ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • twitter
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.2087/2564
แดง อ.803/2566

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.พิเชษฐ์ คำภีรานนท์ ผกก.3 บก.ปอท. (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • twitter
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2087/2564
แดง อ.803/2566
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.พิเชษฐ์ คำภีรานนท์ ผกก.3 บก.ปอท.

ความสำคัญของคดี

สหรัฐ เจริญสิน พนักงานบริษัท อายุ 28 ปี ถูกตำรวจ บก.ปอท. จับกุมและดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากการโพสต์คลิปและข้อความบนทวิตเตอร์ กล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และข่าวลือเรื่องอาการประชวรด้วยโรคโควิด-19 ของพระราชินี ในเดือน ก.พ. และ พ.ค. 2564 สหรัฐถูกออกหมายจับโดยไม่มีการออกหมายเรียกก่อน และไม่มีทนายความเข้าร่วมกระบวนการในชั้นสอบสวน

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีการตีความอย่างกว้างขวาง และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

พิทยา วีระพงศ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

1. เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ที่จำเลยเป็นผู้ดูแล โพสต์ข้อความ พร้อมทั้งแชร์คลิปและข้อความจากบัญชีทวิตเตอร์อื่น ซึ่งสื่อให้เข้าใจได้ว่า กล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และมีความหมายทำให้เสื่อมเสีย อันเป็นความเท็จและเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยมีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์

2. เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ที่จำเลยเป็นผู้ดูแล โพสต์ 3 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องอาการประชวรด้วยโรคโควิด-19 ของพระราชินีสุทิดาฯ และการเตรียมฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้ข้าราชบริพาร ซึ่งทำให้พระราชินีเสื่อมเสียพระเกียรติ อันเป็นความเท็จและเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2087/2564 ลงวันที่ 27 ส.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ราว 09.00 น. สหรัฐ เจริญสิน อายุ 28 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ กก.3 บก.ปอท. รวม 7 นาย นำโดย พ.ต.ท.สัญญา นิลนพคุณ รอง ผกก.3 บก.ปอท. เข้าจับกุมจากห้องพักในกรุงเทพฯ ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 875/2564 ลงวันที่ 7 มิ.ย. 2564 ระบุข้อกล่าวหา 2 ข้อหา ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    เจ้าหน้าที่ยังมีการนำหมายค้นออกโดยศาลอาญา เข้าตรวจค้นห้องพัก ก่อนตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดทำบันทึกการตรวจยึด และให้สหรัฐลงลายมือชื่อ

    จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวสหรัฐไปยัง บก.ปอท. เพื่อจัดทำบันทึกจับกุม ก่อนแจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหาดังกล่าว รวมทั้งสอบปากคำในช่วงบ่าย โดยไม่อนุญาตให้สหรัฐติดต่อใคร ทำให้ไม่มีทนายความหรือผู้ไว้วางใจอยู่ร่วมกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำด้วย

    เบื้องต้นทราบว่าสหรัฐถูกแจ้งข้อหาจากการทวิตข้อความในโลกออนไลน์ สหรัฐยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ก่อนที่ในช่วงเย็น เจ้าหน้าที่จะนำตัวสหรัฐไปคุมขังที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยมีทนายความที่ทราบเรื่องเดินทางติดตามไป

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30645)
  • ช่วงเช้าพนักงานสอบสวนได้นำตัวสหรัฐจาก สน.ทุ่งสองห้อง กลับไปที่ บก.ปอท. เพื่อจะขอฝากขังต่อศาลอาญา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

    พ.ต.ท.พชร แสนชัยสกุลกิจ พนักงานสอบสวน กก.3 บก.ปอท. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังสหรัฐเป็นระยะเวลา 12 วัน โดยอ้างเหตุว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 4 ปาก รอผลการตรวจพิสูจน์ของกลาง ผลตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ และประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา

    คำร้องขอฝากขังได้ระบุถึงพฤติการณ์ข้อกล่าวหา โดยระบุว่า พ.ต.อ.พิเชษฐ์ คำภีรานนท์ ผกก.3 บก.ปอท. ได้ตรวจพบบัญชีทวิตเตอร์ที่ได้ทวิตข้อความเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2564 มีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องอาการประชวรด้วยโรคโควิด-19 ของพระราชินีสุทิดาฯ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ต่อมา ยังตรวจสอบพบข้อความและคลิปจากบัญชีทวิตเตอร์ดังกล่าวที่ทวิตเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2564 เข้าข่ายมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เช่นเดียวกัน จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน

    ในคำร้องขอฝากขังพนักงานสอบสวนยังคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จะเป็นการยากในการติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลัง และเนื่องจากพยานหลักฐานในคดีเป็นพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายต่อการเข้าถึง ผู้ต้องหาอาจจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

    ต่อมา เวลา 12.00 น. ศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำขอของพนักงานสอบสวน ทนายความที่ไปติดตามให้ช่วยเหลือในกระบวนการฝากขัง จึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองคนในระหว่างสอบสวน โดยใช้หลักทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักทรัพย์ประกัน

    จนเวลา 15.30 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน โดยให้วางหลักทรัพย์ 200,000 บาท พร้อมกำหนดให้มารายงานตัวต่อศาลในวันที่ 29 ก.ค. 2564

    ทั้งนี้ การจับกุมสหรัฐเกิดขึ้นโดยพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการออกหมายเรียกมาก่อน และเจ้าหน้าที่ไม่ให้ทั้งสองคนติดต่อทนายความ ญาติ หรือผู้ไว้วางใจ เข้าร่วมในการจับกุมและการสอบสวนอีกด้วย

    (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 9 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/30645)
  • พิทยา วีระพงศ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องสหรัฐต่อศาลอาญา ในฐานความผิด หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    พนักงานอัยการบรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2564 จำเลยได้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ที่จำเลยเป็นผู้ดูแล โพสต์ข้อความ พร้อมทั้งแชร์คลิปและข้อความจากบัญชีทวิตเตอร์อื่น ซึ่งสื่อให้เข้าใจได้ว่า กล่าวถึงรัชกาลที่ 10 และวันที่ 13 พ.ค. 2564 จำเลยยังได้โพสต์ 3 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องอาการประชวรด้วยโรคโควิด-19 ของพระราชินีสุทิดาฯ และการเตรียมฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้ข้าราชบริพาร

    อัยการระบุว่า ข้อความที่จำเลยโพสต์เป็นความเท็จและเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ทำให้รัชกาลที่ 10 และพระราชินีเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น หมิ่นประมาท

    ท้ายคำฟ้องอัยการคัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณา อ้างเหตุว่า คดีมีอัตราโทษสูงและเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2087/2564 ลงวันที่ 27 ส.ค. 2564)
  • ศาลอ่านฟ้องและอธิบายฟ้องก่อนถามคำให้การ สหรัฐยืนยันให้การปฏิเสธ ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 8 พ.ย. 2564

    ต่อมา ศาลอนุญาตให้ประกันตัวสหรัฐระหว่างพิจารณาคดีตามที่ทนายยื่นคำร้อง ด้วยหลักทรัพย์ประกันเดิมในชั้นสอบสวน เป็นเงินสด 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
  • หลังตรวจพยานหลักฐาน ศาลนัดสืบพยานในวันที่ 20-22 ก.ย. 2565
  • ก่อนเริ่มสืบพยาน สหรัฐแถลงขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และขอให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง อัยการแถลงไม่ค้าน ศาลจึงให้งดการสืบพยาน และมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยรายงานต่อศาลภายใน 30 วัน

    ปัจจุบัน สหรัฐมีภาระต้องเลี้ยงดูบิดามารดาซึ่งชราภาพ จึงมีคำขอให้ศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษา เพื่อจะพยายามเก็บเงินให้บิดามารดาไว้ใช้จ่าย หากตนต้องโทษจำคุก และไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ศาลจึงเห็นสมควรให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 7 ก.พ. 2566 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2087/2564 ลงวันที่ 20 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/48624)
  • จำเลยไม่ได้เดินทางมาศาลตามนัด

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
สหรัฐ เจริญสิน

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
สหรัฐ เจริญสิน

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์