ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1114/2564
แดง อ.55/2566
ผู้กล่าวหา
- ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1114/2564
แดง อ.55/2566
ผู้กล่าวหา
- ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล
ความสำคัญของคดี
“นคร” (นามสมมติ) ช่างแต่งหน้าชาวเชียงรายวัย 28 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)(5) จากการแชร์โพสต์ข้อความจากเพจ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” และ “KonthaiUK” ซึ่งมีข้อความและภาพพาดพิงรัชกาลที่ 1, รัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล แจ้งความไว้ที่ สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลั่นแกล้งให้ถูกดำเนินคดีในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจส่งผลในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์
นอกจากนั้น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังถูกใช้ผิดวัตถุประสงค์ เดิมที พ.ร.บ.ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือ “อาชญากรรมโดยแท้” ที่พัฒนาไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การดำเนินคดีลักษณะนี้เป็นการใช้ทรัพยากรจากภาษีประชาชนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลั่นแกล้งให้ถูกดำเนินคดีในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจส่งผลในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์
นอกจากนั้น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังถูกใช้ผิดวัตถุประสงค์ เดิมที พ.ร.บ.ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือ “อาชญากรรมโดยแท้” ที่พัฒนาไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การดำเนินคดีลักษณะนี้เป็นการใช้ทรัพยากรจากภาษีประชาชนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ร.ต.อ.ชูมิตร ชุณหวาณิชพิทักษ์ พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 10 จากประวัติศาสตร์ ราชวงศ์จักรีถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทยต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325
ยุคของราชวงศ์นี้เรียกว่า “ยุครัตนโกสินทร์” ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ของ เจ้าพระยาจักรีองครักษ์ ขณะนั้นดํารงตําแหน่งสมุหนายกซึ่งเป็นตําแหน่งทางราชการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเคยดํารงตําแหน่งนี้มาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คําว่า จักรี พ้อง เสียงกับคําว่า จักร และ ตรี ที่เป็นเทพอาวุธของพระวิษณุ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สํารับ อีกทั้งกําหนดให้ใช้เทพอาวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ ประจําราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 จำเลยได้ใช้เฟซบุ๊กดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1, รัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 ผ่านการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยแชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 2 โพสต์ ได้แก่ โพสต์จากเพจ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” โดยมีภาพของรัชกาลที่ 5 ประกอบ พร้อมข้อความในรูปว่า “ประวัติศาสตร์ ราชวงศ์จักรีตามจริง ที่โรงเรียนไทยไม่เคยสอน ร.1 ฆ่าเพื่อน ชิงบัลลังก์ ร.2 ตามเก็บลูกหลานพระเจ้าตากตายเกลี้ยง หมด”
ส่วนอีกโพสต์หนึ่งมาจากเพจเฟซบุ๊ก “KonthaiUK” เป็นภาพของรัชกาลที่ 10 พร้อมข้อความในภาพว่า “ข่าวด่วนต่างประเทศคนเยอรมันเดือด สั่งนักการเมืองฟ้อง ‘เราไม่ ต้องการกษัตริย์ของคุณที่นี่’” โดยจำเลยได้แชร์พร้อมพิมพ์ข้อความว่า “แชร์ไปอ่านเป็นวิทยาทานอย่างหนึ่ง”
การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระราชวงศ์จักรี และรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการหมิ่นประมาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่จำเลยใส่ความแต่อย่างใด
ทั้งรูปภาพและข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และมีเนื้อหาจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ โดยจำเลยยังมีเจตนาให้ประชาชนที่อ่านข้อความดังกล่าวรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.1114/2564 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2564)
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 10 จากประวัติศาสตร์ ราชวงศ์จักรีถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทยต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325
ยุคของราชวงศ์นี้เรียกว่า “ยุครัตนโกสินทร์” ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ของ เจ้าพระยาจักรีองครักษ์ ขณะนั้นดํารงตําแหน่งสมุหนายกซึ่งเป็นตําแหน่งทางราชการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเคยดํารงตําแหน่งนี้มาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คําว่า จักรี พ้อง เสียงกับคําว่า จักร และ ตรี ที่เป็นเทพอาวุธของพระวิษณุ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สํารับ อีกทั้งกําหนดให้ใช้เทพอาวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ ประจําราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 จำเลยได้ใช้เฟซบุ๊กดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1, รัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 ผ่านการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยแชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 2 โพสต์ ได้แก่ โพสต์จากเพจ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” โดยมีภาพของรัชกาลที่ 5 ประกอบ พร้อมข้อความในรูปว่า “ประวัติศาสตร์ ราชวงศ์จักรีตามจริง ที่โรงเรียนไทยไม่เคยสอน ร.1 ฆ่าเพื่อน ชิงบัลลังก์ ร.2 ตามเก็บลูกหลานพระเจ้าตากตายเกลี้ยง หมด”
ส่วนอีกโพสต์หนึ่งมาจากเพจเฟซบุ๊ก “KonthaiUK” เป็นภาพของรัชกาลที่ 10 พร้อมข้อความในภาพว่า “ข่าวด่วนต่างประเทศคนเยอรมันเดือด สั่งนักการเมืองฟ้อง ‘เราไม่ ต้องการกษัตริย์ของคุณที่นี่’” โดยจำเลยได้แชร์พร้อมพิมพ์ข้อความว่า “แชร์ไปอ่านเป็นวิทยาทานอย่างหนึ่ง”
การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระราชวงศ์จักรี และรัชกาลที่ 10 ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการหมิ่นประมาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่จำเลยใส่ความแต่อย่างใด
ทั้งรูปภาพและข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ และมีเนื้อหาจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ โดยจำเลยยังมีเจตนาให้ประชาชนที่อ่านข้อความดังกล่าวรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.1114/2564 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 30-11-2020นัด: พบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกพยาน“นคร” (นามสมมติ) อายุ 28 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างแต่งหน้าในจังหวัดเชียงราย และยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคเสาร์-อาทิตย์ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เดินทางไปพบพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ หลังได้รับหมายเรียกพยานลงวันที่ 16 ต.ค. 2563 ในคดีที่มีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล เป็นผู้กล่าวหา โดยหมายเรียกระบุว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้กล่าวหาได้ตรวจสอบกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทราบชื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กคือนคร พนักงานสอบสวนต้องสอบปากคำนครเป็นพยานประกอบคดี
นครเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนโดยไม่เข้าใจว่าเป็นขั้นตอนใดทางกฎหมาย และไม่มีทนายความให้คำปรึกษาแต่อย่างใด
พนักงานสอบสวนได้สอบถามเกี่ยวกับเฟซบุ๊กส่วนตัวของนคร เขาให้การยอมรับว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กที่พนักงานสอบสวนได้นำมาให้ดู แต่เกี่ยวกับโพสต์ที่มีการแชร์ในเฟซบุ๊กดังกล่าว นครจำไม่ได้ว่า เขาเคยแชร์ในเฟซบุ๊กของตนหรือไม่ นครยังให้ข้อมูลอีกว่า ตนเองสมัครใช้งานเฟซบุ๊กดังกล่าวราวกลางปี 2563 โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ของตนเอง ซึ่งไม่แน่ใจว่าได้ทำการล็อคเอ้าท์ออกจากระบบหลังการสมัครหรือไม่ พนักงานสอบสวนได้ทำการบันทึกถ้อยคำในฐานะพยานไว้ ก่อนนครเดินทางกลับ
(อ้างอิง: หมายเรียกพยาน สภ.บางแก้ว ลงวันที่ 16 ต.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/32082) -
วันที่: 09-04-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหานครเดินทางไปพบพนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว อีกครั้ง หลังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหา ลงวันที่ 24 มี.ค. 2564 เป็นคดีที่มีศิวพันธุ์ มานิตย์กุล เป็นผู้กล่าวหา เช่นเดิม ระบุข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร, เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”
นครเข้าใจว่า การไปพบพนักงานสอบสวนในครั้งนี้จะเป็นการไปให้ข้อมูลกับตำรวจแล้วเดินทางกลับเหมือนครั้งก่อน จึงไปเพียงคนเดียวโดยไม่ได้มีญาติ หรือติดต่อทนายความไปด้วยแต่อย่างใด แต่ปรากฏว่าเมื่อเดินทางไปถึง พ.ต.ต.สมเกียรติ นาเจริญ สารวัตรสอบสวน สภ.บางแก้ว ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเขาทันที
พ.ต.ต.สมเกียรติ แจ้งพฤติการณ์คดีว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 เวลาประมาณ 17.00 น. ขณะที่ผู้กล่าวหากำลังทำงานอยู่ที่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการ ได้เปิดเฟซบุ๊กพบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งแชร์ข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” ซึ่งมีการโพสต์ข้อความว่า “ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรีตามจริงที่โรงเรียนไม่เคยสอน ร.1 ฆ่าเพื่อน ชิงบัลลังก์ ร.2 ตามเก็บลูกหลานพระเจ้าตากตายหมดเกลี้ยง” อันเป็นข้อมูลปลอม บิดเบือนเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 จึงได้แคปหน้าจอและนำหลักฐานมาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าว
พนักงานสอบสวนเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐาน “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
นครได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จากนั้น ตำรวจได้นำตัวนครไปฝากขังต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการเป็นเวลา 12 วัน ทั้งที่เขาเดินทางมาพบตามหมายเรียก และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ในช่วงดังกล่าวเขาทำได้เพียงขอให้เจ้าหน้าที่ในศาลจังหวัดสมุทรปราการโทรศัพท์แจ้งให้แม่ทราบเพียงสั้นๆ ว่าเขาจะถูกคุมขังตามคำสั่งของศาล
ก่อนนครจะถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางสมุทรปราการ ซึ่งเป็นช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์พอดี ต่อมาหลังช่วงวันหยุดยาว ญาติของเขาที่เป็นข้าราชการได้เดินทางมายื่นขอปล่อยชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งเป็นหลักทรัพย์ประกัน ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้นครได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ รวมระยะเวลาที่ถูกคุมขังประมาณ 9 วัน โดยศาลกำหนดให้นครเข้ารายงานตัวในวันที่ 2 ก.ค. 2564
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.บางแก้ว ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/32082) -
วันที่: 19-06-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเวลาประมาณ 14.30 น. ที่ สภ.เมืองเชียงราย นครพร้อมด้วยทนายความเดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.รังสรรค์ คำสุข รองผู้กำกับการสอบสวน สภ.บางแก้ว โดยก่อนหน้านี้ 1 วัน นครได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากตำรวจ สภ.บางแก้ว ว่า พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีจะเดินทางไปพบเขาที่ สภ.เมืองเชียงราย เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เนื่องจากการแจ้งข้อกล่าวหาครั้งก่อนยังไม่ครบถ้วนดี นครจึงได้ติดต่อทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
พ.ต.ท.รังสรรค์ ระบุว่า การแจ้งข้อกล่าวหาในครั้งก่อนนั้น พนักงานสอบสวนได้แสดงภาพโพสต์ที่มีการแชร์ให้นครดูจำนวน 2 ภาพ แต่ได้มีการบรรยายในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพียงภาพเดียว อีกทั้งข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนแจ้งครั้งแรกนั้นยังขาดข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14(5) “เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”
พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม โดยเพิ่มรายละเอียดในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า นอกจากการแชร์โพสต์จากเพจ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” โดยมีภาพของรัชกาลที่ 5 ประกอบแล้ว ผู้ต้องหายังมีการแชร์โพสต์จากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “KonthaiUK” ที่โพสต์ภาพรัชกาลที่ 10 มีข้อความว่า “ข่าวด่วนต่างประเทศ คนเยอรมันเดือดสั่งนักการเมืองฟ้อง ‘เราไม่ต้องการกษัตริย์ของคุณที่นี่’ ” ซึ่งนครได้แชร์ พร้อมพิมพ์ข้อความประกอบว่า “แชร์ไปอ่านเป็นวิทยาทานอย่างหนึ่ง”
ผู้กล่าวหาอ้างว่า การโพสต์และแชร์ภาพข้อความทั้งสองดังกล่าว เป็นการใส่ความอดีตพระมหากษัตริย์ไทย ได้แก่ รัชกาลที่ 1, รัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน ต่อบุคคลที่สาม คือประชาชนทั่วไปที่เข้ามาเห็นภาพและข้อความ ด้วยประการที่จะทำให้ทั้งสี่พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้กล่าวหาตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว จึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี
พนักงานสอบสวนได้แจ้ง 3 ข้อกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)(5) โดยนครยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนพนักงานสอบสวนจะให้เดินทางกลับ
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/32082) -
วันที่: 02-07-2021นัด: รายงานตัวต่อศาลเวลา 10.00 น. นครได้เดินทางเข้ารายงานตัวที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการตามกำหนดนัดของศาล ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดผัดฟ้องจำนวน 7 ผัด 84 วัน เพื่อฟังคำสั่งทางคดีของพนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อนครเข้ารายงานตัว ได้รับแจ้งว่า พนักงานอัยการยังไม่ได้ยื่นฟ้องคดี ทำให้เขาไม่ต้องมีกำหนดนัดรายงานตัวที่ศาลอีก แต่ให้รอพนักงานสอบสวนประสานงานเพื่อนัดหมายส่งตัวฟ้องต่อศาลอีกครั้งในภายหลัง เขาจึงได้เดินทางไปยังสนามบินเพื่อเดินทางกลับจังหวัดเชียงราย
แต่ปรากฏว่าเวลาประมาณ 15.00 น. พนักงานสอบสวน สภ.บางแก้ว ได้ติดต่อทนายความสอบถามว่า นครยังอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการหรือใกล้เคียงหรือไม่ เนื่องจากอัยการจะยื่นฟ้องคดีต่อศาล แต่ไม่มีตัวผู้ต้องหาอยู่ที่ศาล ทนายความจึงได้ชี้แจงว่า ผู้ต้องหาได้เดินทางเข้ารายงานตัวต่อศาลในช่วงเช้าแล้ว แต่ไม่มีการยื่นฟ้อง ผู้ต้องหาจึงได้เดินทางกลับจังหวัดเชียงรายแล้ว อีกทั้งหลังกลับจากกรุงเทพฯ ตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ต้องหาจะต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วันด้วย พนักงานสอบสวนจึงระบุว่า จะออกหมายเรียกผู้ต้องหามาส่งฟ้องต่อศาลอีกครั้ง หลังพ้นช่วงกักตัวแล้ว
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/32082) -
วันที่: 23-09-2021นัด: ยื่นฟ้องนครได้เดินทางจากจังหวัดเชียงราย ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมายมายื่นฟ้องต่อศาลในคดีนี้ โดยพนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการยื่นฟ้องนครต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการในฐานความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยกล่าวหาว่า การที่นครแชร์โพสต์จากเฟซบุ๊กเพจ KonthaiUk และ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยมีเจตนาให้ประชาชนที่อ่านข้อความดังกล่าวรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังกษัตริย์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 10
หลังศาลรับฟ้อง นครได้ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ เพื่อรอคำสั่งว่าศาลจะให้ประกันระหว่างพิจารณาหรือไม่ ขณะทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว พร้อมวางเงินสดจำนวน 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ เป็นหลักประกัน
เวลา 15.00 น. โดยประมาณ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว พร้อมกำหนดนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 2 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น. และนัดพร้อมในวันที่ 28 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.
สำหรับการเดินทางมารับทราบคำสั่งฟ้องในวันนี้ นครเปิดเผยว่า ตนต้องเดินทางจากจังหวัดเชียงรายโดยจองตั๋วเครื่องบินและที่พักในสมุทรปราการเหมือนทุกครั้งที่มาตามนัดของพนักงานสอบสวนและอัยการ ซึ่งเขาต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นจำนวนมาก
“ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อครั้งที่ลงมากรุงเทพฯ ทั้งค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าเดินทาง ตอนลงมาฟังคำสั่งฟ้องครั้งนี้ เราต้องไปพักที่พักในกรุงเทพฯ เพราะโรงแรมในสมุทรปราการที่เคยไป เขาปิดชั่วคราวหมด ทำให้มีค่าเดินทางไปกลับที่พักและศาลเพิ่มเข้ามาอีก
“แล้วช่วงเวลาที่ต้องลงมากรุงเทพฯ ตามนัดชอบเป็นช่วงที่ค่าโดยสารทุกอย่างแพง ตอนเดือนเมษายนที่ลงมาหาพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ก็ต้องกัดฟันซื้อตั๋วเชียงราย-กรุงเทพฯ ราคา 2,500 บาท ขากลับอีก 3,500 บาท ซึ่งขากลับก็ต้องทิ้งตั๋วไป เพราะไปห้องกรงก่อน” นครเล่าถึงการเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหา ซึ่งตนไม่ทราบว่าจะถูกแจ้งข้อหา และนำตัวไปฝากขังที่ศาลด้วย เพราะพนักงานสอบสวนเพียงแค่แจ้งว่าให้มาสอบปากคำเท่านั้น
“อย่างมาครั้งนี้ เราสามารถบินกลับหลังจากมานัดฟังคำสั่งฟ้องวันพรุ่งนี้เลยก็ได้ แต่ตั๋วพรุ่งนี้ราคาสูงถึง 3,000 บาท มันสู้ไม่ไหว ทำให้เราต้องเสียค่าที่พักในกรุงเทพฯ ต่ออีก 1 วัน”
อุปสรรคด้านค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางเป็นสิ่งที่ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ต้องเผชิญ จากการเดินทางจากภูมิลำเนา ไปยังจังหวัดที่ตั้งของสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้กล่าวหาไปแจ้งความ เนื่องจากมาตรา 112 เปิดช่องให้ใครก็สามารถแจ้งความผู้อื่นได้ และแจ้งที่ใดก็ได้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.1114/2564 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35633) -
วันที่: 28-02-2022นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในวันที่ 1-3 พ.ย. 2565
-
วันที่: 01-11-2022นัด: สืบพยานโจทก์
-
วันที่: 02-11-2022นัด: สืบพยานโจทก์
-
วันที่: 03-11-2022นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 25-01-2023นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 16 ศาลออกนั่งพิจารณาคดี ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลแจ้งว่าไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับคดีเข้าฟังคำพิพากษา อนุญาตแค่เฉพาะจำเลย, ทนายจำเลย และญาติของจำเลยอยู่เข้าฟังการพิจารณา เนื่องจากเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับความมั่นคง
จากนั้นศาลได้อ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปว่า เมื่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ซึ่งบันทึกข้อมูลการเข้าใช้บัญชีเฟซบุ๊กของจําเลย อันน่าจะมีทั้งจุดเริ่มต้นและปลายทางของการส่งข้อมูล หมายเลขประจําเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นใด ซึ่งเป็นข้อมูลสําคัญที่จะระบุตัวตนว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยอยู่ที่ไหน และใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดในการกระทําความผิด เพื่อสนับสนุนว่า จําเลยเป็นผู้ที่โพสต์และแชร์ส่งต่อข้อความและรูปภาพตามฟ้องเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่นนี้ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีเพียงสําเนาผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊ก ซึ่งยังมีข้อสงสัย นํ้าหนักในการรับฟังมีน้อย
เมื่อจําเลยนําสืบต่อสู้ว่า จําเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของเพื่อนคนหนึ่งในการสมัครใช้เฟซบุ๊กบัญชีที่ถูกกล่าวหา หลังจากได้รับอนุญาตจากเฟซบุ๊กให้ใช้บัญชีแล้วก็มิได้ลงชื่อออกจากระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กดังกล่าว อันอาจจะมีบุคคลใดเข้าไปใช้งานเฟซบุ๊กบัญชีนั้นก็ได้ แต่ทันทีที่ทราบข่าวว่ามีการกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทําความผิด จําเลยไปแจ้งความลงบันทึกประจําวันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามรายงานประจําวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน รวมทั้งติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งสถานีโทรทัศน์ เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นความจริงตามข่าวที่นําเสนอ อันเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง
ซึ่งสอดคล้องกับผลการสืบสวนของ ร.ต.อ.อมร และ ร.ต.อ.สายัณห์ ที่ทำบันทึกข้อความรายงานผู้บังคับบัญชา ยืนยันชัดเจนว่า ไม่พบข้อมูลว่า เฟซบุ๊กที่จําเลยใช้งาน 3 บัญชี นั้น มีข้อความหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องหรือพาดพิงในทำนองดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด อีกทั้งพยานที่โจทก์นำสืบก็ไม่มีปากใดยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ที่โพสต์และแชร์ส่งต่อข้อความและรูปภาพตามฟ้อง
ดังนี้ ในคดีอาญาโจทก์ต้องมีหน้าที่นําสืบให้ได้ความชัดตามข้อกล่าวอ้าง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 เมื่อจําเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ลําพังเพียงจําเลยเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว จึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจําเลยได้กระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง พิพากษายกฟ้อง
หลังอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น นครเดินออกมาจากห้องพิจารณาด้วยสีหน้าโล่งใจ ก่อนบอกความรู้สีกสั้น ๆ ว่า “รู้สึกดีใจที่ยกฟ้อง เพราะเราก็ต่อสู้คดีมาตั้งนาน เป็นคดีที่เราอยู่ต่างจังหวัด เดินทางมาค่อนข้างไกล ต้องเสียค่าที่พัก ค่าเดินทาง การต่อสู้คดีลงมาแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้เงินค่อนข้างเยอะ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง พอผลตัดสินออกมาแบบนี้ก็ค่อนข้างโล่งใจ”
แม้นครจะไม่ได้กระทำความผิดมาตรา 112 ตามที่ถูกกล่าวหา แต่เขาก็มองว่า มาตรา 112 นี้ เป็นปัญหาเพราะมันปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
“เดิมเราไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองหรือสนใจเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ตั้งแต่โดนคดีนี้เราก็สนใจ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว เราคิดว่าบางอย่างน่าจะตรวจสอบได้มากกว่านี้ บางอย่างก็ไม่ควรไปล่วงเกิน”
คดีของนคร นับเป็นหนึ่งในคดีมาตรา 112 ของ สภ.บางแก้ว ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 14 คดี และนับเป็นหนึ่งในคดีที่มีศิวพันธ์ุ มานิตย์กุล เป็นผู้ไปกล่าวหา ซึ่งมีอย่างน้อย 9 คดี โดยแทบทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ในช่วงกลางปี 2563 และศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ทยอยมีคำพิพากษาออกมา
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลจังหวัดสมุทรปราการ คดีหมายเลขดำที่ อ.1114/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.55/2566 ลงวันที่ 25 ม.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/52809) -
วันที่: 28-11-2023นัด: ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฝ่ายโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า จำเลยเป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้อง ผู้ที่โพสต์หรือส่งข้อความย่อมต้องเป็นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊ก พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง
ก่อนที่ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันนี้
ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 7 นครเดินทางมาฟังคำพิพากษาพร้อมกับทนายความ เวลาประมาณ 08.50 น. ศาลออกนั่งอ่านคำพิพากษา โดยสรุปใจความสำคัญได้ว่า
คดีลักษณะนี้มีความอ่อนไหวเนื่องจากกระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยและเป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง จะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์อย่างสิ้นสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดจริง จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามข้อกล่าวอ้าง
ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ลำพังเพียงจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวจะอนุมานว่าจำเลยต้องเป็นผู้โพสต์ข้อความนั่นเองย่อมไม่ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
(อ้างอิง: คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีหมายเลขดำที่ อ.1114/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อ.55/2566 ลงวันที่ 30 ต.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61843)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นคร (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นคร (นามสมมติ)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สุจินต์ หลีสกุล
- ธนภัทร ศรุตานนท์
ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
25-01-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นคร (นามสมมติ)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ทวี ศรุตานนท์
- สุชาติ เตชะสวัสดิ์วิทย์
- ชิงชัย ศรประสิทธิ์
ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ :
28-11-2023
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์