ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ดำ อ.1859/2564
แดง อ.3997/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ดำ อ.1859/2564
แดง อ.3997/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1859/2564
แดง อ.3997/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1859/2564
แดง อ.3997/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี
ความสำคัญของคดี
"ฟ้า" พรหมศร วีระธรรมจารี จากกลุ่มราษฎรมูเตลู และ "แอมมี่" ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักร้อง ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยถูกกล่าวหาว่า ร้องเพลงที่มีการดัดแปลงเนื้อให้มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ขณะนักกิจกรรมและประชาชนรวมตัวกันที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 เพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัว “นิว" สิริชัย นาถึง ซึ่งถูกจับกุมกลางดึกตามหมายจับในคดี 112 กรณีพ่นสีข้อความ “ภาษีกู”, “ยกเลิก 112” บนรูปพระบรมวงศานุวงศ์และป้าย
พรหมศรเดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามนัด แต่พนักงานสอบสวนนำตัวไปขอศาลฝากขัง และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว นับเป็นกรณีแรกหลังจากการนำมาตรา 112 มาใช้ดำเนินคดีอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2563 ที่ผู้ถูกออกหมายเรียกเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามหมาย แต่กลับถูกนำตัวไปขอฝากขังที่ศาล และไม่ได้รับการประกันตัว แม้ยื่นประกันถึง 5 ครั้ง ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะอนุญาตให้ประกัน หลังถูกขังระหว่างสอบสวน 55 วัน โดยให้ติด EM และกำหนดเงื่อนไข ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
ส่วนแอมมี่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาขณะที่ถูกฝากขังอยู่ในเรือนจำในคดีมาตรา 112 กรณีรูป ร.10 หน้าเรืองจำคลองเปรมถูกวางเพลิง
พรหมศรเดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามนัด แต่พนักงานสอบสวนนำตัวไปขอศาลฝากขัง และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว นับเป็นกรณีแรกหลังจากการนำมาตรา 112 มาใช้ดำเนินคดีอีกครั้งในเดือน พ.ย. 2563 ที่ผู้ถูกออกหมายเรียกเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามหมาย แต่กลับถูกนำตัวไปขอฝากขังที่ศาล และไม่ได้รับการประกันตัว แม้ยื่นประกันถึง 5 ครั้ง ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะอนุญาตให้ประกัน หลังถูกขังระหว่างสอบสวน 55 วัน โดยให้ติด EM และกำหนดเงื่อนไข ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
ส่วนแอมมี่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาขณะที่ถูกฝากขังอยู่ในเรือนจำในคดีมาตรา 112 กรณีรูป ร.10 หน้าเรืองจำคลองเปรมถูกวางเพลิง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
อำนวย อำลอย พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุประบุว่า พรหมศร จำเลยที่ 1 และไชยอมร จำเลยที่ 2 กับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมายรวม 3 กรรม ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันชุมนุม จัดกิจกรรมในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่มีมาตรการป้องกัน อันอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายแพร่ออกไป
2. จำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันแสดงความเห็นแก่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี และประชาชนทั่วไป ผ่านเครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนปัจจุบันที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ใดจะละเมิดหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์มิได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพระมหากษัตริย์ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 บัญญัติไว้ นอกจากนี้ ในประมวลกฎหมายอาญายังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ไว้แตกต่างจากบุคคลทั่วไป คือมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยพรหมศรได้เปิดเพลง “สดุดีจอมราชา” และ “ในหลวงของแผ่นดิน” แต่ได้ร้องเพลงตามเพลงดังกล่าว โดยดัดแปลงเนื้อเพลงเพื่อเจตนาดูหมิ่น และหมิ่นประมาทใส่ความแสดงต่อเจ้าพนักงานตํารวจและประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม
ซึ่งเพลง “สดุดีจอมราชา” เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการขับร้องถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” เป็นเพลงที่จัดทําขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของรัชกาลที่ 9
ด้านไชยอมรได้พูดว่า “ขอซาวด์เช็คกันหน่อยครับ วัน ทู ทรี โฟร์ ฟาย” แล้วพรหมศรกับพวกได้ร่วมกันร้องรับว่า “ ไอ้เหี้ย [...]” และไชยอมรได้พูดว่า “ซิก เซเว่น เอ้ก ไนน์” แล้วพรหมศรกับพวกได้ร่วมกันร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย[...]”
ซึ่งเป็นการกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 ด้วยถ้อยคําหยาบคาย อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง โดยเจตนาทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เคารพสักการะในองค์พระมหากษัตริย์ อันทรงเป็นประมุขในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2564)
1. เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันชุมนุม จัดกิจกรรมในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่มีมาตรการป้องกัน อันอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายแพร่ออกไป
2. จำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันแสดงความเห็นแก่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี และประชาชนทั่วไป ผ่านเครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนปัจจุบันที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ใดจะละเมิดหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์มิได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพระมหากษัตริย์ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 บัญญัติไว้ นอกจากนี้ ในประมวลกฎหมายอาญายังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ไว้แตกต่างจากบุคคลทั่วไป คือมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยพรหมศรได้เปิดเพลง “สดุดีจอมราชา” และ “ในหลวงของแผ่นดิน” แต่ได้ร้องเพลงตามเพลงดังกล่าว โดยดัดแปลงเนื้อเพลงเพื่อเจตนาดูหมิ่น และหมิ่นประมาทใส่ความแสดงต่อเจ้าพนักงานตํารวจและประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม
ซึ่งเพลง “สดุดีจอมราชา” เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการขับร้องถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” เป็นเพลงที่จัดทําขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของรัชกาลที่ 9
ด้านไชยอมรได้พูดว่า “ขอซาวด์เช็คกันหน่อยครับ วัน ทู ทรี โฟร์ ฟาย” แล้วพรหมศรกับพวกได้ร่วมกันร้องรับว่า “ ไอ้เหี้ย [...]” และไชยอมรได้พูดว่า “ซิก เซเว่น เอ้ก ไนน์” แล้วพรหมศรกับพวกได้ร่วมกันร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย[...]”
ซึ่งเป็นการกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 ด้วยถ้อยคําหยาบคาย อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง โดยเจตนาทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เคารพสักการะในองค์พระมหากษัตริย์ อันทรงเป็นประมุขในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 17-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาพรหมศรพรหมศร เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 ตามหมายเรียก ที่ สภ.ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ทั้งที่เพิ่งประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา โดยถูกเย็บ 15 เข็มและได้รับบาดเจ็บหนัก ทำให้เขามีบาดแผลตามร่างกายจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2564 ขณะพรหมศรเข้ารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 ที่ สภ.คลองหลวง ในคดีปาอาหารสุนัขเรียกร้องให้ปล่อยตัว สิริชัย พ.ต.ท.ภุมเรศ อินทร์คง พนักงานสอบสวน สภ.ธัญบุรี ได้แจ้งว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาอีกคดีหนึ่ง จากกรณีที่พรหมศรไปปราศรัยที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวสิริชัย แต่ต่อมา พ.ต.ท.ภุมเรศ แจ้งว่า เตรียมเอกสารมาไม่ครบ จะส่งเป็นหมายเรียกผู้ต้องหาให้พรหมศรเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันอื่นแทน
หมายเรียกที่พรหมศรได้รับระบุว่า คดีนี้มี พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ รองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี เป็นผู้กล่าวหา โดยกำหนดไว้กว้างๆ ว่าให้ไปรับทราบข้อหาในวันที่ 15-17 มี.ค 64 เวลา 9.00-16.00 น.
พ.ต.ท.ภุมเรศ แจ้งพฤติการณ์ในคดีว่าเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 พ.ต.ท.ศราวุฒิ ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสืบสวนหาข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เนื่องจากตำรวจได้ทำการจับกุมตัวสิริชัย นาถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพบว่าได้มีการประกาศผ่านเฟซบุ๊กเพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” นัดรวมตัวกันที่ศาลจังหวัดธัญบุรี เนื่องจากทางตำรวจจะนำตัวสิริชัยไปขอฝากขังต่อศาลในวันรุ่งขึ้น
วันที่ 14 ม.ค. 2564 เวลาประมาณ 05.30 น. สภ.ธัญบุรี ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร บริเวณศาลจังหวัดธัญบุรี และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงไว้หากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย
เวลา 08.30 น. ได้มีกลุ่มมวลชนนำโดย พรหมศร และไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ (แอมมี่) มารวมกลุ่มที่หน้าศาล ต่อมาพรหมศรได้ใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัย กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ สภ.คลองหลวง การจับกุมในยามวิกาล และยังกล่าวถึงการปิดการจราจรหากไม่ปล่อยตัวนายสิริชัย
ผู้กล่าวหาอ้างว่าจากพฤติการณ์ของแกนนำมวลชนทั้งสองคน มีการใช้เครื่องขยายเสียงเรียกร้องกดดันให้ศาลปล่อยตัวสิริชัย โดยขณะที่ชุมนุมไม่มีมาตรการป้องกันตามมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งบางคนก็สวมใส่หน้ากาก บางคนก็ไม่สวมใส่ ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค เป็นการขัดต่อข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และคำสั่งจังหวัดปทุมธานีที่ 9/2564 ลงวันที่ 4 ม.ค. 2564 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และได้ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ผู้กล่าวหาระบุว่า พรหมศรได้ปราศรัยเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์ โดยมีการเปิดเพลง “สดุดีมหาราชา” “ต้นไม้ของพ่อ” “ในหลวงของแผ่นดิน” และแปลงเนื้อเพลงในลักษณะเป็นการดูหมิ่น จาบจ้วง ใส่ร้าย ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศต่อองค์พระมหากษัตริย์ อีกทั้งยังทำให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท ทำให้สถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยเสื่อมเสียอีกด้วย จึงแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6) และใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พรหมศรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป
เวลา 15.13 น. หลังแจ้งข้อกล่าวหาเสร็จ ขณะฟ้าและทนายความเตรียมเดินทางกลับ พนักงานสอบสวนแจ้งว่าจะนำตัวพรหมศรไปขอฝากขังต่อศาลจังหวัดธัญบุรี โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้ามาก่อน ทนายความขอเวลาพูดคุยกับพรหมศรก่อน แต่ พ.ต.อ.วิวัฒน์ อัศวะวิบูลย์ ผู้กำกับ สภ.ธัญบุรี ไม่อนุญาตและยืนยันให้นำตัวไปศาลทันที โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 10 นาย ล้อมผู้ต้องหาและทนายความไว้ด้วย
พ.ต.ท.บุญยิ่ง บัณฑิตไทย รองผู้กำกับ (สอบสวน) พร้อม พ.ต.ท.ภุมเรศ นำตัวพรหมศรไปขอศาลฝากขัง โดยระบุว่าในชั้นนี้ผู้ต้องหายังไม่เป็นผู้ถูกจับและยังไม่มีการขอให้ศาลออกหมายจับแต่อย่างใด ผู้ต้องหากระทำผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทย อีกทั้งผู้ต้องหาไม่เกรงกลัวแต่อย่างใด ได้กระทำความผิดซ้ำซาก หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะหลบหนี แล้วไปกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวซ้ำอีก จึงมีเหตุที่จะขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหานี้ตามกฎหมาย
ตำรวจยังอ้างถึงเหตุจำเป็นในการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 5 ปาก และรอผลการตรวจประวัติอาชญากร จึงขอฝากขังเป็นระยะเวลา 12 วัน พร้อมกับคัดค้านการประกันตัว เพราะคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และจะไปกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันอีก
ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหา โดยยืนยันว่าผู้ต้องหามาพบตามหมายเรียก รวมทั้งมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
เวลา 17.24 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีอนุญาตให้ฝากขังพรหมศรในชั้นสอบสวนตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์จำนวน 150,000 บาท จากกองทุนช่วยเหลือคดีการเมือง
ต่อมาเวลา 18.00 น. ศาลจังหวัดธัญบุรี ได้มีคำสั่งไม่ให้ประกันพรหมศร โดยระบุว่าพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตามคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาแล้ว เห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์คดีและลักษณะการกระทำเกรงว่าจะหลบหนีและไปกระทำความผิดซ้ำในลักษณะเดียวกันอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่ได้มีการลงชื่อผู้พิพากษาที่ออกคำสั่ง
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้พรหมศรถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำอำเภอธัญบุรี
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.ธัญบุรี, คำร้องขอให้ศาลออกหมายขังครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 17 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27104) -
วันที่: 18-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาแอมมี่เวลา 11.20 น. พ.ต.ท.บุญยิ่ง บัณฑิตไทย รองผู้กํากับการสอบสวน สภ.ธัญบุรี และ พ.ต.ท.ภุมเรศ อินทร์คง สารวัตรสอบสวน สภ.ธัญบุรี เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ “แอมมี่ – The Bottom Blues” ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี จากกรณีการร่วมชุมนุมและร้องเพลงเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 ที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เช่นเดียวกับพรหมศร
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 พนักงานสอบสวน สภ.ธัญบุรี ได้เดินทางไปที่เรือนจำพิเศษธนบุรีแล้วครั้งหนึ่งเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาไชยอมร โดยได้เตรียมทนายความไปด้วย แต่ไชยอมรยืนยันว่าจะใช้ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเท่านั้น
ในบันทึกแจ้งข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาได้อธิบายพฤติการณ์ของคดีไว้ว่า พรหมศรและไชยอมรได้นำมวลชนเดินทางไปรวมกลุ่มกันที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี และได้กล่าวปราศรัยกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่รอการมาถึงของ “นิว” สิริชัย ซึ่งกำลังจะถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจ สภ.คลองหลวงนําตัวมาฝากขังต่อศาล
ระหว่างการปราศรัย ไชยอมรได้นำเพลง “วัน ทู ทรี โฟร์ ฟาย” มาแปลงเนื้อเพลงและร้องร่วมกับมวลชนอย่างสนุกสนาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าเป็นการเสียดสีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไชยอมรยังพูดต่ออีกว่า “อันนี้ผมยังไม่โดน 112 นะ คุณจะมาดันให้ผมโดนเลยเหรอ ใส่พานมาเลย” ระหว่างนั้นพรหมศรได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยเป็นระยะ
จากนั้นพนักงานสอบสวน สภ.ธัญบุรี ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อไชยอมรรวม 4 ข้อหา เช่นเดียวกับพรหมศร ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6) และใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไชยอมรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะส่งคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 12 เม.ย. 2564 โดยไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา แต่วาดรูปคนแทน
นับเป็นการถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 คดีที่สองของไชยอมร หลังจากคดีแรก สืบเนื่องจากกรณีวางเพลิงเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 บริเวณด้านหน้าเรือนจำคลองเปรม ในช่วงเช้ามืดวันที่ 28 ก.พ. 2564 ซึ่งถูกฝากขังระหว่างสอบสวนมาตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 2564 โดยยังไม่ได้รับการประกันตัว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เรือนจำพิเศษธนบุรี ลงวันที่ 18 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27199) -
วันที่: 20-03-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน (พรหมศร)ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวพรหมศร โต้แย้งคำสั่งศาลจังหวัดธัญบุรี โดยยืนยันว่า
1. คดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหานั้น แม้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง แต่การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ไม่อาจพิจารณาเพียงข้อหาหรือฐานความผิดที่ถูกกล่าวหา ในคดีอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาในข้อหาเดียวกันนี้ หรือข้อหาร้ายแรงอื่นๆ ศาลก็ใช้ดุลยพินิจให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ การอาศัยเพียงฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นบทสันนิษฐานเบ็ดเสร็จเด็ดขาดว่าเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูง จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จึงไม่อาจรับฟังได้และไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
อีกทั้งการกระทำของผู้ต้องหาเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
“ผู้ร้องเชื่อว่าศาลซึ่งเป็นองค์กรตุลาการ อันเป็นเสาหลักหนึ่งของการปกครองตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ จะมีบทบาทสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่สังคมไทยมีการตื่นตัวด้านสิทธิพลเมืองและประชาธิปไตยเช่นปัจจุบัน และใช้ดุลยพินิจในทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและหลักสิทธิมนุษยชน”
2. คำร้องระบุว่าผู้ต้องหาคงไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือหลบหนีไปได้ เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลธรรมดา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ก่อนวันดังกล่าว ผู้ต้องหาเพิ่งประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ มีบาดแผลฉกรรจ์หลายจุด ต้องเย็บที่ปาก ศีรษะ ขา แขน และมือทั้งสองข้าง หากผู้ต้องหาคิดจะหลบหนี คงไม่มาแสดงตัวตามหมายเรียก และมาให้การในชั้นสอบสวนในวันถัดจากประสบอุบัติเหตุดังกล่าว
การที่ศาลจังหวัดธัญบุรีไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาด้วยเหตุเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่เป็นธรรม และยังขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในกฎหมายอาญา ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ
3. ข้ออ้างของพนักงานสอบสวนที่ต้องขอฝากขังผู้ต้องหา เนื่องจากการสอบพยานเพิ่มเติมอีก 5 ปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหานั้น ในการไต่สวนขอฝากขัง พนักงานสอบสวนก็ได้เบิกความว่าเหตุดังกล่าวนั้น ไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้แต่อย่างใด
ทั้งการอ้างเหตุว่าผู้ต้องหาจะกระทำผิดซ้ำทั้งโดยพนักงานสอบสวนและศาลจังหวัดธัญบุรี ก็ไม่เป็นธรรมกับผู้ต้องหา เพราะเปรียบเสมือนเป็นการพิพากษาไปแล้วว่าผู้ต้องหากระทำความผิด ทั้งที่ทุกๆ คดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาอยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนทั้งสิ้น
หากอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหา เรื่องการดัดแปลงเนื้อเพลง ซึ่งมิได้เป็นอาชญากรรมร้ายแรง และอันตรายแก่ชีวิตบุคคลทั่วไป การใช้เหตุผลเรื่องพฤติการณ์เกี่ยวกับคดี เป็นเหตุไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นไม่เป็นธรรมกับผู้ต้องหา เนื่องจากผู้ต้องหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ ยังไม่มีคำตัดสินจากศาลใดๆ ว่ามีความผิด
ภายหลังศาลจังหวัดธัญบุรีได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณา
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 20 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27264) -
วันที่: 22-03-2021นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ช่วงเช้า ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ครอบครัวของพรหมศรเดินทางไปฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยศาลธัญบุรีเป็นผู้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2564 ไม่อนุญาตให้ประกันตัวพรหมศร โดยมีความเห็นยืนตามศาลจังหวัดธัญบุรี ระบุว่า "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหาตามคําร้องเป็นข้อหาที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มีอัตราโทษสูง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้าน หากได้รับการปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนีหรือมีพฤติการณ์กระทําความผิดขึ้นอีก กรณียังไม่มีเหตุสมควรที่จะปล่อยชั่วคราว ให้ยกคําร้อง"
ทำให้พรหมศรยังถูกคุมขังที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีระหว่างการสอบสวนต่อไป หลังจากถูกขังมาเป็นเวลา 6 วันแล้ว
(อ้างอิง: คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27264) -
วันที่: 24-03-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายและครอบครัวยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรหมศรเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มเงื่อนไขติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ติดตามตัว นอกเหนือจากหลักประกันเป็นเงินสด 150,000 บาท
คำร้องขอประกันครั้งนี้ มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
1. หากผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะทําให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ต้องหายังต้องประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กล่าวคือ บิดาของผู้ต้องหาอายุหกสิบปีกว่า มีโรคประจําตัวหลายโรค และปัจจุบันก็ป่วยหนัก มารดาก็ไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ สภาพร่างกายและจิตใจอ่อนแอมากๆ ทั้งบิดาและมารดามีผู้ต้องหาเพียงคนเดียวเป็นผู้ส่งเสียและเลี้ยงดู การไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นการได้รับผลร้ายเกินสมควร
2. พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา เป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุม โดยไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายถึงแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของประชาชน หรือก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรง ต่อสังคมโดยรวมแต่อย่างใด
3. ผู้ต้องหายังคงเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวหาว่ากระทําความผิดในฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาเท่านั้น ยังมิได้ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นความผิดหรือไม่อย่างไร อีกทั้งการถูกกล่าวหาคดีในฐานความผิดที่มีอัตราโทษทางอาญามิได้เป็นเหตุผลเบ็ดเสร็จเพียงพอว่า ผู้ต้องหาจะมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี หรือเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
ท้ายคำร้องยังได้หยิบยกกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด” เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณาให้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
นอกจากนี้ ทนายได้ขอติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เป็นเงื่อนไขการขอประกันตัว ประกอบกับเงินสด 150,000 บาท เป็นหลักประกัน
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกัน โดยระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลนี้เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว”
ทั้งนี้ พรหมศรถูกคุมขังระหว่างชั้นสอบสวนที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีมาเป็นเวลา 8 วันแล้ว และตั้งแต่วันที่ 2 ของการถูกขัง พรหมศรก็ตัดสินใจอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัว เช่นเดียวกับพริษฐ์ที่อดอาหารมาเป็นเวลาร่วม 2 สัปดาห์แล้ว
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 24 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27410) -
วันที่: 29-03-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3ช่วงเช้า ทนายและครอบครัวเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรหมศรเป็นครั้งที่ 3 นอกจากเสนอเงื่อนไขติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ติดตามตัว ได้เพิ่มหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท พร้อมทั้งขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวนประกอบการใช้ดุลพินิจให้ประกัน
ประมาณเที่ยง ประชาชา ฉายแม้น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดธัญบุรี มีคำสั่งไม่ให้ประกัน ระบุว่า "พิเคราะห์คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว คำร้องประกอบขอปล่อยตัวชั่วคราว ฉบับลงวันที่วันนี้ พฤติการณ์แห่งคดีชั้นสอบสวน และคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการไต่สวนตามคำขอของทนายความผู้ต้องหา โดยเหตุผลตามคำร้องของทนายความผู้ต้องหายังไม่มีเหตุเพียงพอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง"
พรหมศรถูกคุมขังระหว่างชั้นสอบสวนที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีมาเป็นเวลา 13 วันแล้ว และตั้งแต่วันที่ 2 ของการถูกขัง พรหมศรก็ตัดสินใจอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัว เช่นเดียวกับพริษฐ์
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 29 มี.ค. 2564)
-
วันที่: 20-04-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 4ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 4 โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท พร้อมทั้งเสนอเงื่อนไขติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ติดตามตัว และขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวนประกอบการใช้ดุลพินิจ
อย่างไรก็ตาม ภายในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลจังหวัดธัญบุรีได้มีคำสั่งยกคำร้องขอประกันตัว โดยระบุเช่นเดิมว่า พิเคราะห์จากเนื้อหาในคำร้องประกอบแล้ว กรณียังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยึดตามคำสั่งเดิม
สำหรับเนื้อหาในคำร้องขอประกันระบุเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหลายประการที่เชื่อว่ามีผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลได้ ได้แก่
1. ผู้ต้องหายินยอมให้ศาลกำหนดเงื่อนไขว่า หากได้รับการประกันตัว จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมที่พูดพาดพิงสถาบันฯ จะยินยอมให้มีการติดเครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) หรือห้ามออกนอกเขตกำหนด และจะเดินทางมาตามที่ศาลนัดหมายทุกครั้ง
2. การฝากขังของพนักงานสอบสวนถือว่าไม่มีเหตุผลและน้ำหนักเพียงพอ ในการไต่สวนคําร้องฝากขังครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 ศาลจังหวัดธัญบุรีเองก็ได้กล่าวกําชับกับพนักงานสอบสวนแล้วว่า ให้ดําเนินการรวบรวมพยานหลักฐานโดยเร็ว ปรากฏว่าผ่านไปเดือนกว่าแล้ว ก็ยังคงไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนประเด็นนี้ ขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาทําการไต่สวนเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจ
สําหรับคดีอื่นๆ ของผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาที่ สน. อื่น ทั้งหมดเป็นแต่เพียงการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น การถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นเพียงการกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ยังไม่มีคดีใดที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดี และยังไม่ปรากฏว่ามีศาลใดพิพากษาลงโทษ จึงต้องถือว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ตามหลักสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศฯ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไม่อาจจะถือได้ว่ามีพฤติการณ์ตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา
หากยึดถือเพียงข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเป็นเหตุผลประกอบว่า ผู้ต้องหาถูกดําเนินคดีในคดีอื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ และมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวนั้น จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้อํานาจเบ็ดเสร็จแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการแจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคลต่างๆ แล้วนําตัวมาฝากขังแล้วอ้างเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน โดยไม่มีกลไกการถ่วงดุลตรวจสอบตามหลักนิติรัฐ
ในส่วนท้ายคำร้องระบุว่า หากพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ ผู้ต้องหาขอศาลได้โปรดเรียกพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหามาไต่สวนเหตุในการคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว ว่ามีมูลเหตุจริงเท็จเพียงใด เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาล
คำสั่งไม่ให้ประกันของศาล ทำให้พรหมศรยังคงถูกคุมขังระหว่างชั้นสอบสวนที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีต่อไป หลังถูกขังมาแล้ว 35 วัน
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 20 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28622) -
วันที่: 24-04-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน (ครั้งที่ 2)ทนายความเดินทางไปที่ศาลจังหวัดธัญบุรี เพื่อยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 คัดค้านคำสั่งไม่ให้ประกันตัวพรหมศรของศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา คำร้องอุทธรณ์มีเนื้อหาโดยสรุปดังต่อไปนี้
1. ตามประมาลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 วางหลักไว้ว่า “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ (5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล…”
การที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งว่า “เป็นคดีอัตราโทษสูง ตามพฤติการณ์และลักษณะการกระทำเกรงว่าจะหลบหนี และไปกระทำความผิดซ้ำในลักษณะเดียวกันอีก” นั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหานั้น แม้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง แต่การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้น ไม่อาจพิจารณาเพียงข้อหาหรือฐานความผิดที่ถูกฟ้องเท่านั้น คดีนี้ผู้ต้องหาถูกแจ้งข้อกล่าวหาในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามถึงสิบห้าปี ซึ่งในคดีอื่นที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันหรือในข้อหาร้ายแรงอื่นๆ ศาลก็ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ และในประเด็นเรื่องกระทำผิดซ้ำหรือก่อให้เกิดภยันตรายอื่นนั้น พนักงานสอบสวนไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าผู้ร้องจะไปก่อเหตุร้ายประการอื่นแต่อย่างใด
2. การอ้างเหตุว่าผู้ต้องหาจะกระทำผิดซ้ำทั้งโดยพนักงานสอบสวนและศาลจังหวัดธัญบุรี ก็ไม่เป็นธรรมกับผู้ต้องหา เพราะเปรียบเสมือนเป็นการพิพากษาไปแล้วว่าผู้ต้องหากระทำความผิด ทั้งที่ทุกๆ คดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาอยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนทั้งสิ้น
ในส่วนท้ายคำร้องระบุว่า หากศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งยกคำสั่งของศาลจังหวัดธัญบุรี และอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีมาตรการหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ขอให้ศาลอุทธรณ์ ระบุเงื่อนไขให้ชัดเจน ซึ่งผู้ต้องหารับว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 24 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28797) -
วันที่: 25-04-2021นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เวลา 11.20 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยทนายความเข้ารับฟัง มีใจความว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี เป็นข้อหาร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และพนักงานสอบสวนคัดค้าน ประกอบกับมีการกระทำในลักษณะเดียวกันอย่างต่อเนื่อง หากปล่อยชั่วคราวอาจหลบหนี หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม คำสั่งศาลชั่นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง”
ส่งผลให้ฟ้า พรหมศร ยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีในระหว่างการสอบสวน ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2564 นับเป็นเวลา 40 วันแล้ว
(อ้างอิง: คำสั่งศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 25 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28797) -
วันที่: 05-05-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 5ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพรหมศรเป็นครั้งที่ 5 โดยวางเงินสดเป็นหลักประกัน 200,000 บาท ระบุเหตุผลโดยสรุปดังนี้
1. ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวนี้ได้มีหลักประกันตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ศาลได้กําหนด ถือได้ว่าเป็นหลักประกันที่มีความน่าเชื่อถือโดยพยานหลักฐานในคดีนี้ ถูกรวบรวมไว้โดยเจ้าพนักงานตํารวจครบถ้วนแล้ว ผู้ต้องหาไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ และผู้ต้องหาเป็นผู้มีภูมิลําเนาถิ่นฐานที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน หากไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาอาจจะได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่สามารถแสวงหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม
ดังนั้น หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาโดยไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล โดยมารดาของผู้ต้องหาได้เขียนจดหมายแนบท้ายไว้ ตามเอกสารท้ายคําร้องเพื่อยืนยันด้วย
2. เหตุผลของพนักงานสอบสวนในการฝากขังผู้ต้องหานั้น ไม่มีเหตุผลและน้ำหนักเพียงพอ อีกทั้งในการไต่สวนคําร้องฝากขังครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 ศาลจังหวัดธัญบุรีเองก็ได้กล่าวกําชับกับพนักงานสอบสวนแล้วว่า ให้ดําเนินการโดยเร็ว ปรากฏว่าผ่านไปเดือนกว่าแล้วก็ยังคงไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนประเด็นนี้ หากศาลเห็นสมควรก็ขอให้เรียกพนักงานสอบสวนมาทําการไต่สวนเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจเพื่อสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาด้วย
ท้ายคำร้องระบุ หากพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ ผู้ต้องหาขอศาลเรียกพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหามาไต่สวนเหตุในการคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราวว่ามีมูลเหตุจริงเท็จเพียงใด เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาล
ทั้งนี้ ผู้ต้องหายังยินยอมให้ศาลกําหนดเงื่อนไขว่า “จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และมาศาลตามนัด”
นอกจากนี้ ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ มารดาของพรหมศรได้ยื่นจดหมายแนบท้ายคำร้องมาด้วย โดยมีเนื้อหาว่า
“ดิฉันขอรับรองด้วยชีวิตว่านายพรหมศรไม่เคยคิดที่จะหลบหนี เพราะดิฉันเคยเตือนและพูดคุยในการกระทำมาหลายครั้งแล้ว และอีกอย่าง พรหมศรก็รักดิฉันมาก เพราะเขารู้ดีว่าตนไม่สามารถสูญเสียลูกได้อีกคน เพราะเคยสูญเสียมาแล้ว ดิฉันยังทำใจไม่ได้ ดิฉันมีเพียงเขาเท่านั้นที่จะเยียวยาได้ จึงขอความเห็นใจมาในครั้งนี้ด้วย”
อย่างไรก็ตาม เวลา 14.30 น. ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกัน โดยระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวลงวันที่วันนี้ พฤติการณ์แห่งคดีและคำร้องคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้วเห็นว่า เหตุผลตามคำร้องยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง”
ปัจจุบัน พรหมศรถูกคุมขังระหว่างชั้นสอบสวนที่เรือนจำอำเภอธัญบุรีมาตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2564 นับเป็นเวลา 50 วัน อีกทั้ง พรหมศรได้เริ่มอดอาหารอีกครั้งเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย. 2564 รวมเป็นเวลา 9 วันแล้ว โดยก่อนหน้านี้เขาได้อดอาหารครั้งแรกรวม 19 วัน ในเรือนจำช่วงเดือนมีนาคม
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 5 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29275) -
วันที่: 07-05-2021นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกัน (ครั้งที่ 3)ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 โต้แย้งคำสั่งไม่ให้ประกันตัวของศาลชั้นต้น โดยแจกแจงเหตุผลคล้ายคลึงกับคำร้องขอปล่อยชั่วคราวครั้งที่ 5 สรุปได้ ดังนี้
ผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีแต่อย่างใด ทั้งผู้ต้องหายังเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สภ.ธัญบุรีด้วยตนเอง แม้ก่อนหน้านี้ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มจนมีบาดแผลฉกรรจ์ และถ้าหากได้รับการปล่อยตัว จะไม่หลบหนี หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ตามที่มารดาของผู้ต้องหาได้แนบจดหมายยืนยันมาในท้ายคำร้อง
นอกจากนี้ ผู้ต้องหายังถือว่าเป็นผู้ถูกกล่าวหา ยังไม่ได้ถูกพิพากษาว่ามีความผิดแต่อย่างใด ตามหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil Political Rights – ICCPR) ผู้ต้องหาควรได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ทั้งนี้ ผู้ต้องหายังยินยอมให้ศาลกําหนดเงื่อนไขว่า “จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และมาศาลตามนัด”
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 7 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29430) -
วันที่: 08-05-2021นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ศาลจังหวัดธัญบุรีนัดอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 7 พ.ค. 2564 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ประกันตัวพรหมศร ด้วยวงเงิน 200,000 บาท พร้อมเงื่อนไขติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM)
คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน ผู้ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวนโดยไม่ถูกออกหมายจับ และให้การปฏิเสธ ผู้ต้องหาให้คำรับรองว่าจะไม่หลบหนีหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน รวมทั้งไม่ทำการอันมีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่จะก่อความเสียหายดังเช่นที่ต้องหา ประกอบกับมีคำรับรองของมารดาของผู้ต้องหา ผู้ต้องหายินยอมให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนได้ ตีราคาประกัน 200,000 บาท กับให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) โดยถือให้คำรับรองของผู้ต้องหาเป็นเงื่อนไขต้องปฏิบัติในการปล่อยตัวชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป
ศาลและเจ้าหน้าที่แจ้งว่า พรหมศรจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษธัญบุรีในวันที่ 11 พ.ค. 2564 เนื่องจากต้องเบิกตัวพรหมศร เพื่อทำสัญญาประกัน และติดกำไล EM ในวันทำการ
อย่างไรก็ตาม พรหมศรได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 10 พ.ค. 2564 หลังมีกระแสข่าวว่า แม่พรหมศรเส้นเลือดในสมองแตก ต้องเข้าห้อง ICU รวมเวลาถูกฝากขังระหว่างสอบสวน 55 วัน
ก่อนหน้านี้ในการยื่นประกันตัว แม้ทนายความจะยื่นคำร้องและแนบเอกสารรูปภาพบาดแผลของพรหรมศร ที่ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ล้ม 2 วัน ก่อนเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง รวมทั้งยินยอมให้ศาลกําหนดเงื่อนไขว่าจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทําความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ หรือแนบจดหมายของมารดารับรองว่าผู้ต้องหาจะไม่หลบหนีก็ตาม แต่ศาลจังหวัดธัญบุรีและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงไม่ให้ประกัน อ้างว่า “คดีมีอัตราโทษสูง ตามพฤติการณ์คดีและลักษณะการกระทำเกรงว่าจะหลบหนีและไปกระทำความผิดซ้ำในลักษณะเดียวกันอีก” หรือ “ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง”
(อ้างอิง: คำสั่งที่ 353/2564 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงวันที่ 7 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29430) -
วันที่: 14-05-2021นัด: ส่งตัวแอมมี่ให้อัยการทนายความยื่นหนังสือถึงพนักงานสอบสวน สภ.ธัญบุรี ขอเลื่อนส่งตัวแอมมี่ให้อัยการไปเป็นวันที่ 24 พ.ค. 2564 เนื่องจากยังอยู่ระหว่างกักตัวเป็นเวลา 14 วัน หลังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564
-
วันที่: 24-05-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการทนายความยื่นหนังสือถึงพนักงานสอบสวน ขอเลื่อนส่งตัวแอมมี่ให้อัยการไปเป็นวันที่ 28 พ.ค. 2564 เวลา 13.00 น.
-
วันที่: 28-05-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการแอมมี่พร้อมทนายความเดินทางไปที่สำนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี ในนัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการ หลังจากอัยการรับสำนวนแล้ว นัดแอมมี่มาฟังคำสั่งอัยการในวันที่ 8 มิ.ย. เวลา 10.30 น.
-
วันที่: 07-06-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเวลา 14.00 น. พรหมศร เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามนัดหมาย พ.ต.ท.บุญยิ่ง บัณฑิตไทย รองผู้กำกับการ (สอบสวน) และ พ.ต.ท.ภุมเรศ อินทร์คง สารวัตร (สอบสวน) สภ.ธัญบุรี คณะพนักงานสอบสวนได้บรรยายพฤติการณ์คดีเพิ่มเติมว่า
การแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในวันนี้ สืบเนื่องจากการที่พนักงานอัยการธัญบุรีได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ อส0059 (ธัญบุรี)/3450 เพื่อให้แจ้งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ในการกระทําความผิดของพรหมศรและไชยอมร เพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาทั้งสองได้นํามวลชนพร้อมเครื่องขยายเสียงมาร่วมกันชุมนุมที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรีและได้สลับกันขึ้นพูดปราศรัย โดยไชยอมรได้พูดว่า “อ้าวขอซาวด์เช็คกันหน่อยครับ” และร้องนําจังหวะว่า “วัน ทู ทรี โฟร์” มวลชนและพรหมศรร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย[…]” แล้วไชยอมรร้องนําจังหวะอีกว่า “ซิก เซเว่น เอก ไนท์” มวลชนและพรหมศรร้องรับว่า “ไอเหี้ย[…]”
จากพฤติการณ์ดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับผู้ต้องหาว่าได้ “ร่วมกัน” หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
หลังรับทราบพฤติการณ์ พรหมศรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป ส่วนไชยอมรนั้นติดภารกิจจึงไม่ได้เดินทางมารับทราบข้อหาเพิ่มเติมในวันนี้
ต่อมา ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน พนักงานอัยการได้ระบุว่า จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันพรุ่งนี้ (8 มิถุนายน 2564) ซึ่งครบกำหนดฝากขังพรหมศรรวม 84 วัน
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.ธัญบุรี ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30588) -
วันที่: 08-06-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี ยื่นฟ้องคดีต่อศาล หลังช่วงเช้าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมไชยอมรเช่นเดียวกับพรหมศร และอัยการมีคำสั่งฟ้องพรหมศรและไชยอมร
อัยการเป็นโจทก์ฟ้องทั้งสองในฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนด/คำสั่ง ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 และร่วมกันใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ท้ายคำฟ้องพนักงานอัยการคัดค้านการให้ประกันตัว ระบุว่า เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจําเลยทั้งสองจะหลบหนี ทั้งยังขอให้ศาลนับโทษจําคุกของไชยอมรในคดีนี้ ต่อจากโทษจําคุกในอีก 2 คดี ได้แก่ คดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และ คดีวางเพลิงเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 หน้าเรือนจำคลองเปรม ซึ่งเป็นคดีของศาลอาญา
ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันจำเลยทั้งสองระหว่างพิจารณาคดี พร้อมกับยื่นคำร้องขอถอด EM ของพรหมศรออก ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวทั้งสอง และอนุญาตให้พรหมศรถอด EM โดยให้เพิ่มเงินประกันเป็นคนละ 300,000 บาท ซึ่งมาจากกองทุนราษฎรประสงค์ และให้ทั้งสองเขียนคำรับรองด้วยลายมือว่าจะไม่หลบหนีหรือไปยุ่งกับพยานหลักฐานอีกด้วย
ศาลกำหนดนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 6 ก.ค. 2564 และนัดพร้อมในวันที่ 19 ก.ค. 2564
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 17 ที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดี หลังการกลับมาใช้มาตรา 112 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563
พรหมศรถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองทั้งหมด 6 คดี โดยมีคดีมาตรา 112 ทั้งหมด 3 คดี ด้านไชยอมรถูกดำเนินคดีทั้งหมด 9 คดี และมีคดีมาตรา 112 ทั้งหมด 2 คดี
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30628)
-
วันที่: 19-07-2021นัด: สอบคำให้การ, ตรวจพยานหลักฐานเลื่อนสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 9 ส.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 09-08-2021นัด: สอบคำให้การ, ตรวจพยานหลักฐานศาลยกเลิกวันนัด ให้เลื่อนไปสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 ต.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 19-10-2021นัด: สอบคำให้การ, ตรวจพยานหลักฐานนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน แอมมี่และฟ้ายืนยันให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โจทก์แถลงขอนำพยานบุคคลเข้าสืบ 16 ปาก จำเลยมีพยานจะสืบ 2 ปาก ใช้เวลาสืบรวม 5 นัด กำหนดนัดสืบพยานในวันที่ 20-22, 27-28 เม.ย. 2565
-
วันที่: 20-04-2022นัด: สืบพยานโจทก์พรหมศร, ไชยอมร และทนายจำเลยทั้งสองมาศาล แต่เนื่องจากพรหมศร จำเลยที่ 1 มีอาการไข้ ไอ และอาเจียน เป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ศาลจึงให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่ 27 เม.ย. 2565
-
วันที่: 27-04-2022นัด: สืบพยานโจทก์ฝ่ายโจทก์ได้นำพยานเข้าเบิกความกว่า 11 ปาก โดยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กล่าวหา 1 ปาก, เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน 4 ปาก, เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายป้องกันและปราบปราม 1 ปาก, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลจังหวัดธัญบุรี 1 ปาก, ผู้กำกับการ สภ.ธัญบุรี 1 ปาก, พยานผู้เชี่ยวชาญผู้ให้ความเห็น 2 ปาก และพนักงานสอบสวน 1 ปาก โดยพยายามกล่าวหาว่า การร้องเพลงของจำเลยทั้ง 2 คน เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์
ขณะที่ฝ่ายจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ โดยข้อต่อสู้หลักในข้อหาตามมาตรา 112 ของไชยอมร คือ จำเลยร้องเพลง “1 2 3 4 5 I Love You” ที่มีการแปลงเนื้อหาเพียงคำว่า “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” ไม่ได้ร้องในส่วนที่ผู้ชุมนุมร้องรับว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” ซึ่งในการสืบพยานโจทก์ก็ไม่พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 มีการตระเตรียมกับผู้ชุมนุมว่าจะต้องร้องรับอย่างไร และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ร้องเพลงต่ออีก โดยร้องท่อนดังกล่าวเพียงรอบเดียว
ในส่วนข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ จำเลยมีข้อต่อสู้ว่า การชุมนุมที่ไม่แออัดสามารถทำได้ตามกฎหมาย โดยบริเวณหน้าศาลเป็นพื้นที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก และผู้ชุมนุมมีจำนวนไม่มาก
.
++ตำรวจสืบสวนผู้กล่าวหาระบุ จำเลยทั้งสองร้องเพลงดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 – ไม่ทราบว่าแอมมี่ตระเตรียมให้มวลชนร้องรับหรือไม่
พ.ต.ท.ศราวุฒิ ทองภู่ ผู้กล่าวหา เบิกความว่า ในขณะเกิดเหตุพยานเป็นรองผู้กำกับสืบสวน สภ.ธัญบุรี เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสืบสวนการปลุกปั่นมวลชนในสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจาก สภ.คลองหลวง ได้จับกุมสิริชัย นาถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ตามมาตรา 112 รวมทั้งได้มีการบุกค้นหอพักและจะนำตัวมาฝากขังที่ศาลจังหวัดธัญบุรี
พยานได้ตรวจพบการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ให้มวลชนมารวมกันที่หน้าศาลจังหวัดธัญบุรีในวันที่ 14 ม.ค. 2564 เวลา 08.00 น. พร้อมติด #saveนิวมธ #ปล่อยเพื่อนเรา #ยกเลิก112 ผู้บังคับบัญชาจึงมีคำสั่งให้ฝ่ายป้องกันและปราบปรามตั้งกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยภายนอก สภ.ธัญบุรี และศาลจังหวัดธัญบุรี
ส่วนพยานได้รับคำสั่งให้ทำการสืบสวนกลุ่มผู้ชุมนุมจากภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยในวันเกิดเหตุ เวลา 07.00 น. พยานได้เข้าประจำการอยู่ที่ป้อมยามหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี ต่อมาเวลา 08.30 น. มีกลุ่มมวลชนประมาณ 15 คน ซึ่งมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย เดินทางมาถึงบริเวณประตู 1 ของศาลจังหวัดธัญบุรีซึ่งมีการปิดประตูรั้วและคัดกรองคนที่จะเข้ามายังบริเวณศาล ทั้งนี้ พยานไม่รู้จักจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัว แต่รู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นศิลปินนักร้อง
พยานเบิกความต่อไปว่า ที่บริเวณหน้าศาล กลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ศาลว่า ทำไมจึงไม่สามารถเข้าไปในบริเวณศาลได้ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ศาลได้อนุญาตให้กลุ่มผู้ชุมนุมส่งตัวแทนเข้าไปได้ 2 คน มวลชนที่เหลือจึงนั่งรออยู่ด้านนอกบริเวณประตู 1 มีทั้งใส่หน้ากากอนามัยและไม่ใส่ พยานได้รับรายงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ตรวจพบรถตู้มีพิรุธเนื่องจากมีการติดสก็อตเทปทับแผ่นป้ายทะเบียนทั้งด้านหน้าและหลัง ภายในรถมีชุดเครื่องขยายเสียง
ต่อมาในเวลา 10.30 น. ได้มีการนำเครื่องขยายเสียงและร่มออกจากรถตู้มาตั้งไว้บริเวณข้างรั้วบนทางเท้าตรงประตูทางเข้า ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขึ้นพูดเป็นคนแรกเกี่ยวกับเหตุผลของการมาชุมนุม และหากสิริชัยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ก็จะมีการปิดถนนรังสิต-นครนายก
หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ขึ้นพูดต่อ โดยมีการพูดทักทายมวลชน จากนั้นจึงเช็คเสียงมวลชนก่อนร้องเพลง “1 2 3 4 5 I Love You” และมวลชนก็ร้องตาม
พยานเบิกความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ร้องท่อนนำและส่งให้มวลชนร้องท่อน “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” พร้อมกัน มวลชนร้องรับได้ทันที พยานจึงเห็นว่ามีการตระเตรียมกันมาก่อน เมื่อร้องเสร็จแล้วมวลชนมีการหัวเราะและจำเลยที่ 2 ได้พูดทำนองว่า “ผมยังไม่โดน 112 นะ ถวายพานให้ผมเลยนะ”
พยานเข้าใจว่า มาตรา 112 เป็นความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ จำเลยที่ 2 จึงพูดว่ายังไม่โดน 112 แต่มวลชนเป็นคนพูดทำให้จำเลยที่ 2 อาจจะโดนคดีมาตรา 112 โดยพยานได้อธิบายว่า “ไอ้เหี้ยตู่” หมายถึง นายกรัฐมนตรี และ “ไอ้เหี้ย […]” หมายถึง รัชกาลที่ 10
หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้สลับขึ้นมาพูดต่อ โดยได้เปิดเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” และ “สดุดีจอมราชา” ที่มีการแปลงเนื้อหาของเพลง พยานเห็นว่า เพลงสดุดีจอมราชาไม่ใช่เพลงที่ร้องให้คนทั่วไป แต่เป็นเพลงที่ร้องเทิดพระเกียรติให้กับในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่มีการสื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียด้อยค่า มีความหยาบคาย มีการกล่าวหาว่าในหลวงไม่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ทรงงาน ไม่เป็นที่พึ่งพาของประชาชน
พยานเบิกความว่า ในขณะที่จำเลยทั้ง 2 คน ร้องเพลง มวลชนไม่ได้มีการเว้นระยะห่าง ไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามชุมนุมมั่วสุมที่อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และห้ามจัดกิจกรรมในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งจังหวัดปทุมธานีเป็นหนึ่งในนั้น รวมถึงฝ่าฝืนประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่สั่งห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการยุงยงปลุกปั่นอันก่อให้เกิดความไม่สงบ
พยานเล่าว่า จำเลยที่ 1 นำมวลชนส่วนหนึ่งนั่งขวางทางเข้าออกศาลจังหวัดธัญบุรีที่ประตู 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ให้มวลชนอีกส่วนนั่งขวางทางเข้าออกที่ประตู 2 ทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาและผู้ที่จะเข้ามาติดต่อราชการมีความลำบาก โดยในช่วงเช้ามีมวลชนประมาณ 15 คน แต่ในช่วงเที่ยงและบ่ายมีมวลชนประมาณ 50 คน
ต่อมา เวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งที่บริเวณประตู 1 ว่า ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวสิริชัยแล้ว มวลชนส่งเสียงร้องดีใจ จากนั้นสิริชัยเดินออกมาและได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่บริเวณประตู 1 ขณะนั้นมวลชนก็ยังอยู่ เมื่อนิวสิริชัยเดินออกมานอกศาลแล้วจึงได้มีการพูดคุยกันสักพักจึงแยกย้ายกัน การจราจรได้กลับมาเป็นปกติ
หลังจากนั้น พยานนำวิดิโอบันทึกเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุมาถอดเทปคำพูดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา และจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา โดยในเบื้องต้นพยานได้แจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ในวันที่ 25 ก.พ. 2564 พยานจึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์เพิ่มเติมในข้อหาตามมาตรา 112
#ตอบทนายจำเลยถามค้าน
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
พยานเบิกความตอบว่า ไม่ปรากฏว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ และก่อนแจ้งความในข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พยานไม่เคยดูแนวทางคำวินิจฉัยมาก่อนว่า หากเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่แออัด ก็สามารถทำการชุมนุมได้ ทนายความจึงเปิดคำพิพากษาในคดีอื่นให้พยานดู
ทนายความถามว่า ทราบหรือไม่ว่าจำเลยที่ 1 และ 2 ไม่ได้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไม่ได้เป็นผู้โพสต์เชิญชวนในเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พยานตอบว่า ไม่ทราบ
ทนายความถามว่า หลังจากการชุมนุมพยานเคยได้ยินว่ามีคนติดโควิดจากการชุมนุมหรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ และไม่ทราบด้วยว่า ช่วงเที่ยงวันที่แดดร้อนจัดอาจทำให้คนไม่ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และอาจมีคนที่มีปัญหาภูมิแพ้ที่ทำให้ไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้นาน
พยานตอบทนายจำเลยด้วยว่า สภาพการจราจรบริเวณหน้าศาลเป็นไปตามปกติ เนื่องจากมีตำรวจคอยดูแลการจราจร
นอกจากนี้ ศาลได้ถามความหมายของคำว่า ‘สถานที่แออัด’ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าพยานหมายถึงอย่างไร พยานตอบว่า หมายถึงสถานที่ยัดเยียด แน่น ตามความหมายในพจนานุกรม
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
ทนายความถามว่า ในส่วนเนื้อเพลงที่จำเลยที่ 1 ร้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4,000 โครงการ ฟังแล้วนึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือไม่ พยานยอมรับว่า นึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9
ทนายความถามว่า ส่วนที่ร้องเกี่ยวกับการเข่นฆ่ากัน เป็นข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการตายของในหลวงรัชกาลที่ 8 หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ได้นึกถึง ทนายความจึงถามต่อว่า นึกถึงการล้อมปราบวันที่ 6 ต.ค. 2519 หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ได้เข้าใจเช่นนั้น โดยพยานไม่ได้นึกถึงการฆ่ากันเองทางการเมืองของคนไทย แต่เน้นที่คำพูดอันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสม ซึ่งให้ความรู้สึกว่าพระมหากษัตริย์ถูกดูหมิ่น พยานไม่ได้สนใจด้วยว่า เนื้อเพลงที่แปลงมาจะเป็นจริงหรือไม่และไม่ได้สนใจความหมายของคำที่แปลงมา
ทนายความอีกว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 พระมหากษัตริย์สามารถถูกติชมได้ ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ขอตอบ ทนายความจึงถามต่อว่า ถ้าหากประชาชนไม่ชอบความเห็นของพระมหากษัตริย์ สามารถติชมได้หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่สมควร
ทนายความถามว่า พยานรู้หรือไม่ว่ามีกระแสวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์เป็นวงกว้าง พยานตอบว่า เท่าที่สืบมาก็มี ทนายความจึงถามต่อว่า พระราชจริยวัตรของในหลวงรัชกาลที่ 10 เหมือนกับในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือไม่ พยานไม่ขอตอบ
ทนายความถามว่า เนื้อเพลงที่ว่า “ชอบบินไปแดนไกล” อย่างเช่น ทรงบินไปเยอรมนี ทรงงานที่เยอรมนี ประทับในเยอรมนี พยานเคยได้ยินหรือไม่ พยานตอบว่า เคยได้ยินเพียงแค่ทรงบินไปเยอรมนี โดยพยานไม่ทราบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นเงินภาษีของรัฐหรือไม่ แต่ไม่เคยได้ยินเรื่องรัชกาลที่ 10 ไปเช่าโรงแรมในแคว้นบาวาเรีย และเรื่องการทรงงานผ่านไลน์จากเยอรมนี พยานไม่ทราบด้วยว่า การทรงงานนอกประเทศจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทนายความถามว่า การเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ให้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภาษีของสถาบันกษัตริย์สามารถทำได้หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ พยานไม่ทราบด้วยว่า พระมหากษัตริย์ใช้เงินภาษีปีละเท่าไหร่ และเพลงที่จำเลยที่ 1 แปลงเนื้อเพลงไปนั้น มีเนื้อหาผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือไม่
พยานตอบทนายจำเลยอีกว่า เคยฟังเพลง “1 2 3 4 5 I Love You” และทราบว่าเป็นเพลงของจำเลยที่ 2 ส่วนในการชุมนุมจะมีการตระเตรียมคำสร้อยกันมาก่อนหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
ทนายความถามว่า ตามรายงานการสืบสวนของพยาน จำเลยไม่ได้พูดถึงเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์หรือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ มีแค่คำว่า “ปล่อยเพื่อนเรา” และรายงานก็ระบุเพียงว่า “น่าเชื่อว่าจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์” พยานจึงไม่ได้แจ้งความในข้อหาตามมาตรา 112 ไปตั้งแต่ครั้งแรก ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เป็นระเบียบของตำรวจที่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงจะต้องมีการกลั่นกรองจากคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ ก่อน
#ตอบพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความตอบอัยการว่า แม้จะเป็นสถานที่เปิดโล่งแต่ถ้ามีคนแออัดยัดเยียดก็ถือว่าเป็นสถานที่แออัด และเมื่ออยู่ในสถานที่ที่ผู้คนเยอะก็จะต้องทำตามมาตรการป้องกันโควิด ที่ให้สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง เนื่องจากโควิดมีการติดต่อทางลมหายใจและน้ำลาย ซึ่งสถานที่ที่มวลชนมาชุมนุมก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคได้
อัยการถามถึงความรู้สึกของพยานหลังจากฟังเพลง พยานตอบว่า คนทั่วไปไม่ต้องเข้าใจความหมายของคำก็เข้าใจได้ว่าเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ และแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้พูดให้มวลชนร้องตอบคำว่า “ไอ้เหี้ย […]” แต่ก็เป็นที่รู้กันเนื่องจากมวลชนมีการหัวเราะหลังจากร้องรับและมวลชนสามารถร้องต่อได้เลย หากเป็นพยานก็คงร้องต่อไม่ได้ จึงอนุมานได้ว่ามีการซักซ้อมกันมาก่อน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 28-04-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ห้าตำรวจจาก สภ.ธัญบุรี ระบุ การชุมนุมไม่มีการใช้ความรุนแรง – ไม่ทราบว่าแอมมี่ร้องว่า “ไอ้เหี้ย […]” หรือไม่ ทั้งไม่มีหลักฐานว่าแอมมี่ตระเตรียมผู้ชุมนุมให้ร้องรับ
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สภ.ธัญบุรี จำนวน 4 ราย ได้แก่ ส.ต.ท.อรรถวุฒิ พรสุวรรณ์, ร.ต.อ.ประดิษฐ์ จันทะเพชร์, พ.ต.ท.เดชา แสนหว้า และ ร.ต.อ.ยงยุธ อาจกมล และเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายป้องกันและปราบปราม สภ.ธัญบุรี 1 ราย ได้แก่ พ.ต.ท.ธนกฤต อินภู่ เบิกความในทำนองเดียวกันว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 แม้ในกรณีของจำเลยที่ 2 จะร้องเพียง “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีพยานหลักฐานว่ามีการตระเตรียมกับผู้ชุมนุมว่าจะต้องร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย […]” ก็ตาม
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
พยานทั้งห้าเบิกความในทำนองเดียวกันว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุเป็นช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ชุมนุมโดยประมาณ 40 คน บางคนไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัยเข้าร่วมการชุมนุม แต่พื้นที่ทำกิจกรรมบริเวณหน้าศาลมีลักษณะโล่งกว้าง และในการชุมนุมไม่มีการใช้ความรุนแรง เหตุการณ์วุ่นวาย หรือการทำลายทรัพย์สินเกิดขึ้น
ส.ต.ท.อรรถวุฒิ เบิกความว่า โพสต์นัดหมายชุมนุมในเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมไม่ได้ระบุว่าใครเป็นแกนนำ แต่วันนั้นคนที่มาก็คือจำเลยทั้งสอง
ร.ต.อ.ประดิษฐ์ เบิกความว่า ช่วง 10.30 – 11.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมนำเครื่องเสียงลงมาจากรถตู้สีเทา เอามาตั้งบริเวณหน้าศาล ต่อมา จำเลยที่ 1 ขึ้นกล่าวปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงเพื่อกดดันศาล จำเลยที่ 2 ขึ้นปราศรัยและร้องเพลงต่อ
พ.ต.ท.ธนกฤต เบิกความว่า ในระหว่างการชุมนุม ผู้กำกับการ สภ.ธัญบุรี มีการประกาศเตือนเรื่อย ๆ ว่าห้ามชุมนุม การชุมนุมเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
พยานทั้งห้าเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มีการขอเช็คเสียงกลุ่มผู้ชุมนุมโดยการร้อง “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” ส่วนผู้ชุมนุมได้รองรับว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” จำเลยที่ 2 กล่าวลงท้ายด้วยว่า “ผมจะไม่โดน 112 ใช่ไหม” โดยเห็นว่า “ไอ้เหี้ยตู่” หมายถึง พลเอกประยุทธ์ และ “ไอ้เหี้ย […]” หมายถึง รัชกาลที่ 10 ส่วนที่แอมมี่พูดว่า “ผมยังไม่โดน 112” แปลว่า กลัวจะโดนคดีเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม พยานทั้งห้ารับว่า ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 มีการตระเตรียมกับผู้ชุมนุมมาก่อนว่าจะต้องร้องรับว่า “ไอ้เหี้ย […]” แต่เห็นว่าเป็นการร้องที่สอดรับพร้อมเพรียงกัน ซึ่งน่าจะมีการตระเตรียมกันมาก่อน
ทนายความถาม ร.ต.อ.ยงยุธ ว่า หากจำเลยที่ 2 ร้องเพลงแค่ “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” ตีความตามกฎหมายไม่ผิดมาตรา 112 ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ ทนายความจึงให้พยานดูคลิปวิดีโอหลักฐานในคดีพร้อมถามว่า จำเลยที่ 2 ร้องแค่ “1 2 3 4 5” กับ “6 7 8 9” ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ ทนายความจึงถามเพิ่มเติมว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ร้องใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่เห็นตอนที่จำเลยที่ 2 ร้อง แต่เสียงร้องในคลิปวิดีโอปนกัน จึงไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร้องหรือไม่
พยานทั้งห้าเบิกความว่า จำเลยที่ 1 เปิดเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” และ “สดุดีจอมราชา” ซึ่งเป็นเพลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และร้องโดยเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข่นฆ่ากัน, การไม่เคยทรงงาน และการไปอยู่แดนไกล มีลักษณะใช้คำไม่สุภาพ หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ
ทั้งห้ายังเบิกความในทำนองเดียวกันว่า เมื่อฟังเนื้อเพลงที่จำเลยที่ 1 ร้องแล้ว พยานนึกถึงรัชกาลที่ 10 เนื่องจากเนื้อเพลงที่ว่า “บินไปแดนไกล” หมายถึงการไปเยอรมัน และ “ฟูฟู” คือ หมาทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 10 แต่พยานไม่ทราบว่ารัชกาลที่ 10 เป็นดังเช่นเนื้อเพลงหรือไม่
พยานตำรวจทั้งห้ารับว่า เมื่อฟังเพลงของจำเลยทั้งสองแล้ว ไม่ได้รู้สึกเสื่อมศรัทธาหรือจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์น้อยลง
ส.ต.ท.อรรถวุฒิ เบิกความว่า จำเลยทั้งสองยังเป็นผู้เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 โดยพยานไม่ได้ชื่นชม และไม่ได้เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวยกเลิกมาตรา 112 หรือปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่เคยเอาเจตจำนงในการไม่เห็นด้วยมาปฏิบัติหน้าที่ในคดีหรือในการตีความถ้อยคำในคดี
ทนายความถาม ร.ต.อ.ประดิษฐ์ ว่า หากที่จำเลยทั้งสองทำเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ทำไมไม่ทักท้วงหรือเข้าจับกุมในตอนนั้น พยานตอบว่า คำสั่งของผู้บังคับบัญชาการคือให้บันทึกภาพและเสียงเพื่อดำเนินคดีในภายหลัง พยานจึงมีอำนาจหน้าที่เพียงเท่านั้น
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 06-10-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ผู้กำกับการ สภ.ธัญบุรี ระบุ ทราบว่า ร.10 เดินทางไปเยอรมนีเพราะประชุมกับ สตช.เป็นประจำ – เชื่อว่ามีการซักซ้อมให้ผู้ชุมนุมร้องรับ แต่ไม่มีหลักฐาน
พ.ต.อ.วิวัฒน์ อัศวะวิบูลย์ ผู้กำกับการ สภ.ธัญบุรี เบิกความว่า เมื่อวันเกิดเหตุ 14 ม.ค 2564 พยานได้สั่งการให้ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบลงพื้นที่ ซึ่งจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าจะมีการรวมตัวเรียกร้องให้ปล่อยเพื่อนเรา หลังทราบข้อมูลพยานได้รายงานให้กับผู้บังคับบัญชาทราบและเตรียมวางกำลังในพื้นที่
พยานเบิกความว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเหล่านี้ปกติก็เรียกร้องเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรา 112 โดยพยานได้สั่งการให้ฝ่ายสืบสวนบันทึกภาพและเสียงในการชุมนุม เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบช่วยอำนวยความสะดวกจราจร และในวันเกิดเหตุพยานอยู่ในพื้นที่ชุมนุมตั้งแต่ 07.00 น. เพื่อคอยตรวจตราประตู 1 และประตู 2 ของศาลจังหวัดธัญบุรี
ส่วนผู้ชุมนุมทยอยกันมาตั้งแต่ 08.30 น. จนกระทั่ง 10.00 น. สามารถนับจำนวนได้ราว 50 คน มีการเตรียมเครื่องขยายเสียงใส่รถตู้เพื่อใช้ในการปราศรัยบริเวณหน้าศาล โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้พูดปลุกเร้ามวลชน เป็นแกนนำหลักในการพูดใส่เครื่องขยายเสียง ต่อมาในเวลา 13.00 น. หลังจากศาลมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวสิริชัย ผู้ชุมนุมจึงแยกย้ายกลับ
พยานเป็นผู้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถอดเทปคำพูดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกมาประกอบรายงานการสืบสวน โดยจำเลยที่ 2 ร้องเพลงว่า “1 2 3 4 5 ไอ้เหี้ยตู่” และ “ ไอ้เหี้ย […]” เและพูดว่า “ยังไม่โดน 112”
พยานเห็นว่า ใคร ๆ ก็ทราบว่า รัชกาลที่ 10 ถูกเรียกว่า “โอ” ที่จำเลยที่ 2 พูดเช่นนี้จึงเข้าใจได้ว่าหมายถึงรัชกาลที่ 10 ซึ่งการที่มีมวลชนมาร้องรับได้ พยานเชื่อว่ามีการนัดหมายกันมาก่อน
พยานเบิกความว่า จำเลยที่ 1 ร้องเพลง “สดุดีจอมราชา” โดยแปลงเนื้อเพลงใหม่ มีคำไม่สุภาพและมีลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 ส่วนเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” เป็นเพลงของรัชกาลที่ 9 แต่เหตุที่มองว่าเป็นการกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 เพราะพระองค์เดินทางไปต่างประเทศบ่อย นอกจากนี้ในเนื้อเพลงยังมีคำว่า “ฟูฟู” ซึ่งเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 10
พยานเบิกความเพิ่มเติมว่า ที่พยานทราบว่า รัชกาลที่ 10 เดินทางไปต่างประเทศ เพราะพยานประชุมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกวันจันทร์ ซึ่งจะมีการรายงานว่า แต่ละพระองค์เสด็จไปไหน
จากการกระทำของจำเลยทั้งสองคน พยานได้ทำรายงานส่งให้กับผู้บังคับบัญชาเพื่อตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ ในคดีนี้ เนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งต้องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา
#ตอบทนายจำเลยถามค้าน
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
พยานเบิกความตอบว่า ในวันเกิดเหตุมีผู้ชุมนุมประมาณ 50 คน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบประมาณ 20 คน ทำหน้าที่สืบสวนหาข่าวโดยปะปนกับกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ด้านนอกศาล ในวันดังกล่าวแดดร้อน แต่ก็มีลมพอสมควร อากาศถ่ายเท
พยานไม่ทราบว่า จำเลยทั้งสองเป็นสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมหรือไม่
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
พยานตอบทนายจำเลยว่า เคยให้การไว้แล้วในชั้นสอบสวน เกี่ยวกับความหมายของเนื้อเพลงที่จำเลยที่ 1 ร้องว่า พยานนึกถึงรัชกาลที่ 10 ทั้งนี้ พยานไม่ทราบว่า เนื้อเพลงจะสามารถสื่อถึงคนอื่นได้อีกหรือไม่
พยานร่วมประชุมทุกวันจันทร์กับศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบโดยตลอดว่า แต่ละพระองค์มีภารกิจที่ไหน ช่วงปี 2563 – 2565 พยานก็เข้าร่วมประชุมเสมอและทราบว่ารัชกาลที่ 10 เสด็จไปประทับที่เยอรมนี แต่ไม่ทราบว่า ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเสด็จเป็นเงินภาษีหรือไม่ ทรงประทับอยู่ที่เยอรมนีมากกว่าประเทศไทยหรือไม่ พระองค์ทรงงานอะไรที่เยอรมนี และการออกพระบรมราชโองการที่เยอรมนีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
นอกจากนี้ พยานไม่ทราบว่า ประชาชนสามารถวิจารณ์เรื่องการเดินทางของพระมหากษัตริย์ได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แต่ตัวพยานเองไม่วิพากษ์วิจารณ์
พยานไม่ทราบด้วยว่า เนื้อหาเพลงที่จำเลยที่ 1 ร้อง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากเพลงเดิมไปแล้ว เป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่พยานเห็นว่า เข้าข่ายดูหมิ่นกษัตริย์ ทนายความจึงถามต่อว่า การแปลงเพลงโดยเอาทำนองมาเป็นความผิดโดยตัวเองหรือไม่หากเนื้อหาเป็นความจริง พยานตอบว่า ไม่ทราบ แต่ศาลกล่าวว่า คดีหมิ่นประมาทแม้เป็นเรื่องจริงก็ผิด
ทนายความถามว่า จากการสืบสวน พยานทราบหรือไม่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 และรณรงค์ให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พยานตอบว่า ทราบว่าทั้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรทำและพยานไม่เห็นด้วย แต่การไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอไม่เกี่ยวกับการมีความเห็นในคดี
พยานเบิกความตอบทนายจำเลยอีกว่า ในคลิปวิดีโอที่จำเลยที่ 2 ร้องเพลง พยานได้ยินเสียงว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” แต่พยานไม่ทราบว่า เพลง “1 2 3 4 5 I Love You” เป็นเพลงของจำเลยที่ 2 และไม่ทราบว่า เพลงนี้ถูกนำมาร้องล้อเลียนรัฐบาลก่อนหน้านี้มาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้คนฟังอาจทราบอยู่แล้วว่า ต้องร้องอย่างไร ทั้งนี้ พยานเชื่อว่า มีการนัดหมาย ซักซ้อมกันว่าจะร้องเพลงเช่นนั้น แต่พยานไม่มีหลักฐานแต่อย่างใด
#ตอบพนักงานอัยการถามติง
อัยการให้พยานดูรูปแล้วถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมที่ยืนอยู่ติดกันในภาพมีลูกน้องของพยานหรือไม่ พยานตอบว่า ไม่มี
ที่พยานเชื่อว่า มีการเตรียมการกันมาก่อนการร้องเพลงของจำเลยที่ 2 เพราะผู้ชุมนุมมีการร้องสอดรับกัน แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ก็มีการพูดปราศรัย และเชิญชวนมวลชนกับจำเลยที่ 1 โดยตลอด และที่พยานเข้าใจว่าเพลง “สดุดีจอมราชา” ที่แปลงเนื้อเพลง สื่อถึงรัชกาลที่ 10 ก็เพราะเป็นเพลงที่ใช้ในการถวายพระพรรัชกาลที่ 10
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 21-12-2022นัด: สืบพยานโจทก์++รปภ. ระบุ หน้าศาลเป็นพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเท วันเกิดเหตุอากาศร้อน บางช่วงอาจถอดหน้ากากให้หายใจสะดวก – ไม่ได้ยินว่ามีการคุยนัดแนะร้องรับกัน
ชัยณรงค์ สาระไอ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ศาลจังหวัดธัญบุรี เบิกความว่า ในวันที่ 14 ม.ค. 2564 ตนประจำอยู่ที่ประตูทางออกถนนนครนายกตั้งแต่ 07.00 – 19.00 น. โดยในตอนนั้นทำงานมาประมาณ 1 ปี นอกจากพยานก็มี รปภ. คนอื่นประจำอยู่ด้วย
พยานเบิกความว่า หัวหน้า รปภ. เรียกประชุมเพื่อแจ้งว่า จะมีการชุมนุม พยานได้รับมอบหมายให้ปิดประตูทางเข้าศาล และตรวจสอบเอกสารของผู้ที่จะมาติดต่อราชการ โดยบริเวณดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ และเจ้าหน้าที่ศาลอยู่ด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูเหตุการณ์บริเวณนอกรั้วศาลด้วย
ต่อมา ประมาณ 09.00 น. มวลชนเริ่มทยอยมาศาลมากกว่า 10 คน และค่อย ๆ ทยอยมาเรื่อย ๆ จน 11.00 น. มีผู้ชุมนุมอยู่หน้าศาลประมาณ 30 คน นั่งอยู่หน้าประตูทางเข้า มีการเปิดใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อพูดและร้องเพลง
พยานเบิกความต่อไปว่า มวลชนนั่งปิดทางเข้าออกประตูศาล รถไม่สามารถเข้าออกได้ บางคนสวมหน้ากาก อนามัยแต่บางคนไม่สวม มีการพูดว่า “คนในไม่ต้องออก คนนอกไม่ต้องเข้า” การชุมนุมเลิกตอน 13.00 น. แต่พยานไม่ทราบว่าทำไมผู้ชุมนุมจึงยุติการชุมนุม
พยานเบิกความว่า พยานจำเนื้อหาเพลงที่จำเลยทั้งสองคนร้องไม่ได้ แต่คล้ายจะร้องเพลงสรรเสริญ อัยการจึงให้พยานอ่านบันทึกถอดเทป พยานจึงตอบว่า พยานได้ยินเพลง “1 2 3 4 5 I Love You” โดย “ไอ้เหี้ยตู่” คือ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่วน “ไอ้เหี้ย […]” หมายถึง รัชกาลที่ 10
พยานเห็นว่า การที่แกนนำนำร้องเพลง แล้วมวลชนร้องเพลงรับได้ น่าจะเกิดจากการรวมกลุ่มและนัดแนะกันมาก่อนว่าต้องร้องอย่างไร
อัยการให้พยานอ่านบันทึกถอดเทปที่จำเลยที่ 1 ร้องเพลง “สดุดีจอมราชา” ทนายความจึงโต้แย้งว่า อัยการต้องถามก่อนว่า วันเกิดเหตุพยานได้ยินเพลงนี้หรือไม่ ไม่ใช่เอาเนื้อเพลงให้พยานอ่าน พยานจึงเบิกความว่า ได้ฟังเนื้อเพลงในตอนนั้น เห็นว่า มีลักษณะลบหลู่รัชกาลที่ 10 และมีการเติมแต่งเนื้อเพลง โดยพยานได้ยินคำว่า “ควาย”, “อัปรีย์” และ “เหี้ย”
อัยการให้ดูบันทึกถอดเทปเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” พยานตอบว่า ไม่ได้ยินเพลงนี้ ศาลจึงกล่าวกับอัยการว่า เมื่อพยานไม่ได้ยินก็ไม่ต้องถามในส่วนของเพลงนี้
#ตอบทนายจำเลยถามค้าน
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
พยานรับว่า ที่พยานเบิกความว่า มวลชนชุมนุมขวางประตูศาลนั้น ความจริงแล้วศาลให้ปิดประตูอยู่ก่อนแล้ว ส่วนที่พยานเบิกความว่า ผู้ชุมนุมพูดว่า “คนในไม่ให้ออก คนนอกไม่ให้เข้า” พยานไม่ได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวน
พยานรับอีกว่า พื้นที่บริเวณหน้าศาลเป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก วันเกิดเหตุช่วงที่มีการชุมนุมเป็นช่วงที่อากาศร้อน ซึ่งพยานเองก็อาจจะถอดหน้ากากในบางช่วงเพื่อให้หายใจสะดวกมากขึ้น ผู้ชุมนุมก็อาจจะทำเช่นเดียวกันได้ ส่วนที่ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมราว 30 คนหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
ทนายจำเลยถามว่า เมื่อฟังเนื้อเพลงที่จำเลยที่ 1 ร้องพยานนึกถึงใคร พยานตอบว่า รัชกาลที่ 10 แต่จะเป็นคนอื่นนอกจากรัชกาลที่ 10 ได้หรือไม่นั้น พยานไม่มั่นใจ และไม่ทราบว่ารัชกาลที่ 10 จะเป็นตามเนื้อร้องที่จำเลยร้องหรือไม่
พยานเบิกความรับว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในเนื้อเพลง เป็นแนวคิดของรัชกาลที่ 9 รวมทั้งการตายของประชาชนจากการล้อมปราบของรัฐในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519, พฤษภาทมิฬ 2535 และเมษา-พฤษภา 2553 ล้วนเกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 9
พยานไม่เคยฟังเพลง “1 2 3 4 5 I Love You” มาก่อน ได้ฟังครั้งแรกในวันเกิดเหตุ โดยได้ยินว่า จำเลยที่ 2 ร้องทั้งเพลง (รวมถึง “ไอ้เหี้ย […]”) แต่พยานไม่แน่ใจว่า จำเลยที่ 2 ร้องเพลงเสร็จแล้วกลับไปเลยหรือไม่ ส่วนชื่อ “ตู่” กับ “โอ” เป็นชื่อทั่วไป และที่พยานเบิกความว่า ผู้ชุมนุมอาจจะนัดแนะกันมาร้องเพลงนั้น เป็นความคิดเห็นของพยานเอง ในวันนั้นพยานไม่ได้ยินว่า มีการพูดคุยนัดแนะกัน
#ตอบพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความตอบว่า ในขณะเกิดเหตุ พยานไม่ทราบว่าใครเป็นคนพูดใส่ไมโครโฟนว่าอะไรบ้าง พนักงานอัยการถามพยานซ้ำว่า “ตู่” กับ “โอ” หมายถึงใคร พยานยืนยันว่าหมายถึงนายกรัฐมนตรีและพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 27-01-2023นัด: สืบพยานโจทก์++อาจารย์นิติศาสตร์ระบุ ตามประกาศฯ ฉบับวันที่ 8 ม.ค. 64 ไม่ได้ห้ามการรวมตัวที่ไม่แออัด – “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” ไม่ผิด ม.112
เจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น เบิกความว่า พยานจบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จบปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบเนติบัญฑิตไทย สมัยที่ 59 ปี 2549 นอกจากนี้ยังเคยเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับตีตก), ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับปี 2560 )
พยานเบิกความว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้นำบันทึกการถอดเทปมาถามความเห็นของพยาน จึงจำวันเดือนปีที่เกิดเหตุไม่ได้เลย เนื่องจากมีตำรวจให้ทำความเห็นในคดีให้ค่อนข้างเยอะ แต่ทราบว่า เป็นการชุมนุมหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี
พยานเบิกความอีกว่า รัฐธรรมนูญทั่วโลกรับรองสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ล่วงละเมิดกฎหมาย ไม่ปิดสถานที่ราชการ คำว่า ปราศจากอาวุธ หมายความว่า ไม่มีทั้งอาวุธจริง และอาวุธโดยสภาพ สิทธิในการชุมนุมมีข้อยกเว้น คือ ไม่รวมถึงการกระทำที่ล่วงละเมิดกฎหมาย เช่น การกระทำที่กระทบความมั่นคงของชาติ หรือมีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท
พยานเห็นว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจากโควิด-19 ทางการจึงไม่อยากให้มีการชุมนุม เนื่องจากจะก่อให้เกิดการแพร่เชื้อ ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นสถานการณ์พิเศษ ไม่เกี่ยวกับว่าการชุมนุมจะสงบหรือไม่ และในการชุมนุมหากมีการปิดถนนจริง จะขัดต่อ พ.ร.บ.จราจรฯ
พยานเบิกความต่อว่า ในวันเกิดเหตุมีการร้องเพลงว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” ซึ่งเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท โดยคำว่า “โอ” เป็นที่ทราบกันดีว่า มาจากพระอิสริยยศของรัชกาลที่ 10 ขณะเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อบวกกับคำว่า “เหี้ย” จะมีลักษณะดูหมิ่น หมิ่นประมาท องค์พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 โดยพยานเห็นว่า เมื่อพูดคำว่า “โอ” ประชาชนทั่วไปย่อมทราบว่าหมายถึงใคร ยิ่งในที่รโหฐาน หากพูดคำว่า “เสี่ยโอ” ประชาชนทั่วไปย่อมทราบว่าหมายถึงใคร
พยานเล่าว่า เพลง “สดุดีจอมราชา” เดิมแต่งให้รัชกาลที่ 9 ต่อมาปรับเนื้อร้องให้เป็นรัชกาลที่ 10 เนื่องจากเดิมเป็นเพลงชื่อ “สดุดีมหาราชา” ซึ่งอาจจะเรียกว่าคนละเพลงก็ได้ แต่ว่ารัชกาลที่ 10 มีปฐมบรมราชโองการว่าต้องการต่อยอดสิ่งที่พระบิดาทรงทำไว้ เนื้อเพลงจึงมีการยืมคำสำคัญบางคำมา
สำหรับเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” เป็นเพลงที่แต่งให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่มีการแปลงเนื้อเพลงเพื่อเสียดสีรัชกาลที่ 10 เนื่องจากรัชกาลที่ 9 เสด็จประพาสต่างประเทศน้อยมาก ประกอบกับการพูดถึง “ฟูฟู” ซึ่งทราบกันว่าเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 10 และการกล่าวถึงเรื่องการบินไปต่างประเทศ การไม่ทรงงาน เป็นการกล่าวเสียดสีรัชกาลที่ 10 โดยรวมจึงเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ด้อยค่ารัชกาลที่ 10
#ตอบทนายจำเลยถามค้าน
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
ทนายความถามว่า ความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุว่า ห้ามชุมนุมในพื้นที่แออัดหรือเสี่ยงต่อโรค ไม่ได้ห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาดใช่หรือไม่ พยานตอบว่าไม่ใช่ คือ ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามทุกกรณี
พยานรับว่า ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและข้อกำหนดดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 และมีการปรับโรคโควิด-19 จากโรคร้ายแรงเป็นโรคประจำถิ่น
การชุมนุมโดยสงบในความหมายของพยาน คือ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ กระทบสิทธิของผู้อื่นให้น้อยที่สุด และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ส่วน “Civil Disobidient” หรือ “การดื้อแพ่ง” แปลว่า เมื่อผู้ปกครองใช้อำนาจมิชอบ และผู้ใต้ปกครองหรือประชาชนจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ปกครองที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่มิใช่การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ทนายความให้พยานดูประกาศฯ ฉบับวันที่ 8 ม.ค. 2564 แล้วถามว่า ประกาศดังกล่าวห้ามชุมนุมในที่แออัดหรือเสี่ยงต่อการแพร่โรค ไม่ได้ห้ามการรวมตัวที่ไม่แออัดใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่
พยานรับว่า ประเทศไทยมีการลงนามในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและต้องปฏิบัติตาม โดยทนายความขยายความว่า สหประชาชาติ (UN) แนะนำหลักการไว้ว่า การห้ามชุมนุมต้องได้สัดส่วน
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
ทนายความถามว่า หลักการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะฟ้องร้องกล่าวหามิได้ คำว่า “เป็นที่เคารพสักการะ” หมายถึง ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ด้วยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ใช่ และอธิบายว่ารัชกาลที่ 9 เคยมีพระราชดำรัสในปี 2548 แยกเป็น 2 ส่วน ในเรื่องการเมืองการปกครอง ต้องวิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรี เพราะหลัก “The King Can Do No Wrong” แต่ “The King Can Do Wrong” ได้ในฐานะบุคคลคนหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องวิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง
พยานเบิกความว่า หลักการในรัฐธรรมนูญที่บอกว่า “ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง” หมายความว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะใช้อำนาจแทนประชาชนบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากทั้ง 3 อำนาจ (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ) กระทำผ่านพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ แต่จะไม่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งทั้งสองหลักการไม่ได้เขียนไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นหลักที่ปฏิบัติมาโดยตลอด
ทนายความถามว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เคยมีการระบุว่า หากพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในประเทศจะต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทน โดยในสมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนตอนที่พระมหากษัตริย์ไม่อยู่ประเทศไทย ซึ่งพระบรมราชชนนีและพระราชินีก็เคยถูกแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ใช่หรือไม่ พยานอธิบายว่า หลักการนี้บัญญัติไว้เพื่อมิให้แผ่นดินว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์
พยานรับว่า เป็นความจริงที่มีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรานี้หลังจากผ่านประชามติของประชาชน แต่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้สั่งให้แก้ โดยในความเป็นจริง พระองค์ใช้พระราชอำนาจในการแนะนำว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป พระราชภาระอาจจะยังกระทำต่อไปได้ แม้ว่าประชวร ผนวช หรือประทับต่างประเทศ ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น พระองค์จึงไม่ได้สั่งให้แก้ไข แต่ทรงแนะนำว่า ลองไปคิดกันดูว่าจะปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยหรือไม่
พยานเบิกความรับว่า ในช่วงการขึ้นครองราชย์มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเสด็จประทับเยอรมนีหลายครั้ง เป็นช่วงเวลาสั้น-ยาวแตกต่างกัน และมีพระราชินีและทหารติดตามไปด้วย แต่พยานไม่ทราบว่า การเสด็จเช่นนี้เป็นไปตามหมายกำหนดการหรือเสด็จไปส่วนพระองค์ และไม่ทราบว่า งบประมาณที่ใช้เสด็จไปจะเป็นงบประมาณแผ่นดินหรืองบส่วนพระองค์
พยานเห็นว่า การวิจารณ์เรื่องการเสด็จประพาสเยอรมนี และตั้งคำถามเรื่องการใช้ภาษี ประชาชนสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่เป็นการด่าทอ เสียดสี จาบจ้วง ล่วงเกิน
ทนายความถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังมีการแก้ไขหลังผ่านประชามติไปแล้ว โดยตั้งหน่วยงานในพระองค์ขึ้นมา ซึ่งต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ใช่หรือไม่ พยานตอบโดยอธิบายว่า การให้อำนาจยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำในช่วงรัชกาลที่ 9 แต่มีการผ่านในช่วงรัชกาลที่ 10 ทำให้รัชกาลที่ 10 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งประชาชนมักคิดว่าเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก แต่ความจริงรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงยังแก้ไขได้
พยานรับว่า ขณะรัชกาลที่ 10 แนะนำให้แก้รัฐธรรมนูญ พยานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว
ทนายความถามต่อไปว่า จากการแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าว ทำให้มีการโอนหน่วยทหารราบ 1 กับราบ 11 ไปเป็นหน่วยงานส่วนพระองค์ โดยกฎหมายให้พระองค์บริหารได้ตามอัธยาศัยในปี 2561 ใช่หรือไม่ พยานขยายความว่า กฎหมายฉบับนี้ผ่านรัฐสภาแล้ว
ทนายความถามว่า การเสด็จประทับเยอรมนีจะส่งผลกระทบต่อการลงพระปรมาภิไธย และการถวายสัตย์ของรัฐบาลหรือไม่ พยานบอกว่าไม่กระทบ โดยการผ่านงบประมาณปี 2564 ซึ่งอนุมัติล่าช้าเป็นปัญหาของรัฐบาลที่ทำให้งบประมาณคลาดเคลื่อน ไม่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน โดยที่ว่ากฎหมายมีการลงพระปรมาภิไธยล่าช้าเป็นเรื่องไม่จริง
พยานรับว่า ในรัฐสภาของเยอรมนีมีการอภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยหากมีการใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนเยอรมนีจริง เนื่องจากมีผู้ชุมนุมไปร้องเรียนต่อสถานทูตเยอรมนีในประเทศไทย และทูตของเยอรมนีนำเรื่องนี้เข้าไปสู่สภา พยานขยายความอีกว่า แต่มีการตรวจสอบแล้ว ไม่มีการใช้พระราชอำนาจในประเทศเยอรมนี ทนายถามว่ายืนยันหรือไม่ พยานยืนยัน
พยานเบิกความตอบทนายจำเลยว่า มาเป็นพยานในคดีมาตรา 112 ประมาณ 30 คดี โดยส่วนใหญ่เป็นการอธิบายหลักกฎหมายในมุมมองของพยาน ทั้งนี้ การตีความในคดีอาญา เน้นการตีความโดยเคร่งครัด คดีหมิ่นประมาทก็เช่นกัน โดยจากบันทึกการถอดเทปเนื้อเพลง “1 2 3 4 5” และ “6 7 8 9” ไม่ผิดมาตรา 112 แต่ที่มาของการขานรับของผู้ชุมนุมจะมีการนัดแนะหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
#ตอบพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความตอบว่า นอกจากประกาศฯ ฉบับวันที่ 8 ม.ค. 2564 มีฉบับอื่น ๆ ด้วย และ “ความแออัด” หมายถึง ลักษณะการรวมตัว ไม่ใช่ลักษณะพื้นที่ เช่น หากคนไม่กี่คนในห้องพิจารณา เข้ามารวมตัวในคอกพยาน ก็ถือว่าแออัด
พนักงานอัยการถามว่า พยานเห็นว่าการวิจารณ์แบบใดสามารถทำได้ พยานตอบว่า เป็นการพูดที่ผ่านการทบทวน ศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบ มิใช่การด่าทอ หยาบคาย ดูหมิ่น หมิ่นประมาท การกล่าวหาก็เช่นกัน ต้องมีการนำเสนอข้อเท็จจริงประกอบด้วย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 11-05-2023นัด: สืบพยานโจทก์++อาจารย์รัฐศาสตร์ระบุ “ไอ้เหี้ย […]” เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และทำให้เป็นที่รังเกียจ แต่ดูในคลิปไม่ทราบว่าเป็นเสียงใคร
ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เบิกความว่า พยานจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาการเมืองการปกครอง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ระดับปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน, ระดับปริญญาเอก สาขาปรัชญาการเมือง จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
พยานเบิกความว่า เกี่ยวกับคดีนี้ พนักงานสอบสวนได้ให้พยานดูวิดีโอและบันทึกการถอดเทป กรณีชุมนุมหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี แล้วถามความเห็นของพยาน
พยานเห็นว่า จากกรณีที่มีการเปิดเพลง “สดุดีจอมราชา” และมีการร้องเพลงดังกล่าวโดยมีการแปลงเนื้อเพลงนั้น มีถ้อยคำที่หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ มีคำด่าที่หยาบคาย มีคำที่ใช้เรียกคนที่เลวร้าย ซึ่งหากมีการใช้เรียกคนธรรมดาก็เป็นการหมิ่นประมาทเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีข้อความ “มันยากหรือไงใต้รัฐธรรมนูญ” หมายความว่า ผู้ที่ร้องเพลงนี้กำลังสื่อสารว่า พระมหากษัตริย์ไม่ได้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกล่าวหาที่รุนแรงอย่างยิ่งต่อองค์พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พยานเบิกความว่า เพลง “สดุดีมหาราชา” เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ซึ่งเมื่อมีคนเปิดเพลงนี้ ก็ย่อมหมายถึง รัชกาลที่ 10 นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” ซึ่งมีข้อความกล่าวหาว่า พระองค์ไม่ทำหน้าที่ประมุขตามรัฐธรรมนูญ และตามประเพณีการปกครองของระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
พยานเบิกความว่า ตามเนื้อเพลง ข้อความ “ชอบบินไปแดนไกล” และ “มีหมาชื่อฟูฟู” ทำให้คนที่ได้ฟังเพลงดังกล่าวนึกถึงรัชกาลที่ 10
สำหรับคลิปที่มีจำเลยที่ 2 ร้องเพลง “1 2 3 4 5 ไอ้เหี้ยตู่” และ “6 7 8 9 ไอ้เหี้ย […]” พร้อมคำว่า “อันนี้ผมยังไม่โดน 112 นะ คุณจะมาดันให้ผมโดนเลยเหรอ” พยานเห็นว่า “ไอ้เหี้ย […]” ย่อมทำให้คิดถึงรัชกาลที่ 10 เพราะปกติคนไทยเคยเข้าใจว่าก่อนหน้าที่จะขึ้นครองราชย์ ท่านเคยดำรงตำแหน่งพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่ง “โอ” เป็นคำส่วนใหญ่ที่คนไทยเรียก และเข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึงใคร นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังเกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ไทย ดังนั้น ย่อมทำให้คนเข้าใจได้ว่าหมายถึงรัชกาลที่ 10
พนักงานอัยการถามพยานว่า เราสามารถแสดงความคิดเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์ได้อย่างไร พยานเห็นว่า สามารถวิพากษ์วิจารณ์ระบอบการปกครอง รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ถ้ามีเหตุผล มีหลักฐาน และเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่ใช้คำพูดหยาบคาย ไม่ใช่การกล่าวหา ใส่ร้าย
พยานตอบว่า “ไอ้เหี้ยตู่” และ “ไอ้เหี้ย […]” เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และทำให้เป็นที่รังเกียจ
#ตอบทนายจำเลยถามค้านในประเด็นตามมาตรา 112
ทนายความถามว่า ตอนที่พยานฟังในคลิป “ไอ้เหี้ย […]” จำเลยที่ 2 เป็นคนร้องใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบว่าเป็นเสียงใครในคลิป ทนายความจึงถามต่อว่า หลังจากคำว่า “ไอ้เหี้ย […]” ตัวจำเลยก็หยุดร้องใช่หรือไม่ พยานตอบว่า จำไม่ได้
ทนายความถามว่า ส่วนจำเลยที่ 1 แปลงเนื้อเพลง คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” พยานนึกถึงใคร พยานตอบว่า นึกถึงรัชกาลที่ 9 ส่วนคำว่า “โครงการเป็นพัน ๆ” พยานนึกถึงทั้งสองพระองค์
ทนายความถามว่า การวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านเดินทางไปต่างประเทศ และใช้ภาษีประชาชน สามารถทำได้หรือไม่ พยานตอบว่ากรณีเดินทางไปต่างประเทศ สามารถพูดได้ ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ส่วนการใช้ภาษีประชาชนหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการพิสูจน์
พยานรับว่า ข้อเท็จจริงเรื่องการเดินทางไปเยอรมนี เท่าที่ได้ยินได้ฟังจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ก็ได้ทราบว่าเป็นความจริง
ทนายความถามว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519, เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือเหตุการณ์การสลายการชุมนุมทั้งเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ก็เกิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 16-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์++พนักงานสอบสวนระบุ คณะกรรมการฯ เป็นผู้มีมติให้ดำเนินคดี ม.112 และกำหนดตัวพยานความเห็น – จำเลยที่ 2 ร้องเพลงรอบเดียว
พ.ต.ท.ภุมเรศ อินทร์คง สารวัตร (สอบสวน) สภ.ธัญบุรี และพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 สภ.คลองหลวง ได้ทำการจับกุมตัวสิริชัย นาถึง นักศึกษาและสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในความผิดตามมาตรา 112 โดยนำตัวมาที่ สภ.คลองหลวง และจะนำไปฝากขังที่ศาลจังหวัดธัญบุรีต่อไปในวันรุ่งขึ้น ซึ่งจากการตรวจสอบเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมพบว่า มีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนมารวมตัวกันเพื่อกดดันให้ปล่อยตัวสิริชัย
ต่อมาในช่วงเช้าของวันที่ 14 ม.ค. 2564 พยานได้รับคำสั่งจาก พ.ต.อ.วิวัฒน์ อัศวะวิบูลย์ ให้นำกำลังมารักษาความปลอดภัยที่บริเวณศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการบันทึกภาพไว้ว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับพวก ได้มารวมตัวกันบริเวณหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมีรถตู้และเครื่องเสียง พร้อมทั้งมีการด่าทอตำรวจและกดดันเจ้าหน้าที่ให้ปล่อยตัวสิริชัย หากไม่ปล่อยจะยกระดับโดยการปิดถนน
พยานเล่าว่า ระหว่างนั้น จำเลยที่ 2 ได้พูดว่า “ขอซาวด์เช็คกันหน่อยครับ” พร้อมกับร้องเพลง “1 2 3 4 5 ไอ้เหี้ยตู่” และ “6 7 8 9 ไอ้เหี้ย […]” จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้พูดต่อไปว่า “อันนี้ผมยังไม่โดน 112 นะ คุณจะมาดันให้ผมโดนเลยเหรอ ใส่พานมาเลย”
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ได้พูดต่อโดยการแปลงเพลง “สดุดีจอมราชา” “ต้นไม้ของพ่อ” และ “ในหลวงของแผ่นดิน” ซึ่งมีลักษณะดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 เป็นการแสดงถึงการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยในช่วงดังกล่าวมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ให้มีการชุมนุมที่เสี่ยงเกิดโรคติดต่อโควิด-19 และมีคำสั่งจังหวัดปทุมธานีที่ 9/2564 ลงวันที่ 4 ม.ค. 2564 ห้ามไม่ให้มีการชุมนุม ต่อมามีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นคดี
พยานเบิกความว่า ได้บันทึกปากคำ พ.ต.อ.วิวัฒน์ อัศวะวิบูลย์ ผู้กำกับการ สภ.ธัญบุรี และมีการสอบปากคำเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลธัญบุรี เกี่ยวกับการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งเจ้าหน้าที่ให้ปากคำว่า จำเลยไม่ได้ขออนุญาต
เมื่อมีการแจ้งความ พยานได้รายงานการกระทำความผิดมาตรา 112 เสนอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการดำเนินการรายงานตามระเบียบของตำรวจ ต่อมา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานีก็มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ ซึ่งพยานเป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้วย ภายหลังคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ มีมติให้ดำเนินคดีตามมาตรา 112 และเสนอให้มีการรวบรวมหลักฐาน
พยานเบิกความต่อไปว่า ต่อมามีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีกหลายปาก ได้แก่ เจษฎ์ โทณะวณิก, ไชยันต์ ไชยพร ฯลฯ และมีการเก็บรวบรวมภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวน 6 แผ่น ซึ่งได้มีการส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน ปรากฏว่าไม่พบการตัดต่อ ตามรายงานการตรวจพิสูจน์
เมื่อมีการรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้น คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ ก็ได้มีการประชุมกันครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 ที่ สภ.ธัญบุรี และมีมติเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้ง 2 คนตามข้อกล่าวหาที่แจ้ง และเสนอให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ทราบ
ต่อมา ผู้บังคับตำรวจภูธรภาค 1 มีคำสั่งเห็นควรให้สั่งฟ้องจำเลยทั้งสองเช่นกัน ก่อนส่งให้พนักงานอัยการในเวลาต่อมา ซึ่งพนักงานอัยการมีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า เป็นความผิดฐาน ‘ร่วมกัน’ กระทำความผิดตามมาตรา 112 กล่าวคือ เดิมทีไม่ได้แจ้งข้อหาว่า ร่วมกัน แต่มาแจ้งทีหลังโดยของจำเลยที่ 1 แจ้งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 และของจำเลยที่ 2 แจ้งเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564
#ตอบทนายจำเลยถามค้าน
– ประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
ทนายความถามว่า องค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ออกมาเพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วท่านทราบหรือไม่ เช่น การชุมนุมที่เป็นไปด้วยความแออัด พยานไม่ตอบ แต่รับว่าสถานที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก
ทนายความถามว่า การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงนั้น คนที่ขอต้องเป็นผู้จัดการชุมนุมใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ผู้ที่ชุมนุมต้องไปขอ ทนายความจึงถามต่อว่า กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเป็นผู้จัดการชุมนุมใช่หรือไม่ พยานไม่ตอบ แต่รับว่า ไม่ทราบว่าจำเลยทั้ง 2 คน ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มดังกล่าว
– ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 112
ทนายความถามว่า เหตุผลที่จำเลยทั้ง 2 คน มาปราศรัยก็เพื่อให้ปล่อยตัวสิริชัยที่ถูกจับกุมตัวไปใช่หรือไม่ พยานไม่ตอบ
ทนายความถามว่า พยานเป็นคนกำหนดตัวพยานที่จะมาให้ความเห็นในคดีนี้ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ เป็นผู้กำหนด พยานไม่ทราบว่า ต้องเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงจะมีอำนาจในการสั่งฟ้องคดีที่มีความผิดตามมาตรา 112
ทนายความถามว่า หลังจากที่จำเลยที่ 2 ร้องเพลงเสร็จ ก็หยุดร้องเลยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เท่าที่เห็น เป็นการร้องรอบเดียว
#ตอบพนักงานอัยการถามติง
อัยการถามว่า ตามรายงานการสืบสวน พฤติการณ์ของจำเลยทั้ง 2 คน เป็นการร่วมกันกระทำ ทั้งในส่วนการร้องเพลงและโต้ตอบ ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่
.
โจทก์แถลงหมดพยาน ศาลนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 16 พ.ย. 2566
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 16-11-2023นัด: สืบพยานจำเลยก่อนเริ่มการสืบพยานจำเลย พรหมศรขอถอนคำให้การเดิมจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพภายใน 15 วัน ด้านแอมมี่ จำเลยที่ 2 ไม่ติดใจสืบพยาน และขอยื่นคำแถลงปิดคดีภายใน 15 วัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ธ.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 ลงวันที่ 16 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/62644) -
วันที่: 28-12-2023นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.23 น. หน้าห้องพิจารณาคดีที่ 4 พรหมศรและไชยอมรทยอยเดินทางมาศาล โดยไชยอมรเดินทางมาพร้อมแม่และเพื่อนที่มาให้กำลังใจ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 คน, สื่ออิสระ และนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์เข้าร่วมสังเกตการณ์
เมื่อเข้าสู่ห้องพิจารณาคดี ก่อนอ่านคำพิพากษาในคดีนี้ ศาลได้ขอให้ประชาชนที่มีนัดพิจารณาในคดีอื่น ๆ ออกจากห้องพิจารณา เนื่องจากเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อน แต่อนุญาตให้ผู้ที่มาสังเกตการณ์ในคดีนี้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาได้ ต่อมาศาลจึงเริ่มต้นอ่านคำพิพากษา สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลปัจจุบัน ขณะเกิดเหตุนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)
ในวันเกิดเหตุ พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง นำสิริชัย หรือ “นิว” นาถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มายื่นคำร้องฝากขังต่อศาลจังหวัดธัญบุรี จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าร่วมชุมนุมและจัดกิจกรรมเรียกร้องให้ศาลปล่อยชั่วคราวสิริชัย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
สำหรับความผิดฐานร่วมกันชุมนุม ทำกิจกรรม หรือมั่วสุมในสถานที่แออัด เห็นว่า หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 2) ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
พิเคราะห์ภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวในแผ่นวิดีทัศน์ ปรากฏว่า สถานที่เกิดเหตุเป็นบริเวณพื้นที่ว่างริมถนนหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี อากาศโปร่งถ่ายเทได้ดี มีแสงอาทิตย์ส่องกระจายทั่วบริเวณ สถานที่ชุมนุมยังมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่มาก ไม่ได้อยู่ในสถานที่คับแคบหรือผู้คนหนาแน่น ผู้ชุมนุมซึ่งมีจำนวนไม่มากสามารถเดินเคลื่อนย้ายไปมาได้โดยสะดวก มีเพียงการรวมกลุ่มกันในพื้นที่เพียงบางส่วนของสถานที่ชุมนุม เฉพาะในพื้นที่ฟังการปราศรัยและการทำกิจกรรมบางช่วงเวลาเท่านั้น บริเวณสถานที่เกิดเหตุจึงมิใช่สถานที่แออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
ฐานร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำหนดแต่เพียงว่า ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรค แสดงให้เห็นว่า หากการจัดกิจกรรมดังกล่าวฝ่าฝืนมาตรการป้องกันโรค บุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมต้องรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว แต่ตามฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมชุมนุม อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองหาใช่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมดังกล่าวไม่
ดังนั้นแม้ทางนำสืบของโจทก์และปรากฏภาพเคลื่อนไหวในแผ่นวิดีทัศน์ว่า จำเลยทั้งสองกับผู้ร่วมชุมนุมหลายคนไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ไม่มีการเว้นระยะห่างทางสังคม และพื้นที่ชุมนุมที่จำเลยทั้งสองเข้าร่วมไม่มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อันเป็นมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดไว้ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดในการกระทำเช่นว่านั้น
กรณีเช่นนี้ แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ซึ่งข้อเท็จจริงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องและศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากคำฟ้องและทางการนำสืบของโจทก์ดังกล่าวได้ความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานนี้ ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ประเด็นที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ
ความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 112 และฐานร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานดังกล่าว
สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์มี พ.ต.อ.วิวัฒน์ อัศวะวิบูลย์, พ.ต.อ.ศราวุธ ทองภู่, พ.ต.ท.ธนกฤต อินภู่, พ.ต.ต.เดชา แสนหว้า, ร.ต.อ.ยงยุทธ อาจกมล, ร.ต.อ.ประดิษฐ์ จันทะเพชร์, ส.ต.ท.อรรถวุฒิ พรสุวรรณ์, ชัยณรงค์ สาระไอ และณเรศน์ ณ บางช้าง เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม หลังจากจำเลยที่ 1 ปราศรัยโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงขึ้นปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงต่อจากจำเลยที่ 1 มีเนื้อหาเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 2 พูดว่า ขอซาวด์เช็ก แล้วร้องเพลงผ่านเครื่องขยายเสียงว่า “วัน ทู ทรี โฟร์ ไฟว์” ผู้ชุมนุมตะโกนรับว่า “ไอ้เหี้ยตู่” จากนั้นร้องเพลงต่อไปว่า “ซิกส์ เซเว่น เอ็ท ไนน์” ผู้ชุมนุมตะโกนรับว่า “ไอ้เหี้ย [...]” จำเลยที่ 2 พูดว่า “ผมยังไม่โดนมาตรา 112 นะ คุณจะมาดันให้ผมโดนเลยหรือ” จากนั้นจำเลยที่ 1 ขึ้นปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงต่อจากจำเลยที่ 2 และร้องเพลงต้นไม้ของพ่อ และเพลงในหลวงของแผ่นดินโดยดัดแปลงเนื้อหาเพลงตามฟ้อง
เห็นว่า ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมานำสืบให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คดีนี้พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมาร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ตกลงหรือวางแผนร่วมกันมาแต่ต้นว่าจะแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อแสดงกริยาอาการ กล่าวข้อความ หรือร้องเพลงที่ดัดแปลงเนื้อหา โดยมีเจตนาเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
ได้ความจากพยานโจทก์ซึ่งเบิกความสอดคล้องกับภาพเคลื่อนไหวและเสียงในแผ่นวิดีทัศน์ และข้อความที่ถอดจากเสียงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ปราศรัยโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจและเรียกร้องให้ศาลปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาแล้ว จำเลยที่ 2 ก็กล่าวปราศรัยกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยมีเนื้อหาเรียกร้องและติติงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีเนื้อหาทำนองกล่าวร้ายหรือปลุกเร้าให้ผู้ร่วมชุมนุมล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ จนจำเลยที่ 2 จะเปลี่ยนให้ผู้อื่นขึ้นปราศรัยบ้าง จึงพูดว่าขอซาวด์เช็ก แล้วร้องเพลง จากนั้นจำเลยที่ 2 ก็มิได้ขึ้นปราศรัยอีก
ตามปกติเพลงที่จำเลยที่ 2 ร้องนำผู้ร่วมชุมนุมเป็นเพลงธรรมดาที่ร้องกันอยู่ทั่วไป หาได้มีเนื้อหาล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์หรือผู้หนึ่งผู้ใดไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันให้จำเลยที่ 2 ร้องนำแล้วจำเลยที่ 1 กับพวกจะตะโกนรับด้วยข้อความอันเป็นการล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบมาก่อนว่า จำเลยที่ 1 และผู้ชุมนุมจะตะโกนรับด้วยถ้อยคำอย่างใด การที่จำเลยที่ 1 กับพวกตะโกนรับเพลงที่จำเลยที่ 2 ร้องด้วยข้อความดังกล่าวจึงอาจเกิดจากเจตนาของจำเลยที่ 1 กับพวกในทันทีทันใดนั้นเองก็เป็นได้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ขึ้นปราศรัยและร้องเพลงที่ดัดแปลงเนื้อหาดังกล่าวก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 หลังจากจำเลยที่ 2 ยุติการปราศรัยแล้ว และเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ร่วมร้องเพลงที่ดัดแปลงเนื้อเพลงดังกล่าวด้วย พยานหลักฐานโจทก์จึงเป็นที่สงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 กล่าวปราศรัยอันเป็นการบอกกล่าว แจ้งความ ชี้แจง แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชนตามคำนิยาม “โฆษณา” ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 3 โดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จำคุก 4 ปี ฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้อนุญาต ปรับ 200 บาท จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี ปรับ 100 บาท
ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ ลงโทษปรับ 200 บาท
พิเคราะห์การกระทำของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่า พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือมีเหตุอื่นตามที่อ้างในคำร้องประกอบคำรับสารภาพ ก็ไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1
ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นนั้น ไม่ปรากฏว่า คดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ และคดีนี้ศาลลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงนับโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ต่อไม่ได้ ยกคำขอส่วนนี้และคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
องค์คณะที่ทำคำพิพากษาในคดีนี้ ได้แก่ ดำรงค์ ยาน้ำทอง ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และปุณณวิทย์ ภัสสรารุจินันท์
.
ต่อมา เวลาประมาณ 11.15 น. หลังนายประกันยื่นคำร้องขอประกันพรหมศรระหว่างอุทธรณ์ ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ และศาลไม่ได้กำหนดเงื่อนไขการประกันตัวอื่น ๆ เพิ่มเติม
น่าสังเกตว่า ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ประกันตัวจำเลยระหว่างอุทธรณ์โดยไม่ส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ 2565 ข้อ 24 ทำให้จำเลยได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวในขณะที่คดียังไม่ถึงที่สุด
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1859/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.3997/2566 ลงวันที่ 28 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/62682)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ดำรงค์ ยาน้ำทอง
- ปุณณวิทย์ ภัสสรารุจินันท์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
28-12-2023
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ดำรงค์ ยาน้ำทอง
- ปุณณวิทย์ ภัสสรารุจินันท์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
28-12-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์