ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.904/2567

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพโรจน์ พัชราจิระศักดิ์ สว.สส. สน.ดินแดง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ อ.904/2567
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพโรจน์ พัชราจิระศักดิ์ สว.สส. สน.ดินแดง

ความสำคัญของคดี

"จ่อย" (นามสมมติ) นักศึกษาชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมและตรวจค้นที่พัก โดยไม่มีหมายจับและหมายค้น ก่อนถูกพาตัวไปที่ห้องปฏิบัติการฝ่ายสืบสวน สน.ดินแดง เพื่อสอบถามและควบคุมตัวไว้ 1 คืน จึงได้ไปขอศาลอาญาออกหมายจับจ่อยในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, วางเพลิงเผาทรัพย์ และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุม โดยกล่าวหาว่า จ่อยเกี่ยวข้องกับการวางเพลิงเผาพระบรมฉายาลักษณ์ในการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊สบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงช่วงเดือน ก.ย. 2564

กรณีนี้สะท้อนถึงปัญหาการตีความข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับตีความอย่างกว้างขวางครอบคลุมถึงการกระทำต่อวัตถุสิ่งของ อีกทั้งศาลยังรับรองการตีความดังกล่าวด้วยการออกหมายจับโดยเชื่อเพียงคำกล่าวอ้างฝ่ายเดียวของตำรวจ การกระทำดังกล่าวขององคาพยพกระบวนการยุติธรรมละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และอาจส่งผลในแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ชฎาภา รุ่งเรือง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 บรรยายคำฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า

1. เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 เวลาประมาณ 21.30 น. จําเลยกับพวกได้พากันออกจากเคหสถานมารวมกลุ่มมั่วสุมชุมนุมกันที่บริเวณทางลงทางด่วนดินแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

2. จําเลยกับพวกได้ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้ายหรือกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ด้วยการขว้างปาประทัด ระเบิด ใช้หนังสติ๊กยางยิงลูกแก้ว และของแข็งชนิดต่าง ๆ เข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมฝูงชน และจุดไฟจนเป็นเพลิงลุกไหม้บนทางสาธารณะ จนเกิดความวุ่นวายขึ้นในบริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนได้ประกาศสั่งการให้จำเลยกับพวกยุติการชุมนุม แต่จําเลยกับพวกซึ่งทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วยังคงไม่เลิกการชุมนุม

3. จําเลยยังร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ จําเลยกับพวกที่มาร่วมชุมนุมได้ร่วมกันยิงหนังสติ๊กเข้าใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่ติดตั้งไว้บริเวณทางด่วนดินแดง และจุดไฟ ใช้ระเบิดขว้างเข้าใส่บริเวณฐานของพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 จํานวน 2 ป้าย, ป้าย วปร. จํานวน 2 ป้าย และป้ายทรงพระเจริญ จํานวน 1 ป้าย ซึ่งเป็นทรัพย์สินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้เสียหาย จนเกิดเพลิงลุกไหม้ที่บริเวณฐาน

จากนั้นได้นําพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 มาฉีกจนขาด, วางบนพื้นถนน เหยียบ แล้ววางเพลิงเผา จนพระบรมฉายาลักษณ์และแผ่นป้ายดังกล่าวได้รับความเสียหาย

ซึ่งพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ถือได้ว่า “เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์ท่าน การที่ประชาชนแสดงความเคารพต่อพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ก็เปรียบเสมือนเป็นการแสดงความเคารพต่อพระองค์ท่าน นอกจากนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือได้ว่า เป็นสิ่งที่ใช้แสดงถึงสถาบันอันสูงสุดของประเทศ คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีคุณูปการต่อคนไทย และต่อประเทศไทยมาอย่างยาวนาน…”

“การเห็นบรมฉายาลักษณ์ คือ การเห็นพระองค์ท่าน” การที่จําเลยกับพวกร่วมกันเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการทําลายสถาบันอันสูงสุดที่รักเคารพบูชา และเป็นจุดศูนย์รวมใจของพสกนิกรชาวไทย และการใช้เชื้อเพลิงและน้ํามัน เพื่อทําลายพระบรมฉายาลักษณ์สื่อถึงการทําลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นจุล…

“การเผาภาพ คือ การเผาพระองค์ท่าน” เป็นการแสดงเจตนาว่า ต้องการลบล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นระบอบที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง และเป็นการแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นการกระทําที่ย่ำยี เหยียบย่ำหัวใจของคนไทยที่รัก และเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชินีอันเป็นที่รัก และเทิดทูนของพสกนิกรชาวไทย

การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ซุ้มเฉลิมพระเกียรติและพระบรมฉายาลักษณ์ จํานวน 2 ป้าย, ป้าย วปร. จํานวน 2 ป้าย และป้ายทรงพระเจริญ จํานวน 1 ป้าย ได้รับความเสียหาย คิดเป็นเงินจํานวน 25,266.98 บาท

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.904/2567 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2567)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 17.00 น. "จ่อย" (นามสมมติ) นักศึกษาชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และ เค (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 17 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดินแดง เข้าจับกุมที่บ้านย่านลาดพร้าว โดยไม่มีหมายจับ ก่อนเข้าตรวจค้นที่พักโดยไม่มีหมายค้น และตรวจยึดโทรศัพท์เสื้อผ้า รถจักรยานยนต์ และสิ่งของอีกหลายอย่างของทั้งสอง จากนั้นทั้งสองคนถูกพาตัวไปที่ห้องปฏิบัติการฝ่ายสืบสวน สน.ดินแดง เพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและการเผาสิ่งของในที่ชุมนุมสามเหลี่ยมดินแดง

    จ่อยและเคถูกควบคุมตัวที่ สน.ดินแดง แม้ว่า ตำรวจจะไม่มีหมายจับ

    (อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.ดินแดง ลงวันที่ 9 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34871)
  • เวลา 13.00 น. หลังทนายความได้รับแจ้งว่าจ่อยและเคถูกจับกุมตั้งแต่เมื่อวาน (8 ก.ย. 2564) จึงเดินทางไปที่ห้องปฏิบัติการฝ่ายสืบสวน สน.ดินแดง ก่อนพบว่า พนักงานสอบสวนเพิ่งนําหมายจับจ่อยของศาลอาญา ที่ 1473/2564 และหมายจับเคของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ที่ 29/2564 ลงวันที่ 9 ก.ย. 2564 มาแสดง และทำบันทึกการจับกุม หลังควบคุมตัวทั้งสองมาแล้วราว 20 ชม.

    บันทึกจับกุมระบุข้อกล่าวหาจ่อยตามหมายจับดังนี้

    1. ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    2. ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น

    3. ร่วมกันกระทําการหรือดําเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

    4. ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย หรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

    5. เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกไป แล้วไม่เลิก

    6. ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกันมากกว่า 5 คนในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศหรือคําสั่งกําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

    7. ร่วมกันชุมนุมหรือทํากิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ที่มีการประกาศหรือคําสั่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

    8. ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 – 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น)

    อย่างไรก็ตาม บันทึกการจับกุมไม่ได้ระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ รวมถึงพฤติการณ์การกระทำความผิดที่เป็นสาเหตุให้จ่อยถูกออกหมายจับและถูกจับกุมในครั้งนี้

    หลังทำบันทึกจับกุมและบันทึกตรวจยึดสิ่งของหลายรายการที่ยึดมาจากที่พักของทั้งสองเสร็จสิ้น โดยจ่อยให้การปฏิเสธ และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำจ่อย ซึ่งให้การปฏิเสธเช่นกัน

    จ่อยและเคถูกควบคุมตัวที่ สน.ดินแดง อีกเป็นคืนที่ 2 เนื่องจากเคซึ่งเป็นเยาวชนไม่มีผู้ปกครองมารับ พนักงานสอบสวนจึงควบคุมตัวไว้เพื่อนำตัวไปตรวจสอบการจับที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในวันที่ 10 ก.ย. 2564 ส่วนจ่อยจะถูกส่งตัวไปขอฝากขังต่อศาลอาญาในวันเดียวกัน

    (อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.ดินแดง ลงวันที่ 9 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34871)
  • ประมาณ 09.00 น. ตำรวจเรียกให้จ่อยและเคไปพิมพ์ลายนิ้วมือ กระทั่งเวลา 11.00 น. พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลอาญาฝากขังผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไม่ได้พาไปศาลอาญาตามที่แจ้งไว้ โดยมีทนายและครอบครัวไปยื่นประกันตัวที่ศาล ใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสด 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

    เวลา 16.00 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว กำหนดเงื่อนไขให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ทั้งยังห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 15.00 - 05.00 น.ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่ไปรักษาพยาบาล และให้ตรวจโควิดก่อนมาติด EM ภายใน 7 วัน นัดรายงานตัวต่อศาลวันที่ 28 ต.ค. 2564

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/34871)
  • หลังครบกำหนดฝากขัง 84 วัน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 แต่พนักงานอัยการยังไม่ได้ส่งฟ้องต่อศาล อีกกว่า 1 ปี พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง จึงได้ออกหมายเรียกจ่อยไปพบเพื่อส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการ หลังรับสำนวน พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 นัดฟังคำสั่งในวันที่ 4 เม.ย. 2566
  • ที่ศาลอาญา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ได้ยื่นฟ้อง จ่อย (นามสมมติ) ประชาชนอายุ 25 ปี ในข้อหา ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุมแล้วไม่เลิก และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ออกนอกเคหสถานในเวลาห้าม) หลังจากคดีอยู่ในชั้นสอบสวนกว่า 2 ปี

    ชฎาภา รุ่งเรือง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ผู้เรียงฟ้อง บรรยายคำฟ้องมีใจความโดยสรุปกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 เวลาประมาณ 21.30 น. จําเลยกับพวกได้พากันออกจากเคหสถานมารวมกลุ่มมั่วสุมชุมนุมกันที่บริเวณทางลงทางด่วนดินแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

    จากนั้นจําเลยกับพวกได้ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้ายหรือกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ด้วยการขว้างปาประทัด ระเบิด ใช้หนังสติ๊กยางยิงลูกแก้ว และของแข็งชนิดต่าง ๆ เข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมฝูงชน และจุดไฟจนเป็นเพลิงลุกไหม้บนทางสาธารณะ จนเกิดความวุ่นวายขึ้นในบริเวณดังกล่าว

    ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนได้ประกาศสั่งการให้จำเลยกับพวกยุติการชุมนุม แต่จําเลยกับพวกซึ่งทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วยังคงไม่เลิกการชุมนุม

    จําเลยยังร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ จําเลยกับพวกที่มาร่วมชุมนุมได้ร่วมกันยิงหนังสติ๊กเข้าใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่ติดตั้งไว้บริเวณทางด่วนดินแดง และจุดไฟ ใช้ระเบิดขว้างเข้าใส่บริเวณฐานของพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 จํานวน 2 ป้าย, ป้าย วปร. จํานวน 2 ป้าย และป้ายทรงพระเจริญ จํานวน 1 ป้าย ซึ่งเป็นทรัพย์สินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้เสียหาย จนเกิดเพลิงลุกไหม้ที่บริเวณฐาน

    จากนั้นได้นําพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 มาฉีกจนขาด, วางบนพื้นถนน เหยียบ แล้ววางเพลิงเผา จนพระบรมฉายาลักษณ์และแผ่นป้ายดังกล่าวได้รับความเสียหาย

    อัยการบรรยายฟ้องด้วยว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ถือได้ว่า “เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์ท่าน การที่ประชาชนแสดงความเคารพต่อพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ก็เปรียบเสมือนเป็นการแสดงความเคารพต่อพระองค์ท่าน นอกจากนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือได้ว่า เป็นสิ่งที่ใช้แสดงถึงสถาบันอันสูงสุดของประเทศ คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีคุณูปการต่อคนไทย และต่อประเทศไทยมาอย่างยาวนาน…”

    “การเห็นบรมฉายาลักษณ์ คือ การเห็นพระองค์ท่าน” การที่จําเลยกับพวกร่วมกันเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการทําลายสถาบันอันสูงสุดที่รักเคารพบูชา และเป็นจุดศูนย์รวมใจของพสกนิกรชาวไทย และการใช้เชื้อเพลิงและน้ํามัน เพื่อทําลายพระบรมฉายาลักษณ์สื่อถึงการทําลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นจุล…

    “การเผาภาพ คือ การเผาพระองค์ท่าน” เป็นการแสดงเจตนาว่า ต้องการลบล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นระบอบที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง และเป็นการแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นการกระทําที่ย่ำยี เหยียบย่ำหัวใจของคนไทยที่รัก และเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชินีอันเป็นที่รัก และเทิดทูนของพสกนิกรชาวไทย

    อัยการสรุปความเสียหายของแผ่นป้ายทั้งหมด คิดเป็นเงินจํานวน 25,266.98 บาท พร้อมทั้งระบุว่า หากจำเลยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    ภายหลังศาลรับฟ้อง จ่อยได้ให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นนายประกันได้ยื่นขอประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์จำนวน 100,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ ก่อนที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 2 ก.ย. 2567 เวลา 13.30 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.904/2567 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/65663)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
มริษา (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
มริษา (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์