สรุปความสำคัญ
วิธญา คลังนิล นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาชิกกลุ่มศิลปิน artn’t ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” จากการแสดง Performance Art ที่หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 โดยรอง ผกก.สส.สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ผู้กล่าวหาอ้างว่า การแสดงดังกล่าว ซึ่งในตอนหนึ่งวิธยาได้นอนหงายใช้เท้าขวาชี้ไปบนฟ้านั้น เป็นการชี้ไปที่รูป ร.10 ซึ่งอยู่ด้านบนป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันเป็นการแสดงกริยาสบประมาท ดูถูกเหยียดหยามกษัตริย์ และเป็นความผิดตามมาตรา 112
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความและนำไปใช้เอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความและนำไปใช้เอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 05-10-2021
-
ผู้ถูกละเมิด
- วิธญา คลังนิล
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
1 พ.ค. 2564 เวลา 17.00 น. ประชาชนชาวเชียงใหม่ออกมาร่วมกิจกรรม “ยืนหยุดขัง” เป็นวันที่ 17 หลายจุดทั่วเชียงใหม่ เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้แก่ "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์ และผู้ต้องขังทางการเมืองอีก 6 คนซึ่งถูกจับกุมในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
นอกจากนี้ ที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนักศึกษาจัด Performance Art ไว้อาลัยให้กับกระบวนการยุติธรรมไทย หลังเทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวเพนกวินและเพื่อน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 ทั้งที่สุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ แม่ของเพนกวินและทนายความยื่นขอประกันตัวด้วยเหตุผลจากสภาพร่างกายที่อ่อนแอถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตของเพนกวิน หลังอดอาหารมาแล้วเป็นเวลา 45 วัน แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 สุรีย์รัตน์ต้องโกนผมบริเวณลานจอดรถศาลอาญา เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้แก่ลูกชาย พร้อมทั้งยื่นขอประกันตัวต่อศาลใหม่อีกครั้ง โดยศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวในวันที่ 6 พ.ค. 2564
ทั้งนี้ ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพริษฐ์เเละปนัสยา 8 และ 4 ครั้ง ตามลำดับ นับเเต่ทั้งสองถูกสั่งฟ้องและไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 9 ก.พ.2564 สำหรับพริษฐ์ และ 8 มี.ค. 2564 สำหรับปนัสยา ทั้งสองถูกคุมขังในเรือนจำมาเเล้วทั้งสิ้น 79 วันเเละ 52 วัน โดยศาลยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสืบพยาน อีกทั้งพริษฐ์ได้เริ่มอดอาหารตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 2564 และปนัสยาตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. 2564 เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในสิทธิในการปล่อยชั่วคราว (อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2021/05/92838)
5 ต.ค. 2564 วิธญา คลังนิล นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาชิกกลุ่มศิลปิน artn’t เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ในข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการแสดง Performance Art ครั้งดังกล่าว ครั้งนี้วิธญามาในชุดคอสเพลย์เป็นตัวละคร “ลูฟี่” ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง "วันพีซ" โดยมีการแสดงขนาดสั้นก่อนเดินทางเข้ารับทราบข้อหา
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหากับวิธญา โดยสรุปว่า วิธญากับพวกราว 7 คน ได้จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บริเวณประตูทางเข้า-ออก หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวิธญาได้ปืนขึ้นไปบนป้ายชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งถัดขึ้นไปเป็นป้ายอักษรข้อความว่า “ทรงพระเจริญ” และมีป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ก่อนสาดเทน้ำสีแดงราดตัว นั่งห้อยขา, นั่งยองๆ, ยืนเอาถังสีสวมครอบศีรษะ, แสดงท่าครุฑ ตอนหนึ่งวิธญาได้นอนหงายโดยใช้เท้าขวาชี้ขึ้นไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ที่อยู่ใกล้กัน การกระทําตลอดจนการแสดงทั้งหมด มีลักษณะหยาบคาย ไม่ถวายพระเกียรติต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการแสดงกริยาสบประมาท ดูถูกเหยียดหยาม ต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นความผิดฐาน “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ”
ด้านวิธญาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนตำรวจปล่อยตัวเขากลับไปโดยไม่มีการควบคุมตัว เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ทั้งเข้ามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ลงวันที่ 5 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36072)
นอกจากนี้ ที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนักศึกษาจัด Performance Art ไว้อาลัยให้กับกระบวนการยุติธรรมไทย หลังเทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวเพนกวินและเพื่อน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 ทั้งที่สุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ แม่ของเพนกวินและทนายความยื่นขอประกันตัวด้วยเหตุผลจากสภาพร่างกายที่อ่อนแอถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตของเพนกวิน หลังอดอาหารมาแล้วเป็นเวลา 45 วัน แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 สุรีย์รัตน์ต้องโกนผมบริเวณลานจอดรถศาลอาญา เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้แก่ลูกชาย พร้อมทั้งยื่นขอประกันตัวต่อศาลใหม่อีกครั้ง โดยศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวในวันที่ 6 พ.ค. 2564
ทั้งนี้ ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพริษฐ์เเละปนัสยา 8 และ 4 ครั้ง ตามลำดับ นับเเต่ทั้งสองถูกสั่งฟ้องและไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 9 ก.พ.2564 สำหรับพริษฐ์ และ 8 มี.ค. 2564 สำหรับปนัสยา ทั้งสองถูกคุมขังในเรือนจำมาเเล้วทั้งสิ้น 79 วันเเละ 52 วัน โดยศาลยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสืบพยาน อีกทั้งพริษฐ์ได้เริ่มอดอาหารตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 2564 และปนัสยาตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. 2564 เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในสิทธิในการปล่อยชั่วคราว (อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2021/05/92838)
5 ต.ค. 2564 วิธญา คลังนิล นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาชิกกลุ่มศิลปิน artn’t เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ในข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการแสดง Performance Art ครั้งดังกล่าว ครั้งนี้วิธญามาในชุดคอสเพลย์เป็นตัวละคร “ลูฟี่” ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง "วันพีซ" โดยมีการแสดงขนาดสั้นก่อนเดินทางเข้ารับทราบข้อหา
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหากับวิธญา โดยสรุปว่า วิธญากับพวกราว 7 คน ได้จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บริเวณประตูทางเข้า-ออก หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวิธญาได้ปืนขึ้นไปบนป้ายชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งถัดขึ้นไปเป็นป้ายอักษรข้อความว่า “ทรงพระเจริญ” และมีป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ก่อนสาดเทน้ำสีแดงราดตัว นั่งห้อยขา, นั่งยองๆ, ยืนเอาถังสีสวมครอบศีรษะ, แสดงท่าครุฑ ตอนหนึ่งวิธญาได้นอนหงายโดยใช้เท้าขวาชี้ขึ้นไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ที่อยู่ใกล้กัน การกระทําตลอดจนการแสดงทั้งหมด มีลักษณะหยาบคาย ไม่ถวายพระเกียรติต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการแสดงกริยาสบประมาท ดูถูกเหยียดหยาม ต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นความผิดฐาน “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ”
ด้านวิธญาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนตำรวจปล่อยตัวเขากลับไปโดยไม่มีการควบคุมตัว เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ทั้งเข้ามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ลงวันที่ 5 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36072)
List คดี
ภูมิหลัง
-
วิธญา คลังนิลนักศึกษาภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ เคยร่วมกิจกรรมเยาวชนจากค่ายการเรียนรู้ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และทำกิจกรรมสายวัฒนธรรมทางภาคใต้และ 3 จังหวัดภาคใต้มาก่อน
เราเริ่มเห็นบทบาทของวิธญา จากการขึ้นอ่านบทกวีในท่วงทำนองแปลกประหลาด บนเวทีการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ช่วงปี 2563 ตามมาด้วยการเห็นบทบาทของเขาจากการแสดง Performance Art โดยการใช้ร่างกายแสดงออกทางสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบ ในพื้นที่สาธารณะต่างๆ
(อ่านเพิ่มเติม: https://tlhr2014.com/archives/36402)
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์