สรุปความสำคัญ
“ใจ” (นามสมมติ) อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ถูกอารีย์ จิวรรักษ์ ซึ่งรับมอบอำนาจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แจ้งความดำเนินคดี ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กล่าวหาว่า เธอใช้บัญชีทวิตเตอร์ซึ่งไม่ใช่ชื่อของเธอทวิตข้อความที่มีเนื้อหาใส่ความว่า รัชกาลที่ 9 เป็นฆาตกร
แม้ใจจะไม่ถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวน เนื่องจากเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ แต่เป็นที่น่าจับตาในขั้นตอนการพิจารณาคดีว่าศาลจะพิจารณาและพิพากษาอย่างไร เนื่องจากข้อความที่ถูกกล่าวหามีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอดีตกษัตริย์ ทั้งนี้ หากตีความมาตรา 112 โดยเคร่งครัด บุคคลที่มาตรา 112 มุ่งคุ้มครอง ประกอบด้วย กษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งครอบคลุมเพียงกษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองอดีตกษัตริย์ด้วย
แม้ใจจะไม่ถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวน เนื่องจากเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์ แต่เป็นที่น่าจับตาในขั้นตอนการพิจารณาคดีว่าศาลจะพิจารณาและพิพากษาอย่างไร เนื่องจากข้อความที่ถูกกล่าวหามีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอดีตกษัตริย์ ทั้งนี้ หากตีความมาตรา 112 โดยเคร่งครัด บุคคลที่มาตรา 112 มุ่งคุ้มครอง ประกอบด้วย กษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งครอบคลุมเพียงกษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองอดีตกษัตริย์ด้วย
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 11-02-2021
-
ผู้ถูกละเมิด
- ใจ (นามสมมติ)
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
- ฝ่ายปกครอง
พฤติการณ์การละเมิด
11 ก.พ. 2564 ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) “ใจ” (นามสมมติ) เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) ก่อนพบว่าเธอถูกกล่าวหาว่า ทวิตข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 ในทวิตเตอร์
ก่อนหน้านี้ “ใจ” ได้รับหมายเรียกจาก บก.ปอท. ลงวันที่ 3 ก.พ. 2564 ระบุว่าให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาใน 2 ข้อหาดังกล่าว เมื่อใจเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกับทนายความ พ.ต.ท.ภีมพศ เกตุเทศ รองผู้กำกับ (สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. และ ร.ต.อ.หญิงศศิพันธ์ คงเอียด รองสารวัตร (สอบสวน) ปรท.กก.3 บก.ปอท. ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหา ระบุพฤติการณ์คดีว่า ใจใช้บัญชีทวิตเตอร์ทวิตข้อความ 1 ข้อความ ที่เป็นการกล่าวหา ใส่ความรัชกาลที่ 9 มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาอ่าน เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์
“ใจ” ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัวไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ระหว่างสอบสวน และจะนัดหมายรายงานตัวเพื่อฟังคำสั่งทางคดีอีกครั้ง
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้ยังเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 2 ที่มีการกล่าวหาจากการแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์ ภายหลังจากเริ่มนำข้อหานี้กลับมาใช้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ก่อนหน้านี้มีคดีของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซี่งถูกกล่าวหาจากกรณีการโพสต์และทวิตข้อความเกี่ยวกับการแบนธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเป็นคดีที่ บก.ปอท. เช่นเดียวกัน และเป็นคดีที่สามเป็นอย่างน้อย ที่มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้กล่าวหา
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 11 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25937)
ก่อนหน้านี้ “ใจ” ได้รับหมายเรียกจาก บก.ปอท. ลงวันที่ 3 ก.พ. 2564 ระบุว่าให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาใน 2 ข้อหาดังกล่าว เมื่อใจเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกับทนายความ พ.ต.ท.ภีมพศ เกตุเทศ รองผู้กำกับ (สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. และ ร.ต.อ.หญิงศศิพันธ์ คงเอียด รองสารวัตร (สอบสวน) ปรท.กก.3 บก.ปอท. ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหา ระบุพฤติการณ์คดีว่า ใจใช้บัญชีทวิตเตอร์ทวิตข้อความ 1 ข้อความ ที่เป็นการกล่าวหา ใส่ความรัชกาลที่ 9 มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาอ่าน เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์
“ใจ” ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัวไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ระหว่างสอบสวน และจะนัดหมายรายงานตัวเพื่อฟังคำสั่งทางคดีอีกครั้ง
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีนี้ยังเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 2 ที่มีการกล่าวหาจากการแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์ ภายหลังจากเริ่มนำข้อหานี้กลับมาใช้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 ก่อนหน้านี้มีคดีของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซี่งถูกกล่าวหาจากกรณีการโพสต์และทวิตข้อความเกี่ยวกับการแบนธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเป็นคดีที่ บก.ปอท. เช่นเดียวกัน และเป็นคดีที่สามเป็นอย่างน้อย ที่มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้กล่าวหา
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 11 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25937)
List คดี
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์