ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
ดำ ยชอ. 222/2564
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ ยชอ. 222/2564
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี
ความสำคัญของคดี
“มีมี่” นักกิจกรรมเยาวชน และสมาชิกกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก ถูกกล่าวหา ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะและการจราจร จากการขึ้นปราศรัยใน #ม็อบ25ตุลา เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2563 บริเวณแยกราชประสงค์
การชุมนุมดังกล่าว มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 6 ราย โดย 5 ราย ไม่ใช่เยาวชน ถูกแยกดำเนินคดีในศาลแขวง ในครั้งแรก “มายด์” ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ถูกออกหมายเรียกด้วย ภายหลังพบว่าเข้าใจผิด และดำเนินคดีกับ “มีมี่” แทน
การดำเนินคดีกับเยาวชนเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเด็กตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก อีกทั้งการดำเนินคดีเพื่อขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมที่ใช้ทรัพยากรจากภาษีประชาชนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
การชุมนุมดังกล่าว มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 6 ราย โดย 5 ราย ไม่ใช่เยาวชน ถูกแยกดำเนินคดีในศาลแขวง ในครั้งแรก “มายด์” ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ถูกออกหมายเรียกด้วย ภายหลังพบว่าเข้าใจผิด และดำเนินคดีกับ “มีมี่” แทน
การดำเนินคดีกับเยาวชนเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเด็กตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก อีกทั้งการดำเนินคดีเพื่อขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมที่ใช้ทรัพยากรจากภาษีประชาชนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
25 ต.ค. 2563 ผู้ชุมนุมรวมตัวที่ราชประสงค์เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จตุภัทร์ บุญภัทรรักษาได้ให้ผู้ร่วมชุมนุมตะโกนขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ และยังประกาศต่อผู้ชุมนุมว่า “ทุกคนคือราษฎร ไม่มีแกนนำ” “เราจะมีโทรโข่งกระจายกันอยู่ทั่วไปนะครับ” “กระจายตามจุดๆ ราษฎรคนไหนอึดอัดอยากระบายอยากจะออกมาพูดได้เลยนะครับ” ผู้ชุมนุมจึงผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยตามโทรโข่งที่กระจายตามจุดต่างๆ โดยผู้ต้องหาได้ขึ้นปราศรัยบนรถกระบะติดเครื่องขยายเสียง เรื่องการบริหารงานของรัฐบาลยุค พล.อ.ประยุทธ์, การดำเนินคดีกับแกนนำอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย, กระบวนการยุติธรรมที่เป็นสองมาตรฐาน
ในช่วงประมาณ 16.30 น. ผู้กำกับ สน.ลุมพินี ยังเข้าชี้แจงต่อผู้ชุมนุมว่าเนื่องจากสถานที่ชุมนุมเป็นที่สาธารณะ ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งตามกฎหมายชุมนุมสาธารณะ แต่ในการชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้มีการแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง จึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ ให้เลิกการชุมนุมภายในเวลา 17.00 น. แต่ไม่มีการยุติการชุมนุมภายในเวลาดังกล่าว และได้มีการชุมนุมปราศรัยไปจนถึงเวลา 21.15 น. จึงยุติการชุมนุม
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 13 ม.ค. 2564)
ในช่วงประมาณ 16.30 น. ผู้กำกับ สน.ลุมพินี ยังเข้าชี้แจงต่อผู้ชุมนุมว่าเนื่องจากสถานที่ชุมนุมเป็นที่สาธารณะ ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งตามกฎหมายชุมนุมสาธารณะ แต่ในการชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้มีการแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง จึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ ให้เลิกการชุมนุมภายในเวลา 17.00 น. แต่ไม่มีการยุติการชุมนุมภายในเวลาดังกล่าว และได้มีการชุมนุมปราศรัยไปจนถึงเวลา 21.15 น. จึงยุติการชุมนุม
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 13 ม.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 13-01-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหามีมี่ พร้อมกับผู้ปกครองและทนายความ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สน.ลุมพินี ในข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการชุมนุมวันที่ 25 ต.ค. 2563 บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งมี พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม สว.สส.สน.ลุมพินี เป็นผู้กล่าวหา โดยมีสมาชิกกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก เดินทางไปร่วมให้กำลังใจ และร่วมกันเต้นเพลง ‘สีดาลุยไฟ’ ที่ด้านหน้าสถานีตำรวจ
พ.ต.ท.เทอดศักดิ์ มนัสชน สารวัตร (สอบสวน) และ ร.ต.อ.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ รองสารวัตร (สอบสวน) สน.ลุมพินี บรรยายพฤติการณ์แห่งคดีว่า เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ลุมพินี ได้จัดกำลังตำรวจฝ่ายสืบสวนหาข่าวบริเวณแยกราชประสงค์ บริเวณที่มีการนัดหมายชุมนุมมวลชน
เวลาประมาณ 16.10 น. นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เดินทางมาถึงตามนัดหมายและเข้าพบปะผู้ร่วมชุมนุมที่รออยู่ จากนั้นได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่าการมากิจกรรมชุมนุมครั้งนี้คือเพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยให้ผู้ร่วมชุมนุมตะโกนขับไล่ และยังประกาศว่าการชุมนุมจะยุติในเวลาประมาณ 20.30 น. จากนั้นประกาศต่อผู้ชุมนุมว่า “ทุกคนคือราษฎร ไม่มีแกนนำ” “เราจะมีโทรโข่งกระจายกันอยู่ทั่วไปนะครับ” “กระจายตามจุดๆ ราษฎรคนไหนอึดอัดอยากระบายอยากจะออกมาพูดได้เลยนะครับ” ผู้ชุมนุมจึงผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยตามโทรโข่งที่กระจายตามจุดต่างๆ
ในช่วงประมาณ 16.30 น. ผู้กำกับ สน.ลุมพินี ยังเข้าชี้แจงต่อผู้ชุมนุมว่าเนื่องจากสถานที่ชุมนุมเป็นที่สาธารณะ ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งตามกฎหมายชุมนุมสาธารณะ แต่ในการชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้มีการแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง จึงอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การชุมนุมฯ ให้เลิกการชุมนุมภายในเวลา 17.00 น. แต่ไม่มีการยุติการชุมนุมภายในเวลาดังกล่าว และได้มีการชุมนุมปราศรัยไปจนถึงเวลา 21.15 น. จึงยุติการชุมนุม
พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม กับพวก ได้รวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆ จัดทำรายงานการสืบสวนเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา ต่อมา ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับ สน.ลุมพินี ให้แจ้งความดำเนินคดีกับจตุภัทร์และพวก รวม 6 คน ได้แก่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, อรรถพล บัวพัฒน์, ธานี สะสม, ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา และภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
พนักงานสอบสวนระบุอีกว่าต่อมาวันที่ 18 พ.ย. 2563 ผู้กล่าวหาและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.ลุมพินี ได้ทำการสืบสวนเพิ่มเติมกรณีมีหญิงไทยผมยาวมัดผม ใส่เสื้อยืดสีดำ สะพายกระเป๋าเป้ ขึ้นปราศรัยบนรถกระบะติดเครื่องขยายเสียง เรื่องการบริหารงานของรัฐบาลยุค พล.อ.ประยุทธ์, การดำเนินคดีกับแกนนำอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย, กระบวนการยุติธรรมที่เป็นสองมาตรฐาน ไม่ใช่ น.ส.ภัสราวลี แต่คือ “มีมี่” เยาวชนอายุ 17 ปี ผู้กล่าวหาจึงประสงค์จะดำเนินคดีกับเธอ
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหาต่อ “มีมี่” ได้แก่ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10 “ไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า” และฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 13 ข้อ 1 และข้อ 5 มีมี่ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปฏิเสธลงลายมือชื่อและเขียนข้อความว่า “ไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ” ในช่องสำหรับลงลายมือชื่อ โดยจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 20 วัน
หลังรับทราบข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวไป โดยไม่ได้นำตัวมีมี่ไปตรวจสอบการจับกุมที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งก่อนหน้านี้หลังจากการแจ้งข้อกล่าวหาเยาวชนหลายคดี พนักงานสอบสวนนำตัวเยาวชนไปตรวจสอบการจับกุมและขอออกหมายควบคุม อันเป็นการละเมิดสิทธิและสร้างภาระแก่เยาวชนเกินสมควร
ก่อนหน้านี้ ผู้ต้องหา 5 รายในคดีนี้ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาไปแล้วในวันที่ 9 ธ.ค. 2563 ยกเว้น “มายด์” ภัสราวลี ผู้ต้องหาที่ 6 ไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากพนักงานสอบสวนเข้าใจผิดว่าบุคคลอื่นที่ขึ้นปราศรัยคือภัสราวลี แล้วจึงได้มีการดำเนินคดีกับ “มีมี่” แทน
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 13 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25051) -
วันที่: 08-02-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการมีมี่พร้อมด้วยทนายความ ได้เดินทางไปตามนัดของพนักงานสอบสวน เพื่อส่งตัวและสำนวนให้กับพนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 พร้อมกันนนี้ มีมี่ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมขอให้อัยการสั่งไม่ฟ้องคดี และขอให้ทางอัยการมอบหมายให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานเพิ่มเติมด้วย อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 11 ก.พ. 2564
สำหรับเนื้อหาในหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของมีมี่ระบุว่า เธอไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาและการสั่งฟ้องในคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะแต่อย่างใด ทั้งยังได้ขอให้มีการสั่งสอบพยานเพิ่มเติมอีกด้วย โดยได้ยกเหตุผลประกอบดังนี้
1. แม้จะมีการยื่นคำให้การเพิ่มเติมของผู้ต้องหาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการสอบความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคือ นางทิชา ณ นคร ผู้อํานวยการศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก นักวิชาการด้านสิทธิเด็กและเยาวชน เพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา เพื่อยืนยันว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ปรากฏว่าทางพนักงานสอบสวนยังไม่ได้สอบคําให้การพยานผู้เชี่ยวชาญตามคำร้องขอ แต่กลับเร่งสรุปสํานวนทําความเห็นสั่งฟ้อง
2. ผู้ต้องหายืนยันว่าตนไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะแต่อย่างใด และไม่ได้ฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พฤติการณ์ในคดีถือว่าเป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสุจริตแต่เพียงเท่านั้น เป็นไปตามกฎหมายทั้งภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ การสั่งฟ้องผู้ต้องหาจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะและจะส่งผลกระทบต่อประโยชน์สำคัญของประเทศ
เนื่องจากสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนเสรีภาพในการชุมนุมเป็นเครื่องแสดงออกซึ่งเจตจํานงของมวลชน เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนผู้มีอํานาจให้ตระหนักถึงความสําคัญของการบริหารราชการแผ่นดินและเป็นกลไกสําคัญในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ อีกทั้งยังเป็นสิทธิที่ทางสากลให้การยอมรับและได้ถูกบัญญัติไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ในส่วนของพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการชุมนุมเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2563 บริเวณแยกราชประสงค์ ผู้ต้องหาขอเรียนว่า การกระทำของผู้ต้องหาเป็นการแสดงออกที่ได้รับการคุ้มครองตามหลักการทางกฎหมาย ทั้งในและระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกติกา ICCPR มาตรา 19 วรรค 1 และ 2 คุ้มครองสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและสิทธิในการเผยแพร่และรับข้อมูลข่าวสาร และในมาตราที่ 21 ก็ได้รับรองสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งไทยก็ได้รับรองหลักการเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 44 วรรค 1 และ 2
เพิ่มเติมไปกว่านั้น การใช้สิทธิในครั้งนี้ยังสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าว โดยได้รับรองหลักเสรีภาพในการออกและเสรีภาพในการชุมนุมไว้ในมาตราที่ 12, 13 และ 15 กล่าวคือ รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะมีเสรีภาพในการสมาคมและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ เพื่อเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในประเด็นที่ส่งผลกับเด็กเอง การดำเนินคดีอาญากับเยาวชนโดยทางเจ้าหน้าที่รัฐจึงเป็นการกระทำที่ขัดกันกับข้อบทกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น
3. ประการสําคัญ การดําเนินคดีนี้กับผู้ต้องหาซึ่งเป็นเยาวชนเป็นไปโดยมีเหตุผลทางการเมือง รัฐบาลเลือกดําเนินคดีกับผู้ต้องหาที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับรัฐบาล เป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความคิดเห็นทางการเมือง ขัดกันกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 2 (2) ที่ระบุว่า รัฐภาคีจะต้องประกันสิทธิเด็กจากการเลือกปฏิบัติ
พฤติกรรมการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของรัฐบาลต่อผู้ร่วมทํากิจกรรมชุมนุม ยังเป็นการบังคับใช้กฎหมายเกินกว่าเจตนารมณ์ เพราะในวันและเวลาที่มีการจัดกิจกรรมขึ้นตามข้อกล่าวหา ประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายใหม่ภายในประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) ได้มีการออกข้อกําหนดเพื่อผ่อนปรนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด เนื่องจากสถานการณ์ที่คลี่คลายลง จึงไม่เข้าข่ายนิยาม “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ตามความหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวกับผู้ต้องหาและผู้ร่วมชุมนุมรายอื่นไม่ได้เป็นการบังคับใช้ตามเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค แต่มุ่งจํากัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เพื่อยับยั้งบุคคลไม่ให้มีความเห็นต่างจากรัฐ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนตามข่าวในสื่อว่ามีการดำเนินคดีอย่างเฉพาะเจาะจงกับตัวบุคคลโดยมีเหตุผลมาจากประเด็นทางการเมือง
จากเหตุผลทั้งหมดข้างต้น ผู้ต้องหาจึงมิได้ทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา เพราะเป็นการใช้สิทธิตามที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศ ดังนั้น การดำเนินคดีหรือสั่งฟ้องผู้ต้องหาจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ขอให้ทางอัยการได้มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบพยานเพิ่มเติม และพิจารณาให้มีความเห็นควรไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อไป
(อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรม ลงวันที่ 8 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25850) -
วันที่: 30-09-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมมีมี่และแม่พร้อมทั้งที่ปรึกษากฎหมายเข้ารับทราบข้อกล่าวเพิ่มเติมที่ สน.ลุมพินี หลังได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน ซึ่งระบุว่าอัยการมีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม
ร.ต.อ.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ รองสารวัตร (สอบสวน) สน.ลุมพินี ได้แจ้งพฤติการณ์คดีและข้อกล่าวหาให้มีมี่ทราบใหม่ว่า การชุมนุมเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2563 ที่แยกราชประสงค์นั้น เป็นความผิดฐาน "โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ร่วมกันกระทําด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางทางสาธารณะและการจราจร จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร, ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มโดยไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกําหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 13) ข้อ 1”
มีมี่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และเขียนข้อความเป็นภาษาญี่ปุ่นแทนการลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ลุมพินี ลงวันที่ 30 ก.ย. 2564)
-
วันที่: 07-10-2021นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชน มีคำสั่งฟ้องคดีมีมี่ และยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนฯ ในฐานความผิด ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะ และกีดขวางการจราจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 และ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114
หลังศาลรับฟ้อง ได้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา และนัดสอบคำให้การวันที่ 14 ธ.ค. 2564 -
วันที่: 14-12-2021นัด: สอบคำให้การมีมี่และแม่เดินทางไปศาล พร้อมที่ปรึกษากฎหมาย ศาลถามคำให้การ จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอต่อสู้ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เนื่องจาก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่บังคับใช้ระหว่างมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉฉฯ ตามคำให้การที่ยื่นในวันนี้
จําเลยทราบรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครแล้ว จําเลยคัดค้านรายงานฉบับดังกล่าวในบางประเด็น โดยจะขอยื่นคําคัดค้านต่อศาลภายใน 15 วัน
ที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยแถลงขอให้ศาลกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน โดยขอตรวจพยานเอกสารทุกอันดับ ยกเว้นคำให้การพยาน ศาลให้กำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน และให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามบัญชีพยานยกเว้นคำให้การพยาน และประกาศ ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
โจทก์แถลงขอสืบพยาน 7 ปาก ใช้เวลา 2 นัด ส่วนที่ปรึกษากฎหมายจำเลยแถลงสืบจำเลย 1 ปาก แต่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน นัดตรวจพยาน วันที่ 21 ก.พ. 2565 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.222/2564 ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2564)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มีมี่ (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มีมี่ (นามสมมติ)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์