ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.841/2564
แดง อ.643/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.841/2564
แดง อ.643/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.841/2564
แดง อ.643/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.841/2564
แดง อ.643/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี
ความสำคัญของคดี
"จัสติน" ชูเกียรติ แสงวงค์ และ "ขนุน" สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ 2 นักกิจกรรม ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์" พร้อมทั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ จากการขึ้นปราศรัยเรื่องบทบาทของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อการใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่รัฐสภา เกียกกาย จนทำให้ผู้ชุมนุมที่มาติดตามการลงมติรับหลักการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้รับบาดเจ็บ
ในชั้นสอบสวน ตำรวจไม่ได้ควบคุมตัวไว้ เนื่องจากทั้งสองมาตามหมายเรียก แต่ในชั้นศาล หลังรับฟ้อง ศาลไม่ให้ประกันตัวสิรภพ แม้โจทก์ไม่ได้คัดค้านและสิรภพอยู่ในช่วงสอบปลายภาค กระทั่งทนายความยื่นคำร้องขอประกัน โดยระบุว่า หากได้รับการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่ทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ศาลจึงให้ประกัน โดยมีเงื่อนไข ห้ามทำกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
ส่วนชูเกียรติ ขณะถูกฟ้องในคดีนี้ เขาถูกคุมขังระหว่างสอบสวนในคดีมาตรา 112 จากการแปะกระดาษบนรูปรัชกาลที่ 10
ในชั้นสอบสวน ตำรวจไม่ได้ควบคุมตัวไว้ เนื่องจากทั้งสองมาตามหมายเรียก แต่ในชั้นศาล หลังรับฟ้อง ศาลไม่ให้ประกันตัวสิรภพ แม้โจทก์ไม่ได้คัดค้านและสิรภพอยู่ในช่วงสอบปลายภาค กระทั่งทนายความยื่นคำร้องขอประกัน โดยระบุว่า หากได้รับการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่ทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ศาลจึงให้ประกัน โดยมีเงื่อนไข ห้ามทำกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์
ส่วนชูเกียรติ ขณะถูกฟ้องในคดีนี้ เขาถูกคุมขังระหว่างสอบสวนในคดีมาตรา 112 จากการแปะกระดาษบนรูปรัชกาลที่ 10
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3) บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ
1. เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน สิรภพและชูเกียรติกับพวกอีกหลายคนซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกดำเนินคดีต่างหากแล้ว ได้ร่วมจัดการชุมนุมสาธารณะทางการเมืองเกี่ยวกับการบริหารราชการของรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์ บริเวณแยกราชประสงค์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมภายในระยะเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ต่อผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
2. นอกจากนี้ สิรภพและชูเกียรติกับพวกไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ทางราชการกำหนด ได้แก่ การให้ผู้ใช้พื้นที่สาธารณะใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากทางเลือก และการเว้นระยะห่างทางสังคม อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
3. เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลากลางวันถึงเวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน สิรภพและชูเกียรติได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ ด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยต่อพันตำรวจตรีสิทธิศักดิ์ สุดหอม และประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม
คำฟ้องระบุเนื้อหาเป็นท่อนๆ ที่ทั้งสองกล่าวปราศรัย โดยแนบคำถอดเทปปราศรัยของทั้งสองคน กรณีของสิรภพกล่าวถึงการบทบาทของกษัตริย์ที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยของไทย บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การโอนย้ายกองทัพเป็นของส่วนพระองค์ สถานะของประชาชนที่สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ ส่วนชูเกียรติได้เรียกร้องให้กษัตริย์ประพฤติตัวดีขึ้น
ถ้อยคำของทั้งสองคนเป็นความเท็จ เป็นการให้ร้าย จาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่จะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย และอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 6 พ.ค. 2564)
1. เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน สิรภพและชูเกียรติกับพวกอีกหลายคนซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกดำเนินคดีต่างหากแล้ว ได้ร่วมจัดการชุมนุมสาธารณะทางการเมืองเกี่ยวกับการบริหารราชการของรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์ บริเวณแยกราชประสงค์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมภายในระยะเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ต่อผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
2. นอกจากนี้ สิรภพและชูเกียรติกับพวกไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ทางราชการกำหนด ได้แก่ การให้ผู้ใช้พื้นที่สาธารณะใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากทางเลือก และการเว้นระยะห่างทางสังคม อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
3. เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลากลางวันถึงเวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน สิรภพและชูเกียรติได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ ด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยต่อพันตำรวจตรีสิทธิศักดิ์ สุดหอม และประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม
คำฟ้องระบุเนื้อหาเป็นท่อนๆ ที่ทั้งสองกล่าวปราศรัย โดยแนบคำถอดเทปปราศรัยของทั้งสองคน กรณีของสิรภพกล่าวถึงการบทบาทของกษัตริย์ที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยของไทย บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การโอนย้ายกองทัพเป็นของส่วนพระองค์ สถานะของประชาชนที่สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ ส่วนชูเกียรติได้เรียกร้องให้กษัตริย์ประพฤติตัวดีขึ้น
ถ้อยคำของทั้งสองคนเป็นความเท็จ เป็นการให้ร้าย จาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่จะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย และอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 6 พ.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 18-12-2020นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 11.00 น. ที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี นักกิจกรรม 4 ราย ที่ถูกออกหมายเรียกจากกรณีการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์และหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ได้แก่ ‘ขนุน’ สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ, ‘จัสติน’ ชูเกียรติ แสงวงค์, ธานี สะสม และชินวัตร จันทร์กระจ่าง เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา หลังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจาก สน.ลุมพินี ลงวันที่ 4 ธ.ค. 2563 โดยมี พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี เป็นผู้กล่าวหา
พนักงานสอบสวน พ.ต.ท.เทอดศักดิ์ มนัสชน และ ร.ต.อ.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ ได้แจ้งข้อกล่าวหาโดยบรรยายพฤติการณ์ในการกระทำความผิดว่า วันที่ 18 พ.ย. 2563 ผู้ถูกกล่าวหานัดหมายมวลชนให้มารวมตัวกันบริเวณสี่แยกราชประสงค์ มีประชาชนผู้ชุมนุมเข้าร่วมจนเต็มพื้นผิวจราจรบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ทำให้การจราจรติดขัด รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้โดยสะดวก นอกจากนั้นการชุมนุมดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งตามกฎหมายก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
นอกจากนั้นจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ซึ่งได้จัดทำบันทึกคำปราศรัยจากการชุมนุมดังกล่าว พบว่ามีข้อความปราศรัยบางส่วนของสิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ และชูเกียรติ แสงวงค์ ที่ใช้วาจาจาบจ้วงพระมหากษัตริย์โดยมิบังควร เพื่อให้ประชาชนผู้มาชุมนุม และประชาชนทั่วไป เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่ทั้งสี่คนใน 2 ข้อหา คือ จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคอันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวมทั้งแจ้งข้อกล่าวหาสิรภพและชูเกียรติในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย โดยมีการถอดคำปราศรัยบรรยายไว้ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา
ทั้ง 4 คน ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา สำหรับสิรภพและชูเกียรติจะให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน พนักงานสอบสวนนัดหมายส่งตัวทั้งสองพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการในวันที่ 13 ม.ค. 2564 ก่อนที่จะปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีการควบคุมตัว
จากการชุมนุมครั้งดังกล่าว สน.ลุมพินี ยังออกหมายเรียกอีก 3 คน คือ อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และพรพจน์ แจ้งกระจ่าง โดยเป็นหมายเรียกในข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมเท่านั้น ไม่มีข้อหา ม.112
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/24202) -
วันที่: 13-01-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนยังสรุปสำนวนไม่เสร็จ เลื่อนส่งตัวให้อัยการไปเป็นวันที่ 27 ม.ค. 2564
-
วันที่: 27-01-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนแจ้งก่อนวันนัดให้เลื่อนส่งตัวให้อัยการไปเป็นวันที่ 9 ก.พ. 2564
-
วันที่: 10-02-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้ชูเกียรติและสิรภพไปพบในวันนี้เพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 พร้อมกับผู้ต้องหาอีก 5 คน ที่ถูกดำเนินคดีข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 อัยการศาลแขวงปทุมวัน ได้ส่งสำนวนคดี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของผู้ต้องหา 5 คน คืนพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี เนื่องจากอัยการเห็นว่า คดีมีการกล่าวหาว่า ผู้ต้องหาเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด จึงให้ส่งตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ไปยังอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อฟ้องรวมกับคดีของสิรภพและชูเกียรติ
อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนแจ้งก่อนวันนัด เลื่อนการส่งตัวให้อัยการ โดยยังไม่ได้กำหนดวันนัดใหม่ -
วันที่: 23-02-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 โดยมีชูเกียรติ, สิรภพ, ธานี และพรพจน์ เดินทางมาในช่วงเช้า และชินวัตรมาในช่วงบ่าย ส่วนภาณุพงศ์ได้ยื่นหนังสือขอเลื่อนส่งตัวในวันที่ 5 มี.ค. 2564 ขณะที่อานนท์ถูกขังระหว่างพิจารณาคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร
อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 1 เม.ย. 2564 เวลา 10.00 น. -
วันที่: 01-04-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการสิรภพเดินทางมาฟังคำสั่งอัยการตามนัด ด้านชูเกียรติถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีแปะกระดาษบนรูป ร.10 หน้าศาลฎีกา จึงไม่สามารถเดินทางมาได้ ขณะที่สำนวนของอานนท์, ภาณุพงศ์, ชินวัตร, ธานี และพรพจน์ ถูกส่งกลับให้พนักงานสอบสวนอีกครั้ง เพื่อให้แยกดำเนินคดีในศาลแขวง
ในส่วยของสิรภพ อัยการเลื่อนฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 6 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. -
วันที่: 06-05-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3) มีความเห็นสั่งฟ้อง “ขนุน” สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ นิสิตภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แกนนำกลุ่ม มศว คนรุ่นเปลี่ยน และ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้
หลังศาลรับฟ้อง ทนายความได้ยื่นประกันตัวสิรภพด้วยเงินสด 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ส่วนชูเกียรติ ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีมาตรา 112 จากการแปะกระดาษบนรูปรัชกาลที่ 10 ในการชุมนุม
เฟซบุ๊ก Suwanna Tallek ยังเผยอีกว่า สิรภพจำเป็นต้องสอบวิชาหนึ่งในวันพรุ่งนี้ (7 พ.ค. 64) โดยเขายังพกพาหนังสือเรียนมาอ่านเตรียมสอบในวันนี้ด้วย
สำหรับชูเกียรติ อัยการได้ขอให้ศาลสั่งนับโทษจำคุกของคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกใน 3 คดี ได้แก่ คดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ศาลอาญา คดีชุมนุม #ม็อบ29ตุลา ที่ทําการสํานักข่าวเนชั่น ที่ศาลอาญาพระโขนง และคดีชุมนุม #ม็อบ1พฤศจิกา บริเวณแยกอุดมสุข ที่ศาลอาญาพระโขนง
ทั้งนี้ ท้ายคำฟ้อง โจทก์ไม่ได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลย โดยระบุว่า หากจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อนุญาตให้ประกันสิรภพ โดยให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา พยานหลักฐานที่ปรากฏ และพฤติการณ์แห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ และเห็นว่าสิรภพ (จำเลยที่ 1) ถูกฟ้องในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและคดีมีอัตราโทษจำคุกสูง กรณีนี้จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 อาจก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ซ้ำอีก” แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว สิรภพถูกกล่าวหาด้วยข้อหามาตรา 112 ในคดีนี้เพียงคดีเดียวเท่านั้น
การไม่ได้รับประกันตัวของสิรภพ ทำให้เขาถูกควบคุมตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทันที เวลา 17.50 น. ทวิตเตอร์ของ iLaw รายงานว่า ในขณะที่มวลชนกำลังรอ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง หลังศาลอนุญาตให้ประกันตัว รถบัสของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ขับผ่านบริเวณดังกล่าว ด้านในมีสิรภพกำลังถูกนำตัวไปที่เรือนจำ มวลชนได้ตะโกน “ปล่อยเพื่อนเรา” ขณะสิรภพได้ชูสามนิ้วและตะโกนหามวลชนว่า “อย่าลืมผม”
สิรภพ ในวัย 20 ปี คือนักกิจกรรมรายล่าสุดที่ถูกควบคุมตัวระหว่างต่อสู้คดีทางการเมือง เขาถูกกล่าวหาในคดีการเมืองรวมทั้งหมด 6 คดี โดยคดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีเดียวที่เขาถูกกล่าวหา
(อ้างอิง: คำฟ้องและคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 6 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29371) -
วันที่: 08-05-2021นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว “ขนุน” สิรภพ เป็นครั้งที่ 2 โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และมีมารดาเป็นนายประกัน ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องในวันที่ 9 พ.ค. 2564 เวลา 9.00 น.
สำหรับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของสิรภพ โดยสรุปได้ยืนยันว่า จำเลยเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการตามนัดมาโดยตลอด และนับแต่ที่ถูกดำเนินคดี ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนจนถึงชั้นศาล ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ซ้ำอีกแต่อย่างใด แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ต้องหาประสงค์ยืนยันในความบริสุทธิ์พร้อมจะต่อสู้คดีตามกฎหมาย ไม่เคยคิดจะหลบหนี อีกทั้งคดีนี้โจทก์ก็ไม่ได้คัดค้านการประกันตัวแต่อย่างใด
ที่สำคัญ จำเลยกำลังศึกษาอยู่ที่ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบปลายภาค ปีการศึกษาที่ 2563 ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย ซึ่งจำเลยมีภาระหน้าที่จะต้องเข้าสอบตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด หากต้องถูกคุมขังต่อโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะทำให้ไม่สามารถเข้าสอบตามกำหนดการของคณะและมหาวิทยาลัยได้ อันจะทำให้ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตทางการศึกษาของจำเลยอย่างร้ายแรง
คำร้องยังแถลงต่อศาลว่า หากได้รับการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่ทำกิจกรรมที่จะกระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือหากศาลเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี และเพื่ออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้ศาลกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวนั้นด้วย
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 8 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/29437) -
วันที่: 09-05-2021นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันเวลา 9.30 น. ก่อนเริ่มการไต่สวน เจ้าหน้าที่ศาลได้แจ้งกับพยานและผู้ที่มาให้กำลังใจสิรภพว่า อนุญาตให้เฉพาะทนายความเข้าห้องพิจารณาคดีได้ ส่วนพยานที่รอเบิกความในการไต่สวนทั้งหมด 4 คน ศาลจะอนุญาตให้ทยอยเข้าไปทีละคน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ในการไต่สวนคำร้องขอประกันของสิรภพประกอบไปด้วยพยานทั้งหมด 5 ปาก ได้แก่ สิรภพ ซึ่งเป็นจำเลย, บิดา, มารดา และอาจารย์จากภาควิชารัฐศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อีก 2 คน
สิรภพเบิกความว่าปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา ตนมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและตามกำหนดนัดของพนักงานอัยการทุกนัด สำหรับข้อกล่าวหาในคดีนี้ ตนพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขอให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดี
โดยจำเลยได้แถลงยอมรับเงื่อนไขว่าจะไม่ทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่กระทบต่อสถาบันกษัตริย์ และจะไม่กระทำความผิดข้อหาเดิมซ้ำอีก จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลที่กำหนด
จำเลยยังมีภาระทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบปลายภาคตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย โดยเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการสอบไปแล้วทั้งหมด 3 รายวิชา แต่เนื่องจากจำเลยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จึงทำให้ไม่สามารถเข้าสอบตามกำหนดการของคณะและมหาวิทยาลัยได้ ส่วนอีก 4 รายวิชา มหาวิทยาลัยได้ประกาศให้สอบในช่วงเวลาระหว่าง 7-15 พ.ค. 2564
ต่อมา พยานที่ 2 และ 3 คือมารดาและบิดาของสิรภพได้ขึ้นเบิกความตามลำดับในทำนองเดียวกันว่า จำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งโดยอาศัยอยู่ด้วยกันที่บ้าน หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะสามารถควบคุมให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลได้
พยานปากที่ 4 คืออาจารย์สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมพิเศษ มีหน้าที่ดูแลกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ เบิกความว่า จำเลยเป็นคนตั้งใจเรียน มีความสุภาพนอบน้อม ในการดำเนินกิจกรรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ สิรภพมีการปรึกษาและหารือร่วมกันตลอด ไม่ได้มีความก้าวร้าว และไม่มีพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง
ที่สำคัญ จำเลยมีภาระทางการศึกษาซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบปลายภาคตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 7-21 พ.ค. 2564 เนื่องจากจำเลยถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 2564 ทำให้ไม่สามารถไปสอบแล้ว 3 รายวิชา หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะสามารถสอบย้อนหลังได้ เพื่อประโยชน์ต่อนิสิตในการเรียนการสอบ ซึ่งหลังจากที่พ้นกำหนดสอบไปแล้ว จำเลยต้องติดต่ออาจารย์ประจำวิชาให้สอบใหม่ และส่งเกรดประจำวิชาภายใน 30 วัน หากไม่ทำจะถูกปรับตก และต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ จึงกระทบต่อสิทธิในการศึกษา
พยานปากที่ 5 คนสุดท้าย คืออาจารย์สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต มีหน้าที่ดูแลกิจกรรมของนิสิตในมหาวิทยาลัย เบิกความว่า จำเลยเป็นนักศึกษาที่มีความประพฤติตัวดี ไม่มีพฤติการณ์รุนแรง จำเลยมีภาระทางการศึกษาซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบปลายภาคตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะสามารถสอบย้อนหลังได้ รวมถึงพยานจะคอยดูแล ควบคุม และตักเตือน ไม่ให้จำเลยร่วมกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันกษัตริย์
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ไม่ได้คัดค้านการประกันตัว
หลังจากการไต่สวนคำร้องขอประกันเสร็จสิ้น เมื่อเวลา 12.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวสิรภพ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามทำกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดทุกนัด
ศาลได้กำหนดวันนัดพร้อมสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 5 ก.ค. 2564 เวลา 9.00 น.
ทั้งนี้ สิรภพคือนักกิจกรรมรายล่าสุดที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทางการเมือง โดยเขาถูกขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งหมด 4 วัน ก่อนถูกปล่อยตัว เขาถูกกล่าวหาในคดีการเมืองรวมทั้งหมด 6 คดี โดยคดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีเดียวที่เขาถูกกล่าวหา
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/29474) -
วันที่: 02-06-2021นัด: ยื่นประกันชูเกียรติเวลา 10.00 น. ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันชูเกียรติต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ หลังวานนี้ ศาลอาญา รัชดาฯ มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีตามมาตรา 112 ของศาลอาญา
คำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้ระบุเหตุผลว่า ชูเกียรตินั้นมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หากได้รับการปล่อยตัว จะไม่หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จำเลยยังถือว่าเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา และยังไม่ถูกพิพากษาว่ามีความผิด
อีกทั้งวานนี้ ศาลอาญา รัชดาได้มีคำสั่งไต่สวนคำร้องขอประกันในคดีมาตรา 112 และมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวพร้อมกำหนดเงื่อนไข และแต่งตั้งให้ ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ให้เป็นผู้กำกับดูแล หากศาลจะกำหนดเงื่อนไข ขอให้ถือเอาคำให้การของชูเกียรติในคดีดังกล่าวเป็นการยืนยันว่า จำเลยจะยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาลนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ คำร้องยังยกเหตุผลขอปล่อยชั่วคราวเพื่อลดความเสี่ยงในการกลับมาติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของชูเกียรติ และเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ เนื่องจากก่อนหน้านี้ชูเกียรติ เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนต้องเข้าทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์มาแล้ว
ต่อมา เวลา 11.00 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ชูเกียรติ โดยให้วางหลักทรัพย์เป็นเงินสด จํานวน 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขในลักษณะเดียวกับในคดีของศาลอาญา ได้แก่ ห้ามกระทำการหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่มีลักษณะเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือกระทำลักษณะเดียวกับที่ถูกฟ้องร้อง ไม่เข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และต้องมาศาลตามนัดที่กำหนดโดยเคร่งครัด
ศาลยังมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ เป็นผู้กำกับดูแล โดยให้มีหน้าที่สอดส่องดูแลให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างเคร่งครัด หากพบพฤติกรรมอันควรสงสัยว่าเป็นการผิดเงื่อนไขให้รายงานศาลโดยเร็ว
ศาลนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 5 ก.ค. 2564 เวลา 09.00 น.
คำสั่งดังกล่าวมีผลให้ ภายในเย็นนี้ ชูเกียรติจะได้รับปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังถูกขังเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 72 วัน หากนับการถูกขังระหว่างพิจารณาของคดีนี้นับตั้งแต่ศาลรับฟ้อง เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2564 จะนับเป็นเวลารวม 28 วัน
หลังจากการปล่อยตัวของชูเกียรติ ยังคงมีผู้ต้องขังในคดีการเมืองระหว่างต่อสู้คดีอีก 2 รายที่ยังคงไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ได้แก่ แซม สาแมท และศุภากร (สงวนนามสกุล) ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ท ล่าสุด รายงานของกรมราชทัณฑ์สถานการณ์ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสะสมรวมกว่า 1,802 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 2,964 คน
จนถึงปัจจุบัน ชูเกียรติถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองแล้ว รวมทั้งสิ้น 12 คดี โดยเป็นคดีตามมาตรา 112 ถึง 4 คดี
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30443) -
วันที่: 05-07-2021นัด: สอบคำให้การนักกิจกรรมทั้งสองเดินทางมาศาล พร้อมทนายความ ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง จําเลยทั้งสองยืนยันให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทําความผิดตามฟ้อง และได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือประกอบ
ต่อมา ศาลสอบถามคู่ความเกี่ยวกับพยานวัตถุและพยานเอกสารที่จะให้คู่ความ
อีกฝ่ายหนึ่งตรวจดู อัยการโจทก์แถลงว่าประสงค์ที่จะส่งพยานเอกสารรวมทั้งสิ้น 19 ฉบับ และวัตถุพยาน 1 รายการ คือ แฟลชไดรฟบันทึกการปราศรัยของจำเลยทั้งสอง ขณะที่ทนายจำเลยแถลงว่าจะนำส่งพยานเอกสาร 1 ฉบับ ศาลได้รับไว้ และให้คู่ความตรวจดู
จากนั้น อัยการแถลงว่าจะนำสืบพยานบุคคลทั้งหมด 12 ปาก โดยขอใช้ระยะเวลาสืบพยานทั้งหมด 3 นัด
ขณะทนายจําเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงว่าจะนำสืบพยานจำเลยทั้งหมด 5 ปาก ขอใช้ระยะเวลาสืบพยาน 2 นัด
ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นควรให้กําหนดวันนัดสืบพยานตามที่ทั้งสองฝ่ายแถลงไว้ รวมเป็นทั้งหมด 5 นัด โดยให้พิจารณาคดีติดต่อกันไป และให้คู่ความไปกําหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความ
จากนั้น คู่ความได้ตกลงวันนัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความของศาล โดยกำหนดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 18-20 ม.ค. 2565 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 21 และ 25 ม.ค. 2565
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31767) -
วันที่: 18-01-2022นัด: สืบพยานโจทก์ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องฉบับลงวันที่ 13 ม.ค. 2565 จําเลยทั้งสองไม่ค้าน และจําเลยที่ 1 แถลงรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจําเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.2499/2564 ของศาลอาญา จําเลยที่ 2 รับว่า เป็นบุคคลเดียวกับจําเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1299/2564 ของศาลแขวงดุสิต, จําเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1625/2564 ของศาลอาญาตลิ่งชัน, จําเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.372/2564 ของศาลอาญาธนบุรี และจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1366/2564 ของศาลอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจริง ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องได้ เนื่องจากไม่ทําให้จําเลยทั้งสองเสียเปรียบหรือหลงข้อต่อสู้
ทนายจําเลยที่ 2 ยื่นคําร้องผ่านระบบ CIOS อ้างว่าใกล้ชิดกับบุคคลผู้ติดเชื้อโควิด ต้องกักตัวทําให้ไม่สามารถมาศาลได้ ขอเลื่อนคดีที่นัดไว้ทั้งหมด โจทก์ไม่คัดค้าน และแถลงว่าไม่สะดวกที่จะใช้วิธีการสืบพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลจึงให้เลื่อนคดีนี้ออกไปก่อน โดยให้กําหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6, 30 ก.ย. และ 27 ธ.ค. 2565 สืบพยานจำเลยวันที่ 7, 8 มี.ค. 2566
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 18 ม.ค. 2565)
-
วันที่: 06-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ตำรวจสืบสวน สน.ลุมพินี ระบุคำปราศรัยของสิรภพดูหมิ่น ร.10 ฟังแล้วรู้สึกไม่ดี ทำให้เกิดความเกลียดชัง – ไม่ปรากฏว่าจำเลยนัดหมายชุมนุมหรือจัดหารถปราศรัย
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ จั่นประดับ ขณะเกิดเหตุเป็น ผบ.หมู่ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดและสืบสวน และ ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ มิตรวงศ์ ขณะเกิดเหตุเป็นรองสารวัตรสืบสวน สน.ลุมพินี โดยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงพื้นที่ในวันเกิดเหตุและถอดเทปคำปราศรัยของจำเลยที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
พยานทั้งสองเบิกความในทำนองเดียวกันว่า ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ลุมพินี และตำรวจจากสถานีตำรวจอื่น ๆ มาร่วมสังเกตการณ์และรักษาความปลอดภัย โดยให้ตำรวจ สน.ลุมพินี ดูแลบริเวณจุดปราศรัย และกำหนดให้คอยสังเกตการณ์ผู้ขึ้นปราศรัยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวอย่างใกล้ชิด โดย จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความเพิ่มเติมว่า สน.ลุมพินี จัดตำรวจสังเกตการณ์ 1 นาย ต่อผู้ปราศรัย 1 คน
ตำรวจเข้าประจำจุดของแต่ละคนตั้งแต่ก่อนเวลา 16.00 น. ในเวลา 15.45 น. กลุ่มมวลชนได้เริ่มเดินลงมาบนท้องถนน และปิดการจราจร พ.ต.อ.นิติวัฒน์ แสนสิ่ง ผู้กำกับการ สน.ลุมพินี แจ้งกับมวลชนว่า การชุมนุมดังกล่าวไม่ได้ “ขออนุญาต” ภายใน 24 ชั่วโมง จึงขอให้ยุติการชุมนุม
ในวันเกิดเหตุมีผู้ขึ้นปราศรัยบนรถยนต์กระบะประมาณ 6 คน โดยสิรภพขึ้นปราศรัยเป็นคนแรกประมาณ 5 นาที ต่อมาเป็นชูเกียรติขึ้นปราศรัยตามด้วยคนที่เหลือ โดย ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ เบิกความเพิ่มเติมว่า ในขณะที่ชูเกียรติขึ้นปราศรัย สิรภพซึ่งสวมเสื้อสีเหลืองยืนอยู่ข้างชูเกียรติบนรถกระบะด้วย
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความว่า พยานไม่ได้เป็นผู้ทำการบันทึกภาพและเสียงในวันเกิดเหตุ แต่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบถอดเทปคำปราศรัยในส่วนสิรภพ โดยได้มีการตรวจสอบหลายรอบ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ปราศรัยพาดพิงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ลอย ๆ มีการเอ่ยชื่อในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ข้อความโดยรวมเป็นการดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 และมีการพูดถึงเรื่องการเมือง เพื่อให้ประชาชนเกลียดชังรัชกาลที่ 10
ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ เบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายให้ถอดคำปราศรัยของจำเลยที่ 2 โดยมีการตรวจสอบหลายรอบว่าถูกต้อง ข้อความที่จำเลยที่ 2 ปราศรัยพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นการดูหมิ่น เสียดสี อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
ช่วงทนายความถามค้าน
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2563 พยานไม่ได้ไปสังเกตการณ์การชุมนุมที่รัฐสภาเกียกกาย แต่ทราบเรื่องโดยภาพรวม ทราบจากภาพข่าวว่าในวันดังกล่าวมีการใช้กำลังสลายการชุมนุม แต่จะเป็นการชุมนุมเรียกร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ พยานไม่ทราบ
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ รับว่า บริเวณแยกราชประสงค์มีการชุมนุมทางการเมืองบ่อยครั้ง ตำรวจ สน.ลุมพินี มีการติดตามสังเกตการณ์เป็นประจำ เกี่ยวกับการชุมนุมในวันเกิดเหตุ อานนท์เป็นผู้ประกาศนัดหมาย ไม่มีผู้อื่นเกี่ยวข้อง ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ปรากฏข้อมูลว่าเป็นผู้นัดหมายให้มาชุมนุม
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความว่า พยานแต่งกายนอกเครื่องแบบนั่งอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม โดยไปถึงก่อนที่รถปราศรัยจะมา แต่ในส่วนของรถปราศรัยจำนวน 2 คัน ไม่ทราบว่าผู้ใดว่าจ้างและจัดหามา และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะขึ้นปราศรัยมีพิธีกรขึ้นพูดกับมวลชนก่อนหน้าแล้ว
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความว่า ไม่ได้รับมอบหมายให้สังเกตการณ์บุคคลใดเป็นพิเศษ ส่วน ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ เบิกความว่า ยืนอยู่บริเวณใกล้หน้าเวที และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลจำเลยที่ 2 และธานี สะสม ส่วนจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการชุมนุมหรือไม่ พยานไม่ทราบ
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ ยืนยันว่า บริเวณโดยรอบที่พยานนั่งอยู่ไม่มีมาตรการป้องกันโรค แต่ไม่ทราบว่าบริเวณอื่นจะมีหรือไม่ ในภาพรวมที่พยานเห็นนั้น ผู้มาชุมนุมส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย มีผู้มาชุมนุมจำนวนมาก แต่พยานมองเห็นเฉพาะบริเวณรอบตัวเท่านั้น
พยานทั้งสองรับว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องถึง
ทนายความจำเลยถาม จ.ส.ต.ทำนุรัฐ ว่า จากคำปราศรัยของสิรภพ ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร พยานตอบว่า ฟังแล้วรู้สึกไม่ดี ทำให้เกิดความเกลียดชังต่อในหลวงรัชกาลที่ 10
พยานทั้งสองรับว่า ในระหว่างการชุมนุม ไม่ปรากฏว่ามีการก่อเหตุวุ่นวายหรือความไม่สงบขึ้น แต่ จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความเพิ่มเติมว่า หลังจากเคลื่อนที่ไปที่หน้า สตช. มีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่พยานไม่ได้ตามไปจึงไม่เห็นเหตุการณ์
ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ รับว่า ขณะจำเลยที่ 2 ขึ้นปราศรัยไม่ได้ยุยงให้ผู้ชุมนุมก่อความวุ่นวายหรือความไม่สงบใด ๆ ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 แต่งชุดเสื้อเอวลอยเช่นเดียวกับนักร้องชื่อ “จัสติน บีเบอร์” สวมใส่ และคำปราศรัยของจำเลยที่ 2 ทุกถ้อยคำไม่มีการเอ่ยถึงพระนามรัชกาลที่ 10
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
จ.ส.ต.ทำนุรัฐ เบิกความว่า ในวันเกิดเหตุมีรถปราศรัย 2 คัน จำเลยที่ 1 ขึ้นปราศรัยทั้ง 2 คัน ช่วงเย็นบนรถสีขาว ช่วงค่ำบนรถสีแดง วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 สวมเสื้อสีเหลือง
ร.ต.อ.อธิษฐ์พัชร์ เบิกความว่า ตามคำถอดเทปคำปราศรัยของจำเลยที่ 2 เมื่ออ่านแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวถึงรัชกาลที่ 10
++อาจารย์กฎหมาย ม.เอเชีย ระบุสิรภพกล่าวหลายประโยคที่สื่อถึง ร.10 เห็นว่าผิด ม.112 แม้อ้างสิทธิและเสรีภาพตาม รธน. เสริมว่าถ้าไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเรียกร้องให้ปฏิรูปถึงจะถูกต้อง
เจษฎ์ โทณะวณิก เบิกความว่า พยานจบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2538 ต่อมาจบปริญญาโทและเอกด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา และเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 59 นอกจากนี้ พยานยังเคยเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ส่วนปัจจุบันเป็นอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชีย ตำแหน่งวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ เคยออกงานทั้งบทวิชาการและและบทความทั่วไป
พยานได้ฟังคำปราศรัยและอ่านข้อความที่ตำรวจสืบสวนถอดเทปมาของจำเลยที่ 1 และ 2 เห็นว่า เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย โดยไม่จำเป็นต้องดูบริบท จำเลยทั้งสองปราศรัยในลักษณะเดียวกัน จึงทำให้ทราบว่าหมายถึงใคร รวมถึงมีข้อความกล่าวถึงพระมหากษัตริย์องค์ก่อน
พยานได้ยกตัวอย่างคำปราศรัยที่จำเลยที่ 1 กล่าวหลายประโยค เช่น “สถาบันถ่วงประชาธิปไตย”, “กษัตริย์พยายามทำให้กลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์” และ “เราซื้อเอง เขาริบของเราไป เลอเทอะเหลือเกิน” ที่เห็นว่าสื่อถึงรัชกาลที่ 10
ในการปราศรัยของจำเลย พยานมองว่า ไม่ว่าประชาชนคนไหนก็ไม่มีสิทธิจะด่าคนอื่น จะอ้างว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศแล้วไปด่าหรือดูหมิ่นผู้อื่นไม่ได้ ไม่มีประเทศไหนไหนโลกที่ประชาชนสามารถด่าว่าคนอื่นได้ แม้จะอ้างว่าเป็นการแสดงความเห็นตามรัฐธรรมนูญ แต่การพูดหรือเขียนจะต้องอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีและรัฐธรรมนูญ และในประเทศไทยก็มีกฎหมายอาญาคุ้มครองพระมหากษัตริย์ คือ มาตรา 112 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 112
ช่วงทนายความถามค้าน
ทนายความถามว่า ถ้าพูดโดยตัดประเด็นเนื้อหาออกไป เจตนาของจำเลย คือ ต้องการเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ฯ อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยเรื่องนี้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางและการชุมนุมต่าง ๆ ก็มีการเรียกร้องใช่หรือไม่ พยานตอบว่า องค์พระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
พยานทราบว่า มีการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ากฎหมายให้อำนาจสถาบันกษัตริย์ฯ มากเกินไป
พยานทราบว่า ช่วงปี 2563 ประยุทธ์เคยบอกว่าในหลวงไม่ได้ให้ใช้มาตรา 112 แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการใช้กฎหมายบังคับทุกฉบับ และมีการดำเนินคดีมาตรา 112 เพิ่มขึ้น
พยานเบิกความว่า จบปริญญาโทโดยทำวิทยานิพนธ์เรื่องกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
พยานรับว่า นับตั้งแต่มีการชุมนุมของนักศึกษา พยานเห็นด้วยหลายเรื่อง และก็ไม่เห็นด้วยในหลาย ๆ เรื่อง กรณีเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พยานเบิกความว่า ถ้าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปถึงจะถูกต้อง เพราะฉะนั้นจะต้องพูดกันบนฐานจากสิ่งที่เป็น ประเทศเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พยานรับว่า เคยไปให้การความเห็นคดีมาตรา 112 และ 116 ไม่ต่ำกว่า 50 คดี พยานไม่ทราบว่า คดีมาตรา 112 กรณีเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงและอุทยานราชภักดิ์จะยกฟ้อง เพราะไม่ได้ติดตาม และคดีมาตรา 116 กรณีโพสต์วิจารณ์กองทัพ พยานเคยไปให้การในคดีนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะยกฟ้องในภายหลังเช่นกัน
พยานรับว่า ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมในวันเกิดเหตุที่แยกราชประสงค์ และไม่ทราบว่าเหตุการณ์การชุมนุมดังกล่าวเกิดจากอะไร
หลังอ่านคำถอดเทปของจำเลยที่ 2 พยานพบว่า ไม่ได้เอ่ยพระนามรัชกาลที่ 10 แต่เป็นข้อความที่ไม่ต้องการตีความ เป็นถ้อยคำธรรมดาสามัญที่เอ่ยชัดเจนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเป็นได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 2 พูดปราศรัยคนฟังแต่ละคนอาจเห็นไม่เหมือนกัน
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความว่า ‘พระปรมาภิไธย’ ใช้กับสถาบันกษัตริย์ฯ เท่านั้น ถ้าบุคคลทั่วไปใช้ ‘การลงลายมือ’
(อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 6 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 30-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์++อาจารย์กฎหมาย มธ. ระบุสิรภพกล่าวพระนาม ร.10 ข้อความเป็นการใส่ความที่ไม่จริง ทำให้เข้าใจว่า ร.10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี อ้าง 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ขัด รธน. ตามบทความของตนและคำวินิจฉัยศาล
กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ เบิกความว่า พยานจบนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2548 และเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่จบการศึกษา ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขากฎหมายมหาชน
พยานเบิกความว่า ตนติดตามการเมือง การชุมนุมตามสื่อสารมวลชนทั่วไป โดยติดตามการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งผู้ชุมนุมในกลุ่มมีทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอื่น และประชาชนภายนอก
พยานเบิกความต่อไปว่า ข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าวเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ภายหลังพยานเขียนบทความแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับ 10 ข้อเรียกร้อง มีทั้งประเด็นตามมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญ, งบประมาณสถาบันกษัตริย์ โดยรวมทำให้สถาบันกษัตริย์เสียหาย และพยานเขียนบทความว่าขัดหลักรัฐธรรมนูญ ประกอบกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 ว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ
อัยการจึงถามต่อว่า มีอาจารย์มหาลัยจำนวนหนึ่งสนับสนุน โดยอ้างว่าการชุมนุมถูกต้องตาม ICCPR พยานตอบว่า เห็นว่าไม่ถูกต้อง มีข้อจำกัดตาม ICCPR เรื่องความมั่นคงรัฐ อาจารย์เหล่านั้นเข้าใจผิด มองแต่สิทธิและเสรีภาพ ไม่มองข้อยกเว้นตาม ICCPR ที่เป็นกติกาสากล ส่งผลเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เป็นการใส่ความพระองค์ ทำให้เกิดกระแสต่อต้านสถาบันกษัตริย์
สำหรับการชุมนุมตามเหตุในคดีนี้ พยานติดตามจากสื่อสารมวลชน และตามที่ตำรวจเปิดให้ดูพร้อมคำถอดเทปการปราศรัย คนที่ปรากฏอยู่ คือ สิรภพและชูเกียรติ โดยพยานเห็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นคนพูดจริงและข้อความเป็นไปตามที่มีการถอดเทป
ในกรณีของสิรภพ พยานเห็นว่า จำเลยกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 มีการลงพระนามโดยตรงว่า “กษัตริย์วชิราลงกรณ์” มีกล่าวถึงหลายแห่ง เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยมีหลายข้อความที่เป็นการใส่ความที่ไม่จริง โดยเฉพาะการบอกว่า “กษัตริย์จะเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”, “ใช้งบประมาณไปเที่ยวเล่น”, “เห็นพวกเราเป็นแค่ฝุ่น” ทำให้เข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่ดี ซี่งเป็นถ้อยคำที่ไม่จริง
ในกรณีของชูเกียรติ พยานเห็นว่า เข้าใจได้ว่ากล่าวถึงรัชกาลที่ 10 แม้ไม่ได้พูดชื่อโดยตรง เนื่องจากมีหลายคำที่ชูเกียรติอ้างพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 10 “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” และ “ประเทศแห่งการประนีประนอม” และกล่าวถึง “พ่อ” เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ตามมาตรา 112 ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศในฐานะประมุขของรัฐ กระทบต่อความมั่นคงรัฐ
พยานเบิกความว่า แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมกับกลุ่มผู้ชุมนุมในวันที่ 18 พ.ย. 2563 ไม่ทราบว่ารู้จักหรือไม่ แต่น่าจะเป็นกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน หรือมีเจตนารมณ์เดียวกัน เพราะพฤติการณ์และแนวคิดเป็นไปในทางเดียวกัน เช่น ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ช่วงทนายความถามค้าน
ทนายความถามว่า เกี่ยวกับที่พยานพูดถึงข้อโต้แย้งที่มีต่อกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในบทความของพยานพูดถึงข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ว่าเป็นการแก้ไขที่ทำลายหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ แต่ข้อเรียกร้องเป็นการให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นไปตามกลไกรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ใช้อาวุธหรือกำลังบังคับ ถ้าสังคมไม่ตอบสนอง สมาชิกรัฐสภาไม่ตอบสนอง ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น การเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นสิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พยานตอบว่า เป็นการใช้สิทธิก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัด หากดูกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นและไม่ละเมิดกฎหมาย
ทนายความถามว่า บทความของพยานกล่าวถึงการจัดระเบียบสถาบันกษัตริย์ เกี่ยวกับการโอนย้ายทรัพย์สินและหน่วยงาน พยานเขียนว่าให้เสนอต่อนิติบัญญัติต่อไปหรือไม่ พยานตอบว่า มองว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวเรียกร้องได้เนื่องจากเป็นการแก้ไขกฎหมาย
ทนายความถามว่า การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ช่วงรัฐบาล คสช. สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีการออกกฎหมายหลายฉบับแก้ไขพระราชอำนาจ เช่น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มีการโอนหลายหน่วยงานไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ ทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยพระราชอัธยาศัย ตามมาตรา 4 ส่งผลให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ไม่อยู่ในการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และหน่วยงานเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร ทำให้ฝ่ายค้านไม่สามารถนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ จึงทำให้อยู่เหนือฝ่ายการเมืองหรือไม่
พยานตอบว่า ยังสามารถหยิบยกมาได้ ขึ้นกับว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะหยิบยกประเด็นที่เชื่อมกับฝ่ายบริหารอย่างไร แต่ไม่อยู่ใต้การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ
ทนายความถามว่า เมื่อปี 2559 มีกระบวนการจัดการรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อรัฐธรรมนูญดังกล่าวผ่านประชามติแล้ว ปรากฏข่าวว่า พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า รัชกาลที่ 10 ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งในขณะนั้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว ให้ขึ้นทูลเกล้าลงพระปรมาภิไธย โดยกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้แก้ไขอีก นอกจากนี้ในวันที่ 15 มิ.ย. 2563 ปรากฎข่าวว่าประยุทธ์บอกว่ารัชกาลที่ 10 รับสั่งไม่ให้ใช้บังคับมาตรา 112 ดำเนินคดีกับประชาชน ซึ่งไม่ปรากฏว่าสำนักพระราชวังปฏิเสธข้อเท็จจริงเหล่านี้ ดังนั้นการที่พลเอกประยุทธ์กล่างอ้างอย่างนี้สุ่มเสี่ยงให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า รัชกาลที่ 10 เข้ามาเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจอธิปไตยหรือไม่
พยานตอบว่า ไม่เข้าใจผิด คงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นห่วงและเมตตา มากกว่าที่จะเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตย เป็นพระราชดำริของพระองค์ที่จะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ซึ่งพระราชดำริมีบทบาทภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นคำสั่ง
ทนายความถามว่า การที่พระมหากษัตริย์เข้ามามีบทบาทในทางสาธารณะ เป็นปกติที่จะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เป็นเรื่องปกติ ทนายความถามต่อว่า ทั้งการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สามารถแสดงความคิดเห็นได้ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ได้ แต่ต้องดูเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ
พยานรับว่า ผู้ถูกร้องในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 ไม่มีจำเลยในคดี ทนายความถามต่อว่า ในการพิจารณาคดีดังกล่าว ศาลฟังแค่คำฟ้องของผู้ร้อง แต่ไม่ได้ฟังพยานหลักฐานของผู้ถูกร้องแต่อย่างใดใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำเช่นนั้นได้ แต่พยานทราบเรื่องนี้แค่เท่าที่ตามสื่อสารมวลชน
พยานรับว่า ไม่รู้จักจำเลยในคดีนี้ แต่เห็นว่าจำเลยทั้งสองมีลักษณะเจตนารมณ์เป็นไปตามกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทนายความถามต่อว่า พยานมีจุดยืนไม่สนับสนุนกลุ่มดังกล่าวใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เป็นการให้ความเห็นทางวิชาการโดยสุจริตใจ
พยานรับว่า ไม่ได้อยู่ในวันเกิดเหตุและไม่ได้ดูถ่ายทอดสดเหตุการณ์ ไม่ทราบสาเหตุของการชุมนุมวันดังกล่าว เห็นว่าเป็นการชุมนุมต่อเนื่องที่มีทิศทางพูดถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
พนักงานอัยการถามว่า พลเอกประยุทธ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อสารมวลชนว่า รัชกาลที่ 10 รับสั่งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการสั่งการหรือไม่ พยานตอบว่า อาจจะมีการดำเนินการแก้ไขหรือไม่ก็ได้ เป็นเพียงพระราชดำริที่มีความเห็นให้แก้ไข ในข้อเท็จจริงก็มีการแก้ไขโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
พยานเบิกความว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 ผู้ถูกร้องสามารถทำคำคัดค้านรวมเข้ามาในสำนวนให้ศาลวินิจฉัยได้ โดยเป็นการพิจารณาคดีแบบไต่สวน ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลสามารถยุติการไต่สวนแล้ววินิจฉัยได้เลย
(อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 27-12-2022นัด: สืบพยานโจทก์++ผู้กล่าวหาระบุลักษณะคำปราศรัยมีการปลุกใจให้ผู้ชุมนุมเห็นด้วยและละเมิด ม.112 กล่าวถึง ร.10 ในลักษณะดูหมิ่นและอาฆาตมาดร้าย – ไม่ปรากฏว่าจำเลยเชิญชวนหรือตระเตรียมการชุมนุม
พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเป็นสารวัตรสืบสวนของ สน.ลุมพินี ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับการ สน.ลุมพินี ให้รักษาความสงบเรียบร้อยและสืบสวนหาผู้กระทำผิดในวันเกิดเหตุ
พยานเบิกความว่า ปี 2563 เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับยังไม่มีวัคซีน จึงมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาด ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาเกิดเหตุ
พยานเบิกความว่า คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 มีผู้ชุมนุมกันบริเวณหน้ารัฐสภาเกียกกาย โดยมี อานนท์ นำภา เป็นผู้นำในการชุมนุม ก่อนกลุ่มผู้ชุมนุมจะยุติการชุมนุม อานนท์ได้ประกาศนัดหมายให้มวลชนไปชุมนุมกันที่บริเวณแยกราชประสงค์ ในวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลา 16.00 น. แต่ในวันดังกล่าวพยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่การชุมนุมหน้ารัฐสภา
หลังจากนั้น ผู้กำกับการ สน.ลุมพินี มอบหมายให้แต่ละฝ่ายร่วมกันดูแลความสงบเรียบร้อยบริเวณที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ พยานมอบหมายให้ฝ่ายสืบสวนถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยพยานไปถึงที่เกิดเหตุประมาณ 14.00 น. วางกำลังกับพวกปะปนไปกับกลุ่มผู้ชุมนุม
กลุ่มผู้ชุมนุมมารวมตัวกันประมาณ 15.45 น. ทยอยลงมาบนพื้นถนน กีดขวางทางรถ ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก โดยผู้ชุมนุมมีจำนวน 6,000 – 7,000 คน หลังจากนั้นผู้กำกับการ สน.ลุมพินี เข้ามาประกาศให้ยุติการชุมนุมเพราะไม่มีการแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งและกีดขวางทางจราจร แต่ผู้ชุมนุมยังคงชุมนุมต่อไป
พยานเบิกความต่อว่า มีการนำรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงมา และมีผู้ขึ้นปราศรัยประมาณ 7 – 8 คน โดยสิรภพสวมใส่เสื้อสีเหลืองขึ้นปราศรัยประมาณ 5 นาที ต่อมาชูเกียรติสวมใส่เสื้อสีขาว กางเกงสีแดง ขึ้นปราศรัยประมาณ 20 นาที โดยสิรภพได้ให้ผู้ร่วมชุมนุมตบมือต้อนรับชูเกียรติ และยืนอยู่ด้านหลังชูเกียรติในขณะปราศรัย
การชุมนุมเสร็จสิ้นในเวลาเกือบ 18.00 น. ผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนตัวไปที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่สิรภพกับชูเกียรติจะเคลื่อนขบวนไปด้วยหรือไม่ พยานไม่ทราบ เนื่องจากไม่ได้ติดตามไป แค่ดูอยู่ทางโซเชียลมีเดีย ทราบว่ามีการปราศรัยถึง 20.30 น.
ในที่ชุมนุม ผู้ชุมนุมมีลักษณะการนั่งแบบไหล่ชนไหล่ ไม่เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่มีจุดบริการสเปรย์แอลกอฮอล์ ไม่มีจุดล้างมือ
พยานเบิกความว่า ตนกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองเป็นแกนนำ เพราะตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ แกนนำ คือ ผู้จัดการชุมนุมที่มีการประสานงานหรือมีพฤติการณ์ให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม โดยพยานเห็นว่ามีการจัดคิวขึ้นปราศรัย มีการแนะนำผู้ปราศรัยท่านถัดไป ดังเช่นในกรณีที่สิรภพแนะนำชูเกียรติ แต่คนต่อไปพยานจำไม่ได้ว่ามีการแนะนำหรือไม่
หลังจากนั้น พยานกลับไปรวบรวมพยานหลักฐานและถอดเทปคำปราศรัย โดยคลิปที่นำมาเป็นพยานวัตถุมาจากสื่อออนไลน์ แต่ก็มีที่ตำรวจเป็นผู้ถ่ายไว้ด้วย พยานยืนยันว่า จำเลยทั้งคู่ขึ้นปราศรัยตรงตามที่ถอดเทป
พยานเบิกความว่า ลักษณะถ้อยคำปราศรัยเบื้องต้นมีการปลุกใจให้ผู้ชุมนุมเห็นด้วยและละเมิดกฎหมายมาตรา 112 โดยมีการกล่าวถึงรัชกาลที่ 10 ในลักษณะดูหมิ่นและอาฆาตมาดร้าย ในส่วนของจำเลยที่ 1 เช่น เอ่ยพระนามรัชกาลที่ 10 บอกว่าถ่วงรั้งประชาธิปไตย และมองว่าพวกเราเป็นแค่ฝุ่น
พยานจึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองกับพวกอีก 7 คน ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และดำเนินคดีมาตรา 112 เฉพาะกับสิรภพและชูเกียรติ และมอบพยานหลักฐานทั้งหมดให้กับพนักงานสอบสวน
ช่วงทนายความถามค้าน
พยานรับว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมในการประกาศเชิญชวนนัดหมายการชุมนุมในวันเกิดเหตุ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมในการตระเตรียมการและจัดหาเครื่องเสียง และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเข้าไปเป็นตัวแทนเจรจาใด ๆ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พยานเห็นจำเลยที่ 1 ตอนขึ้นเวที เวลา 16.10 น. ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำพาขบวนมาตั้งแต่ต้น และก่อนหน้ามีบุคคลอื่นคอยควบคุมเวทีอยู่แล้ว
พยานไม่ทราบว่า จำเลยทั้งสองเคลื่อนตัวไปหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรืออยู่ในที่ชุมนุมตลอดหรือไม่ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่บนรถเครื่องขยายเสียงในขณะที่มีการเคลื่อนขบวน
พยานรับว่า การชุมนุมคาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่ สน.ลุมพินี และ สน.ปทุมวัน แต่ยืนยันว่าการชุมนุมตอนแรกอยู่บนพื้นที่เดียวก่อนจะเคลื่อนไป
พยานรับว่า พื้นที่สี่แยกราชประสงค์เป็นถนนเปิดกว้าง โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีรั้วรอบ การชุมนุมสามารถขยายพื้นที่ไปได้เรื่อย ๆ บนพื้นถนน เพราะรอบข้างเป็นห้างและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ยืนยันว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัย
ถ้อยคำปราศรัยของจำเลย พยานรับว่า ฟังจากสื่อออนไลน์ ไม่ได้ฟังในที่เกิดเหตุ คดีนี้เป็นคดีที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบ โดยคณะทำงานมอบหมายให้พยานเป็นผู้กล่าวหา
++เภสัชกรระบุสิรภพกล่าวอ้างถึงพระนาม ร.10 กล่าวความเท็จในเชิงให้เข้าใจว่าเป็นข้อเท็จจริง ตั้งใจทำให้ประชาชนด้อยค่ากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ – ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112
ดร.ภญ.ปารภัทร โศภารักษ์ เบิกความว่า จบการศึกษาปริญญาตรี จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ และดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ
พยานเบิกความว่า ได้ฟังคลิปคำปราศรัยของจำเลยทั้งสองและอ่านถอดเทปคำปราศรัย ในส่วนของจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างถึงพระนามรัชกาลที่ 10 หลายครั้ง เป็นถ้อยคำกล่าวความเท็จในเชิงให้เข้าใจว่าเป็นข้อเท็จจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์มองประชาชนไม่มีค่าเป็นแค่ฝุ่น และเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์จะริบสมบัติประชาชน ซึ่งพยานเห็นว่าจำเลยตั้งใจทำให้ประชาชนด้อยค่าพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติของพระมหากษัตริย์
ช่วงทนายความถามค้าน
พยานเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ พยานติดตามสถานการณ์การเมือง แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง เพราะตั้งใจแก้ไขมาตรา 112 เนื่องจากการที่จะดูหมิ่นหรือกล่าวหาผู้อื่นไม่ถูกต้องอยู่แล้ว จึงไม่สามารถดูหมิ่นกล่าวหาพระมหากษัตริย์ได้ ซึ่งพยานเข้าใจว่าจำเลยทั้งสองเป็นกลุ่มคณะราษฎร
พยานเบิกความต่อว่า คลิปการปราศรัยในวันเกิดเหตุเห็นได้ตามสาธารณะ และพยานได้ดูผ่านช่องทางยูทูปภายหลังวันเกิดเหตุ คนที่ติดต่อให้ผ่านมาเป็นพยานคือ ตรีดาว อภัยวงศ์ เพื่อนซึ่งเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนคณะอักษรศาสตร์ โดยตรีดาวสอบถามมาว่า มีกรณีนี้เกิดขึ้น ถ้ามีความเห็นอะไรให้ช่วยไปเป็นพยาน พยานจึงฟังคำปราศรัยแล้วตัดสินใจมาเป็นพยาน โดยได้เข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พยานระบุว่า ตนไม่เคยเป็นพยานในคดีอาญาใด ๆ มาก่อน พยานไม่ทราบว่าตรีดาวเคยให้ความเห็นในคดีมาตรา 112 หลายคดี และไม่ทราบว่าเคยเป็นทีมโฆษกของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่
พยานรับว่า เคยเข้าร่วมการชุมนุมของ กปปส. โดยเห็นด้วยกับการขัดขวาง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ไม่ขัดขวางการเลือกตั้ง และพยานไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เมื่อเหตุการณ์ชุมนุมสงบลง พยานแค่นำอาหารและน้ำไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่
พยานเบิกความว่า ในปี 2563 พยานไม่ได้ร่วมชุมนุมกับคณะราษฎร แต่เคยฟังคำปราศรัยจากการไปส่งนักศึกษาแต่ไม่ใช่เหตุการณ์วันเกิดเหตุ ไม่ทราบสาเหตุการชุมนุมในวันเกิดเหตุ เข้าใจว่าเป็นการเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออก และแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งพยานไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112
++แอดมินกลุ่ม ศปปส. ระบุคำปราศรัยของสิรภพเอ่ยพระนาม ร.10 ใส่ร้ายกล่าวหา หากคนไม่รู้เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่แท้จริงอาจเข้าใจผิด ทำให้พระองค์ถูกมองเป็นคนไม่ดี
กัญจ์บงกช เมฆาประพัฒน์สกุล เบิกความว่า เหตุการณ์วันเกิดเหตุ มีการชุมนุมที่ราชประสงค์ พยานดูตามสื่อและโซเชียลมีเดียเห็นว่ามีผู้ชุมนุมมาเยอะมาก โดยวันดังกล่าวมีการปราศรัยที่ขัดต่อมาตรา 112 ให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ ทราบว่าเป็นสิรภพและชูเกียรติ เพราะตนเองติดตามกลุ่มเหล่านี้โดยเฉพาะจึงทราบชื่อ
พยานอ่านถอดเทปคำปราศรัยของสิรภพแล้วเห็นว่า เอ่ยพระนามรัชกาลที่ 10 ใส่ร้ายกล่าวหาพระองค์ ทั้งที่พระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร ประเทศเราเป็นประชาธิปไตย พระองค์ไม่ได้สั่งห้ามไม่ให้เป็นประชาธิปไตย โดยมีการใส่ร้ายว่า ทำให้ประเทศกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์, มองประชาชนเป็นแค่ฝุ่น ซึ่งไม่ใช่เลย พระองค์รักและดูแลเรา มองพวกเราเหมือนลูกเหมือนหลาน และกล่าวหาว่า พระมหากษัตริย์ไม่ได้ซื้อบ้าน ซื้อที่ดินให้ ริบชองเขาไป ทำให้ประชาชนทุกคนมองในหลวงของเราไม่ดี
พยานเบิกความว่า จากข้อความดังกล่าว หากคนไม่รู้เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่แท้จริงอาจเข้าใจผิด ทำให้พระองค์ถูกมองเป็นคนไม่ดี
ช่วงทนายความถามค้าน
พยานเบิกความตอบว่า พยานสนใจคนที่กระทำความผิดมาตรา 112 และเป็นแอดมินเพจกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่ตั้งขึ้นเพื่อให้รู้ว่าตัวเองทำหน้าที่อะไร โดยกลุ่มดังกล่าวมีสมาชิกประมาณเกือบ 100 คน เคยรวมตัวจัดกิจกรรมในที่สาธารณะหลายครั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เคยทำผิดต่อกฎหมาย และเคยเดินทางยื่นหนังสือกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้ดำเนินคดีมาตรา 112 เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำผิดข้อกฎหมาย โดยคดีนี้เป็นคดีแรก ๆ ที่พยานไปพบพนักงานสอบสวน
พยานเบิกความว่า รู้จักจำเลยทั้งสองในคดีนี้ผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่ไม่เคยมีเรื่องโกรธแค้นหรือรู้จักกันมาก่อน ในการไปให้การกับพนักงานสอบสวน พยานเป็นผู้เดินทางไป สน.ลุมพินี และเสนอตัวให้การเป็นพยานด้วยตัวเอง
พยานเบิกความว่า พยานจำไม่ได้ว่าเคยไปลงประชามติตอนที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือไม่ แต่พยานไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง และทราบว่าร่างรัฐธรรมนูญต้องได้รับการทำประชามติจากประชาชน แล้วจึงค่อยส่งไปให้ลงพระปรมาภิไธย ทนายความจึงถามความเห็นเรื่องพลเอกประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์ว่ารัชกาลที่ 10 รับสั่งให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติแล้ว พยานตอบว่า ไม่มีความเห็นอะไรกับเรื่องนี้
พยานรับว่า ไม่มีหลักฐานไปแสดงต่อพนักงานสอบสวนว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ประเทศไทยมีประชาธิปไตยอยู่แล้ว และท่านไม่ได้สั่งบอกว่าไม่ให้มีประชาธิปไตย ทนายความจึงถามต่อว่า ในความเห็นของพยาน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดีหรือไม่ดีอย่างไร พยานตอบว่าไม่ทราบ
พยานเบิกความว่า จบการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการตลาด ประกอบอาชีพค้าขายออนไลน์ และเป็นสมาชิกกลุ่ม ศปปส. มาตั้งแต่ปี 2563 ที่ยังไม่ได้ก่อตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ ต่อมาคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันมาก่อตั้งอย่างเป็นทางการในท้ายปี 2563 แต่พยานไม่ใช่ผู้ร่วมก่อตั้ง เป็นเพียงแค่แอดมิน
ทนายความถามว่า การยกเลิกมาตรา 112 สามารถทำได้ตามกฏหมายใช่หรือไม่ พยานตอบว่า คนที่คุณรักโดนว่า มันบีบหัวใจ แต่สุดท้ายพยานรับว่า ยกเลิกมาตรา 112 ทำได้ และพยานไปแจ้งความหรือไปเป็นพยานในคดีมาตรา 112 อาจจะถึง 100 คดี โดยปกติพยานจะเตรียมหลักฐานไปเอง แต่บางครั้งหากกะทันหันก็แค่ไปแจ้งความ
พยานรับว่า ในคดีนี้พยานไม่ได้ไปในที่ชุมนุมในวันเกิดเหตุ ไม่ทราบว่าการชุมนุมจะเกิดจากสาเหตุอะไรหรือมีวัตถุประสงค์อะไร
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความว่า เหตุการณ์ในวันเกิดเหตุเกิดขึ้นตอนที่รัชกาลที่ 10 ขึ้นครองราชย์แล้ว และพระองค์เป็นผู้มีอำนาจลงพระปรมาภิไธย
++สองตำรวจสันติบาลระบุเป็นผู้สืบสวนหาข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กระทบความมั่นคง ชี้จำเลยทั้งสองเป็นแกนนำ แต่วันที่เกิดเหตุไม่ได้ลงพื้นที่ด้วยตนเอง
พ.ต.ต.มณฑล บัวจีบ ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 ทำหน้าที่สืบสวนหาข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ และ พ.ต.อ.เทอดไทย สุขไทย ขณะเกิดเหตุรับราชการอยู่กองพิสูจน์หลักฐาน ต่อมาวันที่ 22 ธ.ค. 2563 ย้ายมากองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 เป็นผู้สรุปรายงานการสืบสวนคดีต่าง ๆ รวมถึงคดีนี้
พยานทั้งสองเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จากการสืบสวนหาข่าวเกี่ยวกับกลุ่มผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมือง สิรภพและชูเกียรติเป็นผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นประจำ ซึ่งหลังจากการชุมนุมในเดือนกันยายน 2563 กลุ่มแนวร่วมผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 8 ต.ค. 2563 กลุ่มแนวร่วมได้จัดการชุมนุมที่บริเวณสนามหลวง และรวมกันตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มคณะราษฎร 2563” มีวัตถุประสงค์ให้นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ ลาออก, แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พ.ต.อ.เทอดไทย เบิกความเพิ่มเติมว่า สิรภพเป็นแกนนำกลุ่ม มศว.คนรุ่นเปลี่ยน ส่วนชูเกียรติขับเคลื่อนกลุ่มในจังหวัดสมุทรปราการ
พ.ต.ต.มณฑล เบิกความว่า จากการสืบสวนหาข่าว ทราบว่าในวันที่ 17 พ.ย. 2563 สิรภพและชูเกียรติได้เข้าร่วมการชุมนุมที่รัฐสภาด้วย ต่อมาสิรภพ, ชูเกียรติ, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, ภาณุพงศ์ จาดนอก ได้พากลุ่มผู้ชุมนุมมาชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ตามที่นัดหมายไว้ มีการสลับกันขึ้นพูดปราศรัย โดยจำเลยทั้งสองขึ้นพูดด้วย
พ.ต.อ.เทอดไทย เบิกความว่า โดยหลักสิรภพออกมาเรียกร้องที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกลุ่มคณะราษฎร ส่วนชูเกียรติเป็นการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในวันเกิดเหตุ พยานได้ดูและฟังคำถอดเทปแล้วและตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกัน สิรภพขึ้นปราศรัยในลักษณะที่จะให้รัชกาลที่ 10 ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่เป็นความจริง ส่วนชูเกียรติเอ่ยถึงเรื่องทั่วไป แต่มีคำพูดเกี่ยวกับการลงพระปรมาภิไธย ซึ่งต้องกระทำโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และมีคำพูดว่าโดน 112 แน่นอน แสดงว่าต้องรู้อยู่แล้วว่าที่พูดมีความผิดเกี่ยวกับมาตรา 112
ช่วงทนายความถามค้าน
พ.ต.ต.มณฑล เบิกความว่า กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 เป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลที่มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคงประเทศ พยานก็จะดำเนินการสืบสวนหาข่าวโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลได้ และรับว่า ในการชุมนุมที่รัฐสภาวันที่ 17 พ.ย. 2563 และการชุมนุมในวันเกิดเหตุ พยานไม่ได้ลงพื้นที่ โดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสืบสวนหาข่าวแล้วมารายงาน และพยานไม่ทราบว่าใครเป็นผู้บันทึกภาพเคลื่อนไหวตามพยานวัตถุ แต่คาดว่ามาจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคง
พ.ต.ต.มณฑล เบิกความว่า พยานเป็นผู้สืบสวนหาข่าวและควบคุมความสงบเรียบร้อยเท่านั้น จุดประสงค์ที่แท้จริงของผู้ชุมนุมเป็นอย่างไรพยานไม่ทราบ แต่ในการเรียกร้องก็เป็นสิทธิของผู้ชุมนุมที่จะกระทำได้
พ.ต.อ.เทอดไทย เบิกความว่า การทำกิจกรรมทางการเมืองในวันเกิดเหตุเป็นเรื่องที่เกิดก่อนที่พยานจะเข้ามาดำรงตำแหน่งที่กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 เหตุการณ์ทั้งหมดในรายงานการสืบสวนพยานไม่ได้ลงพื้นที่สืบสวนหาข่าว และไม่ได้เป็นผู้เห็นเหตุการณ์ และรับว่า ตามรายงานการสืบสวนกล่าวถึงจำเลยที่ 1 แต่เพียงว่าเป็นผู้ปราศรัย ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้นัดหมายเชิญชวนหรือตระเตรียมการชุมนุม ส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฎข้อมูลว่าโพสต์เชิญชวน และพยานไม่ทราบว่า จำเลยที่ 2 เข้าร่วมการชุมนุมในฐานะใดกลุ่มใด
(อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 27 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 07-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์++ผู้กำกับ สน.ลุมพินีระบุเป็นผู้ประกาศให้ยุติการชุมนุมเนื่องจากขัดต่อกฎหมาย – ไม่มีข้อมูลสถิติว่ามีผู้ติดเชื้อจากการชุมนุม – ไม่มีเหตุรุนแรงในการชุมนุม
พ.ต.อ.นิติวัฒน์ แสนสิ่ง เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเป็นผู้กำกับการ สน.ลุมพินี โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2562 ถึงเดือนธันวาคม ปี 2563 คดีนี้อยู่ที่แยกราชประสงค์ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบ
พยานเบิกความว่า ตอนต้นปี 2563 เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีวัคซีนในขณะนั้น รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด หากสถานการณ์ดีขึ้นก็ผ่อนคลายมาตรการลง โดยประกาศข้อกำหนดฉบับที่ 13 ซึ่งครอบคลุมวันเกิดเหตุ เปิดให้ชุมนุมได้ตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และให้ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมดำเนินมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
ในวันเกิดเหตุ พยานตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าใกล้ที่ชุมนุมเพื่อบริหารจัดการและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ต่อมาประมาณ 15.30 น. ผู้ชุมนุมทยอยมารวมตัวกันบนฟุตบาทและลงมาบนพื้นที่จราจรบนถนนราชดำริ และเริ่มปิดการจราจรไปเรื่อย ๆ พอมีผู้ชุมนุมมาจำนวนมาก และมีรถกระบะขนเครื่องขยายเสียงเข้ามา พยานจึงเข้าไปเจรจา และประกาศว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีการแจ้งการชุมนุม ไม่มีมาตรการป้องกันโรค และให้ยุติการชุมนุม
พยานเบิกความต่อไปว่า หลังประกาศเหมือนเรียกแขก ผู้ชุมนุมมายืนล้อม จึงต้องถอยออกจากแยกราชประสงค์ โดยผู้ชุมนุมก็ไม่ได้ยุติการชุมนุม จึงให้พนักงานสอบสวนไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีการยุติการชุมนุม แต่ต่อมาศาลก็ยกคำร้อง
หลังจากนั้น พยานติดตามสถานการณ์ในสื่อออนไลน์ โดยหลักดูการชุมนุมจากการถ่ายทอดสด และมีออกมาเดินดูบ้างเพื่อดูว่าผู้ใต้บังคับบัญชาประจำจุดอยู่หรือไม่ เห็นว่ามีผู้ชุมนุมหลักหมื่นคน ผู้ชุมนุมสวมหน้ากากอนามัยบ้างไม่สวมบ้าง ไม่มีการประกาศให้สวมหน้ากากอนามัย ไม่มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์
พยานได้อ่านบันทึกถอดเทปคำปราศรัย ในส่วนของสิรภพ เห็นว่าพูดจาโดยไม่เคารพ พูดถึงรัชกาลที่ 10 ว่าจะเปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมองเราเป็นแค่ฝุ่น เป็นการให้ร้ายแก่พระองค์ ส่วนของชูเกียรติไม่ได้เอ่ยพระนามโดยตรง แต่สื่อถึงพระองค์ท่าน
ช่วงทนายความถามค้าน
ทนายความถามว่า ในพยานเอกสารระบุเวลาประกาศว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยุติการชุมนุม ตอน 15.54 น. ผู้ชุมนุมที่มาภายหลังอาจไม่ทราบใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ แต่มีกระดาษที่พยานยื่นให้กับผู้ชุมนุม แต่ยื่นให้กับใครนั้น พยานไม่ทราบ และขณะที่ประกาศจำเลยทั้งสองจะมาถึงที่ชุมนุมแล้วหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
พยานรับว่า อานนท์เชิญชวนมาชุมนุมจึงเป็นผู้ประสงค์จัดการชุมนุม ทนายความถามต่อว่า นอกเหนือจากการแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าตามมาตรา 10 สามารถแจ้งตามมาตรา 12 คือหากไม่ทันใน 24 ชั่วโมงก็สามารถขอผ่อนผันต่อผู้บัญชาการตำรวจพื้นที่นั้นก่อนจัดการชุมนุมได้ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า พื้นที่การชุมนุมคาบเกี่ยวระหว่างท้องที่ สน.ลุมพินี กับ สน.ปทุมวัน ซึ่งอยู่ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ทั้งคู่ ผู้ชุมนุมสามารถแจ้งการชุมนุมต่อสถานีตำรวจใดก็ได้
พยานรับว่า ไม่มีข้อมูลในทางสถิติว่าใครติดเชื้อจากการชุมนุม แต่ในทางข้อเท็จจริงจะมีหรือไม่ พยานไม่ทราบ การชุมนุมไม่ได้มีการก่อเหตุรุนแรง ใด ๆ แต่ตอนที่เคลื่อนไปหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความวุ่นวายเล็กน้อย ไม่ได้รุนแรง พยานได้มีการวางแผนเตรียมตัวดูแลรักษาความสงบในพื้นที่ชุมนุม โดยจัดกำลังทั้งในและนอกเครื่องแบบจำนวนหลักร้อยคน ส่วนจำนวนชุดควบคุมฝูงชนมีหลักพันคน ซึ่งวางไว้เผื่อเกิดการปะทะ
พยานรับว่า คำปราศรัยของจำเลยที่ 2 ไม่มีการเอ่ยพระนาม ต้องอาศัยการตีความ
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความตอบว่า อ่านคำปราศรัยของจำเลยที่ 2 อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าพูดถึงรัชกาลที่ 10 ไม่ต้องตีความ
(อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 7 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 10-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ระบุพิจารณาถ้อยคำเห็นว่าเป็นความผิด ม.112 – การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ – ไม่ได้ตรวจสอบการแพร่โรค
พ.ต.ต.รัฐภูมิ โมรา สารวัตรสอบสวน สน.ลุมพินี เบิกความว่าในคดีนี้ในวันที่ 19 พ.ย. 2563 ได้รับแจ้งจากผู้กล่าวหาซึ่งมาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับ อานนท์ นำภา และพวก รวมถึงจำเลยทั้งสองในคดีนี้
พยานเบิกความว่า ผู้กล่าวหาแจ้งเรื่องร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับการเมืองโดยไม่แจ้งการชุมนุม ไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรค เหตุเกิดบริเวณแยกราชประสงค์ต่อเนื่องถึงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ ต้องแจ้งการชุมนุม ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง แต่คดีนี้ไม่มีการแจ้ง
พยานเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีข้อกำหนดระบุว่าการชุมนุมทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม ซึ่งในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่สังเกตการณ์และบันทึกภาพเคลื่อนไหวการปราศรัยไว้ มีการแจ้งให้ยุติการชุมนุมโดยผู้กำกับการ สน.ลุมพินี และมีการยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งให้ยุติการชุมนุม ซึ่งศาลพิจารณาแล้วให้ยกคำร้อง
เกี่ยวกับคดีนี้ พยานได้สอบปากคำ ตำรวจผู้กล่าวหา ผู้ถอดเทปคำปราศรัย และส่งเทปบันทึกคำปราศรัยที่ผู้กล่าวหานำมาส่งไปตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว พร้อมจัดทำบัญชีของกลาง แต่ไม่ได้รับแจ้งที่มาของคลิป เห็นว่ามีเพจที่ถ่ายทอดสดการชุมนุม ผู้กล่าวหาน่าจะบันทึกมาจากเพจดังกล่าว
พยานเบิกความว่า จากการพิจารณาถ้อยคำถอดเทป เห็นว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งตามคำสั่งกำหนดแนวทางคดีความมั่นคงเกี่ยวกับมาตรา 112 พยานได้ส่งรายงานการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นถึงตำรวจนครบาล
จากการสอบสวนสรุปข้อเท็จจริง พยานมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสอง ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นส่งสำนวนไปยังศาลแขวง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงปทุมวันเกี่ยวกับการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ช่วงทนายความถามค้าน
พยานรับว่า การชุมนุมแสดงออกในที่สาธารณะของประชาชนเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ กำหนดให้แจ้งการชุมนุม ไม่ใช่การขออนุญาต ในกรณีการชุมนุมคาบเกี่ยวหลายท้องที่ หากเป็นกองบังคับการเดียวกันควรแจ้งผู้บังคับการ แต่หากเป็นกองบังคับการคนละกอง ควรแจ้งต่อผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
พยานเบิกความต่อว่า ในคดีนี้คาบเกี่ยวระหว่าง สน.ปทุมวัน และ สน.ลุมพินี อยู่คนละกองบังคับการ หากไม่แจ้งการชุมนุมต่อสถานีตำรวจโดยตรง ต้องแจ้งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งพยานตรวจสอบแล้วว่าไม่มีการแจ้งการชุมนุมต่อ สน.ลุมพินี แต่ไม่ได้สอบถามหรือทำหนังสือถามว่ามีการแจ้งการชุมนุมที่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือไม่
พยานรับว่า ในทางการสอบสวนปรากฏว่าอานนท์เป็นผู้ประกาศเชิญชวนการชุมนุม ส่วนจำเลยทั้งสองในคดีนี้ไม่มีข้อมูลว่าเป็นผู้นัดหมาย ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้จัดหาเครื่องเสียงเวที เมื่อผู้กำกับการ สน.ลุมพินี ประกาศให้ยุติการชุมนุม ไม่มีผู้ชุมนุมคนใดออกหน้าเจรจา ปรากฏแค่ว่าจำเลยทั้งสองร่วมปราศรัยบนเวที ไม่มีการสั่งการให้ผู้ชุมนุมทำอย่างใดอย่างหนึ่ง และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุให้ผู้มีหน้าที่จัดมาตรการป้องกันโรค คือ ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม
ในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์ชุมนุมเสี่ยงต่อการแพร่โรคหรือไม่นั้น พยานรับว่า ไม่ได้สอบสวนบุคลากรทางสาธารณสุข
พยานรับว่า ในการชุมนุม ไม่มีการปราศรัยให้ก่อความรุนแรง ไม่มีการเผาสถานที่ราชการ ไม่พบเหตุความวุ่นวายบริเวณแยกราชประสงค์ แต่ไปพบที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นอีกคดี การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ และไม่ได้มีการตรวจสอบการแพร่โรคจากการชุมนุม
ช่วงพนักงานอัยการถามติง
พยานเบิกความว่า ทั้ง สน.ลุมพินี และ สน.ปทุมวัน ไม่มีการแจ้งการชุมนุม และในการสอบสวนพบว่าจำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์และการกระทำมากกว่าผู้ร่วมชุมนุมธรรมดา ทำให้คนอื่นเชื่อได้ว่าเป็นมากกว่าผู้ร่วมชุมนุมธรรมดา มีการขึ้นปราศรัย รู้ลำดับคิว รู้ว่าตนเองมีเวลากี่นาที เชื่อว่ามีการแบ่งหน้าที่กันกับผู้จัดการชุมนุม
ทนายความจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ร.ต.อ.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ เป็นพนักงานสอบสวนร่วมในคดีนี้
(อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 10 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 13-11-2023นัด: สืบพยานจำเลย++จำเลยระบุปราศรัยเกี่ยวกับบทบาทของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา ไม่ได้มีเจตนามุ่งร้าย และให้ความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ฯ เฉกเช่นบุคคลทั่วไปกระทำ
สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ จำเลยอ้างตนเป็นพยานและสาบานตนต่อความรู้ที่ร่ำเรียนมา ก่อนเบิกความว่า ปัจจุบันตนเป็นนักศึกษาปริญญาโท ไม่ได้ทำงาน ขณะเกิดเหตุเรียนอยู่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 2 เรียนคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง
พยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 พยานใช้สิทธิและเสรีภาพเข้าร่วมการชุมนุมและปราศรัย โดยไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุม ไม่ทราบว่าอุปกรณ์เครื่องเสียงใครจัดหามา และไม่ได้ตระเตรียมการขึ้นปราศรัย โดยทราบข่าวการชุมนุมี่รัฐสภาเกียกกายจากช่องไทยรัฐทีวี ตามที่อานนท์ นำภา เชิญชวน ซึ่งตนได้ขึ้นปราศรัยเพราะมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชุมนุมพูดในสิ่งที่อัดอั้น พยานจึงใช้สิทธิเสรีภาพในการพูด และทราบว่าจำเลยที่ 2 จะขึ้นปราศรัยคนถัดไปเพราะรู้จักและเป็นเพื่อนกันมาก่อน
พยานเบิกความว่า พื้นที่ชุมนุมเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ตรงบริเวณถนนราชประสงค์ วันเกิดเหตุอากาศปลอดโปร่ง ผู้เข้าร่วมชุมนุมสวมหน้ากาก และพกสเปรย์แอลกอฮอล์ สถานที่ชุมนุมมีห้างสรรพสินค้าและรถไฟฟ้าล้อมรอบ ซึ่งมีอุปกรณ์คัดกรองโรคที่ผู้ชุมนุมต้องผ่านอยู่แล้ว
พยานรับว่า ตนได้ปราศรัยตามเอกสารคำถอดเทปจริง โดยข้อเรียกร้องหลักของพยานคือพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ, เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการใช้ความรุนแรงจากเหตุที่รัฐสภา จึงปราศรัยเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาเรื่องการเมืองการปกครอง ในวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น, การเมืองเปรียบเทียบ และประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย
พยานสรุปหลักการประชาธิปไตยกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไว้ว่า หนังสือชื่อ “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เขียนโดย กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อ้างอิงทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ทิลลี (Charles Tilly) เกี่ยวกับการสร้างชาติว่า ชาติเกิดจากสงคราม แต่อาจารย์กุลลดากล่าวว่า ชาติเกิดจากการขยายตัวของระบอบทุนนิยมโลก ซึ่งมาพร้อมกับระเบียบโลกใหม่ของชาวตะวันตกเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ต่างจากรัฐสมัยเก่าที่เป็นรัฐบรรณาการ ซึ่งเป็นแสงเทียนที่สว่างแค่ไหนก็มีอำนาจมากเท่านั้น
รัฐสมัยใหม่ (Modern State) เกิดจากสงคราม 30 ปี ของยุโรป เป็นสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดการกำหนดเขตแดนเพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งกันกับชาติต่าง ๆ โดยแนวคิดนี้ถูกถ่ายทอดมายังสยาม ไม่ได้มาจากสงครามอย่างที่ ชาร์ลส์ ทิลลี กล่าว รัฐสมัยใหม่ขยายจากอังกฤษ มายังอินเดีย และมายังสยาม ทำให้สยามได้รับเรื่องการกำหนดเขตแดนมากลายเป็นรัฐสมัยใหม่
สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีรัฐบาล ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และขุนนาง มีการตั้งสภาที่ปรึกษารับรูปแบบการปกครองของยุโรป โดยมีสภาช่วยในการตัดสินใจ และทำสำมะโนประชากร ตรงกับรูปแบบรัฐชาติสมัยใหม่ ต่อมาเมื่อสยามถูกคุกคามโดยยุโรป ดังนั้นจึงต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ เพื่อรวมอำนาจในการตัดสินใจ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กล่าวว่า รัฐคือข้าพเจ้า ทำให้พระมหากษัตริย์สามารถออกกฎระเบียบ โยกย้ายคน จัดการเรื่องภาษี และจัดการเรื่องทั้งหมดในรัฐได้
ระบอบดังกล่าวอยู่ได้เพียง 50 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 มีแนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ จำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ไม่ให้ล้นเกิน เนื่องจากรัชกาลที่ 6 มีการสั่งซื้อเรือหลวงสำหรับเข้าร่วมสงครามโลก แต่มีขุนนางติเตียนว่าสยามกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจอยู่ จึงเกิดกลุ่มกบฏ แต่กลุ่มกบฏดังกล่าวล้มเหลว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ จำกัดอำนาจทุกอย่างไม่ให้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นระบบกฎเกณฑ์ของสังคม
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเปลี่ยนเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และต่อมาเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ไม่มีบทบาทในการบริหารประเทศ
พยานเบิกความว่า เรื่องดังกล่าวข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบจากทางรัฐศาสตร์ ยังมีผลงานจากนักวิชาการคนอื่น ๆ ในเรื่องประวัติศาสตร์ระบอบการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งมีการพูดถึงและเผยแพร่เป็นปกติ
พยานชี้แจงว่า มูลเหตุที่ปราศรัยในวันเกิดเหตุ เพราะเหตุที่การเมืองไทยในขณะนั้นเป็นช่วงภายหลังการปกครองของคณะรัฐประหาร (คสช.) ซึ่งพยานอ้างถึงกฎหมายหลายฉบับที่ออกภายใต้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ที่ให้อำนาจแก้ไขกฎหมายและระเบียบบางอย่าง ช่วงเวลาดังกล่าวมีการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์จำนวนมาก เช่น ออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีใจความสำคัญในการโอนย้ายทรัพย์สินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาเป็นในนามของพระองค์ จึงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีการทำประชามติเมื่อปี 2559 ภายหลังได้ยกร่างให้รัชกาลที่ 10 ลงพระปรมาภิไธย แต่พลเอกประยุทธ์แถลงข่าวกับสื่อว่า พระมหากษัตริย์มีกระแสรับสั่งให้แก้ไขบางมาตราเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และมาตราอื่น ๆ ปรากฏตามการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันที่ 13 ม.ค. 2560 ทำให้ประชาชนรับรองโดยการประชามติรัฐธรรมนูญเล่มหนึ่ง แต่ได้อีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ไม่ได้มีที่มาจากประชาชน ขัดต่อหลักประชาธิปไตย
ภายหลังการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการจัดการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มีการยกร่างเสนอ พระราชกำหนดเรื่องการโยกย้ายกำลังพล (พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วน ของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562) ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ การโอนย้ายกำลังพลทหารบางส่วนไปประจำการภายใต้ส่วนราชการในพระองค์ ตามมาตรา 3 โดยในช่วงท้ายเขียนว่า ให้การปฏิบัติภารกิจทั้งปวงตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเห็นว่าไม่สมควรในระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยคือการที่รัฐถือครองอำนาจอธิปไตย และกองทัพใช้ความรุนแรงได้แค่คนเดียว แต่กองกำลังดังกล่าวอยู่ภายใต้พระองค์ ซึ่งเป็นการบริหารภายในองค์กร ไม่มีรัฐบาลเข้าไปตรวจสอบเกี่ยวกับงบประมาณ
ปกติเมื่อมีพระบรมราชโองการ จะต้องมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง ตามมาตรา 195 แต่ในช่วงเวลานั้นมีพระบรมราชโองการ 112 ฉบับ ที่ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่างจากที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น เรื่องการแต่งตั้งถอดถอนนายทหาร การแต่งตั้งพระภิกษุ
นอกจากนี้มีบทความของ ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการกล่าวเรื่องการเปรียบเทียบระบอบการปกครอง ในข่าวของกรุงเทพธุรกิจโดยระบุว่า เป็นห่วงใยต่อเรื่องของหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และห่วงใยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นเครื่องมือของการรัฐประหาร
พยานเบิกความว่า พยานไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่ผ่านมาพยานก็ถวายความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เฉกเช่นบุคคลทั่วไปกระทำ ในอดีตพยานเคยแสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์หลายครั้ง โดยพยานได้นำเอกสารหลักฐานทั้งหมดส่งศาล
(อ้างอิง: คำให้การพยานจำเลย ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 13 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 16-11-2023นัด: สืบพยานจำเลย++iLaw ระบุจากการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินฯ, ระเบียบราชการในพระองค์ และอัตรากำลังพล ในยุคประยุทธ์ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เกินขอบเขต รธน. หรือไม่
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ เบิกความว่า จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณทิตไทย ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร คอยติดตามกระบวนการกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ถ้ามีกฎหมายสำคัญพิจารณาในรัฐสภาก็จะสรุปประเด็นเสนอต่อสาธารณะบนสื่อออนไลน์
พยานเบิกความว่า หลังการรัฐประหารมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายของคณะรัฐประหาร โดยหลังปี 2557 มีการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติออกกฎหมาย ซึ่งสภาดังกล่าวมาจากการเลือกตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต่อมาเดือนมกราคม ปี 2560 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการทำประชามติ แต่ไม่ประกาศใช้ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2557 มาตรา 39 เพื่อให้พระมหากษัตริย์สามารถทำข้อสังเกตในการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และหลังจากนั้นได้พระราชทานข้อสังเกตก่อนการประกาศใช้ใน 7 ประเด็น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหมวด 1 และหมวด 2 เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ปี 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ให้กรรมการเถรสมาคมมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ โดยพระราชอัธยาศัย จากที่แต่เดิมมาจากพระผู้ใหญ่ตามลำดับยศ ซึ่งพยานได้ติดตามและเขียนบทความเผยแพร่ หลังจากมีการแก้ไขดังกล่าว มีการพระราชทานแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช และคณะกรรมการเถรสมาคม
รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 วางหลักว่าให้มีการออกกฎหมายจัดระเบียบราชการในพระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นมาตราที่ไม่เคยมีมาก่อน และต่อมาก็มีการออก พ.ร.ฎ.จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาว่าให้ข้าราชการในพระองค์ทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ ไม่อยู่ในระบบราชการ ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบ ซึ่งพยานได้ทำบทความเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ปี 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 มีการยกเลิกกฎหมายเดิมเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยยกเลิกทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ให้คณะกรรมการบริหารทรัพย์สินมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเดิมมีรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล
ปี 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติยกเลิกกฎหมายดังกล่าวและออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 เปลี่ยนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นทรัพย์สินในพระองค์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีนัยยะ 2 เรื่องดังนี้
1. ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินบางประเภท เช่นพระราชวัง ที่เดิมเป็น สาธารณะสมบัติของพระองค์ เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์
2. เปลี่ยนระบบการจัดการทรัพย์สินให้เป็นของพระมหากษัตริย์ จากเดิมที่กฎหมาย ปี 2491 มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล
ปี 2562 มีการออก พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ให้นำกำลังตำรวจและทหารบางส่วนที่เคยสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงกลาโหมโอนเป็นส่วนราชการในพระองค์ รวมถึงที่ตั้งกรมทหารบางส่วนโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งพยานได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ในเรื่องนี้
พยานเบิกความว่า จากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เกินขอบเขตตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
(อ้างอิง: คำให้การพยานจำเลย ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 16 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 31-01-2024นัด: สืบพยานจำเลย++พยานผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ระบุการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตสามารถกระทำได้ในระบอบประชาธิปไตย ไม่เข้าองค์ประกอบตาม ม.112
ชำนาญ จันทร์เรือง เบิกความว่า ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ และผู้ชำนาญประจำประเทศไทยด้านรัฐศาสตร์ ที่ University of Gothenburg ประเทศสวีเดน และในอดีตเคยเป็นปลัดอำเภอ สังกัดกระทรวงมหาดไทย, เคยเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านการเมืองและกฎหมาย, เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ และเคยเป็นประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
ในประเด็นคำปราศรัยของจำเลยที่มีความเกี่ยวข้องกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรัฐธรรมนูญ ทนายความถามว่า ในฐานะเป็นนักรัฐศาสตร์และกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” มีหลักการอย่างไร พยานตอบว่า หลักการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ทนายความถามว่า การใช้อำนาจดังกล่าวในทางรัฐสภา ตุลาการ คณะรัฐมนตรี หมายถึงอย่างไร พยานตอบว่า พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจดังกล่าวในฐานะเป็นองค์ประมุข ไม่สามารถใช้อำนาจดังกล่าวเองได้ ตุลาการผ่านองค์กรศาล รัฐสภาผ่านรัฐสภา รัฐมนตรีผ่านรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน
ทนายความถามว่า หลักการดังกล่าวแตกต่างกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างไร พยานตอบว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจสูงสุด พระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย สามารถยกเลิกเพิกถอน และสามารถแก้ไขได้โดยพระองค์เอง
พยานเบิกความต่อไปว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศไทยเพิ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐประชาชาติ ก่อนหน้านี้เป็นระบอบปรมิตตาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจในขอบเขตที่จำกัด แต่ในรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ ยกเลิกทาส และประเทศราช ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 เจ้านครต่าง ๆ ก็ปรับเป็นข้าราชการปกครอง การปกครองดังกล่าวไม่ได้มานับแต่อดีตสุโขทัยแต่อย่างใด
ในประเด็นรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ทนายความถามว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีที่มาอย่างไร พยานตอบว่า มาจากหลักปรัชญารัฐศาสตร์เบื้องต้นที่ใช้สำหรับระบอบพระมหากษัตริย์ คือ ‘The King Can Do No Wrong’ คือระบอบกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะทรงไม่กระทำผิดเพราะท่านจะไม่ทรงกระทำการใด ๆ ในทางการเมือง หรือการบริหารราชการแผ่นดิน ‘The king can do no wrong because the king can do nothing’
ทนายความถามว่า มาตรา 6 ดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับมาตรา 3 ก่อนหน้าในประเด็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างไร พยานกล่าวว่า การมีพระบรมราชโองการใช้ผ่านมาตรา 3 แต่มาตรา 6 จะมีมาตรา 182 รองรับ คือ การที่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการกระทำที่เกี่ยวข้องกับกิจการในประเทศ ยกเว้นกิจการในส่วนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 11 แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกล่าวถึงพระบรมราชโองการหลายฉบับไม่มีผู้รับสนอง
ทนายความถามต่อไปว่า การแต่งตั้งองคมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้ใดเป็นผู้รับสนองตามมาตรา 11 พยานตอบว่า ถ้าในส่วนประธานองคมนตรี ผู้รับสนอง คือ ประธานรัฐสภา แต่ในส่วนขององคมนตรี ผู้รับสนอง คือ ประธานองคมนตรี จึงจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ทนายความยื่นพยานเอกสารให้พยานดูเกี่ยวกับพระบรมราชโองการแต่งตั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี และแต่งตั้งองคมนตรีคนอื่น และถามว่า ไม่มีผู้ลงนามรับสนองใช่หรือไม่ พยานตอบว่า เป็นไปตามจริง การแต่งตั้งองคมนตรี 4 ท่านก่อนหน้านี้ ก็ไม่ปรากฏการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่อย่างใดนับแต่ เกษม วัฒนชัย เป็นต้นมา
ทนายความถามว่า ตามมาตรา 6 ถือเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดหรือมีเงื่อนไขว่าพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พยานตอบว่า เป็นความผูกพันขององค์พระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญา โดยในส่วนคดีแพ่งไม่สามารถฟ้องร้องโดยตรงต่อตัวพระองค์ท่าน ต้องผ่านในส่วนของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ทนายความถามว่า ประชาชนจะไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ต่อตัวกษัตริย์ได้เลยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ใช่ แค่เฉพาะการฟ้องร้องดำเนินคดีจะกระทำมิได้ แต่ในส่วนของวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตสามารถกระทำได้ในระบอบประชาธิปไตย และไม่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา 112
.
หลังสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 มี.ค. 2567
(อ้างอิง: คำให้การพยานจำเลย ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/65795) -
วันที่: 25-03-2024นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 405 ครอบครัวของสิรภพ เพื่อน และประชาชนทั่วไปเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาและให้กำลังใจสิรภพกว่า 10 คน
เวลาประมาณ 09.45 น. ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดี และกล่าวสั้น ๆ ว่า ศาลว่าไปตามพยานหลักฐาน หากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาก็สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายต่อไป และก่อนอ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปดังนี้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 (สิรภพ) กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกว่า เป็นผู้ประสงค์จัดการชุมนุมแต่ไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าก่อน 24 ชั่วโมง และไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
เห็นว่า บุคคลที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบแจ้งการชุมนุมและจัดให้มีมาตรการป้องกันโรค คือ ผู้จัดการชุมนุม แต่จำเลยที่ 1 กับพวกเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คู่ความนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำการตามที่ปรากฏในคลิปวีดีโอและคำถอดเทปการปราศรัย พยานโจทก์ซึ่งเป็นตำรวจที่ไปสังเกตการณ์การชุมนุมเบิกความตรงกันว่า ในการชุมนุมมีผู้ขึ้นปราศรัยรวม 7 คน จำเลยที่ 1 กล่าวพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และกล่าวถึงรัชกาลที่ 10
เห็นว่า ข้อความที่จำเลยปราศรัยทำให้เข้าใจได้ว่าหมายถึงรัชกาลที่ 10 และไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามรัฐธรรมนูญ จำเลยที่ 1 กล่าวปราศรัยโดยใช้ถ้อยคำต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้จะต่อสู้ว่า กล่าวถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้กล่าวร้ายพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 กล่าวหาว่า พระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ เป็นการมิบังควร จาบจ้วง ให้ร้าย ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ไม่ใช่การติชมโดยสุจริตตามที่บุคคลปกติพึงกระทำ
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน คือ ณัทกร ธรรมาวุฒิกุล
.
หลังศาลมีคำพิพากษา สิรภพได้ฝากข้อความเผยแพร่ต่อสาธารณะว่า “ถึงแม้คำตัดสินจะเป็นเช่นนี้ แต่การเดินทางยังไม่สิ้นสุด” และถูกเจ้าหน้าที่ศาลเข้ามาควบคุมตัวลงไปที่ห้องขังของศาลในทันที ก่อนที่ทนายความจะยื่นขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์
ต่อมา ราว 12.30 น. ศาลมีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 2-3 วัน ทำให้ในวันนี้ สิรภพต้องถูกนำตัวไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทำให้ยอดผู้ต้องขังทางการเมืองมีจำนวนรวมถึง 45 คน แล้ว
ทั้งนี้ น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้ในคดีมาตรา 112 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งมีเหตุจากการปราศรัยและจำเลยเป็นนักศึกษา ได้แก่ คดีของเบนจา อะปัญ และ “มายด์” ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ศาลพิพากษาให้รอลงอาญาในทั้งสองคดี โดยนำเหตุที่จำเลยยังศึกษาอยู่มาประกอบการวินิจฉัย
ต่อมา วันที่ 27 มี.ค. 2567 เวลา 14.25 น. ศูนย์ทนายฯ ได้รับแจ้งว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของสิรภพว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง ลักษณะการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/65851) -
วันที่: 17-04-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2เวลา 13.45 น. ทนายความได้ยื่นประกันตัวขนุนระหว่างอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ต่อมาเวลา ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งให้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา
คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ ระบุขอวางหลักประกันจํานวน 300,000 บาท อันเป็นจํานวนเงินที่สูงและเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ และเสนอมารดาของจำเลยเป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาลและมาตามนัดหมายของศาล
นอกจากนี้ หากศาลเห็นว่ามีความจําเป็นต้องกําหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวใด ๆ ตามกฎหมาย จําเลยยินดีปฏิบัติตามคําสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด และคำร้องดังกล่าวยังอ้างเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย สามารถสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก คดีนี้จําเลยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและยืนยันต่อสู้คดีมาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณา จําเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคําพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีความประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาดังกล่าวเพื่อต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด เพราะจำเลยเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และเชื่อมั่นว่าศาลจะอํานวยความยุติธรรมให้กับคู่ความทุกฝ่ายในคดีรวมทั้งจําเลย
ประการที่สอง ศาลนี้เคยมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา จําเลยไม่เคยกระทําผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่ศาลกําหนด และไม่เคยถูกเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวในคดีนี้
ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหากจําเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์จําเลยจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นหรือจะหลบหนีแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ปรากฏเหตุและพฤติการณ์ใด ๆ ของจําเลยที่เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ที่ศาลจะไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
จึงขอให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคําร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยยึดถือหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนศาลมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดและจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่กระทบเสรีภาพของจําเลย
ประการที่สาม ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ.2565 ข้อ 24 กําหนดว่า “กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจําเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใด ๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา หรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่งในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจําเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราว ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใด ๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอํานาจอาจมีคําสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงื่อนไขหรือมาตรการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้”
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี โดยจําเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมาโดยตลอดและไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี จึงขอให้ศาลได้โปรดมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยในระหว่างอุทธรณ์ ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 เพื่อยืนยันและคุ้มครองสิทธิของจําเลยในการที่จะมีสิทธิได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม โดยไม่จำต้องส่งคําร้องขอปล่อยชั่วคราวจําเลยไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งคําร้อง
ประการที่สี่ จําเลยเป็นผู้มีภูมิลําเนาถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน อีกทั้งหากมีความจำเป็นก็สามารถติดตามจำเลยได้โดยง่าย การคุมขังตัวจําเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์เป็นการกระทําเกินสมควรแก่เหตุและเกินความจําเป็นแก่กรณี หากต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับยกฟ้องจำเลยก็มิอาจ เยียวยาหรือบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่จำเลยได้
ทั้งนี้ จำเลยเป็นผู้มีความประพฤติดี ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับดีและเหมาะสมต่อการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับการศึกษามหาบัณฑิต
จำเลยจึงได้สมัครเข้าศึกษาที่สถาบันพัฒนาภาษาอังกฤษ AUA language center ตั้งแต่ มี.ค. 2565 มาจนถึงปัจจุบัน และจำเลยมีแผนที่จะสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตต่อไป
ประการที่ห้า จําเลยอาศัยอยู่ในบ้านร่วมกับมารดา อายุ 52 ปี, บิดา อายุ 62 ปี และน้องชายอายุ 20 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งครอบครัวจำเลยเป็นเพียงครอบครัวเล็ก ๆ ที่ต้องคอยดูแลกันและกัน ประกอบกับบิดาและมารดาของจำเลยได้ล่วงเข้าสู่วัยชราที่ต้องคอยมีลูกชายคนโตคอยดูแลช่วยเหลือเป็นธุระจัดการงานหลายส่วนภายในบ้าน
นอกจากนี้ จําเลยยังมีความพยายามในการหาเลี้ยงดูตนเอง ด้วยการทำงานผู้ช่วยทนายความเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ ทั้งเป็นการสร้างรายได้หาเลี้ยงชีพตนเองไม่ให้รบกวนบิดามารดาอีกด้วย หากจําเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ย่อมส่งผลกระทบต่อบิดามารดาและอนาคตในการประกอบอาชีพโดยสุจริตของจําเลยเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมา วันที่ 19 เม.ย. 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยระบุเหตุผลว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ข้อหามีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน กรณีถือว่าร้ายแรง ประกอบกับศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยที่ 1 จะหลบหนี ศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง
(อ้างอิง: คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.643/2567 ลงวันที่ 17 เม.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/66359) -
วันที่: 22-05-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3ทนายความได้ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ซึ่งอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีจำนวน 16 ราย ได้แก่ อานนท์, ถิรนัย, ชัยพร, ประวิตร, มงคล, ขจรศักดิ์, คเชนทร์, ไพฑูรย์, สุขสันต์, อุกฤษฏ์, วีรภาพ, จิรวัฒน์, ณัฐนนท์, ทานตะวัน, อัฐสิษฎ และสิรภพ
การยื่นประกันตัวครั้งดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการทำรัฐประหาร ที่นำมาซึ่งการถูกดำเนินคดีทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บรรดาองค์กรทางกฎหมายได้นิรโทษกรรมให้กับคณะผู้ทำรัฐประหารที่ทำลายระบบนิติรัฐของประเทศ
ในโอกาสนี้ ผู้ต้องขังจำนวน 16 ราย จึงประสงค์ที่จะยื่นประกันตัว เพื่อตอกย้ำว่ายังมีคนที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวขั้นพื้นฐาน และเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเพื่อนผู้ต้องขังที่เพิ่งเสียชีวิตไปอย่างไม่มีวันกลับอย่าง ‘บุ้ง เนติพร’
คำร้องขอประกันในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ในคดีนี้ เสนอหลักประกันจำนวน 300,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญถึงหลักการที่จำเลยมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งบัญญัติรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29
การที่จำเลยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวและต้องถูกคุมขังในระหว่างการต่อสู้คดีทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด ถือเป็นการลงโทษจำเลยเสมือนว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดไปแล้ว แม้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจำเลย ก็มิอาจบรรเทาผลร้ายเกินสมควรที่เกิดขึ้นกับจำเลย และครอบครัวในระหว่างถูกคุมขังได้ ดังเช่นในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับจำเลยทั้งสี่และครอบครัวในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2536 รวมถึงในกรณีเนติพร เสน่ห์สังคม ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมตัวของรัฐในระหว่างการพิสูจน์ความรับผิดทางกฎหมาย เป็นผลร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหนทางที่จะบรรเทาผลร้ายได้แต่อย่างใด
หลังทนายยื่นคำร้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ส่งคำร้องขอประกันสิรภพในคดีนี้ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ก่อนที่ 2 วันต่อมา คือวันที่ 24 พ.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันสิรภพ โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง ลักษณะการกระทำที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.643/2567 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67671) -
วันที่: 30-05-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 4ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ในคดีมาตรา 112 จำนวน 3 คน อีกครั้ง ได้แก่ จิรวัฒน์, อานนท์ นำภา และสิรภพ ซึ่งยื่นประกันเป็นครั้งที่ 4
โดยศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกเช่นเคย ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันสิรภพ โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง การกระทำที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องมีลักษณะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.643/2567 ลงวันที่ 29 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67671) -
วันที่: 18-06-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 5อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายื่นประกันสิรภพระหว่างอุทธรณ์อีกครั้ง โดยครั้งนี้ระบุเหตุผลสำคัญว่า จำเลยได้วางแผนเข้าศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์จึงทำให้สูญเสียโอกาสการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตและสูญเสียโอกาสที่จะนำความรู้ความสามารถไปช่วยเหลือสังคมส่วนรวมต่อไป
ที่สำคัญ หากศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราวเพื่อให้จำเลยไปศึกษาต่อ จำเลยให้คำมั่นว่าจะมาตามนัดของศาล และไม่กระทำการลักษณะเดียวกับคดีนี้อีก โดยเสนอมารดา และสามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจำเลยให้ความเคารพ เป็นผู้ขอกำกับดูแลจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและเงื่อนไขปล่อยชั่วคราวอย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญากรุงเทพใต้ยังคงส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และในวันต่อมา ศาลอุทธรณ์ยังคงไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวเช่นเดิม โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยที่ 1 จะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุทีจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.643/2567 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68118) -
วันที่: 10-07-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 6ทนายความยื่นคำร้องขอประกันสิรภพระหว่างอุทธรณ์ในคดีนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เป็นครั้งที่ 6 ระบุในคำร้องโดยสรุปว่า ขอวางหลักประกันจํานวน 500,000 บาท และยินยอมให้ติด EM อันเป็นหลักประกันที่สูงและน่าเชื่อถือได้ว่า หากจำเลยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวแล้วจะไม่หลบหนี ไม่หลีกเลี่ยงมาศาลตามหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลจะกำหนดขึ้น
คำร้องระบุอีกว่า คดีของจำเลยยังไม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิด จำเลยจึงยังไม่ถูกเพิกถอนสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เนื่องจากจำเลยมีประเด็นต่อสู้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
นอกจากนั้น จำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ทั้งจำเลยเคยได้รับการประกันตัวในชั้นพิจารณาคดี ระหว่างนั้นจำเลยให้ความร่วมมือต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และเข้ารับฟังการพิจารณาตามสิทธิของจำเลยในคดีอาญาโดยตลอด ไม่เคยทำผิดเงื่อนไข และไม่เคยถูกเพิกถอนการประกันตัวในคดีนี้
อีกทั้งจำเลยอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัว บิดามารดาล่วงเข้าสู่วัยชราต้องมีจำเลยซึ่งเป็นลูกชายคนโตคอยดูแลช่วยเหลือ เป็นธุระจัดการงานหลายส่วนในบ้าน จึงไม่มีเหตุอันใดหากศาลให้โอกาสจำเลยกลับไปช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหน้าที่แก่บิดามารดา แล้วจำเลยจะหลบหนีไป
หลังทนายความยื่นขอประกันตัว ศาลอาญากรุงเทพใต้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา โดยในวันที่ 13 ก.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา พฤติการณ์แห่งคดี และโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ข้อหามีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และตามพฤติการณ์ยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
ผลของคำสั่งดังกล่าวทำให้สิรภพยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป หลังถูกคุมขังมาแล้วเกือบ 4 เดือน
(อ้างอิง: คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.841/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.643/2567 ลงวันที่ 10 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68666) -
วันที่: 01-08-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 7ขนุนแจ้งว่า เขาได้ลองยื่นขอประกันตัวเองจากภายในเรือนจำ โดยมีทนายอานนท์ช่วยดูคำร้องขอประกัน ตอนนี้เรื่องน่าจะอยู่ที่ฝ่ายทะเบียนของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อยากให้คอยติดตามว่าคำร้องจะถูกส่งไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันพรุ่งนี้ (2 ส.ค.) หรือหลังจากนั้นหรือไม่ โดยอยากให้ทางเรือนจำเร่งส่งคำร้องไปถึงศาล
ขนุนบอกว่าการยื่นประกันตัวในครั้งนี้ ยังได้ขอให้ศาลทำการไต่สวนเพื่อประกอบการพิจารณาคำร้องว่า เขาไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี และจะเดินทางไปศาลในนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยอ้างอิงถึงบุคคล 3 คน ที่พร้อมให้การรับรอง และเข้าไต่สวนหากศาลสั่ง ได้แก่ แม่ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขนุนมีความหวังว่า ศาลจะนัดไต่สวน และอนุญาตให้ประกันตัวเสียที เพราะอยากออกไปใช้ชีวิตข้างนอกแล้ว โดยเขาคาดหวังว่าจะได้สมัครเรียนปริญญาโทใหม่อีกครั้งในช่วงปีหน้า ซึ่งก็ต้องสมัครตั้งแต่ในช่วงปีนี้ และต้องมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการสอบต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามของญาติและทนายความ พบว่า คำร้องของขนุนถูกส่งจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันที่ 5 ส.ค. 2567 และศาลอาญากรุงเทพใต้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเช่นทุกครั้ง
ต่อมา วันที่ 9 ส.ค. 2567 ขนุนได้รับทราบคำสั่งของศาลที่ส่งไปที่เรือนจำ ระบุว่า คดีอัตราโทษสูง ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ประกันมาแล้วหลายครั้ง กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/68933) -
วันที่: 22-08-2024นัด: ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันขนุนได้เขียนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอุทธรณ์ด้วยลายมือตนเอง เพื่อยื่นต่อศาลฎีกา ระบุเหตุผลสำคัญเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาในระดับปริญญาโท เพื่อนำความรู้ความสามารถมาใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและต่อสังคมในอนาคต รวมถึงเหตุผลที่ตนไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี ทั้งยินดีวางหลักทรัพย์และปฏิบัติตามเงื่อนไขประกันตามที่ศาลเห็นสมควร
อย่างไรก็ตาม แม่ของขนุนและทนายได้รับแจ้งว่า คำร้องของขนุนซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อน จะถูกส่งจากเรือนจำไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันนี้ (27 ส.ค. 2567) ซึ่งเมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วจะต้องดำเนินการส่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาต่อไป โดยอาจจะใช้เวลาอีก 2-3 วัน กว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่ง และคำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งไปให้ขนุนที่อยู่ในเรือนจำรับทราบ
คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งขนุนส่งทางโดมิเมล (Domi Mail) มาให้แม่มีเนื้อหาดังนี้
1. คดีนี้กระผมได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ปัจจุบันกระผมถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาแล้วเป็นเวลา 5 เดือน ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่า คดีของผมมีอัตราโทษสูง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
2. กระผมไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงได้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
2.1 กระผมอยู่ในวัยกำลังศึกษา โดยกำลังศึกษาในระดับชั้นปริญญาโท ซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้าเรียนและค้นคว้าในห้องสมุด รวมทั้งสื่อที่มีความเหมาะสมอันมีแหล่งควรรู้อื่น ๆ โดยก่อนหน้านี้ในระดับปริญญาตรี กระผมสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาปริญญาโทในคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกำลังจะโอนย้ายไปเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระหว่างนี้กระผมได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยวิจัยกับอาจารย์หลายท่าน เช่น อาจารย์อนุสรณ์ อุณโณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจน์กิจ อันเป็นงานที่กระผมรักและทำได้ดี
ทั้งนี้ ในคำร้องของกระผมที่ศาลอุทธรณ์ปฏิเสธ ได้ขอให้ศาลไต่สวนอาจารย์ข้างต้นแล้ว หากแต่ศาลอุทธรณ์ยังเห็นควรยกคำร้องเสีย ซึ่งทำให้กระผมในวัยกำลังศึกษาพลาดโอกาสในการศึกษา และต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำในขณะนี้ กระผมจึงขอให้ศาลฎีกาได้เมตตากระผมในความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเล่าเรียน เพื่อนำความรู้ความสามารถมาใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและต่อสังคมในอนาคตด้วย
2.2 กระผมไม่มีพฤติการณ์หลบหนี การใช้ชีวิตนอกจากจะช่วยเหลือครู-อาจารย์ ในการทำวิจัยแล้ว ก็จะขลุกตัวเองอยู่กับตำราในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ในการต่อสู้คดีกระผมก็ให้ความร่วมมือต่อการสอบสวนและต่อการพิจารณาคดีของศาลมาโดยตลอด และเดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลด้วยความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
ปัจจุบันกระผมอาศัยอยู่กับบิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ดูแลและปกครอง หากศาลฎีกาประสงค์จะให้ทั้งสองมาไต่สวนประกอบก็เป็นการสะดวกที่จะเดินทางมาศาลได้ทุกเมื่อ โดยกระผมและผู้ดูแลปกครองทั้งสองอาศัยตามที่อยู่ที่แน่นอนมั่นคงตามทะเบียนราษฎร ซึ่งหากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมสามารถส่งหมายเรียกหรือเอกสารอื่นได้โดยสะดวก กระผมขอให้คำมั่นว่าจะเดินทางมาศาลและปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
2.3 กระผมยินดีจะให้ศาลออกข้อกำหนด มาตรการ หรือเงื่อนไขประกอบการปล่อยชั่วคราวโดยติด EM และขอให้คำมั่นว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับมาตรา 112 รวมทั้งไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือการอื่นใดอันอาจกระทบต่อกระบวนการพิจารณาของศาล และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ กระผมยินดีวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดตามจำนวนที่ศาลกำหนด และขอสาบานว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด ขอศาลฎีกาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ด้วย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/69409)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชูเกียรติ แสงวงค์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ณัทกร ธรรมาวุฒิกุล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
25-03-2024
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์