ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.36/2565
แดง อ.442/2566

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ประยงค์ ศรีวิพันธ์ สว.สส.สภ.แสนสุข (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.36/2565
แดง อ.442/2566

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ประยงค์ ศรีวิพันธ์ สว.สส.สภ.แสนสุข (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.36/2565
แดง อ.442/2566
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ประยงค์ ศรีวิพันธ์ สว.สส.สภ.แสนสุข

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.36/2565
แดง อ.442/2566
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ต.ประยงค์ ศรีวิพันธ์ สว.สส.สภ.แสนสุข

ความสำคัญของคดี

วัชระ (สงวนนามสกุล) และวิรชัช (สงวนนามสกุล) 2 นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาวัย 19 ปี ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์โดยการโฆษณา" จากการแขวนป้าย “ผู้นำส้นตีน … ก็ส้นตีน” วิจารณ์รัฐบาลและกษัตริย์ที่หอระเบียงหอพัก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 โดยศาลจังหวัดชลบุรีออกหมายจับนักศึกษาทั้งสอง อย่างไรก็ตาม หลังวัชระถูกจับกุมตามห,ายจับ และวิรชัชเข้ามอบตัว ทั้งสองได้รับการประกันตัว โดยศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามการกระทำใดในลักษณะตามที่ถูกกล่าวหาอีก

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ออกไปอย่างกว้างขวางซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาซึ่งต้องตีความอย่างเคร่งครัด เนื่องจากกฎหมายอาญามีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

คมสรร สิมสา พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 2 ได้บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือ ฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 จําเลยได้เขียนข้อความลงบนป้ายผ้าสีชมพู ด้วยหมึกสีแดงข้อความว่า “ผู้นําส้นตีน…ก็ส้นตีน” แล้วนําป้ายผ้าดังกล่าวไปแขวนไว้ที่บริเวณระเบียงห้องพัก ชั้น 3 ในพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อันเป็นแหล่งชุมชน ซึ่งเป็นบริเวณที่ประชาชนโดยทั่วไปพบเห็นได้ง่าย โดยข้อความที่จําเลยทั้งสองร่วมกันปิดประกาศนั้น เป็นการใช้ถ้อยคําหยาบคาย ดูหมิ่น ดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 อันเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่จงรักภักดี และจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการกล่าวโดยไม่ให้การถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดชลบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.36/2565 ลงวันที่ 14 ม.ค. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • วัชระ ถูกจับกุมจากที่พักในกรุงเทพฯ ตามหมายจับออกโดยศาลจังหวัดชลบุรี จากนั้นจึงถูกนำตัวไปยัง สน.แสมดำ เพื่อทำบันทึกจับกุม และถูกควบคุมตัวต่อไปยัง สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นสถานีตำรวจเจ้าของคดี ทั้งนี้กรณีนี้ไม่เคยมีการออกหมายเรียกจากทางตำรวจมาก่อน

    เนื้อหาในบันทึกจับกุม ซึ่งจัดทำที่ สน.แสมดำ ระบุพฤติการณ์ว่า การจับกุมดังกล่าวอยู่ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.อ.นิตติโชติ เพ็ญจำรัส ผกก.4 บก.ปอศ. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมรวมอย่างน้อย 15 นาย ทั้งจาก สน.แสมดำ, สภ.แสนสุข, ​กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปอศ.) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

    ในการจับกุมครั้งนี้ เป็นการจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดชลบุรีที่ 422/2564 ลงวันที่ 18 ต.ค. 2564 ในส่วนพฤติการณ์การจับกุม ระบุว่า เจ้าพนักงานชุดจับกุมได้รับรายงานจากสายลับ ซึ่งประสงค์รางวัลนำจับ ถึงบ้านพักของวัชระ จึงได้สืบสวนติดตามการจับกุม ในเวลาประมาณ 14.20 น. ได้พบผู้ต้องหายืนอยู่ที่หน้าบ้านพัก มีรูปพรรณคล้ายกันกับข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและได้แสดงหมายจับให้ผู้ต้องหาดู พร้อมทั้งแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบว่า ผู้ต้องหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ โดยการโฆษณา” โดยวัชระไม่ลงชื่อในบันทึกการจับกุม

    จากนั้นวัชระได้ถูกนำตัวไปที่ สภ.แสนสุข โดยมีทนายความ ครอบครัว และอาจารย์ติดตามไป โดยเขาได้ถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจในคืนนั้น

    (อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.แสมดำ ลงวันที่ 23 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36949)
  • วิรชัช เพื่อนนิสิตของวัชระ ซึ่งทราบว่าตนก็ถูกออกหมายจับเช่นเดียวกับวัชระ ได้ติดต่อนัดหมายเข้ามอบตัวตามหมายจับที่ สภ.แสนสุข ในช่วงบ่าย

    พนักงานสอบสวน สภ.แสนสุข ได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้งสองว่า กระทำความผิดฐาน "ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์โดยการโฆษณา" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 โดยกล่าวหาจากพฤติการณ์เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ว่า ผู้กล่าวหาได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายการข่าว กอ.รมน.ชลบุรี ถึงกรณีมีบุคคลนำป้ายผ้ามี “ข้อความมิบังควร” ไปแขวนไว้ที่ระเบียงหอพักในพื้นที่ตำบลแสนสุข ต่อมาเวลาประมาณ 09.00 น. ของวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.แสนสุข นำโดย พ.ต.อ.สุรสิทธิ์ เนื่องจำนงค์ ผู้กำกับ สภ.แสนสุข และผู้กล่าวหา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายการข่าว กอ.รมน. ชลบุรี ได้ร่วมเดินทางไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และเข้าตรวจค้นห้องพักดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าผู้ต้องหาและผู้เกี่ยวข้องยินยอมให้ทำการตรวจค้น การตรวจค้นได้พบแผ่นป้ายข้อความที่มีลักษณะมิบังควรดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจยึดป้ายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.แสนสุข

    นิสิตทั้งสองคนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยพนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นตำรวจนี้ และจะยื่นขอฝากขังต่อศาลต่อไป ขณะเดียวกันพนักงานสอบสวน สภ.แสนสุข ยังพยายามที่จะขอเก็บ DNA ของผู้ต้องหา แต่ทางทนายความของผู้ต้องหาทั้งสองปฏิเสธ เนื่องจากไม่มีเหตุอันควรใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีความ

    หลังเสร็จกระบวนการทั้งหมด นิสิตทั้งสองยังต้องถูกควบคุมตัวอยู่ที่ สภ.แสนสุข อีก 1 คืน

    (อ้างอิง: บันทึกการรับมอบตัว สภ.แสนสุข ลงวันที่ 24 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36949)
  • ร.ต.ท.อภิรัชฏ์ อดิเรกพูลลาภ พนักงานสอบสวน สภ.แสนสุข ได้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองคนต่อศาลจังหวัดชลบุรี โดยอ้างว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จ ยังต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 6 ปาก และรอผลการตรวจประวัติต้องโทษของผู้ต้องหา ทั้งยังระบุขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา อ้างเหตุว่าคดีมีอัตราโทษสูง และเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่น

    หลังจากเสร็จการไต่สวน ศาลได้อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความของผู้ต้องหาจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

    ในคำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าว ให้เหตุผลว่า คดีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมผู้ต้องหาที่ 1 (วัชระ) ที่ห้องพัก ในขณะที่ผู้ต้องหาที่ 2 (วิรชัช) เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง การคุมขังผู้ต้องหาทั้งสอง จะเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ ผู้ต้องหาให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนตลอดมา ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทั้งยังมีสถานะเป็นนักศึกษา เข้าไปยุ่งเหยิงกับหลักฐานไม่ได้ และทั้งสองยังไม่เคยมีประวัติในการกระทำความผิด ไม่มีพฤติการณ์ใดที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่จะไม่ได้ประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 108/1 อีกทั้งช่วงนี้ยังเป็นช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 หากถูกคุมขังอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ต้องหาทั้งสอง

    ต่อมาศาลจังหวัดชลบุรีได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งสองคน โดยตีหลักประกันเป็นวงเงินคนละ 150,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาอีก และนัดรายงานตัววันที่ 13 ธ.ค. 2564 ซึ่งครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 4

    หลังวางเงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ นิสิตทั้งสองจึงได้รับการปล่อยตัว

    (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1, คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดชลบุรี ลงวันที่ 25 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36949)
  • วัชระและวิรชัชเข้ารายงานตัวตามนัด ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 24 ธ.ค. 2564
  • วัชระและวิรชัชเข้ารายงานตัวตามนัด ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 5 ม.ค. 2565
  • อัยการยังไม่ยื่นฟ้อง ศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 17 ม.ค. 2565
  • พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรียื่นฟ้องวัชระและวิรชัช ในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.36/2565

    ในท้ายคำฟ้องระบุว่า สำหรับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี พนักงานอัยการไม่ได้คัดค้าน โดยขอให้อยู่ในดุลพินิจของศาล พร้อมระบุขอให้ศาลได้สั่งริบป้ายผ้าดังกล่าวไว้เป็นของกลาง

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดชลบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.36/2565 ลงวันที่ 14 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39690)
  • วัชระและวิรชัชเข้ารายงานตัวต่อศาลเป็นครั้งที่ 4 ตามสัญญาประกันในชั้นสอบสวน และรับทราบคำฟ้อง จากนั้นทนายความได้ยื่นประกันตัว และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเดิมที่เคยใช้ในชั้นสอบสวน เป็นจำนวนเงินสดรายละ 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมทั้งกำหนดนัดวันคุ้มครองสิทธิในวันที่ 9 มี.ค. 2565 และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 16 มี.ค. 2565

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39690)
  • ศาลสอบคําให้การจําเลยทั้งสองอีกครั้ง วัชระและวิรชัชยืนยันให้การปฏิเสธตามเดิม โจทก์แถลงประสงค์สืบพยานบุคคล 9 ปาก ใช้เวลาสืบพยาน 2 นัด ทนายจําเลยทั้งสองแถลงว่าประสงค์สืบพยานรวม 5 ปาก ได้แก่ จําเลยทั้งสอง, ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย, นักกฎหมายที่ศึกษาเรื่องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนที่ศึกษาเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขอใช้เวลาสืบพยานไม่เกิน 1 นัด

    นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1,2 ก.พ. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 3 ก.พ. 2566

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดชลบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.36/2565 ลงวันที่ 16 มี.ค. 2565)
  • ก่อนเริ่มสืบพยาน วัชระและวิรชัชได้ขอถอนกลับคำให้การเดิม และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจพฤติการณ์ของจำเลยเพื่อประกอบดุลพินิจในการพิพากษา นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 20 มี.ค. 2566
  • วัชระและวิรชัช 2 นิสิตพร้อมทนายความและนายประกันเดินทางไปศาลตามนัดฟังคำพิพากษาที่เลื่อนมาจากวันที่ 20 มี.ค. 2566

    เวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษา ใจความโดยสรุปว่า พิพากษาว่า จำเลยทั้งสองคนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองคนอายุยังไม่ถึง 20 ปี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุกคนละ 2 ปี

    พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะ เห็นว่า ขณะกระทำผิดอายุยังน้อย เพราะคิดว่าสถานการณ์บ้านเมือง มีประชาชนกำลังเดือดร้อน กษัตริย์ควรช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเหมือนกษัตริย์ในประเทศอื่นๆ จำเลยขาดความรู้ความเข้าใจ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี ให้รายงานตัวทุก ๆ 3 เดือน ให้พนักงานคุมประพฤติตักเตือนและแนะนำ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และให้จำเลยทั้งสองทำงานบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 และให้ริบป้ายผ้าของกลาง

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/54957)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วิรชัช (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วัชระ (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วิรชัช (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 30-03-2023
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วัชระ (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 30-03-2023

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์