ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ ยชอ.1/2565
แดง ยชอ.107/2565
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ภาสกร ไชยทวีวงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองนนทบุรี (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
หมายเลขคดี
ดำ ยชอ.1/2565
แดง ยชอ.107/2565
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ภาสกร ไชยทวีวงศ์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองนนทบุรี
ความสำคัญของคดี
ธนกร (สงวนนามสกุล) หรือ “เพชร” เยาวชน LGBTQ อายุ 17 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการปราศรัยในการชุมนุม #คนนนท์ท้าชนเผด็จการ บริเวณท่าน้ำนนท์ เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 กล่าวถึงสถานะกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย และการยืนยันเรื่องคนเท่ากันไม่แบ่งชนชั้น
เพชรนับเป็นเยาวชนรายแรก ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังแจ้งข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" เพิ่มเติมในภายหลังอีกด้วย ทำให้เพชรเป็นเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มากที่สุดถึง 3 คดี โดยการชุมนุมครั้งนั้นยังมีนักกิจกรรมอีก 3 คน ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ 116 คือ "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ "ไมค์" ภาณุพงศ์ จาดนอก ส่วนชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกดำเนินคดีมาตรา 116 เท่านั้น
เพชรนับเป็นเยาวชนรายแรก ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังแจ้งข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์" เพิ่มเติมในภายหลังอีกด้วย ทำให้เพชรเป็นเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มากที่สุดถึง 3 คดี โดยการชุมนุมครั้งนั้นยังมีนักกิจกรรมอีก 3 คน ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ 116 คือ "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และ "ไมค์" ภาณุพงศ์ จาดนอก ส่วนชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกดำเนินคดีมาตรา 116 เท่านั้น
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
อรุณพัฒน์ ภักดีวงศ์ พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า
1. เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 จําเลยกับพวกอีก 4 คน ที่พ้นเกณฑ์เยาวชนและถูกแยกดําเนินคดีต่างหาก ได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยบนเวทีลานท่าน้ำนนทบุรี ด้วยถ้อยคําซึ่งมีลักษณะให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการโจมตีการทํางานของรัฐบาล เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และกระทําการจาบจ้วง หมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต
2. จําเลยกับพวกได้ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโฆษณากล่าวปราศรัยบนเวที ใจความว่า “เราคือมนุษย์คนหนึ่ง เราขอสนับสนุนและยืนยันว่าไม่ควรมีการใช้คําราชาศัพท์แบ่งชนชั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยค่ะ ขนาดที่พระมหากษัตริย์ในต่างประเทศเนี่ยยังคงใช้ ยูกับไอ แล้วทําไมประชาชนประเทศไทยอย่างเราจะใช้คุณกับฉันกับลูกหลานศักดินาไม่ได้คะ
เราจะไม่ให้ความเชื่อผิดๆ มาครอบงําเรา เราจะไม่ให้ศาสนามาครอบงําเราอีกต่อไป เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ใช่เอาไปครอบงําใครแบบผิดๆ เราควรมองความเป็นจริง เราจะยอมเป็นฝุ่นใต้ละอองธุลีพระบาทหรือจะยอมเป็นฝุ่นใต้ตีนใครอีกหรือเปล่า ในยุคนี้เราคงเชื่อได้หรือเปล่าว่าพระมหากษัตริย์คือสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ว่าพระมหากษัตริย์ตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ไทย แต่อยู่ที่เยอรมัน เสวยสุขท่ามกลางภาษีของประชาชน แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนคนไทยอย่างเรา”
ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยจําเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.1/2565 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2565)
1. เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 จําเลยกับพวกอีก 4 คน ที่พ้นเกณฑ์เยาวชนและถูกแยกดําเนินคดีต่างหาก ได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยบนเวทีลานท่าน้ำนนทบุรี ด้วยถ้อยคําซึ่งมีลักษณะให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการโจมตีการทํางานของรัฐบาล เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และกระทําการจาบจ้วง หมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต
2. จําเลยกับพวกได้ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโฆษณากล่าวปราศรัยบนเวที ใจความว่า “เราคือมนุษย์คนหนึ่ง เราขอสนับสนุนและยืนยันว่าไม่ควรมีการใช้คําราชาศัพท์แบ่งชนชั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยค่ะ ขนาดที่พระมหากษัตริย์ในต่างประเทศเนี่ยยังคงใช้ ยูกับไอ แล้วทําไมประชาชนประเทศไทยอย่างเราจะใช้คุณกับฉันกับลูกหลานศักดินาไม่ได้คะ
เราจะไม่ให้ความเชื่อผิดๆ มาครอบงําเรา เราจะไม่ให้ศาสนามาครอบงําเราอีกต่อไป เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ใช่เอาไปครอบงําใครแบบผิดๆ เราควรมองความเป็นจริง เราจะยอมเป็นฝุ่นใต้ละอองธุลีพระบาทหรือจะยอมเป็นฝุ่นใต้ตีนใครอีกหรือเปล่า ในยุคนี้เราคงเชื่อได้หรือเปล่าว่าพระมหากษัตริย์คือสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ว่าพระมหากษัตริย์ตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ไทย แต่อยู่ที่เยอรมัน เสวยสุขท่ามกลางภาษีของประชาชน แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนคนไทยอย่างเรา”
ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ และเป็นการจาบจ้วงล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยจําเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 ทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.1/2565 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 08-12-2020นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเวลา 10.00 น. ที่ สภ.เมืองนนทบุรี ธนกร หรือ “เพชร” เยาวชน LGBTQ อายุ 17 ปี พร้อมผู้ปกครอง และที่ปรึกษากฎหมาย เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116
พ.ต.ท.บำเพ็ญ ไวยรจนา รองผู้กำกับ (สอบสวน) สภ.เมืองนนทบุรี แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาธนกรว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 เวลาประมาณ 16.00-22.00 น. ภาณุพงศ์ จาดนอก ได้ร่วมการชุมนุมบริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี และได้ปราศรัยมีประโยคบางช่วงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์กับการยึดเหนี่ยวจิตใจ
ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐาน ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่วาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ระบุเพียงพฤติการณ์ของไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ว่าเป็นผู้ร่วมและปราศรัย แต่ไม่ได้ระบุพฤติการณ์ของธนกรเลยแม้แต่น้อย
ธนกรให้การปฏิเสธ พิมพ์ลายนิ้วมือ และได้รับการปล่อยตัว โดยจะกำหนดวันนัดสอบคำให้การตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 ซึ่งต้องมีอัยการ นักจิตวิทยา ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ปกครองหรือผู้ที่เด็กหรือเยาวชนร้องขอร่วมด้วย ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี ในภายหลัง
ธนกรนับเป็นเยาวชนรายแรก ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 7 ปี
วันเดียวกันนี้ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, พริษฐ์ ชิวารักษ์ และภาณุพงศ์ จาดนอก ก็ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม จากการปราศรัยในการชุมนุมครั้งเดียวกันกับที่เพชรถูกแจ้งข้อกล่าวหา โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม 2563 นักกิจกรรมทั้งสาม รวมทั้งชินวัตร จันทร์กระจ่าง แกนนำคนรุ่นใหม่นนทบุรี ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 116 ไปแล้ว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองนนทบุรี ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23842) -
วันที่: 08-04-2021นัด: ส่งตัวอัยการพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนนทบุรี ได้นัดหมายให้เพชรเดินทางมาพบเพื่อทำการส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ ที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดนนทบุรี หลังอัยการรับสำนวนคดี ได้นัดให้ธนกรเดินทางมาฟังคำสั่งอัยการว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ต่อไป ในวันที่ 16 มิ.ย. 2564 เวลา 10.00 น.
ขณะเดียวกัน เยาวชนพร้อมผู้ปกครองและทนาย ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สั่งไม่ฟ้องคดีเนื่องจาก พฤติการณ์แห่งการกระทำตามข้อหาข้างต้นนั้น ไม่เป็นความผิดในการฝ่าฝืนกฎหมาย และการสั่งฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
หนังสือขอความเป็นธรรมชี้แจงเหตุผลว่า การกระทำของตนเป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสุจริต อีกทั้งยังเป็นการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ ที่สามารถกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ได้รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกไว้ในข้อบทที่ 19 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และได้รับรองสิทธิในการชุมนุมไว้ในข้อบทที่ 21 ซึ่งไทยได้ลงนามเป็นภาคีในข้อกติกานี้ จึงมีพันธะต้องปฏิบัติตาม
นอกจากนี้ เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมยังถือเป็นสิทธิในกลุ่มเดียวกันกับสิทธิในการมีส่วนร่วมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) ซึ่งไทยได้ให้สัตยาบัน รัฐภาคีจะต้องยอมรับสิทธิเสรีภาพของเด็กในการสมาคม ชุมนุมอย่างสงบเพื่อเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ส่งผลกับเด็กเอง อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในมาตรา 44 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ก็ได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้ด้วยเช่นกัน
การเข้าร่วมในการชุมนุมและปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 ตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหาจึงเป็นเพียงการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม เป็นไปโดยชอบทางกฎหมายและกติการะหว่างประเทศ และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ
(อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรม ลงวันที่ 8 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28090) -
วันที่: 16-06-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง และคืนสำนวนพร้อมมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบเพิ่มเติม
-
วันที่: 18-08-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการเพชรเดินทางไปอัยการตามนัด อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 21 ต.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 08-09-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการและแจ้งข้อกล่าวหา 112 เพิ่มเติมธนกรเดินทางไปฟังคำสั่งอัยการ หลังเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการฯ โทรแจ้งเลื่อนวันนัดฟังคำสั่งจากวันที่ 21 ต.ค. 2564 เป็นวันนี้ ก่อนพนักงานอัยการเลื่อนนัดให้มาฟังคำสั่งว่าจะฟ้องคดีหรือไม่อีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย. 2564
แต่ก่อนหน้านั้น อัยการได้มีหนังสือลงวันที่ 2 ก.ย. 2564 ให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของธนกรเข้าข่ายข้อหาความผิดนี้ด้วย
ในการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนคือ พ.ต.ท.บำเพ็ญ ไวยรจนา รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สภ.เมืองนนทบุรี ได้แจ้งพฤติการณ์คือ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ผู้ต้องหาได้ร่วมกับพวกรวม 5 คน (ถูกแยกเป็นอีกชุดคดีหนึ่ง เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นผู้ใหญ่) ชุมนุมบริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ผู้ต้องหาได้ขึ้นเวทีปราศรัยเรื่องความเท่าเทียมกัน และสถานะกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย รวมไปถึงการใช้ศาสนาครอบงำให้คนเชื่อว่า กษัตริย์คือเทพที่ลงมาจุติ
พนักงานสอบสวนระบุว่า ข้อความที่ผู้ต้องหาได้กล่าวปราศรัยนั้นเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์
หลังรับทราบข้อกล่าวหา เพชรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
หลังจากการแจ้งข้อหาในวันนี้ ทำให้เพชรถูกกล่าวหาดำเนินคดีทางการเมืองไปแล้วทั้งหมด 7 คดี โดยเป็นคดีข้อหาหลักตามมาตรา 112 จำนวน 3 คดี และคดีตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 4 คดี โดยเพชรยังเป็นเยาวชนรายแรกที่อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีมาตรา 112 อีกด้วย ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่าเพชรถูกออกหมายเรียกในคดีชุมนุมทางการเมืองอีกคดีหนึ่งที่ยังไม่ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาอีกด้วย
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองนนทบุรี ลงวันที่ 8 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34766) -
วันที่: 17-09-2021นัด: สอบปากคำเพิ่มเติมธนกรพร้อมครอบครัวและที่ปรึกษากฎหมายเดินทางไป สภ.เมืองนนทบุรี ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมายไปสอบปากคำเพิ่มเติม หลังพนักงานอัยการมีหนังสือลงวันที่ 9 ก.ย. 2564 ให้แจ้งข้อหามาตรา 116 โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว และสอดคล้องกับอายุผู้ต้องหาขณะแจ้งข้อกล่าวหา
พ.ต.ท.บำเพ็ญ ได้แจ้งของกล่าวหาธนกรในข้อหาตามมาตรา 116 อีกครั้ง โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาเช่นเดียวเมื่อครั้งแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 และได้สอบปากคำธนกรเพิ่มเติมว่า ประสงค์จะให้มีสหวิชาชีพร่วมในการสอบคำให้การหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ ซึ่งกำหนดให้กรณีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคําเด็กนั้น
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและประจำวันเกี่ยวกับคดี สภ.เมืองนนทบุรี ลงวันที่ 17 ก.ย. 2564)
-
วันที่: 10-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง ให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งออกไปก่อน
-
วันที่: 12-01-2022นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวมีความเห็นสั่งฟ้องธนกร และยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี ใน 2 ข้อหา คือ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" และ "ยุยงปลุกปั่น" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 116
ในคดีนี้ นายธีรนนท์ ไหวดี อธิบดีอัยการภาค 1 ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือเป็นคำสั่งอนุญาตให้พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนฟ้องธนกรได้ มายังสำนักงานอัยการภาค 1 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2564
ท้ายคำฟ้องอัยการได้ร้องขอให้ศาลนับโทษจําคุกหรือระยะเวลาฝึกและอบรมของจําเลยในคดีนี้ เรียงติดต่อกับโทษจําคุกหรือระยะเวลาฝึกและอบรมของจําเลยในคดีที่ธนกรถูกฟ้องจากการชุมนุม #ม็อบ1พฤศจิกา63 ที่บริเวณแยกอุดมสุข – บางนา ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกด้วย
หลังศาลรับฟ้อง ทนายความได้ยื่นประกันตัวธนกรระหว่างพิจารณาคดี ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ก่อนศาลอนุญาตให้ประกัน พร้อมทั้งนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 1 มี.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.1/2565 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39646) -
วันที่: 01-03-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานโจทก์แถลงขอนำพยานเข้าเบิกความรวม 7 ปาก ด้านทนายจำเลยขอนำพยานเข้าเบิกความ 2 ปาก ได้แก่ จำเลย และผู้ปกครอง
ฝ่ายจำเลยแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า ถ้อยคำที่ปราศรัยไม่ใช่สิ่งผิด แต่เป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสุจริต อีกทั้งยังเป็นการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธที่สามารถกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นัดสืบพยานในวันที่ 19 – 21 ต.ค. 2565 -
วันที่: 19-10-2022นัด: สืบพยานเวลาประมาณ 09.30น. ก่อนการสืบพยาน อัยการขอเจรจากับธนกรและที่ปรึกษากฎหมาย เรื่องการเข้าแผนหรือมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 90 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว โดยอัยการพยายามยกประโยชน์ของการเข้าแผนดังกล่าวมาชี้แจงว่าจะส่งผลดีต่อจำเลยอย่างไร แต่ธนกรยืนยันไม่เข้ามาตรการพิเศษฯ กระบวนการสืบพยานจึงดำเนินต่อไป
ต่อมาผู้พิพากษาหนึ่งในองค์คณะขอเจรจากับจำเลยเป็นการส่วนตัว แต่ธนกรยังยืนยันไม่เข้ามาตรการพิเศษ
เวลาประมาณ 10.10 น. องค์คณะผู้พิพากษาเจรจากับธนกรอีกครั้งในห้องพิจารณา โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการเข้ามาตรการพิเศษฯ เป็นประโยชน์สูงสุดอย่างไร ธนกรยืนยันเช่นเดิมว่าไม่เข้ามาตรการพิเศษฯ แต่ต้องการให้มีการพิจารณาคดีไปตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ดี เนื่องจากขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้วศาลจึงนัดสืบพยานโจทก์ 2 ปาก ในช่วงบ่าย
ระหว่างพักเที่ยง มีเจ้าหน้าที่ศาลมาพบกับธนกรและบอกว่าหัวหน้าองค์คณะอยากคุยกับธนกรอีกครั้งก่อนเริ่มสืบพยานเรื่องการตัดสินใจเข้าหรือไม่เข้ามาตรการพิเศษฯ โดยการพูดคุยครั้งนี้ศาลได้ยกเรื่องผลกระทบต่อครอบครัวมาโน้มน้าวให้ธนกรเลือกเข้ามาตรการพิเศษฯ ด้วย แต่ธนกรยังคงยืนยันไม่เข้ามาตรการเช่นเดิมและต้องการที่จะสู้คดีต่อไป
เวลาประมาณ 13.30 น. ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ปากผู้กล่าวหา ศาลมีคำสั่งให้ผู้สังเกตการณ์ทั้งหมด รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายซึ่งไม่ได้มีใบแต่งตั้งให้ออกจากห้องพิจารณา แม้เพชรจะแถลงต่อศาลว่าต้องการให้มีผู้สังเกตการณ์และที่ปรึกษากฎหมายท่านอื่นๆ อยู่ด้วย แต่ศาลก็ไม่อนุญาตโดยระบุว่าเป็นมาตรการของการสืบพยานคดีเยาวชนที่ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความเข้าฟังการพิจารณา
ภายหลังเสร็จสิ้นการสืบพยานในวันที่ 21 ต.ค. 2565 ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 22 ธ.ค. 2565
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/51677) -
วันที่: 22-12-2022นัด: ฟังคำพิพากษานัดฟังคำพิพากษา ธนกรพร้อมครอบครัวเดินทางมาศาล โดยธนกรได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าหน้าที่จากองค์กรสิทธิมนุษยชน 2 แห่ง เข้าร่วมฟังคำพิพากษาในฐานะบุคคลที่ไว้วางใจ เพื่อให้เกิดความสบายใจในการฟังคำพิพากษา ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ร่วมฟังได้ พร้อมกับกล่าวตักเตือนเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการเผยแพร่
เวลา 11.00 น. โดยประมาณ ผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้
พิเคราะห์แล้วว่า คดีนี้พยานฝ่ายโจทก์มีเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ เบิกความเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่การสืบสวนหาข่าวจากเฟซบุ๊กของชินวัตร จันทร์กระจ่าง เชื่อได้ว่า พยานทุกปากเบิกความไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งฝ่ายโจทก์มีการบันทึกภาพและการถอดเทปส่งพนักงานสอบสวน
จากเทปดังกล่าวเห็นว่าจำเลยและพวกกล่าวปราศรัยมีถ้อยคำกล่าวหาพระมหากษัตริย์จริง ทั้งการตั้งคำถามเรื่องการใช้คำราชาศัพท์ การถามว่าพระมหากษัตริย์อยู่ในประเทศหรือไม่? และการกล่าวว่า “เราจะยอมเป็นฝุ่นใต้ละอองธุลีพระบาทหรือจะยอมเป็นฝุ่นใต้ตีนของใคร” ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยและพวกว่า ต้องการทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสีย เป็นที่เกลียดชัง
ถ้อยคำปราศรัยของจำเลยเป็นการกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในราชอาณาจักร แต่ไปอยู่ที่เยอรมันเสวยสุขท่ามกลางภาษีของประชาชน เป็นการกล่าวหาที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง และเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งจากการนำสืบพยานของฝ่ายโจทก์เห็นว่ารับฟังได้ และพยานทุกปากเห็นตรงกันว่า การกล่าวของจำเลยมีเจตนาสร้างความเกลียดชังให้แก่ผู้ฟัง และจากคำกล่าวทั้งหมดถือเป็นการใส่ความทำให้พระมหากษัตริย์ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ดังนั้น การกระทำของจำเลยถือเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 83 แต่ขณะเกิดเหตุมีอายุ 17 ปีเศษ เห็นควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน
ทั้งนี้ พิเคราะห์รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กแล้ว เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยงตามความจำเป็นด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านภูมิหลังการศึกษาของจำเลยแล้ว ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ มีความเห็นว่า จำเลยมีความเสี่ยงในการกระทำความผิดซ้ำ และมีความจำเป็นที่จะได้รับการช่วยเหลือในระดับต่ำ แต่เนื่องจากจำเลยยังเป็นนักศึกษา ความประพฤติและการปฏิบัติโดยทั่วไปของจำเลยปรากฏว่าไม่ร้ายแรงนัก อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
เพื่อให้การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูจำเลยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 ที่มุ่งให้เด็กและเยาวชนอยู่ในขบวนการยุติธรรมให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อคำนึงถึงสวัสดิภาพอนาคตของจำเลย เน้นให้โอกาส จึงรอการลงโทษจำคุก 2 ปี และให้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับความประพฤติของจำเลย โดยให้จำเลย ผู้ปกครอง และพนักงานคุมประพฤติร่วมกันกำหนดแผน แล้วนำเสนอศาลภายในระยะเวลา 2 เดือน เมื่อศาลเห็นชอบให้ปฏิบัติตามแผนดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 ปี
ในส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งโจทก์ฟ้องแยกเป็นอีก 1 กรรม นั้น ศาลมีคำพิพากษาว่า พิเคราะห์พยานโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้สอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับการเบิกความของจำเลยว่าได้รับการติดต่อจากนายชินวัตร จันทร์กระจ่าง ให้พูดเรื่องความหลากหลายทางเพศ การยกเลิกใช้คำราชาศัพท์ เห็นว่า ไม่ถือเป็นการสร้างความวุ่นวาย ยุยง ปลุกปั่น
ทั้งนี้ การมาร่วมชุมนุมเป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล การที่จำเลยเบิกความว่าได้รับการติดต่อจากนายชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว อีกทั้งการนำสืบพยานและหลักฐานของฝ่ายโจทก์ไม่ถือว่ามีน้ำหนักเพียงพอที่จะชี้ว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 พิพากษายกฟ้องในข้อหานี้
ทั้งนี้ ศาลไม่ได้อ่านว่า ตัดสินโทษจำคุกเต็มกี่ปี แต่เมื่อลดกึ่งหนึ่งแล้วเหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ทำให้ทราบได้ว่า โทษจำคุกเต็มคือ 3 ปี
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/51763)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนกร (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนกร (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
22-12-2022
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์