สรุปความสำคัญ
การชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่หน้าศาลากลางหลังเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต รวม 3 คน ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์, “ไมค์” ภาณุพงศ์ และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 20-10-2020
-
ผู้ถูกละเมิด
- ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
- พริษฐ์ ชิวารักษ์
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 22-10-2020
-
ผู้ถูกละเมิด
- ภาณุพงศ์ จาดนอก
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
21 ส.ค. 2563 ที่ศาลากลางหลังเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพจเฟซบุ๊ก "เพื่ออยุธยา เพื่อประชาธิปไตย" จัดกิจกรรมอยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป โดยมีข้อเรียกสามข้อและสองจุดยืนตามคณะประชาชนปลดแอก
ในการชุมนุมพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นล้อมพื้นที่ชุมนุม ด้านขวาของเวทีมีการนำป้ายมาติด ระบุหน้าที่ของผู้ชุมนุมตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ 9 ข้อ และมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบกระจายตัวอยู่ประมาณ 20 นาย เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 50 นาย คอยถ่ายรูปบรรยากาศการชุมนุม ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ในช่วงเย็นยังพบโดรนซึ่งไม่ใช่ของผู้จัดงานบินอยู่เหนือที่ชุมนุม ผู้จัดกิจกรรมยังกล่าวว่า เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบได้มาขอรายชื่อทีมผู้จัดงานและผู้ปราศรัยในงานด้วย
ทั้งนี้ ผู้จัดกิจกรรมได้เชิญ พริษฐ์ ชิวารักษ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล มาร่วมปราศรัย โดยเนื้อหาการปราศรัยโดยสรุปมีดังนี้
พริษฐ์ปราศรัยถึงความเกี่ยวข้องของสถาบันกษัตริย์กับการรัฐประหารและกล่าวถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อจากเวทีธรรมศาสตร์และการชุมนุม โดยย้ำว่าไม่มีข้อใดเป็นการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น แต่เป็นความหวังดีที่อยากให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้อยู่ร่วมกับประชาชนในโลกสมัยใหม่ได้
ด้านภาณุพงศ์ ปราศรัยว่า โรงงานอุตสาหกรรมของนายทุนไม่เคยตอบแทนสิ่งใดให้ประชาชนในพื้นที่ นอกจากการริบเอาทรัพยากรไปใช้ แต่กลับก่อปัญหามลพิษต่างๆ สร้างความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ เขาย้ำว่า หากวันนี้พวกเราไม่สู้ก็จะอยู่อย่างทาส เราจะไม่สู้ไปกราบไป แต่จะสู้แบบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่อย่างแท้จริง รวมถึงการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อทุกเรื่องในประเทศไทย ภาณุพงศ์ยังเสนอให้ยกเลิกหมวด 2 มาตรา 6 ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112/113
เช่นเกียวกัน ปนัสยาปราศรัยถึงความไม่เท่าเทียมกันของการเป็นมนุษย์และการถือครองอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจทางสังคม รวมถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ พร้อมประกาศชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2563 (https://www.mobdatathailand.org/case-file/1602305845974/)
20 ต.ค. 2563 หลังจากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว พริษฐ์, ปนัสยา และณัฐชนน ไพโรจน์ 3 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากคดีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป พริษฐ์, ปนัสยา และณัฐชนน ก็ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำอำเภอธัญบุรี แต่พริษฐ์และปนัสยากลับถูกตำรวจ สน.ชนะสงคราม เข้าอายัดตัวต่อทันที ควบคุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เพื่อแจ้งข้อหาตามหมายจับในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร
นอกจากนี้ พนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ก็ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีจากการปราศรัยในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 โดยมีข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะที่ภาณุพงศ์ถูกพนักงานสอบสวนเข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีเดียวกันนี้ขณะถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563
21 ธ.ค. 2563 ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ระหว่างที่ทั้งสามเข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกับอีก 5 นักกิจกรรม ในคดี #ม็อบ29พฤศจิกา ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ได้ พนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการปราศรัยในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 อีกด้วย
(อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/photos/a.668860109830513/3352987061417791/ และ https://tlhr2014.com/archives/24430)
ในการชุมนุมพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนำแผงเหล็กมากั้นล้อมพื้นที่ชุมนุม ด้านขวาของเวทีมีการนำป้ายมาติด ระบุหน้าที่ของผู้ชุมนุมตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ 9 ข้อ และมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบกระจายตัวอยู่ประมาณ 20 นาย เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 50 นาย คอยถ่ายรูปบรรยากาศการชุมนุม ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ในช่วงเย็นยังพบโดรนซึ่งไม่ใช่ของผู้จัดงานบินอยู่เหนือที่ชุมนุม ผู้จัดกิจกรรมยังกล่าวว่า เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบได้มาขอรายชื่อทีมผู้จัดงานและผู้ปราศรัยในงานด้วย
ทั้งนี้ ผู้จัดกิจกรรมได้เชิญ พริษฐ์ ชิวารักษ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล มาร่วมปราศรัย โดยเนื้อหาการปราศรัยโดยสรุปมีดังนี้
พริษฐ์ปราศรัยถึงความเกี่ยวข้องของสถาบันกษัตริย์กับการรัฐประหารและกล่าวถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อจากเวทีธรรมศาสตร์และการชุมนุม โดยย้ำว่าไม่มีข้อใดเป็นการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น แต่เป็นความหวังดีที่อยากให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้อยู่ร่วมกับประชาชนในโลกสมัยใหม่ได้
ด้านภาณุพงศ์ ปราศรัยว่า โรงงานอุตสาหกรรมของนายทุนไม่เคยตอบแทนสิ่งใดให้ประชาชนในพื้นที่ นอกจากการริบเอาทรัพยากรไปใช้ แต่กลับก่อปัญหามลพิษต่างๆ สร้างความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ เขาย้ำว่า หากวันนี้พวกเราไม่สู้ก็จะอยู่อย่างทาส เราจะไม่สู้ไปกราบไป แต่จะสู้แบบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่อย่างแท้จริง รวมถึงการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อทุกเรื่องในประเทศไทย ภาณุพงศ์ยังเสนอให้ยกเลิกหมวด 2 มาตรา 6 ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112/113
เช่นเกียวกัน ปนัสยาปราศรัยถึงความไม่เท่าเทียมกันของการเป็นมนุษย์และการถือครองอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจทางสังคม รวมถึงข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ พร้อมประกาศชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2563 (https://www.mobdatathailand.org/case-file/1602305845974/)
20 ต.ค. 2563 หลังจากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว พริษฐ์, ปนัสยา และณัฐชนน ไพโรจน์ 3 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากคดีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป พริษฐ์, ปนัสยา และณัฐชนน ก็ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำอำเภอธัญบุรี แต่พริษฐ์และปนัสยากลับถูกตำรวจ สน.ชนะสงคราม เข้าอายัดตัวต่อทันที ควบคุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เพื่อแจ้งข้อหาตามหมายจับในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร
นอกจากนี้ พนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ก็ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีจากการปราศรัยในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 โดยมีข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะที่ภาณุพงศ์ถูกพนักงานสอบสวนเข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีเดียวกันนี้ขณะถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563
21 ธ.ค. 2563 ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ระหว่างที่ทั้งสามเข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกับอีก 5 นักกิจกรรม ในคดี #ม็อบ29พฤศจิกา ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ได้ พนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการปราศรัยในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 อีกด้วย
(อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/photos/a.668860109830513/3352987061417791/ และ https://tlhr2014.com/archives/24430)
List คดี
ภูมิหลัง
-
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
-
พริษฐ์ ชิวารักษ์อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์