ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.422/2565
แดง อ.2872/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.พีรรัฐ โยมา รอง ผกก.สส.สน.ดินแดง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
หมายเลขคดี
ดำ อ.422/2565
แดง อ.2872/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.พีรรัฐ โยมา รอง ผกก.สส.สน.ดินแดง
ความสำคัญของคดี
"รีฟ" วีรภาพ วงษ์สมาน นักกิจกรรมวัย 18 ปี ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1517/2564 ลงวันที่ 15 ก.ย. 2564 ในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุม รวมทั้งต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน รวม 5 ข้อหา โดยถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้พ่นสีสเปรย์ข้อความเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ภายหลังถูกจับกุมศาลอาญาอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้วางเงินสด 100,000 บาท พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไข ห้ามกระทำการเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือร่วมกิจกรรมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง รวมทั้งให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 18.00 – 05.00 น.
คดีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยมีการออกหมายเรียกมาก่อน ทำให้หลังถูกจับกุมทนายความต้องยื่นประกันตัว นอกจากต้องวางหลักทรัพย์ที่สูงแล้ว การที่ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกดำเนินคดีซึ่งต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ กรณีวีรภาพซึ่งมีอาชีพขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด ยิ่งส่งผลกระทบอย่างหนัก อีกทั้งเงื่อนไขห้ามร่วมการชุมนุมก็เป็นการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย
คดีนี้ยังสะท้อนถึงปัญหาการตีความและบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ที่จะต้องตีความอย่างเคร่งครัด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับตีความอย่างกว้างขวาง กระทบถึงเสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติของประชาชน
คดีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยมีการออกหมายเรียกมาก่อน ทำให้หลังถูกจับกุมทนายความต้องยื่นประกันตัว นอกจากต้องวางหลักทรัพย์ที่สูงแล้ว การที่ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกดำเนินคดีซึ่งต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ กรณีวีรภาพซึ่งมีอาชีพขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด ยิ่งส่งผลกระทบอย่างหนัก อีกทั้งเงื่อนไขห้ามร่วมการชุมนุมก็เป็นการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย
คดีนี้ยังสะท้อนถึงปัญหาการตีความและบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ที่จะต้องตีความอย่างเคร่งครัด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับตีความอย่างกว้างขวาง กระทบถึงเสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติของประชาชน
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
อานนท์ ปราการรัตน์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 บรรยายฟ้องมีใจความดังนี้
ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เมื่อระหว่างวันที่ 13-14 ก.ย. 2564 จําเลยกับพวกรวมประมาณ 150 คน ได้ร่วมกันชุมนุม มั่วสุม ที่บริเวณแยกใต้ทางด่วนดินแดง แนวถนนดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นการออกนอกเคหสถานและเป็นการรวมกลุ่มบุคคลที่มีจํานวนมากกว่า 25 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงเป็นการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใดๆ ที่แออัด และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด
ต่อมา จําเลยกับผู้ร่วมชุมนุม รวมจํานวนประมาณ 150 คน ดังกล่าว ได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายหรือใช้กําลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมมั่วสุมดังกล่าวให้เลิกชุมนุมมั่วสุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก และต่อมาได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนที่มาควบคุมสถานการณ์ โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย ด้วยการขว้างปาระเบิดและประทัด และใช้ลูกแก้วหรือของแข็งอย่างอื่นยิงด้วยหนังสติ๊ก หรืออาวุธอย่างอื่นเข้าใส่เจ้าพนักงานตํารวจ อันเป็นการกระทําให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยได้กระทําโดยมีหรือใช้อาวุธหรือวัตถุระเบิด และโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
นอกจากนี้ จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการเขียนข้อความว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์#” ที่บริเวณผนังตู้ควบคุมไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ใต้ทางด่วนดินแดง และข้อความภาษาอังกฤษอีกหนึ่งข้อความที่บริเวณเสาใต้ทางด่วนดินแดง เพื่อให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามพบเห็นข้อมูล ข้อความ รูปภาพ และตัวอักษรดังกล่าว
คำว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เข้าใจได้ว่า ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เลื่อนลอย ปราศจากหลักฐาน ถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทําให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสถาบัน ว่าทรงอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ อันไม่เป็นความจริง
และคําว่า “#ไอ้ษัตริย์#” เข้าใจได้ว่า หมายถึงกษัตริย์ เนื่องจากประโยคก่อนหน้านี้พูดถึงกษัตริย์ อันเป็นการเลี่ยงใช้คํา และใช้คําพ้องเสียงให้พ้องกับคําว่า “ไอ้สัตว์” ที่เป็นคําด่า จึงเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อพระมหากษัตริย์
ส่วนคำภาษาอังกฤษมีความหมายนัยยะหยาบคาย ไม่สุภาพ อันเป็นการกระทํามิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ต่อพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทําลายพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 ลงวันที่ 23 ก.พ. 2565)
ปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เมื่อระหว่างวันที่ 13-14 ก.ย. 2564 จําเลยกับพวกรวมประมาณ 150 คน ได้ร่วมกันชุมนุม มั่วสุม ที่บริเวณแยกใต้ทางด่วนดินแดง แนวถนนดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นการออกนอกเคหสถานและเป็นการรวมกลุ่มบุคคลที่มีจํานวนมากกว่า 25 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงเป็นการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใดๆ ที่แออัด และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด
ต่อมา จําเลยกับผู้ร่วมชุมนุม รวมจํานวนประมาณ 150 คน ดังกล่าว ได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายหรือใช้กําลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมมั่วสุมดังกล่าวให้เลิกชุมนุมมั่วสุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก และต่อมาได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตํารวจควบคุมฝูงชนที่มาควบคุมสถานการณ์ โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย ด้วยการขว้างปาระเบิดและประทัด และใช้ลูกแก้วหรือของแข็งอย่างอื่นยิงด้วยหนังสติ๊ก หรืออาวุธอย่างอื่นเข้าใส่เจ้าพนักงานตํารวจ อันเป็นการกระทําให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยได้กระทําโดยมีหรือใช้อาวุธหรือวัตถุระเบิด และโดยร่วมกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
นอกจากนี้ จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการเขียนข้อความว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์#” ที่บริเวณผนังตู้ควบคุมไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ใต้ทางด่วนดินแดง และข้อความภาษาอังกฤษอีกหนึ่งข้อความที่บริเวณเสาใต้ทางด่วนดินแดง เพื่อให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามพบเห็นข้อมูล ข้อความ รูปภาพ และตัวอักษรดังกล่าว
คำว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เข้าใจได้ว่า ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เลื่อนลอย ปราศจากหลักฐาน ถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทําให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสถาบัน ว่าทรงอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ อันไม่เป็นความจริง
และคําว่า “#ไอ้ษัตริย์#” เข้าใจได้ว่า หมายถึงกษัตริย์ เนื่องจากประโยคก่อนหน้านี้พูดถึงกษัตริย์ อันเป็นการเลี่ยงใช้คํา และใช้คําพ้องเสียงให้พ้องกับคําว่า “ไอ้สัตว์” ที่เป็นคําด่า จึงเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อพระมหากษัตริย์
ส่วนคำภาษาอังกฤษมีความหมายนัยยะหยาบคาย ไม่สุภาพ อันเป็นการกระทํามิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ต่อพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยมีเจตนาทําลายพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 ลงวันที่ 23 ก.พ. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 15-09-2021นัด: จับกุมตามหมายจับเวลา 20.40 น. วีรภาพ วงษ์สมาน ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1517/2564 ลงวันที่ 15 ก.ย. 2564 ในข้อหาหลักหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขณะรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่บริเวณตำบลคลองข่อย จังหวัดนนทบุรี ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ สภ.ชัยพฤกษ์ เพื่อจัดทำบันทึกจับกุม และนำตัวไปที่ สน.พหลโยธิน เพื่อให้พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง ซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนคดีรับตัวไปสอบปากคำ
เมื่อวีรภาพถูกนำตัวมาที่ สน.พหลโยธิน โดยมีทนายความเดินทางติดตามไป พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ยังได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการเข้าร่วมการชุมนุม #ม็อบ1กันยา ที่หน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยกลุ่มเยาวรุ่นทะลุแก๊ส และราษฎรตาลีบัน อีกคดีหนึ่งซึ่งไม่ใช่คดีที่มีการออกหมายจับ
จากนั้น พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง ได้เข้ามาแจ้งข้อหาวีรภาพ ที่ สน.พหลโยธิน โดยระบุพฤติการณ์คดีที่กล่าวหาว่า วีรภาพได้พ่นสเปรย์ข้อความเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 5 ข้อหา
1. “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
2. “ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 25 คนในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
3. “ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยผู้ร่วมกระทำมีอาวุธ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรค 2
4. “เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกชุมนุมมั่วสุม แต่ไม่เลิก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216
5. “ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140
วีรภาพได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะขอให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน
(อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 15 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35166) -
วันที่: 16-09-2021นัด: ฝากขังครั้งที่ 1หลังถูกควบคุมตัวไว้ที่ สน.พหลโยธิน เป็นเวลา 1 คืน พนักงานสอบสวน สน.ดินแดง ได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลอาญาฝากขังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว พร้อมวางเงินสดจำนวน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักประกัน
ต่อมา สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราววีรภาพระหว่างสอบสวน พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามผู้ต้องหากระทำการใดใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ในบ้านเมือง และให้ผู้ต้องหาอยู่ในเคหะสถานตั้งแต่เวลา 18.00 – 05.00 น. ทั้งนี้ ศาลยังให้วีรภาพติด EM โดยให้ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 และนำผลตรวจมาแสดงต่อศาล ก่อนมาติดกำไล EM ภายในวันที่ 23 ก.ย. 2564 นัดรายงานตัวอีครั้งวันที่ 3 พ.ย. 2564 เวลา 08.30 น.
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 16 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35166) -
วันที่: 03-11-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลวีรภาพเดินทางไปรายงานตัวตามนัด ศาลนัดมารายตัวครั้งต่อไปวันที่ 15 พ.ย. 2564
-
วันที่: 15-11-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลวีรภาพเดินทางไปรายงานตัวตามนัด ศาลนัดมารายตัวครั้งต่อไปวันที่ 29 พ.ย. 2564
-
วันที่: 29-11-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลวีรภาพเดินทางไปรายงานตัวตามนัด ศาลนัดมารายตัวครั้งต่อไปวันที่ 9 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 09-12-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลวีรภาพเดินทางไปรายงานตัวตามนัด แต่เนื่องจากครบฝากขัง 84 วันแล้ว อัยการยังไม่ยื่นฟ้อง ศาลจึงไม่มีนัดรายงานตัวครั้งต่อไป
-
วันที่: 10-01-2022นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวน สน.ดินแดง นัดวีรภาพส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 26 ม.ค. 2565
-
วันที่: 26-01-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดเป็นวันที่ 23 ก.พ. 2565
-
วันที่: 23-02-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)หลังวีรภาพเดินทางไปฟังคำสั่งอัยการตามนัด พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 แจ้งคำสั่งฟ้อง และยื่นฟ้องวีรภาพต่อศาลอาญารวม 5 ข้อหา ได้แก่
1. “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
2. “ร่วมกันชุมนุมสาธารณะ” ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
3. “ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ่นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
4. “เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกชุมนุมมั่วสุม แต่ไม่เลิก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216
5. “ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140
อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีมาในคำฟ้อง โดยให้อยู่ดุลพินิจของศาล ในท้ายคำฟ้องยังระบุว่า ขอให้ศาลนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีชุมนุมเดินทะลุฟ้า V.2 บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2564, คดีชุมนุมและปราศรัยในกิจกรรม ‘รดน้ำกดหัวประยุทธ์’ ที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2564 และคดีชุมนุมเรียกร้องให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังการเมือง หรือ #ม็อบ2พฤษภา ที่หน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2564
ต่อมา ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัววีรภาพ โดยใช้หลักทรัพย์เดิมจากชั้นสอบสวน คือจำนวน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 เม.ย. 2565 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 ลงวันที่ 23 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42477) -
วันที่: 11-04-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานวีรภาพเดินทางไปศาลพร้อมผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลย โดยทนายจำเลยมีคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลจึงเลื่อนนัดพร้อมสอบคำให้การ ตรวจพยาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน ไปเป็นวันที่ 20 มิ.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 20-06-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยในวันที่ 16-18 ส.ค. 2566
-
วันที่: 16-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์วันแรกของการสืบพยานที่ห้องพิจารณาคดีที่ 909 นอกจากวีรภาพและทนายความแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากไอลอว์ (iLaw) และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ ผู้พิพากษาแจ้งว่าในการสืบพยานจะใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์โดยบันทึกคำเบิกความพยานเป็นวิดีโอ
ภายหลังจากที่พยานปากแรกเบิกความเสร็จสิ้น ผู้พิพากษาได้แจ้งกับผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ทั้งสองว่า การจดบันทึกในระหว่างพิจารณาคดีขัดต่อข้อกำหนดศาลอาญา และให้เจ้าหน้าที่ยึดสมุดบันทึกไปฉีกหน้าที่จดบันทึกออกส่งให้ศาล
ต่อมา ผู้พิพากษาได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาระบุว่า ผู้ร่วมสังเกตการณ์ทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลอาญา โดยการจดบันทึกกระบวนพิจารณาและคำเบิกความพยาน ศาลจึงว่ากล่าวตักเตือน ก่อนคืนสมุดบันทึก
++ภาพรวมการสืบพยาน: พยานโจทก์ยืนยันตรวจพิสูจน์บุคคลแล้วว่าบุคคลที่พ่นสีสเปรย์คือจำเลย ส่วนจำเลยต่อสู้ว่า วันเกิดเหตุไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม บุคคลที่ก่อเหตุไม่ใช่จำเลย
ฝ่ายโจทก์มี รอง ผกก.สืบสวน สน.ดินแดง ซึ่งเห็นเหตุการณ์ขณะมีบุคคลพ่นสีข้อความตามฟ้อง เบิกความยืนยันว่า หลังดูคลิปเหตุการณ์และเปรียบเทียบรูปพรรณของผู้ก่อเหตุกับรูปที่จำเลยลงในโซเชียล พบว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม พยานโจทก์ปากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีตอบทนายจำเลยว่า ชุดสืบสวนไม่ได้ส่งคลิปเหตุการณ์มาเป็นหลักฐาน และหากดูจากภาพหลักฐานในรายงานการสืบสวนก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ผู้ก่อเหตุตามภาพคือจำเลย
ด้านวีรภาพให้การต่อสู้คดีโดยยืนยันว่า วันเกิดเหตุเขาไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม อีกทั้งบุคคลตามภาพหลักฐานในรายงานการสอบสวนก็ไม่ใช่ตน
คำเบิกความโดยสรุปของพยานโจทก์และจำเลยมีดังนี้
++ชุดสืบสวนยืนยัน ตรวจพิสูจน์บุคคลแล้ว พบผู้พ่นสีสเปรย์คือจำเลย แต่รับว่า เคยพบจำเลยเพียงเข้าร่วมชุมนุม ไม่เคยเห็นก่อความไม่สงบ – ขณะถูกจับกุมจำเลยให้การปฏิเสธ
พ.ต.อ.พีรรัฐ โยมา ขณะเกิดเหตุเป็น รอง ผกก.สืบสวน สน.ดินแดง เบิกความว่า ในขณะเกิดเหตุ พยานอยู่ในที่เกิดเหตุและเห็นเหตุการณ์ที่มีบุคคลพ่นสีสเปรย์เป็นข้อความว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์” ที่บริเวณผนังตู้ควบคุมไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ใต้ทางด่วนดินแดง และข้อความภาษาอังกฤษอีก 1 ข้อความ ที่บริเวณเสาใต้ทางด่วนดินแดง
พ.ต.อ.พีรรัฐ เบิกความต่อไปว่า ภายหลังได้ดูคลิปวิดีโอในขณะเกิดเหตุอีกครั้ง และได้ตรวจพิสูจน์บุคคลจากรูปพรรณสัณฐาน และเสื้อผ้า เปรียบเทียบกับรูปที่จำเลยลงในโซเชียลมีเดีย พบว่าผู้กระทำผิดคือจำเลยในคดีนี้
ต่อมา พ.ต.อ.พีรรัฐ เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในขณะเกิดเหตุ ไม่ได้เข้าไปห้ามหรือจับกุมจำเลยที่กระทำความผิดซึ่งหน้า เพราะเกรงว่าจะทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น และอาจเกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พ.ต.อ.พีรรัฐ รับกับทนายจำเลยด้วยว่า รู้จักจำเลยเพราะจำเลยเข้าร่วมชุมนุมบริเวณดินแดงหลายครั้ง แต่ส่วนมากเห็นจำเลยเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือปราศรัย ไม่เคยเห็นว่าจำเลยทำร้ายเจ้าพนักงาน, จุดไฟเผาทำลายทรัพย์สิน หรือขว้างปาข้าวของ
พ.ต.อ.ประวิทย์ กองชุมพล สารวัตรสืบสวน สน.ดินแดง และหนึ่งในตำรวจชุดจับกุมจำเลย เบิกความว่า พยานเป็นผู้เข้าจับกุมจำเลยตามหมายจับของศาลอาญา ในขณะถูกจับกุมจำเลยให้การปฏิเสธ และภายหลังได้นำตัวจำเลยส่งให้พนักงานสอบสวน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/59977) -
วันที่: 17-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์และจำเลย++พนักงานสอบสวนระบุ ทราบว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุจากรายงานการสืบสวน แต่ยอมรับภาพหลักฐานไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นจำเลย
พ.ต.ท.สุรพล จันทร์สมศักดิ์ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ พยานไม่เคยเห็นหรือรู้จักกับจำเลยมาก่อน ทราบว่าผู้กระทำผิดเป็นจำเลยจากรายงานการสืบสวนเท่านั้น
ทนายจำเลยให้ พ.ต.ท.สุรพล ดูรูปถ่ายผู้ก่อเหตุในรายงานการสืบสวน พยานไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นจำเลย แต่ระบุว่า หากเป็นคนรู้จักก็คงทราบว่าเป็นจำเลยหรือไม่ และชุดสืบสวนไม่ได้ส่งคลิปวิดีโอขณะเกิดเหตุเข้ามาให้พยานรวมเป็นพยานหลักฐานในสำนวน
++จำเลยยืนยัน วันเกิดเหตุไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม บุคคลในภาพหลักฐานไม่ใช่จำเลย
วีรภาพ วงษ์สมาน จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน เบิกความยืนยันว่า ในวันเกิดเหตุไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม เมื่อทนายให้ดูรูปภาพขณะเกิดเหตุในรายงานการสืบสวน จำเลยระบุว่า บุคคลในรูปดังกล่าวไม่ใช่ตนและไม่ทราบว่าเป็นใคร
.
เสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 28 ก.ย. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/59977) -
วันที่: 28-09-2023นัด: ฟังคำพิพากษาช่วงเช้าของวันนี้ที่ห้องพิจารณา 909 “วีรภาพ” พร้อมภรรยาและลูกชายวัย 8 เดือน ได้เดินทางมาศาล นอกจากนี้ยังมีผู้รับมอบฉันทะทนายความ รวมทั้งเจ้าหน้าที่องค์กรสิทธิมนุษยชนและสื่อมวลชน ร่วมเข้าฟังการพิจารณาคดีด้วย
เวลา 10.00 น. ศาลออกนั่งพิจารณาก่อนอ่านคำพิพากษา มีใจความโดยสรุปว่า พิเคราะห์จากพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 ปาก ที่เบิกความ ให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์การชุมนุมโดยละเอียด เป็นขั้นตอนน่าเชื่อถือ ซึ่งพยานโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำตามหน้าที่ ไม่ได้มีสาเหตุโกรธเคืองจำเลย จึงไม่มีเหตุให้เบิกความใส่ร้ายจำเลย
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนที่ได้จัดทำรายงานอย่างละเอียด ได้ติดตามสืบสวนจำเลยอย่างใกล้ชิด พบว่าก่อนหน้านี้จำเลยเคยเขาร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัย 2-3 ครั้ง และเห็นจำเลยปรากฏตัวในที่ชุมนุม เข้าร่วมชุมนุม พ่นสีสเปรย์ข้อความเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พร้อมข้อความหยาบคายต่อท้าย
เมื่อดูจากคลิปวิดีโอที่เป็นพยานหลักฐาน แม้จะไม่เห็นด้านหน้าของจำเลยขณะพ่นสีสเปรย์ แต่หากเปรียบเทียบจากรูปพรรณสัณฐานของจำเลยกับคลิปวิดิโอดังกล่าว จะพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงน่าเชื่อว่าเป็นจำเลยที่เข้าร่วมชุมนุม และพ่นสีในที่เกิดเหตุจริง คำเบิกความของโจทก์ที่บอกว่าเห็นจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ในประเด็นเรื่องข้อความเรียกร้องการปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาลเห็นว่าคำว่าปฏิรูปสถาบันฯ นั้น เป็นคำแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาถึงคำไม่สุภาพที่พ่นต่อท้าย พบว่าเป็นคำสบถ หยาบคาย เจตนาว่าร้ายพระมหากษัตริย์ ประชาชนทั่วไปสามารถพบข้อความดังกล่าวได้ ทำให้เกิดความเกลียดชังและสร้างความเสื่อมเสียต่อในหลวงรัชกาลที่ 10
อีกทั้งพิจารณาจากคำเบิกความของจำเลย จำเลยได้อ้างตนเป็นพยานเพียงคนเดียว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุมตามที่กล่าวหา เป็นเพียงการเบิกความลอย ๆ ไม่อาจรับฟังได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม แต่เนื่องจากอัยการไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ศาลไม่สามารถพิพากษาเกินคำขอได้ จึงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
ภายหลังการอ่านคำพิพากษา วีรภาพได้บอกลาภรรยาและอุ้มลูกชายวัย 8 เดือนของตัวเอง ก่อนเดินออกจากห้องพิจารณา โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้คล้องกุญแจมือเขาพาลงไปห้องเวรชี้ ขณะที่ทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว
ต่อมาในเวลา 16.08 น. ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันตัวของวีรภาพให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 2–3 วัน ก่อนจะทราบผล
ผลของคำสั่งศาลอาญาในวันนี้ ทำให้วีรภาพจะต้องนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60075) -
วันที่: 30-09-2023นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาตให้ประกันตัววีรภาพ ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีประกอบพยานหลักฐานแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60075) -
วันที่: 27-10-2023นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราววีรภาพในระหว่างอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 โดยวางเงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 150,000 บาท และแสดงความยินยอมให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
คำร้องประกันระบุใจความสำคัญว่า คดีนี้ศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นสอบสวนตลอดจนชั้นพิจารณามาแล้ว โดยจำเลยไม่เคยกระทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนด เดินทางมารายงานตัวต่อศาลตามกำหนดทุกครั้ง และไม่เคยถูกเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเลย ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า หากจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์จำเลยจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นหรือจะหลบหนีแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน และเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ประกอบอาชีพพนักงานเสิร์ฟรายวันตามร้านอาหาร ไม่ใช่ผู้มีอิทธิพลที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดีในศาลได้ การคุมขังตัวจำเลยไว้จะส่งผลกระทบต่อครอบครัวของจำเลยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจำเลยมีภาระหน้าที่ในการดูแลบิดามารดาซึ่งอยู่ในวัยชรา ภรรยาและบุตรวัยเพียง 1 ปีเศษ
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งให้ส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา จากนั้นวันที่ 28 ต.ค. 2566 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีประกอบพยานหลักฐานแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะลักษณะไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง"
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 27 ต.ค. 2566) -
วันที่: 02-11-2023นัด: ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันทนายความยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่ออุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ให้ประกันวีรภาพระหว่างอุทธรณ์ โดยคำร้องอุทธรณ์ดังกล่าว นอกจากอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับคำร้องขอประกันทั้งสองครั้งที่ผ่านมาแล้ว ยังอ้างถึงคดีของมงคล ถิระโคตร ซึ่งศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาจำคุก 4 ปี 6 เดือน เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2566 แต่ต่อมา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งคดีดังกล่าวมีความหนักเบาของข้อหาและอัตราโทษใกล้เคียงกับคดีนี้
วันต่อมา 3 พ.ย. 2566 ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันวีรภาพระหว่างอุทธรณ์ระบุว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะหลบหนี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างอุทธรณ์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 2 พ.ย. 2566) -
วันที่: 14-12-2023นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันวีรภาพเป็นครั้งที่ 3 ต่อศาลอาญา คำร้องขอประกันครั้งนี้ นอกจากยืนยันเรื่องจำเลยไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานแล้ว ยังกล่าวถึงภาระหน้าที่ของจำเลยในการดูแลมารดา และบุตรวัย 1 ปีเศษ ซึ่งจำเลยกับภรรยาต้องแบ่งเบาการหารายได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การไม่ได้รับการประกันตัวส่งผลกระทบต่อครอบครัวของจำเลยเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนั้น วีรภาพยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า การถูกคุมขังทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็มีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น ความเชี่ยวชาญและยารักษาด้านอาการป่วยจิตเวช
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ศาลอาญาเคยอนุญาตให้ประกันตัวในคดีของรักชนก ศรีนอก ที่ถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี ในคดีข้อหาเดียวกัน ซึ่งมีโทษมากกว่าโทษในคดีนี้ โดยไม่ส่งให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันยังระบุว่าตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ข้อ 24 กำหนดว่ากรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใด ๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเคย
ต่อมา วันที่ 17 ธ.ค. 2566 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันวีรภาพเช่นเดิม ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาพฤติการณ์แห่งคดีและโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ประกอบกับศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ อันเนื่องจากเกรงว่าจำเลยจะหลบหนีมาแล้วหลายครั้ง และตามพฤติกรรมยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ส่วนที่จำเลยอ้างว่าเจ็บป่วยนั้น กรมราชทัณฑ์ก็สามารถดูแลจัดการได้ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 55 จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/62347) -
วันที่: 26-01-2024นัด: จำเลยยื่นอุทธรณ์วีรภาพยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ยกฟ้องจำเลย หรือลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำเลย
-
วันที่: 09-02-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 4ทนายความพร้อมด้วยนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังในคดีการเมือง รวม 15 คน ซึ่งถูกคุมขังในระหว่างต่อสู้คดี รวมถึงวีรภาพด้วย
การยื่นประกันตัวผู้ต้องขังครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการเปิดลงชื่อเสนอกฎหมาย “นิรโทษกรรมประชาชน” เป็นความพยายามให้ศาลทบทวนสิทธิของจำเลยในคดีอาญา ที่ควรได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด และได้รับการทบทวนคำพิพากษา-การกำหนดโทษต่าง ๆ จากศาลที่สูงขึ้นไป
สำหรับแคมเปญนิรโทษกรรมประชาชน เป็นการเคลื่อนไหวของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน เพื่อเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะช่วยลดความตึงเครียดและบรรยากาศการเผชิญหน้าทางการเมือง ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งรวมถึงคดีตามมาตรา 112 ที่นับเป็นคดีการเมืองสำคัญตลอดเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา
การยื่นประกันวีรภาพครั้งนี้เป็นการยื่นประกันระหว่างอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 4
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดิม
ต่อมา ศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันวีรภาพ ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นพิจารณามาแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง ลักษณะการกระทำของจำเลยกับพวกก่อให้เกิดความไม่สงบสุขในบ้านเมือง ถือเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และตามคำร้องไม่มีเหตุใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/64615) -
วันที่: 17-05-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 5ทนายความยื่นประกันคำร้องขอประกันวีรภาพระหว่างอุทธรณ์ครั้งที่ 5 วางเงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 300,000 บาท และยินยอมติดอุปกรณ์ตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าจำเลยจะไม่หลบหนี หรือไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ระบุเหตุผลดังนี้
ประการที่ 1 เนื่องจากคดีของจำเลยมีหนทางจะต่อสู้คดีได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย การใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นของจำเลยย่อมถือว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดแต่ประการใด จำเลยประสงค์ที่จะได้รับสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือปฏิบัติอย่างผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว
ประการที่ 2 นับตั้งแต่การถูกดำเนินคดีในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน ตลอดจนถึงในชั้นของพนักงานอัยการ และในชั้นศาลชั้นต้น รวมระยะเวลากว่า 2 ปี จำเลยได้ให้ความร่วมมือและได้เข้าร่วมกระบวนการยุติธรรมด้วยดีตลอดมา และได้รับอนุญาตจากศาลให้ปล่อยชั่วคราวมาโดยตลอด โดยไม่เคยกระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว เดินทางมารายงานตัวต่อศาลตามกำหนดทุกครั้ง และไม่เคยถูกเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวในคดีนี้เลย
ประการที่ 3 จำเลยยังมีภาระหน้าที่ในการดูแลมารดา ภรรยา และบุตรผู้เยาว์วัยเพียง 1 ปีเศษ ซึ่งก่อนถูกจำคุกในคดีนี้ จำเลยประกอบอาชีพเป็นพนักงานเสิร์ฟรายวันตามร้านอาหาร ช่วยหาเลี้ยงครอบครัวกับภรรยาซึ่งประกอบอาชีพลูกจ้างรายวันในโรงพยาบาล เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตและเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุตรผู้เยาว์ และจำเลยยังมีบิดามารดาวัยชราที่จำเป็นต้องส่งเสียเลี้ยงดูด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมส่งผลกระทบต่อครอบครัวของจำเลยเป็นอย่างยิ่ง
ตอนท้ายของคำร้องยังระบุว่า หากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวใด ๆ ตามกฎหมาย หรือการแต่งตั้งผู้กำกับดูแล จำเลยยินดีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัววีรภาพ ระบุว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 17 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67062) -
วันที่: 22-05-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 6ทนายความได้ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ซึ่งอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีจำนวน 16 ราย ได้แก่ อานนท์, ถิรนัย, ชัยพร, ประวิตร, มงคล, ขจรศักดิ์, คเชนทร์, ไพฑูรย์, สุขสันต์, อุกฤษฏ์, วีรภาพ, จิรวัฒน์, ณัฐนนท์, ทานตะวัน, อัฐสิษฎ และสิรภพ
การยื่นประกันตัวครั้งดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการทำรัฐประหาร ที่นำมาซึ่งการถูกดำเนินคดีทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บรรดาองค์กรทางกฎหมายได้นิรโทษกรรมให้กับคณะผู้ทำรัฐประหารที่ทำลายระบบนิติรัฐของประเทศ
ในโอกาสนี้ ผู้ต้องขังจำนวน 16 ราย จึงประสงค์ที่จะยื่นประกันตัว เพื่อตอกย้ำว่ายังมีคนที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวขั้นพื้นฐาน และเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเพื่อนผู้ต้องขังที่เพิ่งเสียชีวิตไปอย่างไม่มีวันกลับอย่าง ‘บุ้ง เนติพร’
คำร้องขอประกันในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 6 ในคดีนี้ เสนอหลักประกันจำนวน 300,000 บาท พร้อมทั้งระบุเหตุผลสำคัญถึงหลักการที่จำเลยมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด ซึ่งบัญญัติรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29
การที่จำเลยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวและต้องถูกคุมขังในระหว่างการต่อสู้คดีทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด ถือเป็นการลงโทษจำเลยเสมือนว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดไปแล้ว แม้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจำเลย ก็มิอาจบรรเทาผลร้ายเกินสมควรที่เกิดขึ้นกับจำเลย และครอบครัวในระหว่างถูกคุมขังได้ ดังเช่นในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับจำเลยทั้งสี่และครอบครัวในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2536 รวมถึงในกรณีเนติพร เสน่ห์สังคม ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมตัวของรัฐในระหว่างการพิสูจน์ความรับผิดทางกฎหมาย เป็นผลร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหนทางที่จะบรรเทาผลร้ายได้แต่อย่างใด
หลังทนายยื่นคำร้อง ศาลอาญาได้ส่งคำร้องขอประกันวีรภาพให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ก่อนวันต่อมา ศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกัน โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ทั้งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว และตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67671) -
วันที่: 18-06-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 7ทนายความได้เข้ายื่นประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง เป็นผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีมาตรา 112 จำนวน 6 คน รวมถึงวีรภาพด้วย โดยวางเงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 300,000 บาท และยินยอมติด EM ศาลอาญาได้ส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ก่อนศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่ให้ประกันวีรภาพ โดยระบุในคำสั่งว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีลักษณะอุกอาจ ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง กรณีเป็นเรื่องร้ายแรง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.422/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2872/2566 ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68118)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วีรภาพ วงษ์สมาน
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วีรภาพ วงษ์สมาน
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
28-09-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วีรภาพ วงษ์สมาน
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์