ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1335/2564
แดง อ.2211/2564
ผู้กล่าวหา
- นิรุตต์ แก้วเจริญ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1335/2564
แดง อ.2211/2564
ผู้กล่าวหา
- นิรุตต์ แก้วเจริญ
ความสำคัญของคดี
จรัส (สงวนนามสกุล) นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี ถูกประชาชนแจ้งความดำเนินคดี หลังจรัสแสดงความคิดเห็นตอบโดยวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่ม “เพจจันทบุรี” เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 โดยครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหา "นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมฯ" ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)
ภายหลังเมื่อมีการนำมาตรา 112 กลับมาดำเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองอีกครั้ง อัยการได้ให้ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมฐาน "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และยื่นฟ้องต่อศาลใน 2 ข้อหาดังกล่าว แม้ว่าข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิด เป็นการแสดงความเห็นต่อแนวคิดของรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอดีตกษัตริย์ ไม่ใช่บุคคลที่มาตรา 112 มุ่งให้ความคุ้มครอง
ภายหลังเมื่อมีการนำมาตรา 112 กลับมาดำเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองอีกครั้ง อัยการได้ให้ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมฐาน "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และยื่นฟ้องต่อศาลใน 2 ข้อหาดังกล่าว แม้ว่าข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิด เป็นการแสดงความเห็นต่อแนวคิดของรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอดีตกษัตริย์ ไม่ใช่บุคคลที่มาตรา 112 มุ่งให้ความคุ้มครอง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
คำฟ้องของสุรเชษฐ บุญสนอง พนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี บรรยายพฤติการณ์ในคดีโดยสรุปว่า
ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุข และรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอย่างแท้จริง ต่อมาในวันที่ 13 ต.ค. 2559 ได้ทรงเสด็จสวรรคต ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างอยู่ในอาการเศร้าโศกเสียใจ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่ามาโดยตลอด และทรงมีแนวพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2517 มีความบางตอนว่า
“การพัฒนาประเทศจําต้องทําเป็นลําดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกําลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้”
ต่อมาวันที่ 7 เม.ย. 2563 จําเลยโดยมีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จสวรรคตดังกล่าวต่อบุคคลที่สาม ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กชื่อบัญชี (เพจ) “จันทบุรี” ซึ่งมีประชาชนทั่วไปเป็นสมาชิกเป็นจํานวนมาก กล่าวถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีความหมายว่า แนวพระราชดําริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เป็นทฤษฎีที่นํามาหลอกลวงประชาชนชาวไทย ให้เพียงพอ ประหยัด บังคับให้ประชาชนอยู่ใต้อำนาจโดยง่าย โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยเจตนาแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ อันเป็นการนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 ลงวันที่ 27 พ.ค. 2564)
ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุข และรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอย่างแท้จริง ต่อมาในวันที่ 13 ต.ค. 2559 ได้ทรงเสด็จสวรรคต ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างอยู่ในอาการเศร้าโศกเสียใจ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่ามาโดยตลอด และทรงมีแนวพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2517 มีความบางตอนว่า
“การพัฒนาประเทศจําต้องทําเป็นลําดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับต่อไป หากมุ่งแต่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกําลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้”
ต่อมาวันที่ 7 เม.ย. 2563 จําเลยโดยมีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จสวรรคตดังกล่าวต่อบุคคลที่สาม ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กชื่อบัญชี (เพจ) “จันทบุรี” ซึ่งมีประชาชนทั่วไปเป็นสมาชิกเป็นจํานวนมาก กล่าวถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีความหมายว่า แนวพระราชดําริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เป็นทฤษฎีที่นํามาหลอกลวงประชาชนชาวไทย ให้เพียงพอ ประหยัด บังคับให้ประชาชนอยู่ใต้อำนาจโดยง่าย โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยเจตนาแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ อันเป็นการนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 ลงวันที่ 27 พ.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 11-08-2020นัด: แจ้งข้อกล่าวหาจรัสพร้อมผู้ปกครองเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก สภ.เมืองจันทบุรี เนื่องจากถูกนิรุตต์ แก้วเจริญ กล่าวหาว่า “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 เวลา 02.00 น. ผู้กล่าวหาซึ่งอาศัยอยู่ที่อำเภอเมืองจันทบุรี ได้เปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือส่วนตัวและคอมพิวเตอร์เข้าดูโซเชียลมีเดียสื่อเฟซบุ๊ก “เพจจันทบุรี” พบข้อความซึ่งผู้ดูแลเพจโพสต์ว่า “ช่วงนี้โรคโควิดระบาด เศรษฐกิจไม่ดี ให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง” หลังจากนั้นไม่นานมีสมาชิกในกลุ่มเพจได้แสดงความคิดเห็นลงในโพสต์ และผู้กล่าวหาอ้างว่าจรัสได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นว่า
“Nirut Kaewcharoen ไม่ต้องรู้หรอก ว่าผมทำไรบ้างอะ แต่แค่ผมจะสื่อสารว่าเราโดนหลอกอะ ทฤษฎีที่มันเอามาแค่หลอกให้พวก ปชช ที่ไม่รู้จักรู้ร้อนรู้หนาว(คนส่วนใหญ่)ได้สบายใจกับคำว่าพอเพียง กับคำว่าประหยัด ส่วนพวกบุคคลที่ได้รับผลกระทบจริงๆ กลับไม่มีอะไรมาเยียวยาเค้าเลย แบบนี้พอเข้าใจว่ามันไม่ควรใช้ยังไง อารมณ์แบบเราเสียภาษีให้กษัตริย์เพื่อให้กษัตริย์มาพัฒนาประเทศและดูแลทุกคนใน ปทท ปะ ไม่ใช่ทอดทิ้งคนกลุ่มล่างปะวะ คิดเอาว่าคนพวกนี้จะอยู่ไง ลำบากแค่ไหน ตื่นมาหาหาข้าวกินสักมื้อนี่โคตรจะลำบากแล้ว ไม่เคยเห็นคนพวกนี้เข้าถึงทฤษฎีนี้สักนิด เพราะผมพูดเลยว่าไม่ต้องมีเศรษฐกิจพอเพียงคนไทยก็อยู่ได้ (แม่งแค่ฉลาดบอกคนไทยให้พอ มันจะรวยได้คนเดียวจะได้กดหัวหัวง่ายๆ) คิดแบบนี้นะ บอกเลยมันโหนคำว่าประหยัดเพื่อหลอก ปชช ครับ คืนประเทศไทยให้คนไทยจะเปลี่ยนให้เป็นเมือง”
ผู้กล่าวหาอ้างว่าข้อความดังกล่าวทำให้บุคคลทั่วไปที่มาอ่าน เข้าใจผิดว่าเป็นการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย จึงมาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับจรัส
พนักงานสอบสวนจึงข้อกล่าวหาจรัสว่า “นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1)
ในการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำ ซึ่งไม่มีทนายความอยู่ร่วม มีเพียงผู้ปกครอง จรัสได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และให้การเบื้องต้นว่าไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลหรือเจตนาหมิ่นประมาทกษัตริย์ แต่โพสต์เป็นเชิงตั้งคำถามให้เจ้าของโพสต์ได้ทราบ
หลังเสร็จกระบวนการ พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวจรัสไว้
ทั้งนี้จากข้อความที่ถูกกล่าวหานั้น พบว่าเป็นข้อความที่เป็นการแสดงความคิดเห็นตอบผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษชื่อเดียวกับ “นิรุตต์ แก้วเจริญ” ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้เอง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/27031)
-
วันที่: 28-12-2020นัด: ฟังคำสั่งอัยการจรัสเดินทางไปรายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี เพื่อฟังคำสั่งตามที่พนักงานอัยการนัดหมาย หลังพนักงานสอบสวนส่งตัวจรัสพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรีในเดือนพฤศจิกายน 2563 แต่อัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดหมายมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 27 ม.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 27-01-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดหมายมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 24 ก.พ. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 24-02-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดหมายมารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 24 มี.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 15-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมจรัสพร้อมทนายความเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ที่ สภ.เมืองจันทบุรี หลัง ร.ต.อ.พิชิต สายกระสุน พนักงานสอบสวน สภ.เมืองจันทบุรี ออกหมายเรียกลงวันที่ 9 มี.ค. 2564 ให้จรัสไปรับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2564 อัยการได้แจ้งจรัสว่า มีคำสั่งจากทางอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ภายใต้คณะทำงานกำหนดแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้แจ้งข้อกล่าวหาต่อจรัสเพิ่มเติม ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ”
พนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์ในคดีเช่นเดิมที่เคยได้แจ้งมาแล้ว โดยไม่ได้มีพฤติการณ์อื่นๆ เพิ่มเติม ก่อนแจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหา คือ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
จรัสให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา เมื่อสอบปากคำเสร็จพนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวจรัส ไม่ได้ควบคุมตัวไว้
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองจันทบุรี ลงวันที่ 15 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27031) -
วันที่: 24-03-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 27 เม.ย. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 27-04-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เนื่องจากตำรวจยังไม่ส่งสำนวนสอบสวนที่สอบเพิ่มเติมให้อัยการ เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 27 พ.ค. 2564
-
วันที่: 27-05-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)จรัสเดินทางไปฟังคำสั่งอัยการ ก่อนจะทราบว่าอัยการมีคำสั่งฟ้องจรัส ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
จากนั้นอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดจันทบุรี ศาลรับฟ้องไว้ ต่อมาญาติของจรัสได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดี วงเงินประกัน 150,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ ซึ่งญาติได้ใช้เงินสดส่วนตัววางเป็นหลักประกัน ศาลกำหนดวันนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 28 มิ.ย. 2564 เวลา 9.00 น. และนัดสอบคำให้การวันที่ 5 ก.ค. 2564 เวลา 9.00 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 ลงวันที่ 27 พ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30136) -
วันที่: 28-06-2021นัด: คุ้มครองสิทธิจรัสพร้อมทนายความเดินทางไปตามนัดของศาล
-
วันที่: 05-07-2021นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานจรัสและทนายจำเลยเดินทางมาศาล ศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การ จรัสยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือประกอบ โดยให้การในประเด็นว่าข้อความตามฟ้องนั้นเกี่ยวข้องกับการตั้งคำถามเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 อีกทั้งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น มุ่งคุ้มครองเฉพาะพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่เท่านั้น
จากนั้น พนักงานอัยการโจทก์ ได้แถลงขอนำส่งพยานเอกสารจำนวน 5 ฉบับ และส่งให้ฝ่ายจำเลยตรวจ ขณะที่จำเลย ยังไม่มีพยานเอกสารที่จะส่งต่อศาล หลังจากตรวจดูเอกสาร คู่ความแถลงว่าไม่มีข้อเท็จจริงในเอกสารใดที่สามารถรับกันได้
อัยการโจทก์ได้แถลงว่าประสงค์จะนำสืบพยานบุคคลทั้งหมด 5 ปาก ได้แก่ ผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นผู้พบข้อความตามฟ้อง, เพื่อนของจำเลย, คณะพนักงานสอบสวนที่ทำสำนวนคดีนี้ อีกจำนวน 3 นาย โดยโจทก์ของใช้เวลาสืบพยานจำนวน 1 นัด
ฝ่ายทนายจำเลยแถลงประสงค์จะนำสืบพยานทั้งหมด 2 ปาก ได้แก่ ตัวจำเลยเอง และพยานนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ โดยขอใช้เวลาสืบพยานทั้งหมดครึ่งนัด
ศาลพิเคราะห์แล้ว ได้อนุญาตให้คู่ความสืบพยานได้ตามจำนวนนัดที่ร้องขอ และคู่ความตกลงวันนัดสืบพยานในวันที่ 7-8 ตุลาคม 2564
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/31732) -
วันที่: 07-10-2021นัด: สืบพยานพยานโจทก์เข้าเบิกความจำนวน 2 ปาก และจำเลยเข้าเบิกความเป็นพยานให้ตนเองเพียง 1 ปาก จนเสร็จสิ้น โดยมีข้อต่อสู้ในประเด็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์องค์พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว ไม่เข้าข่ายองค์ประกอบของมาตรา 112
++พยานโจทก์ปากที่ 1 – นิรุตต์ แก้วเจริญ (ผู้กล่าวหา) ยืนยันดำเนินคดีเพราะหมิ่นอดีต ร. 9 เพียงพระองค์เดียว อ้างแม้สวรรคตแล้ว แต่ยังคงอยู่ในใจชาวไทย++
นิรุตต์ได้เบิกความว่า เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 เวลาประมาณ 02.00 น. ซึ่งขณะนั้นตนยังไม่เข้านอน ได้ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวเข้าไปดูกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อว่า ‘เพจจันทบุรี’ ซึ่งนิรุตต์เป็นสมาชิกอยู่ด้วย พบว่ามีผู้โพสต์ตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่อง “การควรนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19” แต่ไม่ได้กล่าวว่าหลักการดังกล่าวเป็นของผู้ใด แต่นิรุตต์ทราบว่า หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวเป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
ผู้โพสต์ตั้งกระทู้ดังกล่าว คือ ‘ชานนท์’ ซึ่งนิรุตต์จำนามสกุลไม่ได้ ชานนท์เป็นผู้ดูแลกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งมีสมาชิกภายในกลุ่มประมาณ 100,000 คน
ต่อมานิรุตต์พบว่า มีบุคคลผู้หนึ่งเข้าไปโต้ตอบพิมพ์ข้อความในทำนองว่า ‘เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องวาทกรรมหลอกลวง เป็นการกดขี่คนจน ประชาชนเสียภาษีให้แก่พระมหากษัตริย์ แต่กษัตริย์ไม่ดูแลประชาชน’ โดยผู้ที่ตอบข้อความในลักษณะเช่นนี้มีเพียงคนเดียว
นิรุตต์จึงได้กดบันทึกภาพหน้าจอที่มีการโต้ตอบกระทู้ซึ่งเป็นข้อความโต้ตอบอันเป็นประเด็นในคดีนี้ และพบว่ามีจำเลยเป็นผู้โพสต์ตอบโต้ดังกล่าว
นิรุตต์เห็นว่าข้อความดังกล่าวของจำเลย เป็นข้อความที่ไม่เหมาะสม หลังจากเกิดเหตุ 2-3 วัน จึงได้เดินทางไปร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สภ.เมืองจันทบุรี โดยไม่ได้ระบุข้อกล่าวหา เพียงแต่เข้าไปแจ้งพฤติการณ์ว่าเป็นการกระทำที่เป็น ‘การดูหมิ่นกษัตริย์’ เท่านั้น
ต่อมานิรุตต์จึงได้ไปค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมจาก ‘จิรศักดิ์ นักธรรม’ ซึ่งเป็นคนที่นิรุตต์รู้จัก เนื่องจากประกอบอาชีพเป็นช่างภาพเหมือนกัน จิรศักดิ์บอกกับนิรุตต์ว่ารู้จักกับจำเลย และได้ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของจำเลยไว้
ในช่วงตอบคำถามทนายจำเลยถามค้าน นิรุตต์เบิกความว่า ‘เพจจันทบุรี’ ไม่ได้เปิดต่อสาธารณะ แต่เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยมีสมาชิกของกลุ่ม ผู้ที่จะเข้าไปดูในเพจดังกล่าวได้ต้องเป็นสมาชิกและได้รับการอนุญาตให้เข้าไปดูก่อน จึงจะเข้าไปไปดูเนื้อหาในกลุ่มได้
ส่วนกระทู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว จำเลยเพียงเข้าไปแสดงความความคิดเห็น ไม่ใช่ผู้ที่ตั้งกระทู้เอง ทั้งนี้มีผู้ที่เข้าไปแสดงคิดเห็นจำนวนหลายคน รวมถึงพยานด้วย แต่มีเพียงจำเลยที่แสดงความคิดเห็นในเชิงลบ ส่วนการที่ตนไปร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนนั้นเป็นการระบุถึงการหมิ่นประมาทกษัตริย์รัชกาลที่ 9 เพียงพระองค์เดียว
พนักงานอัยการถามติง นิรุตต์เบิกความตอบกลับว่า การเข้าไปดูกลุ่มเฟซบุ๊ก ‘เพจจันทบุรี’ ได้นั้นจะต้องเป็นสมาชิกของกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวเท่านั้น โดยวิธีการเป็นสมาชิกมี 2 วิธี คือ ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มนั้น ต้องกดคำขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก และต้องได้รับความยินยอมจากสมาชิกเดิมให้เข้าร่วมได้ และอีกวิธีหนึ่งคือการที่สมาชิกของกลุ่ม กดชวนให้เข้าไปเป็นสมาชิก
ในตอนท้าย จรัสยังคงเบิกความยืนยันว่า แม้ขณะเกิดเหตุรัชกาลที่ 9 จะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่พระองค์ก็ยังคงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่อยู่ในใจของชาวไทย
++พยานโจทก์ปากที่ 2 – ร.ต.อ.พิชิต สายกระสุน ทนายจำเลยยกความเห็นนักวิชาการชี้ ‘112 ไม่ครอบคลุมอดีตกษัตริย์’ พยานโต้จำเลยจาบจ้วงสถาบันฯ สมควรถูกฟ้อง++
ร.ต.อ.พิชิต สายกระสุน พนักงานสอบสวน สภ.เมืองจันทบุรี ได้เบิกความว่า ในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2563 เวลา 15.45 น. นายนิรุตต์ แก้วเจริญ ได้มาแจ้งความร้องทุกข์กับ ร.ต.อ.วินิจ สิมะลิ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเวร เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นลงในกลุ่มเฟซบุ๊กหนึ่งเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในลักษณะหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 9 ซึ่งขณะนั้นนิรุตต์ยังไม่ได้ระบุว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นผู้ใด
ต่อมา ร.ต.อ.วินิจ ได้สอบปากคำนิรุตต์ โดยเขาได้ระบุตัวตนของจำเลยด้วยการระบุว่าภาพโปรไฟล์บนบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวของจำเลย ตรงกันกับรูปภาพในข้อมูลทะเบียนราษฎรของจำเลยที่พนักงานสอบสวนหามาได้
นอกจากนี้ ร.ต.อ.วินิจ ยังได้สอบปากคำ ‘จิระศักดิ์ นักธรรม’ ไว้เป็นพยานอีกด้วย ซึ่งจิระศักดิ์ให้การว่ารู้จักกันกับจำเลย และยืนยันตัวจำเลยไว้ ทั้งนี้ในการสอบปากคำยังมี พ.ต.ท.ประเชิญ ชาญสำโรง เป็นพนักงานสอบสวนผู้ร่วมสอบปากคำด้วย
ต่อมา พนักงานสอบสวนทั้งสองคนได้ย้ายไปรับราชการที่อื่น และ ร.ต.อ.พิชิต ได้มารับสำนวนคดีแทน จากนั้นเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 ตนได้ออกหมายเรียกให้จำเลยมาพบ และทำการแจ้งข้อกล่าวหา หลังจากนั้นพยานได้รวบรวมพยานหลักฐานและมีความเห็นสั่งฟ้อง ก่อนส่งสำนวนคดีต่อให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเห็นว่าควรแจ้งข้อหาเพิ่มเติม ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 3, 14 (3) และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ทนายจำเลยถามค้าน ร.ต.อ.พิชิต เบิกความว่า ขณะแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยมีอายุ 18 ปีเศษ การสอบปากคำในวันที่ 11 ส.ค. 2563 จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยให้เหตุผลว่า ‘ไม่มีเจตนาดูหมิ่นกษัตริย์’ และบอกว่าเป็นเพียงการลงข้อความในลักษณะตั้งคำถาม แต่ปรากฏว่ามีผู้อื่นมาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อจากจำเลยจนเกิดความขัดแย้งขึ้น
จำเลยยังระบุว่าเหตุของคดีนี้ จำเลยเชื่อว่า ผู้กล่าวหามีปัญหาโกรธเคืองกับตนเอง เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ผู้กล่าวหาจึงได้ไปร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดี จำเลยยังระบุว่าเมื่อเห็นว่าข้อความนั้นไม่เหมาะสม จึงได้ดำเนินการลบความคิดเห็นนั้นออกไปแล้ว
ร.ต.อ.พิชิต เบิกความอีกว่า ในการแจ้งข้อกล่าวหาและทำสำนวนส่งฟ้องครั้งที่ 2 นั้น ตนเห็นว่าข้อความที่จำเลยโพสต์ลงในกลุ่ม ‘เพจจันทบุรี’ นั้น เป็นข้อความจาบจ้วงและใส่ความรัชกาลที่ 9 โดยกล่าวหาว่าพระองค์นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาทำให้ประชาชนหลงเชื่อ แม้ว่าท่านจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่พยานก็มีความเห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ทนายจำเลยได้ถามค้านพยานว่า มีความเห็นของอาจารย์ทางกฎหมายหลายท่านเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้แก่ หยุด แสงอุทัย, จิตติ ติงศภัทิย์, ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, สาวตรี สุขศรี และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ซึ่งได้ให้ความเห็นว่า
“มาตรา 112 คุ้มครองบุคคล 4 ตำแหน่ง ได้แก่ พระมหากษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบุคคลดังกล่าวต้องยังมีชีวิตอยู่และดำรงตำแหน่งดังกล่าว หากพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะจากการสวรรคตหรือสละราชบัลลังก์ จะถือว่าไม่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา 112”
ร.ต.อ.พิชิต เบิกความว่า แม้จะมีความเห็นทางวิชาการดังกล่าว แต่การกระทำของจำเลยเป็นการจาบจ้วงหรือหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ จึงเห็นสมควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหานี้
ทนายจำเลยถามพยานว่า “หากมีผู้หมิ่นประมาทใส่ความ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ แล้วมีผู้นำข้อความดังกล่าวมาแจ้งความให้ดำเนินคดี พยานจะดำเนินคดีหรือไม่” พยานระบุว่าไม่ขอตอบ
หลังจบการเบิกความของ ร.ต.อ.พิชิต พนักงานอัยการแถลงว่า มีความประสงค์ที่จะสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก จำนวน 3 ปาก ซึ่งได้แก่ นายจิรศักดิ์ นักธรรม ผู้ให้การยืนยันตัวตนของจำเลย, พ.ต.ท.ประเชิญ และ ร.ต.อ.วินิจ พนักงานสอบสวน แต่หากฝ่ายจำเลยยอมรับพยานโจทก์ทั้งสามได้ โจทก์จะไม่ติดใจสืบพยาน
เมื่อฝ่ายจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพยานโจทก์ทั้งสามปากแล้ว จึงได้แถลงยอมรับข้อเท็จจริง โจทก์จึงไม่ติดใจสืบพยานบุคคลทั้ง 3 ปากดังกล่าว ทำให้การสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น
++พยานจำเลย – จรัส เบิกความไม่มีเจตนาดูหมิ่นกษัตริย์ แค่ชวนตั้งคำถามเท่านั้น ยืนยันจะสู้คดีให้ถึงที่สุด เพราะโทษ 112 รุนแรงเกินไปไม่สมเหตุผล++
จรัสเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุตนมีอายุ 18 ปีเศษ ศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี
เหตุในคดีนี้เกิดขึ้นในกลุ่มเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ชื่อ ‘เพจจันทบุรี’ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของกลุ่มหรือผู้ดูแลก่อน จึงจะเข้าเป็นสมาชิกได้ พยานยืนยันว่ากลุ่มดังกล่าวไม่ใช่ ‘กลุ่มสาธารณะ’ ผู้ที่จะเห็นข้อความได้ จะต้องเป็นสมาชิกของกลุ่ม
วันเกิดเหตุในคดีนี้ ประมาณวันที่ 6-7 เม.ย. 2563 ขณะที่ตนกำลังเล่นเฟซบุ๊กในโทรศัพท์มือถือได้พบว่าเจ้าของกลุ่มเฟซบุ๊ก ‘เพจจันทบุรี’ โพสต์ข้อความว่า ‘ขณะนี้ติดเชื้อโรคระบาดควรปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิต’ จรัสจึงเข้าไปแสดงความคิดเห็น โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นก็มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหลายคนในลักษณะด่าว่าและเสียดสี ทั้งที่เป็นการตั้งคำถามกับเจ้าของโพสต์เท่านั้น
จากนั้น นิรุตต์ ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้ ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นและลงข้อความในกลุ่มดังกล่าวด้วย โดยมีหลายข้อความที่ด่าว่าและเสียดสี จนทำให้ตนรู้สึกโกรธและขาดสติจึงได้ลงข้อความตามที่โจทก์ได้ฟ้องในคดีนี้
เมื่อได้สติแล้ว พยานได้พูดคุยปรึกษากับเพื่อน จึงลงความเห็นว่าการกระทำของตนเองไม่เหมาะสมจึงได้ลบข้อความคอมเมนต์แรกออกไป เป็นเหตุให้ข้อความอื่นๆ หายไปจากกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวด้วย
นิรุตต์โต้เถียงกับพยานในกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวหลายข้อความ ทำให้พยานเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้นิรุตต์โกรธเคืองพยาน จนไปแจ้งความดำเนินคดีในครั้งนี้
จรัสเบิกความยืนยันว่า “เจตนาเพียงจะตั้งคำถามเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่อย่างใด” และเบิกความอีกว่า “สาเหตุที่ต่อสู้ในคดีนี้เนื่องจากโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้นสูงเกินไป ไม่สอดคล้องกับการกระทำของตน”
จรัสยอมรับว่าข้อความที่ตนเองโพสต์ลงในกลุ่มเพจจันทบุรีนั้นอาจไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) พยานเห็นว่าเป็นบทมาตราที่ ‘รุนแรง’ เกินกว่าการกระทำ พยานจึงยืนยันให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดีจนถึงที่สุด
พนักงานอัยการถามค้าน จรัสได้เบิกความตอบกลับว่า ขณะโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มเฟซบุ๊กเพจจันทบุรี ตนเองไม่ทราบว่าสมาชิกอยู่ในกลุ่มทั้งหมดเท่าใด การที่ตนเองลบข้อความนั้น กระทำไปโดยไม่มีผู้ใดสั่งการ แต่ทำไปเพราะรู้สึกสำนึกผิดในการกระทำของตนเอง ซึ่งควรจะพูดจาโต้ตอบในลักษณะที่ดี ไม่ขัดแย้งกัน และไม่ควรโต้ตอบผู้ที่เสียดสี
จรัสยืนยันว่าการลบข้อความต้นเหตุนั้น ‘ไม่ใช่เพราะเกรงว่าจะถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด’
ในตอนท้าย จรัสยังได้เบิกความว่า ตามที่ได้อ้าง ผศ.สาวตรี สุขศรี เข้าเป็นพยานในคดีนี้นั้น ตนเองได้ส่งบทความฎีกาวิเคราะห์ตามเอกสารที่ยื่นต่อศาลแล้ว จึงไม่ได้ขอให้พยานนักวิชาการ มาเบิกความอีก โดยความเห็นดังกล่าวยืนยันว่ามาตรา 112 คุ้มครองเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่เท่านั้น ไม่รวมถึงพระมหากษัตริย์ในอดีตที่สวรรคตแล้ว
หลังจากสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลจึงยกเลิกนัดสืบพยานจำเลยที่กำหนดไว้เดิมในวันที่ 8 ต.ค. 2564 และกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 พ.ย. 2564 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำเบิกความพยาน ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 ลงวันที่ 7 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38289) -
วันที่: 30-11-2021นัด: ฟังคำพิพากษา10.00 น. ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลได้แจ้งว่าศาลได้ส่งสำนวนคดีและคำพิพากษาไปตรวจสอบที่สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เรียบร้อยแล้ว
จากนั้นได้อ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่บัญญัติว่า ‘ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวังโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี'
แม้จะมิได้ระบุว่า พระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งยังครองราชย์อยู่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ ทั้งไม่ได้ระบุว่า พระมหากษัตริย์ที่ถูกกระทำจะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ในการตีความทางกฎหมายต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายและต้องตีความโดยเคร่งครัด
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าคำว่า ‘พระมหากษัตริย์’ ตามประมวลกฎหมายอาญา 112 ย่อมหมายถึง พระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่ขณะที่กระทำความผิด มิใช่พระมหากษัตริย์ในอดีตที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว มิฉะนั้นก็จะหาขอบเขตอันเป็นองค์ประกอบความผิดไม่ได้
ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยลงข้อความในเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ‘ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง’ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทฤษฎีดังกล่าวเป็นแนวพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ด้วยถ้อยคำที่กระทบต่อพระองค์ในลักษณะการละเมิดและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะประชาชนยังคงเคารพและสักการะพระองค์อยู่มิเสื่อมคลาย แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 อันเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะลงข้อความตามฟ้องในเฟซบุ๊ก
การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพราะเป็นการกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ตามฟ้อง
ส่วนความผิดฐานนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรนั้น เห็นว่าแม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องที่ลงข้อความในกลุ่ม ‘เพจจันทบุรี’ ซึ่งเป็นกลุ่มส่วนตัวที่ตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะมีเฉพาะสมาชิกที่เข้ามาตอบโต้กระทู้ที่ตั้งขึ้นได้ และข้อความตามฟ้องเป็นเพียงข้อความบางส่วนของการสนทนาโต้ตอบกันกับสมาชิกคนอื่น แต่ขณะเกิดเหตุกลุ่มดังกล่าวมีสมาชิกจำนวนมากถึง 196,447 คน ถือเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่ง
คำว่า ‘ประชาชน’ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง พลเมือง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ทั้งเป็นที่เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยลงข้อความโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ขาดความระมัดระวังและยับยั้งชั่งใจ ลักษณะของข้อความดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของผู้ที่พบเห็นหรือประชาชนทั่วไป อันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรได้
การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน จนประการน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3)
พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 19 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา 76 จำคุก 2 ปี และปรับ 40,000 บาท
คำให้การชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุให้บรรเทาโทษลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 26,666.66 บาท
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยเป็นนักศึกษาอายุยังน้อย และเพิ่งกระทำความผิดคดีนี้เป็นครั้งแรก เห็นสมควรให้จำเลยได้กลับตัวเป็นคนดี โทษจำคุกของจำเลยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติของจำเลยไว้ โดยให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในระยะเวลากำหนด 1 ปี กับให้ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ข้อหาอื่นให้ยก
ทั้งนี้ในระหว่างที่ผู้พิพากษากำลังอ่านคำพิพากษา และจรัสได้ยืนขึ้นฟังคำสั่งอยู่นั้น ศาลได้หยุดอ่านคำสั่งกลางคันและถามจรัสเสียงดังว่า “อัดเสียงหรือเปล่า” เพราะเห็นว่ามือถือในมือจรัสขณะนั้นหน้าจอส่องแสงสว่างอยู่ แต่จรัสยืนยันว่าไม่ได้กระทำการดังกล่าว จากนั้นจรัสพยายามยื่นมือถือไปฝากไว้กับตำรวจศาลเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่ตำรวจบ่ายเบี่ยงไม่รับฝาก
ผู้พิพากษาจึงให้เจ้าหน้าที่ศาลหน้าบัลลังก์ไปตรวจสอบโทรศัพท์มือถือดูว่าใช้บันทึกเสียงหรือไม่ แต่ไม่พบว่ามีการบันทึกใดๆ
หลังฟังคำพิพากษาแล้วเสร็จ ตำรวจศาลได้ควบคุมตัวจรัสไปคุมตัวไว้ยังห้องควบคุมตัว ระหว่างที่ทนายความและบิดาของจรัสดำเนินการชำระค่าปรับ เป็นเงิน 26,666.66 บาท ซึ่งเป็นเงินจากครอบครัวของจรัส ไม่นานจรัสจึงได้ถูกปล่อยตัวออกมาจากห้องคุมขัง และเดินทางไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่คุมความประพฤติครั้งแรกจนแล้วเสร็จ
หลังจากนี้ ทนายความจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาลงโทษจำคุกในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) ต่อไป เนื่องจากตามคำฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการไม่ได้บรรยายความผิดตามวงเล็บนี้ไว้แต่อย่างใด แต่บรรยายความผิดตามฟ้องไว้ตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เท่านั้น คำพิพากษาที่ลงโทษตาม มาตรา 14 (1) จึงเป็นการพิพากษานอกคำฟ้องของอัยการ
++ข้อแตกต่างของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) และ (3)++
อนึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) ที่ศาลได้พิพากษาว่ามีความผิดและสั่งลงโทษจำคุกกับจรัสนั้นได้บัญญัติไว้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวกับ “ได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา”
ด้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) ซึ่งอัยการได้บรรยายว่าเป็นความผิดในคำฟ้อง แต่ศาลเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามข้อกฎหมายนี้นั้นได้บัญญัติไว้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับ “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา”
มาตรานี้ระบุอัตราโทษจำคุกในทั้งสองวงเล็บ ไม่เกิน 5 ปี และปรับเงิน 100,000 บาทเท่ากัน
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2211/2564 ลงวันที่ 30 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38483) -
วันที่: 09-03-2022นัด: โจทก์ยื่นอุทธรณ์อัยการโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องในประเด็นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดตามมาตรา 112 โดยโจทก์รขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ามาตรา 112 นั้นให้ความคุ้มครองถึงอดีตพระมหากษัตริย์ของไทยด้วย โดยเฉพาะการกระทำของจำเลยเป็นกระทำความผิดต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นเรื่องไม่บังควรและควรจะผิดกฎหมาย
(อ้างอิง: อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2211/2564 ลงวันที่ 9 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50860) -
วันที่: 18-04-2022นัด: จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ทนายจำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีกด้วย มีเนื้อหาโดยสรุปว่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกล่าวถ้อยคำพาดพิงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 แต่จำเลยขอยืนยันว่าตามมาตราดังกล่าวไม่ได้ให้ความคุ้มครองถึงอดีตพระกษัตริย์แต่อย่างใด โดยได้ให้เหตุผลประกอบที่สำคัญไว้ ดังนี้
1. “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ภาคภาษาอังกฤษ” ซึ่งเป็นต้นร่างของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในปัจจุบันนั้นได้กล่าวไว้ชัดเจนว่ามีเจตนารมณ์เพื่อที่จะให้ความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ 4 บุคคลดังกล่าว หมายถึง บุคคลที่ยังมีสภาพบุคคล (มีชีวิต) และยังดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาที่มีการกล่าวหาว่ากระทำความผิดเท่านั้น
2. มาตรา 112 กำหนดการกระทำที่เป็นความผิดไว้ 3 ประการ ได้แก่ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้าย ซึ่งลักษณะการกระทำทั้งสามประการจะเกิดขึ้นและเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อกระทำต่อพระมหากษัตริย์ที่ยังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น โดยเฉพาะ “อาฆาตมาดร้าย” ซึ่งหมายถึง การขู่เข็ญโดยแสดงออกด้วยกิริยา หรือวาจาในอนาคต หรือในภายหน้าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้เสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน เช่น การขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย หรือจะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ เป็นต้น ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นกับพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วได้เลย
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหลายท่าน ยกตัวอย่างเช่น หยุด แสงอุทัย และจิตติ ติงศภัทิย์ มีความเห็นว่า “พระมหากษัตริย์” ตามกฎหมายนั้น หมายถึง องค์ที่ทรงครองราชย์อยู่ขณะที่มีการกระทำความผิด ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่ทรงสละราชบัลลังก์แล้วหรือพระมหากษัตริย์ในอดีต
4. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จสวรรคตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2559 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะลงข้อความตามคำฟ้องในเฟซบุ๊ก การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 ฉะนั้นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
5. การตีความและขยายความมาตรา 112 ให้ครอบคลุมไปถึงอดีตพระมหากษัตริย์ที่ทรงสวรรคตไปแล้วนั้นย่อมจะเกิดความไม่ชัดเจนแน่นอนในองค์ประกอบความผิด และเกิดความแปลกประหลาดในทางกฎหมาย เกิดความปั่นป่วนในแวดวงการศึกษาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องหลายประการ
ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ได้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (3) นั้น จึงถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น จำเลยจึงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวตามศาลชั้นต้นด้วย
(อ้างอิง: คำแก้อุทธรณ์ ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2211/2564 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50860) -
วันที่: 28-04-2022นัด: จำเลยยื่นอุทธรณ์ทนายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเนื้อหาโดยสรุปว่า จำเลยไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) โดยได้ให้เหตุผลประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถรับฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นฐานความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) อย่างไรบ้าง ขณะสืบพยานในคดีนี้ก็ไม่ได้มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันเลยว่า การโพสต์ข้อความของจำเลยเป็นการบิดเบือนอย่างไร ความจริงเป็นอย่างไร และทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนอย่างไรบ้าง
2. ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องไว้เพียงฐานความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (3) ไม่ได้บรรยายถึงความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1)
ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม ม.14 (1) จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถือเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นการพิพากษาลงโทษในข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 (1) และ (4)
นอกจากนี้ทนายจำเลยยังอ้างอิงถึงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีที่มีลักษณะข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันกับในคดีนี้ คดีดังกล่าวเป็นของศาลจังหวัดชลบุรี โดยศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (1) แต่ในคำฟ้องของอัยการโจทก์บรรยายสั่งฟ้องไว้เพียงความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (3) ซึ่งเป็นการพิพากษานอกคำฟ้องเช่นเดียวกันกับในคดีนี้
คดีของศาลจังหวัดชลบุรีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาไว้มีใจความโดยสรุปว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเกินกว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์นั้น ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้ เพราะเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ทั้งเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.192 (1) และ (4)
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (1) นอกจากที่ให้แก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
(อ้างอิง: อุทธรณ์ของจำเลย ศาลจังหวัดจันทบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1335/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2211/2564 ลงวันที่ 28 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50860) -
วันที่: 22-11-2022นัด: อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลจังหวัดจันทบุรีอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยให้กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เห็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
คำพิพากษาระบุว่าบทบัญญัติตามมาตรา 112 มิได้ระบุว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งยังคงครองราชย์อยู่ในขณะกระทำความผิดหรือไม่ และก็มิได้ระบุว่าพระมหากษัตริย์ที่ถูกกระทำจะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังคงครองราชย์อยู่ เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวอยู่ในลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าแม้การกระทำความผิดจะกระทบต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท เพียงพระองค์เดียว ย่อมมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
ประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สร้าง เริ่มตั้งแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพสักการะ ให้ทรงเป็นประมุขของประเทศ เป็นจอมทัพไทย กฎหมายที่ผ่านรัฐสภาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ การแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ ไม่ว่าคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา พระมหากษัตริย์ทรงลงประมาภิไธยแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่งกระทำโดยการสืบสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล ทำให้พระมหากษัตริย์จะสืบทอดทางสันตติวงศ์ทางสายพระโลหิตติดต่อกันมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์จักรี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ต้นราชวงศ์ ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน
ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ (คำพิพากษาระบุเท่านี้ โดยไม่มีถ้อยคำต่อท้าย) บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆ มิได้ ด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่
ที่จำเลยกล่าวพาดพิงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางพระราชดำริของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ด้วยข้อความมิบังควรลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นนั้น ทรงเป็นพระบิดาของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น ให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้
ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่าประชาชนชาวไทยผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาอย่างยาวนาน แม้พระมหากษัตริย์จะสวรรคตไปแล้ว ก็ยังคงมีพิธีวางพวงมาลาในทุกๆ ปี ในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ มีการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ การประกอบพิธีสำคัญ มีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี มีการประดับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไว้บนที่สูงเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่แสดงการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ด้วยข้อความที่มิบังควร จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
ทั้งการกระทำของจำเลยยังกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) อีกด้วย ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) เห็นว่าตามฟ้องโจทก์ ไม่ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดฐานนี้ ถือว่าโจทก์ไม่ได้ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุด ขณะกระทำความผิด จำเลยอายุ 19 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี คำให้การชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน
ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย และเพิ่งกระทำความผิดคดีนี้เป็นครั้งแรก เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี จึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยฟัง และคุมประพฤติจำเลยไว้ โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
คำพิพากษาลงนามโดย ประทีป เหมือนเตย, วัชรี พูลเกษม และวงศ์สถิตย์ แสงสุก
ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้ระบุอัตราโทษจำคุกที่ลงในขั้นแรก แต่เมื่อพิจารณาจากอัตราที่ลดโทษจำคุกลงมาแล้ว พบว่าศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คือจำคุก 3 ปี
++จรัสจำใจยอมรับผลคำพิพากษาอีกครั้ง เผย “อิสรภาพ” คือสิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้
หลังศาลได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จรัสเผยว่า บอกไม่ถูกว่ารู้สึกโล่งใจหรือเสียใจ แม้ศาลอุทธรณ์จะให้รอการลงโทษไว้เช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่คำพิพากษาในครั้งนี้กลับดูแย่กว่าครั้งก่อนมากทีเดียว
“ผมจะทำยังไงได้…ก็ต้องทำใจยอมรับกติกาของเขาไป”
จรัสบอกว่า อย่างน้อยเขาก็ยังคงได้ต่ออายุอิสรภาพอีกครั้ง และหวังว่าจะได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อกฎหมายข้อนี้ในอนาคตเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ด้านชีวิตโดยทั่วไปถือว่าอยู่ตัวแล้ว ไม่เหมือนตอนที่ถูกดำเนินคดีใหม่ๆ ที่จะถูกคนรอบข้างมองด้วยตาแปลกๆ หรือมีท่าทีกระซิบกระซาบกันอย่างมีพิรุธ ตอนนี้จรัสในวัย 21 ปี ไม่ได้เรียนแล้ว โดยได้ช่วยพ่อแม่ดูแลธุรกิจค้าขายของครอบครัวใน จ.จันทบุรี แทน
จรัสและทนายความจะได้หารือเรื่องการยื่นฎีกาคำพิพากษาต่อไป
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 คดีหมายเลขดำที่ อ.668/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1509/2565 ลงวันที่ 19 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50860)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จรัส (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จรัส (สงวนนามสกุล)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สุภาวดี ชุมพาลี
- จุฑามาศ ผาสุขฤทธิ์
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
30-11-2021
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จรัส (สงวนนามสกุล)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ประทีป เหมือนเตย
- วัชรี พูลเกษม
- วงศ์สถิตย์ แสงสุก
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ :
22-11-2022
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์