ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ. 671/2564

ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ. 671/2564

ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ. 671/2564

ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 671/2564
ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 671/2564
ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 671/2564
ผู้กล่าวหา
  • ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา

ความสำคัญของคดี

“เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการปราศรัยถึงข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่หน้าศาลากลางหลังเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

สุขุม สุรักษ์กิตติกุล พนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรยายคำฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า

ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีรัชกาลที่ 9 ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2489 ถึงวันที่ 23 ต.ค. 2559 และรัชกาลที่ 10 ทรงครองราชย์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 จําเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมายรวม 2 กรรม กล่าวคือ

1. จำเลยทั้งสามได้ขึ้นกล่าวปราศรัยต่อหน้าประชาชนจํานวนมากซึ่งร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า)

พริษฐ์ ชิวารักษ์ จําเลยที่ 1 กล่าวถึงการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันจนกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย โดยเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองและการรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมย้ำความจำเป็นของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้กลับมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 2 กล่าวถึงการที่ ร.10 เสด็จไปอยู่เยอรมนี และเรียกร้องให้เสด็จกลับมาทรงงานให้ประชาชน พร้อมย้ำข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ว่า ไม่ได้ต้องการจะล้มล้าง แต่เจตนาที่จะทำให้พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยแท้จริง

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 3 กล่าวถึงการที่ประชาชนไทยไม่สามารถกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะโครงสร้างสังคมสร้างความกลัวกดทับประชาชนมาโดยตลอด พร้อมกับกล่าวทบทวนถึงข้อเสนอทั้ง 10 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม โดยย้ำว่าเป็นข้อเสนอเพื่อการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่กับประชาชนได้

อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายพระมหากษัตริย์ และบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการยุยงปลุกปั่นประชาชน เพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนที่ได้รับฟังคําปราศรัยดังกล่าว จนอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับฟังคําปราศรัยดังกล่าว ได้มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับจําเลยทั้งสามด้วยการตะโกน ตอบโต้ โห่ร้อง ปรบมือสนับสนุน อันเป็นการทําให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

2. จําเลยทั้งสามได้ร่วมกันปราศรัย แสดงความคิดเห็น ต่อหน้าประชาชนที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า) โดยการใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้า โดยจําเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • หลังจาก "เพนกิน" พริษฐ์ และ "รุ้ง" ปนัสยา นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 จากเรือนจำอำเภอธัญบุรี แต่ทั้งสองกลับถูกตำรวจ สน.ชนะสงคราม เข้าอายัดตัวต่อทันที ควบคุมตัวไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เพื่อแจ้งข้อหาตามหมายจับในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอํานาจคืนราษฎร

    นอกจากนี้ พ.ต.ท.สุรศักดิ์ บัวภาคำ รอง ผกก. (สอบสวน) และ พ.ต.ต.กัมพล อินทีวงศ์ สว.(สอบสวน) สภ.พระนครศรีอยุธยา ก็ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีจากการปราศรัยในการชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563

    บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุว่า พริษฐ์และปนัสยาได้ร่วมกับภาณุพงศ์จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐบาลและปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาหลังเก่า โดยได้ร่วมกันพูดปราศรัย ป่าวประกาศ โฆษณาด้วยการขยายเสียงผ่านเครื่องขยายเสียง เรียกร้องให้รัฐบาล แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยได้ถอดเทปคำปราศรัยบางช่วงตอนของทั้งสองคน มีใจความโดยสรุปว่า

    พริษฐ์กล่าวถึงการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันจนกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย โดยเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองและการรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมย้ำความจำเป็นของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้สถาบันฯ ประชาชน และระบอบประชาธิปไตย สามารถไปร่วมกันได้

    ปนัสยากล่าวถึงการที่ประชาชนไทยไม่สามารถกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะโครงสร้างสังคมสร้างความกลัวเข้ามากดทับ โดยกล่าวถึงสถานะที่ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ไม่มีใครสูงส่งกว่าและเกิดมาเลือดสีน้ำเงิน พร้อมกับกล่าวทบทวนถึงข้อเสนอทั้ง 10 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม โดยย้ำว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่ใช่การล้มเจ้า แต่เป็นข้อเสนอเพื่อการปรับตัว

    พนักงานสอบสวนระบุว่า การกระทําของผู้ต้องหาเจตนาประสงค์ต่อผลเพื่อโน้มน้าว จูงใจ ปลุกระดม ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในประชาชนทั้งในที่ชุมนุมและทั่วราชอาณาจักรให้ต่อต้านรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ

    จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา “ร่วมกันกระทําการให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทําภายในความหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดการความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และร่วมกันทําใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

    พริษฐ์และปนัสยาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา บก.ตชด.ภาค 1 ลงวันที่ 20 ต.ค. 2563 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/photos/a.668860109830513/3352987061417791/)
  • ขณะที่ "ไมค์" ภาณุพงศ์ ถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ระหว่างสอบสวนในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร พ.ต.ท.สุรศักดิ์ บัวภาคำ และ พ.ต.ต.กัมพล อินทีวงศ์ ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีนี้ถึงในเรือนจำ

    บันทึกแจ้งข้อกล่าวหามีรายละเอียดเช่นเดียวกับของพริษฐ์และปนัสยา โดยระบุคำปราศรัยของภาณุพงศ์ที่ผู้กล่าวหาเห็นว่าเป็นการยุยงปลุกปั่นประชาชน ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการที่ ร.10 เสด็จไปอยู่เยอรมนี พร้อมย้ำข้อเรียกร้องของประชาชนว่าไม่ได้ต้องการจะล้มล้าง แต่เจตนาที่จะทำให้พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยแท้จริง

    พนักงานสอบสวนแจ้ง 2 ข้อกล่าวหากับภาณุพงศ์เช่นเดียวกัน โดยภาณุพงศ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 22 ต.ค. 2563)
  • หลังศาลอาญาไม่อนุญาตให้ฝากขังปนัสยา, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และแบงค์ -ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ต่อในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยอ้างถึงสิทธิของผู้ต้องหา มิให้มีการขังเกินกว่าความจำเป็นจนกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ประชาชนได้มารอรับการปล่อยตัวทั้ง 4 คน ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่พบว่ามีรถเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปภายในเรือนจำ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องการถูกอายัดตัวต่อ

    เวลา 19.50 น. ปติวัฒน์ได้รับการปล่อยตัว และได้แจ้งกับผู้สื่อข่าวและประชาชนว่าพริษฐ์และภาณุพงศ์ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาควบคุมตัวต่อ แต่เขาไม่สามารถบอกรายละเอียดได้แน่ชัด ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ยังไม่อนุญาตให้ทนายความเข้าไปพบทั้งสองคน

    เวลาประมาณ 20.00 น. มีการยืนยันว่าทั้งปนัสยา, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ประชาชื่นเข้าอายัดตัวตามหมายจับคดีการชุมนุมที่จังหวัดนนทบุรีและอยุธยา ขณะที่พริษฐ์ยังมีหมายจากการชุมนุมที่จังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย

    ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 22 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของท้องที่ได้เข้าแจ้งกล่าวหาทั้งสามในคดีดังกล่าวแล้ว ทำให้หมายจับสิ้นผลไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 68 พริษฐ์และภาณุพงศ์จึงปฏิเสธการถูกควบคุมตัวขึ้นรถตำรวจ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการควบคุมตัวมิชอบ ขณะที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ทนายความเข้าไปติดตามการควบคุมตัวลูกความ

    20.40 น. ระหว่างเกิดการโต้เถียงเรื่องอำนาจการอายัดตัว พ.ต.อ.อิทธิเชษฐ์ วงศ์หอมหวล ผกก.สน.ประชาชื่น ให้สัมภาษณ์ว่าการอายัดตัวดำเนินการตามหมายจับของ สภ.เมืองนนทบุรี, สภ.พระนครศรีอยุธยา และ สภ.เมืองอุบลราชธานี โดยสถานีตำรวจต้นทางได้แจ้งอายัดไว้และยังไม่ได้แจ้งยกเลิกหมายจับมา

    ขณะทนายความยืนยันว่าคดีทั้งหมด ทั้ง 3 คนได้ถูกแจ้งข้อหาไปหมดแล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถอายัดตัวต่อได้ เนื่องจากหมายจับสิ้นผลไปแล้ว พร้อมนำเอกสารบันทึกการแจ้งข้อหาในคดีเหล่านั้นให้ตำรวจตรวจดู และขอให้ประสานตำรวจจากสถานีตำรวจต้นทางเพื่อถอนการอายัด เพื่อจะได้ไม่ต้องควบคุมตัวทั้งสามคนให้สูญเสียอิสรภาพต่ออีก

    21.10 น. ระหว่างทนายตรวจเอกสารกับตำรวจอยู่ด้านนอก เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบกลับได้คุมตัวพริษฐ์และภาณุพงศ์ขึ้นรถผู้ต้องขังออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไป โดยไม่ได้ใช้ประตูหลักที่ผู้สื่อข่าวและประชาชนรอรับอยู่ ทำให้ไม่มีใครเห็นตัว ก่อนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เองจะยืนยันว่ามีการนำตัวทั้งสองออกไปแล้ว พร้อมกันนั้นที่ทัณฑสถานหญิงกลาง เจ้าหน้าที่จาก สน.ประชาชื่น ได้นำตัวปนัสยาขึ้นรถยนต์ของตำรวจออกไปด้วยเช่นกัน

    ระหว่างนั้นทั้งผู้สื่อข่าวและมีประชาชนเผยแพร่คลิปด้วยว่า ในระหว่างการควบคุมตัวพริษฐ์-ภาณุพงศ์ มายัง สน.ประชาชื่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งขับรถจนเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของประชาชน ทำให้รถเสียหายและประชาชนได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหายได้ติดตามมาแจ้งความที่สน.ประชาชื่นด้วย

    21.25 น. ที่ สน.ประชาชื่น ผู้สื่อข่าวและประชาชนพบตัวพริษฐ์และภาณุพงศ์ถูกคุมตัวอยู่บนรถคุมตัวผู้ต้องขังของตำรวจ พริษฐ์แจ้งว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้กำลังล็อกคอพวกตนทั้งสองขึ้นรถ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ และภาณุพงศ์ได้หมดสติไปบนรถควบคุมตัวนั้น ทำให้มีเหตุชุลมุนเกิดขึ้น เนื่องจากประชาชนที่ติดตามมาเร่งให้นำทั้งสองคนลงจากรถมารักษาพยาบาล แต่ตำรวจยังไม่ยินยอม

    21.41 น. รถยนต์ตำรวจ สน.ประชาชื่น นำตัวปนัสยามาถึง เจ้าหน้าที่นำตัวปนัสยาแยกขึ้นไปห้องสอบสวน และให้นำพริษฐ์และภาณุพงศ์ลงจากรถคุมตัว โดยต้องอุ้มภาณุพงศ์ซึ่งเป็นลมไม่ได้สติ ขณะที่พริษฐ์ก็มีอาการบาดเจ็บ มีเลือดออก และอิดโรย รวมทั้งมีอาการหอบหืดซึ่งเป็นโรคประจำตัว นพ.ทศพร เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้เข้ามายืนยันว่าต้องนำตัวทั้งสองคนส่งโรงพยาบาล

    21.56 น. ภาณุพงศ์ถูกนำตัวขึ้นรถกู้ภัยไปส่งยังโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ โดยมี นพ.ทศพรและเพื่อนติดตามไปด้วย ส่วนพริษฐ์ซึ่งได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจนมีอาการดีขึ้นได้แถลงหน้า สน.ประชาชื่น ถึงการถูกควบคุมตัวโดยมิชอบขึ้นรถมาโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 4-5 นาย และยืนยันว่าตำรวจไม่มีอำนาจควบคุมตัวพวกตนอีกแล้ว จึงจะอารยะขัดขืนนั่งหน้า สน. จนกว่าตำรวจจะยอมรับว่าไม่มีอำนาจจับกุม หากเจ้าหน้าที่ยืนยันจะอายัดตัวต่อจากหมายจับที่สิ้นผลแล้ว จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เรื่องการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

    23.10 น. พริษฐ์ประกาศว่า ได้รับแจ้งว่า สภ.เมืองอุบลฯ และ สภ.เมืองนนทบุรี ถอนหมายจับแล้ว แต่ตำรวจ สภ.พระนครศรีอยุธยา กำลังเดินทางมาที่ สน.ประชาชื่น เมื่อมาถึงประชาชนไม่ต่ำกว่า 500 คน หน้าสถานีพร้อมใจตะโกน #ปล่อยเพื่อนกู ส่วนพริษฐ์ประกาศให้ตำรวจถอนหมายจับตามกฎหมายที่ควรจะเป็น หากไม่ถอนก็ให้เข้ามาจับกุมเขาภายใน 15 นาทีนี้ ด้าน สน.ประชาชื่นนำกำลังเจ้าหน้าที่มาเสริมพื้นที่

    (อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3381108888605608)
  • ไทยรัฐรายงานว่า เวลา 01.20 น. รถของเจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังเข้าพื้นที่โรงพยาบาลพระราม 9 ซึ่ง ไมค์-ภาณุพงศ์ พักรักษาตัวอยู่

    ด้านพริษฐ์ แหวน พยาบาลอาสาซึ่งให้การปฐมพยาบลกล่าวว่า มีอาการปวดบวมทั้งศีรษะ ไหล่ และแขนด้านขวา ฝ่าเท้ามีสะเก็ดเศษแก้วฝังอยู่เกือบ 20 ชิ้น ในศีรษะเกือบ 100 ชิ้น ในหูเกือบ 7 ชิ้น แม้จะนำออกบ้างแล้วแต่ยังไม่หมด ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ในตอนแรก ภาณุพงศ์มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติและความดันต่ำ หากอยู่ในที่แคบหรือขาดอากาศหายใจจะมีอาการวูบและน็อคได้ ส่วนพริษฐ์มีโรคประจำตัวคือโรคหอบหืด ทำให้การถูกคุมตัวในรถตำรวจวันนี้ส่งผลต่อทั้งคู่มากกว่าคนทั่วไป และทำให้สุขภาพทั้งคู่เสี่ยงอันตรายมากกว่าปกติ

    03.10 น. พ.ต.อ.เอกราช อุ่นเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.อยุธยา ชี้แจงว่าจะสอบสวน ปนัสยา-พริษฐ์-ภาณุพงศ์ ที่ สน.ประชาชื่น ให้เสร็จคืนนี้ และทั้งสามมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อรับการตรวจรักษาจากแพทย์ ส่วนประชาชนต้องการให้เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าจะไม่ยื่นคำร้องขอฝากขังหลังสอบสวนเสร็จ พ.ต.อ.เอกราช ไม่ให้คำตอบชัดเจน

    หลังตำรวจทำบันทึกจับกุมปนัสยาและพริษฐ์เสร็จ ทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และถูกนำตัวขึ้นรถโรงพยาบาลไปโรงพยาบาลพระราม 9 โดยมีปิยบุตร แสงกนกกุล และ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ เดินทางไปด้วย ประชาชนหน้า สน.ประชาชื่น จึงแยกย้ายกลับ

    06.15 น. ตำรวจจาก สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้แสดงตัวจับกุมภาณุพงศ์ที่ห้องผู้ป่วยของโรงพยาบาลพระราม 9 ขณะที่ภาณุพงศ์ปฏิเสธการจับกุม เนื่องจากการจับกุมเริ่มตั้งแต่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้ว ไม่ใช่ที่โรงพยาบาลตามที่ตำรวจได้แจ้งการจับกุม ภาณุพงศ์ยังยืนยันสิทธิของผู้ต้องหาเมื่อได้รับการบาดเจ็บต้องได้รับการรักษาตัวต่ออยู่ที่โรงพยาบาลนี้

    ++ พนักงานสอบสวนอยุธยา อ้างยังต้องคุมตัวผู้ต้องหาไว้ แม้สอบสวนเสร็จแล้ว รอส่งอัยการ ++

    เวลา 13.30 น. พ.ต.ต.กัมพล อินทีวงศ์ พนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งควบคุมตัว รุ้ง-ไมค์-เพนกวิน ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ได้นำตัวทั้งสามไปศาล ระบุในคำร้องว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 63 เวลา 03.30 น. ตำรวจกองสืบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้จับกุมเพนกวินและรุ้ง ผู้ต้องหาที่ 1 และ 3 ที่ สน.ประชาชื่น และในเวลา 06.00 น. ได้จับกุม ไมค์ ผู้ต้องหาที่ 2 ที่โรงพยาบาลพระราม 9

    ทั้งนี้ การสอบสวนได้เสร็จสิ้นแล้ว แต่สำนวนการสอบสวนอยู่ระหว่างเสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาลงความเห็น จึงยังไม่สามารถส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการได้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสามไว้ระหว่างรอส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ อีกทั้งคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าหากปล่อยตัวไป ผู้ต้องหาทั้งสามจะไปก่อความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

    เป็นที่น่าสังเกตว่า คำร้องของพนักงานสอบสวนดังกล่าวไม่ระบุระยะเวลาที่ขอทำการควบคุมตัวผู้ต้องหาเอาไว้ด้วย

    ขณะเดียวกันที่ รพ.พระราม 9 ที่ทั้ง 3 คน พักรักษาอาการบาดเจ็บอยู่ ได้มีตำรวจในเครื่องแบบราว 6 นาย เฝ้าอยู่ด้านหน้าลิฟต์

    ++ ทนายคัดค้าน: หมายจับสิ้นผลแล้ว-ไม่มีความจำเป็นต้องคุมตัว-ผู้ต้องหาได้รับบาดเจ็บ ++

    13.53 น. ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไต่สวนคำร้องขอควบคุมตัวของพนักงานสอบสวน หลังทนายความของนักกิจกรรมทั้งสามคนยื่นคัดค้านคำร้องของพนักงานสอบสวน และขอให้ศาลไต่สวน โดยมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

    ผู้ต้องหาทั้งสามได้ปรากฏต่อหน้าพนักงานสอบสวนแล้ว ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 และพนักงานสอบสวน สภ.พระนครศรีอยุธยาได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาทั้งสาม และได้ทำการสอบคำให้การเสร็จ พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ครบถ้วน ผู้ต้องหาทั้งสามได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา กระบวนการดังกล่าวย่อมถือว่าได้ดำเนินการตามหมายจับแล้ว หมายจับย่อมสิ้นผลไปตามกฎหมาย ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนแล้วว่าพนักงานสอบสวนไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดที่จะต้องฝากขังผู้ต้องหาไว้ต่อศาล

    พฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาตามคำร้อง ชัดแจ้งว่าเพียงแต่เกี่ยวกับเรื่องการใช้เสรีภาพในการชุมนุม โดยเป็นการชุมนุมที่สงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ

    ผู้ต้องหายังเป็นเพียงนักศึกษา และมีภูมิลำเนาอยู่คนละที่เกิดเหตุ ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ พยานหลักฐานในคดีนี้ก็อยู่ในความดูแลของพนักงานสอบสวนแล้วทั้งสิ้น ผู้ต้องหาจึงไม่อาจยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานใดๆ ได้อีก จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเอาตัวผู้ต้องหาไว้ในอำนาจศาล

    อีกทั้งในคำร้องคัดค้านของทนายความยังได้ระบุถึงข้อเท็จจริงที่นายภาณุพงศ์ จาดนอก มีอาการเจ็บป่วยหัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลีย จนเป็นลม, นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้รับบาดเจ็บกระจกบาดทั่วร่างกาย และกระจกเข้าในหู และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล มีอาการอ่อนเพลีย หากทั้งสามต้องอยู่ในความควบคุมระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ย่อมจะเป็นการควบคุมตัวที่เกินจำเป็น

    สุดท้าย คำร้องคัดค้านได้ระบุว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นเครื่องมือแสดงออกซึ่งเจตจำนงอย่างเสรีของพลเมือง เป็นวิธีในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เพื่อเป็นเครื่องสะท้อนและกระตุ้นเตือน “รัฐบาล” ที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากการรัฐประหาร “สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม” จึงเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ซึ่งในทางสากลให้การยอมรับและตระหนักว่าเป็นสิ่งที่พลเมืองในแต่ละรัฐย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิดังกล่าว

    สำหรับการนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังในครั้งนี้ หากพนักงานสอบสวนเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปใช้เสรีภาพร่วมหรือทำกิจกรรมใดต่อไปในอนาคตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย พนักงานสอบสวนหรือ เจ้าหน้าที่รัฐก็สามารถที่จะใช้อำนาจในการจับกุม ออกหมายเรียก หรือดำเนินการตามกฎหมายได้เป็นคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ในคดีนี้ เพราะเป็นเสมือนการใช้ดุลพินิจพิจารณาไว้ในอนาคตแล้วว่าการทำกิจกรรมนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อันเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าของพนักงานสอบสวนเอง

    ++ ศาลสั่งยกคำร้องขอควบคุมตัว - ปล่อยตัวไม่อยู่ในอำนาจควบคุมตัวคดีใดอีก ++

    16.42 น. ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวน ที่ขอควบคุมตัวทั้งสามคน ระบุข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องได้สอบสวนเสร็จแล้วเหลือเพียงขั้นตอนความเห็นจากผู้บังคับบัญชาซึ่งพยานได้ให้การว่าสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องควบคุมตัวผู้ต้องหา ทั้งยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าจะมีการหลบหนีหรือไปก่อเหตุร้ายอันตรายประการอื่น อีกทั้งตัวต้องหายังมีอาการป่วยและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจึงไม่มีเหตุจำเป็นในการควบคุมตัว มีคำสั่งยกคำร้องขอควบคุมตัว

    จากคำสั่งศาล ทำให้ทั้งสามคนได้รับการปล่อยตัว รวมเวลาที่เพนกวินและรุ้งสูญเสียอิสรภาพไปเป็นระยะเวลา 17 วัน ส่วนไมค์ 15 วัน

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งควบคุมตัว และคำร้องคัดค้านคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ 31 ต.ค. 2564 และ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3381737551876075)
  • ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน ระหว่างที่ 8 นักกิจกรรมผู้ได้รับหมายเรียกจากการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหานั้น พนักงานสอบสวนจาก สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้ประสานงานเพื่อเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อพริษฐ์, ปนัสยา และภานุพงศ์ จากเหตุการชุมนุมในคดีนี้

    พ.ต.ท.สุรศักดิ์ และ พ.ต.ต.กัมพล ได้แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหานักกิจกรรมทั้งสามเช่นเดียวกับที่เคยแจ้งไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยระบุเพิ่มเติมว่า คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมแล้ว เห็นว่าพฤติการณ์และการกระทำของผู้ต้องหากับพวกนั้นเป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    หลังรับทราบข้อกล่าวหา ทั้งสามคนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธการลงลายมือชื่อ แต่ได้เขียนข้อความรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้มาตรา 112 ในช่องลงลายมือชื่อผู้ต้องหาแทน

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.บางเขน ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24430)
  • พนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยายื่นฟ้องพริษฐ์, ปนัสยา และภาณุพงศ์ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยไม่มีตัวจำเลย เนื่องจากพริษฐ์และภาณุพงศ์ถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีชุมนุมหน้า บก.ตชด.ภาค 1 ส่วนปนัสยาอยู่ระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจของศาลอาญาแล้ว

    อัยการระบุในท้ายคำฟ้องว่า หากจําเลยทั้งสามยื่นคําร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา โจทก์ขอคัดค้านเนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง

    หลังศาลรับฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ได้นัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 28 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น.
  • เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์แจ้งพริษฐ์ว่า ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะคอนเฟอเรนซ์ด้วย แต่พริษฐ์ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องมีทนายอยู่ด้วย ศาลจึงไม่ได้คอนเฟอเรนซ์มา
  • ภายหลังจากที่ทางศาลอาญาฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 20 ก.ย. 2564 แจ้งให้ ชลิตา บัณฑุวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่เป็นนายประกันของ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 6 ในคดีหมายเลขดำที่ อ.287/2564 (ชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) ส่งตัวไมค์ไปที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสอบถามในคดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564

    ทางนายประกันก็ได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องตอบกลับถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ระบุว่า ไม่สามารถส่งตัวไมค์ไปยังศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันเวลานัดได้ เนื่องจากไมค์ถูกฟ้องในอีกคดีหนึ่งเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564 (คดีจากการโพสต์จดหมายถึงกษัตริย์ในกิจกรรม #ราษฎรสาส์น เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2563) และศาลอาญาได้ออกหมายขังจำเลยไว้ จําเลยได้ยื่นคําร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 23 และ 24 ก.ย. 2564 แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขอให้ศาลอาญาแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวไปยังศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย

    นอกเหนือจากการแจ้งผ่านศาลอาญา ถึงนายประกันของไมค์ให้ส่งตัวไมค์ไป วันเดียวกันนี้ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังได้เบิกตัว “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งยังถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อสอบถามผ่านคอนเฟอเรนซ์ว่า เป็นบุคคลในคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยายื่นฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 หรือไม่

    อย่างไรก็ตาม เพนกวินได้ทักท้วงว่า ขอให้มีทนายความอยู่ร่วมในกระบวนการด้วย แต่ศาลยืนยันว่า ดำเนินการได้ เพราะแค่ยืนยันตัวจำเลยที่อัยการฟ้อง เพนกวินแถลงว่า เขายังไม่ได้คำฟ้องในคดี และขอคัดรายงานกระบวนพิจารณาของวันนี้ด้วย ศาลกล่าวตอบว่า ให้ทนายจำเลยมาขอคัดในภายหลัง เพนกวินจึงแถลงโต้ว่า เพราะว่าศาลไม่ยอมให้เขามีทนายเข้าร่วมกระบวนการ จึงไม่สามารถขอคัดเอกสารในวันนี้ได้เลย หลังเสร็จกระบวนการ ศาลได้กำหนดนัดสอบคำให้การจำเลยในคดีนี้ในวันที่ 19 พ.ย. 2564

    ทั้งนี้ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่ได้ส่งหมายนัดถึงรุ้งหรือนายประกันของรุ้งให้ไปในคราวเดียวกันกับไมค์และเพนกวินด้วย

    สำหรับเพนกวินและไมค์ ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยเพนกวินถูกขังมาแล้ว 52 วัน ในคดีจากการชุมนุม #19กันยาทวงคืนอำนาจราษฎร ซึ่งเขาถูกศาลอาญาถอนประกันโดยไม่มีการไต่สวน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ขณะที่ไมค์ ถูกขังรอบใหม่ได้ 6 วัน หลังเพิ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 จากการฝากขังในคดีชุมนุมหน้า บก.ตชด.ภาค 1 โดยถูกฝากขังอยู่ 38 วัน และติดโควิดในเรือนจำเป็นรอบที่ 2 ก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ประกัน

    (อ้างอิง: หนังสือขอให้ส่งตัวภาณุพงศ์ จาดนอก ศาลอาญา ลงวันที่ 20 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35835)
  • ทั้งพริษฐ์, ปนัสยา และภาณุพงศ์ ถูกขังอยู่ในเรือนจำในคดีอื่น ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงคอนเฟอเรนซ์ไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง ทั้งสามแถลงว่า ไม่ประสงค์ให้การผ่านคอนเฟอเรนซ์ ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนถามคำให้การไปเป็นวันที่ 8 ธ.ค. 2564 โดยให้เบิกตัวทั้งสามไปที่ศาล
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาระหว่างพิจารณาคดี เพื่อให้ปนัสยาได้ออกไปสอบปลายภาค หลังศาลอาญาให้ประกันในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และคดี #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว และศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกันในคดีแต่งครอปท็อปเดินสยามพารากอน

    ต่อมาเวลา 14.26 น. ฐพล ยามวินิจ มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาในคดีนี้ จำกัดเพียงถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 เท่านั้น เช่นเดียวกับศาลอื่น โดยระบุเหตุผลคล้ายกันว่า เนื่องจากจำเลยเป็นนักศึกษาอยู่ในช่วงสอบ และทํารายงานแทนการสอบเพื่อจบการศึกษา ทั้งนี้ ศาลให้ประกันโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ แต่มีเงื่อนไข 5 ข้อ เช่นเดียวกับคำสั่งของศาลอาญาในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และหากผิดสัญญาประกันจะปรับ 150,000 บาท เงื่อนไข 5 ข้อ ประกอบด้วย

    1. ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    2. ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล
    4. ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร
    5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

    ทำให้ปนัสยาได้รับอิสรภาพหลังถูกจองจำที่ทัณฑสถานหญิงกลางในคดีแต่งครอปท็อปเดินสยามพารากอนมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2564 รวมระยะเวลา 17 วัน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38500)
  • พริษฐ์และภาณุพงศ์ถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทฯ ส่วนปนัสยา จำเลยที่ 3 เดินทางมาศาล ผู้รับมอบฉันทะทนายจําเลยที่ 3 แถลงว่า จําเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งนรเศรษฐ์ นาหนองตูม เป็นทนาย แต่วันนี้ติดว่าความที่ศาลอื่น ไม่สามารถมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการสอบคําให้การจําเลยออกไปอีกสักนัด โดยขอให้กําหนดนัดสอบคําให้การจําเลยและตรวจพยานหลักฐานไปในวันเดียวกัน

    ด้านพริษฐ์ จําเลยที่ 1 และภาณุพงศ์ จําเลยที่ 2 แถลงว่าประสงค์จะแต่งตั้งนรเศรษฐ์ นาหนองตูม เป็นทนายความเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากทั้งสองถูกคุมขังอยู่ในเรือนจําฯ จึงยังไม่ได้ปรึกษาทนายความและยังไม่ได้ทําการแต่งตั้งนรเศรษฐ์เข้ามาเป็นทนายความในคดีนี้ ขออนุญาตเลื่อนคดีไปให้การในนัดหน้า

    โจทก์ไม่ค้าน ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสอบคําให้การ ประชุมคดีและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2564)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา ซึ่งมีกำหนดอนุญาตจนถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 โดยศาลมีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่งต่อคำร้องดังกล่าวในวันที่ 13 ม.ค. 2565 เวลา 13.30 น.

    คำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลย ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2564 จำนวน 6 วิชา โดยแต่ละวิชาจำเป็นต้องเข้าเรียน เข้าสอบ และจัดทำรายการส่งตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

    ทั้งมีรายวิชาการวิจัยรายบุคคล ที่ต้องเก็บข้อมูลภาคสนาม ต้องค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ รวมถึงพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ หากจำเลยไม่สามารถทำการศึกษาวิจัยตามกระบวนการ และไม่ผ่านรายวิชาดังกล่าวซึ่งเป็นวิชาบังคับของหลักสูตร จะไม่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตรได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษา และอนาคตของจำเลย

    อีกทั้ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จำเลยได้พิสูจน์ตนด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโดยเคร่งครัด ไม่เคยกระทำการใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงจะผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะไม่ได้ไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นแต่อย่างใด

    คำร้องได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยจำเลยยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขของศาลเช่นเดิมทุกประการ

    (อ้างอิง: คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 11 ม.ค. 2565)
  • เวลา 15.30 น. ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอ่านคำสั่งผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มายังศาลอาญา โดยอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาต่อเช่นกัน พร้อมทั้งยกเลิกกำหนดระยะเวลาของคำสั่ง โดยให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ยังคงเงื่อนไข 3 ข้อ เช่นเดียวกับคำสั่งศาลอาญาในวันนี้ คือ

    1. ห้ามทำกิจกรรม เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อความวุ่นวายต่อบ้านเมือง
    2. ห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสภาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาล
    3. ห้ามเดินทางออกนอกราบอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

    ทั้งนี้ หากศาลอาญามีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ให้ทนายความนำส่งคำสั่งดังกล่าวส่งต่อศาล เพื่อประกอบการพิจารณาภายใน 7 วัน

    ก่อนหน้านี้ ศาลไม่ได้กำหนดเงื่อนไข “การห้ามกระทำการใดๆ กระทบกระเทือนถึงศาลในทุกด้าน” แต่คำสั่งให้ประกันครั้งนี้ได้เพิ่มเงื่อนไขส่วนนี้เข้ามา

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39550)
  • นัดตรวจพยานในวันนี้ แต่ทนายจำเลยที่1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายแถลงว่าได้รับแต่งตั้งมาในวันนี้ แต่ติดนัดที่ สน.นางเลิ้ง ในคดี 112 ของฮาร์ท สุทธิพงศ์ และทนายจำเลยที่ 2-3 แถลงว่า ยังไม่ได้รับคำฟ้อง จึงขอเลื่อนคดีออกไปอีกนัดหนึ่ง

    ศาลอนุญาตโดยเลื่อนไปวันที่ 4 เม.ย. 2565 จะสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันเดียวกันให้เสร็จสิ้น

    บรรยากาศที่ศาล ตำรวจวางกำลังเต็มหน้าศาล มีรถตู้จอดอยู่ 4คัน สภ.เสนา สภ.วังน้อย สภ.พระนครศรีอยุธยา
    ในห้องพิจารณาก็มีเจ้าหน้าที่รวมกันอีก 9 คน ขณะจำเลยมีแค่ 3 คน

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 8 ก.พ. 2565)
  • หลังวันที่ 9 ก.พ. 2565 ศาลอาญาอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในคดีที่มีหมายขังรวม 4 คดี ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในคดีนี้ โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

    ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุเหตุผลว่า จําเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรซึ่งมหาวิทยาลัยกําหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทํารายงานต่างๆ และเข้าสอบไล่ให้ครบตามกําหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย การขังจําเลยไว้ต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษา

    ยิ่งไปกว่านั้น ครอบครัวของจําเลยขณะนี้กําลังประสบปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นกิจการทุเรียนทอดที่จําเลยทําร่วมกับครอบครัว โดยจําเลยเป็นผู้บริหารจัดการหลัก ประกอบกับมารดาของจําเลยมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถบริหารจัดการกิจการ จําเลยจึงจำเป็นต้องออกมาช่วยเหลือครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

    นอกจากนี้ จำเลยถูกขังตามหมายขังของศาลนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้รับความยากลำบากในการใช้ชีวิตโดยปราศจากอิสรภาพเป็นอย่างมาก จึงตระหนักว่าจำเลยจะระมัดระวังไม่กระทำการใดให้ถูกฟ้องเป็นคดีขึ้นอีก

    อีกทั้งเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 ศาลได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 3 (ปนัสยา) โดยกำหนดเงื่อนไข “ห้ามจำเลยทำกิจกรรม เข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาล ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล โดยแต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา เป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ทำสัญญาประกันโดยไม่วางหลักประกัน หากผิดสัญญาปรับ 150,000 บาท” หากศาลกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวจำเลยเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของจำเลยที่ 3 จำเลยก็ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

    คำร้องยังได้หยิบยกกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด” เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณาให้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว

    เวลา 12.30 น. ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ระบุว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ทนายความจะระบุว่า จำเลยได้ยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ที่ศาลกำหนด ทว่าหลังศาลพิจารณาดูแล้ว ไม่ปรากฏว่าทนายความมีส่วนเกี่ยวข้องใดกับจำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบหรือยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว ดังนี้จึงเห็นควรให้ทนายความแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในส่วนนี้เสียก่อน

    ดังนั้น ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวใหม่ โดยแก้ไขเพิ่มเติมว่า “ทนายความได้ปรึกษาหารือกับจําเลยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจําเลยก็ยืนยันด้วยความสมัครใจในการปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล แต่เนื่องจากจําเลยยังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร จึงทําให้ไม่สามารถลงลายมือชื่อในคําร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวฉบับนี้ได้ด้วยตนเอง หากศาลพิจารณาคําร้องฉบับนี้แล้วเห็นว่าต้องการให้เกิดความชัดเจนว่าจําเลยได้เสนอ และยอมรับเงื่อนไขตามที่ทนายความได้ยื่นต่อศาลจริง ก็ขอให้ศาลเบิกตัวจําเลยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสอบถามในช่วงบ่ายนี้”

    ต่อมา เวลา 15.30 น. ศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องในวันที่ 11 ก.พ. 2565 เวลา 10.00 น. โดยให้เบิกภาณุพงศ์ฟังการไต่สวนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เนื่องจากการไต่สวนคำร้องในช่วงบ่ายวันนี้ จะไม่สามารถเบิกตัวจำเลยมาได้ทัน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 10 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40382)
  • เวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 9 ศาลเบิกตัวไมค์ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยมี ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มทำการไต่สวน

    ศาลถามว่าหากได้รับการปล่อยตัวไมค์จะยินยอมทำตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ เช่น ห้ามทํากิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่จะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไมค์ตอบว่าสามารถทำตามเงื่อนไขได้

    ศาลสอบถามถึงการแต่งตั้งผู้กํากับดูแลระหว่างได้รับปล่อยตัวชั่วคราว ไมค์แถลงว่า อยากให้แม่เป็นผู้กำกับดูแล ขณะนี้แม่ของตนกลับไปอาศัยอยู่บ้านที่ระยอง หากได้รับการปล่อยตัว ก็จะพาแม่มาพักอาศัยที่กรุงเทพฯ ด้วย เนื่องจากตารางชีวิตของตนในปีนี้ส่วนใหญ่ คือการต้องเดินทางไปขึ้นศาลในกรุงเทพฯ เพื่อต่อสู้คดี หากจะเดินทางจากระยองมาที่กรุงเทพฯ คงไม่สะดวกนัก

    จากนั้นศาลแจ้งว่าการไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จสิ้นจะไปหารือเรื่องการออกคำสั่งกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเสียก่อน จึงจะมาอ่านผลการพิจารณา

    เวลา 11.40 น. ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ โดยไม่ต้องวางหลักประกัน หากผิดสัญญาประกันจึงจะปรับ 150,000 บาท มีเงื่อนไข

    1. ห้ามจําเลยทํากิจกรรมหรือกระทําการใดๆ ที่จะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งห้ามกระทําการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล

    2. ห้ามจําเลยเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

    3. ห้ามจําเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

    4. ห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 18.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียน ไปสอบ หรือเหตุอื่น โดยได้รับอนุญาตจากศาล

    5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

    และให้แต่งตั้งมารดาของไมค์ เป็นผู้กำกับดูแลระหว่างได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาล

    จากผลจากคำสั่งดังกล่าว ไมค์ จะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในวันนี้ หลังถูกคุมขังมาแล้วทั้งหมด 142 วัน

    นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ในฐานะทนายความ ให้ข้อมูลว่าในวันที่ 21 ก.พ. 2565 ไมค์ยังต้องไปตามนัดพิจารณาคดีในนัดตรวจพยานหลักฐาน คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ศาลแขวงระยอง จากการจัดกิจกรรม ใคร สั่ง อุ้ม? วันเฉลิม และคดีมาตรา 112 #ม็อบ2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว ที่ศาลอาญา รวมถึงวันที่ 28 ก.พ. 2565 ที่ศาลอาญา ในนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานคดี 112 โพสต์ตั้งคำถาม ร.10 ในกิจกรรม “ราษฎรสาส์น”

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/40439)
  • หลังจากเย็นวันที่ 22 ก.พ. 2565 ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวินและอานนท์ใน 12 คดี โดยวางเงินประกันรวม 2,070,000 บาท ในวันนี้ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขอปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวินในคดีนี้ รวมทั้งยื่นคำร้องที่ศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลแขวงพระนครใต้ขอปล่อยตัวชั่วคราวเพนกวินในอีก 2 คดี

    ช่วงเย็น ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันเพนกวิน ระบุเงื่อนไขดังนี้ “อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ระหว่างพิจารณาตีราคาหลักประกัน 150,000 บาท กำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล”

    อย่างไรก็ตาม เพนกวินยังไม่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ เนื่องจากศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งให้ยื่นเอกสารการเรียนเพิ่มเติม จึงจะพิจารณาคำร้องขอประกัน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 23 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40716)
  • ปนัสยาและภาณุพงศ์ พร้อมผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยเดินทางไปศาลในนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยแถลงศาลว่า พริษฐ์ จำเลยที่ 1 ได้นัดศาลแขวงขอนแก่นไว้ก่อนแล้วขณะยังถูกคุมขังในเรือนจำ และขณะที่กำหนดนัดศาลนี้ จำเลยที่1 ยังถูกคุมขังในเรือนจำและตรวจสอบวันนัดตนไม่ได้ วันนี้พริษฐ์จึงไม่สามารถมาศาลนี้ได้ เนื่องจากเดินทางไปศาลแขวงขอนแก่นตามนัด จึงขอเลื่อนคดีในนัดนี้ออกไป โจทก์ไม่ค้าน ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีไปวันที่ 20 มิ.ย. 2565 เวลา 13.30 น. โดยให้นำส่งรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแขวงขอนแก่นภายใน 7 วัน

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คดีหมายเลขดำที่ อ.671/2564 ลงวันที่ 4 เม.ย. 2565)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์