ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง
ข้อหา
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง
ข้อหา
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง
ข้อหา
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง
ข้อหา
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ดำ อ.618/2564
แดง อ.46/2566
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง
ความสำคัญของคดี
นักศึกษาและประชาชนในจังหวัดลำปางรวม 5 ราย ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 10 โดยถูกกล่าวหาว่า แขวนป้ายผ้าที่มีข้อความ “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 พินิจ ทองคำ 1 ใน 5 ราย ยังถูกดำเนินคดีข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) ด้วย โดยถูกระบุว่า เป็นผู้นำภาพป้ายที่แขวนบนสะพานดังกล่าวไปโพสต์ในเฟซบุ๊ก "พิราบขาวเพื่อมวลชน" ทั้งหมดไม่ถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวน และได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติของประชาชนที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติของประชาชนที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ร.ต.อ.มณเฑียร อยู่ทิม พนักงานอัยการจังหวัดลำปาง บรรยายคำฟ้องโดยสรุปได้ว่า
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นแกนนำและสมาชิกกลุ่มการเมือง ใช้ชื่อว่า “กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน” ได้ร่วมกันกระทำความผิด กล่าวคือ
1. จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดทำป้ายผ้าสีขาว เขียนข้อความว่า “งบสถาบันพระมหากษัตริย์>วัคซีน COVID19” โดยเครื่องหมาย > เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความหมายว่า มีค่ามากกว่า และเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดบนแผ่นป้ายแล้ว ทำให้ปรากฏได้ความหมายว่า งบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึง พระมหากษัตริย์และพระราชินีนั้น ได้งบประมาณมาก หรือมีมากกว่างบประมาณที่จัดหาวัคซีน Covid-19
จากนั้นจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันนำแผ่นป้ายผ้าไปผูกติดตั้ง แขวน ประกาศโฆษณาแก่ประชาชนบุคคลทั่วไปไว้บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน ลบหลู่ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 และพระบรมราชินี เพื่อให้ประชาชนบุคคลทั่วไปที่ได้เห็นและอ่านข้อความเข้าใจว่างบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงพระมหากษัตริย์และพระราชินี ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นมีจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ซึ่งมากกว่างบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรในการดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ซึ่งเป็นโรคที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการได้เปรียบหรือเอาเปรียบประชาชน
การกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และเป็นการโฆษณาด้วยการปิด ทิ้งโปรยกระดาษ หรือใบปลิว ในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
2. ภายหลังจากนั้น จำเลยที่ 1 ยังนำเอารูปภาพถ่ายแผ่นป้ายผ้าดังกล่าวที่มีผู้ถ่ายบันทึกภาพไว้ โพสต์เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ “พิราบขาวเพื่อมวลชน” ของจำเลยที่ 1 กับพวก พร้อมกับระบุข้อความว่า “เวลานี้ แกนนำกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน ขึ้นป้าย ‘งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID 19’ บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง” อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดลำปาง คดีหมายเลขดำที่ อ.618/2564 ลงวันที่ 16 ธ.ค. 2564)
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นแกนนำและสมาชิกกลุ่มการเมือง ใช้ชื่อว่า “กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน” ได้ร่วมกันกระทำความผิด กล่าวคือ
1. จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดทำป้ายผ้าสีขาว เขียนข้อความว่า “งบสถาบันพระมหากษัตริย์>วัคซีน COVID19” โดยเครื่องหมาย > เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความหมายว่า มีค่ามากกว่า และเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดบนแผ่นป้ายแล้ว ทำให้ปรากฏได้ความหมายว่า งบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึง พระมหากษัตริย์และพระราชินีนั้น ได้งบประมาณมาก หรือมีมากกว่างบประมาณที่จัดหาวัคซีน Covid-19
จากนั้นจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันนำแผ่นป้ายผ้าไปผูกติดตั้ง แขวน ประกาศโฆษณาแก่ประชาชนบุคคลทั่วไปไว้บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน ลบหลู่ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 และพระบรมราชินี เพื่อให้ประชาชนบุคคลทั่วไปที่ได้เห็นและอ่านข้อความเข้าใจว่างบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงพระมหากษัตริย์และพระราชินี ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นมีจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ซึ่งมากกว่างบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินที่รัฐบาลได้จัดสรรในการดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ซึ่งเป็นโรคที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการได้เปรียบหรือเอาเปรียบประชาชน
การกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และเป็นการโฆษณาด้วยการปิด ทิ้งโปรยกระดาษ หรือใบปลิว ในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
2. ภายหลังจากนั้น จำเลยที่ 1 ยังนำเอารูปภาพถ่ายแผ่นป้ายผ้าดังกล่าวที่มีผู้ถ่ายบันทึกภาพไว้ โพสต์เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ “พิราบขาวเพื่อมวลชน” ของจำเลยที่ 1 กับพวก พร้อมกับระบุข้อความว่า “เวลานี้ แกนนำกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน ขึ้นป้าย ‘งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID 19’ บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง” อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดลำปาง คดีหมายเลขดำที่ อ.618/2564 ลงวันที่ 16 ธ.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 25-01-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 10.30 น. ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองลำปาง นักศึกษาและประชาชนในจังหวัดลำปางรวม 5 ราย ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
สำหรับผู้ถูกออกหมายเรียก 5 ราย ได้แก่ 1. พินิจ ทองคำ นักศึกษาวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และสมาชิกกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน, 2. วรรณพร หุตะโกวิท บัณฑิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสมาชิกกลุ่ม NU-Movement, 3. ภัทรกันย์ แข่งขัน นักศึกษาคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4. ยุพดี กูลกิจตานนท์ แม่ค้าในจังหวัดลำปาง และ 5. “หวาน” (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองลำปาง ได้นำกำลังเข้าตรวจค้นสำนักงานคณะก้าวหน้าจังหวัดลำปาง และบ้านพักของนักศึกษา 2 ราย โดยมีการแสดงหมายค้นออกโดยศาลจังหวัดลำปาง ก่อนตรวจยึดแผ่นป้ายไวนิล, ถังสีแดงและเหลือง, ขวดน้ำพลาสติกตัดครึ่งที่ใช้ผสมสี, แปรงทาสี และเชือกฟาง จำนวน 7 รายการ ทั้งยังส่งหมายเรียกผู้ต้องหาในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งมี ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง เป็นผู้กล่าวหา ให้กับกลุ่มนักศึกษา โดยระบุว่า มีผู้ถูกออกหมายเรียกทั้งหมด 5 ราย
การเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการตั้งแผงรั้วเหล็กรอบบริเวณอาคารสถานีตำรวจ และตั้งจุดคัดกรองอุณหภูมิสำหรับคนที่ผ่านเข้าออก โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบราว 50 นาย และเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอีกราว 20 นายกระจายตัวอยู่โดยรอบ
ขณะเดียวกันมีกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนเดินทางมาให้กำลังใจผู้ถูกออกหมายเรียกราว 20 คนด้วย โดยมี พ.ต.อ.ศราวุธ วะเท ผู้กำกับ สภ.เมืองลำปาง เข้ามาชี้แจงกระบวนการในวันนี้ให้กับผู้เดินทางมาให้กำลังใจ พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาไว้ในวันนี้
ก่อนเข้าไปยังห้องสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการจัดสอบประวัติส่วนตัว ที่อยู่ และถ่ายภาพผู้ที่เข้ามาในอาคาร และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคอยติดตามประกบถ่ายภาพกลุ่มผู้ถูกออกหมายเรียก ทั้งในขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหายังมีการตั้งกล้องบันทึกวีดีโอไว้โดยตลอด
นอกจากนั้นทางตำรวจยังเตรียมจัดหาทนายความจากสภาทนายความเอาไว้ แต่ทางผู้ถูกออกหมายเรียกทั้งหมดยืนยันว่าตนมีทนายความอยู่แล้ว
คณะพนักงานสอบสวนซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งของตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง นำโดย พ.ต.ท.สืบสกุล ขุนเพิ่ม รองผู้กำกับสอบสวน สภ.เมืองลำปาง ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่อทั้ง 5 คน โดยได้มีการแยกห้องในการแจ้งข้อหาและสอบปากคำเป็นรายบุคคล
ข้อกล่าวหาระบุว่า ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เวรสืบสวน ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และข้อมูลร้องเรียนทั่วไปผ่านเว็บไซต์และเพจต่างๆ พบว่าเพจของกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน ได้โพสต์ภาพและข้อความกรณีมีการแขวนป้ายผ้าไว้ที่ราวสะพาน บริเวณกลางสะพานรัษฎาภิเศก พร้อมระบุข้อความว่า “เวลานี้ แกนนำกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน ขึ้นป้าย ‘งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID 19’ บริเวณสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง”
ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.เมืองลำปาง, เจ้าหน้าที่สายตรวจเวร จึงไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ จึงพบว่ามีการติดป้ายที่เขียนข้อความดังกล่าว ไว้บริเวณสะพานรัษฎาภิเษก จึงได้ร่วมกันตรวจยึดป้ายดังกล่าว นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำปาง และมีการแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดครั้งนี้ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 10 โฆษณาด้วยการปิดแผ่นประกาศในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหาดังกล่าวต่อทั้ง 5 คน โดยอ้างการตรวจสอบกล้องวงจรปิดในบริเวณที่เกิดเหตุของช่วงวันเกิดเหตุ ทำให้เชื่อว่าทั้ง 5 คนเกี่ยวข้องกับการติดป้ายดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป
พนักงานสอบสวนยังระบุว่าคดีนี้จำเป็นต้องมีการเก็บพยานหลักฐาน DNA อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่มารอไว้แล้ว จึงขอเก็บหลักฐานดังกล่าวจากผู้ถูกกล่าวหาทั้งห้าคน โดยทางตำรวจระบุว่าหากไม่ยินยอม อาจเป็นผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาเอง อีกทั้งยังกล่าวเสริมว่าหากเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล เมื่อได้ปรึกษากันแล้ว ทางกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาจึงยินยอมให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน (สพฐ.5) เก็บตัวอย่าง DNA จากกระพุ้งแก้ม
นอกจากนั้น พนักงานสอบสวนได้ให้ทั้งหมดพิมพ์ลายนิ้วมือสำหรับตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และให้ปล่อยตัวไปโดยไม่ได้มีการควบคุมตัวไว้ โดยนัดหมายมารายงานตัวกับทางตำรวจต่อไปในวันที่ 18 ก.พ. 2564
ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่าในการแจ้งข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการระบุว่า ข้อความในป้าย ‘งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19’ เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างไร
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองลำปาง ลงวันที่ 25 ม.ค. 2564, https://tlhr2014.com/archives/25254 และ https://tlhr2014.com/archives/25502) -
วันที่: 15-02-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่ สภ.เมืองลำปาง พินิจ ทองคำ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เพิ่มเติม หลังได้รับหมายเรียก ซึ่งออกเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 ตำรวจได้มีการออกหมายเรียกเฉพาะนายพินิจ ให้ไปรับทราบข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพิ่มเติม โดยระบุว่าทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ได้ให้แจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวเพิ่มเติมกับนายพินิจ
พ.ต.ท.วิเชียร ใจสันกลาง แจ้งข้อกล่าวหา “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) โดยระบุว่าพินิจมีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับบัญชีเฟซบุ๊กเพจ “พิราบขาวเพื่อมวลชน” และเป็นคนนำเอาภาพถ่ายและข้อความที่เป็นการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ไปโพสต์ในเฟซบุ๊กดังกล่าว
พ.ต.ท.วิเชียร ใจสันกลาง สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองลำปาง แจ้งข้อกล่าวหา “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” โดยระบุว่าหลังจากการตรวจยึดป้ายผ้าข้อความ “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบถามการโพสต์ภาพถ่ายป้ายดังกล่าวและข้อความในเพจ “พิราบขาวเพื่อมวลชน” ไปยัง ปอท. จนกระทั่งวันที่ 2 ก.พ. 2564 บก.ปอท. ได้ทำหนังสือตอบกลับ โดยยืนยันว่าเพจดังกล่าวได้โพสต์ภาพถ่ายและข้อความบนป้ายที่มีการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์จริง นอกจากนั้นยังตรวจสอบพบว่าผู้ต้องหามีชื่อเป็นแกนนำจัดตั้งกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน ที่มีการโพสต์ภาพดังกล่าว เชื่อว่าผู้ต้องหามีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว และเป็นคนนำเอาภาพถ่ายและข้อความที่เป็นการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ไปโพสต์ในเฟซบุ๊ก โดยเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวมีผู้ติดตามถึง 15,439 คน
พินิจได้ให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันไว้ และให้ปล่อยตัวพินิจไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ ตลอดกระบวนการตำรวจได้ตั้งกล้องบันทึกวิดีโอไว้ ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 1 นาย คอยนั่งเฝ้าอยู่ภายในห้องสอบสวนตลอดเวลา และถ่ายรูป โดยเจ้าหน้าที่นายดังกล่าวไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่ได้แสดงความเกี่ยวข้องกับคดี และไม่ได้ระบุตนว่ามาจากหน่วยงานใด
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองลำปาง ลงวันที่ 15 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25964) -
วันที่: 09-03-2021นัด: ส่งตัวอัยการพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดี ส่งสำนวนและส่งตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานอัยการจังหวัดลำปาง พนักงานอัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 21 เม.ย. 2564 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 21-04-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 18 พ.ค. 2564
-
วันที่: 18-05-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 22 มิ.ย. 2564
-
วันที่: 22-06-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 24 ส.ค. 2564
-
วันที่: 24-08-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 28 ก.ย. 2564
-
วันที่: 28-09-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 3 พ.ย. 2564
-
วันที่: 03-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการพนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดี นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 16 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 16-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)พนักงานอัยการจังหวัดลำปางมีคำสั่งฟ้องพินิจและเพื่อนรวม 5 คน ในฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ร่วมกันปิดแผ่นประกาศในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)
นักศึกษาและประชาชนทั้ง 5 คน พร้อมกับทนายความ และนายประกัน ได้เดินทางไปที่ศาลจังหวัดลำปาง ก่อนเจ้าหน้าที่ศาลเรียกให้ทั้ง 5 คน และทนายความ เข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคติดต่อโคโรนา 2019 ด้วยวิธี Antigen Test Kit หรือ ATK โดยไม่ปรากฏว่ามีการตรวจหาเชื้อกับผู้เดินทางมาศาลคนอื่นๆ อีกแต่อย่างใด
เวลา 10.30 น. เมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดลำปางนำสำนวนคดีมายื่นต่อศาลแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลได้ให้จำเลยทั้ง 5 คน เข้าไปในห้องควบคุมตัวบริเวณห้องขังด้านหลังศาล โดยอนุญาตให้ทนายความเข้าไปด้วย 1 คน
หลังจากนั้นนายประกัน 4 คน ได้แก่ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร และสมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล ได้ยื่นเอกสารประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมดต่อศาล โดยขอใช้ตำแหน่งของอาจารย์ประกันตัวนักศึกษา 3 คน และใช้ตำแหน่ง ส.ส. ขอประกันตัวจำเลยอีก 2 คน
ขณะที่ในเวลา 11.55 น. ศาลได้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังจำเลยทั้งหมด เพื่ออ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การ ทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา
จนเวลา 15.10 น. ราว 4 ชั่วโมงครึ่งหลังจำเลยทั้งหมดถูกควบคุมตัว ศาลจังหวัดลำปางได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 5 โดยไม่มีเงื่อนไขใด พร้อมกำหนดวันนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 25 ม.ค. 2565 และนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.
อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องจำเลยทั้ง 5 คนถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ ขณะที่พินิจ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ด้วยอีกหนึ่งข้อหา
ทั้งนี้ อัยการไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้าระหว่างพิจารณาคดี แต่ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งริบแผ่นป้ายผ้าและชิ้นส่วนเชือกที่ถูกเจ้าพนักงานตรวจยึดเป็นของกลางด้วย
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดลำปาง คดีหมายเลขดำที่ อ.618/2564 ลงวันที่ 16 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38902) -
วันที่: 25-01-2022นัด: คุ้มครองสิทธิจำเลยทั้งห้ายืนยันให้การปฎิเสธ ศาลสอบถามแนวทางในการต่อสู้คดี จำเลยยืนยันสู้ทั้งข้อกฎหมาย, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบประมาณสถาบัน และการตีความกฎหมาย
ศาลนัดพร้อมในวันที่ 7 ก.พ. 2565 โดยแจ้งให้ทนายจำเลยเตรียมบัญชีพยานต่างๆ มาให้พร้อมด้วย เพื่อจะได้พิจารณาคดีรวดเร็ว จำเลยยังเป็นนักศึกษาจะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่องคดี -
วันที่: 07-02-2022นัด: พร้อมศาลอ่านและอธิบายคําฟ้องให้จําเลยทั้งห้าฟังอีกครั้ง ต่อหน้าทนายความของจําเลยทั้งห้า จําเลยทั้งห้ายืนยันให้การปฏิเสธ
โจทก์อ้างส่งเอกสารเป็นพยานรวม 28 อันดับ วัตถุพยาน 7 อันดับ ประสงค์สืบพยานบุคคล รวม 24 ปาก ตามบัญชีระบุพยาน พยานอันดับที่ 1-9 เป็นตํารวจชุดสืบสวนติดตามจําเลยทั้งห้า อันดับที่ 10 เป็นตํารวจตรวจสอบการกระทําความผิดทางเทคโนโลยีในคดีนี้ อันดับที่ 11-14 เป็นพยานที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกระทําความผิดคดีนี้ พยานอันดับที่ 15-23 เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน และอันดับที่ 24 เป็นพนักงานสอบสวน ใช้เวลาสืบ 4 นัด
ทนายจําเลยทั้งห้าแถลงประสงค์จะสืบพยานบุคคลรวม 11 ปาก พยานอันดับที่ 1-5 จําเลยอ้างตนเองเป็นพยาน อันดับที่ 6 เป็นอาจารย์ผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับบริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนไป อันดับที่ 7 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่อภิปรายเรื่องงบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ และงบวัคซีนโควิค อันดับที่ 8 เป็นอาจารย์รู้เห็นเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณแผ่นดิน อันดับที่ 9 เป็นพยานรู้เห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ กับพระมหากษัตริย์ อันดับที่ 10 เป็นผู้ให้ความเห็นการตีความสถาบันพระมหากษัตริย์ กับพระมหากษัตริย์ ในทางรัฐศาสตร์ และอันดับที่ 11 อาจารย์ผู้ให้ความเห็นการตีความการใช้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขอใช้เวลาสืบ 3 นัด
นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 19-22 ก.ค. 2565 สืบพยานจำเลยวันที่ 26-27 และ 29 ก.ค. 2565
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดลำปาง คดีหมายเลขดำที่ อ.618/2564 ลงวันที่ 7 ก.พ. 2565) -
วันที่: 19-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์
-
วันที่: 20-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์ (ต่อ)
-
วันที่: 21-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์ (ต่อ)
-
วันที่: 22-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์ (ต่อ)
-
วันที่: 26-07-2022นัด: สืบพยานโจทก์ (ต่อ)ทนายจำลเยขอเลื่อนเนื่องจากติดโควิด
-
วันที่: 27-07-2022นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 29-07-2022นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 05-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์
-
วันที่: 12-09-2022นัด: สืบพยานโจทก์(เลื่อน)
-
วันที่: 03-10-2022นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 10-10-2022นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 14-11-2022นัด: สืบพยานจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 31 ม.ค. 2566
-
วันที่: 31-01-2023นัด: ฟังคำพิพากษาศาลอ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า
พิจารณาพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 มี “คนร้าย” นําแผ่นป้ายผ้าของกลางมีข้อความว่า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” ติดแขวนที่สะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง และมี “คนร้าย” นําภาพแผ่นป้ายผ้าของกลางที่ติดแขวนสถานที่ดังกล่าวไปลงประกาศในบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ “พิราบขาวเพื่อมวลชน” คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยทั้งห้ากระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่
สําหรับความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
โจทก์มี ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร เบิกความว่าได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ กล้องวงจรปิดตามเส้นทางที่เดินทางไปบริเวณที่เกิดเหตุและกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียงกับที่ทําการคณะก้าวหน้า ซึ่งเป็นสถานที่ที่จําเลยทั้งห้าใช้เป็นสถานที่พบปะร่วมกันในการทํากิจกรรม จากการตรวจสอบพบจําเลยทั้งห้ามีส่วนร่วมรู้เห็นในการจัดทําแผ่นป้ายผ้าของกลางและนําไปแขวนติดบริเวณที่เกิดเหตุ
นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกสามนาย เป็นพยานโจทก์เบิกความสนับสนุนว่า บุคคลตามภาพจากกล้องวงจรปิดคือจำเลยทั้งห้า
เห็นว่า พยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของจําเลยทั้งห้าเป็นเวลานานพอสมควร พยานดังกล่าวย่อมต้องคุ้นเคยรู้จักและจดจําจําเลยทั้งห้าได้เป็นอย่างดี คําเบิกความของพยานดังกล่าวก็เบิกความเป็นลําดับขั้นตอน จึงมีเหตุผลและมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า พยานโจทก์ดังกล่าวเบิกความไปตามข้อเท็จจริงที่รู้เห็นอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนจําเลยทั้งห้ามีจําเลยที่ 1 เบิกความรับว่า จําเลยทั้งห้ากับพวกอีก 5-6 คน นําป้ายผ้าไปติดที่สะพานรัษฎาภิเศก ส่วนจําเลยที่ 2 เบิกความว่า เป็นคนเอาป้ายผ้าไปให้เพื่อนของจำเลยที่ 1 ที่สะพานรัษฎาภิเศก เพียงแต่อ้างว่าตนมิได้ไปร่วมติดป้ายผ้าด้วย พยานหลักฐานของจำเลยเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จําเลยทั้งห้ามีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นกับการจัดทําแผ่นป้ายผ้าของกลาง และนําแผ่นป้ายผ้าของกลางไปติดแขวนบริเวณที่เกิดเหตุจริง
ส่วนข้อความในป้ายผ้าดังกล่าว โจทก์มีนางจันทร์สม เสียงดี เบิกความว่าข้อความดังกล่าวเป็นถ้อยคำที่พาดพิงถึงสถาบัน เป็นการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้คนเสื่อมความศรัทธาและเสื่อมความนับถือ ผศ.ภานุวัฒน์ ชัยชนะ เบิกความว่า ข้อความดังกล่าวจะทำให้คนอ่านน่าจะมีเหตุให้เกิดการเกลียดชังกษัตริย์มากขึ้น และอาจมองไปในทางที่ไม่ดี แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันว่าข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ทั้งข้อความดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีลักษณะเช่นว่านั้น
ศาลวินิจฉัยต่อว่า การหมิ่นประมาท หมายถึง การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ส่วนการดูหมิ่นคือการด่า ดูถูก เหยียดหยาม ดังนั้น การใส่ความหรือการดูหมิ่นย่อมจะต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
เมื่อข้อความที่ระบุบนแผ่นป้ายผ้าของกลางระบุว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ได้กล่าวถึงองค์พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีโดยเฉพาะ ซึ่งพยานโจทก์ทั้งสองปากก็ไม่ได้เบิกความยืนยันชัดแจ้งว่า สถาบันพระมหากษัตริย์จะหมายถึงพระมหากษัตริย์และพระราชินี การเข้าใจข้อความดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตีความ ความรู้สึกและความคิดของแต่ละบุคคล
ข้อความดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง การที่จําเลยทั้งห้าทําแผ่นป้ายผ้าของกลางและนําไปติดแขวนบริเวณที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจําเลยทั้งห้ากระทําความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง
.
สําหรับความผิดฐานนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
ศาลเห็นว่า พยานโจทก์ที่นําสืบต่อศาลไม่มีพยานปากใดยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่า จําเลยที่ 1 เป็นผู้นําภาพแผ่นป้ายผ้าไปเผยแพร่ในบัญชีเฟซบุ๊ก “พิราบขาวเพื่อมวลชน” และไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่าจําเลยที่ 1 เป็นผู้นําภาพแผ่นป้ายผ้าดังกล่าวไปเผยแพร่ในบัญชีเฟซบุ๊ก
พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ ทั้งข้อความดังกล่าวเมื่อไม่ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
.
สำหรับความผิดฐานโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ
พยานโจทก์ ร.ต.อ.วิเชียร เบิกความว่า จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุพบจำเลยที่ 1 กับพวกเดินถือแผ่นป้ายผ้าเดินขึ้นไปบนสะพานที่เกิดเหตุและเดินกลับลงมาจากสะพานโดยไม่มีแผ่นป้าย เชื่อว่าจําเลยที่ 1 กับพวกนําแผ่นป้ายผ้าของกลางไปติดบนสะพานที่เกิดเหตุ
พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุผลและน้ำหนักรับฟังได้ว่าบุคคลตามภาพเป็นจําเลยที่ 1 จริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจําเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันถือป้ายผ้าของกลางนําไปติดแขวนไว้ที่สะพานที่เกิดเหตุจริง การกระทำของจำเลยมีความผิดฐานโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับ 5,000 บาท และให้ยึดป้ายผ้าของกลางในคดีดังกล่าว
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พินิจ ทองคำ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ยุพดี กูลกิจตานนท์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
"หวาน" (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณพร หุตะโกวิท
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัทรกันย์ แข่งขัน
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พินิจ ทองคำ
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ยุพดี กูลกิจตานนท์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
"หวาน" (นามสมมติ)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณพร หุตะโกวิท
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัทรกันย์ แข่งขัน
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์