ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.1297/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1297/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ รองผู้กำกับสืบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ

ความสำคัญของคดี

หลัง #ม็อบ26ตุลา #26ตุลาไปสถานทูตเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 จัดโดยกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประชาชนเดินขบวนจากแยกสามย่านไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือกับเอกอัครราชทูตเยอรมัน ขอให้ตรวจสอบว่า กษัตริย์ไทยมีการใช้พระราชอำนาจบนดินแดนของเยอรมันหรือไม่ มีนักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชน ที่ร่วมอ่านแถลงการณ์ใน 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ เยอรมัน) ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการยื่นหนังสือ และผู้ปราศรัยที่หน้าสถานทูตเยอรมันรวม 13 ราย ถูกดำเนินคดีใน 3 ข้อหา คือ หมิ่นประมาทกษัตริย์ และยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 รวมทั้งข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ในช่วงแรก พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ปราศรัย และอ่านแถลงการณ์ 3 ภาษา รวม 9 ราย มาแจ้งข้อหาตามมาตรา 116 เท่านั้น แต่ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศดำเนินการบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ชุมนุม พนักงานสอบสวนจึงได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา ตามมาตรา 112 เพิ่มเติม และดำเนินคดีกับผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันอีก 4 ราย

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษ​ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3) บรรยายพฤติการณ์คดีโดยย่อว่า

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 จำเลยทั้งสิบสองคนได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน ดังนี้

1. จำเลยทั้งสิบสองได้ใช้รถซาเล้งเครื่องเสียงติดตั้งเครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้า เพื่อปราศรัยแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน เพื่อการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บริเวณหน้าสถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจําประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

2. ขณะเกิดเหตุและปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมาตรา 6 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด กล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้

ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบสองยังได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่บริเวณหน้าสถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยแบ่งหน้าที่กัน

กล่าวคือ ภัสราวลี (จำเลยที่ 1) เป็นตัวแทนจำเลยอื่นไปยื่นหนังสือที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยให้กับเอกอัครราชทูต ที่สถานทูตเยอรมนี ส่วน กรกช (จำเลยที่ 2) ชนินทร์ (จำเลยที่ 3) ชลธิศ (จำเลยที่ 4) และเบนจา (จำเลยที่ 5) ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับภาษาไทยที่จัดเตรียมมาแจกประชาชนที่มาร่วมชุมนุม

จากนั้น วัชรากร (จำเลยที่ 6) โจเซฟ (จำเลยที่ 9) และณวรรษ ได้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ ส่วนอัครพล (จำเลยที่ 8) สุธินี (จำเลยที่ 10) รวิสรา (จำเลยที่ 11) และแอน (จำเลยที่ 12) และพวกอีก 2 คน ที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้อง ได้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ในภาษาอังกฤษและเยอรมันนั้นมีเนื้อหาเหมือนฉบับภาษาไทย

เนื้อหาของแถลงการณ์ได้ทวงถามถึง ผลของการยื่นหนังสือเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองคาพยพ ลาออกในการชุมนุมเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2563 และขอให้สหพันธรัฐเยอรมนีตรวจสอบการใช้อำนาจของรัชกาลที่ 10 ขณะพำนักอยู่ในประเทศเยอรมนี เพราะเหตุดังกล่าวอาจเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยเหนือเขตแดน เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ดำรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

หลังจำเลยทั้ง 12 ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ดังกล่าว อรรถพล (จำเลยที่ 7) และภัสราวลี (จำเลยที่ 1) ได้กล่าวคำปราศรัยต่อประชาชน รวมทั้ง พ.ต.ท.อนันท์ วงศ์คำ กับพวก เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3

อรรถพลได้ปราศรัยในประเด็นการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการออก พ.ร.บ.เกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ฯ และการพำนักอยู่ต่างประเทศของรัชกาลที่ 10 พร้อมกับตั้งคำถามว่า พระองค์ได้ใช้พระราชอำนาจขณะพำนักอยู่ประเทศเยอรมนีหรือไม่ และย้ำว่าสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่คู่สังคมไทยอย่างสง่างาม และเหนือการเมือง ก่อนที่จะประกาศ 3 ข้อเรียกร้อง ได้แก่ จำกัดอำนาจสถาบันกษัตริย์ในด้านการทหาร, ยกเลิก พ.ร.บ.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ฯ ที่ให้พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของทรัพย์สินเพียงผู้เดียว และยกเลิกพระราชอำนาจในการแทรกแซงการโยกย้ายข้าราชการ

ส่วนภัสราวลีได้ปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในลักษณะเดียวกับจดหมายที่ยื่นต่อเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยมีใจความสำคัญ คือ ตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์นอกเขตแดนประเทศไทย โดยขอให้รัฐบาลเยอรมนีตรวจสอบและเปิดเผยประวัติการเดินทางเข้าออกประเทศเยอรมนีของรัชกาลที่ 10 เพื่อสืบทราบว่ามีการลงนามในประกาศพระบรมราชโองการ และการลงนามใน พ.ร.บ.งบประมาณฯ ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศเยอรมนีหรือไม่ และรัชกาลที่ 10 จำเป็นต้องเสียภาษีมรดกตามกฎหมายของประเทศเยอรมนีหรือไม่ และถ้าหากต้องเสีย เสียเท่าใด

ทั้งยังขอให้ประเทศเยอรมนีตรวจสอบว่า มีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น เช่น การอุ้มหาย ซ้อมทรมาน ขณะรัชกาลที่ 10 พำนักอยู่ที่ประเทศเยอรมนีหรือไม่ และขอให้ตรวจสอบถึงการติดรูปของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ในห้องพัก ใช้ที่พักส่วนตัวในประเทศเยอรมนีเป็นฮาเร็มส่วนพระองค์ ขณะที่ประชาชนเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนที่จะยืนยันข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

แถลงการณ์และคำปราศรัยดังกล่าวทำให้ผู้อ่าน ฟัง และทราบข้อความเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงใช้พระราชอํานาจเข้าไปแทรกแซงการเมืองและการปกครอง ทรงใช้พระราชอํานาจบนดินแดนประเทศเยอรมันโดยมิชอบ ทรงเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ ทรงอยู่เบื้องหลังการใช้กําลังทรมานกับประชาชน ก่ออาชญากรรมร้ายแรงกระทําการเป็นอันเป็นละเมิดสิทธิมนุษยชน นิยมฝักใฝ่ในระบอบเผด็จการนาซี อันเป็นการใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อบุคคลที่สามด้วยความเท็จ ทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติยศ

ทั้งนี้ การกระทำข้างต้นยังถือเป็นการยุยงปลุกปั่นปลุกเร้าให้กลุ่มผู้ชุมนุมและประชาชนอื่นทั่วไป ทำให้เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วเกิดความเกลียดชังองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังชักจูงให้ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักฝ่าย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายอันบัญญัติไว้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ และพูดชักชวน หรือโน้มน้าวให้ประชาชนร่วมกันเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อจํากัดพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในด้านต่างๆ อันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 22 ก.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ 7 นักกิจกรรมและนักศึกษาที่ถูกออกหมายเรียกในคดีการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกผู้ต้องหา จากการชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 จัดขึ้นโดยกลุ่มคณะราษฎร เป็นการรวมตัวเดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือกับเอกอัครราชทูตเยอรมัน ขอให้ตรวจสอบว่ากษัตริย์ไทยมีการใช้พระราชอำนาจบนดินแดนของเยอรมันหรือไม่

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 มีรายงานข่าวว่า พ.ต.อ.พิทักษ์ สุทธิกุล รักษาการ ผกก.สน.ทุ่งมหาเมฆ ได้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ แกนนำการชุมนุม 5 ราย แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าทั้งหมดยังเป็นนักศึกษา ยังไม่ปรากฏว่ากลุ่มผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี จึงเห็นควรให้ผู้ร้องไปดำเนินการออกหมายเรียกก่อน พ.ต.อ.พิทักษ์ จึงได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้มารับทราบข้อกล่าวหา โดยระบุวันเวลาที่ให้ผู้ถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อหาแตกต่างกันไป

    ในช่วงเช้า ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ “มายด์” เดินทางเข้ารับทราบข้อหา พร้อมทนายความ โดยพบว่า พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ ผู้กำกับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ได้เดินทางมาร่วมติดตามคดีนี้ด้วย

    การแจ้งข้อหามี พ.ต.ท.ประจำ หนุนนาค รองผู้กำกับสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ และ พ.ต.ท.อดิศร แก้วโหมดตาด รองผู้กำกับสอบสวนสน.คลองตัน ซึ่งมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เป็นผู้ดำเนินการ และยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบคอยติดตามถ่ายวิดีโอในห้องสอบสวนไว้ตลอดด้วย

    พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาภัสราวลีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) และ (3) ระบุพฤติการณ์ว่า กลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้นัดหมายการชุมนุมบริเวณแยกสามย่าน และเดินขบวนไปยื่นข้อเรียกร้องให้สถานทูตเยอรมนี โดยผู้จัดการชุมนุมไม่ได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้ง การชุมนุมมีผู้เข้าร่วมประมาณ 30,000 คน โดยได้เดินขบวนมาตามถนนพระราม 4 ผ่านสี่แยกวิทยุ เลี้ยวเข้าถนนสาทรใต้ มายังสถานทูตเยอรมัน

    ข้อกล่าวหาระบุว่า ตัวแทนผู้ชุมนุม 3 คน นำโดยภัสราวลี ได้เข้าไปภายในสถานทูตเพื่อยื่นข้อเรียกร้อง ระหว่างนั้นกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้อ่านแถลงการณ์ที่จัดเตรียมมา ทั้งในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน โดยแบ่งกันอ่านเรียงคนละท่อน ผ่านเครื่องขยายเสียง ให้กลุ่มผู้ชุมนุมฟัง ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ ในลักษณะเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมาย และจะก่อความไม่สงบขึ้น รวมทั้งแกนนำยังได้มีการปราศรัยหัวข้อว่า “ต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี”

    ต่อมาตัวแทนผู้ชุมนุม 3 คน ได้ออกมาจากสถานทูต และมีการกล่าวปราศรัยถึงจดหมายที่ได้ยื่นต่อเอกอัครราชทูต เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยเนื้อหาคำปราศรัยมีความสอดคล้องกับแถลงการณ์ของกลุ่มคณะราษฎร 2563 จึงถือได้ว่าการกระทำของภัสราวลีและพวกมีเจตนามุ่งหวังให้มวลชนที่มาร่วมชุมนุมซึ่งได้ยินคำแถลงการณ์และคำปราศรัย ฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินที่บัญญัติไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเป็นเหตุให้ประชาชนแบ่งเป็นฝักฝ่าย และจะก่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน จนถึงขนาดจะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรได้

    หลังรับทราบข้อกล่าวหา ภัสราวลีได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน โดยพนักงานสอบสวนให้พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และปล่อยตัวไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้

    ต่อมาในช่วงบ่าย เวลา 13.00 น. นักกิจกรรมอีก 6 รายที่ได้รับหมายเรียก ได้แก่ กรกช แสงเย็นพันธ์, ชนินทร์ วงษ์ศรี, ชลธิศ โชติสวัสดิ์, เบนจา อะปัญ, วัชรากร ไชยแก้ว และณวรรษ เลี้ยงวัฒนา พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา

    พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 6 คน ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) และ (3) เช่นเดียวกัน และบรรยายพฤติการณ์ข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกับภัสราวลี

    ในส่วนของกรกช, ชนินทร์, ชลธิศ และเบนจา ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อ่านแถลงการณ์ของการชุมนุมเป็นภาษาไทยที่หน้าสถานทูตเยอรมัน ส่วนวัชรากรและณวรรษถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อ่านแถลงการณ์เป็นภาษาอังกฤษ

    ทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน โดยพนักงานสอบสวนได้นัดหมายทั้งหมด รวมท้้งภัสราวลี รายงานตัวในวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ก่อนปล่อยตัวไปโดยไม่มีการควบคุมตัว

    นักศึกษาและนักกิจกรรมผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาช่วงบ่ายนี้ ยังได้จัดเตรียมแผ่นกระดาษข้อความยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และการใช้มาตรา 116 โดยมิชอบ มาแสดงอีกด้วย

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 5 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/22881)
  • อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ “ครูใหญ่” แกนนำกลุ่มขอนแก่นพอกันที เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก

    พ.ต.ท.ประจํา หนุนนาค รองผู้กำกับสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ และ พ.ต.ท.นเรศ ศรีนาราง สารวัตรสอบสวน สน.คลองตัน ได้ร่วมกันแจ้งข้อกล่าวหาอรรถพล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) และ (3)

    พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์เช่นเดียวกับคนอื่น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอรรถพลระบุว่า หลังจากตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าไปภายในสถานทูตเยอรมันเพื่อยื่นข้อเรียกร้อง และกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้อ่านแถลงการณ์ที่จัดเตรียมมาในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมันแล้ว อรรถพลได้ปราศรัยในหัวข้อว่า “ต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี” และตัวแทนผู้ชุมนุมยังได้กล่าวถึงจดหมายเปิดผนึกที่ยื่นต่อเอกอัครราชทูตเยอรมนี เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นการใส่ความทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติ

    ข้อกล่าวหาระบุว่า การพูดถึงพระมหากษัตริย์ในลักษณะดังกล่าว เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ไม่เหมาะสม พูดใส่ความ เพื่อปลุกเร้าให้ผู้ชุมนุมและประชาชนที่ผ่านไปมาและผู้รับทราบ ได้ยินข้อความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดินที่บัญญัติไว้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ และอาจก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนในแถบนั้น และผู้ที่ทราบข้อความตามสื่อสังคมต่างๆ ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรได้

    อรรถพลให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัวไป พร้อมนัดรายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 18 ธ.ค. 2563

    ขณะนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีตามข้อหามาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่น” จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันทั้งหมดจำนวน 8 คน และ และยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างการออกหมายเรียกผู้ชุมนุมกรณีนี้เพิ่มเติมอีกด้วย

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 18 พ.ย. 2563 และhttps://tlhr2014.com/archives/23272)
  • เวลา 10.30 น. ที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ อัครพล ตีบไธสง ผู้ถูกออกหมายเรียกอีกรายจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา

    ก่อนได้รับหมายเรียก อัครพลเปิดเผยว่าในช่วงปลายเดือนตุลาคม ได้เคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบไปติดตามหาตัวเขาที่บ้านในต่างจังหวัดด้วย โดยเจ้าหน้าที่เข้าไปสอบถามข้อมูลส่วนตัวของเขาจากผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน พร้อมกับสอบถามว่าเหตุใดเขาจึงพูดภาษาต่างประเทศได้ และสอบถามว่าเขาไปร่วมปราศรัยหน้าสถานทูตใช่หรือไม่

    จนเมื่อวันที่ 13 พ.ย. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งมหาเมฆ ได้โทรศัพท์ติดต่อให้อัครพลเดินทางมารับทราบข้อหาที่สถานีตำรวจ โดยแจ้งว่าตำรวจไม่อยากออกหมายเรียก เพราะผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่าการออกหมายเรียกจะ “ดูแข็งเกินไป” และอาจทำให้ที่บ้านของอัครพลแตกตื่นถ้าได้รับหมาย แต่อัครพลยืนยันให้เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียกมาอย่างเปิดเผย จึงจะเดินทางไป หลังจากนั้น อัครพลจึงได้รับหมายเรียกที่ออกเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563

    พ.ต.ท.ประจำ หนุนนาค, พ.ต.ท.อาวุธ แก้วมณี และ พ.ต.ต.คณศร นักเรียน ร่วมกันแจ้งข้อกล่าวหาอัครพล โดยมีพฤติการณ์คดีเช่นเดียวกับคนอื่น และในส่วนของอัครพลระบุว่า อัครพลได้ร่วมอ่านแถลงการณ์ของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ในฉบับภาษาเยอรมัน ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย โดยแบ่งกันอ่านเรียงคนละท่อนกับผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้คนอื่นๆ ผ่านเครื่องขยายเสียงให้กลุ่มผู้ชุมนุมฟัง ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์ ในลักษณะเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย และถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) และ (3)

    อัครพลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะขอให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมต่อไป ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัวไป พร้อมกับนัดหมายรายงานตัวเพื่อฟังผลการสอบสวนสวนต่อไปในวันที่ 9 ธ.ค. 2563

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 25 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23502)
  • เวลา 10.00 น. ที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ ประชาชน-นักศึกษา-นักกิจกรรม 8 คน ได้แก่ “มายด์” ภัสราวลี, “แอมป์” ณวรรษ, วัชรากร, “เอฟ” ชลธิศ, เบนจา, กรกช, อัครพล และโจเซฟ (นามสมมุติ) ในจำนวนนี้มีโจเซฟรายเดียวที่ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยได้รับหมายเรียกและเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 116

    ในวันนี้ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, “เจี๊ยบ” อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และประทับจิต นีละไพจิตร จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights – OHCHR) เข้าสังเกตการณ์การแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมครั้งนี้ด้วย

    บริเวณหน้า สน.ทุ่งมหาเมฆ มีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบไม่ต่ำกว่า 15 คน ตรึงกำลัง ส่วนบริเวณด้านข้างของอาคารมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอีกประมาณ 10 กว่าคน เป็นที่น่าสังเกตว่า มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาควบคุมพื้นที่มากกว่าวันที่นักกิจกรรมเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ม.116 พอสมควร

    เมื่อผู้ได้รับหมายเรียก 8 คน พร้อมทนายความ เดินทางมาถึง พนักงานสอบสวนแจ้งให้เข้าไปในห้องประชุมชั้นล่าง โดยไม่อนุญาตให้ผู้ไว้วางใจ รวมถึงตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์ ให้เหตุผลว่าเป็นขั้นตอนลงบันทึกประจำวันว่าผู้ต้องหามารายงานตัว ให้เข้าแค่ทนายความกับผู้ต้องหาเท่านั้น แล้วจะให้ผู้ไว้วางใจเข้าร่วมตอนสอบคำให้การเท่านั้น หลังผู้ได้รับหมายเรียกแยกย้ายเพื่อไปสอบคำให้การบริเวณห้องประชุมชั้นล่างและห้องพนักงานสอบสวนชั้น 3 ผู้ไว้วางใจสามารถเข้าร่วมการสอบสวนได้ตามปกติ

    พ.ต.ท.ประจำ หนุนนาค รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ทุ่งมหาเมฆ, พ.ต.ท.อาวุธ แก้วมณี สารวัตร (สอบสวน) สน.ทุ่งมหาเมฆ, พ.ต.ท.อดิศร แก้วโหมดตาด และ ร.ต.อ.ธนเดช จันทร์มาลา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหา 7 คน ที่เคยเข้ารับทราบข้อหามาตรา 116 แล้ว ในข้อหา “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” พร้อมอธิบายพฤติการณ์คดีเช่นเดิม มีข้อความเพิ่มเติมว่า

    “เนื้อหาบางช่วงบางตอนในคําแถลงการณ์ทุกฉบับและคําปราศรัยดังกล่าวเป็นการใส่ความพระมหากษัตริย์ ต่อผู้ร่วมชุมนุมและบุคคลที่อยู่ในบริเวณที่ชุมนุม เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระองค์ ทําให้พระองค์เสื่อมพระเกียรติ เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112”

    “ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ ดังนั้น การพูดถึงพระมหากษัตริย์ ในลักษณะที่ปรากฎในแถลงการณ์จึงเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ไม่เหมาะสม พูดใส่ ความ เพื่อปลุกเร้าให้ผู้ชุมนุมและประชาชนที่ผ่านไปมา มีความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดินที่บัญญัติไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเป็นเหตุให้ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักฝ่าย ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นในประเทศ และอาจก่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนในแถบนั้น จนถึงขั้นก่อความไม่สงบได้”

    “แม้ว่าผู้อ่านแถลงการณ์จะอ่านแถลงการณ์ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับภาษาเยอรมัน คนละท่อน และข้อความที่บางคนอ่านอาจไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่เนื่องจากการอ่านแถลงการณ์ดังกล่าวนี้เป็นการแบ่งงานกันทำและแถลงการณ์ทั้งฉบับมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกัน บางข้อความมีสาระสำคัญเข้าองค์ประกอบความผิดมาตรา 112 ทั้งข้อความสาระสำคัญที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ยังสอดคล้องกับคำปราศรัยของภัสราวลีและอรรถพล จึงถือว่าการกระทำของภัสราวลีกับพวกเข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 112 ด้วย”

    กรณีโจเซฟ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 โดยระบุพฤติการณ์การกระทำความผิดที่ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกับทุกคน และระบุว่า เขาร่วมอ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ

    ประมาณ 12.00 น. พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ ผบก.น.5 เดินทางมาดูแลการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในครั้งนี้ โดยกล่าวกับทนายความและผู้ต้องหาว่า พร้อมอำนวยความสะดวกและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย พร้อมกับกำชับให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 ในชั้นสอบสวนด้วย พนักงานสอบสวนจึงต้องแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวกับผู้ต้องหาทั้งแปดเพิ่มเติมอีก 1 ข้อหา โดยเป็นข้อหาที่มีเพียงแค่โทษปรับเท่านั้น

    เบื้องต้นทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายในวันที่ 29 ธ.ค. 2563 ด้านพนักงานสอบสวนนัดให้ผู้ต้องหาทั้งหมดมาพบเพื่อฟังผลการสอบสวน ในวันที่ 7 ม.ค. 2564

    หลังจากทั้ง 8 รับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ภัสราวลีได้แถลงกับสื่อมวลชน ขอให้ตั้งคำถามถึงจุดประสงค์การนำมาตรา 112 กลับมาใช้ ด้านเบนจาขอให้ติดตามการแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 กับเพื่อนนักกิจกรรมที่ สน.ชนะสงคราม และ สภ.เมืองนนทบุรี ในวันเดียวกันนี้ และขอให้ทุกคนติดตามการชุมนุมในวันที่ 10 ธ.ค. 2563 ที่จะถึงนี้ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112

    ส่วนในตอนบ่าย “บอล” ชนินทร์ วงษ์ศรี เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาและข้อกล่าวหาเพิ่มเติม 2 ข้อหา ในลักษณะเดียวกัน

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23888)
  • 4 ผู้ได้รับหมายเรียกเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์”, มาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่น” และมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

    ผู้ได้รับหมายเรียกครั้งนี้ ได้แก่ รวิศรา เอกสกุล, สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ, “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ และแอน (นามสมมติ) ทุกคนยกเว้นอรรถพลไม่เคยได้รับหมายเรียกมาตรา 116 มาก่อน

    ก่อนทั้ง 4 คนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา เวลาประมาณ 12.30 น. มีนิสิต ศิษย์เก่า และอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กว่า 30 คน มารอให้กำลังใจที่หน้า สน.ทุ่งมหาเมฆ ทั้งยังมีการชูป้ายรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 และขอให้ #ช่วยน้องเรา เนื่องจากมีนิสิตและศิษย์เก่าจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ถูกดำเนินคดีจากการอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนีและมารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้

    ประมาณ 13.00 น. อรรถพลเดินทางมาถึง สน.ทุ่งมหาเมฆ โดยสวมหมวกไดโนเสาร์สีส้ม ประกาศว่าวันนี้รับทราบ “ข้อกล่าวหาไดโนเสาร์” หรือข้อหามาตรา 112 และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ก่อนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาและสอบคำให้การ

    พ.ต.ท.ประจำ หนุนนาค รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ทุ่งมหาเมฆ และ พ.ต.ท.อาวุธ แก้วมณี สารวัตร (สอบสวน) สน.ทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนแจ้ง 3 ข้อหาแก่ประชาชนทั้ง 4 คน ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4 เช่นเดียวกับคนอื่น

    ส่วนพฤติการณ์คดีนั้นมีเนื้อหาเหมือนกับบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาประชาชนอีก 9 คนทุกประการ โดยระบุในส่วนของรวิศรา, สุธินี และแอน ว่าเป็นผู้ร่วมอ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน

    ระหว่างการสอบคำให้การ อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมันจะก่อให้เกิดความยุยงปลุกปั่นได้อย่างไรในเมื่อผู้รับสารนั้นเป็นคนไทย พร้อมเสริมว่าการรับรู้ของผู้รับสารหรือผู้ฟังแถลงการณ์อาจมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งยังทวงถามว่าสามารถเชื่อคำแปลที่พนักงานสอบสวนแปลแถลงการณ์จากภาษาเยอรมันเป็นไทยได้หรือไม่

    หลังพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา ทั้ง 4 คนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ด้านพนักงานสอบสวนนัดหมายมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 7 ม.ค. 2564 เช่นเดียวกับกลุ่มประชาชนที่เข้ามารับทราบข้อกล่าวหาไปเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 63

    การสอบสวนเสร็จสิ้นเวลา 15.30 น. ซึ่งประชาชนยังคงจับกลุ่มให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดีบริเวณหน้า สน.ทุ่งมหาเมฆอย่างเนืองแน่น และเมื่อประชาชนทั้ง 4 คนเดินออกมาจากห้องสอบสวน ประชาชนปรบมือให้กำลังใจและตะโกน “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ในภาษาไทยและภาษาเยอรมัน

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 9 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23925)
  • นักกิจกรรมและประชาชนทั้ง 13 ราย เดินทางไปรายงานตัวที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมาย เพื่อฟังผลการสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนยังไม่ได้สรุปสำนวน อ้างเหตุจากคำให้การที่ผู้ต้องหายื่นมา ซึ่งต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติม และนัดให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 22 ม.ค. 2564

    (อ้างอิง: รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สน.ทุ่งมหาเมฆ ลงวันที่ 7 ม.ค. 2564)
  • จากเดิมที่นัดรายงานตัวในวันที่ 22 ม.ค. 2564 ก่อนวันนัด พนักงานสอบสวนได้แจ้งเลื่อนนัด โดยได้ออกหนังสือนัดผู้ต้องหาเพื่อส่งตัวต่อพนักงานอัยการในวันที่ 4 ก.พ. 2564 เวลา 09.30 น. ต่อมา พนักงานสอบสวนเลื่อนนัดอีกครั้งไปเป็นวันที่ 15 ก.พ. 2564 เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ระบุว่า เนื่องจากมีการเรียกพยานมาสอบปากคำเพิ่มเติมอีก 2 คน
  • ผู้ต้องหาส่งหนังสือขอเลื่อนนัดส่งตัวอัยการ เนื่องจากติดภารกิจในการศึกษา และติดภารกิจที่ต่างจังหวัดที่ได้นัดไว้ล่วงหน้าแล้ว ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 17 ก.พ. 2564 เวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: หนังสือขอเลื่อนนัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนคดีให้กับพนักงานอัยการ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 15 ก.พ. 2564)
  • นักศึกษา นักกิจกรรม และประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้ เดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ตามที่พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ หลังพนักงานอัยการรับตัวผู้ต้องหาแล้วได้นัดฟังคำสั่งอัยการในวันที่ 25 มี.ค. 2564 เวลา 10.00 น.

    ในวันนี้ผู้ต้องหาได้ยื่นหนังสือขอความเป็นต่อพนักงานอัยการ ระบุว่า ผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดีนี้ เนื่องจากพนักงานสอบสวนปรับใช้ข้อกฎหมายไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง โดยพฤติการณ์ในคดีเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ตามความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ จึงขอให้พนักงานอัยการให้ความเป็นธรรมและมีคําสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา เนื้อหาของหนังสืออธิบายเหตุผลโดยสรุปว่า

    1. พฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกิจกรรมการชุมนุมและเดินขบวนเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการพระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทําสิ่งใดผิด เพราะไม่กระทําสิ่งใด (The king can do no wrong The king can do nothing) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมถึงเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตําแหน่ง อันเป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาวิจารณ์บุคคลที่ดํารงตําแหน่งในองค์กรของรัฐโดยสุจริตที่พึงกระทําได้ตามระบอบประชาธิปไตย และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นการชุมนุมที่อยู่ภายใต้เงื่อนที่กระทําโดยสงบและปราศจากอาวุธจึงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ มาตรา 116 (2) (3) ที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด

    ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 116 ไม่อาจถูกตีความอย่างกว้างเพื่อนํามาใช้ดําเนินคดีหรือกลั่นแกล้งบุคคลที่ใช้เสรีภาพอย่างสุจริตในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่ดํารงตําแหน่งในองค์กรของรัฐตามปรกติในระบอบประชาธิปไตยได้ โดยเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ การจัดกิจกรรมชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ที่ผู้ต้องหาเข้าร่วมมีลักษณะเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ข้อเรียกร้องของผู้จัดกิจกรรมชุมนุมในวันดังกล่าวก็ปรากฏว่าเป็นข้อเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งสิ้น ผู้ต้องหาไม่ได้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้ปรากฏในที่สาธารณะว่า หากคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลไม่ดําเนินการตามข้อเรียกร้องข้างต้น ผู้ต้องหาจะใช้วิธีบังคับข่มขู่รัฐบาลดําเนินการโดยการกระทําผิดกฎหมาย อีกทั้งไม่เป็นการกระทําที่มีเจตนา หมิ่นประมาท ดู หมิ่น หรือแสดงความอาฆาตร้ายแก่บุคคลตามที่บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มุ่งประสงค์ให้การคุ้มครองซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

    รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของผู้ต้องหาผ่านการปราศรัยหรือการร้องเพลงหรือการชูแผ่นป้าย แม้จะปรากฏถ้อยคําไม่เหมาะสม หรือข้อความที่คณะพนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริงก็มิใช่เหตุในทางกฎหมายที่จะใช้ดุลพินิจกล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาได้กระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 (2) (3) แต่อย่างใด เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตามประชาชนย่อมมีสิทธิตรวจสอบหรือติชมรัฐบาลได้อยู่ตามหลักประชาธิปไตย

    2. การแจ้งความดําเนินคดีต่อผู้ต้องหาและการสอบสวนในคดีนี้ถือเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายซึ่งมีอัตราโทษที่สูงและเป็นข้อหาที่ร้ายแรงเป็นเครื่องมือกําบังหรืออําพรางเจตนาที่ต้องการหวังผลในทางการเมือง เพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน และต้องการยับยั้งมิให้ประชาชนใช้สิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญของตนในการแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็น ทําให้ประชาชนต้องสูญเสียเงินทอง เวลา และความสงบสุขในชีวิตไปกับการต่อสู้คดีอันยาวนาน และในที่สุดจะส่งผลให้ประชาชนคนอื่น เกรงกลัวและก็จะ "ปิดปาก" ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในทางวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลด้วยวิธีการใด ๆ อีกต่อไป ซึ่งในทางวิชาการเรียกการฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชนชนิดนี้ว่า (SLAPP) โดยเมื่อคดีนี้ผ่านการพิจารณาคดีของศาลจนถึงที่สุดแล้วและปรากฏว่าศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง ผู้ต้องหาทั้งหมด ผู้ต้องหาขอสงวนสิทธิที่ดําเนินการตามกฎหมายต่อคณะพนักงานสอบสวนเพื่อสร้างบรรทัดฐานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลต่อไป

    3. การฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน กล่าวคือ การกล่าวหาและดําเนินคดีกับผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นการปิดกั้นการใช้เสรีภาพอันชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ การฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ทั้งขณะเกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรือความวุ่นวายในบ้านเมืองแต่อย่างใด โดยเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 ได้มีประกาศยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงแล้ว ดังจะเห็นได้ว่าการใช้เสรีภาพของผู้ต้องหาไม่ได้กระทบต่อความไม่สงบหรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองแต่อย่างใด

    (อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 17 ก.พ. 2564)
  • นักศึกษา ประชาชน เดินทางเข้าฟังคำสั่งอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ตามนัด อัยการมีคำสั่งเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 13 พ.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
  • ผู้ต้องหาทั้ง 13 คน เดินทางเข้าฟังคำสั่งอัยการตามนัด อัยการมีคำสั่งเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 22 มิ.ย. 2564 เวลา 10.00 น.
  • ผู้ต้องหาทั้งหมด ยกเว้นอรรถพล และณวรรษ ซึ่งติดนัดศาลอาญาในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เดินทางไปฟังคำสั่งอัยการ อัยการมีคำสั่งเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 22 ก.ค. 2564 เวลา 10.00 น. ส่วนอรรถพลและณวรรษเดินทางไปรับทราบนัดในวันต่อมา (23 มิ.ย. 2564)
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นักกิจกรรมและประชาชนรวม 13 ราย ผู้ปราศรัยและอ่านแถลงการณ์ในการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี #ม็อบ26ตุลา หรือ #26ตุลาไปสถานทูตเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ในฐานความผิด “ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์” มาตรา 112, “ร่วมกันยุยงปลุกปั่น” ตามมาตรา 116 และร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้

    ท้ายคำฟ้องของอัยการระบุว่า ขอให้ศาลนับโทษในคดีนี้ของเบนจาต่อจากคดีมาตรา 112 จากกิจกรรม #ใครๆก็ใส่ครอปท็อป ที่ห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 63 และไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดี โดยขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    สำหรับวันนี้ มีผู้เดินทางมาฟังคำสั่งฟ้องทั้งหมด 12 ราย ได้แก่ ภัสราวลี, กรกช, ชนินทร์ วงษ์ศรี (จำเลยที่ 3) นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชลธิศ โชติสวัสดิ์ (จำเลยที่ 4) นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เบนจา อะปัญ (จำเลยที่ 5) นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วัชรากร ไชยแก้ว (จำเลยที่ 6) นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ (จำเลยที่ 7) นักกิจกรรมกลุ่มขอนแก่นพอกันที, อัครพล ตีบไธสง (จำเลยที่ 8), โจเซฟ (นามสมมติ) จำเลยที่ 9, สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ (จำเลยที่ 10) นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รวิสรา เอกสกุล (จำเลยที่ 11) บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแอน (นามสมมติ) (จำเลยที่ 12)

    ด้านณวรรษ เลี้ยงวัฒนา จะเดินทางมาฟังคำสั่งทางคดีในวันพรุ่งนี้ (23 ก.ค. 2564) ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่สถานทูตจากประเทศเยอรมนี, ลักเซมเบิร์ก, สวิตเซอร์แลนด์ และอังกฤษ มาร่วมสังเกตการณ์การยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอีกด้วย

    ขณะวานนี้ (21 ก.ค. 64) พรรคกรีนแห่งเยอรมนี (Bündnis 90/Die Grünen) ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนร่วมกับผู้ชุมนุมทั้ง 13 ราย พร้อมประณามการดำเนินคดีอาญากับผู้ชุมนุมอย่างสันติ

    เวลา 13.30 น. พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีพร้อมกับนำตัวจำเลยมาส่งศาล ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ประทับรับฟ้องไว้ ผู้พิพากษาเวรได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จำเลยทั้งหมดรับทราบคำฟ้อง และให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    จากนั้นอรรถพลได้แถลงต่อศาล ขอให้ศาลกำหนดเงื่อนไขการให้ประกันที่รัดกุมและชัดเจน เนื่องจากในคดีลักษณะเดียวกันก่อนหน้านี้ การที่ศาลตั้งเงื่อนไขการประกันตัวที่กว้าง ทำให้ต้องมีการไต่สวนถอนประกันหลายครั้ง ต้องการข้อยุติเพื่อให้ยอมรับโดยสดุดี ด้านผู้พิพากษาผู้อ่านฟ้องขอให้อรรถพลและทนายความยื่นคำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราวมา เนื่องจากตนมีหน้าที่อ่านฟ้องเท่านั้น ไม่ได้รับผิดชอบส่วนงานประกันตัว

    ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งหมด โดยใช้ตำแหน่งนักวิชาการทั้งหมด 7 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกลอีก 3 คน เป็นหลักประกัน พร้อมกับระบุเหตุผลในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวว่า พฤติการณ์ตามฟ้องถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก อันได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทย จำเลยนั้นยังให้ความร่วมมือในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน และชั้นพนักงานอัยการเป็นอย่างดี ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีอิทธิพลยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ตามคำฟ้องไม่ปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยที่เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ที่ศาลจะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

    ทั้งนี้ อรรถพลยังได้ยื่นคำแถลงประกอบกับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีเนื้อหาว่า จำเลยขอให้ศาลได้กำหนดเงื่อนไขการประกันตัวที่ชัดเจนไม่คลุมเครือต่อการตีความ หรือเป็นการจำกัดสิทธิจำเลยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแนวทางที่ผ่านมาในคดีอื่นๆ ที่มีลักษณะและข้อกล่าวหาเดียวกัน ศาลเคยวางแนวทางเงื่อนไขการประกันไว้ ดังนี้

    1. ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เงื่อนไขนี้ จำเลยที่ 7 อยากขอความกรุณาต่อศาลให้ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมใดที่มีความวุ่นวาย เพราะถ้าหากจำเลยเข้าร่วมกิจกรรมที่มีเจตนาสงบ สันติ อหิงสา แต่มีผู้อื่นหรือเจ้าหน้าที่รัฐทำให้เกิดความวุ่นวาย จะถือว่าจำเลยละเมิดเงื่อนไขหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ศาลใช้คำว่า “เข้าร่วม” ในกิจกรรม ไม่ได้เขียนให้ชัดเจนว่า ห้ามจำเลยกระทำความวุ่นวาย หรือถ้าหากศาลจะระบุให้ชัดว่า “ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่มีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายชัดเจน” จะถือเป็นความกรุณามาก

    2. ห้ามกระทำผิดซ้ำ หรือห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะที่เคยถูกกล่าวหา ข้อนี้จำเลยอยากขอให้ศาลระบุให้ชัดเจนว่า การกระทำดังกล่าวคือการกระทำในลักษณะเช่นใด และขอให้ศาลหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยความว่า “ห้ามกระทำผิดซ้ำ” เพราะในคดีนี้ยังไม่ได้มีการไต่สวนหาความจริง และพิพากษาว่าเป็นความผิด การตั้งเงื่อนไขด้วยข้อความเช่นนี้ เท่ากับให้เงื่อนไขตัดสินไปแล้วว่าเป็นความผิด ก่อนที่จะมีกระบวนการพิจารณาคดี

    3. ห้ามกระทำการเข้าร่วมชุมนุม หรือกล่าวพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์อันจะเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ เงื่อนไขข้อนี้อยากให้ศาลระบุให้ชัดเจนว่า การแสดงข้อมูล เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่มีพยานหลักฐานชัดเจน รวมถึงแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้หรือไม่

    อีกทั้ง การระบุในเงื่อนไขโดยใช้คำว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์” มีความหมายกว้างเพียงใด ตีความครอบคลุมถึงบุคคล องค์กรหรือกรณีใดบ้าง เพราะไม่ใช่ข้อความในประมวลกฎหมายมาตรา 112 ที่ระบุถึงเพียงองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ จำเลยจึงขอให้ศาลใช้ถ้อยความ โดยยึดถ้อยความที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นหลักเท่านั้น แทนการใช้ความว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์” เพราะจะทำให้การตีความกว้าง และคลุมเครือเกินกฎหมายกำหนด

    อรรถพลยังระบุในคำแถลงอีกว่า ที่สุดนี้หากศาลตั้งเงื่อนไขที่กว้างและคลุมเครือต่อการตีความมากเกินไป ก็จะทำให้มีผู้ร้องขอถอนประกันจนเป็นที่รกศาล และเป็นภาระต่อจำเลย การระบุข้อความเงื่อนไขที่ชัดเจนจะทำให้จำเลยง่ายต่อการปฏิบัติตามต่อเงื่อนไขของศาล และป้องกันการร้องถอนประกันจากการตีความที่คลุมเครือ และจำเลยอยากขอให้ศาลพิจารณากำหนดเงื่อนไขการประกันใดๆ ก็ตาม ต้องไม่เป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพของจำเลยที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายสากล

    ราว 16.00 น. บัญญัติ ตังกบดี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 12 คน ตีราคาวงเงินประกันคนละ 2 แสนบาท โดยให้ใช้ตำแหน่งนักวิชาการและ ส.ส. ตามคำร้อง พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามกระทำความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีก ให้มาศาลตามนัดทุกนัด โดยถือปฏิบัติเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาตจากศาล มีหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบ ทำให้ทั้ง 12 คน ได้รับการปล่อยตัวออกมาต่อสู้คดีต่อไป
    ศาลได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 ต.ค. 2564 เวลา 9.00 น.

    สำหรับคดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 ลำดับที่ 33 แล้วที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล นับตั้งแต่มีการกลับมาใช้มาตรา 112 อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ขณะที่จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีมาตรานี้พุ่งสูงถึงอย่างน้อย 111 ราย ภายในระยะเวลาราว 8 เดือน

    (อ้างอิง: คำฟ้องและคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 22 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/32493)
  • เวลา 09.00 น. มีนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในคดี หลังคู่ความรอนานกว่า 4 ชั่วโมง ผู้พิพากษาจึงออกพิจารณาคดี ระบุว่า เนื่องจากโจทก์ยื่นคําร้องขอให้นำคดีหมายเลขดําที่ อ.1309/2564 ของศาลนี้มารวมพิจารณากับคดีนี้ โดยอ้างว่าจําเลยทั้งสิบสองในคดีนี้และจําเลยในคดีดังกล่าวได้ร่วมกันกระทําความผิด และพยานหลักฐานที่โจทก์จะนําเข้าสืบในคดีนี้และคดีดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน หากรวมพิจารณาจะเป็นการสะดวกในการพิจารณาคดี ตามคําร้องฉบับลงวันที่ 23 ก.ค. 2564 ฝ่ายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน

    ศาลจึงมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ถือสํานวนคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1297/2564 เป็นหลัก เรียกจําเลยทั้งสิบสองในคดีนี้ว่า จําเลยที่ 1 ถึง 12 เหมือนเดิม และให้เรียกจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.1309/2564 ว่าจําเลยที่ 13

    ทนายจําเลยแถลงว่า เบนจา จําเลยที่ 5 ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจําในคดีอื่น (คดีปราศรัยหน้าซิโนไทย) ในวันนี้จึงไม่ได้มาศาล และไม่สามารถเบิกตัวผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้ เพราะยังถูกควบคุมตัวอยู่ในแดนกักโรค จึงขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานออกไปอีกซักนัด โจทก์แถลงไม่ค้าน ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดตรวจพยานหลักฐานไปในวันที่ 25 ต.ค. 2564

    โจทก์แถลงประสงค์ที่จะสืบพยานเอกสารจํานวน 28 อันดับ และวัตถุพยานจํานวน 6 อันดับ ซึ่งขอส่งศาลในวันนี้

    ในวันนี้นอกจากนัดตรวจพยานหลักฐานแล้ว ศาลยังนัดไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนประกันเบนจา ซึ่งทนายจำเลยที่ 5 ได้แถลงส่งตัวจำเลยที่ 5 คืนสู่การควบคุมตัวของศาล เนื่องจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลนี้ในคดีอื่นอยู่ ศาลจึงรับตัวจำเลยไว้และออกหมายขังระหว่างพิจารณา พร้อมทั้งมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวและยกเลิกนัดไต่สวนคําร้องดังกล่าว

    ++‘โจเซฟ’ กรีดแขนตัวเองในห้องพิจารณาคดี ร้อง #ปล่อยเพื่อนเรา “เลือดที่หลั่งไปมันเล็กน้อยมาก ถ้าเทียบกับความเจ็บปวดของเบนจาและอานนท์”++

    ก่อนเริ่มพิจารณาคดีในวันนี้ ‘โจเซฟ’ (นามสมมติ) หนึ่งในจำเลยคดีนี้ได้ลุกยืนขึ้น ‘ขออนุญาตศาลที่เคารพ’ จากนั้นชายหนุ่มเดินจากที่นั่งในห้องพิจารณาตรงไปยังคอกหน้าบัลลังก์ ยืนประชันหน้าอยู่ตรงข้ามกับผู้พิพากษา ก่อนจะเอ่ยถ้อยแถลงว่า

    “ผมขอฝากข้อความนี้ถึงอธิบดีศาลและคณะผู้บริหารศาลทุกท่าน เสื้อที่ผมใส่มาวันนี้ คนหนึ่งชื่อ ‘อานนท์ นำภา’ อีกคนชื่อ ‘เบนจา อะปัญ’ สองคนไม่ได้ประกันตัวภายใต้ศาลแห่งนี้

    “ผมจึงอยากจะฝากท่านไปบอกอธิบดีศาลว่า ทั้งสองคนยังเป็นเพียงผู้ต้องหาที่ศาลยังไม่ได้พิพากษาว่ามีความผิด แต่การที่ศาลไม่ให้ประกันและสั่งจองจำทั้งสองนั้นเท่ากับว่าศาลได้ตัดสินพวกเขาไปแล้วว่ามีความผิด”

    เมื่อพูดเสร็จ ชายหนุ่มใช้มือขวาล้วงมีดคัตเตอร์ออกจากกระเป๋าข้างกางเกง และตั้งศอกแขนซ้ายขึ้นมา พร้อมกับกล่าวว่า “สองคนนี้ไม่ได้ประกันตัว พวกเขาชื่อ อานนท์ นำภา…” ก่อนเขาจะดันเปิดใบมีดออกมาและค่อยๆ ใช้มันกรีดลงที่หลังแขนระนาบเดียวกับหลังมือในลักษณะของการปาดแนวนอนในฉับเดียว

    “เบนจา อะปัญ” เขาพูดพร้อมกรีดย้ำแผลที่แขนตัวเองเป็นครั้งที่สอง “อานนท์ นำภา” เขาพูดและลงคมมีดเป็นครั้งที่สาม “เบนจา อะปัญ อานนท์ นำภา …”

    ทุกคนในห้องพิจารณาคดีแน่นิ่ง ทุกอย่างในนั้นเงียบสงบลงจนได้ยินเสียงลงใบมีดเฉือนเนื้อแขนของชายหนุ่มอย่างชัดเจน

    เขาพูดชื่อเพื่อนทั้งสองพร้อมกับลงมืดที่แขนซ้ายของตัวเองไม่น้อยกว่า 6-8 ครั้ง ก่อนเขาจะค่อยๆ เก็บมีดเข้ากระเป๋ากางเกง และเอาอีกมือป้องแขนบริเวณที่มีแผล ซึ่งขณะนี้มีเลือดไหลออกมาไม่ยอมหยุด จากนั้นเขาค่อยๆ หันตัวเดินกลับมานั่งยังเก้าอี้ตัวเดิมที่ลุกไป

    เลือดของเขาไหลหยดลงกับพื้นลากทางยาวมาจนถึงเก้าอี้ที่เขานั่งลงแล้ว ตอนนี้ทุกคนในห้องหายจากความตกใจเมื่อครู่ และต่างพากันกรูเข้ามาถามไถ่โจเซฟว่า ‘โอเคหรือเปล่า’ ‘ออกไปทำแผลก่อนดีไหม’

    เขาตอบแต่เพียงว่า “ผมทนไหว” และยืนยันว่าจะอยู่จนจบการพิจารณาคดีในวันนี้ จากนั้นเขาใช้กระดาษทิชชู่เพียงไม่กี่แผ่นปิดแผลไว้ และนั่งฟังตลอดการพิจารณาคดีต่ออย่างใจเย็น

    ผ่านไปเพียงเสี้ยววินาที ศาลได้แถลงถึงเหตุผลที่ไม่ให้ประกันตัวอานนท์และเบนจา โดยได้กล่าวได้ทำนองว่า “การที่ทั้งสองไม่ได้ประกันนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในการฟ้องร้องหมิ่นประมาท เหมือนกับการฟ้องร้องของบุคคลทั่วไป สองคนนี้ก็เหมือนกัน “ผมเพียงคนเดียวไม่มีอำนาจตัดสินใจให้ปล่อยตัวใครได้หรอก แต่ผมจะไปเรียนผู้พิพากษาที่ท่านมีอำนาจในเรื่องนี้ให้ก็แล้วกัน”

    โจเซฟนั่งอดทนกับบาดแผลของเขาอยู่ในห้องพิจารณาคดีจนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเวลากว่า 15 นาที นับตั้งแต่เขาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการกรีดแขนตัวเอง

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564, อ.1309/2564 ลงวันที่ 11 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36362)
  • เวลาประมาณ 09.00 น. ทนายความและธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว “เบนจา อะปัญ” หนึ่งในสมาชิกของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคดีมาตรา 112 รวม 2 คดี คือ คดีนี้ หลังจากส่งตัวเบนจาต่อศาล และคดีการปราศรัยและอ่านแถลงการณ์ที่หน้าบริษัทซิโน-ไทย ในระหว่าง #ม็อบ10สิงหา ‘คาร์ม็อบใหญ่ไล่ทรราช’ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 โดยในคดีนี้ได้ใช้หลักทรัพย์ในการยื่นประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

    คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเบนจา ระบุเหตุผลโดยสรุปดังนี้

    1. จำเลยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีกําหนดที่จะต้องสอบไล่ปลายภาคการศึกษารวม 6 รายวิชาด้วยกัน หากไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวย่อมส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของผู้ต้องหา โดยไม่อาจเยียวยาด้วยหนทางอื่นได้

    6. จำเลยยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด

    7. ขณะนี้เป็นที่ปรากฏว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ในเรือนจําทั่วประเทศ หากผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะต้องถูกคุมขังในเรือนจําดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ต้องหาเนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค จากการถูกคุมขังในสถานที่แออัด

    อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 12.35 น. มนัส ภักดิ์ภูวดล ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวเบนจา ระบุว่า แม้คดีนี้จำเลยที่ 5 จะเคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลก็กำหนดเงื่อนไขห้ามมีกระทำการในทำนองเดียวกันอันทำให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเงื่อนไขอื่นๆ โดยให้จำเลยที่ 5 ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขจึงถูกดำเนินคดีอื่นในศาลนี้ ในการกระทำในทำนองเดียวกัน และในคดีดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ดังนั้นจึงเป็นเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 5 อาจจะไปก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 5

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36868)
  • นัดตรวจพยานหลักฐาน โจทก์ และจําเลยทั้งสิบสามมาศาล โดยจําเลยที่ 5 อยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง (เบิกตัวทางจอภาพ)

    โจทก์ยื่นคําร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่า เนื่องจากเจ้าหน้าที่ภายในสํานักงานของโจทก์ตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 อย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้พนักงานอัยการในสํานักงานโจทก์ทั้งหมดกลายเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง และต้องกักตัว

    ทนายจําเลยทั้งสิบสามแถลงต่อศาลว่า จําเลยที่ 5 มีความประสงค์จะขอตรวจพยานหลักฐานของโจทก์แต่เนื่องจากจําเลยที่ 5 อยู่ภายในเรือนจํา จึงไม่อาจตรวจพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงขออนุญาตศาลเลื่อนคดีไปเสียสักนัดหนึ่งและขอให้เบิกตัวจําเลยที่ 5 มาศาลในวันนัด เพื่อตรวจพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยตนเอง ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนคดีไปตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 25 ต.ค. 2564)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเบนจาเป็นครั้งที่ 5 โดยใช้หลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ ระบุเหตุผลว่า

    1. จากการไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 6 ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การสอบสวนในคดีนี้เสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องสอบสวนพยานบุคคลเพิ่มอีก อยู่ระหว่างการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณามีความเห็นทางคดี เท่านั้น ผู้ต้องหาเห็นว่าการขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างการรอผู้บัญชาบัญชาทำความเห็นทางคดีนั้นเป็นการขังผู้ต้องหาไว้เกินกว่าเหตุจำเป็นและเพิ่มภาระแก่ผู้ต้องหา อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 29 วรรค 3 และเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 25 วรรค 3 อีกด้วย อีกทั้งคำร้องและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนไม่ปรากฏข้อคัดค้านหากผู้ต้องหาขอปล่อยตัวชั่วคราว

    2. ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีภารกิจในการเรียนและการสอบในช่วงเดือนธันวาคม 2564

    ประมาณ 16.00 น. สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ยังไม่ทำคำสั่งต่อคำร้อง โดยให้รอเอกสารที่มหาวิทยาลัยรับรองว่าผู้ต้องหาจะเข้าสอบมาแสดงก่อนจึงจะพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 26 พ.ย. 2564)
  • ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเบนจาในคดีนี้ และคดีอ่านแถลงการณ์หน้าตึกซิโนไทย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64

    ต่อมาเวลา 16.13 น. เนตรดาว มโนธรรมกิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองคดี โดยให้เหตุผลคล้ายกัน คำสั่งไม่ให้ประกันในคดีนี้ระบุว่า

    พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า จำเลยเคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขห้ามไปกระทำความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีก แต่จำเลยกลับไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และไปก่อคดีในลักษณะเดียวกันซ้ำอีก กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายประการอื่น กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1974/2564 ลงวันที่ 7 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38628)
  • นัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ก่อนจะเริ่มพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยพกโทรศัพท์มือถือและกระเป๋าเข้าห้องพิจารณาคดี รวมถึงมีการใช้เครื่องตรวจโลหะตรวจสอบจำเลยและผู้ที่ต้องการจะเข้าฟังการพิจารณาคดีอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ศาลพยายามห้ามไม่ให้ญาติและผู้ที่จะมาให้กำลังใจจำเลยเข้าร่วมการฟังพิจารณาคดี โดยอ้างเหตุผลเรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยหลังจากมีการพูดคุยเจรจาแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลจึงได้ยอมให้เข้ามาในห้องพิจารณาคดีได้ตามปกติ

    จำเลยทั้ง 12 ราย ปรากฏตัวต่อศาลตามนัดหมาย ก่อนที่ศาลจะเบิกตัวเบนจาจากทัณฑสถานหญิงกลาง มาร่วมตรวจพยานหลักฐาน นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเยอรมนีเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีด้วย

    จำเลยทั้งสิบสามยืนยันให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมกันนี้ ทั้งโจทก์และจำเลยแถลงไม่สามารถรับข้อเท็จจริงกันได้ จึงไม่มีการตัดพยานและนำพยานเข้าสืบทุกปาก.

    อัยการโจทก์แถลงจะสืบพยาน จำนวน 29 ปาก ซึ่งพยานแต่ละคนจะเบิกความถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบสามคน รวมถึงพยานเอกสารและวัตถุพยานอีกหลายรายการ ด้านฝ่ายจําเลยแถลงขอนําสืบพยานจําเลยทั้งหมดร่วมกัน จํานวน 23 ปาก และยื่นพยานเอกสารกับวัตถุพยานหลายรายการเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม ศาลได้แจ้งกับทนายจำเลยว่า ไม่สามารถนำพยานเอกสารบางรายการเข้าสืบได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางเข้าออกประเทศของรัชกาลที่ 10 จาก 3 หน่วยงาน คือ การบินไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานกงสุลใหญ่นครมิวนิค, ข้อมูลงบประมาณการใช้จ่ายของหน่วยงานราชการในพระองค์ รวมไปถึงพยานบุคคลที่ศาลสั่งไม่ให้ออกหมายเรียกมานำสืบ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานเอกสารเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับประเด็นคดี ศาลไม่ได้จะพิสูจน์ว่าคำพูดปราศรัยของจำเลยนั้นเป็นจริงหรือเท็จ แต่จะพิสูจน์ว่าคำปราศรัยของจำเลยนั้นเข้าข่ายเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือไม่

    ทนายจำเลยจึงจะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของศาลภายใน 8 วัน ศาลพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 8 วันนับตั้งแต่วันนี้ หากไม่ยื่น ถือว่าไม่ติดใจ กำหนดวันนัดสืบพยานรวมทั้งหมด 13 นัด เป็นนัดสืบพยานโจทก์ 7 นัด และนัดสืบพยานจำเลย 6 นัด โดยนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 2-3, 7-10, 14 มีนาคม 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 15-17, 21-23 มีนาคม 2566

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38947)
  • ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเบนจาในคดีนี้ พร้อมทั้งคดีปราศรัยหน้าซิโนไทย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 ระบุว่าคดีนี้ศาลเคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยเนื่องจากเกรงว่าจะไปก่อเหตุร้ายภยันตรายประการอื่น อย่างไรก็ดีการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นการใช้อำนาจของรัฐเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาซนซึ่งศาลจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการก่อเหตุร้ายกับสิทธิเสรีภาพของจำเลยโดยไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่จำเลยมีภาระเรื่องเรียนที่จะต้องเสียหายจากการคุมขัง จึงเป็นเหตุที่สามารถได้รับการพิจารณา โดยพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน

    สำหรับคดีนี้จำเลยเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำเลยได้ลงทะเบียนเรียนทั้งหมดจำนวน 3 วิชา และมีภาระหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทำรายงานในรายวิชา และเข้าสอบตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด อีกทั้งจำเลยเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเรียนการสอน ไม่สามารถเรียนภายในเรือนจำได้

    สำหรับรายวิชา “กลศาสตร์ของแข็ง 1” นั้น เป็นรายวิชาบังคับด้านวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรนานาชาติ) หมวดวิชาบังคับ จำเป็นต้องเข้าฟังการบรรยาย 45 ชั่วโมง การฝึกปฏิบัติ 15 ชั่วโมง และการศึกษาด้วยตัวเองจำนวน 75 ชั่วโมง และยังจำเป็นต้องมีการวัดผลด้วยการสอบกลางภาคและสอบปลายภาคอีกด้วย

    หากจำเลยต้องถูกคุมขังไว้ โดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ อันจะทำให้จำเลยไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาของจำเลยและอนาคตของจำเลยอย่างร้ายแรง

    คำร้องระบุว่าจำเลยยินยอมยอมรับเงื่อนไขในการประกันตัวต่างๆ ทั้งจะไม่ทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, จะไม่เข้าชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, จะอยู่ในเคหสถานตลอดเวลาเว้นแต่มีเหตุจำเป็น, ยินยอมให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือหากศาลจะกำหนดเงื่อนไขอื่นใด ก็พร้อมจะปฏิบัติตามเงื่อนไข และพร้อมจะให้แต่งตั้งผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล

    ต่อมา เวลา 16.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้กำหนดนัดฟังคำสั่งขอประกันตัวดังกล่าวในวันพรุ่งนี้ (14 ม.ค. 65) ในเวลา 14.00 น.

    ขณะเดียวกันที่ศาลอาญา ทนายความยังได้เข้ายื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวเบนจา ในอีกคดีหนึ่งที่เธอถูกออกหมายขัง ได้แก่ คดีละเมิดอำนาจศาล จากกรณีชุมนุมหน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 หลังเธอถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงสุดของข้อหานี้ และคดียังอยู่ระหว่างรออุทธรณ์คำพิพากษา

    ต่อมา ศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเบนจา โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันตัว 50,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใด ทำให้เธอยังเหลือหมายขังรวมในอีกสองคดีข้างต้น โดยถูกถูกคุมขังมารวมเป็นระยะเวลา 98 วันแล้ว

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 13 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39555)
  • เวลา 14.15 น. สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเบนจาทั้งสองคดีที่ยื่นประกันวานนี้ โดยมีวงเงินประกันคดีละ 100,000 บาท ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ ระบุว่า พิเคราะห์แล้ว ตามคําร้องประกอบคําร้องขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวของจําเลย ระบุว่า จําเลยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จําเลยลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จํานวน 3 วิชา ตามหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา มีภาระต้องเข้าเรียน จัดทํารายงานรายวิชาและเข้าสอบตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกําหนดและจําเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเรียนการสอนไม่สามารถเรียนภายในเรือนจําได้ ทั้งยังต้องมีการวัดผลด้วยการสอบกลางภาคและสอบปลายภาคด้วย

    หากจําเลยต้องถูกคุมขังจะไม่สามารถศึกษาต่อตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด อันจะทําให้จําเลยไม่สามารถสําเร็จการศึกษาได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตของจําเลย โดยจําเลยยินยอมที่จะไม่ทํากิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่เข้าร่วมชุมนุม ที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ยินยอมให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ และกําหนดเงื่อนไขใดๆ ที่ศาลกําหนด โดยพร้อมจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

    จําเลยขอให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้รับรอง และกํากับดูแลให้จําเลยปฏิบัติตามคําสั่งศาล ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร จันทรสุข ยินยอมที่จะเป็นผู้กํากับดูแล

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุจําเป็นตามคําร้องของจําเลยแล้ว เห็นว่าหากจําเลยต้องถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีย่อมต้องมีผลกระทบต่อการศึกษาของจําเลย อาจถึงขั้นไม่สามารถสําเร็จการศึกษาได้ เมื่อจําเลยยินยอมปฏิบัติตามคําสั่งและเงื่อนไขของศาลทุกประการ จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยระหว่างพิจารณา โดยตีราคาประกัน 100,000 บาท ยึดหลักประกันและทําสัญญาประกัน โดยกําหนดเงื่อนไข ข้อห้ามและในช่วงเวลาจํากัด เพื่อมิให้จําเลยมีโอกาสไปกระทําการอันมีลักษณะเป็นความผิดเช่นเดียวกับคดีนี้อีก โดยให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลย มีผลตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 22 พ.ค. 2565 และให้ผู้ประกันหรือผู้กํากับดูแลนำตัวจําเลยมาส่งศาลภายในวันที่ 23 พ.ค. 2565 เวลา 12.00 น.

    1. ห้ามจำเลยทํากิจกรรมหรือก่อเหตุที่จะกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 18.00 – 6.00 น. เว้นแต่มีเหตุจําเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนและไปสอบ หรือเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล และให้จําเลยกลับเคหสถานทันที เมื่อปฏิบัติภารกิจในเหตุจําเป็นเสร็จสิ้น
    4. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
    5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
    6. ตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร จันทรสุข เป็นผู้กํากับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคําสั่งศาล

    ทั้งนี้ ให้จําเลยมารายงานตัวต่อศาล เพื่อสอบถามเกี่ยวกับเงื่อนไขและข้อห้ามที่ศาลกําหนดในการปล่อยตัวชั่วคราว ในวันที่ 15 มี.ค. 2565 เวลา 10.00 น.

    เบนจาได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลางในช่วงค่ำ รวมระยะเวลาที่ถูกคุมขังทั้งสิ้น 99 วัน

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 14 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39573)
  • เวลา 13.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หลังยื่นคำร้องครั้งที่ 7 เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ของ รวิสรา เอกสกุล บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเลยที่ 11 ในคดีนี้

    รวิสราได้รับทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของรัฐบาลเยอรมนี The German Academic Exchange Service (DAAD) แต่ด้วยเงื่อนไขการประกันตัวของศาลทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ โดยที่ผ่านมาเธอได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรต่อศาลแล้ว 7 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2565 โดยครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 7) เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 รวิสรายื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้ง โดยเสนอชื่อผู้กำกับดูแล รวม 4 คน ผู้กำกับดูแลในประเทศไทยได้เสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อครั้งเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบิดาของตนเอง ส่วนผู้กำกับดูแลในประเทศเยอรมนีได้เสนอชื่อพี่สาวของรวิสรา และชัช ขำเพชร นักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งขณะนี้ทั้งสองอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ก่อนศาลได้นัดไต่สวนคำร้องอีกครั้งในวันนี้

    ตามกำหนดของรวิสราหลังได้รับทุนการศึกษา เธอต้องเดินทางไปศึกษาในหลักสูตรเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. ถึง 30 ก.ย. 2565 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อน

    ศาลทำการไต่สวนพยาน 3 ปาก ได้แก่ ผู้กำกับดูแลในไทยทั้งสองคน และรวิสราเอง โดยอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ได้ให้การว่า ตนรู้จักกับรวิสราตั้งแต่สมัยยังเรียนมัธยม ได้เห็นถึงความประพฤติดี ชีวิตส่วนตัว และความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนของรวิสรามาโดยตลอด ทั้งยังระบุว่า ทุนที่รวิสราได้รับเป็นทุนที่ทรงเกียรติและมีคุณค่า มีขั้นตอนในการสอบคัดเลือกที่ยากลำบากมาก แม้ตนเป็นผู้จบระดับชั้นปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี แต่เมื่อครั้งที่เป็นนิสิตอยู่นั้น แม้จะเป็นคนหนึ่งที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในขณะนั้น แต่ก็ไม่เคยสอบชิงทุนที่รวิสราได้รับได้เลยสักครั้ง

    พ่อของรวิสราให้การว่า ตนพร้อมทำหน้าที่ผู้กำกับดูแล และยังเสนอพี่สาวของรวิสราเป็นผู้กำกับดูแลในเยอรมันอีกคน เพราะเป็นคนสุขุม คอยดูแล ให้คำแนะนำน้องสาวมาตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งยังเคยได้รับทุนการศึกษานี้มาก่อน พ่อของรวิสรายืนยันว่า ตนมั่นใจว่าจะสามารถทำหน้าที่ผู้กำกับดูแลได้และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด หากพบว่าลูกสาวกระทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนด จะรายงานโดยทันทีอย่างแน่นอน

    ด้านรวิสราให้การว่า หลังจากเรียนจบ ตนตั้งใจจะนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติ ที่มากไปกว่านั้น ทางเยอรมนีเชื่อมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนอย่างมาก โดยเฉพาะหลักการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) เพราะแม้รวิสราจะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 แต่เยอรมนีก็ยังยินดีมอบทุนการศึกษาดังกล่าวให้ นอกจากนี้ ตนไม่ได้คิดจะหลบหนีหรือกระทำผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด เพราะจะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน

    สุดทัาย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้รวิสราเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2565 จนถึงวันที่ 15 ก.ย. 2567 แต่ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม “ห้ามทำกิจกรรมหรือก่อเหตุหรือเข้าร่วมชุมนุมที่จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยและในระหว่างที่อยู่ในประเทศเยอรมนี”

    และกำหนดต่อไปว่า “เมื่อจำเลยมีความตั้งใจที่จะไปศึกษาต่อ จึงให้จำเลยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและให้ส่งผลการศึกษาเล่าเรียนมาให้ศาลทราบภายใน 1 เดือน นับแต่วันประกาศผลการศึกษาของแต่ละภาคการศึกษา ให้ตั้งอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บิดา และพี่สาวของจำเลยเป็นผู้กำกับดูแล โดยให้บุคคลทั้งสามติดต่อประสานงาน และร่วมมือกันในการกำกับดูแล หรือให้คำปรึกษา หรือคอยกำชับ หรือตักเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัดและป้องกันการหลบหนีของจำเลย และให้ผู้กำกับดูแลเสนอรายงานเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและข้อห้ามตามคำสั่งของศาล ในระหว่างที่พักอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีต่อศาลทุกๆ เดือน โดยให้รายงานต่อศาลครั้งแรกภายในวันที่ 30 เม.ย. 2565 และครั้งต่อไปภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป

    และให้จำเลยเดินทางกลับประเทศไทยก่อนถึงวันนัดพิจารณาของศาลในวันที่ 2 มี.ค. 2566 และให้พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยจนกว่าจะพิจารณาคดีแล้วเสร็จ มีหนังสือแจ้งให้เพิกถอนหนังสือห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของจำเลยต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง”

    ++ปากคำทนายความที่ให้ความช่วยเหลือในคดี ระบุ การยื่นคำร้องหลายครั้งก่อภาระให้ครอบครัวจำเลย ศาลสามารถเรียกเอกสารทั้งหมดได้แต่เนิ่น ๆ ไม่จำเป็นต้องยืดเยื้อ++

    ตลอดการยื่นคำร้องถึง 7 ครั้งนี้ กิตติศักดิ์ กองทอง ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่รวิสราตลอดมา เขาสะท้อนให้เห็นปัญหาว่า กรณีของรวิสรา ศาลไม่จำเป็นต้องเลื่อนการพิจารณาคำร้องหลาย ๆ ครั้ง ให้เหตุผลว่าต้องการเอกสารเพิ่มเติม เพราะที่จริงแล้วสามารถขอให้จำเลยรวบรวมเอกสารที่จำเป็นมาให้ได้ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ที่ยื่นคำร้อง และยังได้เปรียบเทียบกรณีนี้กับกรณีของณัฐพล ทีปสุวรรณ กลุ่ม กปปส. ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วว่ามีความผิด และอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ แต่กลับยังสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ สะท้อนความ “ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน” ของการบังคับใช้กฎหมาย

    “การเลื่อนการพิจารณาหลายครั้งอาจทำให้ตัวลูกความเข้าใจไปได้ว่า ศาลพยายามกีดกันสิทธิในการที่จะเดินทางออกนอกประเทศ เพราะทุกครั้งที่ยื่นคำร้องไป ศาลก็มักจะมีเหตุผลหรือถามหาเอกสารเพิ่มเติมตลอด ถ้าศาลเห็นแต่แรกว่า เอกสารใดจำเป็นต่อการตีความ ศาลน่าจะมีความเห็นสั่งได้ตั้งแต่ครั้งแรก ๆ แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้ล่วงเลยมา”

    “เทียบกับกรณีของณัฐพล มันแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของศาลยุติธรรมที่จะมีคำสั่งในการพิจารณาคำร้องเรื่องการเดินทางออกนอกประเทศ เพราะว่าในกรณีนั้นที่เป็นข่าว ปรากฏชัดว่า ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก แต่จำเลยในคดีได้ขออุทธรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน คดีของรวิสรา ศาลยังไม่ได้ทำการพิจารณาคดีเลยด้วยซ้ำว่าเธอกระทำความผิดจริงหรือไม่ แต่กลับมีกระบวนการที่สร้างข้อยุ่งยากในการได้รับสิทธิเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อ”

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าศาลจะอนุญาตให้รวิสราสามารถเดินทางไปเรียนต่อได้ในที่สุด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่ต้องเดินทางมาศาลหลาย ๆ ครั้ง เพื่อยื่นคำร้องได้สร้างภาระให้กับจำเลยและครอบครัวอย่างมาก นอกจากจะเสียเวลา ยังมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกมาก ทั้งค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสารเป็นภาษาไทย

    “การมาศาลแต่ละครั้ง ต้องมาตั้งแต่เช้า แล้วกว่าศาลจะมีคำสั่ง เวลาก็ล่วงเลยไปจนเย็น จำเลยต้องเฝ้ารออย่างมีความหวังทุกครั้ง แล้วก็ต้องพบกับความผิดหวัง ทั้งยังเสียโอกาสในการเตรียมตัวเดินทาง ในการเตรียมสิ่งของ หรือประสานงานอย่างอื่นสำหรับการไปพักอาศัยที่ต่างประเทศ พ่อของจำเลยเองต้องเดินทางมาจากลพบุรีเพื่อมายื่นคำร้องร่วมกับลูกสาว มีค่าใช้จ่ายตามมา ประกอบกับในการยื่น ศาลยังเรียกเอกสารเพิ่ม ทำให้ต้องมีการแปลเอกสาร ซึ่งก็เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก”

    ไม่ใช่แค่ความติดขัดในเรื่องของการยื่นคำร้องที่กินระยะเวลาตั้งแต่ต้น ก.พ. – ต้น เม.ย. ทนายกิตติศักดิ์ยังมีข้อสังเกตอีกประการเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลจำเลย

    “มีอยู่ครั้งหนึ่ง ศาลมีคำสั่งว่า บุคคลที่น่าเชื่อถือที่สามารถแต่งตั้งเป็นผู้กำกับดูแลได้ควรจะเป็นอาจารย์หรือว่าเป็นญาติสนิท แต่ในการยื่นคำร้องอีกครั้งต่อมาโดยเสนอชื่อญาติจำเลยเป็นผู้กำกับดูแล ทางเจ้าหน้าที่ของศาลกลับแนะนำมาว่า อาจจะไม่น่าเชื่อถือในสายตาของศาล เพราะเกรงว่าจะช่วยเหลือจำเลยเวลากระทำผิดเงื่อนไขศาลแล้วจะไม่รายงานศาล นี่เป็นคำบอกเล่าผ่านทางเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้ระบุไว้ในกระบวนพิจารณา”

    “นับเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของรวิสรา เธอได้ประสานกับทางมหาวิทยาลัย ทางนั้นก็เข้าใจ และเห็นใจที่เธอต้องถูกดำเนินคดีในลักษณะนี้ เลยขยายระยะเวลาในการเดินทางไปเรียนเตรียมความพร้อมให้ ซึ่งกว่าจะยื่นคำร้องแต่ละครั้ง กว่าที่ศาลจะอนุญาตก็เป็นวันที่ 1 เมษา แล้ว เดิมทีรวิสรามีกำหนดการที่จะต้องเดินทางวันที่ 1 เมษา พอดี ทำให้พลาดโอกาส ต้องเตรียมตัวทุกอย่างอย่างกระทันหัน”

    ในปลายทางของการเรียกร้องที่กินเวลาร่วม 2 เดือน จนกระทั่งศาลมีคำสั่งอนุญาต ทนายกิตติศักดิ์ทิ้งท้ายว่า ตัวเขารู้สึกยินดีที่ลูกความสามารถรักษาสิทธิตัวเองไว้ได้ ถึงแม้จะมีอุปสรรค แต่ความพยายามดังกล่าวก็สัมฤทธิ์ผลในที่สุด

    “แม้จะมีอุปสรรคขัดขวางระหว่างทาง ทำให้บางครั้งเธออาจจะต้องทดท้อใจไป แต่ในที่สุดแล้วก็รู้สึกยินดีที่ศาลได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ทางการศึกษา แล้วก็สิทธิในการศึกษาของจำเลย จนมีคำสั่งอนุญาตในเวลาที่อาจเรียกได้ว่า เกือบจะนาทีสุดท้ายก็ว่าได้”

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 1 เม.ย. 2565, https://tlhr2014.com/archives/42175 และ https://tlhr2014.com/archives/42412)
  • เบนจาเดินทางไปรายงานตัวต่อศาลตามคำสั่งที่อนุญาตให้ประกันจนถึงวันที่ 22 พ.ค. 2565 โดยทนายได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งให้ประกัน ระบุว่า จําเลยต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาถัดไปในวันที่ 1 ส.ค. 2565 จําเลยเป็นนักศึกษา ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือจะไปก่อเหตุร้ายใด ไม่เคยผิดเงื่อนไขที่ศาลกําหนด จึงขอให้ศาลยกเลิกเงื่อนไขห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 18.00 - 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เนื่องจากกระทบต่อการใช้ชีวิตและการศึกษาที่จําเลยจะต้องฝึกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการหรือสถานปฏิบัติการ

    ศาลไม่ได้มีคำสั่งต่อคำร้องในวันเดียวกัน แต่นัดให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 25 พ.ค. 2565 โดยให้ขยายระยะเวลาให้ประกันไปจนถึงวันดังกล่าว

    (อ้างอิง: คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2565)
  • สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเบนจาระหว่างพิจารณาต่อไปอีก โดยมีช่วงเวลาจํากัดจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2566 ให้ผู้ประกันหรือผู้กํากับดูแลส่งตัวเบนจาต่อศาลในวันดังกล่าวเวลา 10.00 น. และห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 - 05.00 น. ส่วนเงื่อนไข ข้อห้าม ข้อยกเว้น การตั้งผู้กํากับดูแล และให้ติด EM นั้น ให้คงเป็นไปตามคําสั่งเดิม ให้จําเลยมารายงานตัวต่อศาลเพื่อสอบถามทุก ๆ 2 เดือน นัดรายงานตัวครั้งแรกวันที่ 27 ก.ค. 2565

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2565)
  • ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ “ฟ้า” สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ หนึ่งในจำเลยคดีนี้ พร้อมด้วยทนายความได้เดินทางไปยื่นคำร้องขอเดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนด้านภาษาที่ประเทศเยอรมนี เป็นครั้งที่ 2 หลังจากการยื่นในครั้งแรก ศาลให้จำเลยไปหาบุคคลมาเพื่อเป็นผู้กำกับดูแลระหว่างอยู่ที่ประเทศเยอรมนี เพื่อให้มาประสานงานกับผู้กำกับดูแลที่อยู่ประเทศไทยก่อน

    ในคดีนี้ ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณา โดยมีเงื่อนไข “ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาตจากศาล” ต่อมา สุธินีได้รับทุนการศึกษาจาก “ศูนย์บริการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเยอรมัน (DAAD)” ของรัฐบาลเยอรมนี เพื่อไปศึกษาแลกเปลี่ยนภาษาเยอรมัน ยังประเทศเยอรมนี ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือน โดยมีกำหนดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 3 – 28 ก.ค. 2565

    สำหรับคำร้องที่ยื่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 นั้น มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ฟ้าเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 ของคณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก วิชาเอกภาษาเยอรมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้มีผลการเรียนดีจนเคยได้รับรางวัล หลังจากศึกษาแลกเปลี่ยนที่ประเทศเยอรมนีแล้ว เธอพร้อมจะเดินทางกลับมาประเทศไทยทันที ที่มากไปกว่านั้น ทุนการศึกษานี้ยังมอบให้เฉพาะนักศึกษาชั้นเยี่ยมและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จเท่านั้น พร้อมกันนี้ ฟ้าได้เสนออาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ศาลพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้กำกับดูแล

    ในคำร้องที่ได้ยื่นต่อศาลในวันนี้ ได้ระบุเพิ่มเติมว่า การเดินทางไปแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ของจำเลยไม่กระทบกับการพิจารณาคดี เนื่องจากจะเสร็จสิ้นในเดือน ก.ค. โดยจำเลยมีกำหนดการเดินทางกลับในวันที่ 2 ส.ค. 2565 และขอให้ศาลแต่งตั้งรุ่นพี่ของจำเลย ซึ่งอยู่อาศัยในประเทศเยอรมนี และเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของศาลและมิได้เป็นบุคคลต้องห้ามฯ เป็นผู้กำกับดูแล โดยรุ่นพี่รายนี้เป็นบุคคลที่จำเลยมักปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนภาษาเยอรมันและปัญหาส่วนตัวมาโดยตลอด โดยมีหนังสือรับรองจากรุ่นพี่ยินยอมให้แต่งตั้งเป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลระหว่างอยู่ที่ประเทศเยอรมนี

    ต่อมา ในเวลาราว 16.00 น. สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศเยอรมนีได้ พร้อมมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือห้ามเดินทางออกราชอาณาจักร ให้เหตุผลว่า จากการสอบถามจำเลยเพิ่มเติม ได้ความว่า ผู้กำกับดูแลที่จะให้การดูแลจำเลยที่ประเทศเยอรมนีนั้นเป็นศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทราบแล้วว่า จะต้องประสานงานกันกับผู้กำกับดูแลที่อยู่ประเทศไทยในการกำกับดูแลจำเลย

    ศาลเห็นว่า นับแต่ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว จำเลยไม่เคยกระทำการใดที่อาจผิดเงื่อนไขหรือข้อกำหนดของศาล จึงเห็นควรอนุญาตให้จำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. – 2 ส.ค. 2565 ให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาลในวันทำการแรก ถัดจากวันที่ 2 ส.ค. 2565 หรือวันที่เดินทางกลับถึงไทย และเห็นควรกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ให้ผู้ดูแลทั้งสองติดต่อประสานงานและร่วมมือกันในการกำกับดูแลหรือให้คำปรึกษา คอยกำชับและตักเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามคำสั่งศาลอย่างเคร่งครัดระหว่างที่จำเลยเรียนอยู่ในประเทศเยอรมนี

    ทั้งนี้ คดีจากการชุมนุม #26ตุลาไปสถานทูตเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจําประเทศไทย เพื่อขอให้ตรวจสอบกษัตริย์ไทยว่ามีการใช้พระราชอำนาจบนดินแดนของเยอรมนีหรือไม่ โดยฟ้าและเดียร์เป็นหนึ่งในผู้อ่านแถลงการณ์ของการชุมนุมเป็นภาษาเยอรมัน แต่ไม่ได้มีบทบาทอื่นใดในการชุมนุมดังกล่าว

    การเดินทางไปศึกษาต่อของทั้งสองคน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเข้าร่วมการพิจารณาคดีในคดีนี้แต่อย่างใด เนื่องจากศาลได้นัดสืบพยานในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2566 ซึ่งทั้ง 2 มีกำหนดกลับก่อนหน้านั้น

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 26 พ.ค. 2565, https://tlhr2014.com/archives/44032 และ https://tlhr2014.com/archives/44069)
  • นัดสืบพยานนัดแรก มีจำเลยเดินทางมาศาลเพียง 12 ราย โดยเบนจา จำเลยที่ 5 ไม่ได้เดินทางมา เนื่องจากติดสอบของมหาวิทยาลัย

    ที่ห้องพิจารณาคดี 603 เวลา 09.00 น. ก่อนศาลจะออกพิจารณาคดี ทนายความได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานออกไปจำนวน 3 นัด ได้แก่ นัดสืบพยานโจทก์ที่ 1-3 ในวันที่ 2, 3 และ 7 มี.ค. 2566 ด้วยเหตุผลที่เบนจาติดสอบที่มหาวิทยาลัยในนัดแรก อัครพลมีนัดเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลในนัดที่ 2 และสุธินีติดสอบที่มหาวิทยาลัยในนัดที่ 3 ตามลำดับ แต่จำเลยทั้งสามประสงค์ที่จะเข้าร่วมการสืบพยานโจทก์และจำเลยในนัดอื่นที่เหลืออยู่

    เวลา 10.35 น. คณะผู้พิพากษาออกพิจารณาคดี โดยได้รับคำร้องขอเลื่อนนัดของฝ่ายจำเลยไว้ แต่เนื่องจากคดีนี้เป็นที่สนใจของประชาชน คณะผู้พิพากษาจึงขอเวลานำคำร้องไปปรึกษากับรองอธิบดีศาลก่อน และให้คู่ความรออยู่ในห้องพิจารณา คณะผู้พิพากษายังได้ถามอัยการโจทก์ด้วยว่า คัดค้านการเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ 3 นัดของฝ่ายจำเลยหรือไม่

    โดยอัยการโจทก์ไม่คัดค้านการเลื่อนคดี พร้อมทั้งแถลงว่า วันนี้ได้นัดพยานโจทก์ที่จะเข้าเบิกความไว้ 2 ปาก ในช่วงเช้าและบ่ายช่วงละ 1 ปาก และตลอดการสืบพยานโจทก์ทั้งหมด อัยการโจทก์ประสงค์นำพยานโจทก์เข้าเบิกความรวมทั้งสิ้น 29 ปาก ตามที่เคยแถลงต่อศาลไว้

    เวลา 11.20 น. คณะผู้พิพากษากลับเข้าห้องพิจารณาคดี และได้แจ้งข้อสรุปจากการปรึกษากันว่า รองอธิบดีศาลเห็นว่าการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ทั้ง 3 นัด มีเหตุผลเพียงพอและมีหลักฐานประกอบครบถ้วน จึงอนุญาตให้ยกเลิกนัดสืบพยานโจทก์ทั้ง 3 นัดตามคำร้อง และให้เริ่มสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในนัดที่เหลือต่อไป ซึ่งนัดแรกเป็นวันที่ 8 มี.ค. 2566 และรองอธิบดีศาลฝากคณะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเน้นย้ำและขอความร่วมมือจากคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า หากมีเหตุขัดข้องไม่สามารถเข้าร่วมการสืบพยานได้ขอให้แจ้งล่วงหน้าก่อนที่จะถึงนัดสืบพยาน

    ++ศาล ‘ยก 3 คำร้อง’ ขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ – บัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 – ขอออกหมายเรียกพยาน ทนายจำเลยชี้สำคัญกับการสู้คดีและสืบพยานคดีนี้อย่างมาก

    วันเดียวกันนี้ ทนายจำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีและสืบพยานคดีนี้ของฝ่ายจำเลย ได้แก่ คำร้องขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ (หมาย วจ.), คำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 จำนวน 5 ลำดับ และคำร้องขอออกหมายเรียกพยานจำเลย จำนวน 5 ลำดับ ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งยกคำร้องทั้ง 3 คำร้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    1. คำร้องขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์: คาดเป็นวิดีโอปราศรัยและอ่านแถลงการณ์ในวันเกิดเหตุ ศาลยกคำร้องไม่ให้คัดถ่าย อ้างภาพเคลื่อนไหวมีถ้อยคำผิดตามฟ้องจำนวนมาก หากสำเนาเผยแพร่ออกไปจะเกิดความเสียหายในวงกว้างได้

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ (หมาย วจ.) ทุกลำดับต่อศาลแล้ว แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยอ้างว่า ไม่อนุญาตให้คัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ แต่สามารถตรวจสอบวัตถุพยานดังกล่าวได้ที่ศาล โดยให้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ศาล

    ครั้งนี้ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ทุกลำดับต่อศาลอีกครั้ง โดยระบุเหตุผลในคำร้องว่า วัตถุพยานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่โจทก์ใช้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปตรวจดูวัตถุพยานโจทก์ที่ศาลด้วยตัวเองเป็นการสร้างภาระให้แก่จำเลยเกินความจำเป็น และอาจจะไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่

    เย็นวันเดียวกันศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องเป็นครั้งที่ 2 โดยมีรายละเอียดคำสั่งโดยสรุปว่า เมื่อพิจารณาว่าภาพเคลื่อนไหวดังกล่าว (วัตถุพยานโจทก์) อาจมีถ้อยคำที่เป็นการกระทำความผิดตามฟ้องจำนวนมาก หากไม่มีการควบคุมดูแลโดยเจ้าพนักงานศาล และมีการทำสำเนาหรือตัดต่อจนเกิดการแพร่หลายออกไป จะเกิดความเสียหายในวงกว้าง แต่ทนายจำเลยสามารถตรวจสอบวัตถุพยานโจทก์ดังกล่าวได้ที่ศาล โดยให้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ศาลตามคำสั่ง

    ทั้งนี้ “วัตถุพยานโจทก์” หรือ “หมาย วจ.” หมายถึง พยานหลักฐานเชิงวัตถุที่โจทก์ประสงค์นำเข้าประกอบการสืบพยาน เพื่อสนับสนุนการเบิกความของพยานโจทก์ ใช้เพื่อการถามค้านพยานจำเลย และสนับสนุนน้ำหนักในการกล่าวหาจำเลยว่ากระทำความผิดจริงตามฟ้อง ซึ่งวัตถุพยานสามารถเป็นได้ทั้งภาพถ่าย วิดีโอ ภาพจากกล้องวงจรปิด หรือวัตถุอื่นๆ ที่เกี่ยวกับคดี ซึ่งในคดีนี้ วัตถุพยานโจทก์มีอยู่ด้วยกัน 6 ลำดับ เป็นแผ่นซีดีบันทึกวิดีโอจำนวน 6 แผ่นด้วยกัน แต่ยังไม่ทราบว่าแต่ละแผ่นเป็นวิดีโอเกี่ยวกับเรื่องใด คาดเป็นวิดีโอปราศรัยและอ่านแถลงการณ์ในวันเกิดเหตุ

    โดยปกติในคดีการเมืองอื่นๆ ศาลก็อนุญาตให้คัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์เป็นปกติอยู่แล้ว แม้จะเป็นคดีที่ถูกกล่าวหาในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และ “ยุยงปลุกปั่น” อย่างเดียวกับในคดีนี้ก็ตาม

    การที่ศาลไม่ยินยอมให้คัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ แต่ให้ฝ่ายจำเลยเดินทางไปตรวจสอบด้วยตัวเองที่ศาลในเวลาราชการและอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ศาลนั้นจะสร้างภาระให้จำเลยอย่างมาก ด้วยอุปสรรคที่จำเลยมีจำนวนมาก โดยในคดีนี้มีจำเลยถูกฟ้องรวมทั้งสิ้น 13 คน มีทนายความจำเลยประมาณ 11 คน เวลาในการดูและตรวจสอบวัตถุพยานโจทก์ที่มีจำกัดเฉพาะในเวลาราชการเท่านั้น ทั้งยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าวัตถุพยานโจทก์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวนั้นผ่านการตัดต่อหรือดัดแปลงมาหรือไม่ รวมถึงไม่สามารถปรึกษาหารือถึงแนวทางการต่อสู้คดีได้อย่างเป็นส่วนตัวอีกด้วย เนื่องจากจะต้องอยู่ในพื้นที่ศาลที่มีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา

    2. คำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยเพิ่มเติม ครั้งที่ 2: ขอเพิ่ม ‘ประยุทธ์’ เป็นพยานบุคคล และขอเพิ่มพยานเอกสาร 4 ลำดับ เกี่ยวกับการเดินทางเข้า-ออกประเทศ ของ ร.10 รวมถึงงบฯ ในพระองค์ แต่ศาลยกคำร้อง อ้างไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้

    ในคดีนี้ฝ่ายจำเลยได้ยื่นบัญชีพยานจำเลยต่อศาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 โดยระบุพยานจำเลยทั้งสิ้น 80 ลำดับ แบ่งเป็นพยานบุคคลทั้งสิ้น 23 ปาก (ลำดับที่ 1 – 23) และเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ 57 ลำดับ (ลำดับที่ 24 – 80) แต่ศาลมีคำสั่งไม่รับพยานเอกสารลำดับที่ 48 – 51

    ต่อมา ในนัดตรวจพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เนื่องจากต้องการจะระบุพยานบุคคลเพิ่มเติม 1 ลำดับ รวมถึงต้องการให้ศาลรับพยานเอกสารลำดับที่ 48 – 51 ที่เดิมศาลมีคำสั่งไม่รับไว้ แต่ศาลยังคงมีคำสั่งไม่รับพยานเอกสารทั้งสี่ลำดับ รวมถึงพยานบุคคล 1 ลำดับที่ยื่นเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีนี้ ทั้งนี้ แต่ละลำดับที่ศาลไม่รับมีรายละเอียด ดังนี้

    พยานเอกสารลำดับที่ 48 – 51 เป็นเอกสารสำหรับใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นการประทับอยู่ในประเทศเยอรมันของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ขณะครองราชย์และในวันเกิดเหตุคดีนี้ รวมถึงเพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการเดินทางไปกลับประเทศเยอรมันโดยเครื่องบินพระที่นั่งจริง

    ลำดับที่ 48 เป็นต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารทางราชการแสดงรายละเอียดการเดินทางเข้าออกประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 นับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 จนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2563 ซึ่งเอกสารอยู่ในความรับผิดชอบของสถานกงสุลใหญ่ นครมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

    ลำดับที่ 49 เป็นต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารทางราชการแสดงรายละเอียดการเดินทางเข้าออกประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 นับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 จนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2563 เอกสารอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรุงเทพฯ

    ลำดับที่ 50 เป็นต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารทางราชการแสดงรายละเอียดการเดินทางเข้าออกประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 นับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 จนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2563 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่การบินไทย

    ลำดับที่ 51 เป็นต้นฉบับหรือสำเนารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2563 อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการในพระองค์ เพื่อใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นของหน่วยราชการส่วนพระองค์ซึ่งขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้มีการใช้งบประมาณแผ่นดินในการเดินทางและประทับในประเทศเยอรมันตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ

    พยานบุคคลยื่นเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลำดับที่ 1 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้เข้าเบิกความพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ในประเด็นการขยายขอบเขตพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์

    ในนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนี้ ทนายจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ระบุพยานบุคคลและพยานเอกสารทั้ง 5 ลำดับดังกล่าวไปอีกครั้ง โดยให้เหตุผลประกอบคำร้องว่า พยานบุคคลและพยานเอกสารทั้ง 5 ลำดับ เป็นพยานที่จะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย และเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จำเลยต้องใช้นำสืบเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยและประกอบการพิจารณาคดีของศาล

    แต่ศาลยังคงมีคำสั่งยกคำร้องไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมทุกลำดับเช่นเดิม โดยให้เหตุผลว่า “ศาลได้มีคำสั่งไม่รับบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติมครั้งที่ 1 โดยให้เหตุผลแห่งการไม่อนุญาตอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว เมื่อพิจารณาคำร้องนี้ จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง”

    3. คำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกประยุทธ์และเอกสารอีก 4 ลำดับ แต่ศาลยกคำร้อง เนื่องจากได้สั่งไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 จึงไม่สามารถออกหมายเรียกพยานให้ได้

    ทนายความยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานบุคคลและพยานเอกสารทั้ง 5 ลำดับ ที่ได้ระบุไว้ในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 โดยขอให้ศาลออกหมายเรียก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เดินทางมาเบิกความต่อศาลในการสืบพยานจำเลยคดีนี้ เนื่องจากเป็นพยานภายนอกที่มีความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นต่อสู้คดีของจำเลย ซึ่งจำเลยไม่สามารถนำมาศาลเองได้

    และขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารลำดับที่ 48 – 51 ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางเข้าออกประเทศของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นเข้ามาเป็นพยานหลักฐานในสำนวนคดีนี้ด้วย โดยเอกสารทั้งหมดอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการและบุคคลภายนอก เป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในคดีนี้ ซึ่งทนายจำเลยจำเป็นต้องใช้ในการสืบพยานและถามค้านพยานบุคคลของโจทก์ทุกปาก

    อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันศาลมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ฉะนั้นจึงไม่สามารถออกหมายเรียกพยานบุคคลและพยานเอกสารทั้ง 5 ลำดับที่ยังไม่ได้อยู่ในบัญชีพยานจำเลยได้

    (อ้างอิง: คำร้องขอเลื่อนคดี, คำร้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2, คำร้องขอคัดถ่ายวัตถุพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 2 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54073)
  • ก่อนเริ่มสืบพยาน ศาลอ่านคำสั่งหลังวานนี้ (8 มี.ค. 2566) จำเลยยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้เข้ามาเป็นองค์คณะพิจารณาคดีนี้ ระบุว่า พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลและความจำเป็นจะให้อธิบดีฯ เข้ามาเป็นองค์คณะ เนื่องจากอธิบดีได้จ่ายสำนวนไปให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและองค์คณะแล้ว ซึ่งสามารถพิจารณาคดีได้โดยอิสระ ตามหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา

    จำเลยยังยื่นคำร้องขอระบุบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นพยานเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดการเดินทางของกษัตริย์ในประเทศเยอรมัน และรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานในพระองค์ รวม 4 อันดับ พร้อมทั้งขอเลื่อนคดี แต่ศาลยังมีคำสั่งยกคำร้องอีกเช่นเดิม แต่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปตามที่จำเลยแถลงว่า จะขอใช้ระยะเวลา 60 วัน เพื่อขวนขวายหาพยานเอกสารดังกล่าวนำมาต่อสู้คดี
    โดยยกเลิกวันนัดสืบพยานเดิม และกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่ นัดสืบพยานโจทก์จำนวน 6 นัด ในวันที่ 15 ส.ค., 14, 15 ก.ย., 5 ต.ค., 26, 27 ธ.ค. 2566 และกำหนดนัดสืบพยานจำเลย 6 นัด ในวันที่ 28, 29 ธ.ค. 2566, 26 - 29 มี.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1297/2564 ลงวันที่ 9 มี.ค. 2566)
  • ทนายจำเลยที่ 5 แถลงขอเลื่อนคดี เนื่องจากเป็นวันเปิดเรียนวันแรกฯ จำเลยต้องไปเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาในรายวิชาที่จำเลยประสงค์จะลงทะเบียนเรียน โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุขัดข้องไม่มาศาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ไม่มีเจตนาผิดสัญญาประกัน จึงให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 14 ก.ย. 2566 ตามที่นัดไว้เดิม
  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากเบนจาติดสอบที่มหาวิทยาลัย และรวิสราเปิดเรียนแล้วจึงเดินทางกลับไปเรียนที่เยอรมัน โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุขัดข้องไม่มาศาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ไม่มีเจตนาผิดสัญญาประกัน จึงให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 22 มี.ค. 2567 และยกเลิกนัดในวันที่ 26 - 29 ธ.ค. 2566

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
กรกช แสงเย็นพันธ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
โจเซฟ (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
รวิสรา เอกสกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แอน (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชลธิศ โชติสวัสดิ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วัชรากร ไชยแก้ว

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อัครพล ตีบไธสง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชนินทร์ วงษ์ศรี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
กรกช แสงเย็นพันธ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
โจเซฟ (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
รวิสรา เอกสกุล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แอน (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชลธิศ โชติสวัสดิ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วัชรากร ไชยแก้ว

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อัครพล ตีบไธสง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชนินทร์ วงษ์ศรี

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์