ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
ดำ อ.747/2564
ผู้กล่าวหา
- ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
หมายเลขคดี
ดำ อ.747/2564
ผู้กล่าวหา
- ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล
ความสำคัญของคดี
8 เม.ย. 2564 มีชัย (สงวนนามสกุล) พ่อค้าชาวจันทบุรีวัย 50 ปี ถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยถูกกล่าวหาว่า ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัว โพสต์ข้อความแสดงความเห็นและตั้งคำถามต่อการใช้ภาษีประชาชนของกษัตริย์ไทย รวม 2 ข้อความ ในเฟซบุ๊กส่วนตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 โดยมีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล ประชาชนที่พักอยู่ใน จ.สมุทรปราการ เข้าแจ้งความ อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกของ สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ พนักงานสอบสวนยังนำตัวมีชัยไปขอฝากขัง ก่อนศาลอนุญาตฝากขัง และทนายความต้องใช้เงินสดจากกองทุนราษฎรประสงค์จำนวน 150,000 บาท เป็นหลักทรัพย์ยื่นประกันตัว
กรณีนี้เป็นอีกกรณีที่แสดงให้เห็นปัญหาสำคัญของมาตรา 112 การเปิดให้ใครก็ได้แจ้งความกล่าวโทษผู้อื่นในข้อหานี้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย เปิดช่องให้กลุ่มคนที่เห็นต่างใช้กฎหมายดังกล่าวสร้างภาระทางคดีให้อีกฝ่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้กล่าวหาเดินทางไปแจ้งความในจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดที่ผู้ถูกกล่าวหาอยู่อาศัย ทั้งนี้หลังรัฐบาลนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้กับประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองในทางต่อต้านรัฐบาล มีคดีที่ประชาชนทั่วไปเป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำนวนมาก และส่วนมากเป็นประชาชนกลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์
กรณีนี้เป็นอีกกรณีที่แสดงให้เห็นปัญหาสำคัญของมาตรา 112 การเปิดให้ใครก็ได้แจ้งความกล่าวโทษผู้อื่นในข้อหานี้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหาย เปิดช่องให้กลุ่มคนที่เห็นต่างใช้กฎหมายดังกล่าวสร้างภาระทางคดีให้อีกฝ่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้กล่าวหาเดินทางไปแจ้งความในจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดที่ผู้ถูกกล่าวหาอยู่อาศัย ทั้งนี้หลังรัฐบาลนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้กับประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองในทางต่อต้านรัฐบาล มีคดีที่ประชาชนทั่วไปเป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำนวนมาก และส่วนมากเป็นประชาชนกลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
คำฟ้องของ ร.ต.อ.ชูมิตร ชุณหวาณิชพิทักษ์ พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ บรรยายพฤติการณ์คดีโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา เป็นพระบรมราชินี
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2563 จำเลยใช้เฟซบุ๊ก ดูหมิ่นและหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 หมวด 1 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยจำเลยได้พิมพ์และโพสต์ข้อความว่า
“ความเห็นส่วนตัว สถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษี ปชช. เพราะกษัตริย์มีธุรกิจผูกขาดอยู่มากมาย”
“ปชช.มอบเงินให้ระบอบกษัตริย์ 2-3 หมื่นล้านต่อปี กษัตริย์มอบอะไรให้กับ ปชช.” ???”
ข้อความข้างต้นมีความหมายเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น รัชกาลที่ 10 ทำให้ประชาชนไม่เคารพสักการะ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และสถาบันกษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนทั่วไปที่อ่านข้อความดังกล่าวมีความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อพระมหากษัตริย์ โดยทำให้รัชกาลที่ 10 ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
การกระทำของมีชัยถือเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, นำเข้าและเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.747/2564 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2564)
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา เป็นพระบรมราชินี
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2563 จำเลยใช้เฟซบุ๊ก ดูหมิ่นและหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 หมวด 1 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยจำเลยได้พิมพ์และโพสต์ข้อความว่า
“ความเห็นส่วนตัว สถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษี ปชช. เพราะกษัตริย์มีธุรกิจผูกขาดอยู่มากมาย”
“ปชช.มอบเงินให้ระบอบกษัตริย์ 2-3 หมื่นล้านต่อปี กษัตริย์มอบอะไรให้กับ ปชช.” ???”
ข้อความข้างต้นมีความหมายเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น รัชกาลที่ 10 ทำให้ประชาชนไม่เคารพสักการะ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้าย ดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และสถาบันกษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนทั่วไปที่อ่านข้อความดังกล่าวมีความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อพระมหากษัตริย์ โดยทำให้รัชกาลที่ 10 ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
การกระทำของมีชัยถือเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, นำเข้าและเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.747/2564 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 08-04-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหามีชัยเดินทางจากบ้านพักในจังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ 04.00 น. เพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ ตามหมายเรียก ก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 2563 มีชัยเคยได้รับหมายเรียกพยานจาก สภ.บางแก้ว ให้เดินทางไปให้ปากคำเกี่ยวกับข้อความที่เข้าข่ายการดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ แต่เขาไม่ได้เดินทางไป เนื่องจากพักอาศัยอยู่จังหวัดจันทบุรี และมีภาระทางครอบครัวที่ต้องจัดแจงดูแล
กระทั่งเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 มีชัยได้รับหมายเรียกอีกครั้งจากผู้ใหญ่บ้าน แต่ครั้งนี้เป็นหมายเรียกผู้ต้องหา ให้เขาเดินทางไปรับทราบข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หมายเรียกดังกล่าวลงวันที่ 24 มี.ค. 2564 ระบุว่ามีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล เป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้
เวลา 10.00 น. พ.ต.ต.สมเกียรติ นาเจริญ สารวัตร (สอบสวน) สภ.บางแก้ว แจ้งข้อกล่าวหามีชัย โดยบรรยายพฤติการณ์แห่งคดีโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 เวลาประมาณ 17.00 น. ขณะที่ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล กำลังทำงานอยู่ที่บ้านพักในจังหวัดสมุทรปราการ ได้เปิดเฟซบุ๊กพบรูปภาพและข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 จากบัญชีเฟซบุ๊ก 6 บัญชี จึงได้แคปหน้าจอ และนําหลักฐานมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว
พนักงานสอบสวนจึงแจ้ง 2 ข้อหา แก่มีชัย ได้แก่ ข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (3)
มีชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ ในเอกสารพฤติการณ์คดีที่พนักงานสอบสวนแจ้งนั้น ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่ผู้ต้องหาได้เผยแพร่ลงเฟซบุ๊กข้อความใดที่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิดมาตรา 112 มีเพียงแค่รายชื่อของผู้ใช้เฟซบุ๊กต่างๆ ที่ศิวพันธุ์นำมาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเท่านั้น
หลังทนายความสอบถามถึงข้อความที่มีชัยถูกกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ให้ผู้ต้องหาดูข้อความจำนวน 3 ข้อความ เป็นข้อความวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเสียภาษีของประชาชนให้สถาบันกษัตริย์ แต่ตำรวจไม่ได้ระบุข้อความดังกล่าวลงในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาทราบแต่อย่างใด
จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งว่า จะนำตัวมีชัยไปขออำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการฝากขัง แม้ว่าวันนี้มีชัยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกแล้ว
เวลา 13.00 น. มีชัยขับรถยนต์ส่วนตัวไปที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหา โดยให้เหตุผลว่า ยังต้องสืบพยานอีก 12 ปาก เกรงว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จากนั้นได้นำตัวมีชัยไปควบคุมไว้ที่ห้องเวรชี้
ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านฝากขังและขอให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน พร้อมกับยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยวางเงินสดจำนวน 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักประกัน
ต่อมา ราว 14.30 น. ผู้พิพากษาเบิกตัวมีชัยไปที่ห้องพิจารณาคดีชั้นบน โดยมีชัยถูกเจ้าหน้าที่เข้าใส่กุญแจมือไว้ก่อน และต้องเดินด้วยเท้าเปล่าตลอดเวลา
เมื่อถึงห้องพิจารณาคดี ผู้พิพากษาชี้แจงถึงกระบวนการพิจารณาคดีอาญาและคำร้องขอไต่สวนคัดค้านฝากขังว่า การนำตัวมีชัยมาที่ศาลในครั้งนี้ มาจากการที่มีชัยได้เดินทางมา “มอบตัว” กับพนักงานสอบสวน และเจ้าหน้าที่ได้นำตัวมาขอฝากขังที่ศาล ถ้ากระบวนการนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลคิดว่าไม่ได้มีเหตุผลที่จะคัดค้าน ทั้งนี้ การดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นการดำเนินการในอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่ได้เกี่ยวกับศาล
ผู้พิพากษากล่าวด้วยว่า การที่เบิกตัวผู้ต้องหามาพูดคุยในวันนี้ ศาลต้องการพิจารณาเรื่องการปล่อยตัวด้วยความเสมอภาคในทุกคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีในข้อหาใด มาตราใด และถ้าหากผู้ต้องหาไม่คัดค้านการฝากขัง ศาลจะพิจารณาว่าจะปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ทันที
จากนั้นผู้พิพากษาได้ถามมีชัยว่า ตามเหตุผลที่พนักงานสอบสวนอ้างว่าต้องสืบพยานอีก 12 ปาก มีชัยจะคัดค้านการฝากขังหรือไม่ มีชัยยืนขึ้นแถลงต่อศาลอย่างแผ่วเบาว่า ไม่คัดค้าน “ผมไม่ได้สนใจอิสรภาพของตัวเองในวันนี้ แต่วันนี้ผมตื่นตี 4 ขับรถมาจากจันทบุรี และขับรถจาก สภ. มาที่ศาลด้วยตนเอง ที่บ้านผมเองก็มีภาระต้องดูแล” เขาเสริมด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นขึ้น
ผู้พิพากษาตอบว่า คำแถลงของมีชัยอาจเป็นเหตุผลที่ให้พิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวได้ง่ายขึ้น จากนั้นศาลได้ออกจากห้องพิจารณาคดี ส่วนมีชัยถูกควบคุมตัวลงไปรอคำสั่งประกันตัวที่ห้องเวรชี้ตามเดิม
ต่อมาเวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้วางเงินสดจำนวน 150,000 บาท เป็นหลักประกัน และนัดให้มารายงานตัวในวันที่ 1 ก.ค. 2564 กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. มีชัยจึงได้รับการปล่อยตัวออกจากห้องเวรชี้ มือของเขาแนบไว้ที่อก พร้อมถอนหายใจเฮือกใหญ่ หลังก่อนหน้านี้ เขาเผื่อใจไว้บางส่วนแล้วว่าอาจไม่ได้ประกันตัว
“ผมคิดเผื่อไว้บ้างว่าอาจไม่ได้ประกัน เพราะไม่มีอะไรแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ผมไม่ได้คิดถึงอิสรภาพตัวเองเท่าไหร่ คิดถึงเรื่องทางบ้านมากกว่า คิดว่าถ้าเราต้องอยู่ในคุก ทางบ้านจะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้ต้องพายายไปหาหมอที่อนามัย ตอนอยู่ในห้องเวรชี้ก็คิดว่า ถ้าวันนี้ติดคุก วันพรุ่งนี้ต้องทำอย่างไร ใครจะพายายไปหาหมอ”
มีชัยเป็นเสาหลักของบ้าน และต้องประกอบอาชีพค้าขาย เพื่อดูแลลูกสาวที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และย่าและยายที่มีอายุราว 80 ปี ทำให้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพ รวมทั้งลูกสาวของยายที่มีความต้องการพิเศษอีก 2 คน
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ถูกใส่กุญแจมือ รู้สึกหดหู่ เพราะต้องเสียอิสรภาพกับการแสดงความคิดเห็น คดีนี้ไม่ใช่คดีฆ่าใครตาย ไม่ใช่คดีฉ้อโกง ไม่ใช่คดียาเสพติด” เมื่อถามว่า คาดคิดมาก่อนไหมว่าจะถูกดำเนินคดี 112 มีชัยส่ายหัวปฏิเสธช้าๆ
มีชัยเปิดเผยอีกว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2561 เคยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 10 กว่านาย ไปที่บ้าน เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่เขาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ “วันนั้น มีเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร และ กอ.รมน. รวม 10 กว่านาย ไปหาผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่ผมอยู่อาศัย ผู้ใหญ่บ้านเลยเดินไปตามผมที่บ้าน ผมอยู่ที่บ้านพอดี ผมก็ให้ความร่วมมือไป”
เจ้าหน้าที่ตั้งโต๊ะสอบปากคำมีชัยที่ใต้ถุนบ้านของผู้ใหญ่บ้าน ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทั้งยังมีการตั้งกล้องวิดีโอถ่ายการสอบสวนไว้ตลอด จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ขอให้เขาลงลายมือชื่อในเอกสารข้อตกลงว่าจะไม่โพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์อีก มีชัยตัดสินใจลงลายมือชื่อไป นับตั้งแต่วันนั้นเขาได้ปิดเฟซบุ๊กที่เคยใช้งาน และแทบไม่ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อีก
นอกจากคดีของมีชัย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีกรณีของ “ธีรวัช” ซึ่งพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้วแจ้งข้อหานี้ และนำตัวมาขอศาลฝากขังในลักษณะเดียวกัน และทั้งสองคดีมีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล เป็นผู้กล่าวหาเช่นเดียวกัน และคาดว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีก 5 ราย ตามที่ปรากฏในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ถูกแจ้งความกล่าวโทษ โดยผู้กล่าวหารายนี้อีก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.บางแก้ว ลงวันที่ 8 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28129) -
วันที่: 15-06-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมหลังรับทราบข้อกล่าวหา ประมาณ 2 เดือนถัดมา พนักงานสอบสวนพยายามนัดหมายมีชัยเพื่อมาสอบปากคำเพิ่มเติมที่ สภ.บางแก้ว แต่เนื่องจากมีชัยติดภารกิจ ไม่สามารถเดินทางไปที่ สภ.บางแก้ว ได้ พนักงานสอบสวนจึงเดินทางไปสอบปากคำและแจ้งข้อหาเพิ่มเติมมีชัยที่จังหวัดจันทบุรี โดยระหว่างการสอบปากคำไม่มีทนายความเข้าร่วมด้วย และไม่ได้ให้เอกสารบันทึกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐาน
มีชัยเผยว่า พนักงานสอบสวนระบุถึงเหตุผลในการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่า เนื่องจากพนักงานอัยการตีกลับสำนวนการสอบสวน สำหรับการแจ้งข้อหาเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความที่ถูกกล่าวหา จากเดิมที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่มีชัยได้เผยแพร่ลงเฟซบุ๊ก ข้อความใดที่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 มีเพียงแค่รายชื่อของผู้ใช้เฟซบุ๊กต่างๆ ที่ศิวพันธุ์นำมาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเท่านั้น
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/31591)
-
วันที่: 30-06-2021นัด: อัยการยื่นฟ้องในวันครบกำหนดฝากขัง 84 วัน พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการได้ยื่นฟ้องมีชัยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ”, นำเข้าและเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความมั่นคง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการโพสต์ข้อความรวม 2 ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563
ทั้งนี้ พนักงานอัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวมาในคำฟ้อง ระบุว่า ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
คดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 23 ที่ฟ้องขึ้นสู่ศาล หลังมีการนำมาตรา 112 มาใช้ดำเนินคดีต่อประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกอีกครั้ง ภายหลังการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในห้วงครึ่งปีหลังของปี 2563 เป็นต้นมา โดยยังมีอีกถึง 75 คดีที่ยังอยู่ในการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.747/2564 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31591) -
วันที่: 01-07-2021นัด: รายงานตัวต่อศาล (รับทราบฟ้อง)มีชัยเดินทางจากจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่ตีสามครึ่ง เข้ารายงานตัวต่อศาลตามนัด ก่อนได้รับแจ้งว่า พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว จากนั้นมีชัยได้ถูกนำตัวไปที่ห้องเวรชี้ ผู้พิพากษาได้สอบถามคำให้การเบื้องต้น มีชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงกำหนดวันนัดคุ้มครองสิทธิ ในวันที่ 29 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น. และนัดพร้อมในวันที่ 18 ต.ค. 2564 เวลา 09.00 น.
ต่อมา ทนายได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์เดิมที่เคยวางเป็นหลักประกัน ขณะมีชัยถูกนำตัวมาฝากขังในชั้นสอบสวน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ในเวลาประมาณ 16.30 น.
คำฟ้องระบุว่า มีชัยโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวรวม 2 ข้อความ ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความเห็นและตั้งคำถามต่อการใช้ภาษีประชาชนของกษัตริย์ไทย เข้าข่าย หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, นำเข้าและเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความมั่นคง
มีชัยเปิดเผยว่า “ก่อนมารายงานตัว ผมโทรถามเจ้าหน้าที่ศาลล่วงหน้าแล้วว่าจะเลื่อนนัดไหม เพราะสมุทรปราการเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่เขาไม่เลื่อน ผมก็ต้องมารายงานตัวตามปกติ พอผมกลับไปที่จันทบุรี ผมต้องกักตัว 14 วัน เพราะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ถ้าผมเอาเชื้อกลับไปที่ต่างจังหวัด งานใหญ่อีก”
“ตอนแรกผมคิดว่าแค่ครึ่งวันเช้าก็เสร็จ ยังบอกลูกอยู่เลยว่า มาแป๊ปเดียวเดี๋ยวก็กลับ เพราะผมไม่รู้ว่าพนักงานอัยการเขาจะส่งฟ้องเลย ที่ไหนได้ กว่าจะเสร็จกระบวนการก็เย็น ผมคิดว่าจะไม่ได้ประกันแล้ว เพราะผมได้ออกจากห้องเวรชี้พร้อมกับกลุ่มที่ต้องเข้าเรือนจำเลย”
ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่มีชัยต้องกลับเข้าห้องเวรชี้ ครั้งแรกเมื่อเขาถูกนำตัวมาขออำนาจศาลฝากขังในชั้นสอบสวน ส่วนครั้งนี้หลังเขาถูกยื่นฟ้องคดี และต้องรอว่าศาลจะอนุญาตให้เขาออกมาต่อสู้คดีในโลกภายนอกหรือไม่
“การกลับมาเข้าห้องเวรชี้ครั้งนี้เหมือนครั้งก่อน ในห้องมีเพียงแก้วน้ำใบเดียวเวียนกันใช้ระหว่างคนในห้องเวรชี้ เจลล้างมือก็มีไม่เพียงพอ มีแค่ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะให้เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนผู้ต้องขังหรือคนข้างในนั้น ไม่มีอะไรที่ช่วยป้องกันโรคเลย เหมือนเป็นคนอีกชนชั้นหนึ่ง”
“ก่อนเข้าห้อง ผมก็ต้องถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่าเข้าไป ผมไม่รู้ว่าทำเพราะรักษาความสะอาดหรือเหตุผลอะไรกันแน่ เวลาได้ประกัน ต้องใส่รองเท้ากลับมา ก็ไม่รู้จะไปล้างเท้าที่ไหน”
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีชัยยังคงต้องเดินทางไปกลับระหว่างจังหวัดจันทบุรีและสมุทรปราการ หลังจากถูกดำเนินคดีในท้องที่ สภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ เพียงเพราะมีประชาชนเป็นผู้นำเรื่องไปแจ้งความให้ตำรวจในท้องที่นี้ ทำให้มีชัยต้องเผชิญภาระทางคดีที่เพิ่มขึ้น และแบกรับความเสี่ยงจากโรคระบาดจากการเดินทางมาตามนัดในกระบวนการ “ยุติธรรม”
“การเดินทางมาศาลถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เรา คนที่บ้าน และเจ้าหน้าที่ศาลอีก ถ้ากลับบ้านมาแล้วติดเชื้อโควิดมาก็ลำบาก”
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.747/2564 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31591) -
วันที่: 29-09-2021นัด: คุ้มครองสิทธิ
-
วันที่: 18-10-2021นัด: พร้อมนัดสืบพยานในวันที่ 7-8 เม.ย. 2565
-
วันที่: 07-04-2022นัด: สืบพยานสืบพยานโจทก์ได้ 3 ปาก ได้แก่ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล, จรินทร์ ภูริคุปต์ และวาสนา โอภาสวัฒนาธร
-
วันที่: 08-04-2022นัด: สืบพยานสืบพยานโจทก์อีก 1 ปาก และพยานจำเลย 2 ปาก คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น. เหตุที่นัดนานเนื่องจากต้องส่งให้ร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ตรวจก่อน
-
วันที่: 18-07-2022นัด: ฟังคำพิพากษา
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มีชัย (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มีชัย (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์