ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1537/2564
แดง อ.3153/2565
ผู้กล่าวหา
- กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1537/2564
แดง อ.3153/2565
ผู้กล่าวหา
- กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ความสำคัญของคดี
สุทธิเทพ (สงวนนามสกุล) อายุ 22 ปี ถูกดำเนินคดีในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยถูกกระทรวงดิจิตอลฯ กล่าวหาว่า โพสต์ข้อความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในกลุ่มเฟซบุ๊ก “คณะประชาชนปลดแอก” สุทธิเทพให้การปฏิเสธ และได้รับการประกันตัวทั้งในชั้นสอบสวนและระหว่างพิจารณาคดี ใช้เงินสด 90,000 บาทเป็นหลักประกัน โดยศาลอาญากำหนดเงื่อนไข “ห้ามใช้สื่อสังคมออนไลน์ดูหมิ่นผู้ใด”
นับตั้งแต่มีการนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้กับผู้ที่แสดงออกทางการเมืองตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา คดีนี้นับเป็นคดีที่ 8 ที่กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นผู้แจ้งความ และเป็นกรณีที่ 13 ที่ศาลออกหมายจับ โดยกรณีนี้ ปอท.ได้ออกหมายเรียกก่อน แต่หมายส่งไปที่บ้านซึ่งสุทธิเทพไม่ได้อยู่ ทำให้เขาไม่ได้รับหมายและไม่ได้ไปตามหมายเรียก
นับตั้งแต่มีการนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้กับผู้ที่แสดงออกทางการเมืองตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา คดีนี้นับเป็นคดีที่ 8 ที่กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นผู้แจ้งความ และเป็นกรณีที่ 13 ที่ศาลออกหมายจับ โดยกรณีนี้ ปอท.ได้ออกหมายเรียกก่อน แต่หมายส่งไปที่บ้านซึ่งสุทธิเทพไม่ได้อยู่ ทำให้เขาไม่ได้รับหมายและไม่ได้ไปตามหมายเรียก
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
จุลพงษ์ พวงสุวรรณ พนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสุทธิเทพ บรรยายคำฟ้องโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดไม่ได้”
เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 จำเลยได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางเฟซบุ๊ก ด้วยการใช้บัญชีเฟซบุ๊กของจำเลย และโพสต์ข้อความในกลุ่ม “คณะประชาชนปลดแอก – Free People” ซึ่งมีการตั้งค่าเป็นสาธารณะและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
เนื้อหาของข้อความเป็นการประชดประชันคำกล่าวอ้างของกลุ่มรักเจ้าว่า การวิพาษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยจะทำให้ตกนรก โดยมีข้อความบางส่วนระบุว่า “ถ้าการด่าเจ้า วิจารณ์วิพากษ์วิจารณ์เจ้าแล้วมันต้องตกนรก เอาว่ะ กูยอมตกนรก […ข้อความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์…]”
อันเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และข้อมูลที่จำเลยนำเข้ายังถือเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2564)
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดไม่ได้”
เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 จำเลยได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางเฟซบุ๊ก ด้วยการใช้บัญชีเฟซบุ๊กของจำเลย และโพสต์ข้อความในกลุ่ม “คณะประชาชนปลดแอก – Free People” ซึ่งมีการตั้งค่าเป็นสาธารณะและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
เนื้อหาของข้อความเป็นการประชดประชันคำกล่าวอ้างของกลุ่มรักเจ้าว่า การวิพาษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยจะทำให้ตกนรก โดยมีข้อความบางส่วนระบุว่า “ถ้าการด่าเจ้า วิจารณ์วิพากษ์วิจารณ์เจ้าแล้วมันต้องตกนรก เอาว่ะ กูยอมตกนรก […ข้อความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์…]”
อันเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และข้อมูลที่จำเลยนำเข้ายังถือเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 09-04-2021นัด: จับกุมเวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมนำโดย พ.ต.ต.พิเชต ชมมณฑา สว.กก.2 กองบังคับการปราบปราม และ พ.ต.ต.กิตติพงศ์ อมฤตโอฬาร จากกองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กก.3 บก.ปอท.) เข้าจับกุมสุทธิเทพในห้างสรรพสินค้าย่านรามอินทรา ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 498/2564 ลงวันที่ 12 มี.ค. 2564 ในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนควบคุมตัวไปที่กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม (กก.2 บก.ป.) เพื่อทำบันทึกจับกุมและบันทึกตรวจยึด
ในบันทึกการจับกุมบรรยายพฤติการณ์ในการจับกุมว่า “เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดจับกุม ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ออกสืบสวนติดตามจับกุมบุคคลตามหมายจับดังกล่าว และได้รับข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ จนทราบว่าผู้ถูกจับได้มาทํางานอยู่ใกล้เคียงบริเวณสถานที่จับกุม”
“ต่อมาวันนี้ 9 เม.ย. 2564 เวลาประมาณ 11.30 น. จึงได้เดินทางไปสังเกตการณ์เพื่อทําการจับกุม จนกระทั่งพบผู้ถูกจับ มีตําหนิรูปพรรณตรงกับผู้กระทําความผิดตามหมายจับ จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจและแสดงหมายจับให้ผู้ถูกจับดูจนเป็นที่พอใจแล้ว และผู้ถูกจับให้การยอมรับว่าตนเองเป็นบุคคลเดียวกับบุคคลตามหมายจับนี้จริง และยังไม่เคยถูกจับในหมายจับนี้มาก่อน เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาตามหมายจับและสิทธิของผู้ถูกจับให้ทราบ และแจ้งว่าต้องถูกจับ โดยผู้ถูกจับไม่ขอให้การในชั้นจับกุม”
ตำรวจชุดจับกุมยังได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของสุทธิเทพไปจำนวน 1 เครื่อง พร้อมซิมการ์ดไว้เป็นของกลาง
หลังทำบันทึกจับกุมเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวสุทธิเทพมาที่กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กก.3 บก.ปอท.) เพื่อแจ้ง 2 ข้อหา ได้แก่ ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (3)
โดยข้อความที่ถูกกล่าวหา ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้แจ้งความ เป็นการโพสต์ในกลุ่ม “ประชาชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ มีข้อความบางตอนว่า “ถ้าวิจารณ์เจ้าแล้วตกนรก กูยอมตกนรก […ข้อความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์…]”
สุทธิเทพให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา หลังสอบปากคำ พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวสุทธิเทพไปขังที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยจะนำตัวไปขออำนาจศาลอาญาฝากขังในวันรุ่งขึ้น
กรณีของสุทธิเทพนี้จากการสอบถามตำรวจและสุทธิเทพพบว่า ปอท.ได้ออกหมายเรียกก่อน แต่หมายส่งไปที่บ้านซึ่งสุทธิเทพให้คนอื่นเช่า และไม่มีใครบอกเขา ทำให้เขาไม่ทราบและไม่ได้ไปตามหมายเรียก เจ้าหน้าที่ ปอท.จึงไปขอศาลอาญาออกหมายจับดังกล่าว
นับตั้งแต่มีการนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา คดีนี้นับเป็นคดีที่ 8 ที่มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ และเป็นกรณีที่ 13 ที่ศาลออกหมายจับ
(อ้างอิง: หมายจับ ศาลอาญา ที่ 498/2564 ลงวันที่ 12 มี.ค. 2564, บันทึกจับกุม กก.2 ปก.ป. ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28206) -
วันที่: 10-04-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 1ที่ศาลอาญา รัชดา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอท.นำตัว สุทธิเทพไปขอฝากขังระหว่างการสอบสวน ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเงินสดจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ อีกทั้งยังระบุในคำร้องว่าพฤติการณ์แห่งคดีนี้นั้นยังเป็นการกล่าวหาของพนักงานสอบสวนฝ่ายเดียว และผู้ต้องหาพร้อมจะต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลต่อไป อีกทั้งผู้ต้องหายังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และให้ความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด ผู้ต้องหายังเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐานได้ โดยพยานหลักฐานในคดีนี้ พนักงานสอบสวนก็ได้รวบรวม และอยู่ในความครอบครองแล้วทั้งสิ้น
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตามที่พนักสอบสวนยื่นคำร้อง ก่อนที่ในช่วงบ่ายอนุญาตให้ประกันตัว กำหนดวงเงินประกัน 90,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข “ห้ามใช้สื่อสังคมออนไลน์ดูหมิ่นผู้ใด” และนัดรายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค. 64 เวลา 08.30 น.
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1, คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 10 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28225) -
วันที่: 28-05-2021นัด: รายงานตัวสุทธิเทพเดินทางมารายงานตัวต่อศาลอาญาตามนัด ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปในวันที่ 9 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 09-06-2021นัด: รายงานตัวสุทธิเทพเดินทางมารายงานตัวต่อศาลอาญาตามนัด ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปในวันที่ 21 มิ.ย. 2564 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 21-06-2021นัด: รายงานตัวสุทธิเทพเดินทางมารายงานตัวต่อศาลอาญาตามหมายนัด ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปในวันที่ 5 ก.ค. 2564 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 02-07-2021นัด: ยื่นฟ้องจุลพงษ์ พวงสุวรรณ พนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3) ยื่นฟ้องสุทธิเทพต่อศาลอาญา คำฟ้องของอัยการระบุว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 จำเลยได้โพสต์ข้อความในกลุ่ม “คณะประชาชนปลดแอก – Free People” เนื้อหาของข้อความเป็นการประชดประชันคำกล่าวอ้างของกลุ่มรักเจ้าว่า การวิพาษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยจะทำให้ตกนรก “ถ้าการด่าเจ้า วิจารณ์วิพากษ์วิจารณ์เจ้าแล้วมันต้องตกนรก เอาว่ะ กูยอมตกนรก […ข้อความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์…]” ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันกษัตริย์ ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ และข้อความที่โพสต์ยังเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
ท้ายคำฟ้องอัยการได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้มีอัตราโทษสูง และเป็นคดีความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31762) -
วันที่: 05-07-2021นัด: รายงานตัว (รับทราบฟ้อง)สุทธิเทพ เดินทางมารายงานตัวต่อศาลตามนัด หลังครบกำหนดฝากขัง 84 วัน และรับทราบคำฟ้อง ซึ่งอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาล จากนั้นผู้พิพากษาได้สอบถามคำให้การจำเลยเบื้องต้น โดยสุทธิเทพได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 9 ส.ค. 64 เวลา 09.00 น.
ต่อมา ทนายได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์เดิมที่เคยวางเป็นหลักประกันในชั้นสอบสวน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีในเวลาต่อมา
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 25 ที่อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล และเป็นคดีที่ 8 ที่มีกระทรวงดิจิตัลเป็นผู้เข้าแจ้งความ นับตั้งแต่การกลับมาใช้มาตรานี้เพื่อดำเนินคดีกับผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เมื่อปลายปี 2563
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31762) -
วันที่: 08-11-2021นัด: ตรวจพยานหลักฐานนัดตรวจพยานหลักฐานที่เลื่อนมาจากวันที่ 9 ส.ค. 2564 ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานวันที่ 7-9 ก.ย. 2565
-
วันที่: 07-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์สุทธิเทพพร้อมทนายจําเลยเดินทางมาศาลตามนัด หลังศาลออกพิจารณาคดี จําเลยแถลงขอถอนคําให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และขอให้การรับสารภาพ ตามคําให้การจําเลยที่ได้ยื่นในวันนี้ อัยการและทนายจําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจําเลย แล้วรายงานต่อศาลภายใน 15 วัน นัดฟังคําพิพากษาวันที่ 8 พ.ย. 2565 เวลา 09.30 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2565)
-
วันที่: 08-11-2022นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดี 712 สุทธิเทพเดินทางมาฟังคำพิพากษาคนเดียว เขาเปิดเผยว่า ตนเองมีความกังวลเกี่ยวกับแมวที่เลี้ยงไว้ หากเขาไม่ได้กลับบ้านในวันนี้ แมวของเขาที่อยู่บ้านเพียงลำพังคงจะไม่มีใครมาดูแลต่อ เพราะเขาไม่ได้ไหว้วานใครให้ช่วยเหลือเรื่องนี้เป็นพิเศษ
เวลา 09.30 น. เจ้าหน้าที่ประจำห้องพิจารณาเดินมาแจ้งกับสุทธิเทพว่า ศาลจะยังไม่อ่านคำพิพากษาของเขาในเวลาดังกล่าว เนื่องจากศาลยังคงปรึกษากันอยู่ และยังจะไม่เสร็จสิ้นในเร็วๆ นี้ จึงขอให้เขาออกไปรับประทานอาหารรอก่อน
ต่อมา 11.50 น. ศาลออกพิจารณาคดี โดยเรียกให้จำเลยลุกขึ้นรายงานตัวเพื่อฟังคำพิพากษา ก่อนอ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน
ศาลเห็นว่า แม้ว่าจำเลยจะไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่จากรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ ระบุถึงเหตุการณ์ที่ฝ่ายความมั่นคงได้เข้ารักษาความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันในเส้นทางของขบวนเสด็จ ทำให้เพื่อนของจำเลยที่ร่วมชุมนุมได้รับบาดเจ็บ จำเลยไม่พอใจจึงได้โพสต์ข้อความดูหมิ่นกษัตริย์ การกระทำของจำเลยทำให้ประชาชนเข้าใจผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา พฤติการณ์กระทำความผิดเป็นเรื่องร้ายแรง กรณีไม่สมควรรอการลงโทษ
หลังศาลอ่านคำพิพากษาจบ สุทธิเทพถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ใส่กุญแจมือทันที ก่อนที่เขาจะชูมือสองนิ้วขึ้นมาเพื่อให้กำลังใจตัวเอง “ผมยังสู้อยู่ครับ”
สำหรับสุทธิเทพ ในวัย 23 ปี เขาได้เปิดเผยความรู้สึก ตั้งแต่ที่ถูกจับกุมและเข้ากระบวนการสู้คดี จนกระทั่งตัดสินใจยอมรับสารภาพว่า “ผมเสียโอกาส ผมอยากกลับไปเรียนต่อก็ไม่กล้า ผมไม่รู้ว่าจะต้องเข้าไปในคุกวันไหน ผมไม่กล้าทำอะไรเลยที่มันเป็นแผนระยะยาวในชีวิตนี้” สุทธิเทพอธิบายว่ามาตรา 112 ทำร้ายความฝันและอนาคตเขาไปหมดตั้งแต่วันที่ตัวเองได้ทราบว่าถูกจับในข้อกล่าวหานี้แล้ว
“ผมทำใจมาแล้วส่วนหนึ่ง ผมห่วงเรื่องเดียวคือแมวของผม เราไม่มีครอบครัว ไม่มีภาระอยู่แล้ว” สุทธิเทพกล่าวด้วยแววตากังวล
เมื่อถามว่าอยากฝากความเห็นอะไรต่อกระบวนการยุติธรรมที่เขาได้เผชิญอยู่บ้าง สุทธิเทพจึงได้ทิ้งทวนไว้ว่า
“ให้กฎหมายมันเป็นกฎหมายเถอะครับ ม.112 ไม่ใช่กฎหมาย มันคือกฎหมู่ที่เอาไว้ปิดปากคนเห็นต่าง แต่ถ้าคุณยังยืนยันว่านี่คือกฎหมาย ผมก็จะยืนยันต่อสู้กับกฎหมายนี้”
ต่อมาเวลา 16.52 น. ศาลอนุญาตให้ประกันตัวสุทธิเทพระหว่างอุทธรณ์ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการประกันตัวในชั้นนี้ แต่ให้วางหลักทรัพย์เพิ่ม 10,000 บาท จากเดิมที่เคยได้รับการประกันตัวในชั้นพิจารณาคดีจำนวน 90,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1537/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.3153/2565 ลงวันที่ 8 พ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50306) -
วันที่: 10-04-2023นัด: จำเลยยื่นอุทธรณ์สุทธิเทพได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลอาญา โดยขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษ
-
วันที่: 25-01-2024นัด: ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เวลา 09.10 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 712 สุทธิเทพเดินทางมาถึงหน้าห้องพิจารณาคดี เขาเปิดเผยว่าตัวเองมีความกังวลถึงการฟังคำพิพากษาในวันนี้ แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เขายืนยันว่าตัวเองไม่คิดจะหนี และอยากจะอยู่รอฟังให้ถึงที่สุดว่าศาลจะยุติธรรมกับเขาหรือไม่
ต่อมาเวลา 10.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดี โดยเรียกให้จำเลยลุกขึ้นรายงานตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ก่อนอ่านคำพิพากษา มีใจความโดยสรุปว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่หนักที่สุดคือมาตรา 112 จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ จึงเป็นเหตุให้มีการบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่งคงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา
ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนแล้วมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า สมควรลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน และไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดอาญาในลักษณะเดียวกับในคดีนี้ แต่การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 3 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ จึงมีเหตุบรรเทาโทษให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย แต่ทั้งนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น จึงสมควรให้โอกาสจำเลยอีกสักครั้งหนึ่ง โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี
ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาจบ สุทธิเทพก็ยืนร้องไห้ เขากล่าวขอบคุณทนายที่อยู่ข้าง ๆ ก่อนจะบอกว่าวันนี้เขาไม่ได้บอกเพื่อนหรือครอบครัวของตัวเองว่ามาฟังคำพิพากษา หากเขาต้องเข้าเรือนจำในวันนี้ก็คงไม่มีใครช่วยเก็บสิ่งของส่วนตัวที่นำติดตัวมาด้วย
มีข้อน่าสังเกตว่า ในคดีมาตรา 112 ที่มีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปีนี้ มีแนวโน้มที่ศาลอุทธรณ์จะแก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่รอการลงโทษ เป็นรอการลงโทษ โดยก่อนหน้านี้ ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้โทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ของพิทักษ์พงษ์ (สงวนนามสกุล) โดยให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี
แต่แนวโน้มดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นกับจำเลยที่รับสารภาพตั้งแต่ในชั้นพิจารณาคดี หรือไปเข้าร่วมทำงานจิตอาสาถวายเป็นพระราชกุศลให้กับสมาชิกราชวงศ์เท่านั้น จึงต้องรอดูต่อไปว่า ในคดีมาตรา 112 คดีอื่น ๆ ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาอย่างไร
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/64092)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุทธิเทพ (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุทธิเทพ (สงวนนามสกุล)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- วิภาดา สุจรรยาทวี
- ปกฉัตร เผือกสุวรรณ
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
08-11-2022
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุทธิเทพ (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
25-01-2024
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์