้ต้องหา ขอศาลกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย โดยผู้ต้องหายินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลทุกประการ และหากศาลเห็นสมควรจะทำการไต่สวนผู้ต้องหาก็ขอศาลให้ไต่สวนผู้ต้องหาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เนื่องจากขณะนี้ผู้ต้องหาป่วยด้วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19)
ทั้งนี้ หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาและเพื่อให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนด ผู้ต้องหาได้รับความกรุณาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อดิศร จันทรสุข รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ และผู้ร้องซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ต้องหาจะเป็นผู้รับรองและดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
2. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคดีในสถานการณ์แพร่ระบาด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา โดยกำหนดให้ขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มความแออัดในเรือนจำ ผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือจำเลยที่เคยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน หรือจำเลยซึ่งมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
โดยเป็นที่ปรากฏว่าในขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ผู้ต้องหาในคดีนี้ก็ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการถูกคุมขังในเรือนจำ เนื่องจากต้องถูกคุมขังในสถานที่แออัด สภาพอาการป่วยของผู้ต้องหาควรจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะช่วยทำให้ลดความแอดอัดในสถานที่ดังกล่าวได้ ทำให้การบริหารจัดการเรื่องสถานการณ์โควิดได้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อสำหรับผู้ต้องหาขังรายอื่น ๆ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำของผู้ต้องหาด้วย ผู้ต้องหาจึงขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาตามแนวปฏิบัติดังกล่าวด้วย ในประเด็นดังกล่าวนี้หากต้องการข้อเท็จจริงเพิ่มเติมศาลอาจออกหมายเรียกผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาไต่สวนประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจได้
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 3 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29312)
-
วันที่: 12-05-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 6ที่ศาลอาญา รัชดาฯ พี่สาว “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ พร้อมกับทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งที่ 6 โดยวางเงินสดเป็นหลักประกัน 200,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลว่า
1. ขณะนี้ผู้ต้องหาได้รับการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 จนหายเป็นปกติดีแล้ว โดยได้รับการตรวจหาเชื้อ จนไม่พบเชื้อโรคดังกล่าวอีกต่อไปและได้รับการรับรองผลการรักษาจากแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ว่า ผู้ต้องหาได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติดีแล้ว
2. ผู้ต้องหามีความประสงค์จะขอแถลงต่อศาลว่า หากผู้ต้องหาได้รับการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่ทํากิจกรรมที่จะกระทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือหากศาลเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีของผู้ต้องหา และเพื่ออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา
3. ศาลนี้ได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดต่อกฎหมายในฐานความผิดเดียวกันกับผู้ต้องหาในคดีนี้ โดยศาลกําหนดเงื่อนไขประกอบการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจําเลย
4. เป็นที่ปรากฏว่าในขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร และผู้ต้องหาในคดีนี้ก็ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการถูกคุมขังในเรือนจํา เนื่องจากต้องถูกคุมขังในสถานที่แออัด แม้ขณะนี้ผู้ต้องหาได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้วนั้น แต่หากต้องถูกคุมขังต่อไปผู้ต้องหาก็อาจจะกลับมาติดเชื้อโรคดังกล่าวอีกได้ หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะช่วยทําให้ลดความแออัดในสถานที่ดังกล่าว ทําให้การบริหารจัดการสถานการณ์ได้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำของผู้ต้องหาด้วย
ต่อมาเวลา 16.18 น. ศาลอาญามีคำสั่งนัดไต่สวนผู้ต้องหาวันที่ 14 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. โดยให้เบิกตัวผู้ต้องหามาไต่สวนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์
อนึ่ง ชูเกียรติถูกจับกุมเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 64 เขาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาแล้วทั้งสิ้น 51 วัน อีกทั้งชูเกียรติยังเป็น 1 ใน 9 ผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ติดโรคโควิดจากปัญหาความแออัดในเรือนจำ โดยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์นานกว่า 2 สัปดาห์
ก่อนหน้านี้พี่สาวของชูเกียรติได้ยื่นประกันน้องชายมาแล้ว 5 ครั้ง โดย 2 ครั้งหลัง ยื่นประกันหลังจากชูเกียรติติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ได้ระบุเหตุผลสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจให้ประกันของศาลว่า “สภาพอาการป่วยของผู้ต้องหาควรจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม” แต่ศาลยังไม่อนุญาตให้ประกัน รวมทั้งปฏิเสธที่จะไต่สวนคำร้องผ่านคอนเฟอเรนซ์ จนกระทั่งชูเกียรติได้รับการรักษาจนหายแล้ว จึงได้ยื่นประกันอีกครั้งในวันนี้
สำหรับผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองที่ติดเชื้อโควิดอีก 6 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, “พอร์ท” ปริญญา ชีวินปฐมกุล, ธวัช สุขประเสริฐ, ศักดิ์ชัย ตั้งจิตสดุดี, สมคิด โตสอย และฉลวย เอกศักดิ์
รวมทั้งยังมีผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว แต่ตรวจพบว่าติดโควิดจากเรือนจำอีก 2 ราย ได้แก่ รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และพรชัย (สงวนนามสกุล)
ทั้งนี้ ปัจจุบันยังมีผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำระหว่างการต่อสู้คดี ในคดีที่มีเหตุจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง จำนวนอย่างน้อย 14 คน โดยเป็นผู้ถูกคุมขังในคดีตามมาตรา 112 จำนวน 3 คน ได้แก่ ชูเกียรติ แสงวงศ์, อานนท์ นำภา และไมค์ ภาณุพงศ์ ส่วนอีก 11 คน ถูกขังในคดีอื่นๆ
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 12 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29624) -
วันที่: 14-05-2021นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกัน10.00 น. ห้องพิจารณา 912 มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ เริ่มพิจารณาคดี โดยสอบถามพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ผู้รับผิดชอบคดีว่า คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวชูเกียรติหรือไม่ พนักงานสอบสวนแถลงว่า ไม่คัดค้าน
ก่อนศาลเริ่มชี้แจงคู่ความว่า ศาลอาญาได้รับหนังสือด่วนที่สุดจากเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ ยธ 0768/57 ลงวันที่ 28 เม.ย. 64 เรื่องการขอให้งดเบิกตัวผู้ต้องขังมาพิจารณาคดี แม้โดยวิธีการวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้งนี้ เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายผู้ต้องขัง และจํากัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เรือนจํา จึงไม่สามารถเบิกตัวผู้ต้องหามาศาลในวันนี้ได้ โดยจะทำการไต่สวนเฉพาะพยานที่นำมาในห้องพิจารณาเท่านั้น และเลื่อนการไต่สวนชูเกียรติออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย. 64
ศาลชี้แจงเพิ่มเติมถึงเงื่อนไขการให้ประกันตัวในกลุ่มคดีชุมนุมว่า ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่
1. ผู้ต้องหาต้องแสดงว่าจะไม่ไปก่อเหตุอะไรที่จะไปกระทบกับคดีจนเข้าหลักเกณฑ์การไม่ปล่อยชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 /1
2. จะต้องมีการตั้งผู้กำกับดูแล เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับกรณีของปนัสยาและพริษฐ์ โดยจะต้องมีผู้อาสาเป็นผู้กำกับดูแลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ในที่นี้อาจจะเป็นอาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชน
3. หากผู้ต้องหาหรือจำเลยมีอาการป่วย ศาลต้องการให้มีใบรับรองจากสถานพยาบาลข้างนอกที่จะรับส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นจะได้รับการรักษาตัว
ศาลยังชี้แจงรายละเอียดต่อไปว่า ทางราชทัณฑ์แจ้งว่าไม่สะดวกที่จะให้มีการคอนเฟอเรนซ์จากในเรือนจำ เนื่องจากเรือนจำจะจัดการให้ผู้ต้องขังไปอยู่รวมกันในเรือนนอนโดยไม่ปล่อยให้ผู้คุมเข้าไปในแดนนั้น ๆ โดยผู้พิพากษาได้กล่าวอุปมาอุปไมยขนาดว่าตอนนี้เหมือนกับข้างในมีไฟไหม้ ศาลเองก็ไม่สามารถที่จะมีคำสั่งให้บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่นั้นวิ่งฝ่าไฟเข้าไปเพื่อไปช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นออกมา
พี่สาวของชูเกียรติแถลงต่อศาลว่า กรมราชทัณฑ์แถลงว่าชูเกียรติติดโควิดตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. 64 โดยตนเชื่อมั่นว่าเขาจะได้รับการรักษาในเรือนจำมาด้วยดี ทั้งนี้ตนได้รับการติดต่อจากแพทย์และพยาบาลในเรือนจำว่าเขาหายดีแล้วตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 64 และได้ใบรับรองแพทย์ว่า ชูเกียรติสามารถออกจากเรือนจำ โดยไม่เป็นบุคคลที่แพร่เชื้อให้กับคนอื่น พี่สาวชูเกียรติรับรองว่าชูเกียรติจะกักตัวอย่างดี อีกทั้งยังกล่าวว่า ตนไม่อยากให้เขาอยู่ในเรือนจำ ในสถานที่ที่แออัดแบบนั้นอีกแล้ว
ด้านศาลแจงว่า ศาลจะสามารถมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวได้ก็ต่อเมื่อได้ไต่สวนผู้ต้องหาแล้วเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่า ทางราชทัณฑ์แจ้งว่าไม่สามารถที่จะทำการไต่สวนด้วยระบบคอนเฟอเรนซ์ ได้จนถึงวันที่ 27 พ.ค. 64
ทนายความขอปรึกษากับศาลว่า หากราชทัณฑ์มีหนังสือมาถึงศาลหลังวันที่ 27 พ.ค. 64 ว่าเหตุการณ์การติดเชื้อโควิดในเรือนจำนั้นไม่ดีขึ้น ก็จะทำให้ชูเกียรติไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวต่อไปอีกใช่หรือไม่
ศาลอธิบายว่า นี่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงในข้างหน้าว่า เรือนจำจะพยายามอย่างถึงที่สุดในการจัดการและควบคุมการแพร่เชื้อโควิดในเรือนจำได้หรือไม่ หากเลื่อนไต่สวนชูเกียรติไปในวันที่ 1 มิ.ย. 64 แล้ว แต่ทางราชทัณฑ์ยังไม่สามารถที่จะจัดการเรื่องการไต่สวนได้ ทนายความและชูเกียรติก็สามารถโต้แย้งได้ว่า ทางราชทัณฑ์นั้นใช้ความพยายามได้ไม่เพียงพอ
ศาลกล่าวต่อว่า ศาลก็จะเรียกผู้บัญชาการเรือนจำมาไต่สวนว่า หลังจากเวลานั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทางเรือนจำสามารถจัดการในเรื่องของยารักษา จัดการในเรื่องของชุดพีพีอีได้แล้วหรือไม่ เมื่อถึงจุดนั้นแล้วก็ถึงเวลาที่ศาลจะได้อำนวยความยุติธรรมอีกครั้ง
++พี่สาวแถลง ชูเกียรติหายป่วยแล้ว ศาลสามารถสั่งไต่สวนได้++
พี่สาวของชูเกียรติแถลงอีกครั้งว่า ผู้คนในเรือนจำป่วยและไม่ป่วยมีอยู่รวมกัน ทำไมจึงไม่แยกผู้ที่ไม่ป่วยออกมาก่อน ขอให้ท่านพิจารณาตรงนี้ก่อนได้หรือไม่ เนื่องจากตนได้คุยกับแพทย์แล้ว จึงแจ้งว่าศาลสามารถสั่งให้ราชทัณฑ์ไต่สวนชูเกียรติได้
“ชูเกียรติมีชีวิตเหมือนที่เจ้าหน้าที่เรือนจำก็มีชีวิต ศาลสั่งให้ปล่อยตัวชูเกียรติได้ ท่านใช้ดุลพินิจได้ ให้ความเมตตาได้ ทางเรามีใบรับรองแพทย์รับรองแล้วว่าเขานั้นหายป่วยแล้ว ปล่อยให้ชูเกียรติออกมาได้ใช้ชีวิตของเขาเถอะค่ะ” พี่สาวของชูเกียรติกล่าว
ศาลยังคงยืนยันว่า ศาลจะออกคำสั่งได้ต้องมีระบบรองรับ อีกทั้งต้องพิจารณาถึงสิทธิของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย ชูเกียรติมีสิทธิ แต่เจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดการไต่สวนก็มีสิทธิ หากศาลจะสั่งศาลต้องรู้ว่าสิ่งที่สั่งนั้นจะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสี่ยงภัยแค่ไหนในการดำเนินการ
หลังจากทนายความและพี่สาวของชูเกียรติได้ปรึกษาหารือจึงแถลงต่อศาลว่า หากไม่สามารถไต่สวนตัวผู้ต้องหาได้ในวันนี้ ก็จะขอเลื่อนการไต่สวนพยานทั้งหมด โดยจะขอไต่สวนตัวผู้ต้องหา ผู้ขอประกัน และบุคคลซึ่งจะมาเป็นผู้กํากับดูแลพร้อมกันรวม 3 ปาก
ต่อมาเวลาประมาณ 11.15 น. ศาลได้อ่านคำสั่งเลื่อนการไต่สวนมีเนื้อความว่า “ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อทางเรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานครได้แจ้งว่า ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคในเรือนจําได้และมีปัญหาข้อขัดข้องในการเบิกตัวผู้ต้องขังมาสื่อสาร กรณีมีเหตุจําเป็นไม่อาจไต่สวนตัวผู้ต้องหาในวันนี้ได้ เห็นควรให้เลื่อนนัดไต่สวนคําร้องนี้ไปวันที่ 1 มิ.ย. 64 เวลา 10.00 น. เบิกตัวผู้ต้องหามาเบิกความผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์”
++พี่สาวและทนายความไม่ละความพยายาม ก่อนศาลกำหนดไต่สวนใหม่ 19 พ.ค.++
13.00 น. หลังจากศาลให้เลื่อนการไต่สวนคำร้องขอประกันไปเป็น 1 มิ.ย. 64 พี่สาวของชูเกียรติได้เดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อขอหนังสือรับรองจาก ผบ.เรือนจำ ว่าสามารถไต่สวนชูเกียรติผ่านคอนเฟอเรนซ์ได้ เนื่องจากมีใบรับรองแพทย์แล้วว่า ชูเกียรติหายป่วยแล้ว ไม่ใช่บุคคลแพร่เชื้อโควิด ได้รับคำยืนยันจากทางเรือนจำว่า ยินดีที่จะดำเนินการให้ไต่สวนผ่านคอนเฟอเรนซ์ แต่ไม่ได้ออกเป็นหนังสือเพื่อให้พี่สาวชูเกียรติใช้ยืนยันกับศาล
15.30 น. พี่สาวชูเกียรติกลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อีกครั้ง พร้อมหนังสือถึงผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ สอบถามว่า ตามหนังสือที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่งถึงศาลนั้น สามารถเบิกตัวผู้ต้องขังเพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้หรือไม่ และในระหว่างวันที่ 14 - 27 พ.ค. 64 หากศาลมีคำสั่งให้เบิกตัวชูเกียรติเพื่อไต่สวนคำร้องขอประกันผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ สามารถดำเนินการตามคำสั่งเบิกตัวผู้ต้องขังได้หรือไม่
16.30 น. อโนทัย ทั้งรักษ์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีหนังสือตอบพี่สาวชูเกียรติมีเนื้อความว่า “เรือนจําพิเศษกรุงเทพได้ขอความอนุเคราะห์ศาลอาญาเลื่อนหรืองดการเบิกตัวผู้ต้องขังไปดําเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลเป็นการชั่วคราว แต่ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วน หรือกรณีที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องขัง เช่น การฟังคําพิพากษา หรือกรณีที่มีเหตุจําเป็นอื่น ทางเรือนจําได้ขอความอนุเคราะห์ให้ศาลอาญาพิจารณาผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์แทน ทั้งนี้ สําหรับกรณีของชูเกียรติหากศาลจะกําหนดวันนัดไต่สวน และมีคําสั่งให้เบิกตัวชูเกียรติเพื่อไต่สวนคําร้องขอปล่อยชั่วคราวผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อใด ทางเรือนจําก็สามารถดําเนินการเบิกตัวผู้ต้องขังตามคําสั่งของศาลได้”
ทำให้พี่สาวชูเกียรติและทนายความยื่นคำร้องให้ไต่สวนคำร้องขอประกันตัวชูเกียรติผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์อีกครั้ง ก่อนที่เวลา 17.50 น. ศาลมีคำสั่งกำหนดนัดไต่สวนใหม่ในวันที่ 19 พ.ค. 64 เวลา 10.00 น.
อนึ่ง วานนี้ (13 พ.ค. 64) ศาลอาญา โดย สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องขอประกัน “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก โดยระบุเหตุผลเช่นเดียวกับที่ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนขอประกันชูเกียรติในช่วงสายวันนี้ อ้างถึงหนังสือเรือนจําพิเศษกรุงเทพฯ ที่ ยธ.0768/57 ลงวันที่ 28 เม.ย. 64 และหนังสือสำนักงานศาลยุติธรรมที่ ศย.016/ว 486 ลงวันที่ 12 พ.ค 64 ที่ขอให้ศาลอาญางดการเบิกตัวจำเลยหรือผู้ต้องขังเพื่อมาศาลและเพื่อพิจารณาคดีผ่านทางระบบจอภาพไว้ก่อนจนถึงวันที่ 27 พ.ค. 2564 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในพื้นที่ที่เรือนจำกำหนด
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ทนายความได้ขอคัดถ่ายสำเนาหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว พบว่า หนังสือของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นั้น ขอให้ศาลอาญาเลื่อนหรืองดการเบิกตัวผู้ต้องขังไปดําเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลเป็นการชั่วคราว ตามมาตรการ Bubble and Seal เป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. - 27 พ.ค. 64 โดยไม่ได้ระบุว่า ขอให้งดเบิกตัวเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์แต่อย่างใด กลับเป็นหนังสือของสำนักงานศาลยุติธรรมเองที่อ้างถึงหนังสือของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ฉบับดังกล่าว และระบุเกินกว่าคำขอของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่า ให้งดการเบิกตัวผู้ต้องขังเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ด้วย
การส่งหนังสือสอบถามถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ของพี่สาวชูเกียรติในช่วงบ่ายวันนี้ และเรือนจำตอบเป็นหนังสือกลับโดยยืนยันว่า เรือนจำสามารถเบิกตัวผู้ต้องขังเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาคดีผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้ หากเป็นกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนและกระทบสิทธิของผู้ต้องขัง จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ศาลยุติธรรมไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเลื่อนหรืองดการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในเรือนจำเป็นที่น่าวิตกต่อสุขภาพอนามัยของผู้ต้องขังเช่นในปัจจุบัน
ทั้งนี้ จนถึงวันนี้ยังมีผู้ต้องขังคดีทางการเมืองที่ยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอีกรวมทั้งสิ้น 11 คน (รวมถึงชูเกียรติ)
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำร้องขอให้ไต่สวนผู้ต้องหาผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ศาลอาญา ลงวันที่ 14 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29685) -
วันที่: 19-05-2021นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันก่อนเริ่มไต่สวน ศาลได้แจ้งกับพยานและทนายความที่มาร่วมไต่สวนว่า ศาลได้ส่งหนังสือสอบถามเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่ ศย.300.002/สค.2792 ลงวันที่ 17 พ.ค. 64 ว่า ทางเรือนจำสามารถนำตัวชูเกียรติมาไต่สวนในวันที่ 19 พ.ค. 64 ได้หรือไม่ วันเดียวกันเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีหนังสือตอบกลับว่า สามารถนำตัวมาไต่สวนได้
อย่างไรก็ตามในวันที่ 18 พ.ค. 64 ราชทัณฑ์ได้มีหนังสือมายังศาลอาญา ที่ ยธ.0768/4834 โดยกล่าวถึงหนังสือที่ได้แจ้งไปก่อนหน้านี้ว่าสามารถนำตัวชูเกียรติมาได้ว่า บัดนี้มีการยกระดับมาตรการ Bubble and seal ของทางเรือนจำ ทำให้ไม่สามารถเบิกตัวชูเกียรติมาไต่สวนที่ศาล หรือไต่สวนทางจอภาพได้ โดยมาตรการนี้เริ่มตั้งแต่ 16-30 พ.ค. 64
ด้วยเหตุนี้ศาลจึงไม่สามารถเบิกตัวชูเกียรติมาไต่สวนในวันนี้ได้ ทนายความได้แถลงขอให้ศาลพิจารณาบันทึกถ้อยคำของชูเกียรติซึ่งได้ลงลายมือชื่อว่า ยินยอมปฎิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลจะกำหนด และรับปากว่าจะไม่กระทำการใดให้เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ เพื่อประกอบกับการไต่สวนพยาน 3 ปาก ทนายผู้ต้องหายังแถลงอีกว่า หากศาลต้องการให้ผู้ต้องหามาให้ถ้อยคำด้วยตนเอง อาจอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ แล้วกำหนดวันนัดให้ผู้ต้องหามาให้ถ้อยคำด้วยตนเองในภายหลังได้
ศาลกล่าวว่า ขอปรึกษาหารือก่อน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนที่ได้รับการประกันตัว ต้องได้ให้ถ้อยคำด้วยตนเอง ศาลจึงควรดำเนินการในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์
10.05 น. เริ่มการไต่สวนพยานปากแรก นูรเดียนา พี่สาวของชูเกียรติ อายุ 59 ปี เข้าเบิกความ โดยกล่าวว่าตนเป็นผู้ดูแลอุปการะชูเกียรติและเป็นนายจ้าง ตลอดเวลา 7-8 ปี ตั้งแต่เรียนจบ ซึ่งชูเกียรตินับถือตนเป็นพี่สาว
นูรเดียนาเบิกความว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 64 ตนได้รับแจ้งจากทางเรือนจำว่าชูเกียรติติดโควิด-19 หลังจากตนมายื่นประกันตัวในวันดังกล่าว ทำให้ศาลไม่สามารถเบิกตัวชูเกียรติมาไต่สวนได้ ที่ผ่านมาพยานได้ติดตามอาการป่วยของชูเกียรติมาโดยตลอดและได้รับใบรับรองแพทย์มาในวันที่ 10 พ.ค. 64 ว่าชูเกียรติหายจากอาการป่วยแล้ว ตนจึงยื่นคำร้องขอไต่สวนประกันตัวอีกครั้งในวันที่ 12 พ.ค. 64 และศาลได้นัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค. 64 ก่อนจะได้รับแจ้งเป็นครั้งที่ 2 จากศาลว่า เรือนจำไม่สามารถนำตัวชูเกียรติมาไต่สวนได้ เนื่องจากมาตรการควบคุมโควิดในเรือนจำ
เมื่อทราบดังนั้น ตนได้ทำหนังสือสอบถามทางเรือนจำถึงเหตุที่ไม่สามารถนำตัวชูเกียรติมาไต่สวนได้ โดยเรือนจำได้ทำหนังสือตอบกลับว่า หากศาลมีการกำหนดวันนัดไต่สวน เรือนจำสามารถดำเนินการไต่สวนผ่านทางจอภาพได้ ตนจึงยื่นขอให้ไต่สวนการประกันตัวในวันที่ 14 พ.ค. 64 โดยศาลได้มีคำสั่งนัดไต่สวนในวันนี้
พี่สาวชูเกียรติรับรองว่า หากชูเกียรติได้รับการปล่อยตัว จะดูแลควบคุมชูเกียรติอย่างใกล้ชิด โดยจะให้มาช่วยตนทำงาน หากศาลกำหนดวันนัดสืบพยาน ตนจะให้ชูเกียรติมาตามวันนัด โดยผู้ต้องหาไม่เคยไปต่างประเทศ และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
จากนั้น ชลิตา บัณฑุวงศ์ เข้าเบิกความว่า ตนรู้จักชูเกียรติผ่านทางลูกศิษย์ โดยได้สนทนากับเขาหลายครั้ง จากการที่ชูเกียรติมาพูดคุยขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสังคมการเมือง เนื่องจากตนสอนอยู่ที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และชูเกียรตินับถือตนเป็นอาจารย์
หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และให้พยานเป็นผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย พยานก็ยินดีรับผิดชอบจะกำกับดูแลชูเกียรติให้ปฎิบัติตนตามเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนด พร้อมทั้งมาตามนัดหมายของศาล
++ถ้อยคำ “ชูเกียรติ” จากเรือนจำ ยินยอมรับเงื่อนไขศาล++
ภายหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนพยาน 2 ปาก ศาลได้พักการพิจารณา และเริ่มไต่สวนพยานปากที่ 3 ในเวลา 14.00 น. โดย มนทนา ดวงประภา ทนายความ เข้าเบิกความยืนยันว่าเป็นผู้นำบันทึกถ้อยคำไปให้ชูเกียรติลงลายมือชื่อรับรองเอกสารที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
รายละเอียดในบันทึกถ้อยคำระบุว่า
ผู้ต้องหาขอให้ถ้อยคำต่อศาลว่า หากได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่หลบหนี เนื่องจากผู้ต้องหาไม่เคยมีพฤติการณ์จะหลบหนีแต่อย่างใด
ผู้ต้องหามีฐานะปานกลาง ไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้เป็นผู้มีอิทธิพลหรืออันธพาล อีกทั้งพยานหลักฐานในคดีนี้พนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมได้โดยง่าย โดยที่ผู้ต้องหาไม่สามารถไปยุ่งเหยิงได้ ทั้งผู้ต้องหามีภูมิลำเนาและมีสถานที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล
รวมทั้งจะไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และยินดีปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือคำสั่งศาลโดยเคร่งครัดทุกประการ กล่าวคือจะไม่กระทำการใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาในคดีนี้ อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
ผู้ต้องหาจะไม่ออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และจะมาศาลตามกำหนดนัด โดยยินยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นอาจารย์นักวิชาการที่ผู้ต้องหาเคารพนับถือและพบปะพูดคุยและ ติดต่อกันสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ผู้ต้องหาหายป่วยจากโรคติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ตามใบรับรองแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ฉบับลงวันที่ 11 พ.ค. 2564
++ศาลสั่งเลื่อนการพิจารณาคดี อ้างเพื่อรักษาความเสมอภาค++
ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น เวลา 15.00 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ มีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนชูเกียรติออกไป ระบุในคำสั่งว่า “พิเคราะห์แล้ว คณะผู้บริหารศาลเห็นว่าเพื่อรักษาความเสมอภาคในการสั่งคดีของศาล จึงเห็นสมควรจะต้องให้ผู้ต้องหามาเบิกความต่อศาล จึงให้เลื่อนการไต่สวนผู้ต้องหาออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย. 64 เวลา 10.00 น. เบิกตัวผู้ต้องหามาในวันนัด หรือโดยระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ”
หลังจากศาลกำหนดนัดใหม่ พี่สาวของชูเกียรติยืนขึ้นแถลงว่า ความเสมอภาคที่ศาลกล่าวถึงนั้นคืออะไร ชูเกียรตินั้นหายจากโควิดแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะไม่สามารถไปติดโควิดอีก
เมื่อศาลบอกว่าเบิกตัวชูเกียรติมาศาลไม่ได้ ทางครอบครัวก็พยายามขอให้ไต่สวนการปล่อยตัวชั่วคราวของชูเกียรติผ่านวิดีโอ ดำเนินการประสานงานให้ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และศาลอาญาได้เข้าใจถึงความพร้อมของการไต่สวนชูเกียรติจากในเรือนจำ แต่ศาลก็มีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ทางครอบครัวจึงขอถามว่า ความเสมอภาคที่ว่าคืออะไร ตรงไหนคือความเสมอภาค
ศาลตอบคำถามของพี่สาวชูเกียรติเพียงสั้นๆ ว่าความเสมอภาคก็คือความเหมือนกัน ในคดีอื่นๆ ได้สั่งคดีอย่างไรในคดีนี้ก็ต้องทำเหมือนกัน ก่อนสิ้นสุดการพิจารณา
ปัจจุบัน ‘จัสติน’ หรือ ชูเกียรติ แสงวงค์ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นวันที่ 58 โดยถูกฝากขังระหว่างสอบสวนและไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวมาตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. 64
ทั้งนี้น่าสังเกตว่า วานนี้ (18 พ.ค. 64) ในการไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร และธวัช สุขประเสริฐ 2 จำเลยคดีล้อมรถควบคุมตัว “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ไม่ได้มีการเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาไต่สวนผ่านวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่ทนายจำเลยได้ยื่นบันทึกถ้อยคำแถลงของจำเลยทั้งสอง ประกอบการไต่สวน และศาลอาญาก็ดำเนินการไต่สวนพยาน ก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวได้ แม้จำเลยคดีเดียวกันอีก 3 ราย ศาลไต่สวนผ่านคอนเฟอเรนซ์ก่อนให้ประกันตัว
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 14 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29841) -
วันที่: 31-05-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมชูเกียรติผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ในฐานความผิด “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 โดยมีทนายความเข้าร่วมกระบวนการ
พนักงานสอบสวน ได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่ถูกกล่าวหา ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 17.00 น. ชูเกียรติกับพวกซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมจํานวนประมาณ 500 คน ได้มารวมตัวกันที่บริเวณหน้าพระแม่ธรณีบีบมวยผม ข้างศาลฎีกา โดยในกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการปราศรัยโดยการใช้เครื่องขยายเสียง มีเนื้อหาโจมตีการทํางานของรัฐบาล
ต่อมา เมื่อเวลาประมาณ 17.35 น. เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมทราบว่า การชุมนุมดังกล่าวนั้นเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและได้ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมแยกย้ายเลิกการชุมนุม ทว่ากลุ่มผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งซึ่งยังไม่ยอมเลิกชุมนุม และได้เดินทางมาชุมนุมกันต่อเนื่อง ที่บริเวณหน้าตู้คอนเทนเนอร์ที่เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ตั้งไว้เป็นแนวกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมรุกล้ำหรือเข้าไปในบริเวณเขตพระราชฐาน โดยบริเวณด้านหลังตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนจํานวน หลายกองร้อยตั้งกําแพงอยู่ด้านหลังอีกชั้นหนึ่ง
ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้เริ่มมีการฉีดสีสเปรย์ที่ตู้คอนเทนเนอร์และเริ่มมีการใช้เชือกผูกตู้คอนเทนเนอร์และช่วยกันดึงตู้คอนเทนเนอร์ลงเพื่อเปิดทาง
จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด พบผู้ต้องหาได้นำกระดาษที่เขียนข้อความว่า ‘ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!’ ไปติดไว้ที่บริเวณคอหรือพระศอพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ซึ่งติดตั้งอยู่ที่บริเวณต้านหน้ารั้วของศาลฎีกา รวมถึงยังพบว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำขยะต่างๆ ไปทิ้งไว้ที่บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการฉีดสีสเปรย์และสาดน้ำที่พระบรมฉายาลักษณ์จนได้รับความเสียหาย
การกระทำดังกล่าวของชูเกียรติ มีพฤติการณ์ดูหมิ่น อาฆาต มาดร้าย ต่อพระมหากษัตริย์ และการกระทําของผู้ต้องหาเป็นการกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วย วาจา หรือกระทํา โดยวิธีอื่นใด เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องต่อประชาชน ถึงขนาดจะก่อความไม่สงบขึ้นใน ราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ซึ่งการกระทําของผู้ต้องหา เป็นการกระทําโดยเจตนา ประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผลว่า การแปะกระดาษข้อความซึ่งมีข้อความ ‘ที่ทิ้ง ขยะสิ่งปฏิกูล!’ จะทำให้ผู้อื่นกระทําความผิดล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ในวันนี้ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เพิ่มเติมแก่ชูเกียรติ ทำให้ชูเกียรติถูกแจ้งข้อหาจากเหตุนี้รวมทั้งหมด 8 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามมาตรา 216, “ยุยงปลุกปั่น” ตามมาตรา 116, “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามมาตรา 112, ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
ด้านชูเกียรติให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การแต่อย่างใด
ปัจจุบัน ชูเกียรติถูกฝากขังในชั้นสอสวนอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นเวลา 70 วันแล้ว และไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวมาตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. 64 แม้ยื่นประกันตัวรวม 6 ครั้ง แล้ว โดยการยื่นประกันครั้งหลังสุด ศาลมีคำสั่งเลื่อนการไต่สวนถึง 3 ครั้ง
(อ้างอิง: ใบต่อคำให้การ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 31 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30317) -
วันที่: 01-06-2021นัด: ไต่สวนชูเกียรติที่ศาลอาญา รัชดาฯ ห้องพิจารณา 912 มีการไต่สวนคำร้องขอประกันชูเกียรติ ซึ่งจะทำการไต่สวนชูเกียรติเพียงคนเดียว เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 ศาลได้ไต่สวนญาติและผู้กำกับดูแลไปแล้ว โดยมีพี่สาวและคนรักเดินทางมาฟังการไต่สวนด้วย
10.45 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ ออกพิจารณา ก่อนเริ่มไต่สวนชูเกียรติผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ศาลได้สอบถามพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ว่า จะคัดค้านการให้ประกันผู้ต้องหาหรือไม่ พนักงานสอบสวนไม่คัดค้าน
จากนั้นชูเกียรติเบิกความตอบคำถามทนายว่า คดีนี้พยานให้การปฏิเสธ และประสงค์จะต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ พยานถูกจับหลังออกหลังศาลออกหมายจับ 1 วัน โดยไม่มีหมายเรียกมาก่อน หากพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกก่อน พยานก็ยินดีไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่หลบหนี โดยพยานถูกจับกุมที่คอนโดลุมพินี ซึ่งพยานพักอยู่ที่คอนโดดังกล่าวมาเป็นเวลา 1 ปีกว่าแล้ว
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา พยานได้ลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกถ้อยคำของผู้ต้องหาในการขอปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งระบุว่า หากได้รับการปล่อยตัวจะไม่เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและไม่กระทำการแบบเดียวกับที่ถูกกล่าวหา ไม่กระทำการอันเป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ไม่เดินทางออกนอกประเทศหากไม่ได้รับอนุญาต จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้กำกับดูแลที่ศาลตั้ง และมาตามนัดของศาลโดยเคร่งครัด
หลังเสร็จการไต่สวนในเวลาประมาณ 11.05 น. ศาลได้อ่านคำสั่งระบุว่า
"พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นให้พิจารณาว่ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 อันอาจทําให้ศาลต้องสั่งมิให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ คดีนี้จําเลยถูกเจ้าพนักงานจับกุมโดยไม่มีการเรียกผู้ต้องหามาก่อน และไม่ปรากฏว่า ผู้ต้องหาได้พยายามหลบหนีก่อนการถูกจับกุม จึงยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ไปว่าผู้ต้องหาประสงค์จะหลบหนี พยานหลักฐานในการสอบสวนในคดีส่วนใหญ่เป็นพยานหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน ไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเกี่ยวได้
ในส่วนการที่ผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นนั้น เมื่อผู้ต้องหาให้ถ้อยคํายืนยันพร้อมทั้งมีลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจาตนเอง น่าเชื่อว่าผู้ต้องหามีเจตนาที่จะกระทําตามเงื่อนไขด้วยความสมัครใจของตนเอง ผู้ขอประกันผู้ต้องหาเป็นผู้สนิทสนมที่ผู้ต้องหานับถือเสมือนพี่ และหลักทรัพย์มูลค่าถึง 200,000 บาท พอสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งยังมีชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมจะกํากับดูแล
จึงไม่มีเหตุที่จะมิให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาไม่ไปกระทํากิจกรรมที่กระทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้มาศาลตามนัด หากผิดสัญญาให้ปรับ 200,000 บาท ตั้งชลิตา บัณฑุวงศ์ เป็นผู้กํากับดูแลผู้ต้องหา"
ชูเกียรติได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ หลังถูกขังรวม 71 วัน และยื่นประกันรวม 6 ครั้ง ศาลกำหนดนัดให้ชูเกียรติมารายงานตัวอีกในวันที่ 4 มิ.ย. 2564
อย่างไรก็ตาม ชูเกียรติยังไม่ได้รับปล่อยตัวออกจากเรือนจำในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังคดี 112 ระหว่างพิจารณาอีก 2 คดี ในคดีปราศรัย #ม็อบ6ธันวา ที่วงเวียนใหญ่ ของศาลอาญาธนบุรี และคดีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎร์ประสงค์ ของศาลอาญากรุงเทพใต้ หลังอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว โดยทนายความจะยื่นคำร้องขอประกันในคดีทั้งสองในวันพรุ่งนี้ (2 มิ.ย. 2564) ต่อไป
(อ้างอิง: คำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30348) -
วันที่: 02-06-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 7พ.ต.ท.มนเดช มาแนม พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 7 เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 3-14 มิ.ย. 2564 ระบุเหตุผลว่า การสอบสวนคดียังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากผู้ต้องหาติดโควิด-19 จะต้องสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหา และสอบปากคำผู้ต้องหาเพิ่มเติม ตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา และเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 7 ศาลอาญา ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2564) -
วันที่: 04-06-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลชูเกียรติเดินทางมารายงานตัวตามนัด กำหนดนัดรายงานตัวอีกครั้งวันที่ 15 มิ.ย. 2564 เวลา 8.30 น.
-
วันที่: 14-06-2021นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญา ระบุว่า จำเลยกระทำความผิดรวม 2 กรรม ตามกฎหมายดังนี้
1. “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
2. “กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชน อันมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116
3. “ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
4. “เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุม ตามมาตรา 215 แล้วไม่เลิก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216
5. “ร่วมกันต่อสู้ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และ 140
6. “ร่วมกันทำร้ายเจ้าหน้าที่ จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 296
7. ร่วมกันชุมนุมสาธารณะ ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ในท้ายคำฟ้อง ในท้ายคำฟ้องอัยการได้คัดค้านหากจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา อ้างเหตุผลว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
อัยการยังขอให้ศาลนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในอีก 5 คดี ได้แก่ คดี มาตรา 116 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ของศาลอาญา, คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุม #ม็อบ29ตุลา ที่ทําการสํานักข่าวเนชั่น และ #ม็อบ1พฤศจิกา บริเวณแยกอุดมสุข ของศาลอาญาพระโขนง, คดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎร์ประสงค์ ของศาลอาญากรุงเทพใต้ และคดีมาตรา 112 จากการปราศรัย #ม็อบ6ธันวา วงเวียนใหญ่ ของศาลอาญาธนบุรี
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30872)
-
วันที่: 15-06-2021นัด: รายงานตัวต่อศาล (รับทราบฟ้อง)ชูเกียรติเข้ารายงานตัวต่อศาลตามนัดหมาย ก่อนได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2564
แม้ท้ายคำฟ้องอัยการได้คัดค้านหากจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา แต่ศาลได้อนุญาตให้ใช้สัญญาประกันต่อเนื่องจากการประกันตัวในชั้นสอบสวน ทำให้ชูเกียรติไม่ได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวอีกครั้งในวันนี้ ก่อนศาลกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 12 ก.ค. 2564 เวลา 09.00 น.
นับเป็นคดีที่ 3 ที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาล หลังจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 64 อัยการได้ยื่นฟ้องในคดีการชุมนุม #ม็อบ6ธันวา บริเวณวงเวียนใหญ่ และเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 64 อัยการยื่นฟ้องในคดีการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎร์ประสงค์ หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30872)
-
วันที่: 12-07-2021นัด: ตรวจพยานหลักฐานเจ้าหน้าที่ศาลโทรแจ้งเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานออกไปเป็นวันที่ 6 ก.ย. 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด
-
วันที่: 06-09-2021นัด: ตรวจพยานหลักฐานเวลา 09.00 น. ศาลอาญานัดตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยาน โดยศาลได้อ่านฟ้องให้จําเลยฟัง ชูเกียรติยืนยันให้การปฏิเสธ ตามคำให้การลงวันที่วันนี้ที่ยื่นต่อศาล และรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจําเลยในอีก 5 คดีที่อัยการขอให้นับโทษจำคุกต่อเนื่องจากคดีนี้ ได้แก่ คดีมาตรา 116 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร, คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุม #ม็อบ29ตุลา ที่ทําการสํานักข่าวเนชั่น และ #ม็อบ1พฤศจิกา บริเวณแยกอุดมสุข ของศาลอาญาพระโขนง, คดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎร์ประสงค์ ของศาลอาญากรุงเทพใต้ และคดีมาตรา 112 จากการปราศรัย #ม็อบ6ธันวา วงเวียนใหญ่ ของศาลอาญาธนบุรี
ศาลได้สอบถามแนวทางต่อสู้คดี จําเลยและทนายจําเลยแถลงว่าในวันเกิดเหตุ จําเลยอยู่ในที่เกิดเหตุและร่วมชุมนุมตามคําฟ้องจริง แต่หลังเกิดเหตุการณ์ผู้เข้าร่วมชุมนุมปะทะกับตํารวจ จําเลยไม่ได้ร่วมก่อเหตุปะทะด้วย โดยได้เดินทางกลับบ้านไปก่อนแล้ว และแถลงปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้เขียนข้อความและนํากระดาษไปติดแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมอีกด้วย
โจทก์แถลงขอนำสืบพยานบุคคลรวม 22 ปาก ได้แก่ พยานอยู่ในที่เกิดเหตุ, เจ้าพนักงานตํารวจที่แฝงตัวหาข่าวในที่เกิดเหตุ, นักวิชาการให้ความเห็นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ผู้ตรวจบาดแผลเจ้าพนักงานตํารวจที่ได้รับบาดเจ็บ, ตํารวจที่ประจําอยู่ที่ศาลฎีกา, นักวิชาการสาธารณสุขที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับโรคติดต่อ, ผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ตํารวจผู้จับกุมจําเลย, ตํารวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ และพนักงานสอบสวน
ด้านทนายจําเลยแถลงว่าประสงค์จะนำสืบพยานบุคคล รวม 7 ปาก ได้แก่ ตัวจําเลยเอง, นักวิชาการให้ความเห็นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, นักข่าวซึ่งอยู่ในเหตุการณ์, บุคคลซึ่งทําหน้าที่พยาบาล และเห็นเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ
ศาลอนุญาตให้สืบพยานโจทก์ 5 นัด และนัดสืบพยานจําเลย 2 นัด รวม 7 นัด โจทก์และจำเลยตกลงนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 22-25 มี.ค. และ 19 เม.ย. 2565 สืบพยานจำเลยวันที่ 20-21 เม.ย. 2565
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 ลงวันที่ 6 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34655) -
วันที่: 22-03-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ภาพรวมคำเบิกความพยานโจทก์: มีประจักษ์พยานคนเดียวเห็นข้างหลังผู้ก่อเหตุ ด้านภาพถ่าย-CCTV ยังไม่ชัดว่าเป็นจำเลย ทุกปากชี้พฤติการณ์ดูหมิ่นกษัตริย์ ผิด ม.112
ในคดีนี้ มี พ.ต.ท.ยุคุณธร ชูแก้ว เป็นพยานโจทก์เพียงปากเดียวที่เป็นประจักษ์พยาน อ้างว่า พบเห็นจำเลยอยู่ในการชุมนุมและเห็นเหตุการณ์ขณะที่จำเลยปีนขึ้นไปก่อเหตุติดกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” บนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่บริเวณฟุตบาท ข้างศาลฎีกา ทว่าเป็นการเห็นจากระยะไกล ประมาณ 10 เมตรจากจุดเกิดเหตุ และเห็นเพียงด้านหลังของผู้ก่อเหตุเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ พ.ต.ท.ยุคุณธร จะอ้างว่าเห็นเหตุการณ์ แต่ก็ไม่ได้ทำการถ่ายภาพหรือวิดีโอไว้อย่างใด
หลักฐานอีกส่วนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาเทียบเคียงพิสูจน์ว่าเป็นจำเลยนั้น ได้แก่ ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ และภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง CCTV ของกรุงเทพฯ โดยหลักฐานดังกล่าวมีข้อพิรุธหลายประการที่ไม่อาจยืนยันได้ว่าผู้ก่อเหตุเป็นจำเลยจริง
อย่างแรก ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ ภาพแรกยังไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดกระทำการใดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ ส่วนภาพที่สอง ปรากฏภาพบุคคลปืนขึ้นไปบนแท่นพระบรมฉายาลักษณ์และเอื้อมมือกระทำบางอย่างต่อพระบรมฉายาลักษณ์นั้น ภาพไม่แน่ชัดว่าบุคคลดังกล่าวเอื้อมมือไปกระทำใดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ โดยทั้งสองภาพดังกล่าวถูกถ่ายไว้ได้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่การชุมนุม แต่อัยการโจทก์ไม่ได้นำมาขึ้นเบิกความต่อศาลแต่อย่างใด
ส่วนภาพนิ่งที่จับภาพ (Capture) มาจากวิดีโอกล้อง CCTV ของกรุงเทพฯ ซึ่งติดตั้งอยู่ตรงข้ามกับจุดเกิดเหตุนั้น บางภาพไม่มีข้อมูลตัวเลขแสดงวันและเวลาอยู่ในภาพด้วย จึงไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อใดกันแน่ จากหลักฐานข้างต้นที่กล่าวไป เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรูปพรรณสัณฐานและการแต่งกายของผู้ต้องสงสัยมาเทียบเคียงกับถ่ายภาพของจำเลยและกล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุ
ด้านพฤติการณ์การติดกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ลงบนพระบรมฉายาลักษณ์นั้น พยานโจทก์ทุกปากเบิกความตรงกันว่า เป็นการกระทำที่เห็นว่าผิดตามมาตรา 112 เป็นการดูหมิ่น ดูถูก ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธา และเป็นการไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ แต่พยานทุกปากเบิกความเห็นพ้องกันว่าข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” เป็นข้อความธรรมดาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ส่วนความผิดฐาน “ยุยงปลุกปั่นฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 นั้น มีพยานปากนักวิชาการเบิกความถึงไว้เพียงปากเดียว คือ รณกรณ์ บุญมี โดยเบิกความว่าพฤติการณ์ที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าติดกระดาษที่มีข้อความดังกล่าวนั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116
ในประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าเข้าร่วมการชุมนุม ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และต่อสู้ ขัดขวาง ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น พยานโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) ผู้ทำการสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ชุมนุมบางส่วนในวันเกิดเหตุล้วนเบิกความได้ใจความสำคัญว่า วันดังกล่าวมีผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม แต่ไม่มีจำเลยแต่อย่างใด รวมถึงผู้ก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการใช้ไม้ตีก็ถูกจับกุมในที่เกิดเหตุทันที ซึ่งก็ไม่ใช่จำเลยอีกเช่นกัน
++พยานโจทก์ปากที่ 1: พ.ต.ท.สุทธิศักดิ์ – ผู้กล่าวหา แต่ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ด้วยตัวเอง
พ.ต.ท.สุทธิศักดิ์ พิริยะภิญโญ เบิกความว่า ปัจจุบันรับราชการอยู่ที่ สน.สุทธิสาร ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้กำกับการสืบสวน สน.ชนะสงคราม ในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 18.30 น. พยานได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ สน.ชนะสงคราม ว่า มีเหตุการณ์ติดป้ายกระดาษบนพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 10 บริเวณด้านหน้าศาลฎีกา ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มรีเด็ม
พยานจึงเดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุด้วยชุดนอกเครื่องแบบเพื่อสืบหาข่าว ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมประมาณ 500 คนโดยมีการประกาศจากผู้กำกับการ สน.ชนะสงคราม ให้ยุติการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่ยุติและได้ฝ่าฝืนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ห้ามมิให้รวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
พยานได้รับแจ้งทราบว่า ป้ายกระดาษดังกล่าวถูกติดอยู่ที่พระบรมฉายาลักษณ์ที่ติดตั้งอยู่บริเวณฟุตบาทของศาลฎีกา โดยกระดาษดังกล่าวติดอยู่ที่พระศอ (คอ) ของพระบรมฉายาลักษณ์ โดยมีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ต่อมาทราบว่า มีกลุ่มบุคคลนำขยะไปทิ้งหลังมีการติดป้ายดังกล่าว ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีเป็นอีกคดีแล้ว
พยานเบิกความว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล ระหว่างการชุมนุมมีการดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่วางกั้นแนวอยู่กลางถนนราชดำเนินใน เพื่อกั้นระหว่างเขตพื้นที่พระราชฐานออก โดยผู้ชุมนุมใช้เชือกผูกลากตู้คอนเทนเนอร์เพื่อจะฝ่าแนวตู้เข้าไป และพยานอ้างว่ามีการขว้างปาประทัดยักษ์เข้าใส่เจ้าหน้าที่ คฝ. โดยทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายราย
ขณะผู้ชุมนุมจะฝ่าแนวกั้นตู้คอนเทนเนอร์ เจ้าหน้าที่ได้ยกระดับการสลายการชุมนุม เข้าจับกุมและผลักดันให้ผู้ชุมนุมถอยออกห่างจากตู้คอนเทนเนอร์
พ.ต.ท.สุทธิศักดิ์ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะเกิดเหตุ พยานอยู่บริเวณ “แยกผ่านพิภพลีลา” ก่อนได้รับแจ้งว่ามีผู้ก่อเหตุติดป้ายบนพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเป็นการได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานวิทยุที่ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ โดยพยานเองก็ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตัวเอง เมื่อได้รับแจ้งได้เดินไปที่จุดเกิดเหตุ แต่พบเพียงป้ายข้อความเท่านั้น ไม่เห็นผู้ก่อเหตุแล้ว ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมอยู่จำนวนมาก จึงไม่ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาออกตระเวนจับกุมหาตัวผู้ก่อเหตุ ซึ่งเป็นนโยบายที่ตกลงกับคณะทำงานไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีการชุมนุมจะเริ่มขึ้น
ภายหลังวันเกิดเหตุ 1 วัน ในวันที่ 21 มี.ค. 2564 พยานได้เดินทางไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนโดยได้มอบภาพถ่ายและวิดีโอจากกล้อง CCTV ของกรุงเทพฯ ซึ่งได้มาจากรายงานการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ตามรายงานสืบสวนดังกล่าวระบุว่า พบบุคคลไม่ทราบชื่อ-นามสกุลมาติดป้ายกระดาษในเวลา 18.20 น.
พยานทราบว่าผู้จัดการชุมนุมในคดีนี้ คือ “กลุ่มรีเด็ม” แต่พยานไม่ได้ตรวจดูเฟซบุ๊กของจำเลยว่าได้โพสต์เชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมการชุมนุมในวันเกิดเหตุด้วยหรือไม่
พยานเห็นว่าระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศไปจนถึงแนวตู้คอนเทนเนอร์ มีระยะทางประมาณ 400-500 เมตร พยานเห็นว่าพื้นที่การชุมนุมเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ไม่ได้มีความแออัด ตามรายงานการสืบสวนได้รับแจ้งเพียงว่ามีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ ส่วนจะมีผู้ชุมนุมบาดเจ็บหรือไม่ พยานไม่ทราบ
หลักฐานที่พยานนำไปแจ้งความ ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่สามารถจับเหตุการณ์ขณะมีผู้ก่อเหตุได้นั้น มีบางภาพไม่ได้ระบุเวลาไว้ว่าเป็นภาพเหตุการณ์ในวันและเวลาใด และภาพใดเป็นลำดับเหตุการณ์ใด พยานก็ไม่ทราบ ภาพจากกล้องวงจรปิดดังกล่าวก็มีภาพผู้คนจำนวนมากอยู่ด้วย
ขณะที่พยานไปให้การกับพนักงานสอบสวนในคดีนี้ พยานเคยให้การว่าการกระทำของจำเลยในคดีนี้ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเกิดความรู้สึกไม่เคารพสักการะ แต่พยานเบิกความว่า ปัจจุบันยังคงมีความเคารพและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ ส่วนข้อความที่ระบุว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” พยานเห็นว่าเป็นข้อความที่เห็นได้โดยทั่วไป
พยานทราบว่าจำเลยไม่ได้ถูกจับกุมในวันเกิดเหตุด้วย ส่วนตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 ผู้เข้าร่วมการชุมนุมจะไม่มีความผิด จะมีความผิดเฉพาะ “ผู้จัดการชุมนุม” เท่านั้น ในวันเกิดเหตุพยานมีหน้าที่ตรวจดูพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด โดยได้เดินทั่วทั้งบริเวณพื้นที่ชุมนุมแล้ว แต่ไม่เห็นว่ามีการตั้งจุดตรวจวัดอุณหภูมิ และการคัดกรองที่บริเวณทางเข้า-ออก
++พยานโจทก์ปากที่ 2: พ.ต.ท.พิษณุ – พนักงานสอบสวนในคดีนี้
พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้กำกับสอบสวน สน.ชนะสงคราม เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุได้รับคำสั่งให้มาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ในการชุมนุม ในวันเกิดเหตุได้เดินทางไปที่บริเวณหน้าศาลฎีกาประมาณ 17.00 น. โดยพยานยืนอยู่ด้านหลังตู้คอนเทนเนอร์
ช่วงแรกผู้ชุมนุมพยายามขว้างปาสิ่งของข้ามตู้คอนเทนเนอร์ที่สูงประมาณ 4-5 เมตรเข้ามา หลังจากมีการดึงตู้คอนเทนเนอร์ออกผู้ชุมนุมแนวหน้าขว้างปาประทัดยักษ์เข้ามา มีการด่าทอด้วยคำหยาบคาย เจ้าหน้าที่ประกาศให้เลิกการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมเลิก สถานการณ์มีแต่รุนแรงขึ้นตามลำดับ
ต่อมาผู้บังคับบัญชาสั่งให้ตั้งแนวกำลังเพื่อเดินหน้าจับกุมผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมมีการขว้างปาขวด หิน และใช้ไม้ตี เมื่อพยานและ คฝ. นายอื่นเดินเข้าไปพอสมควรจึงต้องถอยหลังออกมา จากนั้นพยานถูกผู้ชุมนุมใช้ไม้ฟาดหัวและล้มลง โดยสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ในขณะนั้นทันที แต่พยานใส่หมวกกันน็อคจึงช่วยป้องกันไม่ได้รับบาดเจ็บ เพียงแต่รู้สึกมึนหัวและรู้สึกเจ็บแปล๊บ 1-2 วันต่อมาจึงหายเป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีตำรวจคนอื่นได้รับบาดเจ็บอีกด้วย
พ.ต.ท.พิษณุ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไม่ทราบว่าในวันนั้นมีผู้ชุมนุมหรือสื่อมวลชนได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใด
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/56707)
-
วันที่: 23-03-2022นัด: สืบพยานโจทก์++พยานโจทก์ปากที่ 3: พ.ต.ท.ยุคณธร ชูแก้ว – ประจักษ์พยานหนึ่งเดียว ตร.ผู้อ้างว่าเห็นผู้ก่อเหตุ แต่เห็นเพียง ‘ด้านหลัง’ เท่านั้น
พ.ต.ท.ยุคณธร ชูแก้ว เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งสารวัตรสืบสวน อยู่ที่กองกำกับการตำรวจนครบาล 1 มีหน้าที่สืบสวนการกระทำความผิดและรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 17.00 น. พยานได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาลให้วางกำลังอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน ในขณะนั้นมีผู้ชุมนุมเข้ามาทำการชุมนุมกัน มีบุคคลนำกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ติดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์ ที่รั้วศาลฎีกา พยานเห็นบุคคลที่นำกระดาษไปติดเป็นผู้ชาย ขึ้นไปเหยียบบริเวณฐานของพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งมีความสูงประมาณระดับเอวเหยียบขึ้นไป แล้วเอากระดาษที่มีข้อความดังกล่าวไปติดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์
ขณะเกิดเหตุ พยานประจำตำแหน่งอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน ห่างจากพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าวประมาณ 10 เมตร บริเวณนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก ขณะนั้นพยานจึงไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เนื่องจากกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ทว่าพยานแต่งกายด้วยชุดนอกเครื่องแบบและไม่ได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ภายหลังเกิดเหตุ พยานประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอื่นเพื่อหาตัวบุคคลที่ปีนขึ้นไปติดข้อความ พบว่า มีกล้องวงจรปิดบริเวณตรงข้ามกับพระบรมฉายาลักษณ์ สามารถถ่ายภาพบุคคล ซึ่งใช้เท้าเหยียบที่ฐานแล้วปีนขึ้นไปติดกระดาษตั้งกล่าวไว้ได้
ในวันเกิดเหตุ พยาน “เห็นเพียงด้านหลัง” ของบุคคลที่เป็นผู้ก่อเหตุ โดยเห็นว่า ด้านหลังสะพายกระเป๋าเป้สีแดง สวมเสื้อสีดำ ย้อมผมสีทอง ซึ่งตรงกับภาพผู้ก่อเหตุที่ได้จากวงจรปิด
ก่อนเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการรวบรวมข้อมูลของผู้ที่เข้ามาชุมนุมในกลุ่มรีเด็มเป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อเห็นภาพในกล้องวงจรปิดจึงสามารถนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีไว้ได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้วยืนยันได้ว่าเป็นจำเลยในคดีนี้ ในการรวบรวมข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรวบรวมข้อมูลจากในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์
ภายหลังจากมีการติดกระดาษที่พระบรมฉายาลักษณ์แล้ว มีเยาวชนอีก 2 คนนำขยะมาทิ้งไว้ที่ดังกล่าว และมีเปลวไฟเกิดขึ้นในบริเวณนั้นด้วย ต่อมาสามารถจับกุมเยาวชนหญิง 2 คนดังกล่าวได้ และมีการดำเนินคดีเป็นอีกคดีหนึ่ง
พยานเห็นว่าข้อความที่นำมาติดบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์นั้น เป็นการทำให้เสื่อมเสียเกียรติของพระองค์ท่าน ทำให้ถูกดูหมิ่น ดูแคลน หากไม่มีกระดาษดังกล่าวก็คงไม่มีคนเอาขยะมาทิ้ง
พ.ต.ท.ยุคณธร ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ภายหลังเกิดเหตุ พยานไปให้การกับพนักงานสอบสวนไว้ 3 ครั้ง ครั้งแรกให้การภายหลังจากเกิดเหตุ โดยมอบรายงานการสืบสวนให้กับพนักงานสอบสวน หลังจากนั้นก็ไปให้การเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุผลที่พยานรู้เห็นเหตุการณ์และเห็นบุคคลที่ก่อเหตุในคดีนี้
ขณะเกิดเหตุ พยานเห็นกลุ่มบุคคลเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปจนถึงสนามหลวง แต่ไม่แน่ใจว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ชุมนุมทั้งหมดหรือไม่ ขณะพยานเดินทางไปที่เกิดเหตุมีคนจำนวนไม่มาก แต่ว่าเมื่อเข้าทำหน้าที่แล้วไม่ทราบว่ามีคนมามากหรือไม่
ตำแหน่งตั้งแต่รูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผมจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นระยะทางมากกว่า 1 กิโลเมตร บริเวณที่พยานประจำการอยู่เป็นพื้นที่โล่ง มีกลุ่มคนประมาณ 500 คน มีคนเบียดเสียดกันกระจายอยู่ทั่ว โดยมีทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
วันที่พยานไปให้การกับพนักงานสอบสวน พยานได้มอบไฟล์ภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดที่สามารถจับภาพผู้ก่อเหตุในคดีนี้ไว้ได้ให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว ทนายจำเลยได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีข้อพิรุธดังต่อไปนี้ ซึ่งพยานก็ยอมรับว่าเป็นความจริง ได้แก่
ภาพถ่ายจากโทรศัพท์ที่อ้างว่าเป็นภาพผู้ก่อเหตุติดกระดาษนั้น ผู้ทำการถ่ายไว้ไม่ได้ถูกอ้างชื่อเป็นพยานโจทก์เข้าเบิกความต่อศาลด้วย
หลักฐานบางภาพพยานไม่ทราบว่าได้มาจากที่ใด หรือใครถ่ายไว้ได้ ภาพที่จับภาพนิ่งมาจากวิดีโอ CCTV บางภาพไม่ระบุวันและเวลาในภาพด้วย และบางภาพก็ไม่ปรากฏว่ามีกระดาษติดอยู่ที่พระบรมฉายาลักษณ์
พยานออกจากที่เกิดเหตุก่อนเวลา 22.00 น. แล้วไม่ได้กลับเข้าไปอีก เนื่องจากต้องจับกุมเยาวชนหญิง 2 คนไปดำเนินการต่อไป ขณะปฏิบัติหน้าที่ พยานไม่ได้ยินจำเลยพูดปราศรัยให้มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่อย่างใด ขณะที่พยานมองเห็นจำเลยนำแผ่นกระดาษไปติดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์มีแสงสว่างมองเห็นชัดเจน ส่วนข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” พยานรับว่าเป็นข้อความที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
++พยานโจทก์ปากที่ 4: ร.ต.อ.ล้วน – ตร.ชุดจับกุม ตามจับจำเลยที่คอนโด ยึดมือถือ 2 เครื่อง สวนทางพฤติการณ์คดีร่วมม็อบ-ติดกระดาษ
ร.ต.อ.ล้วน มั่นศักดิ์ เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุพยานรับราชการเป็นรองสารวัตรสืบสวน อยู่ที่ สภ.สำโรงเหนือ โดยในคดีนี้พยานเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมที่ได้ทำการจับกุมจำเลยตามหมายจับ
ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้รับแจ้งว่า จำเลยเป็นบุคคลตามหมายจับของศาลอาญา ลงวันที่ 22 มี.ค. 2564 ในข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้หลบหนีไปพักอาศัยอยู่ที่คอนโดแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ พยานและตำรวจชุดจับกุมนายอื่นจึงได้ติดตามสืบสวนตามไปจับกุม
ในวันที่ 22 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 20.00 น. ตำรวจชุดจับกุมเห็นจำเลยยืนอยู่หน้าคอนโดที่พักอาศัยตามที่ได้รับแจ้งจึงแสดงตัวและขอตรวจค้นทรัพย์สินที่เคยใช้กระทำผิด โดยได้ยึดโทรศัพท์มือถือจำนวน 2 เครื่องของจำเลยไว้ จากนั้นนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม เพื่อดำเนินคดีต่อไป
ร.ต.อ.ล้วน ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานเป็นเพียงตำรวจชุดจับกุม ไม่ได้เห็นว่าจำเลยอยู่ในสถานที่เกิดเหตุและกระทำความผิดจริงหรือไม่ ขณะจับกุมจำเลยในคดีนี้พยานและตำรวจชุดจับกุมได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของจำเลยจำนวน 2 เครื่องไปด้วย แต่ไม่ได้มีหมายขอตรวจยึดอุปกรณ์สื่อสารจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อีกทั้งไม่ได้มีหมายศาลที่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้ใช้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในการตรวจยึดและขอสำเนาข้อมูลอีกด้วย
พยานเห็นด้วยว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่เป็นเหตุให้ถูกออกหมายจับในคดีนี้นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์มือถือ อีกทั้งขณะจับกุมจำเลยในครั้งนั้น จำเลยเพียงยืนสูบบุหรี่อยู่ด้านหน้าคอนโดของตนเอง ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด แต่พยานไม่ทราบว่า คอนโดดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยของจำเลยเป็นประจำอยู่ก่อนหน้าอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นการหนีมาซ่อนตัวตามที่ระบุไว้ในบันทึกการจับกุม
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/56707) -
วันที่: 25-03-2022นัด: สืบพยานโจทก์++พยานโจทก์ปากที่ 5: พ.ต.อ.สนอง – ผกก.สน.ชนะสงคราม ผู้ประกาศให้เลิกชุมนุมในวันเกิดเหตุ
พ.ต.อ.สนอง แสงมณี เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับการ สน.ชนะสงคราม ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย
ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ ผู้ชุมนุมกลุ่มรีเด็มได้โพสต์เฟซบุ๊กว่าจะมีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ท้องสนามหลวง หลังจากทราบข่าวพยานและเจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นได้วางแผนถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อเจรจากับกลุ่มผุ้ชุมนุม เนื่องจากพื้นที่สนามหลวงเป็นพื้นที่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง โดยวางแผนจะวางแนวกำลังตั้งแต่แยกผ่านพิภพลีลาก่อนที่จะเข้าสนามหลวง และมีการวางแนวเขตกั้นระหว่างผู้ชุมนุมกับประชาชนโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 2 ชั้น วางผ่ากลางสนามหลวงตลอดแนว
ต่อมา ในวันเกิดเหตุ วันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลาประมาณ 15.00 น. ผู้ชุมนุมเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่บริเวณท้องสนามหลวง ต่อมาเวลาประมาณ 17.00 น. พยานได้แจ้งกับผู้ชุมนุมว่าการชุมนุมเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อาจถูกดำเนินคดีได้ จากนั้นผู้ชุมนุมได้โหว่ร้องและใช้ถ้อยคำหยาบคายกับพยาน จนพยานและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ต้องถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าว
หลังจากนั้นมีผู้ชุมนุมทยอยมามากขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มมีการฉีดสเปรย์ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ พังรั้วเหล็กเพื่อเข้าไปบริเวณท้องสนามหลวง ขณะนั้นคาดว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 500 คนขึ้นไป จากนั้นผู้ชุมนุมบางส่วนปีนตู้คอนเทนเนอร์ แล้วใช้เชือกดึงตู้ลงมาเพื่อเปิดทางให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปในสนามหลวง เจ้าหน้าที่แนวหลังตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นคนละชุดกับกลุ่มของพยานได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมหยุดกระทำ แต่ผู้ชุมนุมก็ยังคงขว้างปาสิ่งของ ใช้หนังสติ๊ก ตลอดจนประทัดยักษ์ ใส่เจ้าหน้าที่จนได้รับบาดเจ็บบางส่วน แต่พยานไม่ทราบว่าเป็นใครบ้างและมีจำนวนเท่าใด
บริเวณที่เกิดเหตุในคดีนี้ คือพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งอยู่บริเวณรั้วของศาลฎีกา ซึ่งอยู่ด้านหน้าตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่มีผู้ชุมนุมรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม มีบุคคลนำกระดาษไปติดที่พระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว ระบุข้อความบนกระดาษว่า “ที่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล”
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ชุมนุมจะบุกผ่านรั้วลวดหนามและดึงตู้คอนเทนเนอร์ออกเพื่อฝ่าเข้าไปในบริเวณสนามหลวง พยานไม่ทราบว่าใครเป็นคนปีนขึ้นไปติดกระดาษที่พระบรมฉายาลักษณ์ แต่รับทราบจากรายงานในเวลาต่อมา ตามรายงานการสืบสวนตรวจสอบภาพกล้องวงจรปิด พบว่ากระเป๋าและรอยสักของผู้ก่อเหตุมีลักษณะตรงกับจำเลยในคดีนี้ ซึ่งกระเป๋าดังกล่าวจำเลยจะใช้เป็นประจำ ทั้งนี้ พยานเบิกความว่า ไม่เคยพบเห็นจำเลยมาก่อน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่นในคณะทำงานเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบว่าเป็นผู้ก่อเหตุเป็นคนเดียวกันกับจำเลย
กระดาษที่เขียนข้อความติดพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว พยานเห็นว่าข้อความเป็นการด้อยค่า ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธา โดยลักษณะแล้วเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์
ต่อมา พ.ต.อ.สนอง ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไม่ทราบว่ากลุ่มรีเด็มคือใครและใครเป็นแกนนำ พยานทราบว่า ก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มประชาชนเคยทำการชุมนุมที่บริเวณท้องสนามหลวงมาก่อน และไม่ทราบว่าในวันเกิดเหตุผู้ชุมนุมทำการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธหรือไม่
ในการวางแผนดูแลการชุมนุมในครั้งนี้ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแล พยานไม่ทราบว่าใครเป็นประธานในการดูแล พยานเพียงทำหน้าที่ในการพยายามเจรจากับผู้ชุมนุมให้หยุดการชุมนุม โดยพยานอธิบายว่า การชุมนุมดังกล่าวผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกฎหมายอื่น
ในการควบคุมฝูงชนมีเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้วางแผน ในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนมากถึง 22 กองร้อยหรือไม่ พยานไม่ทราบ เนื่องจากอยู่คนละส่วนงานกัน
ขณะมีการดึงตู้คอนเทนเนอร์ลงพยานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่อยู่บริเวณป้อมจราจรสี่แยกผ่านพิภพลีลา ใกล้กับรูปปั้นพระแม่ธรณี โดยมองเห็นว่ามีการดึงตู้คอนเทนเนอร์ลง
สำหรับพื้นที่สนามหลวงมีขนาดเท่าใด พยานไม่ทราบ แต่ทราบว่ามีลักษณะเป็นพื้นที่โล่ง คำว่า “แออัด” ตามพจนานุกรมให้ความหมายอย่างไร พยานก็ไม่ทราบ พยานทำหน้าที่ประกาศเตือนให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การชุมนุมจะมีความผิดตามกฎหมายใดบ้างและอาจถูกดำเนินคดี ส่วนการชุมนุมจะแออัดหรือแพร่โรคระบาดหรือไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคออกความเห็น
ในวันเกิดเหตุพยานไม่เห็นจำเลยแต่อย่างใด ภายหลังเหตุสลายการชุมนุม คฝ. สามารถจับกุมผู้ชุมนุมได้ประมาณ 30 คน แต่จำเลยไม่ได้ถูกจับกุมในวันดังกล่าวด้วย
++พยานโจทก์ปากที่ 6: พ.ต.อ.ธนันท์ธร – ผู้บัญชาการกำลัง คฝ. ในการชุมนุมวันเกิดเหตุ
พ.ต.อ.ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์ เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 อยู่ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 มีหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดทั่วราชอาณาจักรและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย
ในวันเกิดเหตุ พยานได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้บังคับการกองพันควบคุมฝูงชน ดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมคือ “กลุ่มรีเด็ม” พยานไปที่บริเวณสนามหลวงเวลาประมาณ 14.00 น. และได้รับรายงานว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 500 คนชุมนุมกันอยู่ที่บริเวณหน้าตู้คอนเทนเนอร์ ต่อมา เวลาประมาณ 17.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม ได้ประกาศแจ้งให้ผู้ชุมนุมหยุดการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมก็ยังไม่เลิก
ต่อมา เวลาประมาณ 18.45 น. พยานได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มบุคคลนำแผ่นกระดาษที่มีข้อความทำนองว่า ที่ทิ้งขยะไปติดที่บริเวณคอของพระบรมฉายาลักษณ์ แต่พยานไม่แน่ใจว่าพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าวตั้งอยู่ที่บริเวณใด เนื่องจากพยานอยู่บริเวณหลังแนวตู้คอนเทนเนอร์
พยานเห็นว่าการติดกระดาษที่มีข้อความดังกล่าวที่พระบรมฉายาลักษณ์เป็นการดูถูก ไม่เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พระองค์เสื่อมเสีย เป็นการอาฆาตมาดร้าย ซึ่งพระมหากษัตริย์ของประชาชนชาวไทยเป็นที่เคารพบูชาอันจะละเมิดไม่ได้
พยานจำไม่ได้ว่า หลังจากมีการติดกระดาษดังกล่าวแล้วมีการทิ้งขยะที่บริเวณพระบรมฉายาลักษณ์จริงหรือไม่ ต่อมาพยานทราบว่า บุคคลที่นำกระดาษดังกล่าวไปติดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์เป็นจำเลยในคดีนี้ โดยพยานไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อน แต่เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วพิสูจน์ทราบภายหลังว่าเป็นจำเลย
หลังจากนั้นผู้ชุมนุมก่อความวุ่นวายขึ้น โดยมีการทำลายตู้คอนเทนเนอร์ ใช้ประทัดยักษ์ยิง ใช้หนังสติ๊กยิงลูกแก้วและก้อนหิน ขว้างปาไม้-ก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บหลายราย โดยตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ขาทะลุจนเลือดไหล ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้พยายามผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกไป จนถึงเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 21 มี.ค. จึงสามารถสลายการชุมนุมได้
พ.ต.อ.ธนันท์ธร ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานจำไม่ได้ว่า แกนนำกลุ่มรีเด็มเป็นใคร และจำเลยเป็นแกนนำกลุ่มรีเด็มหรือไม่ รวมถึงไม่ทราบว่า ขณะเกิดเหตุมีแกนนำกลุ่มรีเด็มอยู่ด้วยหรือไม่เช่นกัน เนื่องจากเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 1 ปีแล้ว
หน่วยงานหลักที่ดูแลเกี่ยวกับการควบคุมฝูงชน คือ “สถานีตำรวจนครบาล” ผู้ดูแลหลัก คือ “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” แต่เจ้าของพื้นที่ที่ดูแล คือ “ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล” โดยหน่วยงานวางแผนรับมือซึ่งพยานได้รับคำสั่งให้ดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยานทราบว่า กลุ่มรีเด็มเป็นกลุ่มที่มีปัญหาและมักมีอาวุธเข้ามาในการชุมนุมด้วยทุกครั้ง
พยานประจำการอยู่บริเวณหลังตู้คอนเทนเนอร์ เลยจากวัดพระแก้วมาประมาณ 400-500 เมตร ในวันเกิดเหตุมีการวางตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่ริมรั้วของศาลฎีกายาวไปจนถึงอีกฝั่งหนึ่งตลอดแนว จากตู้คอนเทนเนอร์ถึงบริเวณวัดพระแก้วห่างกันประมาณ 300-400 เมตร พยานอยู่ด้านหลังตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนผู้ชุมนุมอยู่ด้านหน้าตู้
ขณะพยานปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้านหลังตู้คอนเทนเนอร์ได้รับแจ้งรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นระยะ พยานจำไม่ได้ว่า ในวันเกิดเหตุ คฝ. มีกองกำลังเท่าไหร่ แต่คาดว่าน่าจะมีจำนวน 1,000 คนขึ้นไป โดยวางกำลังกระจายอยู่ทั่วพื้นที่การชุมนุม อีกทั้งบริเวณด้านหลังตู้คอนเทนเนอร์มีรถฉีดน้ำจำนวน 2 คัน
ในการปฏิบัติหน้าที่จะมีการประกาศเตือนผู้ชุมนุมให้หยุดการชุมนุมก่อน หากไม่เชื่อ การที่จะใช้รถฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมจะต้องได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการพื้นที่ในวันดังกล่าว คือ “ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล 6” เสียก่อน ในวันเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 กองร้อย หรือประมาณ 155 นาย จะมีปืนบรรจุกระสุนยาง 2 กระบอก มีการเตรียมน้ำเปล่า น้ำผสมแก๊ส แก๊สน้ำตาแบบยิงกับแบบขว้าง และปืนกระสุนยาง
มีการแจ้งเตือนผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่เชื่อฟัง บุกเข้ามาดึงตู้คอนเทนเนอร์ 2 อัน ตรงกลางออก เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมคนอื่นเข้ามาในบริเวณสนามหลวง มีการขว้างปาแก้วน้ำ ขวดน้ำ ประทัดยักษ์ใส่เจ้าหน้าที่ และยิงหนังสติ๊ก ซึ่งถือเป็นการประทุษร้ายและใช้อาวุธ
ตำรวจได้ประกาศให้หยุด แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมหยุด เจ้าหน้าที่จึงได้ใช้น้ำฉีดใส่กลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อให้ถอยออกไปเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกไปแล้ว ก็มีการผลักดันเข้าไปอีกหลายครั้ง จนในที่สุดเจ้าหน้าที่จึงใช้กำลังผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกมาจากพื้นที่ และมีการจับกุมผู้ชุมนุมบางส่วนในวันเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุม ตั้งแต่บริเวณสนามหลวง สะพานผ่านฟ้า ไปจนถึงสะพานวันชาติ และบริเวณถนนราชดำเนิน พยานอ้างว่าจุดเริ่มต้นของความรุนแรงในการชุมนุมเริ่มขึ้นตั้งแต่การที่กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนรื้อตู้คอนเทนเนอร์ออก
ในวันเกิดเหตุมีคนจำนวนมากเป็นพันคน พยานจำไม่ได้ว่ามีใครบ้าง พยานได้รับรายงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาฝ่ายสืบสวนว่า มีจำเลยเป็นผู้นำกระดาษที่มีข้อความ “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ไปติดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/56707) -
วันที่: 19-04-2022นัด: สืบพยานโจทก์++พยานโจทก์ปากที่ 7: ร.ต.อ.เฉลิมพงษ์ – หนึ่งใน คฝ.สลายม็อบ ผู้ถูกผู้ชุมนุมรายหนึ่งใช้ไม้ตีหัว
ร.ต.อ.เฉลิมพงษ์ ตระกูลชาวท่าโขลง เบิกความว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 พยานปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชน อยู่ที่บริเวณหน้าศาลฎีกา ตั้งแต่เวลา 17.00 น. โดยระหว่างผู้ชุมนุมกับจุดที่พยานอยู่นั้นมีตู้คอนเทนเนอร์ซ้อนกัน 2 ชั้นกั้นอยู่ โดยระหว่างนั้นผู้ชุมนุมได้ขว้างปาสิ่งของ และขวดน้ำ รวมถึงประทัดยักษ์ข้ามตู้คอนเทนเนอร์มาใส่เจ้าหน้าที่
ต่อมาผู้ชุมนุมได้ใช้เชือกสลิงดึงตู้คอนเทนเนอร์ออกประมาณ 2 ตู้ โดย 1 ช่วงตู้ยาวประมาณ 4 เมตร เมื่อผู้ชุมนุมดึงตู้คอนเทนเนอร์ออกไป กลุ่มผู้ชุมนุมแนวหน้าได้ขว้างประทัดยักษ์และสิ่งของเข้ามาเหมือนเดิม และยังมีการด่าทอด้วยคำหยาบคาย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งให้สลายการชุมนุมแล้ว แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมสลายตัวไป ผู้บังคับบัญชาจึงสั่งให้พยานตั้งแนวกำลังเพื่อทำการผลักดันผู้ชุมนุมและสลายการชุมนุม ตามลำดับ
พยานอยู่ในแนวกำลังที่เข้าไปผลักดันผู้ชุมนุม จนเกิดมีการชุลมุนทุบตีกัน จากนั้นพยานก็ถูกชายคนหนึ่งใช้ไม้กระบองทุบไปที่บริเวณศีรษะ เมื่อพยานถูกตี เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายหนึ่งก็เข้าไปควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ ขณะนั้นพยานใส่หมวกป้องกันศีรษะอยู่ จึงไม่ได้รับบาดเจ็บมาก นอกจากพยานแล้วยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนายอื่นได้รับบาดเจ็บด้วย
ร.ต.อ.เฉลิมพงษ์ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในการชุมนุมดังกล่าว นอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้รับบาดเจ็บแล้ว พยานไม่ทราบว่าจะมีผู้ชุมนุมหรือผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใด
++พยานโจทก์ปากที่ 8: รณกรณ์ – ชี้แปะกระดาษผิดฐาน ‘ดูหมิ่น’ ไม่ใช่ ‘หมิ่นประมาท’ แจง ม.112 มีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเป็นการจำกัดสิทธิแสดงความเห็นของ ปชช.
ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี เบิกความว่า ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ติดต่อพยานมาเพื่อขอความเห็นทางวิชาการ โดยพนักงานสอบสวนให้พยานดูรูปภาพ ซึ่งเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์มีแผ่นกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ติดอยู่
พนักงานสอบสวนได้ถามความเห็นพยานว่า การกระทำตามรูปดังกล่าวจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 หรือไม่ พยานตอบว่า พยานไม่ทราบว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร แต่ในความเห็นของพยานการกระทำดังกล่าวเป็นการเหยียดหยาม ลดศักดิ์ศรี เป็นการดูหมิ่น แต่พยานเห็นว่า ไม่เป็นการหมิ่นประมาท เพราะไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริง และไม่เป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย นอกจากนี้พยานเห็นว่าไม่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบ อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116
รณกรณ์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานสอนวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไปและกฎหมายอาญาภาคความผิด ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และยังสอนวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนด้วย
พยานเห็นว่า ถ้าพิเคราะห์ถึงตัวข้อความโดยแท้จริงแล้ว ถือว่าเป็นข้อความทั่วไป เป็นข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อเจาะจงตัวตนใคร โดย “พระบรมฉายาลักษณ์” หมายถึง รูปถ่ายขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่อาจถูกบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ สิ่งพิมพ์ ฯลฯ ได้ ถ้าไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อื่นแล้วเสื่อมค่าก็สามารถนำไปทิ้งได้ หรืออาจนำไปห่อสิ่งของได้ ยกเว้นบุคคลนั้นมีเจตนาพิเศษนำไปใช้โดยมีเจตนาแอบแฝง
พยานเคยได้ยินข่าวกรณีประเทศสเปนมีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์และศาลสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรปตัดสินว่า กรณีดังกล่าว “ไม่เป็นความผิด” ฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
พยานเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาว่า ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 112 ซึ่งพยานก็เห็นด้วย อีกทั้งพยานทราบว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่เคยนำมาใช้ลงโทษจำเลยในคดีต่างๆ ในระหว่างปี 2561-2562 และพยานก็เคยเห็นข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระประสงค์ไม่ให้นำมาตรา 112 มาบังคับใช้กับประชาชน
ต่อมาวันที่ 19 พ.ย. 2563 พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ให้ใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตรากับประชาชน ซึ่งประชาชนทั่วไปน่าจะเข้าใจว่ารวมถึงมาตรา 112 ด้วย ปัจจุบันจะมีการดำเนินคดีตามมาตรา 112 จำนวนกี่คดีพยานไม่ยืนยัน แต่ทนายจำเลยให้ดูเอกสารแล้วปรากฏว่ามีจำนวน 194 คดี
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน พยานได้ให้ความเห็นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับการดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นจำนวนหลักร้อยคดีแล้ว เกี่ยวกับมาตรา 112 ตั้งแต่พยานเข้ามาเกี่ยวข้อง เห็นว่ามีปัญหาในการบังคับใช้หลายประการ เช่น
1. ด้านหลักการ มีทั้งการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย หากเป็นการกระทำผิดสำหรับประชาชนทั่วไป การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายจะมีการกำหนดโทษที่ไม่เท่ากัน แต่สำหรับความผิดที่กระทำต่อพระมหากษัตริย์บุคคลจะต้องรับโทษเพื่อการกระทำในระนาบเดียวกันหรือต้องรับโทษเท่ากัน ซึ่งในความเห็นของพยาน ตามหลักวิชาการไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งพยานเชื่อว่าการลงโทษโดยไม่สะท้อนถึงความรุนแรงของการกระทำเหมือนกับต่างประเทศถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2. คำว่า “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” ไม่มีนิยามคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน จึงสร้างความสับสนต่อการบังคับใช้พอสมควร
3. ปัญหาใหญ่สำคัญ คือ ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งถูกตัดสิทธิหรือจำกัดสิทธิในการให้ความเห็นต่าง เช่น ตามมาตรา 326 อันเป็นการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปจะมีการกำหนดข้อยกเว้นให้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 329 เป็นต้น
4. ปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่มีการกล่าวถึง ดังเช่น ตามคำพิพากษาของศาลไทยได้มีคำพิพากษาถึงบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามตัวบท ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ รัชทายาท พระราชินี และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่กล่าวถึงบุคคลนอกเหนือจากนี้ เช่น พระกนิษฐา ซึ่งไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น และมีคำพิพากษาถึงรัชกาลที่ 4 ด้วย ซึ่งแท้จริงควรจะเป็นพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น
5. จากประสบการณ์การทำงานของพยานที่ได้ไปให้การเกี่ยวกับมาตรา 112 หลายคดี พบว่า กฎหมายมาตรานี้ถูกใช้เพื่อสร้างปัญหากับผู้ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม สร้างภาระในการขึ้นศาลพอสมควร บางคดีที่พยานไปให้ความเห็นยังพบอีกว่ามูลเหตุไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหาเลย
ส่วนกรณีที่ “ใครๆ ก็แจ้งความได้” ก็เป็นปัญหาเช่นกัน เป็นเหตุขัดข้องในการดำเนินการ อย่างเช่นในประเทศเยอรมนี ผู้ที่จะแจ้งความได้ก็คือ “ประธานาธิบดี” หรือ “ผู้ได้รับมอบหมาย” เท่านั้น ในความเห็นของพยานทางวิชาการและเท่าที่เป็นอาจารย์สอนมาเห็นว่า การฟ้องตามมาตรา 112 หากศาลพิพากษาว่าเป็นความผิดจะเป็นการสร้างภาระให้กับพระองค์ เนื่องจากเป็นการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์โดยตรง
ทนายจำเลยถามว่า ด้านสิทธิมนุษยชน หากเป็นการพูดหรือแสดงความคิดเห็นแล้วจะไม่ต้องรับโทษจำคุกใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เท่าที่คิดได้น่าจะมีโทษทางแพ่งเท่านั้น
รณกรณ์ตอบโจทก์ถามติงว่า สำหรับข้อความที่นำไปทิ้งหรือเป็นขยะ หากนำไปติดกับบุคคลใด อาจทำให้เข้าใจว่าบุคคลที่ถูกนำไปติดเป็นขยะหรือเป็นการแสดงความเหยียดหยาม
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/56707) -
วันที่: 27-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์และพยานจำเลย++พยานโจทก์ปากที่ 9: เจษฎ์ – ตีความสวนทางรณกรณ์ ชี้จำเลยต้องผิดทั้งดูหมิ่น-หมิ่นประมาท
รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก เบิกความว่า ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จังหวัดขอนแก่น สอนวิชานิติศาสตร์ คดีนี้ พยานได้รับการติดต่อจากพนักงานสอบสวนให้ไปให้ความเห็นทางวิชาการ โดยพนักงานสอบสวนให้พยานดูรูปภาพเป็นกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ติดอยู่บนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10
พยานมีความเห็นว่า ผู้กระทำมีเจตนาเพื่อดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยามองค์พระมหากษัตริย์ ทำให้คนที่พบเห็นคิดว่าเป็นเสมือนถังขยะ พยานให้ความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
พยานได้รับการบอกเล่าว่า หลังจากมีป้ายดังกล่าวติดที่พระบรมฉายาลักษณ์มีบุคคลอื่นที่น่าจะนัดหมายกันล่วงหน้านำขยะมาทิ้งการนำขยะมาทิ้งดังกล่าว ซึ่งพยานเห็นว่าก็เป็นความผิดเช่นเดียวกับผู้ที่นำป้ายข้อความที่ทิ้งขยะมาติด
เจษฎ์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานจบการศึกษาชั้นปริญญาโทและระดับชั้นปริญญาเอก ในสาขากฎหมายระหว่างประเทศและทรัพย์สินทางปัญญา พยานเห็นว่า ข้อความ “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” เป็นข้อความทั่วไป ไม่ได้ระบุถึงบุคคลใด แต่ปิดไว้ที่พระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ทั้งนี้ รูปภาพไม่ว่าของบุคคลใดถือเป็นเครื่องแสดงถึงตัวของบุคคลนั้นด้วย
พยานเคยให้ความเห็นต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการในคดีที่มีการโพสต์เกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยงและแชร์ผังอุทยานราชภักดิ์ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 112 และมาตรา 116 แต่ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แม้คดีดังกล่าวจำเลยจะยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความจริงก็ตาม
อีกทั้งพยานเคยเบิกความในคดีที่จำเลยโพสต์และแชร์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์กองทัพว่าเป็นความผิดตามมาตรา 116 ซึ่งต่อมาศาลก็ได้พิพากษายกฟ้องเช่นกัน
ทั้งนี้ เจษฎ์ตอบโจทก์ถามติงว่า ข้อความที่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลนั้นเป็นข้อความทั่วไป แต่เมื่อนำข้อความมาประกอบกับสิ่งอื่นก็ย่อมแปลความร่วมกันกับสิ่งนั้น เช่น หากนำไปติดที่รูปภาพหรือพระบรมฉายาลักษณ์ก็จะหมายความว่า สถานที่นั้นเป็นที่ทิ้งขยะเป็นการดูหมิ่นดูแคลนพระมหากษัตริย์
++พยานโจทก์ปากที่ 10: รัตติกรณ์ – จนท.กรุงเทพฯ ยืนยันไม่ได้ว่าชุมนุมแออัด เหตุทุกคนใส่แมส พื้นที่โล่งกว้าง
รัตติกรณ์ สนั่นเอื้อ เบิกความว่ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลชำนาญการ อยู่ที่สำนักงานเขตพระนคร มาตั้งแต่ปี 2549 ในคดีนี้พนักงานสอบสวนเรียกไปสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการมาตรการและแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมโรค
พยานเบิกความว่า บางครั้งมักจะได้เดินทางไปวัดระดับความดังเสียงและตรวจวัดดูความหนาแน่นในการชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ชุมนุมด้วย ขึ้นอยู่กับหัวหน้าเขตประเมินว่าการชุมนุมครั้งนั้นมีความรุนแรงหรือไม่ แต่การชุมนุมในคดีนี้พยานไม่ได้รับมอบหมายให้ไปแต่อย่างใด
ในช่วงการชุมนุมที่เป็นเหตุในคดีนี้มีการระบาดของโรคโควิดเกิดขึ้น โดยรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และกรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (Covid-19) เพื่อเน้นย้ำให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักการป้องกันโควิด อย่างเช่นเว้นระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัย
หากห้างร้านหรือบริษัทใดๆ จะจัดกิจกรรมรวมกลุ่มจะต้องขออนุญาตกับหน่วยงานของพยานก่อน แต่ลักษณะการชุมนุมนั้นแตกต่างออกไป โดยจะต้องให้ผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน ฝ่ายพยานจึงจะพิจารณาอนุญาตเป็นลำดับต่อไปได้
หากมีกลุ่มองค์กรใดมาขออนุญาตเพื่อจัดการชุมนุมกับหน่วยงานของพยานแล้ว หากได้รับอนุญาต ก็จะให้คำแนะนำไปด้วย และพยานจะไปตรวจสอบด้วยว่าผู้มาร้องขอปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ แต่พยานจะไม่ได้เข้าไปจัดการหรืออำนวยความสะดวกตามคำแนะนำดังกล่าวด้วยตัวเอง เช่น ตั้งจุดคัดกรอง เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร ทั้งนี้ การจะติดโรคโควิดในสถานที่แออัดหรือการชุมนุมมีหลายองค์ประกอบด้วยกัน
พยานดูภาพถ่ายบรรยากาศการชุมนุมที่เป็นเหตุในคดีนี้แล้วให้ความเห็นว่า การชุมนุมดังกล่าวจะว่ามีความหนาแน่นก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะแม้ผู้ชุมนุมไม่ได้เว้นระยะห่างกันมากกว่า 1 เมตร แต่ก็ยัง “สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่” ทั้งนี้ ในการชุมนุมดังกล่าวพยานไม่ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเข้าไปดูแลแต่อย่างใด
ต่อมา รัตติกรณ์ตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ประกาศกรุงเทพฯ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ไม่ได้เป็นลักษณะข้อห้าม แต่เป็นข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเสียมากกว่า พยานไม่ทราบว่าในการชุมนุมดังกล่าวจะมีการตั้งจุดคัดกรอง แจกหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรือไม่
ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ พยานพอจะทราบว่า หากจะจัดการชุมนุมต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน ส่วนจะขอใช้พื้นที่เพื่อการชุมนุมนั้นไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจของสำนักงานเขต โดยส่วนใหญ่ประชาชนมักจะมาขออนุญาตเกี่ยวกับการขอใช้เครื่องขยายเสียงมากกว่า
พยานให้ความเห็นว่า “สถานที่แออัด” หมายถึง พื้นที่ที่เว้นระยะห่างไม่ได้และเสี่ยงต่อการแพร่โรค แต่บรรยากาศการชุมนุมนั้น พยานเห็นว่าเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ส่วนอากาศจะถ่ายเทสะดวกหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ามีลมหรือไม่ด้วย
.
หลังอัยการนำพยานโจทก์เข้าสืบอีก 2 ปาก จนเสร็จสิ้น ฝ่ายจำเลยแถลงไม่นำพยานเข้าสืบ แต่ได้ขอยื่นคำแถลงปิดคดีภายใน 30 วัน และยังได้ขอยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2519 ข้อ 1 อันมีการกำหนดเพิ่มโทษข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเดิมโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี เป็นจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ซึ่งจะบังคับใช้ลงโทษจำเลยในคดีนี้นั้น ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย หรือขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 หรือไม่
ต่อมาศาลเจ้าของสำนวนคดีนี้ ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยให้รอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน แล้วจึงจะกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในคดีนี้ต่อไป
++เปิดคำร้อง ชี้คำสั่งคณะรัฐประหารไม่ควรมีสภาพเป็น กม. แล้ว และยังขัดรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
สำหรับเนื้อหาคำร้องที่ฝ่ายจำเลยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย และ/หรือ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 มาตรา 26 และมาตรา 34 หรือไม่ โดยเป็นกรณีที่ยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาก่อน คำร้องมีประเด็นเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ไม่มีสถานะเป็นกฎหมายและใช้บังคับอีกแล้ว
คำร้องเกริ่นนำว่า การกระทำรัฐประหารถือว่าเป็นการทำลายระบบกฎหมายเดิมลง รูปแบบทางกฎหมายที่แสดงออกได้ชัดเจนที่สุด คือ การประกาศให้รัฐธรรมนูญอันมีสถานะเป็นกฎหมายที่สูงสุด และเป็นกฎหมายที่มอบห่วงโซ่ความสมบูรณ์ของกฎหมายให้กับบรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าลงไปทั้งระบบ โดยเมื่อทำลายระบบกฎหมายเดิมลงแล้ว การจะก่อตั้งระบบกฎหมายใหม่ขึ้นมาได้อีกครั้ง คณะรัฐประหารก็จำเป็นจะต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ขึ้นมา ทำหน้าที่เดิมที่รัฐธรรมนูญเดิมเคยทำให้กับระบบกฎหมาย
ดังนั้น โดยสภาพการณ์เช่นบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารที่สั่งออกมาในช่วงการสิ้นสุดลงของระบบกฎหมายเดิมและยังไม่มีการก่อตั้งระบบกฎหมายใหม่ขึ้น จึงไม่อาจดำรงหรือมีสถานะเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์และดำรงอยู่ในระบบกฎหมายได้ เนื่องจากในห้วงเวลาดังกล่าว ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าระบบกฎหมายแต่อย่างใด แต่คำสั่งหรือประกาศดังกล่าวของคณะรัฐประหารมีสถานะเป็นเพียงคำสั่งของผู้ทรงอำนาจในทางข้อเท็จจริงในสภาวการณ์ชั่วคราวดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งกำลังบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งหรือประกาศดังกล่าว ย่อมอยู่ที่การดำรงอยู่ของกำลังในทางความเป็นจริงของคณะรัฐประหารเพียงประการเดียวที่จะบังคับให้บุคคลหรือองค์กรของรัฐอื่นทำตามได้
พฤติการณ์คำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารที่ออกในช่วงสภาวการณ์ไร้กฎหมายเช่นนี้ จะดำรงสภาพเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ต่อไปได้เมื่อภายหลังมีการก่อตั้งระบบกฎหมายใหม่แล้ว เช่น การประกาศใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว หรือฉบับถาวร โดยรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะได้มีบทบัญญัติรับรองให้คำสั่งหรือประกาศดังกล่าวมีสถานะเป็นกฎหมายและรับรองให้ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญต่อไปเท่านั้น
ในกรณีบรรดาประกาศคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ก็ได้มีมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ได้กระทำ ประกาศหรือสั่งก่อนวันใช้รัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ไม่ว่าจะกระทำด้วยประการใด หรือเป็นรูปแบบใด และไม่ว่าจะกระทำ ประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ถือว่าการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่ง ตลอดจนการกระทำของผู้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น เป็นการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย”
ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า การดำรงตัวของคณะรัฐประหารในระบบกฎหมายสิ้นสุดลง และระบบกฎหมายปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด รับรองให้ประกาศหรือคำสั่งที่คณะรัฐประหารสั่งในช่วงสภาวการณ์ไร้ระบบกฎหมาย ให้มีสถานะกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญดำรงอยู่แล้ว ย่อมต้องถือว่าในทางกฎหมาย ประกาศดังกล่าวย่อมสิ้นผลบังคับไปในที่สุดย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่คณะรัฐประหารสิ้นสุดลง
ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้กระทำการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 สิ้นสุดลงในวันดังกล่าวเช่นกัน ต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519
ดังนั้น จึงถือว่าช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จนกระทั่งถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เป็นช่วงสภาวการณ์ที่ประเทศไทยไร้ระบบกฎหมาย โดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 จึงถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งของผู้ทรงอำนาจในทางข้อเท็จจริงในสภาวการณ์ชั่วคราวดังกล่าวเท่านั้น แต่ปรากฏว่าภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 รัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีบทบัญญัติรับรองให้ประกาศดังกล่าวมีสถานะกฎหมายต่อไปในระบบกฎหมายใหม่ ดังที่ปรากฏในข้อความของมาตรา 29 ดังกล่าวข้างต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปรากฏข้อเท็จจริงว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็นสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฎในบทบัญญัติมาตรา 19 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 ได้สิ้นสุดและพ้นจากตำแหน่งลงแล้ว นับตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519
นอกจากนี้ตามที่ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ดังกล่าว ก็มิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดรับรองสถานะทางกฎหมายและความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอีกต่อไป โดยรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากนั้น จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในปัจจุบัน ก็มิได้มีการรับรองสถานะทางกฎหมายและความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าวเช่นกัน
จึงต้องถือว่าปัจจุบันเกิดเงื่อนไขทางกฎหมายที่สำคัญสองประการคือ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสิ้นสภาพลงแล้ว และระบบกฎหมายใหม่ไม่มีการบัญญัติในทำนองเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 รับรองให้ประกาศฉบับนี้ มีสถานะเป็นกฎหมายและชอบด้วยกฎหมายต่อไป ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แต่อย่างใด
ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายข้างต้น จึงส่งผลโดยตรงทำให้คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ไม่มีสถานะเป็นกฎหมายและใช้บังคับได้อีกต่อไป
2. คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 หากจะถือว่ามีสถานะเป็นกฎหมาย ก็เป็นคำสั่งที่ในทางรูปแบบขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นคณะบุคคลที่ได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการอาศัยกองกำลังทหารและอาวุธสงครามเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดินหรือทำรัฐประหาร ประกาศล้มล้างรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรี มิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย และตามวิธีทางกำหนดไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 3 ที่กำหนดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยและคณะบุคคลใดที่จะใช้อำนาจนิติบัญญัติตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยได้ จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความยินยอมพร้อมใจจากปวงชนชาวไทย ผ่านการได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว ยังได้รับบัญญัติต่อเนื่องมาในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
นอกจากนี้ การเข้ายึดอำนาจปกครองแผ่นดินหรือการรัฐประหารของคณะบุคคลดังกล่าว ยังเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันไม่มีกฎหมายฉบับใดนิรโทษกรรมให้การกระทำดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จึงมีสถานะเป็นคณะบุคคลที่ไม่มีรัฐธรรมนูญให้ใช้อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ และเป็นคณะบุคคลที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 มิได้มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่อย่างใด
ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าว จึงส่งผลให้คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 เป็นคำสั่งที่มีขั้นตอนการบัญญัติโดยมิชอบด้วยมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เนื่องจากเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการบัญญัติโดยคณะบุคคลที่ไม่มีอำนาจใดตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นโมฆะและไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น
3. คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 หากจะถือว่าเป็นกฎหมาย ก็เป็นคำสั่งหรือกฎหมายที่ในทางเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 34
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 5 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา 26 บัญญัติว่า การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย
กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง
มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
เห็นได้ชัดว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 34 บัญญัติรับรองว่าบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression) โดยเสรีภาพดังกล่าวมีความจำเป็นยิ่งยวดสำหรับสังคม โดยถือเป็นฐานรากสำคัญของสังคมประชาธิปไตยทุกสังคม และยังมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด โดยมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นทำหน้าที่เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาความเห็นของผู้คนในสังคมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครอง กิจการของรัฐของประชาชนภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย
เมื่อเสรีภาพดังกล่าวถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญอันมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ องค์กรของรัฐทุกระดับย่อมมีหน้าที่ที่จะผูกพันโดยตรงต่อสิทธิดังกล่าว ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในการใช้อำนาจ ไม่ว่าจะเป็นตรากฎเกณฑ์ที่มีลักษณะนามธรรมและบังคับใช้กับบุคคลทั่วไป หรือออกคำสั่งที่มีลักษณะรูปธรรมและบังคับใช้เฉพาะกรณีให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางรูปแบบของรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดหรือแย้งต่อสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว
เมื่อพิจารณาทางเนื้อหาของบทบัญญัติแห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ก็จะพบความไม่สอดคล้องกับหลักการทั่วไปของการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 26 ได้รับรองไว้ เนื่องจากคำสั่งประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาขัดต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรม (Rule of law) ซึ่งเรียกร้องว่าการจะตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่สร้างภาระต่อสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
แต่ปรากฏว่าคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโทษทางอาญาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้สูงขึ้น เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจำกัดเสรีภาพในแสดงความคิดของบุคคลตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สร้างภาระต่อสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
ประการแรก คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่ไม่สอดคล้องกับหลักความจำเป็น เนื่องจากมาตรการการเพิ่มอัตราโทษทางอาญาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกำหนดให้บุคคลที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งสามถึงสิบห้าปี เป็นการออกมาตรการในรูปแบบของกฎหมายที่มุ่งจำกัดเสรีภาพของบุคคลหรือประชาชนที่เจ้าของอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตย ในการแสดงความคิดเห็นต่อประมุขของรัฐอย่างพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีสถานะเป็นองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจสำคัญในนามของรัฐที่ได้รับมาจากประชาชนเกินความจำเป็น เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการจำกัดเสรีภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์การคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์อื่นๆ จากภายในระบบกฎหมายของประเทศไทย และจากภายนอกระบบกฎหมายของประเทศไทย
สำหรับการพิจารณาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพอื่นๆ จากระบบกฎหมายภายในของประเทศไทย สามารถแบ่งการพิจารณาไปได้ 2 แง่มุมทางกฎหมาย คือ
ในแง่มุมประวัติศาสตร์กฎหมาย จะพบว่าก่อนที่จะมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ได้มีมาตรการทางกฎหมายที่บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์หลายมาตรการ โดยทุกมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลรุนแรงน้อยกว่าในปัจจุบันอย่างมาก
เริ่มตั้งแต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งถูกประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2499 ก่อนที่จะถูกแก้ไขในปี พ.ศ. 2519 โดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวก็มีกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี โดยมาตรการที่มิได้มีการกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำเช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของบุคคลที่รุนแรงน้อยกว่าโทษตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 อย่างมาก เนื่องจากกฎหมายได้ให้อำนาจผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมีอำนาจดุลยพินิจกำหนดโทษจำคุกในคำพิพากษาต่ำกว่าสามปีเช่นไรก็ได้ และจะทำให้บุคคลที่ต้องคำพิพากษาได้รับประโยชน์ในทางกฎหมายอย่างการได้รับการรอลงอาญาในคำพิพากษา
นอกจากนี้มาตรการทางกฎหมายอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยที่ประเทศยังอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดภายในรัฐและใช้อำนาจปกครองประเทศได้โดยตรง จึงสถานะสูงเด่นเสียยิ่งกว่าสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่มิได้มีสถานะผู้ทรงอำนาจสูงสุดภายในรัฐและมีอำนาจปกครองประเทศอีกต่อไป เพราะดำรงตำแหน่งเป็นแต่เพียงประมุขของรัฐซึ่งดำเนินกิจกรรมของรัฐต่างๆ ภายใต้คำแนะนำและยินยอมจากองค์กรทางรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงกับประชาชนอย่างคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาลเท่านั้น
กลับพบว่ามาตรการทางกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกันภายในยุคสมัยดังกล่าว ก็ยังมีลักษณะเป็นมาตรการที่จำกัดเสรีภาพของบุคคลรุนแรงน้อยกว่ามาตรการตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 อีกเช่นเคย โดยเริ่มตั้งแต่กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 98 มาตรา 100 และมาตรา 104 ที่กำหนดฐานความผิดในทำนองเดียวกันกับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในกรณีของความผิดที่บุคคลแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ก็ได้มีการกำหนดลักษณะความรุนแรงของโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินเจ็ดปี และมิได้มีการกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำไว้เช่นกัน
และในกรณีอื่นๆ อย่างการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะเพื่อให้บุคคลมิจงรักภักดีหรือดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ ก็ยังมีการกำหนดอัตราโทษจำคุกไว้สูงสุดเพียงไม่เกินสามปีเท่านั้น
และลำดับสุดท้ายอย่างพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118 มาตรา 4 ซึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกสำหรับบุคคลที่หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไว้เพียงไม่เกินสามปี และมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาทเท่านั้น
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น จึงกล่าวได้ว่ามาตรการทางกฎหมายอื่นๆ ที่สามารถนำมาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลเพื่อคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ จากการสืบค้นในประวัติศาสตร์ภายในระบบกฎหมายไทย จะพบว่ามาตรการทางกฎหมายซึ่งปรากฎในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของบุคคลรุนแรงกว่ามาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายมาตรการที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายแบบเดียวกันอย่างมาก
ในแง่มุมระบบกฎหมายปัจจุบัน พบว่าหากพิจารณาในประมวลกฎหมายอาญา ได้ปรากฎมาตรการทางกฎหมายที่มุ่งจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 32 อยู่อย่างน้อยอีก 3 มาตรการ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 (ข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน) มาตรา 326 (ข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา) และมาตรา 393 (ข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือโดยการโฆษณา)
หากพิจารณาทั้งสามมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวโดยละเอียด จะพบว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลรุนแรงน้อยกว่ามาตรการจำกัดเสรีภาพของบุคคล ซึ่งปรากฎในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 อย่างมาก เนื่องจากมาตรการทั้งสามประการดังกล่าวได้กำหนดโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 326 ฐานหมิ่นประมาทบุคคลอื่น กฎหมายยังได้กำหนดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 เพิ่มเติมผลประโยชน์ทางกฎหมายที่สูงกว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกำหนดยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทให้กับบุคคลที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการแสดงความคิดโดยสุจริตอีกด้วย
ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าระบบกฎหมายของประเทศไทยมีมาตรการอื่นๆ ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลได้ในทำนองเดียวกับคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 และเป็นมาตรการที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดของบุคคลที่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อพิจารณาส่วนของอัตราโทษจำคุกและประโยชน์ในทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเหตุยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลอื่น ส่งผลให้จากการพิจารณาภายในระบบกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 จึงเป็นมาตรการที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่เกินจำเป็น
สำหรับการพิจารณาใดๆ ที่ยกเว้นเหตุผลดังกล่าวโดยอ้างว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์มีสถานะทางประวัติศาสตร์ สถานะทางสังคม และสถานะทางรัฐธรรมนูญสูงเด่นกว่าบุคคลทั่วไป จึงชอบด้วยเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลดังกล่าวเป็นพิเศษ โดยกำหนดอัตราโทษสูงกว่าฐานความผิดหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดา ย่อมถือว่าเป็นให้เหตุผลทางกฎหมายและใช้อำนาจรัฐที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 มุ่งคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้ง
ประการที่สอง คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่ไม่สอดคล้องหลักความพอสมควรแก่เหตุในความหมายอย่างแคบ
คือโดยเนื้อแท้แล้ว คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีการชั่งน้ำหนักระหว่างคุณค่าของสิทธิในชื่อเสียง และสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ตามที่รับรองไว้ในมาตรา 6 และมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ กับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญอยู่เบื้องหลังมาตรการ
สำหรับการจะเริ่มต้นพิจารณาว่าโทษทางอาญาที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว เป็นมาตรการที่รักษาสมดุลระหว่างสองคุณค่าดังกล่าวได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบใด เมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 2 จะพบประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นระบอบที่ยึดถือในคุณค่าเกี่ยวกับ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “สิทธิและเสรีภาพ” เป็นคุณค่าที่สูงสุดในรัฐธรรมนูญ พิจารณาได้จากการรับรองไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
คุณค่าดังกล่าวยอมรับนับถือว่าภายใต้ระบอบประชาธิปไตย บุคคลมีอิสระและเสรีภาพที่เลือกใช้ชีวิต ปฏิบัติตามความเชื่อ และแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างมีเหตุผล โดยปราศจากซึ่งหวาดกลัวต่อกฎหมายและการใช้อำนาจรัฐอย่างอำเภอใจ แต่ปรากฏว่าเหตุผลที่ปรากฏในช่วงต้นคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กลับมุ่งเน้นไปที่การมุ่งคุ้มครองคุณค่าของสิทธิในชื่อเสียงและสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ โดยมิได้คำนึงถึง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “สิทธิและเสรีภาพ” ของบุคคลเลย
จึงส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ปรากฏในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีลักษณะสูงเกินจำเป็นและไม่ชอบด้วยเหตุผลจากการพิจารณาในแง่มุมทางประวัติศาสตร์กฎหมายและแง่มุมระบบกฎหมายในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยคณะรัฐประหารโดยมุ่งหมายให้บุคคลหวาดกลัวโทษทางอาญาที่จะได้รับภายหลังการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติตน หรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์และมุ่งทำลายคุณค่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “สิทธิและเสรีภาพ” ของบุคคลลงอย่างสิ้นเชิง
ด้วยเหตุดังกล่าวคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 จึงเป็นมาตรการทางกฎหมายที่บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองคุณค่าของสิทธิในชื่อเสียงและสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ตามที่รับรองไว้ในมาตรา 6 และมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้สมดุลกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
.
ในท้ายคำร้อง ได้สรุปว่า ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย และหรือขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในคดีอาญาได้ เพื่อวางบรรทัดฐานทางกฎหมายในการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย จากการรัฐประหารและผลพวงการกระทำของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินต่อไปด้วย
(อ้างอิง: คำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 27 ก.ย. 2565, https://tlhr2014.com/archives/56707 และ https://tlhr2014.com/archives/48866) -
วันที่: 20-03-2023นัด: พร้อมฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยประสบอุบัติเหตุ แพทย์ให้พักรักษาตัว ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลอนุญาตให้เลื่อนนัดพร้อมหรือสืบพยานจำเลยไปวันที่ 26 เม.ย. 2566 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 26-04-2023นัด: พร้อมฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือสืบพยานจำเลยศาลอาญาอ่านคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่ชูเกียรติได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 อันมีการกำหนดเพิ่มโทษข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเดิมโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี เป็นจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ซึ่งจะบังคับใช้ลงโทษจำเลยในคดีนี้นั้น ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย หรือขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 หรือไม่ มีรายละเอียดว่า
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งลงวันที่ 14 ธ.ค. 2565 ไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย โดยในส่วนเหตุผล ระบุว่า “พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามหนังสือส่งคําโต้แย้งและเอกสารประกอบเป็นกรณีที่ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งของจําเลยในคดีอาญา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
“เมื่อคําสั่งดังกล่าวมีสถานะเป็นกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกรณีเดียวกันกับการที่จําเลยโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วตามคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28 – 29/2555 วันที่ 10 ต.ค. 2555 ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง, มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 มีหลักเกณฑ์และความมุ่งหมายเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26
“เป็นกรณีที่ศาลอาญาส่งคําโต้แย้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นแล้ว คําร้องนี้ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัย อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีคำสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย”
หลังจากศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องดังกล่าว ทำให้คดีของชูเกียรติกลับมาพิจารณาต่อไป โดยทนายจำเลยแถลงขอยื่นคำแถลงปิดคดีเพิ่มเติมภายใน 30 วัน และศาลได้กำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 มิ.ย. 2566 เวลา 09.00 น.
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุถึง เป็นคำวินิจฉัยที่มีสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเอกชัย หงส์กังวาน 2 ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในขณะนั้น เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา ให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทั้งในเรื่องการกำหนดอัตราโทษที่สูงเกินจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นวินิจฉัยว่าไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
แต่คำร้องใน 2 กรณีดังกล่าว ก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงประเด็นการแก้ไขเพิ่มโทษประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเกิดขึ้นจากคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2519 อันเป็นคำสั่งของคณะรัฐประหารที่มาจากยึดอำนาจหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และได้สิ้นอำนาจไปกว่าเกือบครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ยังถูกทำให้มีผลทางกฎหมายอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นก็ไม่ได้วินิจฉัยไปถึงประเด็นนี้แต่อย่างใด
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 75/2565 ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/55499) -
วันที่: 15-06-2023นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.00 น. ณ ห้องพิจารณา 913 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า คดีนี้พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การชุมนุมของกลุ่มรีเด็ม ที่ท้องสนามหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่รัฐบาล
การสืบพยานมีพยานโจทก์ปาก พ.ต.อ.สนอง แสงมณี, พ.ต.ท.ยุคณธร ชูแก้ว, พ.ต.ท.สุทธิศักดิ์ พิริยะภิญโญ, พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง และ ร.ต.อ.เฉลิมพงษ์ ตระกูลชาวท่าโขลง เข้าเบิกความในทำนองเดียวกันว่า กลุ่มรีเด็มประกาศนัดหมายชุมนุมในวันที่ 20 มี.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนรับมือ เนื่องจากสถานที่นัดหมายให้มีการชุมนุมนั้นอยู่ใกล้กับเขตพระราชวัง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางแนวกำลังอยู่ที่บริเวณแยกพิภพลีลาและวางแนวตู้คอนเทนเนอร์ผ่านกลางท้องสนามหลวง
ต่อมา ในวันที่ 20 มี.ค. 2564 ผู้ชุมนุมได้รวมกันตัวที่สนามหลวง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงประกาศให้ยุติการชุมนุมและบอกว่าการชุมนุมของผู้ชุมนุมนั้นผิดกฎหมาย แต่ผู้ชุมนุมตะโกนด่าและโห่ร้องขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่จึงถอยกำลังออกมา จากนั้นผู้ชุมนุมได้ทำการรื้อแนวรั้วและขดลวดหนามที่กั้นไม่ให้เข้าพื้นที่สนามหลวงออกไป ผู้ชุมนุมยังได้ฉีดสีสเปรย์ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ด้วย จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์มีบุคคลนำกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ไปติดที่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 บริเวณบนทางเท้า ข้างรั้วของศาลฎีกา
พ.ต.ท.ยุคณธร เบิกความว่า เป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ที่มีผู้ก่อเหตุติดกระดาษบนพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว โดยเป็นการเห็นเพียงข้างหลังผู้ก่อเหตุในระยะไกล ประมาณ 10 เมตร และเห็นว่าผู้ก่อเหตุสวมใส่กระเป๋าสีแดง ย้อมผมสีทอง แต่ พ.ต.ท.ยุคณธร ไม่ได้ทำการถ่ายภาพผู้ก่อเหตุไว้ จากนั้นไม่นานมีกลุ่มผู้ชุมนุมนำขยะไปทิ้งไว้ยังแท่นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ถูกติดกระดาษดังกล่าว
ต่อมา มีผู้ชุมนุมใช้เชือกสลิงผูกลากตู้คอนเทรนเนอร์ลงมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงประกาศให้เลิกการชุมนุมอีกครั้ง แต่ผู้ชุมนุมยังไม่เลิกและยังได้ขว้างปาสิ่งของ ประทัดยักษ์ข้ามตู้คอนเทนเนอร์ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บอีกด้วย สุดท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงใช้รถฉีดน้ำ น้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม และจับกุมผู้ชุมนุมบางส่วนได้ โดยสามารถสลายการชุมนุมจนยุติลงในเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 21 มี.ค. 2564
ภายหลังการชุมนุมวันดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนหาหลักฐานของผู้ก่อเหตุติดกระดาษลงบนพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว โดยได้หลักฐานเป็นภาพวิดีโอจากกล้องวงจรปิด CCTV ของกรุงเทพมหานคร ที่ติดตั้งอยู่ตรงข้ามจุดเกิดเหตุ และได้ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งได้ถ่ายไว้ได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำหลักฐานทั้งสองดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับรูปพรรณสัณฐานของจำเลย พบว่า ผู้ก่อเหตุสวมกระเป๋าสีแดงและมีรอยสักตรงกับจำเลย
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พ.ต.ท.ยุคณธร เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียว โดยเห็นผู้ก่อเหตุจากด้านหลัง ห่างจากผู้ก่อเหตุประมาณ 10 เมตร ส่วนหลักฐานภาพจากกล้องวงจรปิด CCTV นั้นเป็นมุมภาพจากระยะไกล ส่วนภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือนั้นเห็นว่ามีบุคคลเอื้อมมือขึ้นไปหาพระบรมฉายาลักษณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าทำการติดกระดาษที่มีข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” ลงไปบนพระบรมฉายาลักษณ์ อีกทั้ง หลักฐานทั้งสองอย่างไม่อาจยืนยันได้ว่า ถ่ายไว้ได้เมื่อใดและไม่ปรากฏว่าผู้ก่อเหตุติดกระดาษลงบนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 จริงหรือไม่
พยานโจทก์ปากอื่น ๆ เป็นเพียงผู้ทราบเหตุการณ์ ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ที่มีผู้ก่อเหตุติดกระดาษลงบนพระบรมฉายาลักษณ์ และโจทก์ก็ไม่มีพยานอื่นเข้าเบิกความอีกว่าจำเลยเข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่ต้น ศาลเห็นว่า การติดกระดาษบนพระบรมฉายาลักษณ์ที่ต่อมามีผู้มาทิ้งขยะไว้จริงจะต้องเป็นการวางแผนกับผู้ชุมนุมอื่นไว้ก่อนหน้าอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ การสืบพยานโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยวางแผนกับผู้ชุมนุมอื่นเพื่อขว้างปาสิ่งของและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ศาลเห็นว่า เมื่อความผิดฐานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ มาตรา 116 ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือก่อเหตุ ส่วนฐานความผิดอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216, 138, 140, 295 และ 296 นั้น เท่าที่ดำเนินการสืบพยานโจทก์ยังมีข้อสงสัยพอสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ศาลเห็นว่า การชุมนุมในวันเกิดเหตุมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมประมาณ 500 คน ระหว่างการชุมนุมเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศแล้วว่า การชุมนุมเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อจำเลยให้การรับว่าไปร่วมชุมนุมจริง แต่เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นจึงเดินทางกลับ ฉะนั้นจึงเป็นความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 อนุ 2
พิพาษาจำคุกในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 เดือน ปรับเงิน 2,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 1 ปี พร้อมกับให้ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในเวลา 1 ปี และให้ทำบริการสาธารณประโยชน์ 12 ชั่วโมง
เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาแล้วเสร็จ ชูเกียรติได้ทำการชำระค่าปรับตามคำพิพากษาของศาล และได้เดินทางกลับ
ในคดีนี้ชูเกียรติเคยถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาที่คอนโดของตัวเอง และถูกฝากขังระหว่างชั้นสอบสวนไปกระทั่งจนถึงชั้นพิจารณาคดี เป็นเวลา 71 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. จนถึงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ก่อนศาลจะให้ประกันตัวจากการยื่นประกันเป็นครั้งที่ 6 โดยระหว่างนั้นชูเกียรติถูกตรวจพบว่า ติดโควิดในเรือนจำด้วย แต่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์จนหายดีแล้ว
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1366/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1576/2566 ลงวันที่ 15 มิ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/56768)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ณัฐนันท์ ดุจดำเกิง
- เสวียง แก้วทอง
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
15-06-2023
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์