ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ. 2888/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ. 2888/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ความสำคัญของคดี

นักกิจกรรม "ราษฎร" 8 ราย ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “ไบรท์” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, “ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ตี้” วรรณวลี ธรรมสัตยา, "บอย" พงศธรณ์ ตันเจริญ และ "แอมป์" ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมอีกหลายข้อหา หลังร่วมชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 และขึ้นปราศรัยตั้งคำถามกรณีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ออกกฎหมายหลายฉบับทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลายเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยมีประชาชนเป็นผู้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี

หลังอัยการยื่นฟ้อง ศาลอาญาไม่ให้ประกันอานนท์, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ ระหว่างพิจารณาคดี อ้างเหตุว่าพฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ประกอบกับจำเลยถูกดำเนินคดีซ้ำกันหลายคดี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าจะก่อเหตุอันตรายประการอื่น หรือหลบหนี

เป็นอีกกรณีที่สะท้อนปัญหาสำคัญของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ทำให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

วรพนธ์ ด่านวิวัฒน์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า

1. เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 จำเลยกับพวกได้ร่วมกันประกาศชักชวนประชาชนให้มาร่วมชุมนุมทางการเมืองที่มีชื่อว่า #25พฤศจิกา หรือ #25พฤศจิกาไปSCB ที่บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยและผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และ “เยาวชนปลดแอก” มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องทวงคืนทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์หรือทรัพย์สินที่ควรเป็นของชาติหรือของราษฎรทุกคน โดยมีข้อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ และองคาพยพพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ไป เพราะมีที่มาไม่ถูกต้อง และเพื่อเปิดทางให้ประเทศไทยกลับสู่ครรลองของระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จากประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ที่มีความหมายว่าทำให้ดีขึ้นและให้กลับมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็นหนทางเดียวที่จะนำพาประเทศหลุดพ้นวิกฤตินี้ได้ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อ ผกก.สน.พหลโยธิน

2. ในวันเกิดเหตุ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 8,000 คน โดยมีการปราศรัยผ่านเครื่องกระจายเสียง ซึ่งมีใจความสำคัญในลักษณะว่าสถาบันกษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติและทรงใช้ภาษีของประชาชนเพื่อประโยชน์ของส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์และส่วนพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่ร่วมชุมนุมเสื่อมศรัทธาสถาบันกษัตริย์ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปกครองของฝ่ายบริหาร อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย และเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อโควิด-19 โดยจำเลยไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกัน

3. วันเกิดเหตุ จำเลยยังร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะและกีดขวางการจราจร โดยการนำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินไปตามช่องทางจราจร นำแผงเหล็กและกรวยยางวางกั้น ปิดการจราจร ตั้งเวที จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจรของประชาชนทั่วไป ทั้งจำเลยยังร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าเพื่อปราศรัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. วันเกิดเหตุ จำเลยได้ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้อนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน

5. วันเกิดเหตุ จำเลยได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ด้วยการจัดชุมนุมและปราศรัยปลุกระดมผู้ร่วมชุมนุม เพื่อให้ผู้ร่วมชุมนุมตะโกน ด่าทอ แสดงความไม่พอใจโดยเขียนหรือพ่นสีลงกระดาษ แผ่นป้าย กำแพงทางลอดอุโมงค์ หรือช่องทางจราจร เมื่อ ผกก.สน.พหลโยธิน สั่งให้จำเลยและผู้ร่วมชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยยังคงขัดขืน

6. จำเลยยังได้ร่วมกันหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่องถึงขนาดก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือ จำเลยได้ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยและเป็นผู้ดำเนินรายการในระหว่างชุมนุมสาธารณะ ดังนี้

อานนท์ นำภา จำเลยที่ 1 ได้ปราศรัยมีใจความบางช่วงเกี่ยวกับความกังวลที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ทูลเกล้าถวายคืนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้องค์พระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวได้ใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย

ชินวัตร จันทร์กระจ่าง จำเลยที่ 2 ได้พูดปราศรัยเกี่ยวกับความต้องการอยากเห็นสถาบันกษัตริย์อยู่ในที่ทางที่ถูกต้อง

ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 3 ได้พูดปราศรัยเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือ การจะไม่ยอมให้ทรัพย์สินของแผ่นดินตกไปเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง

วรรณวลี ธรรมสัตยา จำเลยที่ 4 ได้พูดปราศรัยเกี่ยวกับการที่ประชาชนเสียภาษีให้กับกษัตริย์เฉลี่ยปีละ 430 บาท ต่อคน และพูดแสดงความเห็นว่าหากวันใดที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง ก็ควรจะลดอัตราการเสียภาษีลงมาให้เกิดความเหมาะสม

พงศธรณ์ ตันเจริญ จำเลยที่ 5 ได้พูดปราศรัยเกี่ยวกับความต้องการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

พรหมศร วีระธรรมจารี จำเลยที่ 6 ได้เป็นผู้ดำเนินรายการ

ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา จำเลยที่ 7 ได้ร่วมกันกล่าวคำปราศรัย โดยนำเสนอผ่านการแสดงเพลงฉ่อย ร่วมกับพริษฐ์ ชิวารักษ์

พริษฐ์ ชิวารักษ์ นอกจากร้องเพลงฉ่อยแล้ว ยังปราศรัยถึงการโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

เมื่อบุคคลที่ 3 ได้ฟังคำปราศรัยดังกล่าว ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ทรงมีเจตนาเอาทรัพย์สินส่วนรวมมาเป็นของตัวเอง เบียดเบียนเอาภาษีของประชาชนมาเป็นของส่วนตัว ทรงใช้พระราชอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเมืองการปกครอง อันเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ด้วยข้อความหยาบคาย เป็นเท็จหรือบิดเบือน โดยน่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564 และคดีหมายเลขดำที่ อ. 2932/2564 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่ สน.พหลโยธิน นักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” 6 ราย ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “ไบรท์” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, “ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “ตี้” วรรณวลี ธรรมสัตยา นักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา เข้ารับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 ที่บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์

    นักกิจกรรมทั้ง 6 ราย ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจาก สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2563 โดยมี พ.ต.ท.ปิยะวัฒน์ พัชรนิตยธรรม รอง ผกก.สส.สน.พหลโยธิน เป็นผู้กล่าวหา และให้ผู้ถูกออกหมายเรียกไปพบกับ พ.ต.ท.พิภัสสร์ พูนลัน สารวัตร (สอบสวน) สน.พหลโยธิน หลังร่วมชุมนุมบริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 และปราศรัยตั้งคำถามต่อกรณีที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ออกกฎหมายหลายฉบับที่ส่งผลให้เกิดการรวบทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเข้าเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ทั้งหมดเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

    เมื่อกลุ่ม “ราษฎร” ทั้งหก เดินทางถึง สน.พหลโยธิน คณะพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.2 ที่ 373/2563 ประกอบด้วย พนักงานสอบสวนจาก สน.พหลโยธิน, สน.บางซื่อ, สน.ประชาชื่น และ บก.น.2 แจ้งข้อเท็จจริงที่กล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกทราบ สรุปใจความได้ว่า ผู้ต้องหาทั้งหกทำหน้าที่ในการชักชวนคนมาร่วมชุมนุม ทำการขึ้นปราศรัย ในกิจกรรมทวงคืนทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์มาเป็นของประชาชน โดยต้องการให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟังการปราศรัยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เบียดบังเอาทรัพย์สินของแผ่นดินมาเป็นของตนเอง มีการปิดถนนรัชดาภิเษกขาออก ช่วงบริเวณด้านหน้าธนาคารไทยพาณิชย์สาขาสำนักงานใหญ่ มีการใช้เครื่องขยายเสียง โดยที่การชุมนุมดังกล่าวไม่ได้มีการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบก่อนจัดให้มีการชุมนุมแต่อย่างใด อีกทั้งเป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก เสี่ยงต่อการติดโรคระบาด

    พนักงานสอบสวนยังได้ยกเนื้อหาคำปราศรัยบางตอนขึ้นมาบรรยาย พร้อมทั้งระบุว่า คำปราศรัยของผู้ต้องหามีบริบทในเนื้อหาสาระให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้เชื่อตามคำปราศรัยของผู้ต้องหา

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมทั้งหกรวม 8 ข้อหา ดังนี้

    1. ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112)
    2. ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116)
    3. ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215)
    4. เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกการกระทำแต่ไม่เลิก (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216)
    5. ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10)
    6. ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจร (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385)
    7. ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต (พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4)
    8. ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย (ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ)

    ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยทั้งหมดยกเว้นอานนท์ไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา แต่เขียนด้วยถ้อยคำที่เป็นการไม่ยอมรับการดำเนินคดีดังกล่าว เช่น “ไม่ยอมรับ ม.112”, “ยกเลิก 112”, “ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการศักดินา” และจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 29 ม.ค. 2564

    หลังรับทราบข้อกล่าวหาในคดีนี้ซึ่งไม่มีการควบคุมตัวโดยตำรวจ คณะพนักงานสอบสวนยังแจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรม 4 ใน 6 คน ได้แก่ อานนท์, พริษฐ์, ชินวัตร และภาณุพงศ์ ในคดีของ สน.พหลโยธิน อีก 1 คดี จากการชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563

    คดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 7 ราย ผู้ถูกกล่าวหาอีกหนึ่งรายที่ติดธุระไม่ได้มาในวันนี้ คือ พงศธรณ์ ตันเจริญ กลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส.เพื่อประชาธิปไตย โดยขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในภายหลัง

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 22 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24348)
  • เวลา 13.00 น. “บอย” พงศธรณ์ ตันเจริญ กลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส.เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นผู้ต้องหารายที่ 7 ในคดีนี้ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    คณะพนักงานสอบสวนตามคำสั่ง บก.น.2 ที่ 373/2563 แจ้งข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหาให้พงศธรณ์ทราบ โดยมีใจความเช่นเดียวกับคนอื่น และยกเนื้อหาคำปราศรัยของพงศธรณ์ขึ้นมาบรรยาย โดยระบุว่า พงศธรณ์ได้ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำ

    1. “….เป็นตัวแทนของไพร่อยากส่งเสียงดังๆ ว่ามาถึงบ้านมันแล้ว…”
    2. “…คนที่รักษาประชาธิปไตยกลับถูกจับติดคุกถูกลบศักดิ์ศรีและคุณค่าโดยไม่มีชิ้นดีกลับกันคนที่ชูภาพพระบรมฉายาลักษณ์กลับได้ดีเลยทุกตัวเลยพี่น้อง…”
    3. “…ถ้าวันนี้พวกเราจะไปที่ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์รับรองพวกนี้คงคลั่ง…”
    4. “…พวกเราต้องการเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน…”
    5. “…กล่าวหาว่าเราล้มเจ้าล้มสถาบัน เราจะไปล้มเจ้าได้อย่างไร มีวิธีเดียวคือเจ้าเล่นป๊อกเด้งใช่ไหมพี่น้อง…”

    ซึ่งพนักงานสอบสวนเห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวนั้นมีเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วเกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง ขาดความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ และได้แจ้งข้อกล่าวหาพงศธรณ์รวม 8 ข้อหาเช่นเดียวกับคนอื่น พงศธรณ์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 1 ก.พ. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 4 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/24739)
  • “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา นักกิจกรรมทางการเมืองและบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เดินทางไปตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564

    ก่อนหน้านี้ นักกิจกรรม 7 ราย ทยอยเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาไปแล้ว แต่ตำรวจได้มีการออกหมายเรียกณวรรษมาแจ้งข้อหาเพิ่มอีก 1 ราย

    พ.ต.ท.พิภัสสร์ พูนลัน สารวัตร (สอบสวน) สน.พหลโยธิน และคณะฯ ระบุพฤติการณ์ที่ดำเนินคดีว่า ณวรรษในฐานะที่เป็นพิธีกรร่วมกับผู้ต้องหาอีก 2 ราย คือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และชินวัตร จันทร์กระจ่าง ได้ร่วมกันกล่าวคําปราศรัยโดยนําเสนอเป็นเพลงฉ่อยโต้ตอบกันผ่านเครื่องขยายเสียง สนทนาเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีเนื้อหาสาระที่ล้อเลียนเสียดสี ประชาชนทั่วไปฟังแล้วเกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จาบจ้วงล่วงเกินต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีเจตนาร่วมกันยุยงให้ประชาชนแสดงออกถึงการวิพากษ์วิจารณ์ และดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อณวรรษทั้งหมด 8 ข้อกล่าวหา เหมือนคนอื่น ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ และตำรวจได้ทำบันทึกประจำวันแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา โดยณวรรษได้เซ็นรับทราบด้วยประโยคว่า #ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมไม่ขอเดชะ พร้อมกับให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะส่งคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน

    ณวรรษถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่ 3 แล้ว และยังได้รับแจ้งว่าเขาถูกออกหมายเรียกคดีมาตรา 112 อีก 1 คดี ที่ยังไม่ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ได้แก่ คดีจากชุมนุมติดตามการจับกุม “นิว สิริชัย” ที่หน้า สภ.คลองหลวง

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.พหลโยธิน ลงวันที่ 10 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26815)
  • พนักงานสอบสวนนัดนักกิจกรรมทั้งแปดเพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 อัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 20 ส.ค. 2564 ส่วนพริษฐ์ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ส่งตัวให้อัยการ แต่เนื่องจากต้องกักตัวโควิด ทำให้เลื่อนนัดส่งตัวไปก่อน ยังไม่กำหนดนัดใหม่
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปวันที่ 27 ก.ย. 2564
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดอีกครั้งวันที่ 19 ต.ค. 2564
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปวันที่ 19 พ.ย. 2564
  • “ฟ้า” พรหมศร, “ไบรท์” ชินวัตร, “ตี้” วรรณวลี, “บอย” พงศธรณ์ และ “แอมป์” ณวรรษ เดินทางไปฟังคำสั่งอัยการ ส่วนอานนท์, "เพนกวิน" พริษฐ์ และ "ไมค์" ภาณุพงศ์ ยังถูกคุมขังในเรือนจำ

    พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ได้มีคำสั่งฟ้องนักกิจกรรม 7 ราย ได้แก่ อานนท์, ภาณุพงศ์, ชินวัตร, วรรณวลี, พรหมศร, ณวรรษ และพงศธรณ์ และยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215, 216, 385, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 108, 114, พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9

    ท้ายคำฟ้องนอกจากอัยการจะคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งเจ็ดระหว่างพิจารณา อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งเจ็ดได้กระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหลายครั้ง หากปล่อยตัวไปอาจจะกระทำความผิดซ้ำอีก อัยการยังขอให้นับโทษจำคุกอานนท์, ชินวัตร, ภาณุพงศ์, พรหมศร และณวรรษในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นๆ ด้วย

    หลังอัยการนำผู้ต้องหาไปฟ้องต่อศาลอาญา นักกิจกรรมทั้ง 5 คน ที่มาศาลถูกควบคุมตัวไปยังห้องควบคุมตัว และทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งเจ็ด

    ต่อมา ชาญชัย ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้มีคำสั่งให้ประกันเฉพาะชินวัตร, จิรฐิตา, คริษฐ์, วรรณวลี, พงศธรณ์, พรหมศร และณวรรษ โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 100,000 บาท ยกเว้นชินวัตรที่ให้วางหลักทรัพย์ 200,000 บาท เนื่องจากถูกตัดสินให้รอลงอาญาในคดีอื่น ทั้งหมดใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ นอกจากนี้ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดกระทำการในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาซ้ำอีก หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ รวมถึงห้ามเดินทางออกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด

    ส่วนอีก 2 จำเลย ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ คือ อานนท์และภาณุพงศ์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าร้ายแรง ประกอบกับจำเลยถูกดำเนินคดีที่ศาลนี้ซ้ำกันหลายคดี หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือหลบหนีคดี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง”

    ศาลนัดประชุมคดีและตรวจพยานหลักฐานคดีนี้ในวันที่ 31 ม.ค. 2565 เวลา 13.30 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้องและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38263)
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องพริษฐ์ในฐานความผิดเช่นเดียวกับนักกิจกรรมอีก 7 ราย ก่อนหน้านี้ แยกเป็นอีกคดี โดยคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ระหว่างพิจารณา และขอให้นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของพริษฐ์ในคดีอื่นๆ ด้วย

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2932/2564 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2564)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในคดีนี้และคดีอื่นๆ ของศาลอาญาอีก 3 คดี ได้แก่ คดีชุมนุมสาดสี-ปาไข่ หน้า ม.พัน 4 รอ. เมื่อ 28 ก.ย. 2563, คดีชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว และคดีชุมนุมเยาวชนปลดแอก เมื่อ 18 ก.ค. 2563

    ต่อมาเวลา 17.17 น. มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพียงคดีชุมนุมเยาวชนปลดแอกคดีเดียว ตีราคาประกัน 35,000 บาท ส่วนอีก 3 คดี รวมทั้งคดีนี้มีคำสั่งให้ยกคำร้อง โดยระบุเหตุผลเหมือนกันว่า “ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาพิจารณาแล้ว เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลได้เคยสั่งไว้ จึงมีมติให้ยกคำร้อง”

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 ลงวันที่ 30 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38421)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ ในคดีนี้และทุกคดีของศาลอาญาที่มีหมายขัง รวมถึงยื่นประกันจตุภัทร์ด้วย

    ต่อมา พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งเหมือนกันในทุกคำร้อง นัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. โดยให้เบิกจำเลยไต่สวนทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 และ อ. 2932/2564 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 2564)
  • ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้พริษฐ์ฟัง และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 7 ก.พ. 2565
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์จากวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เป็นวันที่ 8 ธ.ค. 2564 ระบุเหตุผลในการเข้าสอบปลายภาค ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่า ศาลได้แจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของจำเลยให้แก่โจทก์และได้กำหนดวันนัดไว้ล่วงหน้าแล้ว ขณะนี้โจทก์ยังไม่ได้ทำคำคัดค้านมายังศาล ประกอบกับการปล่อยชั่วคราวมิได้พิจารณาจากเหตุที่จำเลยต้องทำการสอบเพียงประการเดียว แต่เป็นการพิจารณาถึงการกระทำของตัวจำเลยแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ไม่สามารถนำพฤติการณ์และเหตุของบุคคลหนึ่งมาอ้างเป็นเหตุให้ปล่อยชั่วคราวแก่ตนเองได้ กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงวันนัด ให้ยกคำร้อง

    (อ้างอิง: คำร้องขอเลื่อนนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลย ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2932/2564 ลงวันที่ 7 ธ.ค. 2564)
  • ที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดไต่สวนคําร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 4 แกนนำราษฎร ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาในคดีชุมนุมต่างๆ และทนายยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้าวันนัด ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้เบิกตัวทั้ง 4 คน มาไต่สวนที่ศาล

    บรรยากาศในศาลอาญาช่วงเช้ามีการตั้งจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ และมีบัตรชั่วคราวสำหรับบุคคลที่จะเข้าร่วมฟังการไต่สวน ส่วนที่ห้องพิจารณา 704 เจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้เก็บเครื่องมือสื่อสารเหมือนที่ผ่านมา ทั้งยังให้ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าร่วมฟังการไต่สวนครั้งนี้ได้ โดยมีผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมสังเกตการณ์

    เวลา 09.50 น.เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ราว 8 นาย คุมตัวนักกิจกรรมทั้งสี่ในชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาลอ่อน สวมหน้ากากอนามัยเข้าห้องพิจารณา ครอบครัวและประชาชนที่มาให้กำลังใจต่างทยอยเข้าไปสวมกอดและทักทาย ในช่วงเวลาที่การพิจารณาคดียังไม่เริ่ม

    ++“เพนกวิน” แถลงอยู่ในคุกเรียนลำบาก ต้องค้นคว้าทำรายงาน หากไม่ส่งอาจไม่จบ พร้อมยินดีรับเงื่อนไขเดียวกับรุ้ง++

    เวลา 10.45 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดี โดยเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันพริษฐ์เป็นอันดับแรก พริษฐ์เบิกความต่อศาลว่า ปัจจุบันตนอายุ 23 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับทุกคดีที่อยู่ในชั้นศาลนั้น ตนได้ให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี ซึ่งทุกคดียังไม่มีการตัดสิน

    ส่วนเรื่องสุขภาพขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ตนเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วครั้งหนึ่ง จากนั้นป่วยมาโดยตลอด ทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นหอบหืดและภูมิแพ้ โดยตนถูกคุมขังมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว และปัจจุบันยังไม่ได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 แต่อย่างใด

    ด้านคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตนถูกเพิกถอนประกันโดยไม่มีการไต่สวนในวันที่ 9 ส.ค. 2564 เนื่องจากขณะนั้นตนอยู่ในห้องพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ขณะถูกฝากขังในคดี #ม็อบ2สิงหา เรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มทะลุฟ้าที่หน้า บก.ตชด.ภาค 1

    สำหรับเหตุผลที่มีการยื่นขอประกันต่อศาลในครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเป็นนักศึกษาปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ ซึ่งการส่งเอกสารการเรียนต่างๆ ออกมาจากเรือนจำทำได้อย่างยากลำบาก และช่วงนี้อยู่ในช่วงสอบปลายภาค อีกทั้งยังมีรายงานที่ต้องเก็บข้อมูลและทำการค้นคว้า แต่ตนไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ รวมไปถึงต้นปี 2565 ตนต้องลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาใหม่ ซึ่งการอยู่ในเรือนจำจะไม่สามารถจัดตารางเรียน และลงทะเบียนเรียนได้ และหากไม่ลงเรียนก็จะไม่จบตามหลักสูตร

    พริษฐ์แถลงอีกว่า หากศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตนยินดีจะปฎิบัติตามเงื่อนไขเดียวกันกับที่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เคยได้รับการปล่อยตัวเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งย้ำว่า เพื่อให้ศาลมั่นใจว่าตนจะปฎิบัติตามเงื่อนไขของศาล จะขอให้ศาลตั้ง รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ตนเรียนอยู่ด้วย เป็นผู้กำกับดูแล

    ด้านอัยการโจทก์ถามค้านพริษฐ์ว่า จำได้หรือไม่ว่าหลังจากได้รับการปล่อยตัวถูกกล่าวหาอีกกี่คดี ด้านพริษฐ์ตอบว่า ไม่แน่ใจ จำไม่ได้ ก่อนถูกถามต่อว่า ทราบถึงเหตุผลที่ถูกถอนประกันในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร หรือไม่ พริษฐ์ตอบว่า ไม่ทราบเนื่องจากไม่ได้มีการไต่สวน

    ด้านทนายถามติงว่า หากมีการไต่สวนคำร้องที่ขอเพิกถอนประกัน จำเลยจะอธิบายพฤติการณ์ที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุในการถอนประกันว่าอย่างไร พริษฐ์ระบุว่า จะอธิบายต่อศาลว่า สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถเสื่อมเสียเพียงเพราะคำพูดของตนได้ ส่วนคดีที่ถูกฟ้องเข้ามาใหม่นั้น เป็นคดีเก่าที่เกิดขึ้นก่อนการปล่อยตัวชั่วคราว

    จากนั้นศาลได้ถามพริษฐ์ว่า มีคดีละเมิดอำนาจศาลกี่ครั้ง ด้านพริษฐ์ตอบศาลว่า มี 2 ครั้ง คือ ที่ศาลาอาญา รัชดา และศาลจังหวัดธัญบุรี โดยคดีดังกล่าวศาลได้พิพากษาสั่งขัง 10 วันแล้ว

    ต่อมาเวลา 11.10 น. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ เข้าเบิกความว่า ตนรู้จักกับพริษฐ์ เนื่องจากจำเลยเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยปัจจุบันจำเลยลงเรียนวิชาการเมืองเปรียบเทียบที่ตนเป็นผู้สอนด้วย

    จำเลยเป็นเด็กเรียนเก่ง สอบได้คะแนนสูง เกรดเฉลี่ยปัจจุบันยังอยู่ในขอบข่ายที่ได้รับเกียรตินิยม ตอนนี้เป็นช่วงการสอบเก็บคะแนน โดยจำเลยต้องทำงานเก็บคะแนน และต้องทำรายงานด้วย หากศาลให้ประกันยังมีเวลาพอที่พริษฐ์จะไปทำงาน ซึ่งมีกำหนดส่งวันที่ 12 ม.ค. 2565 ได้ และหากศาลตั้งตนเป็นผู้กำกับดูแล ตนก็ยินดี

    ++“อานนท์ นำภา” ชี้ ติดคุกว่าความไม่ได้ ศาลยังคงไม่ได้ประกันตัวคดีอื่น แม้ศาลเคยยกคำร้องขอถอนประกันมาแล้ว++

    เวลา 11.20 น. อานนท์ นำภา เข้าเบิกความว่า ตนจบเนติบัณฑิตรุ่น 62 ประกอบอาชีพทนายความมา 13 ปี ในคดีนี้ตนถูกขังมาตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างถูกคุมขังครั้งก่อน ตนได้ติดโควิดในเรือนจำเมื่อช่วงกลางปี และปัจจุบันยังมีอาการ Long COVID (อาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19) ทำให้เหนื่อยง่าย

    กอปรกับการที่ตนประกอบอาชีพทนาย การทำหน้าที่ว่าความในคดีต่างๆ ทำได้ลำบาก เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ หลายคดีต้องเลื่อนการพิจารณา ทั้งที่เดิมในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ตนเป็นจำเลย ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมามีพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนมายื่นคำร้องขอเพิกถอนประกัน เนื่องจากเห็นว่าผิดเงื่อนไข ที่ตนเข้าร่วมชุมนุมทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ก่อนศาลสั่งให้มีการไต่สวนและยกคำร้องโจทก์ไป โดยวินิจฉัยว่าตนไม่ได้กระทำผิดเงื่อนไข

    เหตุที่ตนไม่ได้ประกัน หลังยื่นขอประกันหลายครั้ง เนื่องจากศาลให้เหตุผลว่าจะไปกระทำความผิดซ้ำ หากแต่ก่อนหน้านั้น ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า การกระทำที่ถูกร้องให้เพิกถอนประกันนั้นไม่ได้เป็นการกระทำผิดเงื่อนไข

    สำหรับคดีที่ถูกฟ้องใหม่ เป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนการไต่สวนถอนประกัน และหลังจากที่ไต่สวนเสร็จแล้ว ตนถูกเพิ่มเงื่อนไขอีก 2 ข้อ คือ ห้ามออกจากเคหสถาน 24 ชั่วโมง และให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) แต่ยังไม่ได้ปฎิบัติตาม เนื่องจากถูกขังตามหมายขังคดีอื่นๆ

    ก่อนศาลถามว่า เคยถูกไต่สวนในคดีละเมิดอำนาจศาลไหม อานนท์ตอบไม่เคย

    ++“ไมค์ ภาณุพงศ์” ชี้ถูกถอนประกันถึง 2 ครั้ง แต่ศาลยกคำร้อง – ศาลอาญากรุงเทพใต้ ให้ประกันคดี 112 แล้ว++

    เวลา 14.30 น. ภาณุพงศ์เข้าเบิกความว่า ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชั้นปีที่ 3 ตนเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องหาเลี้ยงแม่และพี่สาว โดยประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ทุเรียนทอด ตนถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 2564 รวมเวลาประมาณ 3 เดือน

    ตนเคยถูกพิพากษาในคดีละเมิดอำนาจศาลของศาลธัญบุรี หลังรับสารภาพ โดยเหตุที่ต้องทำเช่นนั้นเนื่องจากวันดังกล่าว ตนถูกควบคุมตัวโดย คฝ.พยายามจะมาลากเพื่อนของตนไป พวกตนจึงต้องป้องกันตัว โดยศาลได้ลงโทษกักขัง 10 วัน

    ทนายจำเลยถามว่า ในระหว่างที่ถูกคุมขังมีปัญหาสุขภาพอย่างไรบ้าง ภาณุพงศ์ตอบว่า ติดโรคโควิด-19 ถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้ตอนนี้มีอาการหอบ และโรคภูมิแพ้ที่เป็นโรคประจำตัวเดิมมีอาการหนักขึ้น ต้องกินยาทุกวัน เนื่องจากต้องอยู่ในสถานที่ที่จำกัด และจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับวัคซีน

    ภาณุพงศ์เบิกความอีกว่า ในคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตนได้ถูกร้องให้เพิกถอนการประกันตัว แต่หลังจากไต่สวนแล้วศาลมีคำสั่งไม่ถอนประกัน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่ม เนื่องจากที่ผ่านมาตนปฏิบัติตามเงื่อนไข ทั้งนี้ ตนเคยถูกร้องให้ศาลเพิกถอนประกันแล้ว 2 ครั้ง แต่ศาลไม่เคยมีคำสั่งให้ถอนประกัน นอกจากนี้ คดีมาตรา 112 อีก 2 คดีของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลก็อนุญาตให้ประกัน รวมถึงคดีที่อยู่ในศาลนี้ ศาลก็ได้ให้ประกันเช่นเดียวกัน โดยกำหนดเงื่อนไขให้อยู่ในเคหสถานตลอดเวลาเว้นแต่มีเหตุจำเป็น และให้ติด EM ในคดีนี้ตนก็สามารถยอมรับเงื่อนไขข้างต้นได้เช่นเดียวกัน

    ทนายจำเลยถามว่า ถ้าหากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้วจะทำอะไรต่อไป ภาณุพงศ์กล่าวว่า จะกลับไปเรียนและประกอบอาชีพตามเดิม

    ++อนุญาตอัยการยื่นคำคัดค้าน ก่อนนัดฟังคำสั่ง 24 ธ.ค.++

    เวลา 14.45 น. ภายหลังศาลไต่สวนจำเลยทั้ง 4 คนพร้อมทั้งพยานแล้ว ได้กล่าวกับจำเลยว่า จะต้องนำข้อเท็จจริงจากการไต่สวนไปพิจารณาในที่ประชุมของศาล เนื่องจากไม่อยากให้การสั่งปล่อยหรือไม่ปล่อยเป็นการสั่งโดยผู้พิพากษาคนเดียว พร้อมทั้งย้ำว่า อย่าเข้าใจว่าการให้โอกาสไต่สวนในครั้งนี้จะเป็นเหตุให้ปล่อยตัวได้ทันที การอ้างว่าจะต้องกลับไปเรียนหรือกลับไปทำงานไม่ใช่เหตุที่จะนำไปสู่การปล่อยตัว ไม่เช่นนั้นทุกคนที่ถูกขังอยู่ก็คงอ้างได้

    นอกจากนี้ศาลยังกล่าวด้วยว่า ไม่ใช่ว่าจำเลยแถลงยอมรับเงื่อนไขแล้วศาลจะต้องปล่อยตัวเท่านั้น การเสนอเงื่อนไขไม่ใช่เหตุปล่อยตัวอย่างเดียว ศาลจะต้องพิจารณาที่การกระทำ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าควรให้ปล่อย จึงจะอนุญาตปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าจะสั่งอย่างไร สังคมก็จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อคำสั่งนั้น ศาลจึงต้องให้โอกาสในการเรียกมาไต่สวน

    จากนั้นศาลได้ถามพนักงานอัยการฝ่ายโจทก์ว่า จะคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ก่อนกล่าวว่าอันที่จริงอัยการได้แถลงคัดค้านไว้แล้วก่อนจะมีการไต่สวน อัยการแถลงว่า จะต้องคัดค้านเนื่องจากคดีทั้งหมดเป็นคดีที่มีโทษสูง หากปล่อยตัวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี

    ต่อมา คณะพนักงานอัยการราว 15 คน ได้ปรึกษากันอีกครั้ง ก่อนจะแถลงว่าไม่สามารถแถลงคัดค้านภายในวันนี้ได้ เนื่องจากจำเลยแต่ละคนมีหลายคดี จึงขอทำคำแถลงเป็นเอกสารมายื่นภายในสัปดาห์หน้าซึ่งอาจจะเป็นวันพุธที่ 22 ธ.ค. 2564

    อานนท์ได้ขอแถลงต่อศาลว่า ตนรู้สึกว่าขั้นตอนการไต่สวนค่อนข้างแปลก เนื่องจากเปิดให้มีการไต่สวนแล้ว ยังจะเปิดให้มีการแถลงคัดค้านหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนอีก ซึ่งตนกังวลว่าหากอัยการทำคำแถลงมาแล้วปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใหม่ ฝ่ายจำเลยก็จะไม่ได้โต้แย้ง จะเป็นเสมือนการตอกฝาโลงตนหรือไม่ จึงขอท้วงติงไว้

    ศาลกล่าวตอบอานนท์ว่า จำเลยอย่าบังคับศาลมากเกินไป ศาลได้ย่นย่อการพิจารณาให้สั้นลงโดยไม่ได้เรียกพนักงานสอบสวนแต่ละคดีมาไต่สวน หรืออานนท์อยากจะให้มีการสืบพยานอีกซัก 2-3 นัด ซึ่งมันก็อาจจะช้าออกไปอีก อานนท์จึงกล่าวว่า การพูดอย่างนี้ก็เหมือนเอาคนที่ถูกคุมขังอยู่เป็นตัวประกัน เพราะเวลาของคนข้างนอกกับคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำไม่ได้เท่ากัน

    หลังศาลและจำเลยโต้เถียงเหตุผลกันอยู่ราวครึ่งชั่วโมง ศาลจึงกล่าวสรุปว่า เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ต้องให้โอกาสทั้งสองฝ่ายเต็มที่ โดยโจทก์ได้ยืนยันว่าจะไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ การทำหนังสือคัดค้านเป็นเพียงการคัดค้านตามปกติ ส่วนฝ่ายจำเลยก็สามารถทำคำแถลงคล้ายกับการทำคำแถลงปิดคดีได้เช่นกันหากประสงค์จะทำ

    ให้พนักงานอัยการยื่นคำคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหนังสือภายในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 และนัดฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ในเวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38980)
  • เวลา 13.30 น. ศาลได้เบิกตัวอานนท์, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ รวมทั้งจตุภัทร์ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนคดีไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งด้วยแต่อย่างใด

    เวลา 14.10 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา อ่านคำสั่งไม่ให้ประกันทั้งหมด กรณีของ “เพนกวิน” ระบุเหตุผลว่า

    “พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่าข้อเท็จจริงในการไต่สวนได้ความว่า หลังจากพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ จำเลยได้กระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยศาลเคยตักเตือนจำเลยและกำชับจำเลยผ่านผู้กำกับดูแลมาแล้วหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลย อีกทั้งจำเลยมีพฤติการณ์กระทำการซ้ำในทำนองเดียวกันกับการกระทำอันเป็นมูลเหตุที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องหลายคดี

    เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะและพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออกหรือร่วมทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอย่างมาก มีความรุนแรงตลอดมา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตปล่อยชั่วคราว จำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้อง หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”

    ด้านคำสั่งไม่ให้ประกันอานนท์, จตุภัทร์ และภาณุพงษ์ ระบุเหตุผลว่า

    “พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่า เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออก ปราศรัย หรือชักนำในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ประกอบกับจำเลยถูกกล่าวหาในลักษณะเช่นนี้ที่ศาลนี้และศาลอื่นหลายคดี

    กรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้องหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”

    ศาลยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่ประชุมผู้บริหารศาลอยากให้ประกันมากนะ แต่เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วก็จึงมีคำสั่งแบบนี้ ขนาดนี้วันนี้ยังมีเลย” และกล่าวต่ออีกว่า “ในชั้นนี้มีคำสั่งไม่ให้ประกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ครั้งหน้าจะไม่ให้ประกันนะ”

    ++เสียงจากแม่ถึงลูก ในวันที่คงไม่ได้กลับบ้านในเทศกาลปีใหม่เช่นทุกปี++

    หลังผู้พิพากษาเดินออกจากห้องพิจารณาคดีไป แม่ของภาณุพงศ์ จตุภัทร์ และอานนท์ ทยอยเดินไปที่ด้านหน้าของห้องพิจารณาเพื่อสับเปลี่ยนกันพูดคุยกับลูกของตัวเองผ่านจอวิดีโอ

    แม่ของไผ่ จตุภัทร์ เดินเข้าไปพูดกับไผ่เป็นคนแรก “อดทน อดทนนะลูก อดทนๆๆๆ …” เธอพูดประโยคนี้ซ้ำๆ พลางกลั้นน้ำตาอย่างสุดความสามารถไปพร้อมกัน แต่ท้ายที่สุดเธอก็หลั่งน้ำตาแห่งความผิดหวังออกมาจนได้

    “ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว ไผ่เรียนกฎหมาย ไผ่คงรู้ดี ต้องอดทนนะลูก” เธอพูดไปเอามือปาดน้ำตาที่อาบแก้มไป ก่อนจะลุกขึ้นให้แม่ของไมค์ ภาณุพงศ์ได้เข้าไปพูดต่อ

    “อีก 2 วันเจอกันนะลูก เดี๋ยวแม่มาหา” แม่ของไมค์พูดอย่างใจเย็นและเบิกยิ้มกว้าง

    “แม่ ผมฝากสั่งซื้อพิซซ่ากับเค้กเข้ามาให้พวกผมกินหน่อยนะ จะได้เอามาฉลองปีใหม่ด้วยกันข้างในนี้กับเพื่อนๆ” ไมค์บอกแม่ เพราะในเทศกาลปีใหม่นี้ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้จัดรายการเมนูอาหารพิเศษเพื่อให้ญาติได้สั่งให้ผู้ต้องขังในเรือนจำได้ อาทิ กุ้งเผาครึ่งกิโล เป็ดพะโล้ทั้งตัว สเต๊กหมู รวมถึงเมนูพิเศษที่ไมค์ร้องขออย่างพิซซ่าและเค้กช็อกโกแลต ราคาอย่างละ 300 บาทอีกด้วย

    “มันติดวันเสาร์-อาทิตย์นะลูก จะฝากเข้าไปให้ได้เหรอ” อานนท์สวนทันควันว่า “เอากับข้าวอะไรก็ได้ที่อร่อยๆ ครับแม่” “ได้เลย เดี๋ยวแม่จัดการให้ จะหาของอร่อยๆ ให้นะ” แม่ไมค์บอกกับทุกคน

    “เมอร์รี่คริตมาสต์นะทุกคน…” แม่ไมค์พูดทิ้งท้ายก่อนลุกเปลี่ยนให้แม่ของอานนท์มานั่งพูดต่อ

    แม่ของอานนท์พูดเป็นภาษาอีสานใจความว่า “คิดถึงลูกนะ ขอให้เข้มแข็ง”

    ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มทะลุฟ้า ได้จัดกิจกรรมจับตาผลการให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย โดยได้นัดหมายมวลชนไปรวมตัวกันบริเวณหน้าศาลอาญาเพื่อรอรับเพื่อนกลับบ้านตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป และจัดกิจกรรม “เดิน หยุด ขัง” โดยนัดหมายประชาชนให้เริ่มต้นเดินตั้งแต่ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยนมอล์ในเวลา 11.00 น. เพื่อเดินไปจนถึงศาลอาญา รัชดาฯ

    ภายหลังมวลชนเดินทางมาถึงหน้าศาลอาญาในเวลาประมาณ 13.30 น. และต่อมาทราบว่าศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย กลุ่มมวลชนได้จัดกิจกรรมพูดปราศรัยเกี่ยวกับการไม่ทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรงของศาลและสถาบันตุลาการ รวมไปถึงมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาชุดครุยผู้พิพากษา เผาหนังสือประมวลกฎหมายอาญา และขีดเขียนพ่นสีสเปรย์ที่ป้ายของศาลอาญา เพื่อแสดงความไว้อาลัยแก่กระบวนการยุติธรรมไทย

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39156)
  • ทนายจําเลยที่ 7 ซึ่งยังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทนายความนําใบรับรองแพทย์ของจําเลยที่ 7 (ณวรรษ) ยื่นต่อศาลอ้างว่า จําเลยติดโควิดไม่สามารถมาศาลในวันนี้ได้ จึงขอเลื่อนคดีออกไปสักนัดหนึ่ง

    โจทก์ยื่นคําร้องขอให้นําคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.2932/2564 ของศาลนี้ รวมพิจารณาเข้ากับคดีนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 สํานวนเป็นเหตุการณ์เดียวกัน หากรวมพิจารณาก็จะทําให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ตามคําร้องฉบับลงวันที่ 9 ธ.ค. 2564

    ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดประชุมคดี สอบคําให้การจําเลยทั้งเจ็ด ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยานกันใหม่ในวันที่ 25 เม.ย. 2565 เวลา 09.00 น. ส่วนการขอรวมพิจารณาคดี รอไว้สั่งในนัดหน้า

    อนึ่ง เนื่องจากคดีนี้โจทก์อ้างพยานเป็นจํานวนมาก มีจําเลยหลายคนและจะนําพยานเข้าสืบหลายปาก เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาและตรวจพยานหลักฐานเพื่อเป็นแนวทางในการนําสืบพยาน กรณีเห็นควรให้โจทก์ไปดําเนินการจัดกลุ่มพยานที่จะเบิกความต่อศาลและให้ปรากฏรายละเอียดของพยานแต่ละปากว่าจะเบิกความเกี่ยวกับเรื่องใด ส่วนจําเลยทั้งเจ็ดให้ทนายความของแต่ละคนไปดําเนินการทําบันทึกแถลงการณ์แนวทางการต่อสู้คดี และพยานแต่ละปากว่าจะเบิกแนวทางการต่อสู้ไปในทิศทางใด เสนอศาลในนัดหน้าเพื่อจะจัดกลุ่มและกําหนดวันนัดพิจารณาให้เหมาะสม

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2565)
  • พริษฐ์ถูกเบิกตัวจากเรือนจำมาศาล โจทก์ขอให้รวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีหลักที่มีจำเลย 7 คน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์เดียวกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกัน พริษฐ์แถลงไม่คัดค้าน ศาลจึงมีคําสั่งให้รวมการพิจารณานี้เข้ากับคดีหลัก และให้เลื่อนไปนัดพร้อมเพื่อประชุมคดี สอบคําให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยานพร้อมกันในวันที่ 25 เม.ย. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2932/2564 ลงวันที่ 7 ก.พ. 2565)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในทุกคดีที่มีหมายขังของศาลอาญา รวม 4 คดี ได้แก่ คดีนี้, คดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 2563, คดีชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 และคดีชุมนุมสาดสี-ปาไข่ หน้า ม.พัน 4 รอ. เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563

    ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของภาณุพงศ์ ระบุเหตุผลว่า จําเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรซึ่งมหาวิทยาลัยกําหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทํารายงานต่างๆ และเข้าสอบไล่ให้ครบตามกําหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย การขังจําเลยไว้ต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษา

    ยิ่งไปกว่านั้น ครอบครัวของจําเลยขณะนี้กําลังประสบปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นกิจการทุเรียนทอดที่จําเลยทําร่วมกับครอบครัว โดยจําเลยเป็นผู้บริหารจัดการหลัก ประกอบกับมารดาของจําเลยมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถบริหารจัดการกิจการ จําเลยจึงจำเป็นต้องออกมาช่วยเหรือครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

    ทั้งนี้ จำเลยถูกขังตามหมายขังของศาลนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้รับความยากลำบากในการใช้ชีวิตโดยปราศจากอิสรภาพเป็นอย่างมาก จึงตระหนักว่าจำเลยจะระมัดระวังไม่กระทำการใดให้ถูกฟ้องเป็นคดีขึ้นอีก

    พร้อมกันนี้ จำเลยขอเสนอเงื่อนไขว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยจะไม่กระทำการใดอันจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่เข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง จำเลยยินยอมอยู่ในเคหสถานตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดเว้นแต่มีเหตุจำเป็น เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การศึกษา ไปติดต่อราชการที่สถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ และศาล โดยจำเลยยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) และหากศาลกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ประการใด จำเลยยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลทุกประการ

    โดยที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด”

    ต่อมา 18.00 น. อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวภาณุพงศ์ในทุกคดี พร้อมกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวว่า

    1. ห้ามจําเลยทํากิจกรรมหรือกระทําการใดๆ ที่อาจกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
    2. ห้ามจําเลยเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ห้ามจําเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
    4. ห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 18.00 น. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
    5. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

    ศาลยังให้ตั้งแต่งตั้งผู้กํากับดูแลทั้งสองคน ได้แก่ ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมให้มารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และให้พาตัวมาส่งต่อศาลภายในวันที่ 9 มิ.ย. 2565 นี้

    ศาลยังให้วางหลักทรัพย์ประกันในคดีนี้ 100,000 บาท โดยเป็นหลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์

    อย่างไรก็ตาม ภาณุพงศ์จะยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอื่นอีก ในคดีมาตรา 112 กรณีชุมนุมหน้าสภ.ภูเขียว และกรณีชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทนายความจะได้ยื่นประกันตัวในคดีทั้งหมดต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 9 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40352)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ และอานนท์ ในคดีการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองที่มีหมายขังทั้งหมดของศาลอาญา ในส่วนของอานนท์รวมแล้ว 9 คดี ของเพนกวิน มีการยื่นประกัน 8 คดี รวมทั้งคดีนี้ซึ่งทั้งสองคนเป็นจำเลยและยังไม่ได้รับการประกันตัวด้วย

    สำหรับคดีของศาลอาญา เพนกวินและอานนท์เคยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง และศาลเคยให้มีการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาก็ยังยืนกรานไม่ให้ประกัน ‘เพนกวิน-อานนท์-ไมค์-ไผ่’ ในครั้งนั้น อ้างเหตุว่า “เกรงว่าจะกระทำผิดซ้ำ”

    การยื่นประกันในครั้งล่าสุดนี้ ทั้งสองได้ระบุในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกคดีของทุกศาลเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาว่า จะไม่กระทําการใดๆ ให้สถาบันกษัตริย์เกิดความเสื่อมเสีย ไม่ทํากิจกรรมใดที่จะทําให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่เดินทางออกนอกประเทศ และพร้อมที่จะเดินทางมาศาลตามที่มีการนัดหมายทุกครั้ง รวมถึงยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ทั้งยังมีคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่า

    1. นับจนถึงวันนี้จําเลยถูกคุมขังไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีเกินกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งในคดีนี้พยานโจทก์และพยานจําเลยมีจํานวนมาก ยังไม่อาจกําหนดได้ว่าจะสามารถพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นเมื่อใด และยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ในการสืบพยานโจทก์ที่ผ่านมาให้เห็นถึงความผิดของจําเลย
    2. ในคดีหมายเลขดําที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา (คดี 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) ซึ่งมีจําเลยคนอื่น ๆ ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดร่วมกันกับจําเลยทั้งสองนี้ ศาลก็ได้มีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยในคดีนี้จํานวนหลายคน เช่น ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน บุญภัทรรักษา, ภาณุพงศ์ หรือไมค์ จาดนอก โดยศาลได้กําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้จําเลยปฏิบัติตาม ก็ปรากฏว่าจําเลยเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลได้เคร่งครัดทุกประการ และไม่ได้ผิดเงื่อนไขของศาลเลย ซึ่งจําเลยทั้งสองก็ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนดังเช่นจําเลยคนอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก่อนหน้านี้

    เวลา 16.30 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดของศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และเพนกวินในทุกคดี ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีโดยรวมแล้ว กรณีเห็นควรให้โอกาสจําเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาลสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณามีกําหนดเวลา 3 เดือน (ครบกําหนดวันที่ 22 พ.ค. 2565) กําหนดเงื่อนไข

    1. ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทําการใด ๆ อันจะทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
    2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM
    4. ห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 21.00 – 06.00 น. เว้นแต่มีเหตุจําเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปศึกษาเล่าเรียน ไปสถานีตํารวจ สํานักงานอัยการ หรือศาล หรือได้รับอนุญาตจากศาล
    5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
    หากจําเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมคําสั่งเดิมตามพฤติการณ์ของจําเลยที่เปลี่ยนไป ตามความเหมาะสมและความร้ายแรงของพฤติการณ์ต่อไป นอกจากนี้ กรณีครบกําหนดการปล่อยชั่วคราวโดยมีกําหนดระยะเวลาแล้ว หากจําเลยไม่มีพฤติการณ์ที่ผิดเงื่อนไข ศาลจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิมต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อานนท์และเพนกวินซึ่งถูกขังมาแล้ว 196 และ 198 วัน ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งจะยื่นประกันต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 ลงวันที่ 22 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40716)
  • นักกิจกรรมที่เป็นจำเลย 7 รายมาศาล ส่วนพริษฐ์ไม่ได้มาศาล เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยกะทันหันในช่วงเช้าจึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากติดโควิด อีกทั้งจําเลยอีก 3 ราย ยังไม่มีทนาย จะขอแต่งตั้งทนายความในนัดหน้า ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสอบคําให้การจําเลยทั้งหมด ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยาน ในวันที่ 9 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น. โดยให้ส่งใบรับรองแพทย์ของพริษฐ์จําเลยในวันนี้ มิฉะนั้นศาลจะมีคําสั่งตามที่เห็นสมควร

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ. 2888/2564 ลงวันที่ 25 เม.ย. 2565)
  • จำเลยทั้งเจ็ดรวมทั้งพริษฐ์มาศาล ศาลอ่านและอธิบายฟ้อง จำเลยทั้งแปดให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงขอรวมการพิจารณาคดีหมายเลขดำ อ.2932/2565 ซึ่งมีพริษฐ์เป็นจำเลย เข้ากับคดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2565 ซึ่งมีจำเลย 7 ราย เนื่องจากเป็นกรณีเดียวกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกัน ศาลอนุญาตรวมพิจารณาคดีโดยเรียกพริษฐ์เป็นจำเลยที่ 8

    โจทก์แถลงอีกว่า มีพยานบุคคลที่จะนำเข้าสืบรวม 22 ปาก ขอใช้เวลาสืบ 6 นัด ด้านจำเลยทั้งแปดแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า การชุมนุมของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศฯ คำปราศรัยก็เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพาษ์วิจารณ์ด้วยความสุจริต และมาตรา 112 ไม่คุ้มครองสถาบันกษัตริย์ ขอสืบพยานบุคคล 32 ปาก ใช้เวลา 8 นัด

    ศาลอนุญาตให้สืบพยานโจทก์ 6 นัด และสืบพยานจำเลย 6 นัด โดยให้ฝ่ายจำเลยคัดสรรพยานมาเบิกความให้เสร็จภายในกำหนดนัด

    นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-22 ธ.ค. 2566, 16-17 ม.ค. 2567 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 18-19, 23-26 ม.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 9 พ.ค. 2565)
  • ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันชินวัตรของอัยการ ซึ่งอัยการอ้างว่า ชินวัตรฝ่าฝืนเงื่อนไขประกันตัว จากกรณีปราศรัยที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ในวันที่ 28 ก.ค. 2565 เรียกร้องขอคืนสิทธิการประกันตัวให้ “บุ้ง-ใบปอ” นักกิจกรรมทะลุวัง ที่อดอาหารมาเกือบ 2 เดือน

    ที่ห้องพิจารณา 912 ก่อนเริ่มการไต่สวนชินวัตรแถลงขอเลื่อนคดี เนื่องจากในช่วงเช้าของวันนี้ ภรรยาของทนายจำเลยตกเลือดกะทันหัน ทำให้ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลได้ในวันนี้

    ที่สำคัญชินวัตรแถลงว่า ตนได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศาลเมื่อวานนี้ว่า มีนัดไต่สวนในวันนี้ทางโทรศัพท์เท่านั้น โดยที่ศาลไม่ได้มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนประกันไปให้จำเลยหรือนายประกันแต่อย่างใด ทำให้เขาไม่ทราบรายละเอียดล่วงหน้า และไม่อาจเตรียมตัวได้ทัน

    ผู้พิพากษาได้ขึ้นไปปรึกษาผู้บริหารศาลอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนลงมาแจ้งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี เนื่องจากในวันนี้เป็นเพียงการไต่สวนเรื่องสัญญาประกัน และนายประกันได้ส่งตัวจำเลยมาศาลตามนัด จึงถือว่าทราบนัดแล้ว ก่อนเริ่มทำการไต่สวนพยานผู้ร้องทั้งหมด 2 ปาก
    .
    ++พนักงานสอบสวนได้รับหนังสือขอให้ถอนประกันจำเลย - ประธาน ศปปส. ชี้สถาบันกษัตริย์เป็นที่เคารพบูชา ไม่ควรจาบจ้วงวิจารณ์ในทางเสียหาย

    พ.ต.ท.นพดล ดรศรีจันทร์ รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.พหลโยธิน เป็นพยานปากแรก เบิกความมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า ตนได้รับหนังสือจาก สน.ยานนาวา แจ้งเรื่องที่จำเลยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการปราศรัยในวันที่ 28 ก.ค. 2565 ที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ และได้มีอานนท์ กลิ่นแก้ว มายื่นหนังสือขอให้พิจารณาถอนประกันจำเลยอีกด้วย เมื่อพยานได้รับหนังสือดังกล่าว จึงได้ทำหนังสือถึงพนักงานอัยการเพื่อให้พิจารณาเรื่องเงื่อนไขประกันตัวของจำเลย

    ขณะที่ อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) พยานปากที่สอง เบิกความว่า ตนเป็นประธานกลุ่ม ศปปส. ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโต้หรือแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับกลุ่มคนผู้หมิ่นสถาบันฯ หรือกระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยสมาชิกของกลุ่มก็จะเป็นผู้ที่มีแนวคิดเดียวกันกับพยาน

    พยานได้ฟังการปราศรัยของจำเลยที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยฟังผ่านทางช่องทางสื่อออนไลน์ เนื้อหาคือเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขัง ‘ใบปอ’ และ ‘เนติพร’ และมีการกล่าวเกี่ยวกับกฎหมายมาตรา 112 พร้อมกันนี้ชินวัตรได้ทำการโกนหัวประท้วง โดยถ่ายรูปให้ติดกับรูปในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อเป็นการเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว

    หลังได้เห็นการกระทำของจำเลยผ่านช่องทางสื่อออนไลน์แล้ว พยานจึงได้ไปแจ้งความไว้ที่ สน.ยานนาวา พร้อมทั้งส่งหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอให้พนักงานสอบสวน ก่อนไปยื่นหนังสือเพื่อขอให้ถอนประกันชินวัตรที่ สน.พหลโยธิน

    พยานเห็นว่า การกระทำของชินวัตรเป็นการกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนส่วนใหญ่ ไม่ควรที่จะมีใครมาจาบจ้วงวิจารณ์ในทางเสียหายได้

    ++‘ชินวัตร’ แถลงต่อศาล ปราศรัยเรียกร้องสิทธิประกันตัว “ใบปอ-เนติพร” ไม่ได้มีเจตนาทำลายสถาบันกษัตริย์ การวิจารณ์กฎหมายเป็นสิ่งประชาชนที่ทำได้

    หลังเสร็จสิ้นการไต่สวนคำร้องแล้ว ชินวัตรได้ลุกขึ้นแถลงต่อศาลโดยสรุปว่า ตนเพิ่งทราบว่ามีการยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวานนี้ จำเลยและนายประกันไม่ได้รับคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวก่อนวันนัด นอกจากนี้ ทนายความของจำเลยยังไม่สามารถมาร่วมการไต่สวนนี้ได้ เนื่องจากภรรยาป่วย ทำให้ตนไม่สามารถได้ใช้สิทธิถามค้านพยานของผู้ร้องในวันนี้

    สำหรับเหตุการณ์ในวันที่ 28 ก.ค. 2565 ชินวัตรระบุว่า ตนกระทำไปเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ ‘ใบปอ’ และ ‘เนติพร’ จำเลยคดีมาตรา 112 ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม การโกนผมต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์เป็นการสื่อสารกับในหลวงรัชกาลที่ 10 ว่าพสกนิกรของพระองค์ถูกรังแก ไม่ได้มีเจตนาจะทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นการปกป้องเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันฯ ในอีกรูปแบบหนึ่งต่างหาก

    สำหรับถ้อยคำปราศรัยนั้น เป็นการปราศรัยวิจารณ์ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งประชาชนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย รวมถึงไม่ขอรับรองเอกสารที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นถ้อยคำปราศรัยเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 ว่า เป็นคำปราศรัยของจำเลยหรือไม่

    อีกทั้งเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ตนได้ถูกดำเนินคดี และทางตำรวจ สน.ยานนาวา ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่กี่วันก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้นำพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาพิจารณาในชั้นปล่อยตัวชั่วคราวแต่อย่างใด
    .
    หลังเสร็จการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 31 ส.ค. 2565

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 30 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/47729)
  • ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอถอนประกันชินวัตร โดยระบุว่า เห็นว่า แม้การกระทำของจำเลยจะมีความสุ่มเสี่ยงกับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล แต่ก็ไม่มีพฤติการณ์ร้ายแรงจนถึงขนาดที่จะเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ ให้ยกคำร้อง อย่างไรก็ตาม เห็นสมควรกำชับจำเลยให้ไม่กระทำการในลักษณะที่อาจฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวของศาลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอีก จึงเห็นควรกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาลทุก 15 วัน นับแต่วันนี้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/47729)
  • ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากชินวัตร จำเลยที่ 2 ป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ คาดว่าอีกหนึ่งสัปดาห์น่าจะหาย ศาลอนุญาตให้เลื่อนสืบพยานโจทก์ไปวันที่ 16 ม.ค. 2567 ตามที่นัดไว้เดิม และยกเลิกนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 20-22 ธ.ค. 2566
  • ทนายจำเลยที่ 2 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากชินวัตร จำเลยที่ 2 ติดภารกิจส่วนตัว ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ และวรรณวลี จำเลยที่ 4 ติดสอบในวันที่ 17-23 ม.ค. 2567

    นอกจากนี้ ทนายจำเลยที่ 2 ยังได้ยื่นคำให้การจำเลยที่ 2 ขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา

    ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 25 ม.ค. 2567 ตามที่นัดไว้เดิม และยกเลิกวันนัดสืบพยานในวันที่ 17-19 และ 23-24 ม.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 16 ม.ค. 2567)
  • ศาลสอบถามชินวัตรตามที่ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ชินวัตรยืนยันรับสารภาพตามคำให้การ และขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพภายใน 30 วัน

    โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 29 ก.พ. 2567 เวลา 09.00 น. ให้จำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยที่ 1, ที่ 3-8 และให้โจทก์ฟ้องเข้ามาใหม่ภายใน 15 วัน ยกเลิกวันนัดสืบพยานในวันที่ 26 ม.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2888/2564 ลงวันที่ 25 ม.ค. 2567)
  • จิรัฏฐ์ เสรีกุล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องจำเลยอีก 7 ราย ที่ยืนยันต่อสู้คดี ต่อศาลอาญาเป็นคดีใหม่ ใน 9 ฐานความผิดเช่นเดียวกับคดีเดิม ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215, 216, 385, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ, พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมถึงบรรยายฟ้องเช่นเดียวกับคดีเดิม

    โดยคดีที่ฟ้องใหม่นี้มี อานนท์ นำภา เป็นจำเลยที่ 1, พริษฐ์ ชิวารักษ์ จำเลยที่ 2, ภาณุพงศ์ จาดนอก จำเลยที่ 3, วรรณวลี ธรรมสัตยา จำเลยที่ 4, พงศธรณ์ ตันเจริญ จำเลยที่ 5, พรหมศร วีระธรรมจารี จำเลยที่ 6 และณวรรษ เลี้ยงวัฒนา จำเลยที่ 7

    ท้ายฟ้องอัยการไม่คัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณา

    ศาลนัดสอบคำให้การในวันที่ 12 ก.พ. 2567

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.403/2567 ลงวันที่ 7 ก.พ. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/65117)
  • ศาลมีคำสั่งเบิกตัวจำเลยที่ 1 อานนท์ นำภา จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาศาล ส่วนจำเลยที่ 2-7 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเนื่องจากได้รับแจ้งนัดกะทันหัน และติดธุระที่นัดไว้ก่อน จึงไม่สามารถเดินทางมาศาลได้

    ศาลสอบคำให้การจำเลยที่ 1 อานนท์ให้การปฏิเสธ นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 1 ก.ค. 2567 เวลา 09.00 น. และให้เลื่อนไปสอบคำให้การจำเลยที่ 2-7 ในวันที่ 20 ก.พ. 2567 เวลา 10.00 น.
  • ภาณุพงศ์, วรรณวลี, พรหมศร และณวรรษ เดินทางมาศาล ส่วนพริษฐ์และพงศธรณ์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุจำเป็น

    ศาลสอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ที่มาศาล ทั้งหมดให้การปฏิเสธ จากนั้นจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้เงินประกันในคดีเดิม ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวภาณุพงศ์, วรรณวลี, พรหมศร และณวรรษ โดยกำหนดเงื่อนไข 1.ห้ามจำเลยกระทำการลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามคำฟ้องซ้ำอีกหรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ 2.ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล 3.ให้จำเลยมาตามกำหนดโดยเคร่งครัด

    นัดตรวจพยานหลักฐาน 1 ก.ค. 2567 เวลา 13.30 น. อนุญาตให้พริษฐ์และพงศธรณ์มารายงานตัวในวันที่ 29 ก.พ. 2567 เวลา 09.00 น.
  • ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 908 ศาลออกนั่งพิจารณาคดีและอ่านคำพิพากษาในคดีนี้ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

    เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ลงโทษจำคุก 4 ปี, ข้อหา “มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป” และ “เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุมแต่ไม่เลิก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 จำคุก 2 ปี, ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปรับ 10,000 บาท, ข้อหา “กีดขวางทางสาธารณะ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 และข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ปรับ 2,000 บาท และข้อหา “ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ ปรับ 200 บาท

    รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 12,200 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 6,100 บาท ไม่รอลงอาญา

    ต่อมาเวลา 16.07 น. ทนายความแจ้งว่าได้ยื่นขอประกันตัวชินวัตรระหว่างอุทธรณ์แล้ว โดยนายประกันของชินวัตรวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 150,000 บาท ตามที่เจ้าหน้าที่ศาลประเมินมูลค่าให้

    อย่างไรก็ตาม ศาลอาญามีคำสั่งส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 2-3 วัน ทำให้ชินวัตรถูกนำตัวไปควบคุมยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    ต่อมา วันที่ 3 มี.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันชินวัตรระหว่างอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุว่า เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
    .
    วันเดียวกันนี้ พงศธรณ์เดินทางมารายงานตัวต่อศาลในคดีที่อัยการยื่นฟ้องใหม่ และให้การปฏิเสธ จากนั้นศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีโดยใช้เงินประกันในคดีเดิม และกำหนดเงื่อนไขเช่นเดียวกับคนอื่น นัดตรวจพยานหลักฐาน 1 ก.ค. 2567 เวลา 13.30 น. เช่นกัน

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/65117)
  • ชินวัตรยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันของศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา โดยแสดงความยินยอมให้ติด EM

    วันต่อมา (6 มี.ค. 2567) ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 6,100 บาท และนับโทษต่อจากคดีหมายเลขแดงที่ อ.3737/2566 ของศาลชั้นต้น หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 อาจหลบหนี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง"
  • พริษฐ์เดินทางมารายงานตัวต่อศาลในคดีที่อัยการยื่นฟ้องใหม่ และให้การปฏิเสธ จากนั้นศาลอนุญาตปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีโดยใช้เงินประกันในคดีเดิม และกำหนดเงื่อนไขเช่นเดียวกับคนอื่น นัดตรวจพยานหลักฐาน 1 ก.ค. 2567 เวลา 13.30 น. เช่นกัน
  • เวลา 13.30 น. อานนท์ถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะวรรณวลี, พงศธรณ์ และพรหมศร เดินทางมาศาล ส่วนพริษฐ์ จำเลยที่ 2, ภาณุพงศ์ จำเลยที่ 3 และณวรรษ จำเลยที่ 7 ไม่ได้มาศาล ทนายจำเลยแถลงว่า ได้รับการติดต่อจากนายประกันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ว่า ติดต่อทั้งสองไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 7 ได้รับแจ้งว่ากำลังเดินทางมาศาล

    กระทั่งเวลา 15.30 น. จำเลยทั้งสามยังไม่ได้เดินทางมาศาล ศาลเห็นว่าทั้งสามไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสามมาศาลในนัดหน้า ริบเงินประกัน และให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 2 ก.ย. 2567 เวลา 09.00 น.

    วันต่อมา (2 ก.ค. 2567) ณวรรษได้เดินทางเข้ามอบตัวตามหมายจับ จากนั้นทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัว แต่ ธีรวิชช์ ควรเสรี ผู้พิพากษา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ทนายจำเลยได้แถลงต่อศาลว่า จำเลยที่ 7 กำลังเดินทางมาศาล แต่เวลา 15.30 น. ก็ยังเดินทางมาไม่ถึง ไม่ทราบเป็นเพราะเหตุใด แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 7 จงใจหลีกเลี่ยงไม่มาศาลตามนัด ทำให้ศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อว่า จำเลยที่ 7 จะหลบหนี จึงไม่อนุญาต คำสั่งดังกล่าวทำให้ณวรรษถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.403/2567 ลงวันที่ 1 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68416)
  • ทนายความยื่นคำร้องประกันณวรรษต่อศาลอาญาอีกครั้ง โดยระบุประเด็นสำคัญดังนี้

    จำเลยมิได้ลงใจหลีกเลี่ยงไม่มาศาลตามนัด และมิได้จงใจทำให้ศาลไม่อาจดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้แต่อย่างใด ซึ่งเหตุที่จำเลยไม่อาจมาศาลได้ทันกำหนดนัด เนื่องจากจำเลยถูกกล่าวหาดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพในการชุมนุมหลายคดี ทำให้จดจำวันนัดในคดีนี้ผิดพลาดไป และวันดังกล่าวจำเลยก็ไม่ได้หลบหนีไปที่ใด หลังจากที่จำเลยได้รับแจ้งจากทนายในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. จำเลยก็รีบเดินทางมาศาล แต่ด้วยภูมิลำเนาและสภาพการจราจรจึงส่งผลให้มาถึงศาลเวลาประมาณ 16.00 น.

    แต่เมื่อจำเลยมาถึงก็ได้ทราบว่าศาลมีคำสั่งเลื่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานและถูกออกหมายจับแล้ว ประกอบกับใกล้หมดเวลาราชการ จำเลยจึงประสานกับนายประกันเพื่อส่งตัวต่อศาลทันทีในวันรุ่งขึ้น เพื่อแสดงเจตนาให้ศาลทราบว่าจำเลยสำนึกผิดและขวนขวายที่จะมอบตัวต่อศาล ไม่มีเจตนาหลบหนี และจงใจกระทำการใดให้ศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้

    จำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีมาตั้งแต่ต้น ในทุกคดีที่ถูกกล่าวหาดำเนินคดี จำเลยมาพบพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาลทุกนัดไม่เคยหลบหนีมาก่อนแต่อย่างใด โดยจำเลยประสงค์ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีจนถึงที่สุด อีกทั้งจำเลยมีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งแน่นอน สามารถติดตามได้โดยง่าย และไม่เคยต้องโทษและถูกขังในคดีอาญาใด ๆ มาก่อน การถูกคุมขังครั้งนี้ทำให้จำเลยได้รับบทเรียน และตระหนักถึงผลร้ายของการไม่รอบคอบจนทำให้จดจำวันนัดผิดพลาดไป จำเลยให้คำมั่นว่าจะมาศาลตามวันและเวลานัด

    ประการสำคัญ จำเลยมีโรคประจำตัวติดเชื้อ HIV จำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสให้ตรงเวลาทุกวัน หากจำเลยไม่ได้รับการประกันตัวย่อมส่งผลต่อสุขภาพและการรักษาโรค

    ต่อมา ในเวลา 15.41 น. ผู้พิพากษา ธีรวิชช์ ควรเสรี มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดี ระบุในคำสั่งว่า เห็นว่าจำเลยมีปัญหาสุขภาพ ต้องพบแพทย์รับยาเป็นระยะ อีกทั้งจำเลยได้มารายงานตัวต่อศาลในวันต่อมา และยอมวางหลักประกันเพิ่มจากเดิม เชื่อว่าหากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวจะไม่หลบหนี โดยศาลให้วางเงินประกัน 200,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ในส่วนหนึ่ง และศาลไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มเติม

    ผลของคำสั่ง จะทำให้เย็นวันนี้ณวรรษจะได้รับปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวมระยะเวลาถูกคุมขังทั้งสิ้น 3 วัน

    (อ้างอิง: คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 7 ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.403/2567 ลงวันที่ 4 ก.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/68416)
  • จำเลยโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 18 พ.ย. 2567 เวลา 09.00 น. และให้จำหน่ายคดีในส่วนของพริษณ์และภาณุพงศ์ออกจากสารบบความชั่วคราว

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.403/2567 ลงวันที่ 2 ก.ย. 2567)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พงศธรณ์ ตันเจริญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พงศธรณ์ ตันเจริญ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์