สรุปความสำคัญ

"เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, "ไมค์" ภาณุพงศ์ จาดนอก, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง รวมทั้ง ธนกร (สงวนนามสกุล) หรือ “เพชร” เยาวชน LGBTQ อายุ 17 ปี นักกิจกรรมกลุ่ม "ราษฎร" ถูกดำเนินคดีในข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการปราศรัยในการชุมนุม #คนนนท์ท้าชนเผด็จการ บริเวณท่าน้ำนนท์ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 กล่าวถึงสถานะกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 รวมทั้งย้ำข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ต่อมา ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับทุกมาตราต่อผู้ชุมนุม เพนกวิน, รุ้ง, ไมค์ และเพชร ยังถูกแจ้งข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" เพิ่มเติมจากการปราศรัยครั้งดังกล่าวอีกด้วย โดยกรณีของเพชรแยกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ และคดีนี้ทำให้เพชรเป็นเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มากที่สุดถึง 3 คดี

ข้อมูลการละเมิด

  • ผู้ถูกละเมิด
    • ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • จับกุม / ควบคุมตัว
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • พริษฐ์ ชิวารักษ์
    • ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • จับกุม / ควบคุมตัว
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • ภาณุพงศ์ จาดนอก
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ
 
  • ผู้ถูกละเมิด
    • ธนกร (สงวนนามสกุล)
  • ประเด็นการละเมิดสิทธิ
    • เสรีภาพการแสดงออก
    • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
  • รูปแบบการละเมิดสิทธิ
    • การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
  • ผู้ละเมิด
    • ตำรวจ

พฤติการณ์การละเมิด

10 ก.ย. 2563 เวลาประมาณ 16.30 น. ที่ท่าน้ำนนท์ จังหวัดนนทบุรี ประชาชนนำโดยชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรมร่วมกันจัดกิจกรรม "คนนนท์ท้าชนเผด็จการ" มีข้อเรียกร้องสามข้อตามคณะประชาชนปลดแอกคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ, ยุบสภา และหยุดคุกคามประชาชน

เวลา 16.05 น. บนถนนทางเดินเข้าลานกิจกรรมท่าน้ำนนท์ เจ้าหน้าที่นำแผงเหล็กมากั้นพร้อมตั้งจุดคัดกรอง มีการติดตั้งประตูตรวจวัตถุระเบิด 2 เครื่อง และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคอยคัดกรองอุณหภูมิผู้เข้าร่วมการชุมนุม นอกจากนั้นก็มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดบันทึกภาพคนเดินเข้าพื้นที่การชุมนุมด้วย

ระหว่างที่รอเวลาเริ่มเวทีมีกลุ่มนักเรียนทยอยเข้าพื้นที่การชุมนุมเป็นระยะ ทางผู้จัดงานเตรียมเทปกาวสีทึบไว้คอยบริการปิดชื่อ และเครื่องหมายสถาบันการศึกษาทั้งบนเครื่องแบบและบนกระเป๋า ขณะที่ชินวัตร จันทร์กระจ่าง หนึ่งในผู้จัดงานที่ทำหน้าที่ปราศรัยระหว่างรอเริ่มเวทีก็ประกาศขอความร่วมมือครูที่ติดตามมาดูแลนักเรียนนอกพื้นที่การชุมนุมให้เคารพเสรีภาพของนักเรียนในการเข้าร่วมการชุมนุม

เวลา 17.25 น. กิจกรรมบนเวทีเริ่มขึ้นโดยมีตัวแทนผู้ชุมนุมสลับกันขึ้นปราศรัย ในประเด็นต่างๆ รวมทั้ง ภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำเยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย, พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม รวมทั้ง ธนกร ภิระบัน เยาวชน LGBTQ+

(อ้างอิง: https://www.mobdatathailand.org/case-file/1600021825207)

ภูมิหลัง

  • ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
    กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
  • พริษฐ์ ชิวารักษ์
    อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
  • ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
    แกนนำกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป. รุ่น 2, ประธานเครือข่ายคนรุ่นใหม่ จ.นนทบุรี
  • ธนกร (สงวนนามสกุล)
    นักกิจกรรม LGBTQ+ เยาวชน เพชรแทบจะไม่ได้แตกต่างไปจากเด็ก ๆ คนอื่นในรุ่นราวคราวเดียวกันที่เริ่มสะสมความไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาลผ่านการติดตามข่าวสารบนโซเชียลมีเดีย ก่อนแปรเปลี่ยนจากสเตตัสเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ เป็นการลงถนนครั้งแรกในฐานะผู้ชุมนุมภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ และเริ่มการปราศรัยครั้งแรกในฐานะเยาวชนคนหนึ่งที่หน้า สน.บางเขน ในระหว่างการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวทนายอานนท์และไมค์ ระยอง ตามมาด้วยการปราศรัยอีกหลายสิบเวทีนับไม่ถ้วน

    อ่านเรื่องราวของเพชรเพิ่มเติมที่ https://tlhr2014.com/archives/23805

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์