ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ดำ อ. 3124/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ดำ อ. 3124/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
ดำ อ. 3124/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3124/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3124/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 3124/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รอง ผกก.สส.สน.บางเขน

ความสำคัญของคดี

อานนท์ นำภา, “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 ซ้ำอีกคดี หลังปราศรัยหน้า สน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ก่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา มาตรา 112 และมาตรา 116 จากการปราศรัยใน #ม็อบ29พฤศจิกา หน้ากรมทหารราบที่ 11 โดยการปราศรัยที่หน้า สน.บางเขน ได้หยิบยกเนื้อหาคำปราศรัยในประเด็น “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดี 112 และต้องเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันดังกล่าว

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

วิวัฒน์ ศิริชัยสุทธิกร พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 จําเลยทั้งสามกับพวกที่แยกดําเนินคดีต่างหาก ได้ร่วมกันกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน ดังนี้

1. ขณะที่จําเลยทั้งสามกับพวกเดินทางมาที่ สน.บางเขน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา กรณีการร่วมชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 จําเลยทั้งสามกับพวกได้ร่วมกันจัดให้มีการชุมนุมสาธารณะขึ้นบริเวณหน้า สน.บางเขน และกล่าวปราศรัยคัดค้านการทํางานของรัฐบาล กับแสดงความคิดเห็นให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้กํากับการ สน.บางเขน ก่อนเริ่มการชุมนุม

2. จําเลยทั้งสามกับพวกซึ่งเป็นแกนนำจัดการชุมนุม ไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เชื้อโควิด-19 แพร่ออกไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกรุงเทพมหานคร, คำสั่งผู้ว่าฯ และประกาศเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ

3. จําเลยทั้งสามกับพวกดังกล่าว ในฐานะผู้จัดการชุมนุมและผู้เข้าร่วมชุมนุมอีกประมาณ 150 คน ได้ร่วมกันชุมนุมสาธารณะหน้า สน.บางเขน โดยมีการกางเต็นท์ ตั้งขบวนแห่ ดัดแปลงรถซาเล้งให้เป็นเวทีปราศรัย อันเป็นการกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานของรัฐและรบกวนการใช้บริการสถานที่ในการติดต่อราชการของประชาชน

4. จําเลยทั้งสามกับพวกได้ร่วมกันปราศรัยโดยการใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า โดยไม่ได้รับอนุญาต

5. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล”

จําเลยที่ 1 (อานนท์) กล่าวปราศรัยบนเวทีตอนหนึ่งว่า

“...ทําไมเราต้องมาเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพราะว่าเรายังเห็น ณ วันนี้ว่าบ้านเมืองเรามันเป็นประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขยังทําได้ เราจึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระมหากษัตริย์ก็คือรัชกาลที่ 10 นี่แหละ เรากําลังชี้ข้อบกพร่องของท่านเพื่อให้ท่านปรับปรุงตัว ไม่ได้มีเหตุผลประการอื่นเลย อย่าให้คนต่างประเทศหรือคนไทยด้วยกันมาชี้หน้าด่าท่านได้ เป็นกษัตริย์เพียงเพราะพ่อท่านเป็นกษัตริย์มาก่อน อย่าให้เขามาชี้หน้าด่าท่าน เพราะว่าท่านผมก็เจ็บเหมือนกันเพราะผมเป็นคนไทย

นอกจากหลักธรรมของกษัตริย์แล้ว การละเมิดต่อกฎหมายที่เราคิดว่าท่านทําผิดท่านต้องปรับปรุงตัว การเอากองกําลังทหารเป็นของตัวเองอันนี้คือเรื่องผิด และการเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะไปเป็นของตนอันนี้ก็ขัดหลักการเต็มๆ พูดแล้วรับผิดชอบตัวเองใครจะแจ้งจับไปแจ้งเลย เพราะท่านโอนหุ้นซึ่งเป็นของหลวงไปเป็นของตัวเอง วันนี้ท่านอาจจะยังไม่โอนวัง โอนวัดพระแก้ว โอนสิ่งต่างๆ ไปให้คนอื่น แต่กฎหมายที่เปิดช่องอย่างนี้ นี่คือประเด็นที่เราบอกว่า พระราชบัญญัติจัดการทรัพย์สินมันมีปัญหา เพราะท่านโอนไปให้คนอื่นหมดกษัตริย์องค์ต่อไปจะเอาวังที่ไหนอยู่ จะมีราชบัลลังก์อยู่ได้ยังไง จะมีส่วนเกี่ยวกับประชาชนได้ยังไง ไม่มี เขาไม่เรียกกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย เขาจะเรียกกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือกษัตริย์ในระบอบเผด็จการนั่นเอง...”

จําเลยที่ 2 (พริษฐ์) กล่าวปราศรัยบนเวทีตอนหนึ่งว่า

“...เมื่อปีที่แล้วได้มีเหตุฉ้อฉลอย่างนึง ซึ่งเป็นหลักฐานว่าสถาบันกษัตริย์และรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เขาสมประโยชน์กัน นั่นคือการโอนกําลังพลราบ 11 รักษาพระองค์ และราบ 1 รักษาพระองค์ เข้าไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัฐบาลประชาธิปไตยที่เขาก็มีกษัตริย์ เช่น รัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลสเปน ที่ไหนก็มีทหารรักษาพระองค์ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ทหารรักษาพระองค์นั้นเขาไม่ได้ให้กษัตริย์
มาบังคับบัญชาด้วยตนเอง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดูแลความปลอดภัยให้กับองค์พระมหากษัตริย์ กษัตริย์เป็นจอมทัพแต่กษัตริย์ไม่ได้มีหน้าที่ไปบังคับบัญชาทหารโดยตรง

ปีที่แล้วมีการออกกฎหมายใหม่ว่า ต่อไปนี้กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ สังกัดขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ภายใต้หน่วยงานบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่ากษัตริย์มีกองทัพส่วนตัว ถามว่ากษัตริย์มีหน้าที่แค่เซ็นกฎหมายแล้วจะเอากองทัพไปบังคับบัญชาทําไม ...”

“...หรือว่าในนี้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเข่นฆ่าประชาชนใช่หรือไม่ ในเมื่อหน่วยงานที่ จักรภพ ภูริเดช สังกัดอยู่นั้นได้กลายเป็นหน่วยงานใต้บังคับบัญชาขององค์พระมหากษัตริย์โดยตรง ตามหลักการแล้วลูกน้องทําผิด หัวหน้าต้องรับผิดชอบ ถ้าจักรภพไปทําผิด ถ้าจักรภพไปอุ้มสุรชัยจริง ถ้าจักรภพไปอุ้มวันเฉลิมจริง ขอถามว่าแล้วผู้บังคับบัญชาโดยตรงก็คือพระบาทสมเด็จ จะต้องรับผิดชอบเป็นฆาตกรร่วมกันกับจักรภพ ใช่หรือไม่...”

“...นั่นแหละคือสิ่งที่ผมเห็นการที่สถาบันกษัตริย์จะแยกกองกําลังส่วนตัวก็ไม่ต่างอะไรกับฮิตเลอร์ ที่มีกองกําลังเป็นของตัวเองมาถึงฆ่าประชาชน…”

จําเลยที่ 3 (ชินวัตร) กล่าวปราศรัยบนเวทีตอนหนึ่งว่า

“มันจะไปผิดตรงไหนเพราะเราพูดความเป็นจริง ถ้าวันนี้ในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในที่ที่ถูกต้อง ไม่ลงมายุ่งกับการเมืองมันจะไม่เกิดการพูดถึงท่าน...”

“...ผมก็พูดอธิบายให้พี่น้องได้ฟังว่าเมื่อก่อนโน้น ธุรกิจทุกอย่าง มรดกทุกอย่างของพระมหากษัตริย์จะไปอยู่ส่วนกลาง สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถูกต้องไหมครับ ตอนนี้พอมีการเปลี่ยนผ่านรัชกาลที่ 10 ปุ๊บ เปลี่ยนกฎหมายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ แล้วมันจริงไหมละครับพี่น้อง”

ข้อความที่จําเลยทั้งสามกล่าวปราศรัยนั้น มิใช่การกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยจําเลยทั้งสามมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 และบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 อันเป็นการยุยงปลุกปั่นประชาชน ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถึงขนาดที่จะไปชุมนุมกดดันรัฐบาลและรัฐสภา และขู่เข็ญหรือบังคับให้พระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้ประชาชน อันจะก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3124/2564 ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่ สน. บางเขน “ไบรท์” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง เดินทางไปรับทราบข้อหาตามหมายเรียกผู้ต้องหา พร้อมกับนักกิจกรรมอีก 2 คน คือ "ตี้" วรรณวลี ธรรมสัตยา และพิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ โดยหมายเรียกของชินวัตรระบุข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีจากการปราศรัยหน้า สน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ในกิจกรรมแห่ขันหมากให้กำลังใจ 8 ประชาชน เข้ารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 เหตุ #ม็อบ29พฤศจิกา ขณะที่หมายเรียกของวรรณวลีและพิมพ์สิริเป็นข้อหาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ จากกิจกรรมเดียวกัน

    บรรยากาศช่วงเช้าบริเวณทางเข้า สน. บางเขน มีการกั้นแผงเหล็กหน้าประตูทางเข้า โดยให้ใช้ทางเข้า-ออกเพียงทางเดียว มีเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกระจายตัวตามแผงกั้นจำนวนหนึ่ง ภายใน สน.มีการตั้งจุดคัดกรองโควิด-19 ตรวจบัตรประชาชน และจดบันทึกชื่อผู้ที่มาติดต่อ

    พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี พนักงานสอบสวนได้แจ้งชินวัตรถึงพฤติการณ์ในคดีนี้ว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ผู้ต้องหากับพวกได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา แต่มีการจัดชุมนุมขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ไม่ได้แจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้ง และการชุมนุมนั้นกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ ประกอบกับการรวมตัว มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก เสี่ยงต่อการติดโรคระบาด และมีการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการแจ้งให้เลิกการชุมนุมแล้ว แต่ผู้ต้องหากับพวกไม่ปฏิบัติตามและไม่เลิกการชุมนุม เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในคดีนี้

    ในวันที่ผู้ต้องหาเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหานั้น ผู้ต้องหาได้ขึ้นพูดปราศรัยในการชุมนุมครั้งนี้ด้วย โดยมีเนื้อหาคำปราศรัยตอนหนึ่งว่า “…กรณีที่ผม โดนฟ้องก็คือเหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกา ที่หน้าราบ 11 คิดดูครับพี่น้อง แสดงว่าคนที่รักสถาบันรักได้แต่คนที่ใส่สีเหลืองใช่ไหม คนอย่างพวกเรามันรักไม่ได้เหรอ วันที่ 29 พฤศจิกา ผมก็พูดอธิบายให้พี่น้องได้ฟังว่า เมื่อก่อนโน้น ธุรกิจทุกอย่าง มรดกทุกอย่าง ของพระมหากษัตริย์จะไปอยู่ส่วนกลาง สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถูกต้องไหมครับ ตอนนี้พอมีการเปลี่ยนผ่านรัชกาลที่ 10 ปั๊บ เปลี่ยนกฎหมายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ แล้วมันจริงไหมละครับพี่น้อง ผมก็เลยพูดต่อว่าใน เมื่อท่านเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ในอนาคตสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเขาจะใช้อะไร แล้วมันจะผิดตรงไหนละครับ..”

    พนักงานสอบสวนระบุว่า คำปราศรัยดังกล่าวมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์พระราชอํานาจของกษัตริย์ถึงทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชมรดกและพระราชอํานาจโดยชอบธรรม เป็นการกล่าวโดยไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน แสดงถึงเจตนาบิดเบือนข้อมูลให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิด ทําให้ผู้ฟังเกิดความสับสน ไขว้เขว กล่าวร้ายต่อกษัตริย์ ให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันกษัตริย์

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาชินวัตรรวม 5 ข้อหา ได้แก่

    1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 "ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ"
    2. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10 ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    3. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 8 ร่วมกันชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออก หรือ รบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ทําการหน่วยงานของรัฐ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    4. ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 “ร่วมกันกระทําการ หรือดําเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ” มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
    5. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 “ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่” มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

    ชินวัตรให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งยังได้ให้การว่า ขอให้พนักงานสอบสวนส่งหนังสือไปสอบถามสํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อตรวจสอบว่าได้มีการออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงสถานะของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์จริงหรือไม่ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน

    หลังเสร็จกระบวนการ พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวชินวัตร โดยไม่ควบคุมตัวไว้ เนื่องจากมารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก

    ทั้งนี้ การปราศรัยในวันดังกล่าวยังมีนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อีก 2 ราย คือ อานนท์ นำภา และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ แต่ทั้งสองถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ระหว่างพิจารณาคดีในคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยยังไม่ได้รับการประกันตัว ซึ่งพนักงานสอบสวนจะเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาในเรือนจำต่อไป

    สำหรับชินวัตร ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่ 4 แล้ว ก่อนหน้านี้เขาถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากการปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา หน้ากรมทหารราบที่ 11, การชุมนุม #ม็อบ25พฤศจิกาไปscb และการชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.บางเขน ลงวันที่ 22 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27296)
  • เวลา 10.30 น. ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี รองผู้กํากับการ (สอบสวน) สน.บางเขน ในฐานะคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.2 ที่ 101/2564 เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหากับพริษฐ์และอานนท์ผ่านวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ในห้องเยี่ยมของทนาย โดยมีทนายความ และผู้ไว้วางใจเข้าร่วมรับฟังด้วย

    บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุว่า ต่อมา เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 อานนท์และพริษฐ์ได้เดินทางมาถึงที่บริเวณลานจอดรถด้านหน้า สน.บางเขน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในอีกคดี หลังจากนั้นแกนนําในกลุ่มผู้ชุมนุมนี้ได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัย โดยอานนท์ได้ขึ้นปราศรัยมีเนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ มีรายละเอียดบางตอนดังนี้

    “…เขาบอกว่าการต่อสู้ของพวกเราครั้งนี้ อันนี้เรียนตามตรงมันเลี่ยงที่จะโดน 112 ไม่ได้ เลี่ยงไม่ได้เพราะอะไรก็เพราะว่าพวกเรา มาชี้ข้อบกพร่องของสถาบันกษัตริย์ มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงข้อดีมันต้องพูดถึงข้อเสีย เพราะอย่างนั้นจะไม่มีการปฏิรูป ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ อย่างเดียว แล้วจะเอาข้อมูลอะไรไปปฏิรูป ….ถ้าผมไม่พูดถึงสถาบันกษัตริย์แล้วท่านจะปรับตัวได้อย่างไร ในเมื่อมีแต่คนสรรเสริญเยินยอ วันนี้เรามาพูดแทนพี่น้องทั้ง ประเทศ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ปฏิรูปมันไม่ใช่การล้มล้าง ผมเรียนตั้งแต่ต้นมันไม่ใช่การล้มล้าง อย่ามากล่าวหากัน แต่ถ้าท่านไม่ยอมปฏิรูปปีหน้าเจอกัน”

    “ทําไมเราต้องมาเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะว่าเรายังเห็น ณ วันนี้ ว่าบ้านเมืองเรามันเป็นประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขยังทําได้ เราจึงเรียกร้องให้มีการปฏิรูป… นอกจากหลักธรรมของกษัตริย์แล้ว การละเมิดต่อกฎหมายที่เราคิดว่าท่านทำผิดท่านต้องปรับปรุงตัว การเอากองกำลังทหารเป็นของตัวเองอันนี้คือเรื่องผิด และการเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะไปเป็นของตนอันนี้ก็ขัดหลักการเต็มๆ…”

    “…ใครก็ตามที่ไม่ทรงพระเจริญ ใครก็ตามที่ไม่ใส่เสื้อเหลืองมีโอกาสโดนทุกคนถ้าพูดความจริง และถ้าไม่ยกเลิก 112 ไม่มีทางปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้ เพราะเราจะไม่สามารถบอกว่าอันนี้มันมีอะไรบกพร่อง ถ้าติไม่ได้ ชมอย่างเดียว มันพาเราลงเหวรถคันนี้ นั่นคือเหตุผล จะแจ้งจับก็เชิญ เราก็พร้อมสู้คดี ขอบคุณดังๆ ไปยังศาลยุติธรรมด้วยที่ตํารวจไปขอออกหมายจับแล้วศาลไม่ออกให้ บอกว่าไอ้คนพวกนี้มันเป็นคนมีวินัย ออกหมายเรียกเราก็ไปเจอ ใช่ไม่ใช่ แล้วเจอกันที่ศาลครับพี่น้องตํารวจ เราจะเอารูปทุกรูปเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ข้อมูลทุกอย่างไปนําเสนอที่ศาล แล้วเจอกัน ท่านอย่าอ้าปากหวอเมื่อเจอรูปเหล่านั้น”

    พนักงานสอบสวนระบุว่า จากคําปราศรัยของอานนท์มีเนื้อหาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ ทําให้ผู้ที่ได้ฟังเข้าใจว่า ผู้พูดกําลังพูดถึงรัชกาลที่ 10 รัชกาลปัจจุบัน โดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นการกล่าวพาดพิง ให้ร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ ว่าเป็นการยักยอกเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะไปเป็นของตนเอง มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน สร้างความเสื่อมศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ชน จึงเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท รัชกาลที่ 10 ทําให้สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความเสียหาย

    ในส่วนของพริษฐ์ บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาได้ยกรายละเอียดคำปราศรัยมาเช่นกัน ก่อนระบุว่า คําปราศรัยของพริษฐ์มีเนื้อหาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ ทําให้ผู้ที่ได้ฟังเข้าใจว่า ผู้พูดกําลังพูดถึงรัชกาลที่ 10 รัชกาลปัจจุบัน เนื่องจากมีการใช้คําว่า “พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมุ่งชี้ประเด็นการโอนกําลังพลราบ 11 รักษาพระองค์ และราบ 1 รักษาพระองค์ ไปสังกัดภายใต้บังคับบัญชาของพระองค์ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ก้าวล่วงพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์โดยตรง

    ทั้งมีการกล่าวหาว่าทรงเป็นฆาตกร หรือผู้อยู่เบื้องหลังกรณีการอุ้มหายของบุคคลต่างๆ โดยมีการพูดเพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตามโดยขาดพยานหลักฐาน มีการเปรียบเทียบให้เป็นกองกําลังของฮิตเลอร์ โดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นการกล่าวพาดพิง ให้ร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งเป็นการกล่าวหาที่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน สร้างความเสื่อมศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ชน จึงเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท รัชกาลที่ 10 ทําให้สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความเสียหาย

    พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี จึงได้แจ้งข้อกล่าวเพนกวินและอานนท์ รวม 5 ข้อหา เช่นเดียวกับชินวัตร อานนท์และพริษฐ์ให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน เพนกวินยังได้บันทึกหมายเหตุด้วยปากกาไว้ท้ายบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าปัจจุบันข้าพเจ้าถูกควบคุมอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น หากพนักงานสอบสวนจะสอบสวนเพิ่มเติมหรือกำหนดนัดอื่น ข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะเดินทางไปพบพนักงานสอบสวน และหากพนักงานสอบสวนมีหมายจับก็ขอให้แสดงต่อข้าพเจ้าในวันนี้”

    ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมหน้า สน.บางเขน เพื่อให้กำลังใจนักกิจกรรม ที่เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 นี้ พ.ต.ท.อนันต์ วรสาตร์ รองผู้กำกับสืบสวน สน.บางเขน ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีนักกิจกรรมรวม 7 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, วรรณวลี ธรรมสัตยา และพิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ โดย 5 ราย เป็นผู้ที่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันดังกล่าวและถูกดำเนินคดีอีกคดี ได้แก่ อานนท์, พริษฐ์, พรหมศร, ชินวัตร และพิมพ์สิริ

    โดยเฉพาะอานนท์, พริษฐ์ และชินวัตร ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 ซ้ำอีกคดี จากการจากการหยิบยกเนื้อหาคำปราศรัยในประเด็น “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดี 112 และต้องเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันนั้น ส่วนภาณุพงศ์, พรหมศร, วรรณวลี และพิมพ์สิริ ถูกดำเนินคดีใน 4 ข้อหา ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ และอื่นๆ

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 27 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/28955)
  • ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวอานนท์และชินวัตรให้พนักงานอัยการ อัยการนัดฟังคำสั่งครั้งต่อไปวันที่ 2 ส.ค. 2564
  • อานนท์, ชินวัตร และพริษฐ์ มีนัดฟังคำสั่งอัยการ อัยการให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 2 ก.ย. 2564 เวลา 10.00 น. โดยทนายความรับทราบนัดทางโทรศัพท์แทนผู้ต้องหา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด
  • เนื่องจากอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบพยานเพิ่ม จึงให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 1 ต.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
  • อัยการให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 27 ต.ค. 2564 เวลา 10.00 น.
  • อัยการมีคำสั่งเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 26 พ.ย. 2564
  • พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี รองผู้กํากับการ (สอบสวน) สน.บางเขน เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในคดีนี้กับพริษฐ์และอานนท์ผ่านวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยระบุว่า การจัดกิจกรรมในวันเกิดเหตุมีพฤติการณ์ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ฝ่าฝืนประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2563 อันเป็นความผิดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 13 ส.ค. 2563

    ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 16 พ.ย. 2564)
  • ชินวัตรเดินทางไปที่ สน.บางเขน เพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในคดี หลัง พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี รองผู้กํากับการ (สอบสวน) สน.บางเขน มีหนังสือแจ้ง โดย พ.ต.ท.สราวุธ ได้แจ้งพฤติการณ์และข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับชินวัตรเช่นเดียวกับที่แจ้งพริษฐ์และอานนท์ วินวัตรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.บางเขน ลงวันที่ 17 พ.ย. 2564)
  • อัยการมีคำสั่งเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปในวันที่ 14 ธ.ค. 2564
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 มีคำสั่งฟ้องอานนท์, พริษฐ์ และชินวัตร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 8, 10, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34, 35 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4

    คดีนี้ทั้งพริษฐ์และอานนท์ ถูกตำรวจเข้าแจ้งข้อกล่าวหาขณะถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2564 ก่อนจะถูกฟ้องต่อศาลอาญาขณะที่ถูกคุมขังอีกครั้ง ส่วนชินวัตรซึ่งเดินทางไปฟังคำสั่งอัยการในวันดังกล่าว อัยการได้ส่งตัวให้ศาลพร้อมยื่นฟ้อง

    หลังศาลรับฟ้อง ทนายความได้ยื่นประกันตัวชินวัตรระหว่างพิจารณาคดี ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ ก่อนศาลอนุญาตให้ประกัน โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามทำผิดซ้ำ ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมทั้งนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 14 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3124/2564 ลงวันที่ 14 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38963)
  • เมื่อทนายความและญาติถึงห้องพิจารณาคดีแล้วถึงทราบว่าศาลมีคำสั่งว่า "มีเหตุอันควรให้เลื่อนนัดออกไป" เป็นวันที่ 14 มี.ค. 2565 เวลา 13.30 น. โดยยังไม่ทราบเหตุผลที่เป็นเหตุอันควรเลื่อนดังกล่าว
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ และอานนท์ ในคดีการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองที่มีหมายขังทั้งหมดของศาลอาญา ในส่วนของอานนท์รวมแล้ว 9 คดี ของเพนกวิน มีการยื่นประกัน 8 คดี รวมทั้งคดีนี้ซึ่งทั้งสองคนเป็นจำเลยและยังไม่เคยได้ยื่นประกันด้วย

    ทั้งสองได้ระบุในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกันในทุกคดีว่า จะไม่กระทําการใดๆ ให้สถาบันกษัตริย์เกิดความเสื่อมเสีย ไม่ทํากิจกรรมใดที่จะทําให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่เดินทางออกนอกประเทศ และพร้อมที่จะเดินทางมาศาลตามที่มีการนัดหมายทุกครั้ง รวมถึงยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ทั้งยังมีคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่า

    1. นับจนถึงวันนี้จําเลยถูกคุมขังไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีเกินกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งในคดีนี้พยานโจทก์และพยานจําเลยมีจํานวนมาก ยังไม่อาจกําหนดได้ว่าจะสามารถพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นเมื่อใด และยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ในการสืบพยานโจทก์ที่ผ่านมาให้เห็นถึงความผิดของจําเลย
    2. ในคดีหมายเลขดําที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา (คดี 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) ซึ่งมีจําเลยคนอื่น ๆ ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดร่วมกันกับจําเลยทั้งสองนี้ ศาลก็ได้มีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยในคดีนี้จํานวนหลายคน เช่น ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน บุญภัทรรักษา, ภาณุพงศ์ หรือไมค์ จาดนอก โดยศาลได้กําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้จําเลยปฏิบัติตาม ก็ปรากฏว่าจําเลยเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลได้เคร่งครัดทุกประการ และไม่ได้ผิดเงื่อนไขของศาลเลย ซึ่งจําเลยทั้งสองก็ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนดังเช่นจําเลยคนอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก่อนหน้านี้

    เวลา 16.30 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดของศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และเพนกวินในทุกคดี ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีโดยรวมแล้ว กรณีเห็นควรให้โอกาสจําเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาลสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณามีกําหนดเวลา 3 เดือน (ครบกําหนดวันที่ 22 พ.ค. 2565) กําหนดเงื่อนไข

    1. ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทําการใด ๆ อันจะทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
    2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM
    4. ห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 21.00 – 06.00 น. เว้นแต่มีเหตุจําเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปศึกษาเล่าเรียน ไปสถานีตํารวจ สํานักงานอัยการ หรือศาล หรือได้รับอนุญาตจากศาล
    5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
    หากจําเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมคําสั่งเดิมตามพฤติการณ์ของจําเลยที่เปลี่ยนไป ตามความเหมาะสมและความร้ายแรงของพฤติการณ์ต่อไป นอกจากนี้ กรณีครบกําหนดการปล่อยชั่วคราวโดยมีกําหนดระยะเวลาแล้ว หากจําเลยไม่มีพฤติการณ์ที่ผิดเงื่อนไข ศาลจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิมต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อานนท์และเพนกวินซึ่งถูกขังมาแล้ว 196 และ 198 วัน ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งจะยื่นประกันต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3124/2564 ลงวันที่ 22 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40716)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์