ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.ศุภากร ภัทรสุขเกษม รอง สว.สส.สภ.เมืองเชียงราย (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- แจ้งโดยตำรวจ
หมายเลขคดี
ผู้กล่าวหา
- ร.ต.อ.ศุภากร ภัทรสุขเกษม รอง สว.สส.สภ.เมืองเชียงราย
ความสำคัญของคดี
สุปรียา ใจแก้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสมาชิกกลุ่มเชียงรายปลดแอก ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดเชียงรายในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ โดยเธอไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน จากการที่ตำรวจฝ่ายสืบ สภ.เมืองเชียงราย กล่าวหาว่า เธอนำป้ายผ้าข้อความ “งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชน” ไปแขวนไว้บริเวณป้าย “ทรงพระเจริญ” ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ในตัวเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 และโพสต์ภาพป้ายดังกล่าวในเพจ "เชียงรายปลดแอก" ภายหลังจับกุม ตำรวจยังเข้าตรวจค้นห้องพักและตรวจยึดสิ่งของ รวมทั้งโทรศัพท์ โดยไม่มีหมายค้น และคำสั่งศาลให้ตรวจยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างเกินกว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และนำมาใช้ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างเกินกว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และนำมาใช้ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงราย บรรยายพฤติการณ์ที่กล่าวหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 เวลา 03.30 น. ผู้ต้องหาได้นำป้ายผ้าข้อความ “งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชน” ไปแขวนไว้บริเวณป้ายข้อความ “ทรงพระเจริญ” ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งราย อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นและอ่านข้อความ ก่อนหลบหนีไป
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจพบเฟซบุ๊กชื่อ “Free Youth CEI เชียงรายปลดแอก” ที่มีผู้ต้องหาเป็นผู้ดูแล ได้เผยแพร่ภาพการติดป้ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2564 คณะพนักงานสอบสวนได้ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน และพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับพิจารณาข้อกฎหมายและข้อความบนป้ายผ้า เชื่อว่ากลุ่มผู้กระทำมีความประสงค์จะสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็น เข้าใจว่า คำว่า “สถาบันฯ” หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ และองค์พระมหากษัตริย์ และคำว่า “งบเยียวยาประชาชน” ในสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีความเดือดร้อนและรอคอยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาเพื่อสำหรับช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องหมาย “>” ทางคณิตศาสตร์ หมายความว่า มากกว่า
จึงทำให้เห็นได้ว่าเจตนาของผู้กระทำ ต้องการสื่อให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นป้ายผ้า เข้าใจความหมายโดยรวมว่า งบประมาณที่ใช้สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงสถาบันเดียว มากกว่างบประมาณที่ใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทั่วประเทศ การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการมุ่งประสงค์ให้องค์พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เป็นการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจพบเฟซบุ๊กชื่อ “Free Youth CEI เชียงรายปลดแอก” ที่มีผู้ต้องหาเป็นผู้ดูแล ได้เผยแพร่ภาพการติดป้ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2564 คณะพนักงานสอบสวนได้ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน และพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับพิจารณาข้อกฎหมายและข้อความบนป้ายผ้า เชื่อว่ากลุ่มผู้กระทำมีความประสงค์จะสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็น เข้าใจว่า คำว่า “สถาบันฯ” หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ และองค์พระมหากษัตริย์ และคำว่า “งบเยียวยาประชาชน” ในสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีความเดือดร้อนและรอคอยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาเพื่อสำหรับช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องหมาย “>” ทางคณิตศาสตร์ หมายความว่า มากกว่า
จึงทำให้เห็นได้ว่าเจตนาของผู้กระทำ ต้องการสื่อให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นป้ายผ้า เข้าใจความหมายโดยรวมว่า งบประมาณที่ใช้สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงสถาบันเดียว มากกว่างบประมาณที่ใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทั่วประเทศ การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการมุ่งประสงค์ให้องค์พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เป็นการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 25-02-2021นัด: จับกุมตามหมายจับเวลาประมาณ 16.10 น. สุปรียา ใจแก้ว นักศึกษาวิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสมาชิกกลุ่มเชียงรายปลดแอก ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิง 2 นายพร้อมเจ้าหน้าที่ชายนอกเครื่องแบบชายอีกจำนวนหนึ่ง เข้าแสดงหมายจับของศาลจังหวัดเชียงรายที่ 20/2564 ลงวันที่ 19 ก.พ. 2564 พร้อมจับกุมตัวจากหอพักในจังหวัดเชียงรายไปยัง สภ.เมืองเชียงราย
หมายจับระบุว่าคดีมี พ.ต.ท.ภาสกร สุขะ รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สภ.เมืองเชียงราย เป็นผู้ร้องขอออกหมายจับ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และโฆษณาด้วยการปิดแผ่นประกาศหรือใบปลิวโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 10
หลังสุปรียาถูกนำตัวไปถึง สภ.เมืองเชียงราย ตำรวจได้มีการตั้งแผงเหล็กกั้นรอบทางเข้าออกของสถานีตำรวจ พร้อมกับวางกำลังตำรวจส่วนหนึ่งดูแล ก่อนที่ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เดินทางไปพบ นอกจากนั้นยังมีนักกิจกรรมและประชาชนในจังหวัดเชียงรายที่ทราบข่าวประมาณ 15 คน เดินทางไปติดตามสถานการณ์ที่หน้าสถานีตำรวจ
จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดทำบันทึกการจับกุม โดยมีการระบุชื่อชุดตำรวจที่เข้าทำการจับกุม ทั้งจาก สภ.บ้านดู่, สภ.เมืองเชียงราย และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย กว่า 52 นาย และระบุว่า การจับกุมอยู่ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
ต่อมา ร.ต.อ.ศรีเดช สุวรรณ์ รองสารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองเชียงราย และ ร.ต.อ.หญิง วิชชุลดา เกื้อพหุชน รองสารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองเชียงราย ได้แจ้งข้อกล่าวหาสุปรียาใน 3 ข้อกล่าวหาตามหมายจับดังกล่าว โดยระบุว่าคดีมี ร.ต.อ.ศุภากร ภัทรสุขเกษม เป็นผู้กล่าวหา
พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์ที่กล่าวหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 เวลา 03.30 น. ผู้ต้องหาได้นำป้ายผ้าข้อความ “งบสถาบันฯ>งบเยียวยาประชาชน” ไปแขวนไว้บริเวณป้ายข้อความ “ทรงพระเจริญ” ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งราย อำเภอเมืองเชียงราย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นและอ่านข้อความ ก่อนหลบหนีไป
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจพบเฟซบุ๊กชื่อ “Free Youth CEI เชียงรายปลดแอก” ที่มีผู้ต้องหาเป็นผู้ดูแล ได้เผยแพร่ภาพการติดป้ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2564 คณะพนักงานสอบสวนได้ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน และพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับพิจารณาข้อกฎหมายและข้อความบนป้ายผ้า เชื่อว่ากลุ่มผู้กระทำมีความประสงค์จะสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็น เข้าใจว่า คำว่า “สถาบันฯ” หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ และองค์พระมหากษัตริย์ และคำว่า “งบเยียวยาประชาชน” ในสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีความเดือดร้อนและรอคอยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาเพื่อสำหรับช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องหมาย “>” ทางคณิตศาสตร์ หมายความว่า มากกว่า
จึงทำให้เห็นได้ว่าเจตนาของผู้กระทำ ต้องการสื่อให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นป้ายผ้า เข้าใจความหมายโดยรวมว่า งบประมาณที่ใช้สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงสถาบันเดียว มากกว่างบประมาณที่ใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทั่วประเทศ การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการมุ่งประสงค์ให้องค์พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เป็นการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
ผู้กล่าวหาจึงอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ
สุปรียาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอให้การเพิ่มเติมในรายละเอียดเป็นหนังสือในภายหลัง
ระหว่างการสอบปากคำ พนักงานสอบสวนยังได้ระบุว่าทางตำรวจได้มีการขอหมายค้นของศาลจังหวัดเชียงราย เพื่อตรวจค้นห้องพักของสุปรียา แต่ว่าหมายค้นดังกล่าวได้เลยกำหนดระยะเวลาที่จะเข้าตรวจค้นได้แล้ว ซึ่งตำรวจสามารถไปขอออกหมายค้นใหม่ได้ และควบคุมตัวสุปรียาไว้ได้จนถึงวันเสาร์ แต่หากสุปรียาต้องการประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวนคืนนี้เลย จะต้องนำเจ้าหน้าที่ไปตรวจค้นห้องพักด้วยความเต็มใจ
ต่อมา ในเวลาประมาณ 21.00 น. สุปรียาได้ยินยอมนำเจ้าหน้าที่ไปตรวจค้น โดยได้มีชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบชาย 1 นาย หญิง 1 นาย และเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอีก 3 นาย เข้าตรวจค้นหอพักของสุปรียา พร้อมด้วยทนายความและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเดินทางไปร่วมเป็นพยาน
หลังการตรวจค้น ตำรวจได้ทำการตรวจยึดหน้ากากอนามัยสีดำ 1 อัน เสื้อกันหนาวแขนยาวสีดำ 1 ตัว และรองเท้าผ้าใบสีดำ 1 คู่ โดยอ้างว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องแต่งกายของผู้ที่นำป้ายข้อความไปติดซึ่งกล้องวงจรปิดบันทึกภาพไว้ได้
จากนั้น ตำรวจได้พาตัวสุปรียากลับไปยัง สภ.เมืองเชียงราย เวลา 21.25 น. เพื่อจัดทำบันทึกตรวจยึด แต่แล้วตำรวจกลับแจ้งสุปรียาและทนายความว่า ตำรวจจะไม่ให้ประกันตัวจนกว่าสุปรียาจะยินยอมให้ยึดโทรศัพท์มือถือเป็นของกลางในคดีด้วย โดยที่ตำรวจไม่ได้มีคำสั่งศาลสำหรับยึดเครื่องมือสื่อสารโดยเฉพาะแต่อย่างใด
หลังการโต้เถียงและยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจตรวจยึด ตำรวจยืนยันว่าจะตรวจยึดโทรศัพท์มือถือโดยอ้างอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 แม้สุปรียาและทนายความจะไม่ยินยอม ทำให้สุปรียาปฏิเสธจะลงชื่อในบันทึกการตรวจยึด และขอให้บันทึกข้อความว่า ผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้ตรวจยึดและเข้าถึงข้อมูลภายในอุปกรณ์แต่อย่างใด
หลังการตรวจยึดเสร็จสิ้นเวลาประมาณ 23.20 น. อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ยื่นขอประกันตัวสุปรียาในชั้นสอบสวน ด้วยเงินสดจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ ก่อนพนักงานสอบสวนจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวสุปรียา
จนเวลาประมาณ 24.00 น. เศษ หลังจัดทำเอกสารบันทึกประจำวันเสร็จสิ้น สุปรียาจึงได้รับการปล่อยตัวจาก สภ.เมืองเชียงราย
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 19 ระบุเรื่องการยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จะต้องยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามคําร้อง ทำให้การตรวจยึดโทรศัพท์มือถือซึ่งนับว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ จะต้องมีคำสั่งอนุญาตของศาลก่อน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงเห็นว่าการตรวจยึดโทรศัพท์มือถือในกรณีนี้ของพนักงานสอบสวนสภ.เมืองเชียงราย จึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 25 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26313) -
วันที่: 09-06-2021นัด: ส่งตัวอัยการพนักงานสอบสวนนัดหมายส่งสำนวนและส่งตัวผู้ต้องหาให้พนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย อัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 6 ก.ค. 2564 เวลา 09.30 น.
-
วันที่: 06-07-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 22 ก.ค. 2564
-
วันที่: 22-07-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 18 ส.ค. 2564
-
วันที่: 14-10-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 16 พ.ย. 2564
-
วันที่: 16-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 14 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 14-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 13 ม.ค. 2565
-
วันที่: 13-01-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 14 ก.พ. 2565
-
วันที่: 14-02-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนไปฟังคำสั่งวันที่ 15 มี.ค. 2565
-
วันที่: 15-03-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการ
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุปรียา ใจแก้ว
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์