สรุปความสำคัญ

หลัง #ม็อบ26ตุลา #26ตุลาไปสถานทูตเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 จัดโดยกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประชาชนเดินขบวนจากแยกสามย่านไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือกับเอกอัครราชทูตเยอรมัน ขอให้ตรวจสอบว่า กษัตริย์ไทยมีการใช้พระราชอำนาจบนดินแดนของเยอรมันหรือไม่ มีนักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชน ที่ร่วมอ่านแถลงการณ์ใน 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ เยอรมัน) ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการยื่นหนังสือ และผู้ปราศรัยที่หน้าสถานทูตเยอรมันรวม 13 ราย ถูกดำเนินคดีใน 3 ข้อหา คือ หมิ่นประมาทกษัตริย์ และยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 รวมทั้งข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ในช่วงแรก พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ปราศรัย และอ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา รวม 9 ราย มาแจ้งข้อหาตามมาตรา 116 เท่านั้น แต่ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศดำเนินการบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ชุมนุม พนักงานสอบสวนจึงได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา ตามมาตรา 112 เพิ่มเติม และดำเนินคดีกับผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันอีก 4 ราย

ข้อมูลการละเมิด

  • ผู้ถูกละเมิด
    • กรกช แสงเย็นพันธ์
    • ชนินทร์ วงษ์ศรี
    • ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
    • ชลธิศ โชติสวัสดิ์
    • เบนจา อะปัญ
    • ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
    • วัชรากร ไชยแก้ว
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • อรรถพล บัวพัฒน์
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • อัครพล ตีบไธสง
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • โจเซฟ (นามสมมติ)
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ
    • รวิสรา เอกสกุล
    • แอน (นามสมมติ)
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ

พฤติการณ์การละเมิด

26 ต.ค. 2563 กลุ่มราษฎรนัดหมายชุมนุม #26ตุลาไปสถานทูตเยอรมัน โดยมีการเคลื่อนขบวนจากสามย่านไปสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย ถนนสาทร กรุงเทพฯ ในการนัดหมายมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อต้องการความกระจ่างใน 4 ข้อสงสัย และเพื่อทำให้สถาบันกษัตริย์กลับมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ กลับมาสู่ครรลองของระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้ The Opener รายงานด้วยว่า หนึ่งข้อเรียกร้องสำคัญของกลุ่มผู้ชุมนุม คือการขอให้สถาบันกษัตริย์มีความรับผิดชอบต่อคนไทยในฐานะสถาบันหนึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหน้าที่ให้สมเป็นประมุขของประเทศ และยื่นจำนวนผู้ลงนามกว่า 210,000 รายชื่อ ผ่านแคมเปญออนไลน์ถึงรัฐบาลเยอรมันให้พิจารณาข้อเรียกร้องของทางคณะฯ ด้วย

ด้านปฏิกิริยาจากทางการเยอรมันนั้น Pipob Udomittipong เผยแพร่และแปลคำแถลงของ Heiko Maas รมว.ต่างประเทศ ของเยอรมนี ระบุว่า เราติดตามสถานการณ์การประท้วงในประเทศไทย คนที่กำลังประท้วงเรียกร้องสิทธิของตนเอง และแน่นอนตนกำลังติดตามสิ่งที่กษัตริย์ไทยทำระหว่างประทับอยู่ในเยอรมนี เราได้จับตามองมาพักหนึ่งแล้ว ไม่ใช่แค่ช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อน และเรายังคงตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีการทำสิ่งผิดกฎหมาย จะมีการดำเนินงานโดยทันที

18.00 น. ผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนขบวนจากสามย่าน ถึงสถานทูตเยอรมันในเวลาประมาณ 19.30 น. หน้าสถานทูตเยอรมันมีการติดป้าย "ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" ขณะที่ตำรวจวางแนวคุ้มกันและแผงกั้นตลอดแนวประตู พบบางชุดนอกจากโล่แล้ว มีหน้ากากกันแก๊สน้ำตาและกระบอง

19.36 น. ชลธิชา แจ้งเร็ว ระบุว่า จะมีการส่งตัวแทน 3 คน เข้าไปพูดคุยกับเอกอัครราชทูต ได้แก่ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ และ วารินทร์ แพทริก ต่อมาเวลา 19.49 น. แกนนำประกาศแจ้งผู้ชุมนุมว่าสถานทูตฯได้รับเอกสารแล้ว

เวลา 20.40 น. หลังจากตัวแทน 3 คนที่เข้าไปพูดคุยกับเอกอัครราชทูตออกมา ภัสราวลีกล่าวชี้แจงกับผู้ชุมนุมถึงสิ่งที่ตนยื่นข้อเรียกร้องประกอบด้วย 1. ขอให้ทางเยอรมันตรวจสอบว่ามีการใช้อำนาจอธิปไตยนอกเหนือราชอาณาจักรไทยจริงหรือไม่ 2. ได้มรดกตอนอยู่เยอรมนีนั้น ส.ส.ตั้งกระทู้ถามต้องเสียภาษีมรดกเยอรมันไหม เราอยากทราบว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ หากต้องเสีย ต้องเสียเท่าไหร่ และ 3.รัฐธรรมนูญเยอรมัน มีมาตราหนึ่งเรื่อง ห้ามละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางการเยอรมันจะตรวจสอบการละเมิดหรือไม่ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกษัตริย์ไทยต่อประเด็นนี้ จากนั้นประกาศยุติการชุมนุมในเวลา 20.58 น. (https://prachatai.com/journal/2020/10/90147)

29 ต.ค. 2563 มีรายงานข่าวว่า พ.ต.อ.พิทักษ์ สุทธิกุล รักษาการ ผกก.สน.ทุ่งมหาเมฆ ได้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ แกนนำการชุมนุม 5 ราย แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าทั้งหมดยังเป็นนักศึกษา ยังไม่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี จึงเห็นควรให้ผู้ร้องไปดำเนินการออกหมายเรียกก่อน

ต่อมา นักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชน ที่ร่วมอ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ เยอรมัน) ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการยื่นหนังสือ และผู้ปราศรัยที่หน้าสถานทูตเยอรมันรวม 9 ราย ถูกออกหมายเรียกผู้ต้องหาในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 โดยทั้ง 9 คน ทยอยเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 5 พ.ย., 18 และ 25 พ.ย. 2563

จากนั้น พนักงานสอบสวนยังได้ออกหมายเรียกทั้ง 9 มาแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม รวมทั้งออกหมายเรียกผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันอีก 4 ราย มาดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 และ 116

ภูมิหลัง

  • แอน (นามสมมติ)
    พนักงานระดับสูงในบริษัทด้านพลังงานแห่งหนึ่ง จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาเยอรมัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนหน้าถูกดำเนินคดีจากการอาสาออกไปอ่านแถลงการณ์ เคยเข้าร่วมชุมนุมกับคณะราษฎร 2563 เพียง 2 ครั้ง

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • ชลธิศ โชติสวัสดิ์
    สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาเริ่มทำกิจกรรมตั้งปี 1 โดยร่วมกับเพื่อนพรรคโดมปฏิวัติผลักดันประเด็นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย และเคยทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของ สนท. (สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย)

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • วัชรากร ไชยแก้ว
    สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ร่วมกิจกรรมในรั้วมหาลัยด้วยการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิและสวัสดิการของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 ก่อนที่ต่อมาจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.)

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • เบนจา อะปัญ
    สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผันตัวจากเยาวชนที่สนใจในประเด็นเรื่องสิทธิและการเมืองตั้งแต่สมัยอยู่ในรั้วโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สู่การเป็นนักเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัวเมื่อเริ่มต้นก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • อัครพล ตีบไธสง
    พนักงานองค์กรพัฒนาสังคมและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เคยไปใช้ชีวิตและเรียนที่ประเทศเยอรมันอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มเข้าร่วมในการเคลื่อนไหวของเยาวชนปลดแอกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เนื่องจากเห็นด้วยกับทิศทางการต่อสู้ และประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลงเมื่อรัฐบาล คสช. เข้ามามีอำนาจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เขาพบเจอโดยตรงจากการทำงาน

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ
    นิสิตปี 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนหน้าถูกดำเนินคดีจากการอาสาออกไปอ่านแถลงการณ์ เธอเป็นเพียงผู้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • รวิสรา เอกสกุล
    อดีตบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนหน้าถูกดำเนินคดีจากการอาสาออกไปอ่านแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืน เธอไม่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการเข้าร่วมในการชุมนุมของกลุ่ม #คณะราษฎร2563

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • โจเซฟ (นามสมมติ)
    พนักงานบริษัทด้านความงาม จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 เพราะต้องการเห็นความเสมอภาคเกิดขึ้นในสังคม จนถึงการเคลื่อนไหวของเยาวชนปลดแอก ในปี 2563 เขาก็ออกมาร่วมชุมนุมกับคนรุ่นใหม่เพื่อผลักดันความหวังของเขาให้เป็นจริง

    (อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/24286)
  • ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
    เริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. โดยค่อนข้างเอนเอียงไปกับ กปปส. แต่ด้วยความที่ที่บ้านมีช่องเคเบิ้ลของทั้งเสื้อแดง ทั้งเสื้อเหลือง ทำให้ณวรรษเริ่มตั้งคำถาม

    ต้นปี 2563 ที่ณวรรษเพิ่งเรียนจบ กำลังรอรับปริญญา ได้รู้จักนักเคลื่อนไหวหน้าใหม่ เข้าร่วมกลุ่มตลาดหลวง (Royalist Marketplace) ในเฟซบุ๊ก จนชัดเจนกับตัวเองว่าจะอยู่ฝั่งไหน เวลาผ่านไป 2 ปี ณวรรษเปลี่ยนมาสนใจการเมืองขนาดที่กลายเป็นทุกอย่างในชีวิต มองโลกด้วยมุมมองของคนที่เป็นผู้ใหญ่ เข้าใจว่าหลายอย่างในประเทศมันถูกกดทับด้วยโครงสร้างทางการเมือง

    (อ่านเพิ่มเติมที่ https://tlhr2014.com/archives/40629)

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์