ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
- ไม่แจ้งการชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
- ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.จราจรฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
- กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
หมายเลขคดี
ดำ อ. 2887/2564
ผู้กล่าวหา
- ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก
ความสำคัญของคดี
นักกิจกรรม "ราษฎร" 7 ราย ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “ไบรท์” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, จิรฐิตา (สงวนนามสกุล) และคริษฐ์ (สงวนนามสกุล) นักเรียนชั้น ม.6 ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมอีกหลายข้อหา หลังร่วมชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 และขึ้นปราศรัยวิจารณ์คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ หลังตัดสินให้ประยุทธ์ยังเป็นนายกฯ กรณีอยู่บ้านพักทหาร รวมถึงข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนเป็นผู้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี
หลังอัยการยื่นฟ้อง ศาลอาญาไม่ให้ประกันอานนท์, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และปนัสยา ระหว่างพิจารณาคดี อ้างเหตุว่าพฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ประกอบกับจำเลยถูกดำเนินคดีซ้ำกันหลายคดี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าจะก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลบหนี ก่อนให้ประกันปนัสยาอย่างจำกัดเวลา และมีเงื่อนไขหลายข้อ เพื่อให้ไปสอบและเรียนต่อในภาคเรียนสุดท้าย
เป็นอีกกรณีที่สะท้อนปัญหาสำคัญของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ทำให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน รวมถึงการขยายการตีความไปจนทำให้การวิจารณ์อดีตกษัตริย์ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ด้วย แม้ว่าไม่ใช่บุคคลที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
หลังอัยการยื่นฟ้อง ศาลอาญาไม่ให้ประกันอานนท์, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และปนัสยา ระหว่างพิจารณาคดี อ้างเหตุว่าพฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ประกอบกับจำเลยถูกดำเนินคดีซ้ำกันหลายคดี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าจะก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลบหนี ก่อนให้ประกันปนัสยาอย่างจำกัดเวลา และมีเงื่อนไขหลายข้อ เพื่อให้ไปสอบและเรียนต่อในภาคเรียนสุดท้าย
เป็นอีกกรณีที่สะท้อนปัญหาสำคัญของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ทำให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน รวมถึงการขยายการตีความไปจนทำให้การวิจารณ์อดีตกษัตริย์ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ด้วย แม้ว่าไม่ใช่บุคคลที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ธีรารัตน์ บุตรโพธิ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า
1. ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้ง 7 กับพวก ร่วมกันประกาศชักชวนประชาชนให้มาร่วมการชุมนุม #ม็อบ2ธันวาไล่จันทร์โอชาออกไป ในวันที่ 2 ธ.ค. 2563 เวลา 16.00 น. ที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ, ให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อ ผกก.สน.พหลโยธิน
2. ในวันเกิดเหตุ มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 3,000 คน โดยมีการปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียง ตะโกน โห่ร้อง ด้วยคำพูดหรือสัญลักษณ์หยาบคายโจมตีกล่าวหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ อันมีสาระสำคัญว่า ทรงใช้พระราชอำนาจแทรกแซงการพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการปกครองของฝ่ายบริหาร จนเกิดความไม่ยุติธรรม อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อโควิด-19 โดยจำเลยไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกัน
3. วันเกิดเหตุ จำเลยยังร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะและกีดขวางการจราจร โดยการนำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินไปตามช่องทางจราจร นำแผงเหล็กวางกั้นปิดการจราจร ตั้งเวที จอภาพขนาดใหญ่และเป็ดลมยาง จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจรของประชาชนทั่วไป ทั้งจำเลยยังร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าเพื่อปราศรัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. วันเกิดเหตุ จำเลยได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ด้วยการจัดชุมนุมและปราศรัยปลุกระดมผู้ร่วมชุมนุม เพื่อให้ผู้ร่วมชุมนุมตะโกน ด่าทอ แสดงความไม่พอใจโดยเขียนหรือพ่นสีลงกระดาษ เสาทางเดินยกระดับของรถไฟฟ้า และลงบนถนนสาธารณะ ตลอดจนเปิดเพลงหรือทำการแสดงดนตรี เมื่อ ผกก.สน.พหลโยธิน สั่งให้จำเลยและผู้ร่วมชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยยังคงขัดขืน
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีเป็นประมุข มีการสืบทอดสันตติวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
5. จำเลยยังได้ร่วมกันหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่องถึงขนาดก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือ จำเลยได้ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยในระหว่างชุมนุมสาธารณะ ดังนี้
อานนท์ นำภา จำเลยที่ 1 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการเรียกร้องให้กษัตริย์เป็นกลางทางการเมืองจึงจะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน
พริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 2 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการแทรกแซงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และข้อเสนอเกี่ยวกับการให้ตัดมาตราที่ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญออกไปทั้งหมดในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง จำเลยที่ 3 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการเชิญชวนประชาชนให้พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และการได้มาซึ่งรัฐสวัสดิการจำเป็นจะต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก่อน
ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 4 พูดปราศรัยถึงการที่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ถูกครอบงำ และประชาชนต้องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลและระบบยุติธรรมได้
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 5 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีกองกำลังทหารเป็นของตัวเอง อาทิ กรมทหารราบที่ 1 และราบที่ 11 และเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับการตายหรือการหายตัวไปของผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
จิรฐิตา จำเลยที่ 6 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย จนตนได้รับบาดแผล รอยไหม้ และพุพองจากการถูกน้ำผสมสารเคมีฉีดใส่ และเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบการที่ประชาชนถูกสลายการชุมนุมในครั้งนั้น
คริษฐ์ จำเลยที่ 7 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการตั้งคำถามถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ปกป้องไม่ให้พูดถึงอดีตกษัตริย์ และการปราบดาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราชโดยกษัตริย์รัชกาลที่ 1 รวมถึงตั้งคำถามถึงกรณีการสวรรคตของกษัตริย์รัชกาลที่ 8
เมื่อบุคคลที่สามได้ฟังปราศรัยดังกล่าวย่อมทำให้เกิดเข้าใจว่า กษัตริย์ทั้ง 10 รัชกาลในราชวงศ์จักรีทรงใช้พระราชอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเมืองการปกครองของฝ่ายบริหารและตุลาการ ทรงอยู่เบื้องหลังการใช้กำลังทรมานกับประชาชน อันเป็นการใส่ความทั้ง 10 พระองค์ด้วยข้อความหยาบคาย เป็นเท็จและบิดเบือน ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชังอย่างร้ายแรง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564)
1. ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้ง 7 กับพวก ร่วมกันประกาศชักชวนประชาชนให้มาร่วมการชุมนุม #ม็อบ2ธันวาไล่จันทร์โอชาออกไป ในวันที่ 2 ธ.ค. 2563 เวลา 16.00 น. ที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ, ให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อ ผกก.สน.พหลโยธิน
2. ในวันเกิดเหตุ มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 3,000 คน โดยมีการปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียง ตะโกน โห่ร้อง ด้วยคำพูดหรือสัญลักษณ์หยาบคายโจมตีกล่าวหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ อันมีสาระสำคัญว่า ทรงใช้พระราชอำนาจแทรกแซงการพิจารณา พิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการปกครองของฝ่ายบริหาร จนเกิดความไม่ยุติธรรม อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อโควิด-19 โดยจำเลยไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกัน
3. วันเกิดเหตุ จำเลยยังร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะและกีดขวางการจราจร โดยการนำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินไปตามช่องทางจราจร นำแผงเหล็กวางกั้นปิดการจราจร ตั้งเวที จอภาพขนาดใหญ่และเป็ดลมยาง จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจรของประชาชนทั่วไป ทั้งจำเลยยังร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าเพื่อปราศรัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. วันเกิดเหตุ จำเลยได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ด้วยการจัดชุมนุมและปราศรัยปลุกระดมผู้ร่วมชุมนุม เพื่อให้ผู้ร่วมชุมนุมตะโกน ด่าทอ แสดงความไม่พอใจโดยเขียนหรือพ่นสีลงกระดาษ เสาทางเดินยกระดับของรถไฟฟ้า และลงบนถนนสาธารณะ ตลอดจนเปิดเพลงหรือทำการแสดงดนตรี เมื่อ ผกก.สน.พหลโยธิน สั่งให้จำเลยและผู้ร่วมชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยยังคงขัดขืน
ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีเป็นประมุข มีการสืบทอดสันตติวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
5. จำเลยยังได้ร่วมกันหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่องถึงขนาดก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือ จำเลยได้ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยในระหว่างชุมนุมสาธารณะ ดังนี้
อานนท์ นำภา จำเลยที่ 1 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการเรียกร้องให้กษัตริย์เป็นกลางทางการเมืองจึงจะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน
พริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 2 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการแทรกแซงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และข้อเสนอเกี่ยวกับการให้ตัดมาตราที่ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญออกไปทั้งหมดในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง จำเลยที่ 3 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการเชิญชวนประชาชนให้พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และการได้มาซึ่งรัฐสวัสดิการจำเป็นจะต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก่อน
ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 4 พูดปราศรัยถึงการที่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ถูกครอบงำ และประชาชนต้องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลและระบบยุติธรรมได้
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จำเลยที่ 5 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีกองกำลังทหารเป็นของตัวเอง อาทิ กรมทหารราบที่ 1 และราบที่ 11 และเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับการตายหรือการหายตัวไปของผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
จิรฐิตา จำเลยที่ 6 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย จนตนได้รับบาดแผล รอยไหม้ และพุพองจากการถูกน้ำผสมสารเคมีฉีดใส่ และเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบการที่ประชาชนถูกสลายการชุมนุมในครั้งนั้น
คริษฐ์ จำเลยที่ 7 พูดปราศรัยเกี่ยวกับการตั้งคำถามถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ปกป้องไม่ให้พูดถึงอดีตกษัตริย์ และการปราบดาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราชโดยกษัตริย์รัชกาลที่ 1 รวมถึงตั้งคำถามถึงกรณีการสวรรคตของกษัตริย์รัชกาลที่ 8
เมื่อบุคคลที่สามได้ฟังปราศรัยดังกล่าวย่อมทำให้เกิดเข้าใจว่า กษัตริย์ทั้ง 10 รัชกาลในราชวงศ์จักรีทรงใช้พระราชอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเมืองการปกครองของฝ่ายบริหารและตุลาการ ทรงอยู่เบื้องหลังการใช้กำลังทรมานกับประชาชน อันเป็นการใส่ความทั้ง 10 พระองค์ด้วยข้อความหยาบคาย เป็นเท็จและบิดเบือน ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชังอย่างร้ายแรง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 22-12-2020นัด: รับทราบข้อกล่าวหาหลังพริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง และภาณุพงศ์ จาดนอก เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB ที่ สน.พหลโยธิน คณะพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.2 ที่ 373/2563 ยังแจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมทั้งสี่ในคดีของ สน.พหลโยธิน อีก 1 คดี จากการชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 โดยไม่ได้ออกหมายเรียกมาก่อน อย่างไรก็ตาม นักกิจกรรมทั้งสี่ยินยอมเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพื่อความสะดวกของทุกฝ่าย
พนักงานสอบสวนแจ้งผู้ต้องหาทั้งสี่ถึงกระทำที่ถูกกล่าวหาว่า ผู้ต้องหาได้มีการตกลง สมคบคิด และแบ่งหน้าที่กันทำ โดยชักชวนคนมาร่วมชุมนุม ทำการปราศรัย ในกิจกรรมเรียกร้องให้นายกฯ ออกไป ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชกาลที่ 10 ในประเด็นเกี่ยวกับการมุ่งทำลายสถาบันหลักของชาติ โดยเจตนาจะทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีการทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ มีการปิดถนนพหลโยธินขาเข้าและขาออก ถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้าและขาออกที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีการใช้เครื่องขยายเสียง มีการเขียนตัวอักษรและภาพวาดไปที่พื้นถนนพหลโยธิน ประกอบกับการชุมนุมในครั้งนี้มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการแจ้งให้เลิกการชุมนุมแล้วแต่ผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตาม
พนักงานสอบสวนได้ยกเนื้อหาคำปราศรัยบางตอนขึ้นมาบรรยาย ระบุว่า มีบริบทในเนื้อหาสาระให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้เชื่อตามคำปราศรัยของผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” ทั้งสี่รวม 8 ข้อหา ดังนี้
1. ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112)
2. ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116)
3. ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215)
4. เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกการกระทำแต่ไม่เลิก (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216)
5. ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10)
6. ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจร (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385)
7. ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต (พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4)
8. ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย (ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ)
นักกิจกรรมทั้งสี่ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 29 ม.ค. 2564 โดยมีเพียงอานนท์คนเดียวที่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ส่วนคนอื่นเขียนด้วยถ้อยคำอื่นแทน ได้แก่ "ไม่ลงลายมือชื่อเพราะไม่ยอมรับอำนาจศักดินา", “ไม่ยอมรับ ม.112 เป็นกฎหมาย และ ม.112 ไม่เป็นไปตามหลักสากล” และ “ยกเลิก 112” หลังแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวทั้งหมดกลับ โดยไม่มีการควบคุมตัว
ในคดีนี้ตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหามีผู้ต้องหาทั้งสิ้น 6 ราย ซึ่งอีก 2 ราย คือ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และจิรฐิตา (สงวนนามสกุล) พนักงานสอบสวนจะดำเนินการออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาต่อไป
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 22 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24348) -
วันที่: 04-01-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาปนัสยาเวลา 13.00 น. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเป็นรายที่ 5 คณะพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.2 ที่ 373/2563 แจ้งข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหาให้ปนัสยาทราบ โดยมีใจความเช่นเดียวกับคนอื่น และยกเนื้อหาคำปราศรัยบางตอนของปนัสยาขึ้นมาบรรยาย รวม 4 ข้อความ ได้แก่
“การถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีกองกําลัง เช่น กรมทหารราบที่ 1 และราบที่ 11 ได้ถูกโอนย้ายมาด้วยพระราชกําหนดโอนอัตรากําลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการในพระองค์ พ.ศ.2563… ในความเป็นจริงนั้น ควรที่จะอยู่ดูแลภายใต้ราษฎรเสียเลยด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นกองกําลังที่พิทักษ์บุคคลเพียงไม่กี่คน ที่ไม่ได้มีความพิเศษไปกว่าเราเลย”
ส่วนอีก 3 ข้อความ เป็นการตั้งคำถามเรื่องการฆาตกรรมและการอุ้มหายผู้ที่วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ โดยพนักงานสอบสวนระบุว่า คำปราศรัยของปนัสยามีบริบทในเนื้อหาสาระให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้เชื่อตามคำปราศรัยของผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหารวม 8 ข้อหา เช่นเดียวกับคนอื่น ปนัสยาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและไม่ได้ลงลายมือชื่อแต่เขียนข้อความลงในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “ยิ่งใช้ 112 คนยิ่งเสื่อมศรัทธา” โดยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 3 ก.พ. 2564
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 4 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/24739) -
วันที่: 05-01-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาจิรฐิตา“ฮิวโก้” จิรฐิตา (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาอีกราย โดยพบว่าคดีนี้มีสมาชิกของกลุ่มพลังประชาชนปกป้องสถาบันฯ เป็นผู้ไปแจ้งความร้องทุกข์ด้วย
พ.ต.ท.พิภัสสร์ พูนลัน และคณะพนักงานสอบสวนซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งของกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2 ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่อจิรฐิตา ว่าได้ร่วมกับแกนนำคนอื่นๆ ในการชักชวนคนมาร่วมชุมนุม และขึ้นเวทีปราศรัยโดยมีการใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการถอดเทปเนื้อหาคำปราศรัยของจิรฐิตาที่ขึ้นพูดในเวทีดังกล่าว โดยสรุปเล่าถึงเหตุการณ์ที่ตนได้ร่วมชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 และได้ถูกเจ้าหน้าที่ฉีดน้ำที่ผสมสารเคมีเข้าใส่ ทำให้เกิดบาดแผล รอยไหม้และพุพองบนร่างกาย ซึ่งเป็นความรุนแรงอย่างมาก และยังกล่าวถึงการใช้มาตรา 112 เพื่อดำเนินคดีต่อผู้ออกมาเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งประเด็นการเลือกข้างทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ และการตัดสินของศาลที่อ้างว่ากระทำภายใต้พระปรมาภิไธย
พนักงานสอบสวนระบุว่าถ้อยคำการปราศรัยดังกล่าวนั้น มีบริบทในสาระเนื้อหา ทำให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วเกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง ขาดความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น หมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีเจตนาร่วมกันทำให้ปรากฏแก่วาจา เพื่อยุยงให้ประชาชนแสดงออกถึงการวิพากษ์วิจารณ์และดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาจิรฐิตารวม 8 ข้อหา เช่นเดียวกับแกนนำอีก 5 รายก่อนหน้านี้ จิรฐิตาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา แต่ได้เขียนข้อความ “ศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ” ลงไปแทน โดยตำรวจกำหนดวันยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 3 ก.พ. 2564 และได้ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
ขณะเดียวกันยังพบว่าคดีนี้มีผู้แจ้งความร้องทุกข์เป็นประชาชนทั่วไป ได้แก่ ชุติมา เลี่ยมทอง กับพวก ซึ่งจากรายงานข่าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ระบุว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มพลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 5 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/24775) -
วันที่: 15-02-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาคริษฐ์คริษฐ์ (สงวนนามสกุล) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อายุ 18 ปี สมาชิกกลุ่ม “คะน้าราดซอส” เข้ารับทราบเป็นรายที่ 7 ของคดีนี้ โดยเขาไม่ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหา แต่เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาเนื่องจากพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน โทรศัพท์ติดต่อให้มารับทราบข้อกล่าวหาวานนี้
เมื่อเวลา 09.50 น. ด้านหน้า สน.พหลโยธิน มีการตั้งจุดคัดกรองตรวจอุณหภูมิและจดรายชื่อพร้อมกับเบอร์โทรของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ สน. ทั้งยังสอบถามถึงจุดประสงค์ของการมาในวันนี้ ก่อนถึงอาคาร สน. มีเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกระจายตัวตรึงกำลังอยู่ด้านหน้า สน. โดยพนักงานสอบสวนระบุว่า การตั้งจุดคัดกรอง มีขึ้นเพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้ต้องหาที่มารับทราบข้อหาในวันนี้ และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายจากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ มีผู้มาให้กำลังใจส่วนหนึ่งที่เข้ามาหน้า สน.ในเวลา 10.30 น. แจ้งว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจดเลขบัตรประชาชนไปด้วย พร้อมกำชับและขอให้แจ้งเลขบัตรประชาชน แม้สื่อมวลชนกับผู้ไว้วางใจบางส่วนที่มาถึงก่อนแล้ว ไม่ต้องแจ้งหรือแสดงบัตรประชาชนก็ตาม
ก่อนบรรยายพฤติการณ์คดี พนักงานสอบสวนชี้แจงว่า ได้แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องหา 6 รายที่เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาก่อนหน้านี้ไปแล้ว แต่เนื่องจากธีรยุทธ สุวรรณเกษร มาแจ้งความให้ดำเนินคดีคริษฐ์เพิ่มเติม ตำรวจจึงต้องดำเนินคดีตามกระบวนการ โดยได้ตรวจสอบรูปภาพ ถอดเทปคำปราศรัย และส่งตรวจสอบผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและเห็นว่ามีความผิดจริง จึงเรียกคริษฐ์มารับทราบข้อกล่าวหา
พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์คดีเช่นเดียวกับที่แจ้งคนอื่น ก่อนยกคำปราศรัยของคริษฐ์ในวันเกิดเหตุ ซึ่งพูดถึงประเด็นทางประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ราชวงศ์จักรีในอดีต ปัญหาการใช้มาตรา 112 ในการจำกัดสิทธิการวิพากษ์วิจารณ์อดีตกษัตริย์ และย้ำแนวคิดคนเท่ากัน และระบุว่า เนื้อหาคำปราศรัยทำให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันกษัตริย์
หลังจากนั้น พนักงานสอบสวนแจ้ง 8 ข้อหาแก่คริษฐ์เช่นเดียวกับผู้ต้องหาคนอื่น คริษฐ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา โดยตำรวจกำหนดวันยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 17 มี.ค. 2564 และได้ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
หลังเสร็จกระบวนการรับทราบข้อหา คริษฐ์เล่าว่า วันนี้จำเป็นต้องหยุดเรียนเพื่อเดินทางมารับทราบข้อหา ก่อนเปรยว่า “กฎหมายคงไม่ได้มีไว้ปกป้องเรา”
ทั้งนี้ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้แจ้งความคริษฐ์ เป็นทนายความซึ่งเคยรับมอบอำนาจจากสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ ไปแจ้งความร้องทุกข์ข้อหามาตรา 116 กับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กรณีไลฟ์เฟซบุ๊กเรื่อง 3 ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 15 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25945)
-
วันที่: 16-07-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดนักกิจกรรมทั้งเจ็ดเพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 อัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 20 ส.ค. 2564 ส่วนพริษฐ์และคริษฐ์ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ส่งตัวให้อัยการ เนื่องจากต้องกักตัวโควิด ทำให้เลื่อนนัดส่งตัวไปก่อน ยังไม่กำหนดนัดใหม่
-
วันที่: 20-08-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปวันที่ 27 ก.ย. 2564
-
วันที่: 27-09-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดอีกครั้งวันที่ 19 ต.ค. 2564
-
วันที่: 19-10-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปวันที่ 19 พ.ย. 2564
-
วันที่: 19-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)ชินวัตร, คริษฐ์ และจิรฐิตา เดินทางไปฟังคำสั่งอัยการ ส่วนอานนท์, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และปนัสยา ยังถูกคุมขังในเรือนจำ
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ได้มีคำสั่งฟ้องนักกิจกรรมทั้ง 7 ราย และยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215, 216, 385, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 108, 114, พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 4, 19, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34, 35 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9
ท้ายคำฟ้องนอกจากอัยการจะคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งเจ็ดระหว่างพิจารณา อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งเจ็ดได้กระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหลายครั้ง หากปล่อยตัวไปอาจจะกระทำความผิดซ้ำอีก อัยการยังขอให้นับโทษจำคุกอานนท์, พริษฐ์, ชินวัตร, ภาณุพงศ์, ปนัสยา และจิรฐิตาในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นๆ ด้วย
หลังอัยการนำผู้ต้องหาไปฟ้องต่อศาลอาญา ชินวัตร, คริษฐ์ และจิรฐิตา ถูกควบคุมตัวไปยังห้องควบคุมตัว และทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งเจ็ด
ต่อมา ชาญชัย ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้มีคำสั่งให้ประกันเฉพาะชินวัตร, จิรฐิตา และคริษฐ์ โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 100,000 บาท ยกเว้นชินวัตรที่ให้วางหลักทรัพย์ 200,000 บาท เนื่องจากถูกตัดสินให้รอลงอาญาในคดีอื่น ทั้งหมดใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ นอกจากนี้ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดกระทำการในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาซ้ำอีก หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ รวมถึงห้ามเดินทางออกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด
ส่วนจำเลยนักกิจกรรมอีก 4 ราย ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ คือ อานนท์, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ และปนัสยา ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าร้ายแรง ประกอบกับจำเลยถูกดำเนินคดีที่ศาลนี้ซ้ำกันหลายคดี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าจะก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลบหนีคดี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38263) -
วันที่: 30-11-2021นัด: ยื่นประกันภาณุพงศ์, ปนัสยาทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในคดีนี้และคดีอื่นๆ ของศาลอาญาอีก 3 คดี ได้แก่ คดีชุมนุมสาดสี-ปาไข่ หน้า ม.พัน 4 รอ. เมื่อ 28 ก.ย. 2563, คดีชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB และคดีชุมนุมเยาวชนปลดแอก เมื่อ 18 ก.ค. 2563
นอกจากนี้ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาในคดีนี้ พร้อมทั้งคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวของปนัสยา
เวลา 13.30 น. ศาลได้ไต่สวนปนัสยา โดยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาจากทัณฑสถานหญิงกลาง มีบิดามารดาของปนัสยา และ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาร่วมไต่สวน
ปนัสยาได้แถลงต่อศาล ว่าตนกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และขณะนี้อยู่ในช่วงสอบปลายภาคการศึกษาที่ 1 ซึ่งมีกำหนดระหว่างวันที่ 2 - 17 ธ.ค. 2564 โดยรายวิชาที่เธอลงทะเบียนเรียน มีทั้งรูปแบบการสอบที่ไปทำข้อสอบ และการทำรายงานการศึกษาวิจัย นอกจากนั้นยังมีวิชาที่มีการบ้านเพื่อเก็บคะแนน ซึ่งหลังเธอถูกคุมขัง ไม่สามารถทำงานดังกล่าวได้ หากได้รับการปล่อยตัวไป ก็ต้องไปทำงานชิ้นนั้นให้แล้วเสร็จ
ปนัสยาระบุว่า ในภาคเรียนที่ 2 ยังมีรายวิชาการวิจัย ซึ่งต้องจัดทำรายงานลักษณะธีสิส เพื่อจบการศึกษาด้วย ซึ่งมีระยะเวลาการจัดทำในช่วงเทอมหน้าตลอดทั้งเทอม ซึ่งหากจัดทำธีสิสดังกล่าวไม่ผ่าน ก็ต้องทำการลงทะเบียนใหม่อีก
ทนายความได้สอบถามปนัสยาว่า หากเสนอเงื่อนไขต่างๆ ในการปล่อยตัวชั่วคราว ได้แก่ ไม่กระทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ไม่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร, ไม่ออกนอกเคหสถาน เว้นแต่ไปศึกษาเล่าเรียน ไปรักษาพยาบาล หรือไปพิจารณาคดีต่างๆ, ให้ติด EM รวมทั้งมีการตั้งผู้กำกับดูแล ปนัสยาจะสามารถรับเงื่อนไขได้หรือไม่ ปนัสยาได้ตอบรับเงื่อนไขดังกล่าวทั้งหมด
จากนั้น บุญเลิศ วิเศษปรีชา ได้เข้าเบิกความเป็นพยาน โดยแถลงว่าตนเป็นอาจารย์ในคณะปนัสยาเรียน และเป็นผู้สอนรายวิชา 1 วิชา ในเทอมนี้ที่ปนัสยาลงทะเบียนเรียน โดยเนื้อหาวิชาของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีการฝึกนักศึกษาให้ทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาสังคม โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาในห้องเรียน การวัดผลการเรียนจึงไม่ใช่เพียงการวัดผลจากการสอบในห้องเท่านั้น
บุญเลิศระบุว่า อาจารย์แต่ละวิชาจะให้นักศึกษาจัดทำรายงาน ซึ่งบางวิชาต้องมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม หรือทำการสัมภาษณ์ ทำให้แต่ละวิชาต้องให้เวลานักศึกษาจัดทำและส่งรายงาน เช่น ในวิชา “มานุษยวิทยาเมือง” ที่ตนสอน แม้จะมีวันสอบไล่ในวันที่ 14 ธ.ค. 2564 แต่ก็มีการตกลงกับนักศึกษาในห้องเรียนให้ส่งรายงานภายในวันที่ 25 ธ.ค. 2564 หรือวิชา “การวิจัยทางมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วรรณา” ที่ปนัสยาลงทะเบียน ผู้สอนก็ได้กำหนดเวลาการส่งรายงานภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2564 โดยอาจารย์จะขยายเวลาได้ไม่เกินวันที่ 12 ม.ค. 2565 ซึ่งต้องส่งเกรดต่อมหาวิทยาลัยต่อไป
บุญเลิศยังระบุว่า ในเทอมที่ 2 ของนักศึกษาปี 4 ยังมีวิชาการศึกษาวิจัยส่วนบุคคล หรือที่นักศึกษาเรียกกันว่าวิชาธีสิส คล้ายกับการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท แต่มีขนาดเล็กกว่า ต้องใช้เวลาทำตลอดภาคการศึกษาที่ 2 ซึ่งหากนักศึกษาไม่ผ่านวิชานี้ ก็จะไม่สามารถจบการศึกษาได้
บุญเลิศแถลงต่อศาลว่า ตนยินดีเป็นผู้กำกับดูแลปนัสยาให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล โดยก่อนหน้านี้ปนัสยาก็ให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด
จากนั้นบิดาของปนัสยาได้เข้าเบิกความเป็นพยานปากที่ 3 โดยยืนยันว่าทางครอบครัวพร้อมที่จะเป็นผู้กำกับดูแลให้ปนัสยาปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ หากศาลกำหนดเพื่อให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยจะพยายามเฝ้าดูลูกต่อไป หลังได้รับการประกันตัวเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ปนัสยาก็ไม่ได้กล่าวปราศรัยพาดพิงสถาบันฯ เพียงแต่ได้ไปร่วมกิจกรรมในประเด็นอื่นๆ เช่น เรียกร้องให้คนเท่ากัน หรือเรื่องความหลากหลายทางเพศ
นอกจากน้้นบิดาของปนัสยายังแถลงว่า ปนัสยายังต้องดูแลแมว และหนูแฮมสเตอร์ที่อยู่ที่บ้านด้วย
การไต่สวนพยานทั้งสามปาก เสร็จสิ้นเวลา 14.45 น. โดยศาลได้ระบุหลังการไต่สวน ว่าจะไปหารือในที่ประชุมของผู้บริหารศาลอาญา และหากไม่มีเหตุขัดข้อง จะสามารถอ่านคำสั่งได้ภายในวันนี้
หลังรอคอยราว 1 ชั่วโมงครึ่ง เวลา 16.20 น. ศาลได้อ่านคำสั่งให้ปนัสยาและพยานทั้งหมดฟัง โดยศาลสั่งในลักษณะเดียวกันในทั้งสองคดีที่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
ศาลอาญาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าศาลนี้มีคำสั่งให้ยกเลิกการปล่อยตัวชั่วคราวและขังจำเลยไว้ เนื่องจากเกรงว่าจำเลยจะก่อเหตุร้ายประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 (3) อย่างไรก็ดี การพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นการใช้อำนาจของรัฐเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งศาลจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการก่อเหตุร้ายกับสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา โดยไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ดังนั้น การที่จำเลยมีภาระในเรื่องการเรียนที่จะต้องเสียหายจากการคุมขัง จึงเป็นเหตุที่สามารถได้รับการพิจารณา เมื่อคำนึงถึงความเสียหายที่จำเลยอาจก่อขึ้นอีกนั้น อาจจำกัดควบคุมได้โดยการที่จำเลยยินยอมและตั้งใจปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ของศาลที่เข้มงวดยิ่งขึ้นและด้วยการกำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลา และมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม
ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาพิจารณาแล้ว จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอย่างจำกัด โดยให้มีผลเฉพาะตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 กำหนดเงื่อนไข
1. ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล
4. ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร
5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
ศาลได้สั่งให้ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา เป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาล โดยหากผิดสัญญาประกัน ให้ปรับเป็นเงิน 90,000 บาท โดยไม่เรียกหลักประกัน ลงนามโดยมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์
หลังคำสั่งของศาลดังกล่าว ปนัสยาจะยังไม่ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากยังมีหมายขังในอีก 2 คดี ได้แก่ คดี #แต่งครอปท็อปเดินห้างสยามพารากอน ของศาลอาญากรุงเทพใต้ และคดีชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปนัสยาถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2564 รวมระยะเวลา 16 วันแล้ว
ในส่วนภาณุพงศ์ ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพียงคดีชุมนุมเยาวชนปลดแอกคดีเดียว ตีราคาประกัน 35,000 บาท ส่วนอีก 3 คดี รวมทั้งคดีนี้มีคำสั่งให้ยกคำร้อง โดยระบุเหตุผลเหมือนกันว่า “ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาพิจารณาแล้ว เห็นว่าคำร้องของผู้ร้อง ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลได้เคยสั่งไว้ จึงมีมติให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 30 พ.ย. 2564, https://tlhr2014.com/archives/38433 และ https://tlhr2014.com/archives/38421) -
วันที่: 02-12-2021นัด: ยื่นประกันอานนท์, พริษฐ์, ภาณุพงศ์ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ พริษฐ์ และภาณุพงศ์ ในคดีนี้และทุกคดีของศาลอาญาที่มีหมายขัง รวมถึงยื่นประกันจตุภัทร์ด้วย
ต่อมา พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งเหมือนกันในทุกคำร้อง นัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. โดยให้เบิกจำเลยไต่สวนทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 2564) -
วันที่: 17-12-2021นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดไต่สวนคําร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 4 แกนนำราษฎร ได้แก่ พริษฐ์, อานนท์, ภาณุพงศ์ และจตุภัทร์ ซึ่งถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาในคดีชุมนุมต่างๆ และทนายยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้าวันนัด ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้เบิกตัวทั้ง 4 คน มาไต่สวนที่ศาล
บรรยากาศในศาลอาญาช่วงเช้ามีการตั้งจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ และมีบัตรชั่วคราวสำหรับบุคคลที่จะเข้าร่วมฟังการไต่สวน ส่วนที่ห้องพิจารณา 704 เจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้เก็บเครื่องมือสื่อสารเหมือนที่ผ่านมา ทั้งยังให้ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าร่วมฟังการไต่สวนครั้งนี้ได้ โดยมีผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมสังเกตการณ์
เวลา 09.50 น.เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ราว 8 นาย คุมตัวนักกิจกรรมทั้งสี่ในชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาลอ่อน สวมหน้ากากอนามัยเข้าห้องพิจารณา ครอบครัวและประชาชนที่มาให้กำลังใจต่างทยอยเข้าไปสวมกอดและทักทาย ในช่วงเวลาที่การพิจารณาคดียังไม่เริ่ม
++“เพนกวิน” แถลงอยู่ในคุกเรียนลำบาก ต้องค้นคว้าทำรายงาน หากไม่ส่งอาจไม่จบ พร้อมยินดีรับเงื่อนไขเดียวกับรุ้ง++
เวลา 10.45 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดี โดยเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันพริษฐ์เป็นอันดับแรก พริษฐ์เบิกความต่อศาลว่า ปัจจุบันตนอายุ 23 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับทุกคดีที่อยู่ในชั้นศาลนั้น ตนได้ให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี ซึ่งทุกคดียังไม่มีการตัดสิน
ส่วนเรื่องสุขภาพขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ตนเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วครั้งหนึ่ง จากนั้นป่วยมาโดยตลอด ทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นหอบหืดและภูมิแพ้ โดยตนถูกคุมขังมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว และปัจจุบันยังไม่ได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 แต่อย่างใด
ด้านคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตนถูกเพิกถอนประกันโดยไม่มีการไต่สวนในวันที่ 9 ส.ค. 2564 เนื่องจากขณะนั้นตนอยู่ในห้องพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ขณะถูกฝากขังในคดี #ม็อบ2สิงหา เรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มทะลุฟ้าที่หน้า บก.ตชด.ภาค 1
สำหรับเหตุผลที่มีการยื่นขอประกันต่อศาลในครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเป็นนักศึกษาปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ ซึ่งการส่งเอกสารการเรียนต่างๆ ออกมาจากเรือนจำทำได้อย่างยากลำบาก และช่วงนี้อยู่ในช่วงสอบปลายภาค อีกทั้งยังมีรายงานที่ต้องเก็บข้อมูลและทำการค้นคว้า แต่ตนไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ รวมไปถึงต้นปี 2565 ตนต้องลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาใหม่ ซึ่งการอยู่ในเรือนจำจะไม่สามารถจัดตารางเรียน และลงทะเบียนเรียนได้ และหากไม่ลงเรียนก็จะไม่จบตามหลักสูตร
พริษฐ์แถลงอีกว่า หากศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตนยินดีจะปฎิบัติตามเงื่อนไขเดียวกันกับที่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เคยได้รับการปล่อยตัวเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งย้ำว่า เพื่อให้ศาลมั่นใจว่าตนจะปฎิบัติตามเงื่อนไขของศาล จะขอให้ศาลตั้ง รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ตนเรียนอยู่ด้วย เป็นผู้กำกับดูแล
ด้านอัยการโจทก์ถามค้านพริษฐ์ว่า จำได้หรือไม่ว่าหลังจากได้รับการปล่อยตัวถูกกล่าวหาอีกกี่คดี ด้านพริษฐ์ตอบว่า ไม่แน่ใจ จำไม่ได้ ก่อนถูกถามต่อว่า ทราบถึงเหตุผลที่ถูกถอนประกันในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร หรือไม่ พริษฐ์ตอบว่า ไม่ทราบเนื่องจากไม่ได้มีการไต่สวน
ด้านทนายถามติงว่า หากมีการไต่สวนคำร้องที่ขอเพิกถอนประกัน จำเลยจะอธิบายพฤติการณ์ที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุในการถอนประกันว่าอย่างไร พริษฐ์ระบุว่า จะอธิบายต่อศาลว่า สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถเสื่อมเสียเพียงเพราะคำพูดของตนได้ ส่วนคดีที่ถูกฟ้องเข้ามาใหม่นั้น เป็นคดีเก่าที่เกิดขึ้นก่อนการปล่อยตัวชั่วคราว
จากนั้นศาลได้ถามพริษฐ์ว่า มีคดีละเมิดอำนาจศาลกี่ครั้ง ด้านพริษฐ์ตอบศาลว่า มี 2 ครั้ง คือ ที่ศาลาอาญา รัชดา และศาลจังหวัดธัญบุรี โดยคดีดังกล่าวศาลได้พิพากษาสั่งขัง 10 วันแล้ว
ต่อมาเวลา 11.10 น. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ เข้าเบิกความว่า ตนรู้จักกับพริษฐ์ เนื่องจากจำเลยเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยปัจจุบันจำเลยลงเรียนวิชาการเมืองเปรียบเทียบที่ตนเป็นผู้สอนด้วย
จำเลยเป็นเด็กเรียนเก่ง สอบได้คะแนนสูง เกรดเฉลี่ยปัจจุบันยังอยู่ในขอบข่ายที่ได้รับเกียรตินิยม ตอนนี้เป็นช่วงการสอบเก็บคะแนน โดยจำเลยต้องทำงานเก็บคะแนน และต้องทำรายงานด้วย หากศาลให้ประกันยังมีเวลาพอที่พริษฐ์จะไปทำงาน ซึ่งมีกำหนดส่งวันที่ 12 ม.ค. 2565 ได้ และหากศาลตั้งตนเป็นผู้กำกับดูแล ตนก็ยินดี
++“อานนท์ นำภา” ชี้ ติดคุกว่าความไม่ได้ ศาลยังคงไม่ได้ประกันตัวคดีอื่น แม้ศาลเคยยกคำร้องขอถอนประกันมาแล้ว++
เวลา 11.20 น. อานนท์ นำภา เข้าเบิกความว่า ตนจบเนติบัณฑิตรุ่น 62 ประกอบอาชีพทนายความมา 13 ปี ในคดีนี้ตนถูกขังมาตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างถูกคุมขังครั้งก่อน ตนได้ติดโควิดในเรือนจำเมื่อช่วงกลางปี และปัจจุบันยังมีอาการ Long COVID (อาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19) ทำให้เหนื่อยง่าย
กอปรกับการที่ตนประกอบอาชีพทนาย การทำหน้าที่ว่าความในคดีต่างๆ ทำได้ลำบาก เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ หลายคดีต้องเลื่อนการพิจารณา ทั้งที่เดิมในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ตนเป็นจำเลย ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมามีพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนมายื่นคำร้องขอเพิกถอนประกัน เนื่องจากเห็นว่าผิดเงื่อนไข ที่ตนเข้าร่วมชุมนุมทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ก่อนศาลสั่งให้มีการไต่สวนและยกคำร้องโจทก์ไป โดยวินิจฉัยว่าตนไม่ได้กระทำผิดเงื่อนไข
เหตุที่ตนไม่ได้ประกัน หลังยื่นขอประกันหลายครั้ง เนื่องจากศาลให้เหตุผลว่าจะไปกระทำความผิดซ้ำ หากแต่ก่อนหน้านั้น ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า การกระทำที่ถูกร้องให้เพิกถอนประกันนั้นไม่ได้เป็นการกระทำผิดเงื่อนไข
สำหรับคดีที่ถูกฟ้องใหม่ เป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนการไต่สวนถอนประกัน และหลังจากที่ไต่สวนเสร็จแล้ว ตนถูกเพิ่มเงื่อนไขอีก 2 ข้อ คือ ห้ามออกจากเคหสถาน 24 ชั่วโมง และให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) แต่ยังไม่ได้ปฎิบัติตาม เนื่องจากถูกขังตามหมายขังคดีอื่นๆ
ก่อนศาลถามว่า เคยถูกไต่สวนในคดีละเมิดอำนาจศาลไหม อานนท์ตอบไม่เคย
++“ไมค์ ภาณุพงศ์” ชี้ถูกถอนประกันถึง 2 ครั้ง แต่ศาลยกคำร้อง – ศาลอาญากรุงเทพใต้ ให้ประกันคดี 112 แล้ว++
เวลา 14.30 น. ภาณุพงศ์เข้าเบิกความว่า ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชั้นปีที่ 3 ตนเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องหาเลี้ยงแม่และพี่สาว โดยประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ทุเรียนทอด ตนถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 2564 รวมเวลาประมาณ 3 เดือน
ตนเคยถูกพิพากษาในคดีละเมิดอำนาจศาลของศาลธัญบุรี หลังรับสารภาพ โดยเหตุที่ต้องทำเช่นนั้นเนื่องจากวันดังกล่าว ตนถูกควบคุมตัวโดย คฝ.พยายามจะมาลากเพื่อนของตนไป พวกตนจึงต้องป้องกันตัว โดยศาลได้ลงโทษกักขัง 10 วัน
ทนายจำเลยถามว่า ในระหว่างที่ถูกคุมขังมีปัญหาสุขภาพอย่างไรบ้าง ภาณุพงศ์ตอบว่า ติดโรคโควิด-19 ถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้ตอนนี้มีอาการหอบ และโรคภูมิแพ้ที่เป็นโรคประจำตัวเดิมมีอาการหนักขึ้น ต้องกินยาทุกวัน เนื่องจากต้องอยู่ในสถานที่ที่จำกัด และจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับวัคซีน
ภาณุพงศ์เบิกความอีกว่า ในคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตนได้ถูกร้องให้เพิกถอนการประกันตัว แต่หลังจากไต่สวนแล้วศาลมีคำสั่งไม่ถอนประกัน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่ม เนื่องจากที่ผ่านมาตนปฏิบัติตามเงื่อนไข ทั้งนี้ ตนเคยถูกร้องให้ศาลเพิกถอนประกันแล้ว 2 ครั้ง แต่ศาลไม่เคยมีคำสั่งให้ถอนประกัน นอกจากนี้ คดีมาตรา 112 อีก 2 คดีของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลก็อนุญาตให้ประกัน รวมถึงคดีที่อยู่ในศาลนี้ ศาลก็ได้ให้ประกันเช่นเดียวกัน โดยกำหนดเงื่อนไขให้อยู่ในเคหสถานตลอดเวลาเว้นแต่มีเหตุจำเป็น และให้ติด EM ในคดีนี้ตนก็สามารถยอมรับเงื่อนไขข้างต้นได้เช่นเดียวกัน
ทนายจำเลยถามว่า ถ้าหากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้วจะทำอะไรต่อไป ภาณุพงศ์กล่าวว่า จะกลับไปเรียนและประกอบอาชีพตามเดิม
++อนุญาตอัยการยื่นคำคัดค้าน ก่อนนัดฟังคำสั่ง 24 ธ.ค.++
เวลา 14.45 น. ภายหลังศาลไต่สวนจำเลยทั้ง 4 คนพร้อมทั้งพยานแล้ว ได้กล่าวกับจำเลยว่า จะต้องนำข้อเท็จจริงจากการไต่สวนไปพิจารณาในที่ประชุมของศาล เนื่องจากไม่อยากให้การสั่งปล่อยหรือไม่ปล่อยเป็นการสั่งโดยผู้พิพากษาคนเดียว พร้อมทั้งย้ำว่า อย่าเข้าใจว่าการให้โอกาสไต่สวนในครั้งนี้จะเป็นเหตุให้ปล่อยตัวได้ทันที การอ้างว่าจะต้องกลับไปเรียนหรือกลับไปทำงานไม่ใช่เหตุที่จะนำไปสู่การปล่อยตัว ไม่เช่นนั้นทุกคนที่ถูกขังอยู่ก็คงอ้างได้
นอกจากนี้ศาลยังกล่าวด้วยว่า ไม่ใช่ว่าจำเลยแถลงยอมรับเงื่อนไขแล้วศาลจะต้องปล่อยตัวเท่านั้น การเสนอเงื่อนไขไม่ใช่เหตุปล่อยตัวอย่างเดียว ศาลจะต้องพิจารณาที่การกระทำ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าควรให้ปล่อย จึงจะอนุญาตปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าจะสั่งอย่างไร สังคมก็จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อคำสั่งนั้น ศาลจึงต้องให้โอกาสในการเรียกมาไต่สวน
จากนั้นศาลได้ถามพนักงานอัยการฝ่ายโจทก์ว่า จะคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ก่อนกล่าวว่าอันที่จริงอัยการได้แถลงคัดค้านไว้แล้วก่อนจะมีการไต่สวน อัยการแถลงว่า จะต้องคัดค้านเนื่องจากคดีทั้งหมดเป็นคดีที่มีโทษสูง หากปล่อยตัวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
ต่อมา คณะพนักงานอัยการราว 15 คน ได้ปรึกษากันอีกครั้ง ก่อนจะแถลงว่าไม่สามารถแถลงคัดค้านภายในวันนี้ได้ เนื่องจากจำเลยแต่ละคนมีหลายคดี จึงขอทำคำแถลงเป็นเอกสารมายื่นภายในสัปดาห์หน้าซึ่งอาจจะเป็นวันพุธที่ 22 ธ.ค. 2564
อานนท์ได้ขอแถลงต่อศาลว่า ตนรู้สึกว่าขั้นตอนการไต่สวนค่อนข้างแปลก เนื่องจากเปิดให้มีการไต่สวนแล้ว ยังจะเปิดให้มีการแถลงคัดค้านหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนอีก ซึ่งตนกังวลว่าหากอัยการทำคำแถลงมาแล้วปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใหม่ ฝ่ายจำเลยก็จะไม่ได้โต้แย้ง จะเป็นเสมือนการตอกฝาโลงตนหรือไม่ จึงขอท้วงติงไว้
ศาลกล่าวตอบอานนท์ว่า จำเลยอย่าบังคับศาลมากเกินไป ศาลได้ย่นย่อการพิจารณาให้สั้นลงโดยไม่ได้เรียกพนักงานสอบสวนแต่ละคดีมาไต่สวน หรืออานนท์อยากจะให้มีการสืบพยานอีกซัก 2-3 นัด ซึ่งมันก็อาจจะช้าออกไปอีก อานนท์จึงกล่าวว่า การพูดอย่างนี้ก็เหมือนเอาคนที่ถูกคุมขังอยู่เป็นตัวประกัน เพราะเวลาของคนข้างนอกกับคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำไม่ได้เท่ากัน
หลังศาลและจำเลยโต้เถียงเหตุผลกันอยู่ราวครึ่งชั่วโมง ศาลจึงกล่าวสรุปว่า เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ต้องให้โอกาสทั้งสองฝ่ายเต็มที่ โดยโจทก์ได้ยืนยันว่าจะไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ การทำหนังสือคัดค้านเป็นเพียงการคัดค้านตามปกติ ส่วนฝ่ายจำเลยก็สามารถทำคำแถลงคล้ายกับการทำคำแถลงปิดคดีได้เช่นกันหากประสงค์จะทำ
ให้พนักงานอัยการยื่นคำคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหนังสือภายในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 และนัดฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ในเวลา 13.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38980) -
วันที่: 24-12-2021นัด: ฟังคำสั่งเวลา 13.30 น. ศาลได้เบิกตัวอานนท์, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ รวมทั้งจตุภัทร์ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนคดีไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งด้วยแต่อย่างใด
เวลา 14.10 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา อ่านคำสั่งไม่ให้ประกันทั้งหมด กรณีของ “เพนกวิน” ระบุเหตุผลว่า
“พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่าข้อเท็จจริงในการไต่สวนได้ความว่า หลังจากพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ จำเลยได้กระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยศาลเคยตักเตือนจำเลยและกำชับจำเลยผ่านผู้กำกับดูแลมาแล้วหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลย อีกทั้งจำเลยมีพฤติการณ์กระทำการซ้ำในทำนองเดียวกันกับการกระทำอันเป็นมูลเหตุที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องหลายคดี
เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะและพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออกหรือร่วมทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอย่างมาก มีความรุนแรงตลอดมา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตปล่อยชั่วคราว จำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้อง หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”
ด้านคำสั่งไม่ให้ประกันอานนท์ และภาณุพงษ์ ระบุเหตุผลว่า
“พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่า เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออก ปราศรัย หรือชักนำในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ประกอบกับจำเลยถูกกล่าวหาในลักษณะเช่นนี้ที่ศาลนี้และศาลอื่นหลายคดี
กรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้องหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”
ศาลยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่ประชุมผู้บริหารศาลอยากให้ประกันมากนะ แต่เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วก็จึงมีคำสั่งแบบนี้ ขนาดนี้วันนี้ยังมีเลย” และกล่าวต่ออีกว่า “ในชั้นนี้มีคำสั่งไม่ให้ประกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ครั้งหน้าจะไม่ให้ประกันนะ”
++เสียงจากแม่ถึงลูก ในวันที่คงไม่ได้กลับบ้านในเทศกาลปีใหม่เช่นทุกปี++
หลังผู้พิพากษาเดินออกจากห้องพิจารณาคดีไป แม่ของภาณุพงศ์ จตุภัทร์ และอานนท์ ทยอยเดินไปที่ด้านหน้าของห้องพิจารณาเพื่อสับเปลี่ยนกันพูดคุยกับลูกของตัวเองผ่านจอวิดีโอ
แม่ของไผ่ จตุภัทร์ เดินเข้าไปพูดกับไผ่เป็นคนแรก “อดทน อดทนนะลูก อดทนๆๆๆ …” เธอพูดประโยคนี้ซ้ำๆ พลางกลั้นน้ำตาอย่างสุดความสามารถไปพร้อมกัน แต่ท้ายที่สุดเธอก็หลั่งน้ำตาแห่งความผิดหวังออกมาจนได้
“ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว ไผ่เรียนกฎหมาย ไผ่คงรู้ดี ต้องอดทนนะลูก” เธอพูดไปเอามือปาดน้ำตาที่อาบแก้มไป ก่อนจะลุกขึ้นให้แม่ของไมค์ ภาณุพงศ์ได้เข้าไปพูดต่อ
“อีก 2 วันเจอกันนะลูก เดี๋ยวแม่มาหา” แม่ของไมค์พูดอย่างใจเย็นและเบิกยิ้มกว้าง
“แม่ ผมฝากสั่งซื้อพิซซ่ากับเค้กเข้ามาให้พวกผมกินหน่อยนะ จะได้เอามาฉลองปีใหม่ด้วยกันข้างในนี้กับเพื่อนๆ” ไมค์บอกแม่ เพราะในเทศกาลปีใหม่นี้ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้จัดรายการเมนูอาหารพิเศษเพื่อให้ญาติได้สั่งให้ผู้ต้องขังในเรือนจำได้ อาทิ กุ้งเผาครึ่งกิโล เป็ดพะโล้ทั้งตัว สเต๊กหมู รวมถึงเมนูพิเศษที่ไมค์ร้องขออย่างพิซซ่าและเค้กช็อกโกแลต ราคาอย่างละ 300 บาทอีกด้วย
“มันติดวันเสาร์-อาทิตย์นะลูก จะฝากเข้าไปให้ได้เหรอ” อานนท์สวนทันควันว่า “เอากับข้าวอะไรก็ได้ที่อร่อยๆ ครับแม่” “ได้เลย เดี๋ยวแม่จัดการให้ จะหาของอร่อยๆ ให้นะ” แม่ไมค์บอกกับทุกคน
“เมอร์รี่คริตมาสต์นะทุกคน…” แม่ไมค์พูดทิ้งท้ายก่อนลุกเปลี่ยนให้แม่ของอานนท์มานั่งพูดต่อ
แม่ของอานนท์พูดเป็นภาษาอีสานใจความว่า “คิดถึงลูกนะ ขอให้เข้มแข็ง”
ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มทะลุฟ้า ได้จัดกิจกรรมจับตาผลการให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย โดยได้นัดหมายมวลชนไปรวมตัวกันบริเวณหน้าศาลอาญาเพื่อรอรับเพื่อนกลับบ้านตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป และจัดกิจกรรม “เดิน หยุด ขัง” โดยนัดหมายประชาชนให้เริ่มต้นเดินตั้งแต่ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยนมอล์ในเวลา 11.00 น. เพื่อเดินไปจนถึงศาลอาญา รัชดาฯ
ภายหลังมวลชนเดินทางมาถึงหน้าศาลอาญาในเวลาประมาณ 13.30 น. และต่อมาทราบว่าศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย กลุ่มมวลชนได้จัดกิจกรรมพูดปราศรัยเกี่ยวกับการไม่ทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรงของศาลและสถาบันตุลาการ รวมไปถึงมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาชุดครุยผู้พิพากษา เผาหนังสือประมวลกฎหมายอาญา และขีดเขียนพ่นสีสเปรย์ที่ป้ายของศาลอาญา เพื่อแสดงความไว้อาลัยแก่กระบวนการยุติธรรมไทย
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39156) -
วันที่: 10-01-2022นัด: ยื่นประกันปนัสยา (ต่อ)ทนายความยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยา ซึ่งมีกำหนดอนุญาตจนถึงวันที่ 12 ม.ค. 2565 โดยศาลมีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่งต่อคำร้องดังกล่าวในวันที่ 13 ม.ค. 2565 เวลา 13.30 น.
คำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลย ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2564 จำนวน 6 วิชา โดยแต่ละวิชาจำเป็นต้องเข้าเรียน เข้าสอบ และจัดทำรายการส่งตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ทั้งมีรายวิชาการวิจัยรายบุคคล ที่ต้องเก็บข้อมูลภาคสนาม ต้องค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ รวมถึงพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ หากจำเลยไม่สามารถทำการศึกษาวิจัยตามกระบวนการ และไม่ผ่านรายวิชาดังกล่าวซึ่งเป็นวิชาบังคับของหลักสูตร จะไม่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตรได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษา และอนาคตของจำเลย
อีกทั้ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จำเลยได้พิสูจน์ตนด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโดยเคร่งครัด ไม่เคยกระทำการใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงจะผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะไม่ได้ไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นแต่อย่างใด
คำร้องได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยจำเลยยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขของศาลเช่นเดิมทุกประการ
(อ้างอิง: คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 ลงวันที่ 10 ม.ค. 2565) -
วันที่: 13-01-2022นัด: ฟังคำสั่งเวลา 11.00 น. อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวปนัสยาโดยระบุว่า หลังครบกำหนดเวลาคำสั่งให้ประกันตัว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ละเมิดเงื่อนไขและข้อห้ามที่ศาลกําหนด ซึ่งน่าเชื่อถือว่าจําเลยจะไม่หลบหนีหรือจะไปก่อภยันอันตรายอื่นในช่วงเวลานี้แต่อย่างใด
ประกอบกับจําเลยมีความตั้งใจที่จะเรียนให้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจําเลยในระยะเวลาจํากัดต่อไป นับแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการส่งเกรดของภาคการศึกษานี้ โดยศาลกำหนดประกันในวงเงินคดีละ 200,000 บาท พร้อมคงเงื่อนไขเดิม แต่ให้ยกเลิกเงื่อนไขที่ให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหสถานตลอดเวลา แต่ได้เพิ่มรายละเอียดในเงื่อนไข ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน
ศาลยังได้กำหนดให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวอันจำกัดนี้ และให้จำเลยมารายงานตัวและส่งตัวต่อศาลในวันที่ 16 มิ.ย. 2565 เวลา 10.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 ลงวันที่ 13 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/39550) -
วันที่: 31-01-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานผู้รับมอบฉันทะแถลงขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยที่ 3 ชินวัตร จันทร์กระจ่าง มีนัดฟังคำพิพากษาศาลแขวงธนบุรี ประกอบกับทนายที่จำเลยที่ 3 จะแต่งทนายเพื่อต่อสู้คดีนี้มีนัดที่ศาลแขวงขอนแก่นจึงไม่สามารถมาในวันนี้ได้ จึงเลื่อนนัดตรวจพยานออกไปสักนัด โจทก์ไม่ค้าน
ศาลอนุญาตเลื่อนนัดตรวจพยานออกไปเป็นวันที่ 21 ก.พ. 2565 เวลา 13.30 น. ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาและตรวจพยานหลักฐานเพื่อเป็นแนวทางในการนําสืบพยาน ศาลให้โจทก์ไปดําเนินการจัดกลุ่มพยานที่จะเบิกความต่อศาลและให้ปรากฏรายละเอียดของพยานแต่ละปากว่าจะเบิกความเกี่ยวกับเรื่องใด ส่วนจําเลยทั้งเจ็ดให้ทนายความไปดําเนินการจัดทําแถลงแนวทางการต่อสู้คดีเสนอศาลในนัดหน้า
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2565) -
วันที่: 09-02-2022นัด: ยื่นประกันภาณุพงศ์ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในทุกคดีที่มีหมายขังของศาลอาญา รวม 4 คดี ได้แก่ คดีนี้, คดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563, คดี #ม็อบ25พฤศจิกาไปscb เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 และคดีชุมนุมสาดสี-ปาไข่ หน้า ม.พัน 4 รอ. เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563
ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของภาณุพงศ์ ระบุเหตุผลว่า จําเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรซึ่งมหาวิทยาลัยกําหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทํารายงานต่างๆ และเข้าสอบไล่ให้ครบตามกําหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย การขังจําเลยไว้ต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษา
ยิ่งไปกว่านั้น ครอบครัวของจําเลยขณะนี้กําลังประสบปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นกิจการทุเรียนทอดที่จําเลยทําร่วมกับครอบครัว โดยจําเลยเป็นผู้บริหารจัดการหลัก ประกอบกับมารดาของจําเลยมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถบริหารจัดการกิจการ จําเลยจึงจำเป็นต้องออกมาช่วยเหรือครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ จำเลยถูกขังตามหมายขังของศาลนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้รับความยากลำบากในการใช้ชีวิตโดยปราศจากอิสรภาพเป็นอย่างมาก จึงตระหนักว่าจำเลยจะระมัดระวังไม่กระทำการใดให้ถูกฟ้องเป็นคดีขึ้นอีก
พร้อมกันนี้ จำเลยขอเสนอเงื่อนไขว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่กระทำการใดอันจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่เข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง จำเลยยินยอมอยู่ในเคหสถานตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดเว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การศึกษา ไปติดต่อราชการที่สถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ และศาล โดยจำเลยยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) และหากศาลกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ประการใด จำเลยยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลทุกประการ
โดยที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด”
ต่อมา 18.00 น. อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในทุกคดี พร้อมกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวว่า
1. ห้ามจําเลยทํากิจกรรมหรือกระทําการใดๆ ที่อาจกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
2. ห้ามจําเลยเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. ห้ามจําเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
4. ห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 18.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
ศาลยังให้ตั้งแต่งตั้งผู้กํากับดูแลทั้งสองคน ได้แก่ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมให้มารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และให้พาตัวมาส่งต่อศาลภายในวันที่ 9 มิ.ย. 2565 นี้
ศาลยังให้วางหลักทรัพย์ประกันในคดีนี้ 100,000 บาท โดยเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์
อย่างไรก็ตาม ภาณุพงศ์จะยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอื่นอีก ในคดีมาตรา 112 กรณีชุมนุมหน้าสภ.ภูเขียว และกรณีชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทนายความจะได้ยื่นประกันตัวในคดีทั้งหมดต่อไป
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40352) -
วันที่: 21-02-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานภาณุพงศ์, ปนัสยา, ชินวัตร และจิรฐิตา เดินทางมาศาลตามนัด ขณะอานนท์และพริษฐ์ถูกเบิกตัวจากเรือนจำ ส่วนคริษฐ์ ทนายจําเลยที่ 7 ยื่นคําร้องขอเลื่อนสอบคําให้การ และตรวจพยานหลักฐานออกไปก่อน เนื่องจากจําเลยที่ 7 สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ โจทก์ไม่ค้าน ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยที่ 1 - 6 ฟังต่อหน้าทนายจําเลย ทั้งหมดยืนยันให้การปฏิเสธ ตามคําให้การที่ยื่นต่อศาลในวันนี้
โจทก์แถลงว่าได้ยื่นคําแถลงเกี่ยวกับพยานตามที่ศาลสั่งแล้ว ด้านทนายจําเลยขออนุญาตจัดทําคําแถลงส่งในนัดหน้า นอกจากนี้ โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องครั้งที่ 1 ทนายจําเลยแถลงว่ายังไม่ได้รับสําเนาคําร้องดังกล่าว จึงขออนุญาตแถลงต่อศาลในนัดหน้า
ศาลให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานไป ในวันที่ 2 พ.ค. 2565 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 ลงวันที่ 21 ก.พ. 2565) -
วันที่: 22-02-2022นัด: ยื่นประกันอานนท์, พริษฐ์ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ และอานนท์ ในคดีการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองที่มีหมายขังทั้งหมดของศาลอาญา ในส่วนของอานนท์รวมแล้ว 9 คดี ของเพนกวิน มีการยื่นประกัน 8 คดี รวมทั้งคดีนี้ซึ่งทั้งสองคนเป็นจำเลยและยังไม่ได้รับการประกันตัวด้วย
สำหรับคดีของศาลอาญา เพนกวินและอานนท์เคยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง และศาลเคยให้มีการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาก็ยังยืนกรานไม่ให้ประกัน ‘เพนกวิน-อานนท์-ไมค์-ไผ่’ ในครั้งนั้น อ้างเหตุว่า “เกรงว่าจะกระทำผิดซ้ำ”
การยื่นประกันในครั้งล่าสุดนี้ ทั้งสองได้ระบุในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกคดีของทุกศาลเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาว่า จะไม่กระทําการใดๆ ให้สถาบันกษัตริย์เกิดความเสื่อมเสีย ไม่ทํากิจกรรมใดที่จะทําให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่เดินทางออกนอกประเทศ และพร้อมที่จะเดินทางมาศาลตามที่มีการนัดหมายทุกครั้ง รวมถึงยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ทั้งยังมีคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่า
1. นับจนถึงวันนี้จําเลยถูกคุมขังไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีเกินกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งในคดีนี้พยานโจทก์และพยานจําเลยมีจํานวนมาก ยังไม่อาจกําหนดได้ว่าจะสามารถพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นเมื่อใด และยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ในการสืบพยานโจทก์ที่ผ่านมาให้เห็นถึงความผิดของจําเลย
2. ในคดีหมายเลขดําที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา (คดี 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) ซึ่งมีจําเลยคนอื่น ๆ ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดร่วมกันกับจําเลยทั้งสองนี้ ศาลก็ได้มีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยในคดีนี้จํานวนหลายคน เช่น ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน บุญภัทรรักษา, ภาณุพงศ์ หรือไมค์ จาดนอก โดยศาลได้กําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้จําเลยปฏิบัติตาม ก็ปรากฏว่าจําเลยเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลได้เคร่งครัดทุกประการ และไม่ได้ผิดเงื่อนไขของศาลเลย ซึ่งจําเลยทั้งสองก็ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนดังเช่นจําเลยคนอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก่อนหน้านี้
เวลา 16.30 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดของศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และเพนกวินในทุกคดี ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีโดยรวมแล้ว กรณีเห็นควรให้โอกาสจําเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาลสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณามีกําหนดเวลา 3 เดือน (ครบกําหนดวันที่ 22 พ.ค. 2565) กําหนดเงื่อนไข
1. ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทําการใด ๆ อันจะทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM
4. ห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 21.00 – 06.00 น. เว้นแต่มีเหตุจําเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปศึกษาเล่าเรียน ไปสถานีตํารวจ สํานักงานอัยการ หรือศาล หรือได้รับอนุญาตจากศาล
5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
หากจําเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมคําสั่งเดิมตามพฤติการณ์ของจําเลยที่เปลี่ยนไป ตามความเหมาะสมและความร้ายแรงของพฤติการณ์ต่อไป นอกจากนี้ กรณีครบกําหนดการปล่อยชั่วคราวโดยมีกําหนดระยะเวลาแล้ว หากจําเลยไม่มีพฤติการณ์ที่ผิดเงื่อนไข ศาลจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิมต่อไป
อย่างไรก็ตาม อานนท์และเพนกวินซึ่งถูกขังมาแล้ว 196 และ 198 วัน ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งจะยื่นประกันต่อไป
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2887/2564 ลงวันที่ 22 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40716) -
วันที่: 02-05-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานนัดพร้อมเพื่อประชุมคดี สอบคําให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยาน นักกิจกรรมซึ่งเป็นจําเลยทั้งเจ็ด พร้อมทั้งทนายจําเลยเดินทางไปศาลตามนัด
ศาลสอบจําเลยทั้งเจ็ดเกี่ยวกับคําขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้นับโทษจําเลยทั้งเจ็ดต่อกับโทษของจําเลยทั้งเจ็ดตามหมายเลขคดีที่ระบุไว้ท้ายฟ้อง จําเลยทั้งเจ็ดแถลงปฏิเสธและไม่รับข้อเท็จจริงว่า เป็นบุคคลเดียวกันกับจําเลยที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โจทก์แถลงว่า จะรวบรวมหมายเลขคดีดําและหมายเลขคดีแดงที่เป็นปัจจุบันแล้วยื่นแถลงต่อศาล ก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ
ตามที่โจทก์ยื่นคําร้องขอเพิ่มเติมฟ้องครั้งที่ 1 ฉบับลงวันที่ 21 ก.พ. 2565 นั้น ทนายจําเลยแถลงคัดค้าน เนื่องจากไม่ได้เป็นการแก้ไขคําฟ้องที่พิมพ์ผิดพลาด แต่เป็นการเพิ่มเติมคําฟ้องใหม่ อันจะทําให้จําเลยทั้งเจ็ดเสียเปรียบในการต่อสู้คดี และตอนที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา ก็ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ แต่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องได้ตามขอ ระบุว่า ที่โจทก์ขอแก้ไขเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จากนั้นศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยทั้งเจ็ดฟังอีกครั้ง จําเลยยืนยันให้การปฏิเสธ
โจทก์แถลงขออ้างส่งพยานเอกสาร 98 ฉบับ และพยานวัตถุเป็นแฟลชไดร์ฟ และซีดี รวม 4 รายการ ทนายจําเลยขออ้างส่งเอกสาร 48 ฉบับ และพยานวัตถุเป็นแฟลชไดร์ฟ 1 รายการ โจทก์และจําเลยทั้งเจ็ดแถลงว่า ไม่มีข้อเท็จจริงที่รับกันได้
โจทก์แถลงว่า ประสงค์จะสืบพยานบุคคลรวม 59 ปาก แบ่งเป็น เจ้าหน้าที่ตํารวจที่อยู่ในเหตุการณ์ 5 ปาก ใช้เวลาสืบ 2 นัด, พยานซึ่งเป็นผู้กล่าวหา และพยานซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับคําปราศรัย จำนวน 10 ปาก ใช้เวลาสืบ 3 นัด, พยานเกี่ยวกับการชุมนุมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคและการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง 3 ปาก สืบใน 1 นัด, เจ้าหน้าที่ตํารวจถอดเทปคําปราศรัย 21 ปาก สืบใน 2 นัด, พยานเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใช้ในการเข้ามาร่วมชุมนุม 6 ปาก สืบใน 1 นัดครึ่ง, เจ้าหน้าที่ตํารวจตรวจสถานที่เกิดเหตุ ตรวจพิสูจน์วัตถุพยาน และตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊ก 5 ปาก สืบใน 1 นัด และพนักงานสอบสวน 14 ปาก สืบใน 1 นัดครึ่ง รวมขอใช้เวลาสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 12 นัด
จําเลยทั้งเจ็ดแถลงแนวทางการต่อสู้คดีร่วมกันว่า จําเลยทั้งเจ็ดไม่ได้กระทําความผิด การชุมนุมชอบด้วยกฎหมาย จําเลยทั้งเจ็ดใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต จําเลยทั้งเจ็ดประสงค์จะสืบพยานรวม 32 ปาก แบ่งเป็นประจักษ์พยานที่อยู่ในเหตุการณ์ 7 ปาก, นักวิชาการด้านกฎหมายให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางกฎหมาย และการรับรองเอกสารทางประวัติศาสตร์ 3 ปาก, นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อเท็จจริงและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ 4 ปาก, นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ให้ความเห็นเกี่ยวกับการตีความและการแปลความหมายถ้อยคําปราศรัย 1 ปาก, นักแปลซึ่งจะมาเบิกความรับรองการแปลเอกสารข่าวสารต่างประเทศ 2 ปาก, พยานบุคคลที่จะมาเบิกความเกี่ยวกับใช้พระราชอํานาจและการเสด็จประทับนอกราชอาณาจักร 8 ปาก, พยานบุคคลที่จะมาเบิกความเกี่ยวกับการโอนหุ้น การถือหุ้น และการบริหารจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ 6 ปาก และพยานบุคคลที่จะมาเบิกความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตราการป้องกันโรคโควิด 1 ปาก ใช้เวลาสืบรวม 8 นัด
กำหนดนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-22, 26-29 ก.ย., 3-4, 10-11 ต.ค. 2566 นัดสืบพยานจำเลย 12 ต.ค., 1-3, 21-24 พ.ย. 2566
ทั้งนี้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขนั้นระบุว่า เนื่องจากฟ้องของโจทก็ได้พิมพ์ผิดพลาด โจทก์จึงขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องดังนี้ “จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลปัจจุบัน” แก้ไขเป็น “จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลปัจจุบันและรัชกาลในอดีต (รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9)”
นอกจากนี้ยังแก้ไขจากที่ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีหมายเลขดําที่ อ.537/2564 ของศาลนี้ แก้ไขเป็นคดีหมายเลขดําที่ อ.539/2564 ของศาลนี้
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2887/2564 ลงวันที่ 2 พ.ค. 2565) -
วันที่: 19-09-2023นัด: สืบพยานโจทก์
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
คริษฐ์ (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น.ส.จิรฐิตา ธรรมรักษ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
คริษฐ์ (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น.ส.จิรฐิตา ธรรมรักษ์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์