ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.2150/2564
แดง อ.1885/2566
ผู้กล่าวหา
- รัฐธนภักษ์ สุวรรณรัตน์ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2150/2564
แดง อ.1885/2566
ผู้กล่าวหา
- รัฐธนภักษ์ สุวรรณรัตน์
ความสำคัญของคดี
"สามเณรโฟล์ค" หรือสหรัฐ สุขคำหล้า นักศึกษาปริญญาตรีจากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาชิกแนวร่วมราษฎรศาลายาเพื่อประชาธิปไตย ถูกรัฐธนภักษ์ สุวรรณรัตน์ ประชาชนทั่วไป แจ้งความดำเนินคดีฐาน "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีร่วมปราศรัยในม็อบ #บ๊ายบายไดโนเสาร์ ที่จัดโดยกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 โดยมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.ประยุทธ์ ที่กล่าวว่าจะนำมาตรา 112 กลับมาบังคับใช้ เชื่อมโยงไปถึงกษัตริย์
นับเป็นนักบวชในพุทธศาสนารายแรกที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
นับเป็นนักบวชในพุทธศาสนารายแรกที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
รพีพัฒน์ ภักดีวงศ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการขึ้นกล่าวปราศรัยในหัวข้อ “อํานาจที่มองไม่เห็น” แก่ประชาชนทั่วไปประมาณ 500 คน ที่เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง ชื่อกิจกรรมว่า “บ๊ายบายไดโนเสาร์” ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า “กลุ่มนักเรียนเลว” ที่ถนนพระรามที่ 1 บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีสยาม แขวงปทุมวัน
การชุมนุมมีวัตถุประสงค์ในการจัดการชุมนุมสาธารณะทางการเมืองนี้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับระบบการศึกษาและปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองของนักเรียน นักศึกษา ผ่านการสะท้อนปัญหาจากเยาวชน
จําเลยขณะขึ้นปราศรัยโดยกล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า “...เมื่อคุณได้เข้าไปที่วัด คุณมักจะเห็นการเทศน์ของพระสงฆ์ แต่คุณไม่เคยตั้งคําถามหรือถามพระสงฆ์กลับไปว่า สิ่งที่พระสงฆ์สอนนั้นมันถูกจริงหรือไม่ ทําไมการที่พูดถึงพระราชานั้นจะต้องพูดถึงแค่ด้านดีอย่างเดียว ทําไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชาบ้างครับ…” ซึ่งคําว่าพระราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ ข้อความดังกล่าวจึงทําให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 เป็นบุคคลผู้ทรงน่ากลัว หรือเป็นบุคคลผู้ทรงอันตรายที่จะนําพามาซึ่งความเดือดร้อนแก่ประเทศ
และมีข้อความตอนหนึ่งว่า “…พล.อ. ประยุทธ์ ได้บอกว่า เนี่ย จะมีการใช้กฎหมายทุกมาตรา แม้กระทั่ง 112 ถ้าคุณพูดแบบนี้ปุ๊บเนี่ย พระมหากษัตริย์จะผิดคําสัญญาหรือคําซื่อสัตย์นะครับ เพราะกษัตริย์ตรัสว่า จะไม่ใช้ 112 กับมวลชน และมันมีที่มาบอกว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคํา ถ้าคุณยังใช้ ม.112 เนี่ย แสดงว่าคุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่…”
ข้อความดังกล่าวทําให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงตรัสว่า ไม่ให้ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 มาดําเนินคดีกับผู้ที่ล่วงละเมิดสถาบัน และภายหลังกลับคําให้มาใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 บังคับแก่ประชาชน ทําให้ประชาชนเข้าใจรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่น่าเคารพเชื่อถือ ไม่มีสัจจะวาจา ไม่รักษาคํามั่นสัญญา และทําให้เข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย และอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.2150/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564)
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”
เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการขึ้นกล่าวปราศรัยในหัวข้อ “อํานาจที่มองไม่เห็น” แก่ประชาชนทั่วไปประมาณ 500 คน ที่เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง ชื่อกิจกรรมว่า “บ๊ายบายไดโนเสาร์” ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า “กลุ่มนักเรียนเลว” ที่ถนนพระรามที่ 1 บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีสยาม แขวงปทุมวัน
การชุมนุมมีวัตถุประสงค์ในการจัดการชุมนุมสาธารณะทางการเมืองนี้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับระบบการศึกษาและปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมืองของนักเรียน นักศึกษา ผ่านการสะท้อนปัญหาจากเยาวชน
จําเลยขณะขึ้นปราศรัยโดยกล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า “...เมื่อคุณได้เข้าไปที่วัด คุณมักจะเห็นการเทศน์ของพระสงฆ์ แต่คุณไม่เคยตั้งคําถามหรือถามพระสงฆ์กลับไปว่า สิ่งที่พระสงฆ์สอนนั้นมันถูกจริงหรือไม่ ทําไมการที่พูดถึงพระราชานั้นจะต้องพูดถึงแค่ด้านดีอย่างเดียว ทําไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชาบ้างครับ…” ซึ่งคําว่าพระราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ ข้อความดังกล่าวจึงทําให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 เป็นบุคคลผู้ทรงน่ากลัว หรือเป็นบุคคลผู้ทรงอันตรายที่จะนําพามาซึ่งความเดือดร้อนแก่ประเทศ
และมีข้อความตอนหนึ่งว่า “…พล.อ. ประยุทธ์ ได้บอกว่า เนี่ย จะมีการใช้กฎหมายทุกมาตรา แม้กระทั่ง 112 ถ้าคุณพูดแบบนี้ปุ๊บเนี่ย พระมหากษัตริย์จะผิดคําสัญญาหรือคําซื่อสัตย์นะครับ เพราะกษัตริย์ตรัสว่า จะไม่ใช้ 112 กับมวลชน และมันมีที่มาบอกว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคํา ถ้าคุณยังใช้ ม.112 เนี่ย แสดงว่าคุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่…”
ข้อความดังกล่าวทําให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมหรือประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับฟังหรืออ่านข้อความนั้นเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงตรัสว่า ไม่ให้ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 มาดําเนินคดีกับผู้ที่ล่วงละเมิดสถาบัน และภายหลังกลับคําให้มาใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 บังคับแก่ประชาชน ทําให้ประชาชนเข้าใจรัชกาลที่ 10 เป็นกษัตริย์ที่ไม่น่าเคารพเชื่อถือ ไม่มีสัจจะวาจา ไม่รักษาคํามั่นสัญญา และทําให้เข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง อันเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย และอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.2150/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 07-07-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 11.10 น. ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน สามเณรสหรัฐพร้อมทนายความ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์”
ก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวนมีการออกหมายเรียกครั้งแรก เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่สามเณรสหรัฐไม่เคยได้รับหมาย กระทั่งได้รับหมายเรียกครั้งที่ 2 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2564 จึงได้นัดหมายเข้ารับทราบข้อหา
พ.ต.ต.ปรวีร์ สุขพงษ์ สารวัตร (สอบสวน) สน.ปทุมวัน บก.น.6 บช.น. แจ้งพฤติการณ์แก่สามเณรสหรัฐ โดยสรุปดังนี้
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 รัฐธนภักษ์ สุวรรณรัตน์ ผู้กล่าวหาได้ตรวจพบเฟซบุ๊ก ชื่อบัญชี “SEND สดจากแหล่งข่าว” ได้มีการเผยแพร่เทปบันทึกคำปราศรัยของสามเณรสหรัฐ ซึ่งได้ปราศรัยบนเวทีที่บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม ต่อหน้าผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก ในหัวข้อ “อํานาจที่มองไม่เห็น” ในการชุมนุมของกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 เมื่อเวลาประมาณ 20.50 น.
ผู้กล่าวหาอ้างว่าสามเณรสหรัฐได้กล่าวปราศรัย ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า “ทำไมการพูดถึงพระราชานั้นจะต้องพูดถึงแค่ด้านดีอย่างเดียว ทำไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชาบ้างครับ”
และ “พลเอกประยุทธ์ บอกว่า เนี่ย จะมีการใช้กฎหมายทุกมาตรา แม้กระทั่ง 112 ถ้าคุณพูดแบบนี้ปุ๊ปเนี่ย พระมหากษัตริย์จะผิดคำสัญญาหรือคำสัตย์นะครับ เพราะกษัตริย์ตรัสว่าจะไม่ใช้ 112 กับมวลชน และมันมีที่มาบอกว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ถ้าคุณยังใช้ มาตรา 112 เนี่ย แสดงว่าคุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่”
ผู้กล่าวหาเห็นว่าข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ต่อรัชกาลที่ 10 จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดําเนินคดีกับผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
สามเณรสหรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายในวันที่ 2 ส.ค. 2564 พร้อมทั้งปฏิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาด้วย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรับทราบข้อหา พนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวสามเณรสหรัฐไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
++ตัวแทนสำนักงานพุทธศาสนา ยื่นมติของมหาเถรสมาคม ให้สามเณรสึก++
หลังรับทราบข้อกล่าวหา ตัวแทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติซึ่งถือมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 1/2564 มารออยู่ตั้งแต่ต้น ได้เข้าแจ้งให้สามเณรสหรัฐสึก มีเนื้อหาระบุว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 เลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้เสนอว่า สามเณรสหรัฐได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง ซึ่งเป็นการขัดคําสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณร เกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ. 2538
ทั้งในระหว่างที่เข้าร่วมการชุมนุมยังแสดงพฤติกรรมอันเป็นการละเมิดองค์แห่งพระวินัยปิฎก ภาค 1 เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามเณร และแห่งนาสนะ 10 กล่าวติพระธรรม กล่าวติพระสงฆ์ มีความเห็นผิด มีการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสมในความเป็นสมณะแห่งพระพุทธศาสนา มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ใส่ความคณะสงฆ์ให้เสื่อมเสีย หรือแตกแยก เจ้าอาวาสวัดดอนไชย จังหวัดพะเยา ได้มีคําสั่งให้ออกจากวัดที่สังกัด เนื่องจากไม่อยู่ในโอวาท ไม่ให้ความเคารพเชื่อฟังเจ้าอาวาสแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563
ในการนี้ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนําเสนอมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการลงทัณฑกรรมแก่สามเณร และแจ้งให้เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดทราบ โดยมหาเถรสมาคมมีมติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยทันที
อย่างไรก็ตาม ทนายความได้พูดคุยกับตัวแทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนการ เนื่องจากสามเณรสหรัฐไม่ได้สังกัดวัดดอนไชย คำสั่งให้ออกจากวัดจึงไม่มีผล และทำให้ไม่สามารถบังคับจับสึกได้
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 7 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/31867) -
วันที่: 16-08-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการสามเณรสหรัฐเดินทางไปตามนัดของพนักงานสอบสวน เพื่อส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 อัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 22 ก.ย. 2564 เวลา 10.00 น.
-
วันที่: 22-09-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 26 ต.ค. 2564
-
วันที่: 26-10-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 25 พ.ย. 2564
-
วันที่: 25-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 28 ธ.ค. 2564
-
วันที่: 28-12-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)สหรัฐซึ่งลาสิกขาบทแล้ว เข้ารายงานตัวเพื่อฟังคำสั่งอัยการตามนัด โดยอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีและยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในฐานความผิด "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กล่าวหาว่าคำปราศรัยในหัวข้อ “อํานาจที่มองไม่เห็น” ในกิจกรรม “บ๊ายบายไดโนเสาร์” จัดโดย “กลุ่มนักเรียนเลว” บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจําเลยมีเจตนาทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย และอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ท้ายฟ้อง อัยการระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3042/2564 ของศาลแขวงพระนครเหนือ (คดีชุมนุมซ้อมต้านรัฐประหาร เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2563 ที่ห้าแยกลาดพร้าว) และขอให้ศาลนับโทษของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม อัยการไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยนระหว่างพิจารณาคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
ภายหลังศาลรับฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยหลักทรัพย์จำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยร่วมการชุมนุมอันอาจทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอีก, ห้ามกระทำการใดๆ อันจะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาต โดยให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัด
ศาลได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ. 2150/2564 ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/39730) -
วันที่: 07-02-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานสหรัฐพร้อมทั้งทนายความ และผู้ที่เดินทางมาให้กำลังใจ เข้าร่วมการพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณา 402 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ในช่วงเวลาราว 10.10 น. ศาลได้อธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และจำเลยให้การปฏิเสธ
ต่อมาจึงเริ่มกระบวนการตรวจพยาน อัยการแถลงว่าคดีนี้โจทก์จะขอนำสืบพยานทั้งหมด 18 ปาก ในจำนวนนี้ เป็นตัวผู้แจ้งความ 1 ปาก, เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งหมด 9 ปาก จาก 5 หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ สน.บางยี่ขัน, สน.ปทุมวัน, กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.), กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (บก.น.6) และกองพิสูจน์หลักฐานกลาง
อัยการแถลงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละรายที่จะเข้ามาเบิกความต่างมีส่วนร่วมในคดีในหลายหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้สังเกตการณ์และตรวจสอบว่ามีการชุมนุม, สายสืบ, เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ถอดเทป, เจ้าหน้าที่ที่จะมาให้ความหมายเกี่ยวกับรหัส 904 ซึ่งจำเลยได้ปราศรัยถึงในการชุมนุม, ผู้ตรวจบันทึกหลักฐานภาพเคลื่อนไหวว่ามีการตัดต่อหรือไม่, เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบบัญชีเฟซบุ๊ก รวมไปถึงพนักงานสอบสวนในคดี
นอกจากนั้น ยังมีพยานบุคคลทั่วไปที่จะมาให้ความเห็น รวม 6 ราย โดยเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ 2 ราย รายหนึ่งจะมาให้การในฐานะตัวแทนจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในขณะที่อีกรายคือ “อานนท์ นิด้า” หรือ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ โจทก์ยังระบุอีกว่า จะนำพยานวัตถุรวม 20 ชิ้น เข้าร่วมในการสืบ
ทางด้านฝ่ายจำเลย ระบุต่อคู่ความและศาลว่า ประสงค์จะสืบพยานจำเลยทั้งหมด 4 ปาก ได้แก่ ตัวจำเลยเอง, นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา จะมาให้การในประเด็นเรื่องการปราศรัยของสามเณรฯ, เจ้าหน้าที่จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) จะมาให้การในประเด็นเรื่องปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ในประเทศไทย, และนักสิทธิมนุษยชนจากองค์กรระหว่างประเทศ จะมาให้การในประเด็นปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 เทียบกับกรณีการบังคับใช้กฎหมายรูปแบบเดียวกันในต่างประเทศ
จำเลยแถลงแนวทางการต่อสูคดีว่า ได้ปราศรัยข้อความตามฟ้องจริง แต่ไม่ได้มีลักษณะดูหมิ่นหรือใส่ร้ายพระมหากษัตริย์ตามที่โจทก์ฟ้องและเนื่องจากไม่มีการฟ้องข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมเข้ามา มีแต่เพียงข้อหา มาตรา 112 จึงขอให้ตัดการสืบพยานโจทก์ปาก พ.ต.อ.พาติกรณ์ ศรชัย ผู้กำกับ สน.ปทุมวัน ซึ่งทำหน้าที่รับแจ้งการชุมนุมสาธารณะ และเป็นผู้แจ้งข้อกฎหมายในวันที่มีการชุมนุม และอีกปากที่ถูกตัดออกคือ พ.ต.ท.ไพรัช พรมวงศ์ รอง ผกก.3 บก.ปอท. รับหน้าที่ตรวจสอบเฟซบุ๊กที่เผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวการปราศรัยของสหรัฐ แต่เนื่องจากสำนักงานใหญ่ของเฟซบุ๊กอยู่ที่สหรัฐอเมริกา จึงไม่สามารถตรวจสอบตัวตนได้ จึงเหลือสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 16 ปาก ใช้เวลาสืบ 4 นัด ในขณะที่พยานจำเลย สืบตามเดิมทั้งหมด 4 ปาก ใช้เวลา 1 นัด กำหนดนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 14 – 17 มี.ค. 2566 สืบพยานจำเลยในวันที่ 21 มี.ค. 2566
++“ทิดโฟล์ค” ยืนยัน ปราศรัยในเรื่องหลักการศาสนา ระบุต้องมีการพูดอย่างรอบด้าน ไม่ใช่สรรเสริญแต่เพียงอย่างเดียว++
ภายหลังจากเสร็จกระบวนการตรวจพยานและกำหนดนัดสืบพยาน อดีตสามเณรโฟล์คให้สัมภาษณ์ว่า “ระหว่างที่มีการพิจารณา อัยการได้แถลงต่อศาลว่า ‘คดีนี้เป็นคดีสำคัญมาก’ ตอนแรกจะมีการสืบในประเด็นเรื่องการชุมนุม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ทั้งๆ ที่ข้อหามีแค่มาตรา 112 อัยการได้ขอให้ทำการสืบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาห้ามปรามการชุมนุมด้วย ซึ่งมันไม่เกี่ยวกัน ผมยอมรับข้อเท็จจริงในเรื่องที่ขึ้นปราศรัย แต่ข้อความที่ปราศรัยไม่ได้มีเนื้อหาหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด”
“สิ่งที่ติดในใจคือการที่อัยการบอกว่าคดีนี้เป็นคดี ‘สำคัญ’ ทั้งๆ ที่ทุกคดีของประชาชนทุกควรเป็นสิ่งสำคัญอยู่แล้ว แต่ทำไมต้องมาเน้นหนักในคดีนี้ ทั้งที่ควรจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะกับคดีทางการเมือง”
“ในส่วนของคดี วันที่ขึ้นปราศรัย ผมเองก็เตรียมตัวมาประมาณหนึ่ง ได้พูดถึง ‘อำนาจที่มองไม่เห็น’ การใช้อำนาจอ่อน (ซอฟต์ พาวเวอร์ – Soft Power) ที่ถูกปลูกฝังเข้ากับคนที่เข้าวัดทำบุญ พระเองก็มีการท่องบทสวดที่มีเนื้อหาสรรเสริญองค์พระราชาและพระราขินี ผมก็เลยตั้งคำถามว่า ทำไมเราพูดแต่ในส่วนที่ดี แต่ทำไมเราถึงไม่พูดในส่วนที่เป็นข้อเสียเลย พูดถึงภัยของพระราชาบ้าง ทั้งๆ ที่มีบทสวดที่เกี่ยวข้องกับภัยของพระราชาในพุทธศาสนา อย่างบทขัดรตนสูตร แต่ทำไมกลับไม่ถูกเอามาพูด หรือนำมาสอน”
“ในส่วนของภาคเหนือ จะมีคำสอนในบทเทศน์ช่วงเข้าพรรษา ตอนขึ้นธรรมาสน์ จะมีการสอนเรื่องภัยของพระราชา หรือแม้แต่นิทานชาดก ว่าด้วยเรื่องว่าพระราชามีภัยอย่างไร มีอำนาจอย่างไร มีเรื่องที่ผมเคยเทศน์เกี่ยวกับพระราชาในชาดกว่า ไปฆ่าพ่อฆ่าแม่คนอื่น ลูกที่เกิดมาของเขาก็พยายามจะล้างแค้น ปลอมตัวเองไปสอบเป็นทหารมหาดเล็ก จนได้ใกล้ชิดกับพระราชา ตอนท้ายของชาดก สุดท้ายสองฝ่ายก็ไม่ถือโทษโกรธแค้นด้วยเพราะความเมตตา ที่จะสื่อคือ มันมีเรื่องการสอนเกี่ยวกับผลกรรม ว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วจะมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร ชาดกพยายามสอนเรื่องเมตตา สอนเรื่องภัยของพระราชาด้วย ยังมีการพูดถึงในมุมอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่สรรเสริญอย่างเดียว”
ในส่วนของทิศทางของคดี โฟล์คเล่าว่า เขายังอาจสะท้อนความรู้สึกไม่ได้มาก เพราะยังไม่เห็นกระบวนการสืบพยานโจทก์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เขายืนยันชัดเจนว่าการบังคับใช้มาตรา 112 นั้นมีปัญหา ทั้งด้วยความเปิดกว้างในเรื่องของการตีความ รวมไปถึงการให้อำนาจใครก็ตาม ทั้งๆ ที่คนนั้นไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แจ้งความดำเนินคดี เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองกันต่อไป
“คงต้องรอดูในชั้นสืบพยานก่อนว่าพยานโจทก์ให้การเกี่ยวกับคดีอย่างไร แล้วเขามองว่ามันมีความผิดอย่างไร เพราะมาตรา 112 มันตีความได้ค่อนข้างกว้าง ทำให้เราเห็นได้ไม่ชัดเจนว่าศาลจะตีความในรูปแบบไหน การพูดแบบไหนถือว่าเข้าข่ายหมิ่นฯ เพราะเราก็ปราศรัยในเรื่องของหลักการของศาสนา ว่ามันมีการพูดถึงพระราชาในรูปแบบนั้นจริงๆ ตอนที่พูด ผมก็ยังเป็นเณรอยู่ เป็นการพูดเกี่ยวกับหลักคุณธรรมจริยธรรมทั่วไป”
“นอกจากเรื่องความกว้างสำหรับพื้นที่การตีความ มาตรา 112 ยังกำหนดให้ใครแจ้งความเดำเนินคดีก็ได้ แม้ไม่ใช่คู่กรณี อย่างคดีผม คนแจ้งความเขาก็เป็นประชาชนทั่วไปที่ผมไม่รู้จักด้วยซ้ำ อนาคต เราอาจต้องรอดูต่อไปว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร”
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ. 2150/2564 ลงวันที่ 7 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40297) -
วันที่: 14-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์ฝ่ายโจทก์พยายามนำสืบว่าข้อความปราศรัยทั้งสองท่อนเข้าข่ายมาตรา 112 โดยกล่าวถึงกษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน และข้อความทำให้กษัตริย์เสื่อมเสีย
ด้านจำเลยต่อสู้ว่า การปราศรัยเรื่องราชภัยเป็นการกล่าวถึงด้านดีและด้านเสียของพระราชาตามพระไตรปิฎก และปัญหาการสอนศาสนาพุทธในประเทศไทย รวมถึงนำเสนอข้อคิดแยกศาสนาออกจากรัฐ ส่วนคำปราศรัยเรื่องการกลับมาบังคับใช้มาตรา 112 จำเลยวิพากษ์วิจารณ์พลเอกประยุทธ์ที่กล่าวอ้างถึงรัชกาลที่ 10 มาให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนกลับไปกลับมา ส่งผลกระทบต่อกษัตริย์ตามหลักทศพิธราชธรรม และการพิจารณาคำปราศรัย ต้องดูเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่เพียงตัดข้อความบางส่วนมากล่าวหา
++ผู้กล่าวหาอ้างว่าโกรธที่จำเลยปราศรัยดูหมิ่น ชี้ต้องการแก้ต่างให้ในหลวง จึงเข้าแจ้งความ
รัฐธนภักษ์ สุวรรณรัตน์ – ประกอบอาชีพเป็นผู้แนะนำการลงทุน เกี่ยวกับคดีนี้เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ เบิกความว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2564 เวลา 18.00 น. ขณะพยานพักอยู่คอนโดแห่งหนึ่ง พยานได้เปิดเพจเฟซบุ๊กสำนักข่าวและพบวิดีโอปราศรัยของจำเลยในการชุมนุม “บ๊ายบายไดโนเสาร์” ของกลุ่ม “นักเรียนเลว” ซึ่งถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 ที่ใต้สถานีรถไฟฟ้าสยาม กรุงเทพฯ
พยานเห็นว่า จำเลยพูดปราศรัยเกี่ยวกับอำนาจที่มองไม่เห็น เรื่องศาสนา และได้พูดมาถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ด้วย ใช้เวลาปราศรัยทั้งหมดประมาณ 20 นาที โดยได้ฟังตลอดทั้งการปราศรัยนั้น และเห็นว่าจำเลยปราศรัยข้อความที่ผิดกฎหมายจำนวน 2 ข้อความด้วยกัน
ในข้อความที่ 1 ตามฟ้อง พยานเข้าใจว่า จำเลยมีเจตนาอยากให้พูดถึง ‘ภัยของพระราชา’ พยานเข้าใจว่า หมายถึง พระราชาทำให้ประชาชนเสียหายเดือดร้อน โดยพระราชาที่ว่านั้นก็น่าจะเป็นรัชกาลที่ 10 ข้อความนี้ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นกษัตริย์
ส่วนข้อความที่ 2 ตามฟ้อง พยานเข้าใจว่า จำเลยพูดถึงรัชกาลที่ 10 ว่าไม่ให้ใช้มาตรา 112 กับประชาชน ทั้งที่ในความเป็นจริงกษัตริย์ไม่สามารถสั่งรัฐบาลได้ เป็นการดูหมิ่นฯ และกล่าวหาว่าตระบัดสัตย์ กลับกลอก ทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชัง ซึ่งความจริงพยานเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่สามารถแทรกแซงการเมืองได้ และไม่เคยได้ยินท่านตรัสว่า ไม่ให้ใช้มาตรา 112 มาก่อน การบังคับใช้กฎหมายใด ๆ ก็ตามเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร นั่นก็คือ ‘รัฐบาล’ พยานจึงคิดว่าคำพูดนี้มาจากพลเอกประยุทธ์ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไว้ สิ่งที่จำเลยปราศรัยนั้นจึงไม่เป็นความจริง
พยานกล่าวว่า คำปราศรัยของจำเลยแม้จะไม่มีการเอ่ยถึงพระนามของรัชกาลที่ 10 แต่เมื่อฟังแล้วก็สามารถสื่อถึงได้ เพราะในคำปราศรัยต่อมามีการพูดถึงเลข 904 ซึ่งประชาชนจะเข้าใจได้ทันทีว่าสื่อถึงรัชกาลที่ 10 เพราะเป็นเลขประจำตัวของพระองค์ หากค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะทราบโดยทันที ส่วนพยานทราบมาก่อนหน้านี้แล้ว เพราะติดตามข่าวสารการเมืองอยู่ตลอด
รัฐธนภักษ์กล่าวตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในวันเกิดเหตุมีผู้ผลัดเปลี่ยนขึ้นพูดปราศรัยหลายคน แต่พยานไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ฟังเฉพาะคำปราศรัยของจำเลยเท่านั้น เพราะสะดุดกับคำว่า 904 เลยทำให้กลับไปเริ่มฟังการปราศรัยของจำเลยแบบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบอีกครั้ง พยานเห็นด้วยว่าคำปราศรัยส่วนใหญ่ของจำเลยนั้นพูดถึงเรื่องศาสนา
พยานกล่าวว่า นักการเมือง ‘ไม่มีความน่าเชื่อถือ’ รวมถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเห็นด้วยที่ว่าพลเอกประยุทธ์ เป็นคนปลิ้นปล้อน คำพูดเชื่อถือไม่ได้
พยานกล่าวว่า สำนักข่าว Thai PBS มีความน่าเชื่อถือ จากนั้นเมื่อพยานดูวิดีโอที่นำเสนอข่าวกรณีที่พลเอกประยุทธ์ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ เรื่อง “ในหลวง” ทรงมีพระเมตตารับสั่งไม่ให้ใช้มาตรา 112 พยานตอบว่า ไม่รู้ว่าประยุทธ์จะโกหกหรือไม่
ทั้งนี้ พยานไม่เคยสอบถามความจริงกับสำนักพระราชวัง และยังไม่เคยเห็นสำนักพระราชวังออกมาชี้แจงในประเด็นนี้ รวมถึงพยานก็ไม่เคยไปแจ้งความดำเนินคดีกับพลเอกประยุทธ์ว่าแอบอ้างคำสั่งของรัชกาลที่ 10 อีกด้วย
พยานทราบว่าภายหลังประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ครั้งนั้น ต่อมาเพียงไม่กี่เดือนประยุทธ์ก็ให้สัมภาษณ์อีกว่าจะใช้กฎหมายทุกฉบับเพื่อเอาผิดกับผู้ชุมนุมในขณะนั้น
พยานเห็นว่า หากจำเลยจะวิจารณ์เรื่องการใช้มาตรา 112 นั้นย่อมทำได้ แต่จะต่อว่ากษัตริย์ไม่ได้ พยานทราบว่าในช่วงปี 2563 – 2564 มีการบังคับใช้มาตรา 112 กับผู้เห็นต่างทางการเมืองและผู้ชุมนุมหลายคน ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะมีประชาชนจำนวนมากเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 และเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
พยานอ้างว่าไม่รู้จักกลุ่มคนปกป้องสถาบันที่สนับสนุนไม่ให้ยกเลิกมาตรา 112 และสนับสนุนให้ใช้มาตรา 112 อีกด้วย แต่พยานทราบว่ามีกลุ่มเหล่านี้อยู่จริง
พยานนับถือศาสนาพุทธ แต่พยานไม่ทราบว่าในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึง ‘ภัยพระราชา‘ ด้วย ก่อนจะไปแจ้งความร้องทุกข์ พยานก็ไม่เคยค้นหาเกี่ยวกับคำว่า ภัยพระราชา มาก่อนว่ามีอยู่จริงหรือไม่
ทนายจำเลยอธิบายว่า คำว่า ‘ภัยพระราชา‘ นั้น หากเป็นสมัยก่อนจะใช้คำว่า ‘ต้องราชภัย’ ตัวอย่างเช่น พระราชาต้องราชภัยจนต้องหนีไปบวช ซึ่งหมายความว่า พระราชามีภัยจนต้องหนีไปบวช หากเป็นคำปัจจุบัน ‘ต้องราชภัย’ อาจสามารถใช้กับการที่ประชาชนถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แต่พยานไม่เห็นด้วยและบอกว่า การถูกดำเนินคดีมาตรา 112 นั้นเรียกว่าเป็นคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ หากจะเปรียบเทียบคำว่า ต้องราชภัย ในบริบทปัจจุบันจะต้องเป็นกรณีที่ถูกกษัตริย์ลงโทษ
พยานเห็นด้วยว่า คำว่าภัยพระราชาในบริบทของคำปราศรัยของจำเลยที่กล่าวว่า “ทําไมเราไม่พูดถึง ‘ภัยของพระราชา’ บ้างครับ…” เป็นการตั้งคำถามถึงพระสงฆ์ในวัดว่าทำไมไม่สอนให้พูดถึงทั้งข้อดีและข้อเสีย
เมื่อฟังคลิปปราศรัยของจำเลยเสร็จแล้ว พยานรู้สึกโกรธ เพราะคิดว่ามีเรื่องให้พูดหลายประเด็น แต่ทำไมต้องเลือกพูดถึงในหลวงท่านด้วย และพยานรู้สึกว่าอยากแก้ต่างให้กับในหลวง
พยานเห็นด้วยกับที่จำเลยปราศรัยว่า ‘กษัตริย์เป็นคนเท่ากัน ไม่ใช่สมมติเทพ’ แต่ธรรมเนียมของประเทศไทยไม่ได้ห้ามไม่ให้พูดถึง ‘เรื่องไม่ดี’ ของพระราชา
พยานเห็นด้วยว่า ในคำปราศรัยของจำเลยนั้นไม่มีคำหยาบคาย ในคำปราศรัยมีข้อเท็จจริงรองรับอยู่ด้วยตัวอย่างเช่น กรณีการให้สัมภาษณ์ของประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่วนคำปราศรัยที่พูดถึงเรื่องศาสนาว่ากษัตริย์สามารถแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชได้นั้นเป็นกฎหมายที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ซึ่งพยานไม่ทราบเรื่องนี้
จากนั้นพยานตอบอัยการถามติงว่า พยานเห็นว่าการพูดหรือวิจารณ์กษัตริย์นั้นสามารถทำได้ แต่ที่ตนไปกล่าวโทษกับจำเลยนั้นเป็นเพราะเห็นว่าจำเลยไม่ได้วิจารณ์อย่างสุจริต อย่างเช่นถ้อยคำว่า “คุณยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่ …” เห็นว่าเป็นการกล่าวหากษัตริย์
++พนักงานสอบสวนเบิกความ ไม่เคยส่งหนังสือถามสำนักพระราชวังว่าในหลวงตรัสกับพลเอกประยุทธ์เช่นนั้นหรือไม่
ร้อยตำรวจเอกพงศกร ข้องสาย – คณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า พยานได้สอบคำให้การพยาน 2 ปาก คือ กันตเมธส์ จโนภาส และพันตำรวจโทวัชรินทร์ อ่วมฟุ้ง เจ้าหน้าที่สืบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล ซึ่งได้นำหลักฐานที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบมอบให้กับพยาน
พยานให้ กันตเมธส์ ตรวจสอบคำถอดเทปปราศรัยที่เข้าข่าย ในนาทีที่ 27.48 ความว่า “ทำไมการพูดถึงพระราชาต้องพูดถึงแต่ด้านดี” ซึ่งได้ให้ความเห็นว่าเป็นการพูดถึงรัชกาลที่ 10 เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ ส่วนคำว่า “ภัยของพระราชา” ไม่ได้ให้ความเห็นคำดังกล่าว นอกจากนั้นแล้วก็ไม่ได้ให้ความเห็นในคำปราศรัยวรรคอื่นอีก
พยานส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กับ พ.ต.ต.ปรวีย์ พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน
ร.ต.อ.พงศกร ตอบทนายจำเลยถามค้านยืนยันว่า กันตเมธส์ จโนภาส ไม่ได้ให้ความเห็นเรื่องพลเอกประยุทธ์ รวมถึงข้อความปราศรัยที่ 2 แต่อย่างใด
ส่วนในข้อความปราศรัยที่ 1 นั้น พยานเห็นว่า ว่าคนเรามีทั้งด้านดีและไม่ดีเป็นธรรมดา แต่วิพากษ์วิจารณ์ต้องอยู่บนความสุจริต และถ้าหากบุคคลพูดกลับไปกลับมาก็สามารถวิจารณ์ได้ ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์อาจทำให้คนนั้นดีขึ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่การหมิ่นประมาท หรือทำให้เกิดความเสียหาย
ขณะเกิดเหตุมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พยานไม่ทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์หรือไม่ และจะนำเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์มาโกหกต่อหน้าสื่อมวลชนหรือไม่ ซึ่งการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นั้น พยานกล่าวว่าต้องดูที่แหล่งที่มาก่อน
พยานไม่เคยรู้จักคำว่า ราชภัย มาก่อน แต่ทราบจากการสืบค้นข้อมูลในการทำคดีนี้
พยานไม่เคยส่งหนังสือไปถามสำนักพระราชวังว่า ในหลวงได้ตรัสกับ พล.อ.ประยุทธ์ เช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะว่าเป็นการทำงานในรูปแบบคณะทำงาน ส่วนคนอื่นจะส่งหรือไม่พยานก็ไม่ทราบ และพยานไม่เคยเห็นสำนักพระราชวังออกมาแถลงปฏิเสธเรื่องดังกล่าว
ในกรณีทั่วไป การพูดบนฐานความจริงสามารถทำได้ ส่วนในกรณีกษัตริย์ การพูดบนฐานความจริงก็สามารถพูดได้ แต่ต้องเป็นการใช้ช่องทางที่ชอบด้วยกฎหมายและสุจริต ไม่มีการดูหมิ่นเสียดสี
พยานเคยได้ยินการวิพากษ์วิจารณ์ขบวนเสด็จ แต่ในหลวงก็มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยมาโดยตลอดและทราบต่อมาว่ามีการปิดถนนเพื่อขบวนเสด็จน้อยลง แต่ในหลวงจะเคยรับสั่งให้คนที่มารับเสด็จไม่ต้องนั่งกับพื้นหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
พยานเพิ่งเข้ารับราชการเป็นตำรวจที่ สน.ปทุมวัน เมื่อปี 2563 จึงไม่ทราบเหตุการณ์ในปีก่อนหน้า ซึ่งในขณะที่พยานเรียนกฎหมาย พยานไม่ทราบเรื่องการนำมาตรา 112 มาบังคับใช้ และเห็นว่าในเมื่อมีกฎหมายนี้อยู่แล้ว ถ้าหากพบการกระทำผิดก็สามารถนำมาดำเนินคดีความได้ ส่วนในขณะที่เกิดเหตุคดีนี้จะมีการบังคับใช้มาตรา 112 อย่างกว้างขวางหรือไม่นั้น พยานไม่ทราบ
พ.ต.ท.วัชรินทร์ อ่วมฟุ้ง ที่พยานสอบเป็นพยาน ไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินคดีกับผู้ใด เป็นเพราะว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหา จึงไม่ให้ตำรวจผู้ที่ทำรายงานให้ความเห็นว่าต้องดำเนินคดีหรือไม่ พ.ต.ท.วัชรินทร์ ให้ความเห็นเฉพาะเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เพราะตำรวจจะไม่เข้าไปให้ความหมายกับมาตรา 112 ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นข้อห่วงใยของผู้บังคับบัญชา ซึ่งตำรวจผู้นั้นก็ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด เพราะเป็นการบอกต่อกันมา
คำสั่ง สตช.ที่ 558/2563 กำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงว่า หากพบการกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ต้องจัดทำเป็นรายงานต่อผู้บังคับบัญชาก่อนแจ้งความดำเนินคดี แต่ในคดีนี้มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ก่อน ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องใช้ระเบียบนั้น ซึ่งในคดีนี้ประชาชนมาร้องทุกข์เมื่อใด ตนไม่ทราบ
พยานตอบอัยการถามติงด้วยว่า พยานไม่ได้ทำความเห็นในคดีนี้เพียงคนเดียว แต่เป็นความเห็นของคณะทำงาน และส่งไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อกรองความเห็นในอีกชั้นหนึ่ง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 15-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์++ตำรวจศูนย์วิทยุนารายณ์เบิกความรหัส ‘904’ เป็นรหัสประจำตัวของในหลวง ร.10
สุทธิศักดิ์ พอดี – สารวัตรฝ่ายอำนวยการ งานศูนย์รวมข่าววิทยุนารายณ์ กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 เบิกความว่า ศูนย์วิทยุนารายณ์มีหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากกองบังคับการตำรวจนครบาลเกี่ยวกับการระงับเหตุระหว่างการรับเสด็จและดูแลเส้นทางขบวนเสด็จ
ในการสื่อสารกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอันทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์จะมีเลขรหัสประจำตัวในการเสด็จไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งรัชกาลที่ 10 มีรหัสเลขอยู่ 3 ชุด ได้แก่
1. หากเสด็จโดยมีหมายกำหนดการ จะใช้รหัสเลข 093
2. หากเสด็จเป็นเป็นการส่วนพระองค์ จะใช้รหัสเลข 943
3. หากเสด็จไปยังโครงการในพระราชดำริ จะใช้รหัสเลข 904
รหัสเลขเหล่านี้ โดยเฉพาะรหัสเลข 904 ประชาชนทราบอยู่แล้วเนื่องจาก ‘โครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.’ เป็นโครงการในพระราชดำริของรัชกาลที่ 10 และรหัสเลข 904 ก็ไม่ใช่ความลับทางราชการแต่อย่างใด
โครงการดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ พยานเชื่อว่าประชาชนสามารถเข้าใจได้ว่า 904 เป็นรหัสเลขประจำตัวของรัชกาลที่ 10 หากไม่ทราบก็สามารถสืบค้นจากสื่อต่าง ๆ ได้อยู่แล้ว หมายเลข 904 หากพูดเฉย ๆ ไม่ได้มีความหมายใด แต่หากพูดในงานราชการจะหมายถึง ‘รัชกาลที่ 10’ แต่หากประชาชนพูดในเรื่องทั่วไป เช่น เลขหวย เลขประจำทางรถโดยสาร เลขที่บ้าน ฯลฯ ก็ไม่ได้เป็นความผิดเพราะไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่าน
พยานไม่ได้ฟังคำปราศรัยของจำเลย แต่พนักงานสอบสวนติดต่อมาเพื่อขอให้เป็นพยานความเห็นเกี่ยวกับรหัสเลข 904 จากนั้นพยานจึงได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและให้การในประเด็นดังกล่าวเท่านั้น
สุทธิศักดิ์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า หากซื้อหวยชุดเลข 904 ก็ไม่ได้มีความผิดและไม่ได้มีการห้ามไม่ให้ออกเลขสลาก 904 ด้วย ส่วนรหัสอื่น ๆ ก็สามารถใช้รหัส 904 ได้เช่นกัน เช่น เลขโทรของรัฐฟลอริดา แต่หากเป็นในประเทศไทยก็จะมีรถเมล์สาย 904 ซึ่งก็ไม่ได้มีความผิดใด
จากนั้น พยานตอบอัยการถามติงว่า หากฝันถึงรัชกาลที่ 10 ก็จะซื้อหวยเลข 093, 943, 904 เพราะทราบอยู่แล้วว่าเป็นรหัสเลขประจำพระองค์
++นักวรรณศิลป์ ราชบัณฑิตฯ เบิกความว่าไม่สามารถตีความถ้อยคำที่เป็นประโยคได้ และไม่สามารถให้ความเห็นว่าถ้อยคำหมิ่นสถาบันฯ หรือไม่ เพราะเกินอำนาจหน้าที่
กุลศิรินทร์ นาคไพจิตร รับราชการเป็นนักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ อยู่ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทย ทำงานมาประมาณ 23 ปี เบิกความว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย จัดทำพจนานุกรม และอนุรักษ์ภาษาไม่ให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม
ส่วนพยานสามารถให้การในประเด็นความหมายของ ‘คำ’ โดยอ้างอิงจากที่ปรากฏในหนังสือพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน และได้ให้การกับพนักงานสอบสวนไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น คำว่า ‘พระราชา’ ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานไม่ได้มีระบุความหมายไว้ แต่มีความหมายของคำว่า ‘พระ’ และ ‘ราชา’ พยานจึงให้ความหมายเป็นคำ ๆ ตามที่ปรากฏ และคำว่า ‘ภัยราชา’ ก็สามารถตีความแยกเป็นคำ ๆ ไปเช่นกัน ได้แก่ คำว่า ‘ภัย’ และ ‘ราชา’
พยานไม่สามารถตีความถ้อยคำที่เป็น ‘ประโยค’ ได้ เนื่องจากต้องอาศัยปัจจัยอื่นหลายอย่างประกอบด้วย เช่น เจตนา อารมณ์ บริบท เป็นต้น อย่างประโยค “ยังเป็นกษัตริย์หรือไม่” พยานไม่สามารถให้ความหมายได้ เพราะถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นประโยค
กุลศิรินทร์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า แม้จะเป็นคดีอื่นที่ไม่ใช่คดีมาตรา 112 พยานก็สามารถเบิกความได้เพียงเท่านี้ จะไม่สามารถตีความถ้อยคำที่เป็นประโยคได้ และไม่สามารถให้ความเห็นว่าถ้อยคำนั้นหมิ่นสถาบันกษัตริย์หรือไม่ เพราะเกินอำนาจหน้าที่ในการทำงานของพยาน รวมถึงเกินขอบเขตหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งต้องให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อสาธารณชน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 17-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์++‘คมสัน โพธิ์คง’ เห็นว่าคำพูดจำเลยเป็นการดูหมิ่นกษัตริย์ว่าผิดคำพูด ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด แต่เห็นด้วยว่าคำพูดของพลเอกประยุทธ์มีความน่าเชื่อถือ
คมสัน โพธิ์คง – อาชีพรับจ้างทั่วไป จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทกฎหมายมหาชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เบิกความว่า เกี่ยวกับคดีนี้ พยานถูกพนักงานสอบสวนเรียกไปสอบปากคำ เนื่องจากเคยมีประสบการณ์เขียนหนังสือกฎหมายอาญาให้กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ในหัวข้อความผิดต่อความมั่นคง
พยานได้ดูบันทึกถอดเทปคำปราศรัยของจำเลยแล้วเห็นว่า เป็นข้อความที่ดูหมิ่นกษัตริย์ และในขณะที่จำเลยกล่าวถึงกษัตริย์ในถ้อยคำปราศรัยก็เข้าใจได้ว่า หมายถึงรัชกาลที่ 10 เนื่องจากมีการกล่าวอ้างถึงการที่นักข่าวไปสัมภาษณ์พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งพยานเห็นว่า จำเลยได้กล่าวหาในพื้นที่สาธารณะว่ากษัตริย์เป็นผู้ที่ผิดคำพูด ย่อมทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เนื่องจากพยานเห็นว่าคนในสังคมไทยมักไม่ยอมรับผู้ที่ผิดคำพูด และข้อความตามฟ้องที่มีการกล่าวถึงตัวเลข 904 พยานเข้าใจว่าเป็นนามวิทยุของรัชกาลที่ 10 ซึ่งมีชื่อเรียกเต็ม ๆ อีกชื่อว่าเดโชชัย 904 แต่เรียกโดยย่อว่า 904
นอกจากนี้ พยานเห็นว่าในประเด็นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ จำเลยไม่ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการตำหนิติเตียนโดยไม่มีข้อเท็จจริงว่า รัชกาลที่ 10 เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
ต่อมา คมสันทนายจำเลยถามค้านว่า พยานเคยไปให้ความเห็นในชั้นสอบสวนว่า ‘กลุ่มนักเรียนเลว’ เป็นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ไม่ทราบว่า อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ และตรีดาว อภัยวงศ์ จะมีเป็นผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร และจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยกับ กปปส. หรือไม่อย่างไร
พยานเห็นว่า เราสามารถติชมกษัตริย์ได้ แต่ต้องเป็นการพูดที่ไม่สร้างความเสียหาย หรือถ้าหากกษัตริย์ทำผิดก็เห็นด้วยว่า สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
พยานไม่ทราบว่า ที่ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่า ในหลวงไม่ให้ใช้ ม.112 เป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้ เพราะเป็นนายกรัฐมนตรี
พยานเคยได้ยินมาบ้างว่า ในช่วงที่มีการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 10 มีข่าวที่ออกมาว่าจะทรงยับยั้งไม่ให้ใช้มาตรา 112 กับกลุ่มที่เห็นต่างทางการเมือง แต่พยานไม่รู้ว่าตรัสจริงหรือไม่
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 21-03-2023นัด: สืบพยานโจทก์++‘อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์’ เบิกความว่า จำเลยทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่ากษัตริย์เป็นภัยอันตราย และเป็นกษัตริย์ที่ไม่รักษาคำพูด
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ – อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สอนวิชาเกี่ยวกับสถิติประยุกต์เป็นหลักและไม่ได้จบหรือศึกษาวิชากฎหมายใด ๆ เบิกความว่า พยานได้รับเชิญจากพนักงานสอบสวนให้ไปให้ความเห็นเกี่ยวกับคำปราศรัยของจำเลย เมื่อพยานได้ดูถ้อยคำทั้งหมดแล้วก็เข้าใจว่า จำเลยกล่าวหารัชกาลที่ 10 ว่าเป็นภัย เป็นสิ่งอันตราย ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งการกระทำของจำเลยขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำให้ประชาชนดูหมิ่น เกลียดชังกษัตริย์
พยานเข้าใจถ้อยคำตามฟ้องได้อีกว่า ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่รักษาคำพูด โดยใช้มาตรา 112 กับประชาชน พยานเห็นว่าข้อความของจำเลยไม่มีหลักฐานอ้างอิง เป็นการพูดให้คนเข้าใจผิดว่ากษัตริย์ไม่รักษาคำพูด แม้จะมีประยุทธ์ออกมาพูดกับสื่อ แต่ก็ไม่มีข้อมูลอื่นนอกจากนี้ หรือมีหลักฐานที่บอกว่าเป็นกระแสรับสั่งของกษัตริย์จริง ๆ
นอกจากนี้ อานนท์ได้เบิกความว่าการที่จำเลยออกมาพูดแบบนี้ ก็เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งทั้งสองมักกล่าวหาโจมตีสถาบันกษัตริย์อยู่เป็นประจำ
พยานไม่เคยติดตามข่าวการชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ แต่จำได้ว่าจำเลยในคดีนี้เคยถูกแจ้งความมาตรา 112 ที่ สน.บางเขน จากการปราศรัยที่บริเวณหน้าราบ 11 อีก 1 คดี (โดยข้อเท็จจริงจำเลยถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีนี้เพียงคดีเดียว)
จากนั้น อานนท์ตอบทนายจำเลยถามค้านโดยรับว่า ตนไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง บุคคลทั่วไปก็ไม่มีใครเป็นกลางทางการเมือง และยอมรับว่าตัวเองเคยเข้าร่วมกลุ่ม กปปส. จริง แต่เคยเรียกกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองว่าเป็นกลุ่มสามกีบหรือไม่ ไม่ขอตอบ
พยานเคยไปเป็นพยานโจทก์ในคดีที่เกี่ยวกับมาตรา 112 มาแล้วหลายคดี แต่ไม่ขอตอบว่า จะนำข้อความที่ตัวเองเคยเบิกความไปโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวหรือไม่ ทั้งนี้ พยานไม่ทราบว่าในแต่ละคดีที่ไปนั้น ไปในฐานะพยานบุคคลทั่วไปหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อทนายจำเลยถามว่า ในคดีที่พยานไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลย พยานก็มักจะโพสต์ลงเฟซบุ๊กเพื่อเสียดสีจำเลยอยู่บ่อยครั้งใช่หรือไม่ พยานบอกว่า ไม่ขอตอบ
ทั้งนี้ อานนท์ยอมรับว่าตนเป็นหนึ่งในนักวิชาการของกลุ่มสถาบันทิศทางไทย แต่จะเป็นหนึ่งในผู้โพสต์ข้อความบนเพจดังกล่าวหรือไม่ และกลุ่มจะมีแนวความคิดทางการเมืองตรงข้ามกับจำเลยหรือไม่ พยานก็ไม่ขอตอบ เหตุที่ไม่ตอบคำถามใดเลยนั้นเป็นเพราะไม่เกี่ยวกับคดีนี้
อย่างไรก็ตาม อานนท์เบิกความตอบว่า เห็นด้วยที่กษัตริย์ควรสามารถติชมได้โดยสุภาพ สุจริต และถูกกฎหมาย และมีหลักฐานที่ยืนยันได้ ส่วนที่พลเอกประยุทธ์เคยออกมาให้สัมภาษณ์ ตนเห็นว่าเป็นข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากนักการเมืองเชื่อถือไม่ได้
พยานไม่ทราบว่า คำว่า ‘ราชภัย’ มีความหมายว่า ภัยของพระราชาหรือไม่
พยานรู้จักกับตรีดาวเป็นการส่วนตัว ในฐานะรุ่นพี่ – รุ่นน้องที่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และทราบว่า ตรีดาวเคยสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ตรีดาวจะเคยเป็นแกนนำกลุ่ม กปปส. และจะเคยจัดกิจกรรมรวมตัวที่บ้านของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พยานไม่ทราบ ส่วนเรื่องการพูดคุยกันบนโลกโซเชียล พยานขอไม่ตอบ
พยานเห็นว่า เราสามารถวิจารณ์และติชมคนที่พูดจากลับไปกลับมาได้ แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย
ในการตอบอัยการถามติง อานนท์ยืนยันว่า ได้ให้การกับพนักงานสอบสวนไว้แล้วว่า นายกรัฐมนตรีอาจถ่ายทอดพระราชกระแสรับสั่งไม่ถูกต้อง และเมื่อไม่ได้มีการตรัสออกมาจากรัชกาลที่ 10 ก็มิอาจยืนยันความถูกต้องได้ ดังนั้น คำพูดของจำเลยจึงเป็นความผิด
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 21-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์++‘ตรีดาว อภัยวงศ์’ เห็นว่าคำปราศรัยเป็นการใส่ความกษัตริย์ เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า ร.10 พูดจริง
ตรีดาว อภัยวงศ์ อาจารย์พิเศษสาขาศิลปกรรมการแสดง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีโอกาสเป็นนักบำบัดจิตอาสา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งยังเคยประกอบอาชีพนักข่าวที่ช่อง Blue Sky เบิกความว่า พยานได้รับเชิญจากพนักงานสอบสวนให้ไปสอบปากคำและให้ความเห็นเกี่ยวกับถ้อยคำปราศรัยของจำเลย เมื่ออ่านแล้วเข้าใจว่าผู้พูดมีทัศนคติที่เป็นลบกับกษัตริย์ และเห็นว่าข้อความทั้งหมดตามฟ้องไม่เป็นจริง เป็นการกล่าวหาใส่ร้ายกษัตริย์
ในส่วนข้อความเรื่องราชภัย พยานเห็นว่า ผู้พูดต้องการแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์เป็นสิ่งไม่ดี เป็นอันตรายต่อประชาชน ประเทศชาติ และการปกครอง และเข้าใจได้ว่ากษัตริย์ที่หมายถึงคือรัชกาลที่ 10 เนื่องจากเป็นการชุมนุมที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 10
ในความเห็นของพยาน เมื่อได้ยินคำพูดดังกล่าวแล้วรู้สึกว่า รัชกาลที่ 10 เป็นคนไม่น่าเคารพ อันตรายและไม่ดี ส่วนในอีกข้อความพยานได้อ่านแล้วเห็นว่าไม่เป็นจริง ไม่มีหลักฐานว่า รัชกาลที่ 10 ได้กล่าวถึงไว้อย่างที่จำเลยพูด ทั้งหมดเป็นการล่วงละเมิด ใส่ความ
สิ่งที่จำเลยได้ยินและได้ฟัง มาจากนักวิชาการอย่างสมศักดิ์และปวิน ผู้ที่หนีคดีการเมืองอยู่ในต่างประเทศ และเคลื่อนไหวให้ข่าวบิดเบือนถึงสถาบันกษัตริย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการนำมาปะติดปะต่อ ทำให้คนฟังเชื่อได้ว่า กษัตริย์ไม่มีความน่าเคารพ ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112
ตรีดาวตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานเคยไปให้การในคดีมาตรา 112 มาแล้วหลายคดี ทั้งนี้ พยานไม่ได้มีความคิดเห็นเป็นกลางทางการเมือง โดยได้บอกกับพนักงานสอบสวนไปแล้วว่าเคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. และเคยเข้าร่วมชุมนุมขับไล่ทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พนักงานสอบสวนยังคงยืนยันสอบปากคำ เพราะต้องการความเห็นทางวิชาการ
เมื่อทนายนำโพสต์บนเฟซบุ๊กของพยานเมื่อปี 2563 ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกลุ่มผู้ชุมนุมคนรุ่นใหม่ พยานบอกว่าเป็นโพสต์ที่แชร์มาเพื่อปราม แม้จะเห็นด้วยกับเรียกร้องบางข้อ แต่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
พยานเห็นว่า กษัตริย์ควรวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ต้องไม่ละเมิดและไม่หมิ่นประมาท ผิดกฎหมาย พยานไม่แน่ใจว่า กษัตริย์ก็มีทั้งด้านดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับบริบทและเจตนาในการพูดด้วย
พยานเคยได้ยินคำว่า ราชภัย จากการชุมนุม แต่ไม่มั่นใจว่าคำดังกล่าวจะมีความหมายอย่างไร เพราะในหลักทางการละคร จะขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้พูดด้วย ส่วนเรื่องคำพูดของประยุทธ์ จันทร์โอชา พยานเห็นว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งมา แต่จะโกหกประชาชนหรือไม่ พยานไม่สามารถตอบได้
พยานรู้จักสำนักข่าว Thai PBS แต่เห็นว่าบางข่าวก็ไม่ได้มีความน่าเชื่อถือ เพราะนักข่าวก็ไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาก่อนเผยแพร่
เมื่อทนายถามพยานว่าคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับคนที่ชอบพูดกลับไปกลับมา พยานตอบว่าควรจะติติงได้ ถ้าไม่ละเมิดหรือหมิ่นประมาท หากกษัตริย์พูดกลับไปกลับมา ประชาชนก็สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้
ทั้งนี้ พยานรู้จักกลุ่มคณะราษฎร แต่ก็ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรทั้งสองกลุ่ม พยานอธิบายว่าบรรพบุรุษของตนก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคณะราษฎร 2475 แต่ภายหลังก็ได้มีการเข้าไปกราบขอพระราชอภัยโทษแล้วหลังได้อำนาจมา
ส่วนข้อความที่แชร์เกี่ยวกับกลุ่มผู้ชุมนุมในปี 2563 พยานไม่ได้มีความรู้สึกเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แค่อ่านแล้วรู้สึกสะเทือนใจและอยากให้กำลังใจกับสถาบันกษัตริย์เท่านั้น
พยานเข้าใจว่าคำปราศรัยทั้งหมดไม่มีตรรกะที่ชัดเจน และทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ทรงอยู่เบื้องหลังเรื่องราวทางการเมืองทั้งหมด
ต่อมา พยานกล่าวตอบอัยการถามติงว่า จำเลยในคดีนี้ไม่ได้มีเจตนามาชุมนุมเพื่อยกเลิกมาตรา 112 แต่เพื่อทำให้ประชาชนเชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ไม่น่าเคารพ ใช้อำนาจเกินเลย และอยู่เบื้องหลังรัฐบาล ส่วนหลักฐานที่นำมาแสดงของฝ่ายจำเลย พยานเห็นว่าเป็นการกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานโดยประจักษ์
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 28-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์++สามประชาชนทั่วไปให้ความเห็นว่าคำปราศรัย ‘ราชภัย’ เป็นการดูหมิ่นกษัตริย์ว่ามีภัยต่อประเทศชาติ
หนูจันทร์ พิมพหรมมา, นันทรัช เปี่ยมสิน และภูริทัต ตั้งจารุ ประชาชนทั่วไปเบิกความให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่า ในข้อความปราศรัยที่ 1 พยานเข้าใจว่า กษัตริย์เป็นผู้มี ‘ภัย’ ต่อประชาชนและประเทศชาติ กษัตริย์ในที่นี้เข้าใจว่าหมายถึง รัชกาลที่ 10 เพราะขณะปราศรัยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์อยู่ แต่อย่างไรก็ตามพยานก็ยังจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์เช่นเดิม
หนูจันทร์ เบิกความต่อว่า ในข้อความปราศรัยที่ 2 เข้าใจว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่าจะใช้กฎหมายมาตรา 112 และกฎหมายทุกฉบับเพื่อเอาผิดกับผู้ชุมนุม จะทำให้กษัตริย์เป็นคนผิดคำพูดกับประชาชน ซึ่งเหตุที่มาเป็นพยานในคดีนี้นั้นเนื่องจากตำรวจได้มาเจรจาขอให้มาเป็นพยานในคดีนี้
พยานกล่าวว่า การที่พลเอกประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่า จะไม่ใช้มาตรา 112 นั้นไม่เหมาะสม ทำให้ประชาชนรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังสถาบันฯ เพราะเขาเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ คนเชื่อถือได้ง่าย และการที่ภายหลังกลับมาบังคับใช้มาตรา 112 เห็นด้วยว่า เป็นการบอกว่ากษัตริย์ผิดคำพูด อย่างไรก็ตามหลังจากฟังปราศรัยจนถึงปัจจุบันพยานก็ยังคงจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์อยู่เหมือนเดิม
นันทรัชเบิกความว่า ถ้อยคำปราศรัยที่ 2 พยานไม่ทราบว่าสิ่งที่จำเลยอ้างว่า พลเอกประยุทธ์พูดนั้นความจริงหรือไม่ เป็นการกล่าวหาลอย ๆ และพยานเห็นว่ากษัตริย์มีเฉพาะแง่ดีเท่านั้น การวิจารณ์กษัตริย์ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ทั้งนี้ พยานรู้จักกับหนูจันทร์มานานกว่า 5 ปีแล้ว
ภูริทัต นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ เบิกความว่า ตนเองดูการปราศรัยย้อนหลังผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ โดยเลือกเฉพาะช่วงที่สำคัญเท่านั้น
ในถ้อยคำปราศรัยที่ 1 พยานเห็นว่า หมายถึงรัชกาลที่ 10 เพราะมีการกล่าวถึงหมายเลข 904 ตามมาด้วย ซึ่งเป็นเลขประจำตัว หากค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะทราบ ส่วนถ้อยคำปราศรัยที่ 2 พยานเห็นว่า เป็นการกล่าวหารัชกาลที่ 10 ว่ามีความชอบธรรมในการเป็นประมุขของรัฐอยู่หรือไม่ เป็นการตั้งคำถามต่ออำนาจของพระองค์ว่ามีอำนาจเข้าไปแทรกแซงหรือยับยั้งการใช้กฎหมาย รวมถึงมาตรา 112 ด้วย
ในช่วงทนายจำเลยถามค้าน ภูริทัตยอมรับว่าได้นัดแนะให้ ‘ผู้กล่าวหา’ พาไปตนพบตำรวจเพื่อติดต่อขอเป็นพยาน ทั้งนี้ พยานรู้จักกันกับผู้กล่าวหามาก่อนเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว และพยานเคยเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาก่อน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 05-09-2023นัด: สืบพยานจำเลย++จำเลยเบิกความ ปราศรัยตั้งคำถามถึงปัญหาในศาสนาที่หยิบยกแต่ด้านดีมาสอน อีกทั้งพลเอกประยุทธ์ทำให้กษัตริย์ผิดคำสัญญาตามหลักทศพิธราชธรรม
สหรัฐ สุขคำหล้า จำเลยอ้างตัวเองเป็นพยาน เบิกความว่า ขณะที่เกิดเหตุ พยานเป็นสามเณร ซึ่งบวชเรียนตั้งแต่อายุ 12 ปี ที่วัดม่วงชุม จังหวัดพะเยา จนจบปริยธรรมชั้น ม.6 จากนั้นจึงเรียนต่อปริญญาตรีที่คณะศิลปศาสตร์ สาขาศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งสึกเมื่อปีปลายปี 2564 ปัจจุบันจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว
เกี่ยวกับการปราศรัยของพยานในวันที่ 21 พ.ย. 2563 มีสาเหตุมาจาก พยานเป็นคนที่สนใจการเมืองและติดตามการชุมนุมอยู่แล้ว และในเดือน ต.ค. – พ.ย. 2563 มีการปราบปรามผู้ชุมนุม ทั้งที่ผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวโดยสันติ ซึ่งช่วงนั้นเป็นการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ขณะที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย พยานเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมศึกษาเพื่อพูดคุยประเด็นทางการเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เหตุที่ทำให้พยานได้ไปปราศรัยในวันเกิดเหตุนั้นมีกลุ่มนักเรียนเลวติดต่อผ่านมาทางกลุ่มกิจกรรมให้พูดภายใต้หัวข้อ “อำนาจที่มองไม่เห็นและความรุนแรงของรัฐ” ซึ่งสาระสำคัญในการปราศรัยในวันนั้นคือ การแยกศาสนาออกจากรัฐ และการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง
พยานอธิบาย ‘การแยกศาสนาออกจากรัฐ’ ว่าเป็นการแยกศาสนาออกจากรัฐ ให้รัฐอยู่ในระบบ Secular state คือ รัฐไม่สนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ และให้ศาสนาเป็นองค์กรที่ดูแลตนเอง โดยไม่พึ่งพิงรัฐ และแสดงจุดยืนให้หยุดใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือของรัฐ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง
ในข้อความปราศรัยที่ 1 ตามฟ้อง เป็นการแสดงความเห็น คำพูดของจำเลยมีสิ่งที่ตามมาขยาย ฉะนั้นต้องดูบริบทให้ครบ ซึ่งข้อความที่ขยายอยู่ในนาทีที่ 28.34, นาทีที่ 29.05 และนาทีที่ 29.51 ด้วย
ส่วนประเด็นที่พูดเกี่ยวกับด้านดีและด้านเสียนั้น เป็นการทำให้ประชาชนรู้ว่าในพระไตรปิฎกสอนเรื่องพระราชาว่ามีทั้งด้านดีและด้านเสีย เพื่อเป็นคติสอนใจให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยจากที่ตนศึกษามานั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียของกษัตริย์ อยู่ในพระไตรปิฎก ทุติยภยสูตร เหตุที่พูดเช่นนี้เพราะว่าเป็นการตั้งคำถามต่อพระสงฆ์ของจำเลยเอง สืบเนื่องมาจากที่พระสงฆ์ทั่วไปในไทยเลือกสอนบางเรื่องและไม่สอนบางเรื่อง
สืบเนื่องจากข้อความที่ว่า ‘เมื่อคุณเข้าไปที่วัด.. คุณมักจะเห็นการเทศน์..’ มีจุดประสงค์ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับพระสงฆ์ในไทย และข้อความที่ว่า ‘ทำไมเราไม่พูดถึงภัยของพระราชา’ นั้นมาจากพระสงฆ์ที่ไม่ได้หยิบยกมาสอนทั้งหมดนั้นเป็นปัญหา ทำให้ไม่สามารถรับรู้เรื่องราวทั้งหมดได้ จนนำมาสู่ข้อสรุปว่า ทำไมถึงไม่พูดถึงภัยของพระราชา และกษัตริย์ที่จำเลยพูดถึงในประเด็นนี้ จำเลยกล่าวว่าตนไม่ได้พูดถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 แต่เป็นการพูดถึงกษัตริย์ในพระไตรปิฎก
ข้อความเรื่องปัญหาในการเทศน์ในคำปราศรัยนาทีที่ 29.05 พยานได้ยกตัวอย่างว่า การพูดแต่ด้านดีของพระเวสสันดรเพียงอย่างเดียวก็มีปัญหาขาดบริบท จากที่เรียนมานั้น พระเวสสันดรเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ขี้เหนียว พยานกล่าวว่า ต้องการให้มีการวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียด้วย ซึ่งการพูดถึงข้อดีและข้อเสียของพระราชาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม อย่างเช่น ธรรมิกกาสูตร
ถัดมา ในข้อความปราศรัยที่ 2 ตามฟ้อง ระหว่างพยานเป็นสามเณร ได้ทราบว่าพลเอกประยุทธ์ได้ให้สัมภาษณ์กับช่อง Thai PBS แต่ภายหลังเดือน ต.ค. – พ.ย. 2563 ก็มีการจับตัวประชาชนอย่างอานนท์และเพนกวิน ทำให้เห็นว่ายังมีการใช้มาตรา 112 อยู่ ทั้งนี้ จากที่ตนศึกษาธรรมอยู่นั้น พลเอกประยุทธ์ทำให้กษัตริย์ผิดคำสัญญาตามหลักทศพิธราชธรรม หรือธรรมที่ใช้ปกครองบ้านเมืองเสื่อมไป ซึ่งข้อความที่ 2 ที่ถูกฟ้อง พยานกล่าวว่ามุ่งที่จะต่อว่าพลเอกประยุทธ์ ที่ใช้กฎหมาย
พยานกล่าวอธิบายว่า สิ่งที่ตนพูดนั้นเป็นการตั้งคำถาม กษัตริย์ยังเป็นองคภาวะอยู่ในทศพิธราชธรรม แล้วคำว่ากษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ แล้วยังเป็นกษัตริย์อยู่หรือไม่นั้น เป็นคำสร้อยในเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นคำพูดทั่วไป
ส่วนข้อความปราศรัยเรื่องไสยศาสตร์ในนาทีที่ 28.34 พยานกล่าวว่ามีบางวัดสอนเรื่องไสยศาสตร์ ตนเพียงต้องการให้คนเรียนธรรมะอย่างแท้จริง เข้าใจคำสอนอย่างถูกต้องเหมือนที่ตนได้เรียนในมหาวิทยาลัย
พยานกล่าวทิ้งท้ายด้วยคำว่าปฏิเสธ ตนไม่ได้หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ
จากนั้น สหรัฐเบิกความตอบอัยการถามค้านว่า ตนเองทราบว่าในขณะที่ปราศรัยอยู่นั้นมีกษัตริย์ครองราชย์อยู่
ข้อความปราศรัยที่ 2 ตามคำฟ้อง ที่กล่าวว่ากษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ พยานไม่เคยได้ยิน และไม่เคยเห็นกับตัวเอง แต่ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์พูดกับผู้สื่อข่าวเป็นคำพูดที่น่าเชื่อถือ ตนเชื่อเพราะเป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากพูดตามหลักทศพิธราชธรรมเรื่องการไม่เบียดเบียนผู้ใด กษัตริย์จะไม่มีการใช้ 112 กับประชาชน
เจตนาของตนนั้น ในธรรมิกกาสูตร กษัตริย์ทรงธรรมบ้านเมืองก็จะสงบสุข กษัตริย์ไม่ทรงธรรมบ้านเมืองก็จะเป็นทุกข์ เป็นองค์รวม พระสงฆ์ก็สามารถตรวจสอบการทำงานของกษัตริย์ว่าได้ใช้อำนาจตามทศพิธราชธรรมหรือไม่
++สุรพศ ทวีศักดิ์ ชี้ คำพูดของจำเลยเป็นการตั้งคำถามถึงพระและศาสนา รวมไปถึงการนำเสนอแนวคิดแยกศาสนาออกจากรัฐ และวิจารณ์พลเอกประยุทธ์ที่พูดกลับไปกลับมาเรื่องการบังคับใช้ 112
สุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตหัวหิน เบิกความว่า พยานเคยบวชเรียนจนจบนักธรรมชั้นเอก จบเปรียญธรรม 5 ประโยค ส่วนในระดับชั้นปริญญาตรีจบจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในระดับปริญญาโทจบสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านผลงานวิชาการของพยาน มีงานวิจัยและหนังสือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศานากับรัฐ, รัฐ:โลกวิสัย, การแยกศาสนาออกจากรัฐ
พยานไม่ได้รู้จักกับจำเลยเป็นการส่วนตัว รู้จักจากข่าวและทราบว่าเป็นสามเณรที่เคลื่อนไหวทางการเมืองและนำเสนอแนวคิดแยกศาสนาออกจากรัฐ
ข้อความปราศรัยที่ 1 ตามฟ้อง พยานเห็นว่าจำเลยปราศรัยโดยมีสาระสำคัญคือ รัฐโลกวิสัย และต้องการแยกศาสนาออกจากรัฐ พยานศึกษางานวิจัยจากในและต่างประเทศที่วิจารณ์การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือของรัฐ นำไปสู่รัฐที่เป็นกลางทางศาสนา เห็นว่าจำเลยมีข้อเสนอเช่นนี้จึงตั้งคำถามตามข้อความว่า ‘ทำไมพระเทศน์ถึงพูดแต่ด้านดี ทำไมไม่พูดถึงด้านอื่น’ ซึ่งการนำเสนอแนวคิดการแยกศาสนาออกจากรัฐ ต้องนำเสนอถึงปัญหาก่อน ถ้าไม่มีการแยกออกมา ศาสนาก็จะถูกนำมาใช้ในบริบทการเมือง
คำว่า ภัยของพระราชา นั้น ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า ‘ราชภัย’ ซึ่งอยู่ในงานประวัติศาสตร์ไทยอย่างพงศาวดาร หรืองานประวัติศาสตร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์, ส.ศิวรักษ์ และอีกหลายท่าน
ในข้อความปราศรัยที่ 1 ตามฟ้อง พยานกล่าวว่า ไม่ได้ระบุชัดถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 และไม่ได้เอ่ยชื่อบุคคลใด เนื่องจากคำว่า ราชภัย ใช้กันอยู่ทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นกษัตริย์องค์ใด และถ้าหากอ่านข้อความทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะตัวที่เน้นสีดำ เป็นการตั้งคำถามถึงพระและศาสนา อันที่จริงแล้วในพระไตรปิฎกจะพูดถึงด้านดีของกษัตริย์ และพูดถึงด้านลบ อย่างเช่น ไม่ทรงทศพิธราชธรรม ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วน พยานเห็นว่า คำถามที่ตั้งก็มีเหตุผล
ข้อความปราศรัยที่ 2 ตามฟ้อง พยานเห็นว่า เป็นการพูดถึงหลักการว่า กษัตริย์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์กับนายกรัฐมนตรีสามารถพูดคุยปรึกษาหารือกันได้โดยเป็นความลับและไม่เป็นที่เปิดเผย แต่การที่พลเอกประยุทธ์ไปให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้าว่า ในหลวงไม่ให้ใช้มาตรา 112 แล้วต่อมามีการพูดว่าจะใช้มาตรา 112 พยานเห็นว่า สิ่งที่พลเอกประยุทธ์ทำนั้นผิดหลักการ เขาไม่ควรนำเรื่องดังกล่าวมาพูด เมื่อนำมาพูดก็จะเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งจำเลยก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาวิจารณ์ และพยานเห็นว่า เป็นการวิจารณ์พลเอกประยุทธ์
ส่วนคำปราศรัยที่ว่า “กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ” เป็นหลักการที่ทราบโดยทั่วไปว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ การที่พลเอกประยุทธ์พูดกลับไปกลับมา ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดไปว่า กษัตริย์ตรัสแล้วคืนคำ ซึ่งพยานกล่าวว่า คำปราศรัยดังกล่าวไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาทในหลวงรัชกาลที่ 10 เพราะใจความสำคัญที่พูดถึงคือพลเอกประยุทธ์ จากการสังเกตจากข้อความที่ว่า “ถ้าคุณพูดแบบนี้..” ซึ่งสิ่งที่จำเลยเสนอเป็นสิทธิเสรีภาพในการพูดตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/60657) -
วันที่: 19-10-2023นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 604 โฟล์ค สหรัฐ เดินทางมาถึงศาล โดยมีเพื่อนนักกิจกรรม อาจารย์ นักข่าว ประชาชนทั่วไปหลายคนเดินทางเข้ามาให้กำลังใจ ขณะที่รอฟังคำพิพากษา
เวลา 09.45 น. จงมาด อักษรเสนาะ และชนิดา เลิศสิทธิสกุล ผู้พิพากษาออกนั่งอ่านคำพิพากษา ใช้เวลาราว 20 นาที โดยมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า ทั้งศาสนาและคนต่างมีข้อดีและข้อเสีย มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้ รวมถึงวิจารณ์พลเอกประยุทธ์ที่กล่าวอ้างคำพูดของในหลวงรัชกาลที่ 10 แต่อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุจำเลยบวชเป็นเณร ต้องระมัดระวังในการพูดของตน การที่จำเลยแสดงความคิดเห็นว่า ศาสนาและพระราชามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งอ้างว่าเป็นคติสอนใจ แต่การที่จำเลยกล่าวอ้างถึง “ภัยพระราชา” ซึ่งพยานโจทก์เบิกความทำนองเดียวกันว่า ฟังแล้วเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงทำให้ประเทศเสียหายและอาจทำให้ประชาชนที่ได้รับฟังเกิดความดูถูก เกลียดชังพระมหากษัตริย์
และถ้อยคำปราศรัยในเรื่องกษัตริย์จะผิดสัญญาหรือคำสัตย์ กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ในเรื่องการใช้มาตรา 112 ซึ่งจำเลยอ้างว่า เป็นคำพูดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าเคยทรงมีรับสั่งใด ๆ ให้ใช้มาตรา 112 เป็นเพียงนายกรัฐมนตรีที่ออกมาให้สัมภาษณ์เพื่อปรามผู้ที่มีพฤติการณ์หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
ขณะที่จำเลยพูด รัชกาลที่ 10 ยังทรงครองราชย์อยู่ แต่มีการปราศรัยและแสดงออกไม่เหมาะสม คำปราศรัยทำให้ประชาชนคล้อยตามคำพูดได้ และเกิดความเข้าใจว่ากษัตริย์ว่าไม่น่าเคารพ และประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธา จึงเห็นว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนคำขอที่ให้นับโทษคดีนี้ต่อจากคดีที่ศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงพระนครเหนือ เนื่องจากทั้งสองคดียังไม่มีคำพิพากษา จึงให้ยกคำร้องในส่วนนั้นไป
หลังศาลอ่านคำพิพากษา ศาลแจ้งว่าหากไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาก็สามารถยื่นอุทธรณ์และฎีกาได้ตามลำดับ
จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจศาลกำลังจะเตรียมใส่กุญแจมือโฟล์ค และนำตัวลงไปใต้ถุนศาล ได้มีนักกิจกรรมเข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ จนในที่สุดโฟล์คก็ถูกควบคุมตัวลงไปใต้ถุนศาลโดยที่ไม่ได้ใส่กุญแจมือ
จากนั้นนายประกันจึงได้ยื่นขอประกันตัวจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อเวลา 13.25 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันระหว่างอุทธรณ์ โดยให้วางหลักทรัพย์จำนวน 300,000 บาท ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์
โดยกำหนดเงื่อนไขเช่นเดิมที่โฟล์คได้รับประกันตัวระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น คือ ห้ามจำเลยร่วมการชุมนุมอันอาจทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอีก, ห้ามกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาต โดยให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัด
(อ้าง: https://tlhr2014.com/archives/60736)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สหรัฐ สุขคำหล้า
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สหรัฐ สุขคำหล้า
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- จงมาด อักษรเสนาะ
- ชนิดา เลิศสิทธิสกุล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
19-10-2023
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สหรัฐ สุขคำหล้า
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์