ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป
ดำ อ.1183/2564

ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป
ดำ อ.1183/2564

ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป
ดำ อ.1183/2564

ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป

หมายเลขคดี

ดำ อ.1183/2564
ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป

หมายเลขคดี

ดำ อ.1183/2564
ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • แจ้งโดยประชาชนทั่วไป

หมายเลขคดี

ดำ อ.1183/2564
ผู้กล่าวหา
  • สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่

ความสำคัญของคดี

"ตี้" วรรณวลี ธรรมสัตยา, “หนึ่ง“ (นามสมมติ) และ “น้ำ” (นามสมมติ) 3 นักศึกษา ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ จากเหตุที่วรรณวลีโพสต์ภาพทั้งสามคนชูป้ายระหว่างร่วมการชุมนุม #บ๊ายบายไดโนเสาร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสยาม กทม. หลังสุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ เข้าแจ้งความกล่าวหาว่า ข้อความในป้ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะสร้างภาระในการเดินทางไปต่อสู้คดี

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ลักขณา มักการุณ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ บรรยายคำฟ้องถึงพฤติการณ์ในคดีโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 21 - 29 พ.ย. 2563 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงการอาฆาตมาดร้าย ใส่ความพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันต่อบุคคลที่สามและประชาชนทั่วไป โดยการโพสต์ภาพและข้อความในเฟซบุ๊คของจำเลยที่ 1 (วรรณวลี) ตั้งค่าเป็นสาธารณะ เป็นภาพของจําเลยทั้งสามที่ร่วมกันถือป้ายที่แสดงข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยมีข้อความที่มีความหมายเปรียบรัชกาลที่ 10 เป็นสัตว์เลื้อคลานขนาดใหญ่

นอกจากนั้นยังมีป้ายข้อความอันมีความหมายไปในทางเสียดสี ดูถูก ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ และทำให้บุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไปที่เห็นภาพและข้อความดังกล่าวเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ดํารงพระราชจริยวัตร อันเป็นการใส่ความทำให้พระมหากษัตริย์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.1183/2564 ลงวันที่ 26 ต.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 11.00 น. ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ 3 นักศึกษาที่ได้รับหมายเรียกในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกครั้งที่ 2 แม้ก่อนหน้านี้จะขอเลื่อนออกไป เนื่องจากไม่มีใครมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ตาม

    คดีนี้มีสุกิจ เดชกุล สมาชิกของกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวหา โดยผู้ถูกออกหมายเรียก 3 ราย ได้แก่ วรรณวลี ธรรมสัตยา หรือ “ตี้” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คู่ขนานเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยพะเยา, “หนึ่ง“ (นามสมมติ) นักศึกษาชายคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยในจังหวัดนนทบุรี และ “น้ำ” (นามสมมติ) นักศึกษาหญิงจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

    ก่อนหน้านี้ทั้งสามคนได้หมายเรียกครั้งแรก ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 15 ม.ค. 2564 แต่ไม่มีใครอาศัยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ได้ขอเลื่อนการรับทราบข้อหาออกไป เนื่องจากความลำบากของการเดินทางในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยเดิมจะขอเลื่อนไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ ร.ต.ท.อมรเทพ ชุมวิสูตร รองสารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองเชียงใหม่ ได้ออกหมายเรียกครั้งที่ 2 ทันที โดยระบุให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 22 ม.ค. 2564 ทั้งสามจึงเดินทางมายัง สภ.เมืองเชียงใหม่

    ที่หน้า สภ.เมืองเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นรั้วทางเข้าอาคารสถานีและตั้งจุดคัดกรองคนเข้าออก พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิ โดยมีกำลังตำรวจทั้งใน-นอกเครื่องแบบ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) กว่า 20 นายประจำการอยู่ โดยมีมวลชนราว 30 คน เดินทางมาให้กำลังใจนักศึกษาผู้ถูกดำเนินคดี

    พ.ต.ท.สันติ คำใส, พ.ต.ท.สมคิด ภูสด และ พ.ต.ท.วัชรพล ยมเกิด สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองเชียงใหม่ แจ้งข้อกล่าวหาต่อทั้ง 3 คน ระบุว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 สุกิจ เดชกุล มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้งานบัญชีเฟซบุ๊กซึ่งมีชื่อเดียวกันกับวรรณวลี, หนึ่ง และน้ำ ที่ได้โพสต์ข้อความและภาพถ่ายในลักษณะ “ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนที่ได้เห็นข้อความหลงเชื่อ และร่วมแสดงความคิดเห็นที่ลักษณะเป็นการดูหมิ่น ใส่ความ ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ ทรงถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ

    สำหรับโพสต์ที่ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหาอ้างว่าถูกโพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 มีข้อความประกอบว่า “จงเข้าร่วมกับข้าซะ ทุกคนนน ข้าจะไม่ยอมติดคุกเพียงผู้เดียว หลังจากนั้นนักข่าวขอถ่ายกับป้ายนี้ตลอดงานจ้า รวมมิตร การ์ด แกนนำ หมอ” และมีภาพบุคคลซึ่งถือป้ายข้อความ 3 ป้าย ซึ่งผู้กล่าวหาอ้างว่า การโพสต์ข้อความและภาพถ่ายประกอบโพสต์ดังกล่าวเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เพราะพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่เคารพสักการะ อยู่ในฐานะที่จะละเมิดมิได้ จึงอยู่เหนือการติชมทั้งปวง ทำให้พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ เสื่อมเสียพระเกียรติ

    พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 3 คนใน 2 ข้อหา ได้แก่ “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”

    นักศึกษาทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน แต่ทางพนักงานสอบสวนระบุว่าต้องให้เวลาในการจัดทำสำนวนด้วย จึงกำหนดให้ผู้ต้องหาทั้งสามยื่นคำให้การเพิ่มเติมภายในวันที่ 19 ก.พ. 2564

    ต่อมา พนักงานสอบสวนระบุว่า คดีนี้เป็นคดีความผิดที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงจะขอตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีด้วย โดยได้มีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่เฉพาะทางจากตำรวจภูธรภาค 5 พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีในการตรวจสอบมาด้วย แต่ทางผู้ต้องหาทั้งสามรายให้การปฏิเสธและไม่ยินยอมให้มีการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากไม่ได้มีหมายศาลใด ด้านพนักงานสอบสวนจึงระบุว่าจะมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

    จากนั้นจึงได้มีการนำตัวผู้ต้องหาไปพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ ก่อนให้ปล่อยตัวไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ และนัดให้มารายงานตัวต่อไปในวันที่ 1 มี.ค. 2564 เวลา 09.00 น.

    ทั้งนี้ น่าสังเกตว่าในคดีนี้ไม่ได้มีเหตุเกี่ยวข้องกับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แต่อย่างใด โดยภาพที่โพสต์นั้นพบว่าเป็นการชุมนุม #บ๊ายบายไดโนเสาร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสยาม กทม. และผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามคนไม่ได้อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แต่ผู้กล่าวหาระบุว่าตรวจพบภาพและข้อความจากระบบคอมพิวเตอร์ที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มาแจ้งความกล่าวหาที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ ก่อให้เกิดภาระทางคดีกับผู้ถูกกล่าวหาในการเดินทางไปต่อสู้คดี

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองเชียงใหม่ ลงวันที่ 22 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25460)
  • เวลา 10.00 น. วรรณวลี, หนึ่ง และน้ำ เดินทางไปยังสำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมายเพื่อส่งสำนวนคดีให้กับพนักงานอัยการ

    เมื่อถึงเวลานัด พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดีกลับแจ้งว่าได้นำสำนวนคดีมายังสำนักงานอัยการแล้ว แต่ติดปัญหาที่จะต้องมีการนำสำนวนคดีเข้าสู่การประชุมผ่านคอนเฟอร์เร้นกับทางกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก่อน จึงทำให้ไม่สามารถส่งสำนวนคดีและตัวผู้ต้องหาในช่วงเช้าได้ ขอเลื่อนการส่งสำนวนออกไปเป็นช่วงบ่ายแทน

    จากนั้นเวลา 13.30 น. พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนคดีที่มีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม ทั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พร้อมกับตัวผู้ต้องหาให้กับพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งทางคดีต่อไป

    ด้านพนักงานอัยการเมื่อรับสำนวนคดีไว้แล้ว ได้นัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้งสามเข้ารายงานตัวเพื่อฟังคำสั่งทางคดีอีกครั้งในวันที่ 22 เม.ย. 2564 เวลา 10.00 น. โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการระบุว่าก่อนถึงวันดังกล่าวให้เตรียมหลักทรัพย์เพื่อใช้ในการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดีด้วย

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/27964)
  • พนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดีนี้ นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 22 มิ.ย. 2564
  • พนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดีนี้ นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 29 ก.ค. 2564
  • พนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดีนี้ นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 6 ก.ย. 2564
  • พนักงานอัยการยังไม่มีคำสั่งในคดีนี้ นัดรายงานตัวและฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 6 ต.ค. 2564
  • ผู้ต้องหาได้ขอเลื่อนนัดออกไป เนื่องจากนักศึกษา 1 ราย ตรวจพบเชื้อโควิด-19 จึงต้องรอการรักษาจนหายดีก่อน
  • เวลาประมาณ 10.00 น. นักศึกษาทั้งสามรายเดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร เข้ารายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง 3 นักศึกษา ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

    จากนั้นเวลาประมาณ 13.30 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการได้นำสำนวนคดีมายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยนักศึกษาทั้งสามรายได้ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ในห้องขังใต้ถุนศาลเพื่อรอการประกันตัว ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้รับฟ้องคดีของทั้งสามคนไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.1183/2564

    คำฟ้องของพนักงานอัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวนักศึกษาทั้งสาม โดยระบุว่าหากจำเลยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    หลังจากนั้นทนายความได้แจ้งขอใช้ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการประกันตัวนักศึกษาทั้งสามรายต่อศาล แต่เจ้าหน้าที่ของศาลจังหวัดเชียงใหม่ระบุว่า หากไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นอาจารย์ที่สอนนักศึกษาทั้งสามรายโดยตรง หรืออาจารย์จากสถาบันการศึกษาเดียวกัน จะถือว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักศึกษา และทำให้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตำแหน่งอาจารย์เพื่อประกันตัวได้

    เมื่อทางทนายความสอบถามว่าให้ศาลพิจารณาก่อนได้หรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าสามารถยื่นให้ศาลพิจารณาได้ แต่อย่างไรคงจะไม่ได้รับการอนุญาต อีกทั้งเอกสารของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จัดเตรียมมายังมีรายละเอียดในส่วนที่ต้องมีฝ่ายการเงินของมหาวิทยาลัยเซ็นรับรองเอกสารอีกครั้งด้วย ทำให้เอกสารไม่สมบูรณ์

    ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 14.00 น. ทีมทนายความและอาจารย์ที่เตรียมมาเป็นนายประกันจึงได้ตัดสินใจยื่นคำร้องขอปล่อยตัว โดยใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ให้ศาลพิจารณาแทน เนื่องจากเกรงว่าหากการยื่นขอประกันล่าช้าไปกว่านั้นอาจไม่ทันได้รับการปล่อยตัว

    จนกระทั่งเวลา 17.00 น. ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตี้ วรรณวลี และเพื่อนรวม 3 คน โดยให้วางหลักทรัพย์รายละ 150,000 บาท ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขการประกันตัว รวมต้องวางหลักทรัพย์ 4.5 แสนบาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ก่อนทั้งสามคนจะได้รับการปล่อยตัวจากห้องขังของศาล หลังถูกควบคุมตัวเป็นเวลาเกือบ 4 ชั่วโมง

    ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดนัดพร้อมสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งสาม ในวันที่ 14 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ อ.1183/2564 ลงวันที่ 26 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37006)
  • ศาลจังหวัดเชียงใหม่ให้เลื่อนไปนัดพร้อมในวันที่ 6 มิ.ย. 2565

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น้ำ (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
หนึ่ง (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น้ำ (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
หนึ่ง (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์